KULIB TALK | Special | นวัตกรรม KU สู้ภัย COVID-19

“KU libtalk special ในตอนสุดท้ายของเดือนเมษายนนี้ จะพาทุกท่านไปชมผลงานวัตกรรมจากหน่วยงานต่างๆของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการร่วมมือร่วมใจกันต้านไวรัสโคโรน่า โดยในวันนี้ขอยกตัวอย่างจำนวน2ผลงาน คือ face shield และกล่องป้องกันการฟุ้งกระจายของไวรัสจากหน่วยงาน DIDM คณะวิศวกรรมศาสตร์จากศรีราชา และหุ่นยนต์น้องนนทรีฆ่าโควิดจากคณะวิศวกรรมศาสตร์บางเขน “

คำถาม : ในการคิดค้นพัฒนาหุ่นยนต์น้องนนทรี-ฆ่าโควิดใช้เวลาพัฒนานานเท่าไหร่?

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา : หุ่นยนต์ตัวนี้นะครับ เป็นหุ่นยนต์ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคโควิดโดยเฉพาะ ใช้เวลารวมแล้วก็ประมาณสักหนึ่งเดือนนะครับสำหรับรุ่นต้นแบบแรก แต่ปรากฏว่าตอนทำมีการแก้แบบเรื่อยๆเพราะว่ามีปัญหาจุกจิกหลายๆเรื่องมาก สรุปง่ายๆก็ประมาณหนึ่งเดือนนิดๆครับ…..

คำถาม: ใช้งบประมาณในการสร้างเท่าไหร่และใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตหุ่นยนต์อะไรบ้าง ?

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา : สำหรับต้นแบบนะครับ งบประมาณใช้ประมาณ9แสนบาท แต่9แสนบาทในงานวิจัยถือว่าน้อย ยากที่สุดคือเร่งรัดมาก คือหนึ่งอาทิตย์ต้องเสร็จ สองอาทิตย์ต้องเสร็จเนี่ยถ้าแบบนี้ค่าใช้จ่ายเลยแพงนะครับ แต่ถ้าทำเป็นปีอันนี้จะไม่มีปัญหาค่าใช้จ่ายจะน้อย ตัวนี้นี่…เราต้องออกแบบประมาณ4ตัวเลยนะฮะ…เอ่อการออกแบบอุปกรณ์มีอะไรบ้าง…1 ก็มีถังฉีดยา พอดีเราต้องออกแบบให้ใช้…เอ่ออ อะไหล่ที่อยู่ในท้องตลาดระดับต่างจังหวัดด้วยก็คือเครื่องจักรกลการเกษตรนี่เอง เช่น เครื่องฉีดพ่นการเกษตรนะฮะนำเข้ามาใช้งาน คือเครื่องพ่นยานะฮะ ที่สำคัญคือหุ่นยนต์ตัวนี้ต้องมีล้อมีมอเตอร์นะฮะ มอเตอร์มีสองตัวขับเลี้ยวขวาเลี้ยวซ้ายได้รอบทิศ360องศานะฮะ และขณะเดียวกันเค้าต้องมีวงจรไฟฟ้าพวกขับมอเตอร์และก็มีแบตเตอร์รี่อยู่ และก็สำคัญสุดท้ายคือมีแขนฮะ แขนกล  แขนกลของเค้านี้จะต้องติดตั้งพวกสปริงเกอร์ สปริงเกอร์ก็จะมีหลากหลาย แรกๆนี่ก็จะมีสปริงเกอร์ฉีดพ่นแบบธรรมดานะ แต่ตอนหลังเริ่มมีปัญหา..ฉีดพ่นก็กลัวว่าฉีดพ่นแล้วทำให้เชื้อโรคฟุ้งกระจายเราก็ปรับเป็นโหมดที่2….คือโหมด1ก็ยังไม่ทิ้งยังใช้ได้อยู่นะ … แล้วโหมดที่2เป็นการโรยละออง…คือเป็นความดันต่ำมากๆ ชี้ไปข้างหน้า พุ่งไปข้างหน้าและปล่อยตกให้ตัวละอองตกที่พื้น ฉะนั้นเชื้อโรคก็จะไม่มีการฟุ้งกระจาย อันนี้คือโหมดที่2 โหมดแรกคือฉีดพ่นรุนแรง..โอเคนะ…..ฉีดพ่นรุนแรงนี่ถ้าใช้ไม่ได้จริงๆก็ไปใช้กับการเกษตรได้อยู่…หุ่นยนต์ตัวนี้ออกแบบไว้สำหรับใช้ในการทำความสะอาด การฆ่าเชื้อโรคภายในอาคาร ห้องโถงต่างๆนะฮะ วัดวาอารามโรงบาลต่างๆได้หมด ถ้าไม่เกี่ยวกับเชื้อโรคก็ไปทำการเกษตรได้ด้วย โหมดที่3อีกข้อสำคัญคือถูพื้นได้ด้วยนฮะ…เบ็ดเสร็จเลยก็…สามารถใส่ผ้าถูพื้นข้างหลังหุ่นยนต์และถูกวาดเลยฮะ…มันเหมาะมากสำหรับห้องโถงใหญ่ๆหรือลานวัดอะไรอย่างนี้หรือศาลาที่คนเข้ามาอยู่เยอะๆมันกวาดทีเดียวเลยฮะคือมันค่อนข้างทำงานได้เร็วมากเหมือนมีคนถูพื้นถึงสี่ห้าคนเลย นี่คือข้อเด็ดของหุ่นยนต์ตัวนี้..ซึ่งนี่คืออะไหล่ทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบของหุ่นยนต์ตัวนี้ครับ…

คำถาม : หุ่นยนต์น้องนนทรี – ฆ่าโควิด มีกลไกและควบคุมการทำงานอย่างไร?

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา :  น้องนนทรีตัวนี้มีความวิเศษนิดนึงคือว่า… คือเราออกแบบเพื่อมาทดแทนคนจริงๆเพราะว่าคนที่จะต้องไปสัมผัสเชื้อโรคและก็สารเคมี ละอองเคมีเนี่ย ในพื้นที่หรือในอาคารในห้องที่มีผู้ป่วยติดเชื้อแล้วออกมา..แล้วเชื้อก็อยู่ในนั้นแล้วเค้าก็กลัว…วิธีการคือเราส่งหุ่นยนต์เข้าไปฮะ แต่หุ่นยนต์นี้จะทำงานได้ก็ต้องใช้remote control เป็น joy stickฮะ…ซึ่งถ้าเป็นห้องโถงกว้างๆเนี่ย รัศมีทำการอยู่ที่ 200เมตร ระยะไกลได้สบาย แต่ถ้ามีห้องหากเป็นกำแพงรัสมีเรดาร์จะประมาณ50เมตร ถือว่าใช้ได้นะฮะ50เมตร…แล้วก็นอกจากนี้ในหุ่นยนต์มีการติดตั้งกล้อง กล้องถ่ายทอดสดนะฮะอยู่ที่หุ่นยนต์…เพราะงั้นตัวคนบังคับเนี่ยเค้าจะมีแว่นตา Var เป็นแว่นตามีจอภาพสวมไป สามารถควบคุมหุ่นยนต์ได้เลย นี่คือข้อดี…คนจะไมได้ไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงและคนก็ไม่ต้องใส่ชุด PPEคือชุดมนุษย์อวกาศซึ่งมีราคาแพงมาก…ชุดอย่างนี้ควรจะให้แพทย์ใช้ไม่ควรที่จะให้ผู้ปฏิบัติการณ์แบบนี้ใช้เลยเพราะราคาแพงและหายากนี่เป็นเหตุผลว่าผู้ปฏิบัติงานไม่จำเป็นต้องใส่ชุดนี้อีกละอยู่ข้างนอกและควบคุมรีโมทเข้าไป….หุ่นตัวนี้มีความพิเศษก็คือแขนมันสามารถกางออกได้และก็เก็บได้เพื่อหลบหลีกสิ่งกีดขวางและก็เข้าลิฟต์ได้หมด นี่คือข้อดีครับ…..

คำถาม: หุ่นยนต์น้องนนทรี-ฆ่าโควิด มีรัศมีในการฉีดพ่นได้ในพื้นที่แบบไหนได้บ้าง?

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา : น้องนนทรีนี่…ระบบล้อเค้าสามารถวิ่งได้ทั้งพื้นดิน พื้นทั่วๆไปได้เลยนะ และก็วิ่งเข้าไปในอาคารได้ แต่ถ้าเป็นบันไดสเต็ปเนี่ยประมาณ 5 เซนติเมตรพอ ….. แต่ว่าเดี๋ยวสักครู่เราจะออกแบบอีกรุ่นนึง เป็นรุ่นที่เป็นแบบขึ้นบันไดได้เลยเพราะบางอาคารเป็นอาคารเก่าไม่มีลิฟท์จะขึ้นลำบาก แบกก็หนัก เราก็ให้มันไต่บันไดได้ ซึ่งจะออกแบบชุดต่อไปนะฮะ และก็สำคัญอีกข้อนึงคือห้องโถง มีลิฟท์ไม่มีลิฟท์ได้หมด ห้องแคบๆได้ ที่ระยะประมาณเข้าลิฟท์ได้…ระยะนั้นก็เข้าได้หมดเลยทุกที่ มีโต๊ะอะไรอยู่ข้างๆก็เข้าได้หมด เพราะระบบการฉีดพ่นจะเป็นแบบเก็บแขนได้ด้วย ฉีดแนวดิ่งฮะ หรือกลางออกได้ด้วย ถ้าโล่งๆแบบลานวัดเนี่ยใหญ่ๆชอบเลย ทำแปปเดียวก็เสร็จละ… งานทำความสะอาดหรืองานฉีดพ่นหรืองานถูพื้น งานที่โหดที่สุดคือลานกว้างๆนี่แหละ คือมันต้องใช้แรงงานและใช้เวลา แต่หุ่นยนต์นี้ทำงานเสร็จเร็วมากเหมือนมีคน5คนช่วยกันถูพื้น ความเร็วนี่เราคำนวณแล้วระยะทำการคือกางปีกไปเกือบ3เมตร …. เราคำนวณแล้วว่าประมาณถังถังนึง…เนื่องจากเราบรรจุ2ถัง…เอ่อถังละ25ลิต ถังก็50ลิตร เอ่อ..รัศมีทำการก็คือ1ไร่ฮะ…ถ้าเป็นอาคารนี่ได้หลายชั้นเลยในการทำการแล้วไป…

คำถาม : หุ่นยนต์น้องนนทรี-ฆ่าโควิด มีประสิทธิภาพในการทำงานได้มากกว่าคนกี่เท่า?

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา : ประมาณสองถึงสามเท่าครับ ถ้าเป็นถูพื้นนี่เห็นชัดเลยสามสี่เท่า แต่ถ้าฉีดพ่นนี่ใกล้เคียงคน แต่คนโอกาสที่ละอองยาตกสม่ำเสมอจะค่อนข้างยาก แต่ของหุ่นยนต์นี่จะฉีดพ่นเสมอหมด คุณภาพงานจะต่างกันมาก อย่าลืมเชื้อโรคนะ..คุณต้องพ่นให้ทั่วถึง ถ้าตกค้างอยู่หนิอันตรายนะฮะ..ถ้าเป็นการฉีดพ่นหุ่นยนต์ทำงานได้มากกว่าสองเท่า แต่ถ้าเป็นถูพื้นนี่ห้าเท่าเลย

คำถาม : หุ่นยนต์น้องนนทรี-ฆ่าโควิด ได้ไปปฏิบัติงานที่ไหนบ้าง ?

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา : ตอนนี้นะฮะคือทดสอบอยู่ที่มอเกษตรศาสตร์คณะวิศวะฯ และตอนนี้คือเรามีความตั้งใจว่าจะออกสนามข้างนอก แต่เราจะเลือกพวกวัดหรือสถานที่ตลาดสดที่มีคนชุมนุมนะฮะ..แล้วตอนกลางคืนแล้วเราก็ปฏิบัติการฉีดพ่นหรือจะไปถูพื้นก็ได้… ส่วนโรงบาลนี่รอดูก่อนเพราะเรายังไม่อยากไปแตะโรงบาลเพราะว่าตอนนี้สภาวะที่นั่นก็ยังไม่ค่อยเรียบร้อยเท่าไหร่นัก เอาไว้ให้โรคร้ายสงบซักนิดนึงก่อนเราไปยุ่งกับแพทย์มากไม่ได้ช่วงนี้เพราะงานเค้าเยอะมาก…งานที่เรามองอยู่ตอนนี้ก็คือไม่ว่าจะห้างสรรพสินค้า…เพราะอนาคตอีกไม่นานคงจะเปิดเมืองแล้วแหละ ระบบทำความสะอาดเป็นเรื่องสำคัญ สมมุติมีคนติดเชื้อในอาคารนี่มีเรื่องเลย แม่บ้านก็ไม่กล้าเข้าไปทำความสะอาดมันต้องส่งหุ่นยนต์….ผมยังนึกไม่ออกเลยจะมีวิธีใดถ้าไม่ใช่หุ่นยนต์เข้าไปทำ ถ้างั้นถ้าเอาคนเข้าไปทำคุณต้องใส่ชุด PPE ซึ่งหายากมากนะครับผม….

คำถาม : อาจารย์มีแนวติดในการพัฒนาศักยภาพของหุ่นยนต์น้องนนทรี-ฆ่าโควิด ในด้านไหนอีกบ้าง?

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา : ตอนนี้เป็นล้อนะฮะ ตอนนี้ยังขึ้นบันได้ไม่ได้ แต่ขึ้นลิฟท์ได้หมด ต่อไปเราจะออกแบบให้ขึ้นลิฟท์ได้ สองก็คือขึ้นบันไดได้ บันไดก็มีความสูงไม่เท่ากันเราต้องทำเป็นตีนตะขาบ แต่การทำขึ้นบันไดได้เนี่ยต้องเป็นแบบนี้ฮะ…..หุ่นยนต์ตัวเก่าทั้งหมดต้องไปขี่อยู่บนหุ่นยนต์ตัวนี้ฮะที่ไต่บันไดโดยเฉพาะ เราใช้หลักากรคือหุ่นยนต์2ตัว หุ่นยนต์ตัวนึงเป็นฐานและอีกตัวนึงขึ้นค่อมเลยและไต่ขึ้นบันได พอพ้นบันไดเสร็จปุ๊บ…ปลดออก…ไอ่นี่ก็ลงไป..ไอ่นี่ก็ทิ้งไว้ก่อน เพื่อขากลับจะได้กลับและไต่ลง…เราจะออกแบบแบบนี้…เพราะถ้าออกแบบแบบนี้ปุ๊บ..หุ่นยนต์ตัวที่เราทำเวอร์ขั่นก่อนๆเค้าก็สามารถใช้การขึ้นบันไดได้ด้วย หลักการก็คล้ายๆจรวจสองท่อนฮะ สลัดทิ้งแต่ก็มาทำหน้าที่คู่ประสานกันแบบนี้ดีกว่า…นี่เรื่องไต่บันได้แล้วนะฮะ……อีกเรื่องก็คือเรื่องการถูพื้น…ตอนนี้เรื่องการถูพื้นเรายังเป็นแบบทางราบอยู่..เราอยากออกแบบให้เค้าสามารถเก็บแขนถูพื้นได้ด้วย และเก็บแขนเจ้าฉีดพ่นได้ด้วย…หรือฉีดพ่นพร้อมถูตามหลังต้องได้ด้วยมันมีหลายเรื่องมาก เราอยากให้หุ่นยนต์ตัวนี้เป็นหุ่นยนต์ที่เก่งเรื่องการทำความสะอาดโดยเฉพาะทั้งฆ่าเชื้อและถูให้เสร็จ…แต่การถูพื้นไม่หมูฮะ ในแง่ที่ว่า..ผ้าจะสกปรกมันต้องมีระบบซักล้างซึ่งเดี๋ยวเราต้องออกแบบระบบให้แขนกลไปจุ่มแล้วก็ซัก..เขย่า..และก็ใช้ต่อได้อะไรอย่างนี้นะฮะ…ซึ่งรายละเอียดมันจะเยอะมาก…เวอร์ชั่นนี้ไม่รู้ว่าจะไปได้แค่ไหนเพราะมาทำงานแทนคนเกือบร้อยเปอร์เซนต์…และอีกข้อคือการเช็ดถูแนวดิ่ง ราวบันได ผนัง อันนั้นก็อีกแบบนึงนะเพราะมันไม่ง่าย อันนั้นต้องขอเวลาวิเคราะห์ต่อไป เพราะระดับต่างประเทศทำของพวกนี้เค้ายังยากเลย…และอีกข้อคือการไร้คนขับ ไร้คนบังคับให้มันวิ่งเอง อันนี้ก็โหดไป… แนวโน้มต้องรอปีหน้าก่อนเพราะเทคโนโลยีทางด้านไร้คนขับไร้คนบังคับ หุ่นยนต์มีตามีกล้องแล้วหาเส้นทางไปเองได้ ทำแผนที่ห้องได้ อันนี้เรามีเทคโนโลยีอยู่แล้วเพียงแต่ว่ายังไม่เหมาะสมที่จะทำทางด้านนี้…รอสักหนึ่งปีก่อน…..

คำถาม: อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไร กรณีที่ว่าการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อที่ตัวบุคคลหรือสถานที่ไม่ช่วยลดความเสี่ยงการติดของเชื้อโควิด-19

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา : คือต้องแยกเป็น2ประเด็น พื้นที่โล่งที่แดดส่อง..โอเคอาจจะไม่จำเป็น…แต่เรื่องนี้พูดยากเพราะคนมีความวิตกกังวล…ค่อนข้างเข้าใจนะครับว่า..หนึ่งเราทำไมต้องทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ยังไม่ได้อยู่เข้าบ้านเลย มันเป็นเรื่องของความเชื่อ เรื่องของความรู้สึกไว้วางใจ มีความมั่นใจ ฉะนั้นการทำความสะอาดห้อง ทำความสะอาดอาคารมันก็เป็นเรื่องที่จำเป็น ต่อให้ทางทฤษฎีเชื้อตายแน่นอน แต่มันไม่เห็นด้วยตา… แล้วอย่าลืมเชื้อนี่อยู่ในอากาศได้30นาที อยู่บนพื้นได้เป็นวันนะฮะ ตอนหลังนี่ข่าวสารบ้านเมืองเริ่มงงแล้ว แพทย์บางคนก็บอกว่า เชื้ออยู่ได้สองวันสามวัน อากาศร้อนก็อยู่ได้ สมัยก่อนบอกว่าติดเชื้อทางอากาศไม่ได้ ตอนหลังบอกว่าติดได้ มันเริ่มสับสน เพราะงั้นทางออกที่ดีที่สุดคือ safety ทำให้หมดทุกอย่างเลย หุ่นยนต์นี้จึงต้องออกแบบไว้เผื่อพลาด ถ้าฟุ้งกระจายเราก็ต้องมีการโรยละอองให้มันลงช้าๆ หรือเราโรยละอองไม่ได้อีก ก็ถูพื้นเลย เพราะสุดยอดที่สุดคือถูพื้น ถ้าถูพื้นไม่ได้ไม่มีการทำความสะอาดได้เลย ….. แต่การถูพื้นมีข้อเสีย…อย่างเช่นในห้างสรรพสินค้า ชั้นที่วางของคุณจะเอาผ้าไปนั่งถูเป็นขวดๆไม่ได้หรอก… และเราอย่าลืมนะว่าคนไปจับต้องสินค้าทุกอันเราไม่รู้อันไหนโดนคนมีเชื้อไปสัมผัส อย่างอยู่บ้านนี่ไม่มีปัญหาเพราะสามารถรู้ว่าลูกบิด หรืออันไหนที่มือไปจับ แต่ในห้างที่เป็นพื้นที่สาธารณะหมดสิทธิ์ไม่มีทางรู้เลยฮะ เพราะฉะนั้นการฉีดพ่นก็ยังจำเป็น…แต่การฉีดพ่นวิธีที่เราเสนอคือไม่ได้ฉีดพ่นตรงๆ ใช้ละอองตกง่ายกว่าเยอะ….และอย่าลืมในพื้นที่ปิดเค้าฉีดตอนกลางคืนพ่นตอนกลางคืนและทิ้งไว้ทั้งคืน ละอองตกอยู่แล้วเชื้อโรคตายอยู่ในนั้นอยู่แล้ว…แต่ถ้าเป็นห้องโถงที่มีลมพัดไปพัดมา อันนี้อาจจสิ้นเปลือง อย่าลืมว่าการฉีดพ่นทำมา50กว่าปี…ผมก็งงทำไมพึ่งมาเป็นประเด็นตอนนี้ แต่ไม่ว่ากัน…เนื่องจากเราเป็นวิศวกรเราไม่รู้เรื่องโรคติดต่อหรอก เพราะงั้นเราเลยต้องทำสามโหมดพร้อมหมด จะโหมดไหนก็ตอบโจทย์ได้หมดทุกข้อ….

คำถาม: หากผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่ออาจารย์ทางไหนได้บ้าง

ผศ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา : ถ้าทั่วไปก็เข้าทาง Fanpage ที่ชื่อว่า นวัตกรรม Ku สู้ภัย covid-19  หรือมาติดต่อที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มอเกษตรศาสตร์ก็ได้นะฮะ และเป็นที่น่ายินดีว่าทางสมาคมศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำลังระดมทุน CSR เพื่อผลิตหุ่นยนต์นี้หลายตัวเลย เพื่อไปให้บริการตามโรงบาลต่างๆหรือตามสถานที่ ที่มีแหล่งชุมนุมเยอะๆเพื่อไปฆ่าเชื้อโรค นี่ก็เป็นอีกช่องทางนึง หลังจากนั้นคือค่อยเข้าสู่เชิงพานิชย์ต่อไป…เพราะยังไงโรคไวรัสติดเชื้อแบบนี้ไม่จบง่ายๆฮะเป็นปี และไวรัสก็ต้องกลายพันธุ์อีก และวัคซีนกับยาตามหลังไม่ทัน เพราะฉะนั้นการรักษาความสะอาดหรือการฆ่าเชื้อโรคจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไมได้ นี่คือธุรกิจแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนี้นะฮะ…..

และอีกหนึ่งผลงานจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

“Face Shield  และกล่องป้องกันการฟุ้งกระจายของไวรัส” โดย ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์

คำถาม : อยากทราบถึงบทบาทหน้าที่ของหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีดิจิตอลการออกแบบและผลิตทางอุตสาหกรรมหรือ DIDM ว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชาอย่างไร ?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ : ตอนนี้ DIDM เป็นหน่วยงานวิจัยที่สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชาโดยบุคลากรมีทั้งอาจารย์ที่มาจากทั้งสาขาวิศวกรรมเครื่องกลและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดย DIDM มีกิจหลักในเรื่องของการวิจัยและการบริการวิชาการแก่ภาคอุตสาหกรรม โดยเราจะเน้นเทคโนโลยีทางด้านดิจิตอลต่างๆมาบูรณาการร่วมกับองค์ความรู้ด้านการออกแบบและผลิตเชิงอุตสาหกรรมเพื่อนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือปรับปรุงการผลิต การทำงานต่างๆให้ดีขึ้น โดยเราจะโฟกัสการนำไปใช้ในฟิลด์เช่น ด้านการแพทย์ ด้านของการออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆครับ

คำถาม: ที่ทราบมาว่าผลงานล่าสุดของ DIDM คือการทำอุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือว่า face shield สำหรับป้องกันเชื้อและก็กล่องป้องกันเชื้อฟุ้งกระจาย ซึ่งถือว่าเป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ในภาวะแบบนี้มากเลยใช่ไหมคะ ?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ : คือตอนที่เราพึ่งทำกันเนี่ย ก็คือเกิดขึ้นในช่วงแรกของโรคโควิดระบาด เพราะทีมงานในหน่วยวิจัยของเราก็เลยคุยกันว่า เรามีเทคโนโลยีและก็เครื่องจักรที่สามารถไปช่วยผลิตอุปกรณ์ให้หมอและพยาบาลได้ เราเลยเริ่มลงมือทำงานกัน

คำถาม : อุปกรณ์ที่การผลิต มีขั้นตอนการผลิตยังไง ใช้วัสดุอะไรที่นำมาใช้แล้วได้คุณภาพทางการแพทย์ หรือมีข้อดียังไงในการผลิตชิ้นส่วนพวกนี้ ?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ : วัสดุ face shield มีโครงสร้างหลักคือที่ใส่ตรงหัว โดยโครงสร้างหลักตัวนี้เราจะใช้พวกวัสดุ PLA นะครับในการทำขึ้นมา ส่วนที่เป็นพลาสติกที่ขอบด้านล่าง ที่เอาไว้ตรึงแถวๆคางเราจะใช้เป็น ABS ซึ่งทั้งสองวัสดุเอาจริงๆแล้วก็มีความแข็งแรงต่อการใช้งานนะครับ โดยการผลิตไม่ว่าจะเป็นตัวที่หัวก็ดี คางก็ดี เราก็ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า 3d printing ในการทำทั้งหมดนะครับ…. ถ้าเกิดขยายความให้เข้าง่ายๆก็คือ การนำเอาเส้นพลาสติกที่เราเรียกว่า filament มาหลอมแล้วก็ฉีดผ่านหัว นอสโซ่ ซึ่งพลาสติกที่ออกมาผ่านหัวนอสโซ่ก็จะถูกวางเป็นชั้นๆจนกระทั่งชิ้นงานของเราสมบูรณ์ พอเราทำเสร็จก็มาเก็บรายละเอียดคือลบความคม ทำให้มันสวยงามมากขึ้นแล้วจึงเอามาประกอบกับตัวแผ่นพลาสติก แล้วตรึงกับที่ทางด้านข้าง แล้วจึงส่งมอบแก่คุณหมอคุณพยาบาลครับ

คำถาม : การออกแบบกล่องป้องกันเชื้อฟุ้งกระจาย มีแนวคิดในการออกแบบอย่างไรเพื่อนำไปใช้งานจริงบ้างคะ ?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ :  หลังจากทำ face shield ได้ระยะหนึ่ง เราก็ไปส่งมอบแก่หมอและพยายาล หมอกับพยาบาลก็ถามว่าพอจะทำกล่องแบบนี้ให้ได้ไหมเพราะมีความจำเป็นต้องใช้เราก็เลยมองว่า เราออกแบบให้ง่ายที่สุด ผลิตได้ง่าย ราคาไม่สูงมาก เวลาในการผลิตน้อย แต่ยังคงฟังก์ชั่นให้หมอพยาบาลใช้งานเป็นฉากกั้นสำหรับการทำหัตถการต่างๆได้อยู่ครับ….

คำถาม : ทาง DIDM มีความร่วมมือหรือได้รับความสนับสนุนจากหน่วยงานใดบางในการพัฒนาอุปกรณ์ทั้งสองชิ้นนี้?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ : การสนับสนุนต่างๆแบ่งออกเป็นสองส่วนหลักด้วยกัน ส่วนแรกคือบริษัทต่างๆที่ข่วยเราทำอะไหล่บำรุงรักษาเครื่อง 3D printing ต่างๆให้เราโดยที่ไม่คิดค่าใช้จ่ายเลย อีกส่วนหนึ่งก็คือเป็นบริษัทหรือว่าห้างร้านต่างๆที่เค้าสนับสนุนในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ให้เรามาทำงานหลักๆ   ในกรณีของ DIDM ก็จะเป็นสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยครับ…..

คำถาม : ตั้งเป้าการผลิตไว้อย่างไร?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ :  ในส่วนของกำลังการผลิต ถ้าเป็น face shield เราจะสามารถทำได้ประมาณ 40-50ชิ้นต่อวัน

แต่ถ้าเป็นส่วนของกล่องที่เราเกริ่นไปข้างต้น ก็จะทำได้สัก6กล่องต่อวัน ถ้าถามว่าตัวเลขเหล่านี้มันเพียงพอไหมที่จะส่งให้หมอและพยาบาล ก็คือต้องตอบว่าไม่เพียงพอ เพราะว่าความต้องการของคุณหมอพยาบาลมีอยู่ตลอด และเราก็ทำเพื่อที่จะแจกให้โรงพยาบาลทั่วประเทศไทยเลยครับ…..

คำถาม : เราผลิตแบบ Manual หรือมีเครื่องจักรในการผลิต ?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ :  เราผลิตด้วยเครื่อง 3D Printing ครับ  3D printingก็คือเราจะเอาตัวเครื่องใช้พลาสติกฉีดผ่านตัวนอสโซ่และเรย์อัพเป็นชั้นๆครับ

คำถาม : มีทั้งหมดกี่เครื่องคะ ?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ :  9 เครื่องครับ

คำถาม : เครื่องนี้ก็คือพัฒนาจากทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชาเองใช่ไหมคะ ?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ : หมายถึงตัวเครื่องใช่ไหมครับ…. ถ้าเป็นตัวโครงของมันเราก็ซื้อมาปกตินี่แหละครับ แต่ในส่วนของซอฟต์แวร์ต่างๆ หรือในส่วนของโครงสร้างที่มีการปริ้นท์คือเรามีการปรับปรุงโดยบุคลากรของแลปเราเองครับ…

คำถาม: อุปกรณ์ทั้งสองชนิดนี้ถูกบริจาคไปยังโรงพยาบาลใดแล้วบ้าง… แล้วโรงพยาบาลไหนดูรายการ Ku libtalk แล้วสนใจสามารถติดต่อมาทางช่องทางไหนได้บ้างคะ…

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ :  ตอนนี้เราก็ไปให้หลายโรงพยาบาลนะครับ เช่น โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตที่สัตหีบ โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติที่ธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลคามิลโล โรงพยาบาลไทรโยก โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ และก็โรงพยาบาลหาดใหญ่ที่สงขลานะครับ ก็เรียกได้ว่าครอบคลุมหลายที่ ส่วนช่องทางในการติดต่อให้อินบล็อกมาที่ facebook fanpage ของหน่วยวิจัยได้เลยครับ

พิธีกร: facebook fanpage ศูนย์วิจัยคือ  DIDM : Digital industrial Design and Manufacturing Research Unit นะคะ ชื่อนี้เลยนะคะ

คำถาม :สำหรับทาง DIDM ตอนนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาผลงานอะไรอีกที่สนับสนุนการทำงานของทีมแพทย์คะ?

ผศ.ดร.ณัฐพล  จันทร์พาณิชย์ :  ในส่วนของเป้าหมายในตอนนี้ยังไม่มีอะไรพิเศษนะครับ นอกจากว่าเราพยายามที่จะใช้เทคโนโลยีที่เรามีอยู่ในการทำอุปกรณ์ตัวนี้ไปยังความต้องการของแพทย์ เพื่อสนับสนุนให้คุณหมอพยาบาลที่เสียสละในการทำงานเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ได้มีความปลอดภัยมากขึ้น อย่างไรก็ตามผลงานที่เราได้แจกจ่ายไปยังพยาบาลต่างๆต้องเรียนว่าไม่ได้มีผมคนเดียวที่ทำนะครับ ผมก็ต้องขอขอบคุณในส่วนของทีมงานของผมทั้งหมดด้วย ซึ่งก็คืออาจารย์ สุจินต์ วันชาติ นะครับ  อาจารย์ ธรรมนุวัฒน์ วาลีประโคน อาจารย์ ประสิทธิชัย ณรงค์เลิศฤทธิ์ อาจารย์ จิรวัฒน์ จิตประสูติวิทย์ และก็ยังมีผู้ช่วยวิจัยของผมอีก2คนก็คือคุณ ณัฐนนท์ ขุนทอง คุณ เมลวิ่ง สแตนเล่ย์ รวมไปถึงจิตอาสาน้องๆนักศึกษาที่เข้ามาช่วยงานครั้งนี้ด้วยนะครับผม……..

“แล้วเราจะผ่านวิกฤต Covid-19 ไปด้วยกัน….”

 

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

รวมผลงานของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล จันทร์พาณิชย์ ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

Corona virus disease-2019 infection: Prevention and control.

Negative pressure aerosol containment box: An innovation to reduce COVID-19 infection risk in healthcare workers.

Design, usage and review of a cost effective and innovative face shield in a tertiary care teaching hospital during COVID-19 pandemic

3D Printing for dummies 

3D printing with Autodesk 123D : create and print 3D objects with 123D, Autocad, and Inventor

3D printing : the next industrial revolution


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri