KULIB TALK | EP.53 | เรื่องกล้วยๆ ที่ไม่กล้วย

“สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ KULIB Talk ครับ ซึ่งเป็นการไลฟ์ผ่านทาง Facebook ของสำนักหอสมุดของทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครับ กระผม เฉลิมเดช  เทศเรียน รับหน้าที่เป็นพิธีกรในวันนี้ครับ และวันนี้เองเราก็พาท่านผู้ชมมาที่สถานีวิจัยปากช่อง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครับ วันนี้เราจะพาท่านผู้ชมมารู้จักกับกล้วยสายพันธุ์หนึ่งครับ ซึ่งมีข้อเด่นคือออกผลตลอดทั้งปีนะครับ ซึ่งจะเป็นสายพันธุ์อะไรนั้น เดี๋ยวเราจะพาท่านผู้ชมมาทำความรู้จักกับกล้วยสายพันธุ์นี้กันครับ และในวันนี้ครับเราก็ได้อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญที่ทำวิจัยเกี่ยวกับกล้วยสายพันธุ์นี้ขึ้นมานะครับ ซึ่งก็คือ อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส ซึ่งเป็นนักวิจัยชำนาญการพิเศษ ขอต้อนรับอาจารย์เข้าสู่รายการ KULIB Talk ครับ “

พิธีกร คือ คุณเฉลิมเดช  เทศเรียน

ผู้ให้สัมภาษณ์คือ : อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส

พิธีกรถาม : อยากทราบว่า ที่มาที่ไปเริ่มแรกของการวิจัย เริ่มต้นได้อย่างไรครับ ?

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : สำหรับกล้วยน้ำว้าที่เราจะคุยกันวันนี้คือกล้วยน้ำว้าปากช่อง50 ค่ะ เป็นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เราได้ออกพันธุ์มาเมื่อปี 2551 แล้วที่เราให้ชื่อว่ากล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 นั้นก็เนื่องจากสถานีวิจัยปากช่องครบรอบ 50 ปี เป็นการเฉลิมฉลองค่ะ … ข้อดีของกล้วยน้ำว่าปากช่อง 50 ดีอย่างไรถึงได้รับความนิยมก็คือ ผลผลิตสูง เครือใหญ่ ลูกอ้วนสม่ำเสมอและลำต้นสูงใหญ่ ถ้าลำต้นไม่สูงใหญ่จะรับน้ำหนักเครือไม่ได้  ไม่ต้องใช้ไม้ค้ำ… เมื่อเทียบกับพันธุ์อื่น จริงๆแล้วกล้วยน้ำว้าในประเทศไทยมีหลากหลายสายพันธุ์แต่ว่าคนจะแยกไม่ออก จะสร้างมาตรฐานของกล้วยไม่ออก เราก็เลยได้ทำการรวบรวมกล้วยน้ำว้าทั่วประเทศมาศึกษาที่สถานีวิจัยปากช่อง ว่ามีข้อแตกต่างกันจริงหรือไม่….. ที่นี่จะเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์กล้วย และฐานข้อมูลพันธุ์กล้วยในประเทศไทย ตอนนี้ทำอยู่ 120 กว่าชนิด และทำอยู่ในฐานข้อมูลสามารถเข้าไปเปิดค้นได้ แต่ทีนี้พอเรารวบรวมปุ๊บเราเลยสังเกตุว่ามีพันธุ์เศรษฐกิจแค่กล้วยหอมและกล้วยไข่เราจึงมองว่าทำไมไม่ศึกษาเรื่องของกล้วยน้ำว้า ซึ่งเรามองว่าในอนาคตกล้วยน้ำว้าสามารถทำการแปรรูปได้และมีคุณค่าทางอาหารสูง แต่พออาจารย์ได้รวบรวมมาจากหลายสถานที่จึงพบความแตกต่างว่า ไม่ใช่เป็นพันธุ์ที่ทุกคนเข้าใจว่าต้องปลูกน้ำชุ่ม ดินดำดูแลดีจึงจะเครือใหญ่ ลูกใหญ่สีสวย อาจารย์เลยมามองดูก็คิดว่ามันไม่ใช่ก็เลยรวบรวมและปลูกเปรียบเทียบในสถานีวิจัยปากช่อง ใช้ข้อจำกัดต่างๆเหมือนกันหมดและทดสอบปรากฏว่ามีความแตกต่างของสายพันธุ์จริงๆ อย่างเช่นเปลือกสีเขียวเข้ม หรือเปลือกสีนวลๆ หรือออกสีเขียวอ่อนๆ พอปลูกเปรียบเทียบเสร็จปรากฏว่า กล้วยน้ำว้า50 (ต้นกำเนิดคือสายพันธุ์อุบลราชธานี)  มีความโดดเด่นขึ้นมา ไม่ว่าในฤดูกาลไหนก็ให้ผลผลิตสูงกว่า ถึงจะหน้าแล้งหรือดูแลไม่ดีเค้าก็ยังให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์อื่นๆ และก็ลักษณะผลดี…อาจารย์ทำการปลูกทดสอบไม่ใช่แค่ปีเดียวหรือฤดูกาลเดียว อาจารย์ทำการทดสอบตัวนี้อยู่ประมาณ10ปี พอรู้แล้วว่าพันธุ์นี้โดดเด่นจริงก็ทำแปลงใหญ่ทำเป็นไร่ เป็นร้อยต้นและหลายๆที่ไม่ใช่ทำแค่ต้นสองต้นแล้วสรุป ก็ปรากฏว่าเค้าก็ยังได้ผลผลิตสูงคุณภาพดี….เลยออกพันธุ์นี้เมื่อปี 2551 จากนั้นอาจารย์ก็เลยส่งไปให้เกษตรกร และทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีไม่ใช่แค่ตัวของพันธุ์กล้วย เพราะอาจารย์มุ่งเน้นว่าจะให้เค้า (กล้วยน้ำว้าปากช่อง50) เข้าสู่การผลิตเพื่อการค้า เพื่อการอุตสาหกรรม เพื่อการแปรรูป……ทำไมเราจะต้องมาปลูกกล้วยที่ได้ผลผลิตต่ำทั้งที่อายุการเก็บเกี่ยวเท่ากันหันมาปลูกปากช่อง 50 ได้ผลผลิตสูง ดีไม่ดี 1 เครือเท่ากับ 2 เครือของปากช่อง 50 ก็เลยแนะนำตัวนี้ออกไปในระดับของอุตสาหกรรมปากช่อง 50   

พิธีกร : เห็นในปีนึงมีการนำกล้วยปากช่อง50ไปออกบูธที่เกษตรแฟร์…?

อาจารย์ กัลยาณี สุวิทวัส : ทางมหาวิทยาลัยให้เราขึ้นโชว์เรื่องนวัตกรรมและเราก็มีต้นแจกด้วยปรากฏว่าบูธเราหางยาวไปถึงประตู…….พูดถึงปัจจุบัน กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ก็เป็นกล้วยอีกชนิดหนึ่งที่เข้าสู่การค้าในระดับอุตสาหกรรมและการแปรรูปเนื่องจากที่คุณเปรม(พิธีกร) กล่าวไปว่าให้ผลผลิตสูง

พิธีกร :  เห็นว่าออกตลอดทั้งปีด้วย ?

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : เดี๋ยวคนเข้าใจว่ากล้วยของอาจารย์เดี๋ยวก็ออกเครือ เดี๋ยวก็ออกเครือ…ความจริงไม่ใช่นะคะ…กล้วยเวลาออกเครือเสร็จก็จะตาย แต่ว่าก็จะมีเทคนิคการไว้หน่อ การไว้กอ การไว้หน่อตาม สำหรับกล้วยหอมกล้วยไข่เค้าจะไม่ไว้หน่อกันเค้าจะนิยมปลูกใหม่กัน สำหรับกล้วยน้ำว้าอาจารย์ให้ไว้หน่อ วิธีการไว้หน่ออาจารย์ก็ศึกษาว่าไว้หน่อยังไงให้ผลิตผลยังดีอยู่ไม่ใช่ให้ต้นแม่ตายแล้วค่อยมาไว้หน่อ เพราะว่ากล้วยน้ำว้าถ้าเราปลูกจากต้นแรกเลย 10-12 เดือน ถึงจะแทงปี และก็อีก 4 เดือนถึงจะเก็บเกี่ยวก็ปีกว่าในต้นแรก แต่พอเราไว้กอเราก็จะรู้สึกว่าเดี๋ยวก็ได้ตัด….อาจารย์ก็เลยมาศึกษาวิธีการไว้หน่อตาม พอต้นแม่อายุได้ 6 เดือน เราจะไว้หน่อลูกคนที่หนึ่ง พูดง่ายๆ ว่าลูกคนที่หนึ่งก่อนหน้านั้นตัดทิ้งหมดเลย เพราะว่าถ้าเราปล่อยให้โตทันต้นแม่ก็จะไปแย่งอาหารต้นแม่ ก็คือ 6 เดือนไว้หนึ่งหน่อ แต่พอลูกคนที่1ได้3เดือน เราก็จะไว้ลูกคนที่ 2 และพอลูกคนที่ 2 ได้ 3เดือน ทีนี้ทุกๆ 3 เดือนเราจะเก็บไว้หนึ่งหน่อ เรามาศึกษาว่าการทำดังกล่าวอาหารในดินพวกฟอสฟอรัส โพแทสเซียมจะถูกใช้ไปทั้งหมด เพราะว่าอายุต่างกัน แต่ถ้าเราเอาอายุไว้ใกล้เคียงกันเค้าก็จะแย่งสารอาหารกัน แต่ถ้าทำวิธีดังกล่าวเค้าได้ใช้ทั้งหมด เช่น ต้นแม่ใกล้ออกเครือ แทงปี ใช้ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ลูกเล็กใช้ไนโตรเจนเค้าก็จะไม่แย่งอาหารกัน ทีนี้พอสามเดือนอาจารย์ลองไปทดสอบในแปลง 1 ไร่ ประมาณ 100 ต้น ปรากฏว่าช่วงอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิต จะเก็บเกี่ยวภายใน 3 เดือน ก็คือจะมีช่วงพีคของเค้า เช่น ถ้าเราปลูกจากหน่อจาก 50% เก็บเกี่ยวพร้อมกัน เดือนหน้าอาจจะ 20% หรือเดือนต่อมาอาจจะ 30% ก็จะมีการกระจายอยู่ภายใน 3 เดือน เพราะฉะนั้นกว่าเราจะเก็บเกี่ยวเสร็จในล็อตนี้ ลูกรุ่นต่อมาก็จะตกเครือ พอรุ่นที่1 จะเก็บเกี่ยวภายใน 3 เดือน รุ่นที่ 2 ก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวแล้ว ก็คือเป็นที่มาว่ากล้วยชองเราสามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี  พอเข้าปีที่ 2 ทุกๆ 3 เดือน แปลงของเราก็จะสามารถมีกล้วยตัดเก็บเกี่ยวได้ และที่สำคัญพ่อค้าสามารถมาจัดการได้ว่าแปลงนี้เข้าเดือนไหน ได้กล้วยออกไปเท่าไหร่ มีกล้วยเก็บเกี่ยวเท่าไหร่ บางทีแปลงใหญ่ๆพ่อค้าแม่ค้ามาติดแท็คไว้เลย คล้ายการจองผลผลิตไว้ …….โดยเฉพาะที่นำเข้ามากล้วยน้ำว้าแพงมากและลูกไม่สวยตอนนี้แค่หวีที่อาจารย์เอามาให้ดูก็มีราคา 40 บาท ออกจากหน้าสวนก็ 20บาทแล้ว….

พิธีกร : มองด้วยตาเปล่าจะสามารถดูลักษณะเด่นของกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ได้อย่างไรบ้างครับ ?

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : ( อาจารย์เอากล้วยให้พิธีกรถือ 1 หวี และอาจารย์ถือ 1หวี กล้วยปากช่อง50  ) (อาจารย์ชี้ไปที่กล้วยในมือพิธีกร) นี่เป็นน้ำว้าเขียว เปลือกเค้าจะสีเขียวเข้มเลย ส่วนน้ำว้าปากช่อง50 สีจะออกสีเขียวอ่อน เขียวนวล ถ้าเราเจอแบบนี้เราบอกว่ากล้วยน้ำว้าเหมือนกันแล้วเราเอาไปแปรรูป คุณภาพการแปรรูปจะไม่เหมือนกัน กล้วยน้ำว้าเขียวจะค่อนข้างฝาด พอไปทำกล้วยตากจะดำ ส่วนกล้วยน้ำว้าปากช่องจะไม่ดำจะใสกว่า แต่กล้วยน้ำว้าเขียวเอาไปทำข้าวต้มมัดจะออกสีแดงเข้มๆ แต่ถ้าเอาปากช่อง50 ไปทำจะออกสีชมพูอมเหลืองไม่แดง…นี่ก็เป็นลักษณะของข้าวต้มมัดใส้กล้วยค่ะ… (เปรียบเทียบลักษณะกล้วยอีกสักนิด)……>>>  (ชี้ไปที่กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ) เวลาสุกนะคะสีเค้าจะซีด เปลือกจะซีด แต่ไส้จะออกไส้ขาวเหมือนมะลิอ่อน เวลาทำกล้วยแผ่นอบ กล้วยตาก เนื้อก็จะใสน่าทาน…

          ทีนี้เรามาพูดถึงข้อดีของกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 จะเห็นว่าลูกเค้าจะกลมอ้วนสม่ำเสมอ ทรงจะทรงกระบอกนิดนึง อันนี้อาจจะเห็นไม่ชัดเพราะกล้วยเจอวิกฤตแล้ง ที่แพงเพราะแล้ง ถ้าในลักษณะกล้วยที่ได้น้ำดี อากาศดี ทรงจะเป็นทรงกระบอกขึ้นมานิดนึงและมีผลผลผลิตดีกว่านี้แต่ที่สำคัญคือลูกจะสม่ำเสมอและผลผลิตสูง วันนี้เลยไม่มีกล้วยสุกให้คุณเปรม (พิธีกร) ได้ชิม

พิธีกร : จุดเด่นอย่างหนึ่งคือกล้วยมีทรงกระบอก และใหญ่สม่ำเสมอ เพราะฉะนั้นลักษณะเด่นที่อาจารย์บอกไปเบื้องต้นคือต้นสูงใหญ่ โดยที่เราไม่ต้องเอาไม้ค้ำ….  คราวนี้มาในเรื่องของการขยายพันธุ์ ทางสถานีวิจัยปากช่องใช้วิธีใดบ้างครับ…

อาจารย์ กัลยาณี สุวิทวัส : เกษตรกรทั่วไปก็จะใช้หน่อ หน่อที่ใช้มาดูส่วนใบนะคะลักษณะเรียกว่าใบดาบคือใบจะเรียวๆ มาดูที่เหง้าคือถ้าใบดาบเหง้าจะใหญ่ จริงๆแล้วต้นกล้วยที่แท้จริงคือเหง้า ส่วนตรงนี้คือลำต้นเทียม (ชี้ไปที่ต้นกล้วย)  ถ้ายิ่งเหง้าใหญ่การสะสมอาหารจะเยอะเวลาเอาไปปลูกก็จะรอดสูง และได้ผลผลิตดี หน่อควรจะมีขนาด 1 เมตร หรือขนาดนี้ (ต้นกล้วยอีกต้น) พอใบไม่ใช่ใบดาบ ใบจะเริ่มกว้างจะเห็นเหง้าว่าเหง้าขนาดเล็กกว่า  เรามักจะบอกว่าใบใหญ่สิดีใบกว้างสิดี สังเคราะห์อาหารได้ดี แต่ปรากฏว่าพอมาดูเหง้าต้นจะมีขนาดเล็ก และพอเราเอาไปปลูกลงดินเราก็จะต้องตัดใบเพราะถ้าเราไม่ตัดใบใบจะคลายน้ำไม่ได้สังเคราะห์อาหารแล้ว…ส่วนรากกล้วยเวลาขุดไม่ต้องถนอมรากเพราะเป็นรากแขนงไม่ใช่รากแก้วเพื่อกระตุ้นให้รากใหม่งอกขึ้นมาแล้วมันจะหาอาหารได้เร็วขึ้น และเราจะตัดใบตรงนี้ทิ้งเพื่อที่จะลดการคลายน้ำและไม่ไปดึงอาหารจากเหง้าไปใช้

พิธีกร : ใบเราต้องตัดทิ้งหมดเลยไหมครับ ?

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : ตัดทิ้งเลยค่ะ…. ไม่เอาใบดาบไว้ พอเราปลูกลงไป เราจะให้ต้นสูงจากดิน 50 ซม.แล้วตัดส่วนที่เกินทิ้งเพื่อที่จะกระตุ้นการงอกของใบใหม่กับรากใหม่ ถ้าเราคงรากไว้ไม่ตัดออกก็ทำได้แต่การเกิดรากใหม่จะช้าเพราะเหมือนกับต้นไม้คิดว่ายังมีรากอยู่ แต่ถ้าเราช่วยโดยการเการากออกเค้าจะออกรากใหม่เร็วขึ้น กล้วยก็จะฟื้นเร็วขึ้น อันนี้ก็คือปลูกทั่วๆไปปลูกไม่เยอะ…. แต่ถ้าเราปลูกการค้า เค้าจะใช้ต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (อาจารย์ชูถุงต้นกล้าที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อขึ้น)  นี่คือต้นกล้าอ่อนที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อของตัวกล้วย อันนี้ยังต้นเล็ก…ตอนที่ขนส่งจริงๆจะเป็นการแพ็คขนส่งกล้วยไปให้ลูกค้าแบบนี้ (ชูถุงต้นกล้าขึ้น)…. ส่วนกล้าของเราเราจะชำในถุงชำเลยให้ได้15ซม.เราถึงจะส่งให้ลูกค้าก็คือมีออเดอร์มาจากเกษตรกรด้วยก็ติดต่อที่สถานีวิจัยปากช่องโดยตรง อันนี้อาจารย์กำลังจะส่งเข้าไปชำใน nursery (ชูต้นกล้ากล้วยขึ้น) พอเราได้ขนาดนี้ปุ๊บเราก็จะไปชำในถุง ประมาณ 2เดือน ต้นกล้วยก็จะโตมา 15 ซม.แล้วเราถึงจะไปปลูกลงแปลง… หลายคนมีคำถามว่าแค่ 15ซม. จะปลูกรอดไหม อาจารย์บอกเลยว่ารอด ภายใน 4 เดือนต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกับหน่อ 1 เมตร โตเท่ากัน แต่ข้อดีต่างกัน…. ตอนแรกเกษตรกรไม่ยอมรับต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพราะต้นเล็กเนื่องจากเอาไปปลูกจะเหี่ยว แต่…เค้ามีรากจริง ใบจริง พอเค้าปรับสภาพเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เค้าก็จะสร้างใบใหม่ ต้นเค้าก็จะโตเร็ว…แต่หน่อ 1 เมตร ยังงันอยู่เพราะต้องสร้างรากใหม่กับใบใหม่ขึ้นมา แต่ที่เราเห็นต้นสีเขียวเพราะเป็นต้นเทียมที่ปรากฏให้เห็น พอปลูกได้ 4 เดือนแล้วโตเท่ากันจะเห็นข้อดีของต้นกล้าว่าการเก็บเกี่ยวพร้อมกัน 70% แต่จากหน่อเก็บเกี่ยวพร้อมกันได้แค่ 50% พอเราทำการค้าต้องมีการทำสัญญากับลูกค้าหรือพ่อค้าที่สั่งมา คุณสามารถกำหนดได้ว่าต้นที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อตุลาคมนี้มารับได้กี่ตัน มารับได้กี่กิโล แต่ถ้าปลูกเป็นหน่อคุณจะกะได้แค่ 50% ส่วนที่เหลือก็ต้องไปวัดดวงว่าจะเฉลี่ยไปทางไหน ….นี่คือเป็นเหตุผลว่าทำไมทั่วโลกที่ปลูกกล้วยต้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ… อันต่อมาเป็นเรื่องของโรคและแมลง หน่ออย่างนี้(ชูหน่อกล้วยขึ้น) คุณมองไม่เห็นหรอกว่ามันมีหนอนหรือไม่ หรือมันมีโรคติดไปไหมเราไม่สามารถรู้เลย

พิธีกร : ถ้าเป็นหน่อเราจะไม่รู้เลยว่ามีโรคติดมาหรือไม่หรือมีหนอนหรือไม่ ส่วนที่ออกจากห้องทดลองเราจะปราศจากเชื้อแน่นอน

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : ใช่ค่ะ….เพราะว่าถ้ามีเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราก็จะขึ้นในอาหารวุ้นแล้ว เราก็จะคัดทิ้งไปหมดและก็ไข่หนอนก็ไม่มีเพราะตอนนี้โรคและแมลงเป็นปัญหาหนักของเกษตรกรค่ะ โรคที่สำคัญของกล้วยน้ำว้าก็คือโรคไตพาย เป็นเชื้อทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา และมันจะแสดงอาการตอนตกเครือหรือว่าแมลงเจาะลำต้นก็คือหนอนกอ เป็นด้วงเจาะลำต้น ตัวนั้นก็ไปแสดงอาการที่ตอนตกเครือเพราะว่าต้นจริงจะเพิ่มตาดอกขึ้นมา แมลงมันชอบกินตรงนั้น พอแมลงได้กลิ่นมันก็จะรู้ว่ามีอะไรข้างในและก็จะเจาะเข้าไปกินและไข่ข้างใน….

พิธีกร : ในการเขตกรรมมีอะไรบ้างที่จะแนะนำเกษตรกรในการดูแลแปลงบ้างครับ ?

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส :  ในเรื่องของกำจัดวัชพืช การตัดแต่งหน่อตัดแต่งใบเพื่อให้แสงส่องผ่านถึง  การให้ปุ๋ยบำรุงต้นเพื่อให้ต้นแข็งแรง ถ้าทำสามอย่างที่ว่ามาอย่างดีต้นก็จะแข็งแรง แปลงเราสะอาด โรคแมลงไม่ไปสะสม ต้นก็จะสามารถมีความต้านทานปัญหาเหล่านี้ได้

พิธีกร : ระยะห่างระหว่างต้นมีผลไหมครับ ?

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : มีผลค่ะ…อาจารย์เคยปลูก 3 คูณ 3 อาจารย์จะบอกว่า 2 คูณ 2 จะแน่นมากสำหรับกล้วยน้ำว้า บางคนเคยปลูกกล้วยไข่ 2 คูณ 2 ได้จำนวนต้นต่อไร่เยอะ 400 ต้น 400 เครือ บางทีเกษตรกรคิดแบบนี้จริงๆ แล้วค่อยรื้อทิ้งแล้วปลูกใหม่

พอถึงจุดหนึ่งการที่เราต้องมารื้อและทำใหม่คือเรื่องต้นทุน พอไม่รื้อปุ๊บ 2 คูณ 2 เส้นรอบวงเป็นร้อยเซนติเมตร ปรากฏว่าต้นสูงเบียดกันเครือไม่ใหญ่ พอลมพัดมาก็หัก อาจารย์เลยบอกว่า 3 คูณ 3 กำลังดีแต่ปรากฏว่าไว้หน่อตามได้ไม่เยอะเพราะว่ามันเริ่มเบียดกัน ก็จะไม่สามารถตามแผนเดิมได้ก็จะตามแผนได้นิดนึง พอกล้วยไว้กอได้ 4 ต้น เค้าก็จะเบียดกันกลายเป็นว่าแสงไม่พอกล้วยก็จะฉลูดขึ้นไปอีก อาจารย์ก็เลยสรุปไว้ที่ 4 คูณ 4 บางคนบอกว่า 4 คูณ 4 มันห่างกันไปนะอาจารย์ตอนปลูก แต่ปรากฏว่าตอนขึ้นกอครบ 4 ต้นแสงจะส่องผ่านพอดี ใช้แทรคเตอร์เล็กในการตัดหญ้าก็ได้ และกล้วยก็ได้ผลผลิตที่ดีทุกต้น ก็เลยมาสรุปที่ 4 คูณ 4 สำหรับกล้วยน้ำว้าค่ะ…

พิธีกร : เรื่องของปุ๋ยสำหรับกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 การใส่ปุ๋ยต้องใส่อย่างไรบ้างครับ ?

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : สำหรับกล้วยน้ำว้าการใส่ปุ๋ยทุกชนิดคล้ายๆกัน…จากที่อาจารย์ทำงานวิจัยอาจารย์ก็เลยเอ๊ะว่าเกษตรกรทำไมใส่ปุ๋ยบ่อยมาก มันเพิ่มต้นทุนไหม หรือตอบโจทย์กล้วยที่จะเอาไปใช้ได้คุ้มค่าไหม อาจารย์ก็เลยไปศึกษาเรื่องอัตราการเจริญเติบโตของกล้วยทั้ง 8 ชนิดที่อาจารย์คัดมา ปรากฏว่าอัตราการเจริญเติบโตจะมีอยู่ 3 ช่วง จะเห็นกราฟเลยว่ามีอัตราการเจริญเติบโตสูง สำหรับกล้วยน้ำว้าจะอยู่ช่วงเดือนที่ 4 แล้วก็ไปเดือนที่ 6 แล้วก็ไปเดือนที่ 9….. เพราะฉะนั้นเดือนก่อนหน้านั้นถ้าเราใส่ไปการดึงไปใช้ของพืชก็จะไม่เยอะเหมือนเราใส่ลงดินไปเปล่าประโยชน์ แต่ถ้าเราไปใช้ช่วงที่เค้าต้องการใช้เยอะคืออัตราเจริญเติบโตสูงแล้วเราใส่ถูกจังหวะเค้าจะใช้ปุ๋ยได้ทั้งหมด กล้วยก็เจริญเติบโตดี ต้นทุนในกระเป๋าเราก็ยังอยู่เยอะ อาจารย์ก็เลยมากำหนดวิธีการใส่ปุ๋ยใหม่…ก็เลยจะใส่ปุ๋ยในช่วงเดือนที่ 3 …ที่เราใส่เดือนที่ 3เพราะว่า การละลายของปุ๋ยการนำไปใช้จะอยู่ในช่วงเดือน 3ไปเดือน 4 กราฟก็จะขึ้นพอถึงตรงนั้นเค้าก็จะใช้ได้สูงสุด พออีกทีหนึ่งคือเดือน 5 ถึง 6 ทำไมช่วงนั้นถึงเจริญเติบโตสูงก็เพราะว่ากล้วยฟอร์มตาดอก กำลังมีตาดอกแทงขึ้นมาเค้าต้องการปุ๋ยในการสร้างตาดอกกับผลผลิต ถ้าเราให้ปุ๋ยช่วงนั้นได้พอดีถูกจังหวะกล้วยเครือเราจะใหญ่จำนวนหวีก็จะเยอะ… อีกช่วงหนึ่งคือช่วงเดือนที่ 9 เราจะเห็นแล้วว่ากล้วยแทงปลีออกมาแล้วเค้าต้องการปุ๋ยเพื่อไปขยายขนาดของผลทีนี้เป็นเรื่องคุณภาพผลเราก็ใส่ปุ๋ยไปในช่วงเดือนที่8 ไปเดือนที่ 9 พอเราใช้ตรงนี้พอเหมาะจะส่งผลดังนี้ 1) ค่าปุ๋ยลดลง 2) ค่าแรงงานลดลง 3) กล้วยเราได้ผลผลิตและคุณภาพที่ดีมาก

พิธีกร : จากที่อาจารย์ศึกษาวิจัยมา อาจารย์มองภาพการวิจัยของอาจารย์ว่ามีแผนในการต่อยอดไปอนาคตอย่างไรบ้างครับ?

 อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : สำหรับไม้ผล…ก็พูดถึงไม้ผลทุกชนิด ตอนนี้เราไม่ได้ดูแค่ผลผลิตหรือคุณภาพของผลสด แต่เราต้องดูว่ามันสามารถไปเพิ่มมูลค่าเรื่องของการแปรรูปหรือต่อยอดในด้านอื่นอย่างไรได้บ้างอันนี้สำคัญเลย กล้วยก็เหมือนกันสำหรับกล้วยน้ำว้าอาจารย์ไม่ได้แค่มองว่า ผลผลิตได้แล้ว คุณภาพได้แล้ว พันธุ์ได้แล้ว แล้วถ้าถึงวันหนึ่งกล้วยออกมาเยอะแยะมากมายเราจะไปทำอะไรได้…. เวลาหน้าฝนช่วงที่กล้วยเยอะๆ กล้วยราคาลงมา 10บาท 15 บาท แล้วเราจะไปทำอะไรได้บ้าง อาจารย์ก็มองประเด็นนี้มานานแล้วในการแปรรูป ตอนนี้ที่เราลองมาทำก็คือในระดับสถานีที่เรามีศักยภาพพอที่จะทำเรื่องการแปรรูปได้บ้าง..ก็เลยมาศึกษาเรื่องการแปรรูปแบบพื้นๆ ที่มีอยู่ อันหนึ่งที่เราทำก็คือกล้วยกวน…บางคนบอกว่ากล้วยกวนไม่ได้เป็นนวัตกรรมอะไรใหม่เลยอาจารย์ไปทำทำไม…อาจารย์ชอบเล่นเรื่องความเหมือนที่แตกต่างกล้วยกวนเหมือนกันแต่ทำไมต้องกินกล้วยกวนที่สถานีวิจัยปากช่องเพราะกล้วยกวนของเราไม่ใส่น้ำตาล ปกติของกวนๆต้องใส่น้ำตาลกินแล้วก็ติดฟันกินแล้วก็กลัวอ้วน แต่ของเราไม่ใส่น้ำตาลไม่ติดฟันค่ะ…อีกตัวหนึ่งที่ตอนนี้เป็นยอดฮิตของเราคือแป้งกล้วยน้ำว้า… แป้งของกล้วยน้ำว้าถ้าเราเคยได้ยินเรื่องแป้งสุขภาพที่เป็นแป้งพวก resistance starch ก็คือแป้งที่ต้านทานการย่อย กล้วยน้ำว้าจะมี Resistant Starch มากกว่า 50% ทำไมคนโบราณบอกว่าต้องกินกล้วยดิบ ต้องกินแป้งกล้วย ใครเป็นโรคกระเพาะกรดไหลย้อนอาหารไม่ย่อยท้องเสียต้องกินพวกนี้ แต่เค้าอธิบายไม่ได้ว่าทำไมถึงต้องกินพวกนี้ก็เพราะมันมีตัวนี้ (Resistant Starch) อยู่ในนั้น อาจารย์ไม่ได้เชียร์นะคะเพราะมีเปเปอร์ หรือเข้าไปเสริชในห้องสมุดหรือฐานข้อมูลของอาจารย์มี….

พิธีกร : ในคลังความรู้ดิจิตอลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ผมสืบค้นผลงานของอาจารย์นี่พบอยู่ 95 ผลงานด้วยกัน ค่อนข้างเยอะ ซึ่งบางผลงานก็สามารถดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ อันนี้เชิญชวนผู้สนใจสามารถสืบค้นผ่านทางคลังความรู้ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ครับ

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : ทุกงานวิจัยอาจารย์จะตีพิมพ์หมด…..(ต่อเรื่องเดิม)>>>>ปรากฏว่ากล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 มี Resistant Starch อยู่ถึง 50% สูงที่สุด ผลผลิตก็สูง แถมมีแป้งที่มีประโยชน์สูงน่าสนใจ เราก็เลยทำแป้งขึ้นมา…บางคนถามว่าอาจารย์แล้วแป้งอันนี้เราเอาไปทำอะไร…อาจารย์ก็เลยบอกว่าเป็นแป้งต้านทานการย่อย แต่เค้าจะจำได้แม่นก็คือเรื่องของกระเพาะ กรดไหลย้อนดีมาก แต่ข้อดีของมันจริงๆคือมันเป็นอาหารของจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารและเป็นจุลินทรีย์ดีที่ปรับสมดุลในร่างกาย แต่ในข้อรองลงมาของมันก็คือเมือกของมันตัวของแป้งไปช่วยในการเคลือบกระเพาะ ใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ทานแป้งของกล้วยก็จะดีมาก…

พิธีกร :  ในสถานีวิจัยไม่ได้มีเฉพาะกล้วยที่อาจารย์เกริ่นไว้ ก็จะมีพืชพรรณต่างๆ มีอะไรบ้างครับ..?

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : ขออนุญาตโฆษณาสถานีของเรานะคะ…. สถานีของเรามีจุดเด่นของไม้ผล ก็จะมีในเรื่องของน้อยหน่า….น้อยหน่าในเขตปากช่องก็จะมีเอกลักษณ์คือเป็นน้อยหน่าที่เป็นเอกลักษณ์ตอนนี้เรากำลังดำเนินการขึ้นเป็น GI ในระดับจังหวัดแล้วก็อำเภอ แล้วเรายังมีน้อยหน่าที่เป็นพันธุ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เรา…ก็คือเพชรปากช่อง เห็นไหมคะลูกใหญ่ๆ…. โดยนักวิจัยของสถานีวิจัยปากช่องนะคะ อาจารย์เรืองศักดิ์ กมขุนทด…และอีกพันธุ์หนึ่งก็คือฝ้ายเขียวเกษตร 2 นะคะ..ขึ้นทะเบียนพันธุ์ทั้งคู่แล้ว…แล้วเราก็มีการรวบรวมพันธุ์น้อยหน่าทั่วประเทศแล้วก็ในต่างประเทศอยู่ที่เราร้อยกว่าสายพันธุ์ สีเหลืองทองมั่ง สีครั่งมั่ง สีม่วง…เยอะแยะนะคะ ถ้ามีโอกาสก็ลองชมในเพจของเรานะคะ…แล้วก็ในเรื่องของอะโวคาโดสายสุขภาพมาแรง อะโวคาโดของเราก็เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ออะโวคาโด คือเราก็จะเริ่มจากการรวบรวมพันธุ์ก่อน อะโวคาโดเราทำมาตั้งแต่รุ่นแรกๆคู่มากับโครงการหลวงเลย แต่เราเป็นการวิจัยอะโวคาโดในพื้นที่ราบ แต่ในทางนั้นเป็นการวิจัยอะโวคาโดในพื้นที่สูง…มีอะโวคาโดแล้วก็…มีมะขามเปรี้ยว มีคนถามว่าอาจารย์ไม่ทำมะขามหวานเหรอ ลองไปดูนะคะว่ามูลค่ามะขามเปรี้ยวการส่งออกขึ้นมาอันดับ 10 เพราะเอามะขามเปรี้ยวไปแปรรูป แล้วตอนนี้กำลังหามะขามเปรี้ยวที่มีศักยภาพในเชิงอุตสาหกรรม เรากำลังทำมะขามเปรี้ยวฝักใหญ่ที่ได้ปริมาณเนื้อเยื่อเยอะคือเปรี้ยวที่สุดในโลก(55555) แล้วก็มีมะม่วงอันนี้เป็นตัวที่ทำชื่อเสียงให้กับสถานีมาสมัยแรกๆเลย ถ้ามองไปด้านหลังก็จะเป็นแปลงมะม่วงมีร้อยกว่าสายพันธุ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศมีทั้งเปรี้ยว มัน หวาน ออกนอกฤดูในฤดูมีหมดรวบรวมไว้ เพื่อที่จะศึกษาว่าพันธุ์ไหนที่มีศักยภาพในการแปรรูปหรือว่าผลิตในด้านใดได้บ้าง ที่สำคัญคือเราเอามาศึกษาในเรื่องของการทำลูกผสมพันธุ์ใหม่ๆ ในอนาคตเราอาจจะมีลูกผสมของลูกมะม่วงในสถานีวิจัยปากช่องออกไป…ก็ฝากด้วยว่าถ้าสนใจก็ติดต่อทีมงานของเราลองมาทำคลิปถ่ายทอดความรู้ตรงนี้ออกไปให้ดูค่ะ….

พิธีกร :  ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวที่ค่อนข้างมากมายเลยนะครับโดยเฉพาะในเรื่องของกล้วยเองนะครับ ซึ่งเราฟังชื่อจากกล้วยเองที่คนชอบพูดว่ากล้วย กล้วยๆ ง่ายๆอะไรอย่างนี้ แต่พอมาดูปุ๊บไม่ง่ายสมชื่อนะครับ กล้วยต้องมีการจัดเตรียมต้นพันธุ์ การศึกษาวิจัยต่างๆในเรื่องของระยะปลูกเอย…ในเรื่องของทำยังไงให้มีผลผลิตตลอดไป อย่างที่อาจารย์ได้บอกไปว่าต้องแบ่งช่วง ช่วงของหน่อต่างๆเปรียบเป็นลูกคนที่1 คนที่ 2คนที่ 3 เราก็จะสามารถเก็บเกี่ยวกล้วยได้ตลอดทั้งปีซึ่งก็จะเป็นข้อดีสำหรับเกษตรกรนะครับ แล้วก็รวมถึงระยะปลูกต่างๆ การให้น้ำ อาจารย์ก็มีการศึกษาวิจัยมาที่ค่อนข้างเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับท่านผู้ชมหรือเกษตรกรที่สนใจกล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง 50 ก็สามารถติดต่อได้ทางอาจารย์หรือทางเพจของสถานีวิจัยปากช่องก็สามารถที่จะติดตามเรื่องกล้วยหรือสอบถามเรื่องกล้วย…เพราะในวันนี้ระยะเวลาค่อนข้างจำกัดถ้าหากว่าใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่เฟสบุ๊คได้ จะมีอาจารย์และทีมงานให้ข้อมูลอยู่ หรือกระทั่งไม้ผลอื่นๆที่อาจารย์ได้กล่าวไป อะโวคาโดเอง มะม่วง มะขาม หรือน้อยหน่า ก็สามารถติดต่อผ่านทางเพจได้

          วันนี้ก็ต้องขอขอบคุณ อาจารย์ กัลยาณี สุวิทวัส ที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งให้กับท่านผู้ชมในวันนี้ครับ ต้องขอขอบคุณอาจารย์มากครับ

          สำหรับท่านผู้ชมที่จะติดตามรายการ KULIB Talk ว่าในเทปข้างหน้าจะเป็นเรื่องอะไรก็สามารถติดตามได้ทางเพจสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้นะครับ ก็จะมีเรื่องราวดีๆแบบนี้ให้กับท่านผู้ชมในรอบถัดไปนะครับ ในวันนี้เองก็ขอขอบคุณท่านผู้ชมทุกท่านครับ สวัสดีครับ….

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของอาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

กล้วย / กัลยาณี สุวิทวัส
กล้วยไข่เกษตรศาสตร์ 2 : คู่มือการปลูกและการดูแล / โดย เบญจมาศ ศิลาย้อย, ฉลองชัย แบบประเสริฐ, กัลยาณี สุวิทวัส
การเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นกล้วยไข่ที่ปลูกเปรียบเทียบระหว่างหน่อ พันธุ์กับต้นพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ / โดย กัลยาณี สุวิทวัส ... [และคนอื่น ๆ]

โครงการวิจัยพัฒนาการปลูกกล้วยและแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต / กัลยาณี สุวิทวัส, หัวหน้าโครงการ ; ผู้ร่วมวิจัย ฉลองชัย แบบประเสริฐ ...[และคนอื่น ๆ]

เทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปกล้วยเพื่อการค้า / หัวหน้าโครงการ กัลยาณี สุวิทวัส

ศึกษาวิธีการให้ปุ๋ยที่เหมาะสมในการผลิตกล้วยไข่พันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 / กัลยาณี สุวิทวัส ... [และคนอื่น ๆ]

กล้วยน้ำว้า สร้างชาติ สร้างเงิน / กองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน

"กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50" กล้วยพันธุ์ใหม่จากสถานีวิจัยปากช่อง / กรกัญญา อักษรเนียม

รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางวิชาการและการพัฒนาการของกล้วยน้ำว้าพันธุ์ต่าง ๆ / โดย กวิศร์ วานิชกุล

สวนกล้วยน้ำว้า / พฤษภะ ณ อยุธยา ; บรรณาธิการ: มานพ ถนอมศรี

การศึกษาการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมกล้วยน้ำว้าในสภาพปลอดเชื้อ / สุจิตรา โพธิ์ปาน

Resistant starch: sources, applications and health benefits / edited by Yong-Cheng Shi, Clodualdo C. Maningat

การศึกษาสตาร์ชสุขภาพและเปรียบเทียบปริมาณจากพืชชนิดต่างๆ ที่ปลูกในประเทศไทย / โดย เนตรนภิส วัฒนสุชาติ หัวหน้าโครงการวิจัย


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri