KULIB Talk #Special
"ฝุ่นเล็กๆ ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม"
ผศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ขณะนี้สำนักข่าวทุกสำนักมีการโหมกระแสเกาะติดสถานการณ์รายงานข่าวสถานการณ์ฝุ่นPM2.5อย่างต่อเนื่องสถานการณ์ฝุ่น PM2.5ขณะนี้เป็นอย่างไรบ้างคะ

     ตอนนี้ประเด็นที่สำคัญที่สุดที่ประชาชนรับทราบก็คือเรามีจำนวนอนุภาคของฝุ่นที่อยู่รอบตัวเรามากขึ้น ตอนนี้ทุกสถานี ของกรมควบคุมมลพิษของกรุงเทพมหานคร มีค่าสูงขึ้นมาในแนวโน้มเดียวกันทั้งหมด ถ้ามองไปตอนนี้ระหว่างเส้นขอบฟ้า กับผิวข้างล่างเราจะเห็นชั้นบางๆ ชั้นหนึ่งที่ค่อนข้างออกสีน้ำตาล อันนั้นคือส่วนที่เราเรียกว่าฝุ่นละอองที่อยู่ในบรรยากาศชั้นล่าง ฝุ่นเหล่านี้มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหาเพราะเกิดขึ้นแล้วดับไปในบริเวณแถวนั้น ฝุ่นขนาดเล็กวิ่งเร็วเท่าไหร่จะยิ่งคงค้างอยู่ในบรรยากาศคำตอบว่ามาจากไหนอยู่ที่เราทุกคนเพราะคนส่วนใหญ่ทำให้เกิดปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองการจราจรถือว่าเป็นส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เกิดมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงโดยเฉพาะเชื้อเพลิงที่เรียกว่าดีเซล ในรถยนต์ประเภทนี้ ส่งผลให้ฝุ่นละอองออกมาค่อนข้างเยอะ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับการเผาไหม้ในลักษณะ พื้นที่โล่งก็ทำให้เกิดฝุ่นละอองได้ หรือแม้กระทั่งปฏิกิริยาเคมีในชั้นบรรยากาศ เมื่อรวมตัวกันก็ทำให้เกิดพาติเคิลขนาดเล็กได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้มันรวมกันให้พื้นที่กรุงเทพมหานคร มีฝุ่นละอองค่อนข้างสูง แล้วทำไมฤดูกาลอื่นถึงไม่แบบนี้ คำตอบก็คือในช่วงเวลาอื่นลมพัดค่อนข้างแรง แสงแดดค่อนข้างแรงทำให้การเคลื่อนตัวของอากาศ เป็นไปตามธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน ช่วงฤดูฝนก็จะมีฝนตกลงมาคอยชะล้าง เราเรียกกระบวนการนี้ว่า  Wash Out  ฝุ่นละอองจะตกสู่พื้น แต่กลับมาในฤดูหนาวอากาศบางช่วงมีความชื้นต่ำ ประกอบกับคุณสมบัติของอากาศที่เมื่อเย็นจะมีความหนัก มันก็ทำให้อากาศเหล่านี้จมตัวลงค่อนข้างเยอะ ในบางครั้งเรายังพบอากาศในลักษณะ inversionหมายความว่าขึ้นไปยิ่งสูงแต่มันยังมีส่วนที่ร้อนอยู่ อากาศก็จะไม่ลอยตัวและค้างอยู่กับที่ สิ่งเหล่านี้ทำให้ความเข้มข้นของฝุ่นมีค่าสูงขึ้น

คำว่าสภาพอากาศปิดหรือเปิด ลอยตัวไม่ดี พวกนี้มันหมายความว่าอะไรคะอาจารย์

     ถ้ามองไปรอบตัวเราวันนี้จะเห็นแสงแดดที่ค่อนข้างชัด นั่นหมายความว่าสภาพอากาศค่อนข้างดี ค่าอากาศได้รับแสงแดดพื้นล่างจะค่อนข้างร้อน เพราะอากาศร้อนข้างล่างและเย็นขึ้นตามระดับความสูง มวลอากาศจะเคลื่อนตัวลอยขึ้นไปข้างบนได้ง่ายเป็นไปตามกระบวนการธรรมชาติ เมื่อเขาลอยขึ้นไปก็จะมีอากาศส่วนหนึ่งเข้ามาแทนที่ ซึ่งเราเรียกกันว่าลม ตามธรรมชาติมวลของอากาศก็จะมีการเคลื่อนตัว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มวลอากาศด้านบนมีความร้อนสูงขึ้น มวลอากาศด้านล่างก็ไม่สามารถลอยขึ้นได้ก็จะหยุดอยู่ตรงนั้น ประกอบกับสภาพอากาศที่มีมวลอากาศเย็น มันจะหนักและจมตัว ก็จะเกิดการที่อากาศไม่เคลื่อนที่ หรือสภาพหยุดนิ่งของอากาศ ดังนั้นสภาพอากาศปิดก็เป็นสภาพอากาศที่มีความคงตัวค่อนข้างสูงลมไม่พัดแสงแดดไม่มาลักษณะแบบนี้จะทำให้มีการสะสมตัวของฝุ่นละอองมากขึ้น

เรามีค่าที่เป็นขีดอันตรายอยู่ก็คือ50 ซึ่งถ้าเกินกว่านี้ก็จะเป็นอันตรายต่อ ซึ่งในความจริงแล้วต้องมีค่ามาตรฐานเท่าไหร่จึงจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แล้วกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบนี้จริงๆแล้วคือกลุ่มไหน

     จริงๆแล้วมาตรฐานของฝุ่นละอองจะอยู่ที่ 50ไมโครกรัมเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ถ้าเกินกว่านี้ก็จะส่งผลต่อสุขภาพตัวที่เป็นอันตรายก็คือ 90 ขึ้นไป ซึ่งปกติเราก็จะใช้เครื่องมือวัดแบบเรียลไทม์ก็จะมีค่าสูงบ้างต่ำบ้างตามลักษณะสภาพตอนนั้น ดังนั้นยังไม่ต้องไปกังวลเพราะให้ดูค่าเฉลี่ยตลอดทั้งวันว่าเกินหรือไม่ ถ้าหากว่าเกิน 50 แสดงว่าเริ่มมีผลต่อสุขภาพ แต่ในกรุงเทพมีค่าเฉลี่ยเกิน 50 ติดต่อกันหลายวัน ก็จะมีช่วงที่หลายคนเริ่มรู้สึกว่ามีอาการแสบคอ อาการภูมิแพ้ ซึ่งกลุ่มเสี่ยงก็คือคนที่มีโรคประจำตัวเป็นกลุ่มนี้อยู่แล้ว หรืออาจจะเป็นโรคอื่นเกี่ยวกับหอบหืดภูมิแพ้ พรุ่งนี้ก็ต้องมีการปฏิบัติตัวเป็นพิเศษและมีอุปกรณ์ช่วยเหลือ กลุ่มเสี่ยงอีกกลุ่มคือคนที่ใช้ชีวิตตามท้องถนนเป็นระยะเวลานาน เช่น ตำรวจจราจร วินมอเตอร์ไซค์ หรือผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น จำเป็นต้องมีการป้องกันตัวเอง

กลุ่มของนิสิตและบุคลากรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่

     อย่างแรกเราต้องสำรวจตัวเองก่อนว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ เรามีอาการหอบหืดหรือไม่เพราะหลายคนไม่ทราบว่าตัวเองมีลักษณะแบบนั้น และหากมีโรคประจำตัวต้องปรึกษาแพทย์ ว่าโรคประจำตัวเกี่ยวข้องไหมกับลักษณะอาการเหล่านี้ หรือใครที่ทราบว่าตัวเองมีอาการหอบหืดอยู่แล้วเมื่อเวลาอากาศเปลี่ยนหรือพบฝุ่นละอองควรจะหลีกเลี่ยงกิจกรรมภายนอกต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หรือคนที่แข็งแรงก็ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมภายนอกไม่ควรไปอยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่นเยอะ เช่น ริมถนนหรือที่โล่งแจ้ง แต่ถ้ามีความจำเป็นที่ต้องเดินออกไปก็หาอุปกรณ์ป้องกันตัว เช่นหน้ากากอนามัยที่ปิดให้มิดชิดไม่จำเป็นต้องเป็นหน้ากาก N 95 ซึ่งจริงๆแล้ว N 95 เป็นหน้ากากที่ป้องกันดีและถูกต้อง แต่ใช้ไปนานๆจะหายใจไม่ออกเพราะใช้งานยาก และไม่สามารถใช้ต่อเนื่องได้ใช้ไปสักพักต้องเปลี่ยน เพราะจะเกิดกลิ่นอับ แต่ถ้าอยู่ในอาคารสำหรับบุคคลที่แข็งแรงก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่หน้ากากอนามัย
 
การใช้หน้ากากอนามัยธรรมดาสามารถช่วยในเรื่องของฝุ่นละอองนี้ได้มากน้อยแค่ไหน

     ช่วยได้แต่ข้อสำคัญก็คือใช้งานให้ดี ปิดให้มิดชิด และหลีกเลี่ยงออกไปอยู่ในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานานๆ ไม่ใช่ว่าใส่หน้ากากอนามัยแล้วไปนั่งอยู่ที่โล่งแจ้งนานๆ มีข้อมูลที่นิสิตนักศึกษารวมถึงโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของเราเองตกใจเกี่ยวกับความเข้มข้นของฝุ่นละอองที่รายงานโดยหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งที่รายงานว่าแถวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีตัวเลขสูงสุดอันดับ 1 สีแดง ซึ่งผมจะเรียนให้ทุกคนทราบว่าเนื่องมาจากข้อมูลเหล่านั้นเป็นการลงเก็บข้อมูลที่ริมถนน ริมรั้วของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้านถนนพหลโยธิน เป็นจุดที่มีการติดขัดของการจราจรสูงมาก ดังนั้น ที่นั้นถูกต้องแต่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะมีค่าต่ำกว่านั้น ในบางเวลาจะมีค่าต่างกันถึง 30 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ดังนั้นอยากเรียนให้ทราบว่าในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีส่วนที่ช่วยให้ฝุ่นละอองลดลงช้างในเรื่องของต้นไม้และการเดินทางโดยใช้รถEV  และอื่นๆที่บุคลากรและนิสิตนักศึกษาช่วยกันและมันสามารถพิสูจน์ได้ข้อมูลที่เราตรวจวัดซึ่งตอนนี้ปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยแล้ว ซึ่งทุกคนสามารถตรวจเช็คก่อนออกไปทำกิจกรรมได้
อันดับแรก เราควรเช็คว่าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่
อันดับสอง เราควรเช็คข้อมูลสภาพอากาศ ว่าคุณภาพอากาศวันนี้เป็นอย่างไร
 
ตอนนี้มีข่าวว่ากรมควบคุมมลพิษได้มีการขอความร่วมมือจากประชาชนลดฝุ่นละอองจากแหล่ง เช่นการลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ห้ามเผาในที่โล่ง ห้ามใช้รถยนต์ควันดำทุกประเภท การทำในลักษณะเช่นนี้สามารถช่วยได้จริงหรือไม่และการที่จะทำกิจกรรมเหล่านี้ควรที่จะทำในเขตกรุงเทพและปริมณฑลเมื่อเวลามีปัญหาอยู่หรือเราควรขยายไปในเขตรอบๆเช่น ระยอง ชลบุรี ที่มีนิคมอุตสาหกรรมอยู่

     ในเบื้องต้นฝุ่นมาจากปัญหาการจราจร ดังนั้นคนที่แก้ปัญหาเรื่องนี้มุ่งเน้นไปที่การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงรถยนต์ดังที่ได้กล่าวไป จึงต้องกรวดขันการทำผิดกฎการจราจรของเครื่องยนต์อย่างเช่นพวกควันดำ โดยจะนำรถเหล่านี้ออกจากระบบโดยพักการใช้งาน ส่วนเรื่องของการกวดขันให้รถยนต์จอดให้ถูกที่ถูกเวลา ห้ามจอดในถนนสายหลักทำให้เกิดการไหลของการจราจรได้ดีขึ้น ทั้งในบริเวณที่ใกล้เคียงกับบริเวณที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้า เมื่อรถวิ่งดีขึ้นก็จะปล่อยมวลสารที่เป็นพิษน้อยกว่าบริเวณที่มีรถติด ส่วนมาตรการอื่น เช่น การฉีดน้ำ นั่นเป็นเพียงมาตรการที่เข้ามาเสริม แม้กระทั่งเมื่อวานที่ได้เข้าไปประชุมกับกรมทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เขาก็เน้นประเด็นนี้เหมือนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เรามีคณะกองยาน ที่ช่วยลดการใช้รถยนต์ในมหาวิทยาลัย ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของเรามาถูกทางและถ้าหากมีการนำโมเดลนี้ไปใช้ในทุกที่ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน หรือสถานศึกษา หรือแม้แต่ที่บ้าน ทั้งเมืองทำแบบเดียวกัน ก็จะเหมือนกับน้ำที่ไหลไปทางเดียวกันทำให้มันไหลไปเร็วยิ่งขึ้น ต้องช่วยกันจึงจะประสบความสำเร็จ และอยากฝากไปทางผู้ใช้รถตอนที่ท่านจอดรอรับบุตรหลานขอให้ท่านดับเครื่อง เพราะจะเป็นการสร้างฝุ่นละอองที่จะเข้าไปในโรงเรียนมากยิ่งขึ้น ซึ่งตอนนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็มีการใช้รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ไม่ทำให้เกิดมลภาวะฝุ่นละออง
 
เมื่อมีฝนตกลงมาเรายังจะต้องกังวลกับปัญหาฝุ่นละอองนี้หรือไม่ หรือต้องผ่านไปกี่วันปัญหาฝุ่นละอองเหล่านี้ถึงจะกลับมาให้เรากังวลอีกครั้ง

     ฝนมีส่วนช่วยบ้าง แต่การจะให้ฝนตกหนักในช่วงเวลานี้เป็นเรื่องที่ยาก ผมเข้าใจว่ากรมการบินฝนหลวงและการเกษตร ได้เริ่มลงมือปฏิบัติอย่างเต็มที่โดยบินจากอู่ตะเภา และพยายามที่จะสร้างฝนเทียมแต่ด้วยสภาพอากาศที่จะทำให้เกิดผลเทียมก็ไม่สามารถทำให้เกิดฝนตกหนักเหมือนในช่วงฤดูฝนได้ ดังนั้นก็จะช่วยได้ส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งในอนาคตถ้าหากอากาศปิดและกรมการบินฝนหลวงไม่สามารถทำให้เกิดผลได้ปริมาณละอองฝุ่นก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นตัวเราเองสำคัญที่สุดที่จะช่วยคนละไม้คนละมือช่วยกันลดฝุ่น ในระยะยาวผมอยากเห็นระบบขนส่งมวลชนที่ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ มีการเดินทางที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมากนัก หรือมีการใช้รถยนต์ในการเดินทางใกล้ๆในบริเวณที่ไม่ไกลกันเช่นจากบ้านไปโรงเรียน ใช้เวลาในการขับรถน้อยลงการปลดปล่อยมวลสารก็จะต่ำลง นี่ก็อาจจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในอนาคตที่ควรต้องมาคุยกันว่าจะทำอย่างไร นี่คือสิ่งที่เราต้องมานั่งคิดกันว่าในอีก 5  ปี  10 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครจะมีสภาพอากาศเป็นอย่างไรและจะมีปริมาณรถยนต์อย่างไร รถจะติดหนักกว่าเดิมหรือไม่ ณ วันนั้นก็จะเกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และสุดท้ายคนเมืองก็จะอยู่ในสภาพอากาศที่มีฝุ่นละอองเป็นเวลานานขึ้น จึงอยากฝากไว้ให้ช่วยกันแก้ไข

 

โครงการติดตามลักษณะทางอุตุนิยมวิทยาใกล้ผิวดินและมลสารทางอากาศสำหรับประเทศไทยเก็บรวบรวมจากKU Tower ซึ่งตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อม อาจารย์ช่วยเล่าให้ฟังถึงโครงการนี้สักนิดนึงค่ะ

   โครงการนี้เริ่มมา 4 ปีแล้ว เป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) ซึ่งอุตุนิยมวิทยาใกล้ผิวดินและมลสารทางอากาศสำหรับประเทศไทย เราจำศึกษาตามแนวดิ่งขึ้นไป ไม่ใช่ศึกษาตามแนวราบ เป็นการศึกษาเฉพาะที่โดยเราจะดูการเคลื่อนตัวของเขาได้สร้าง KU Tower  ขึ้นมา ซึ่งมีความสูง 117 เมตร โดย 100เมตรข้างล่างเป็นตัวที่จะสัมผัสชั้นบรรยากาศที่ได้รับความร้อนและการเคลื่อนที่ของอากาศ อีกประการหนึ่งคือมันเป็นลิมิตของความสูงของสิ่งก่อสร้างที่อยู่บริเวณใกล้สนามบิน เราวัดอุตุนิยมวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความเร็วลม อุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ ฝน อยู่บน KU Tower   5 ระดับความสูง ก๊าซและมลสารอื่นๆ 3 ระดับความสูง ข้อมูลเหล่านี้ถูกประมวลว่ามลสารหรือ Pollution มีส่วนหรือไม่ในอุตุนิยมวิทยา ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาก็ได้ผลว่ามลสารเกี่ยวข้องกับอุตุนิยมวิทยา เมื่อไหร่ที่สภาพอากาศปิดความเข้มข้นของมลสารก็จะสูงขึ้น ในอดีตผมเคยวัดมลสารที่ตึกใบหยก สูงประมาณ 300 กว่าเมตรเราจะทราบความเข้มข้นของมลสารที่มันอยู่ ทำให้เรามีข้อมูลที่จะมาอธิบายลักษณะของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้

ทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดที่เกี่ยวข้อง

ชื่อเรื่อง

  1. ฝุ่นละอองในบรรยากาศ / วิลาวรรณ์ คำหาญ
  2. มลพิษทางอากาศ [videorecording] = Air pollution / จัดทำโดย กองควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  3. Air pollution: sources, impacts and controls.
  4. สิ่งแวดล้อม--เพื่ออนาคตคนกรุงเทพฯ / คณะผู้จัดทำ ยอดฤดี ปัทมะสุคนธ์ ... [และคนอื่น ๆ]
  5. Global Crises, Global Solutions
  6. Morphology and Elemental Composition of Fine Particulate Matters PM10 by SEM-EDS
  7. Advanced technique to reduce the emissions of particulate matter (PM)
  8. บทความวิชาการ-งานวิจัย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์กรมหาชน) / กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  9. การศึกษาการลดปริมาณควันดำจากเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้น้ำมันปาล์มดีเซลโดยการติดตั้งอุปกรณ์กรองควันดำ / บุญชัย ตันติกรกุล
  10. ทัศนคติของประชาชนที่ถูกจับปรับรถปล่อยควันดำเกินมาตรฐาน / จารุพร กลั่นกำเนิด และบุญจง ขาวสิทธิวงษ์
  11. หมอกควันและมลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่ / มงคล รายะนาคร
  12. จมูกอิเลกทรอนิกส์ยามเฝ้าคุณภาพอากาศ / จักราพิชญ์ อัตโน และอุดม ทิพาราช
  13. การทำนายการกระจายตัวของฝุ่นละอองจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เพื่อการประเมินค่าดัชนีคุณภาพอากาศ / วัชรเดช ไทยวัฒน์
  14. มลพิษอากาศและการจัดการคุณภาพอากาศ / วนิดา จีนศาสตร์
  15. หลักการตรวจวัดและขั้นตอนการปรับเทียบสำหรับการตรวจวัดคุณภาพอากาศ / ส่วนคุณภาพอากาศในบรรยากาศ สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ

 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri