A-Mate เกมกีฬาพัฒนาสมอง

วันนี้ได้รับเกียรติจากนิสิตคณะเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับเหรียญทอง การแข่งขัน A-Math การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 45 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ระดับรางวัลประเภททีมหญิง ขอต้อนรับคุณวรรณรัตน์ สายสุวรรณ์

แนะนำตัว

สวัสดีค่ะ ชื่อนางสาว วรรณรัตน์ สายสุวรรณ์ เรียนอยู่คณะเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

อยากให้ช่วยแนะนำเกี่ยวกับการแข่งขัน A-Math คืออะไร

สำหรับการแข่งขัน A-Math  A-Math ก็คือเป็นเกมต่อเลขคำนวณทางคณิตศาสตร์ จะเป็นการสร้างสมการง่ายๆ คือการบวก ลบ คูณ หารเลข โดยจบเกมถ้าคนไหนฝ่ายไหนได้คะแนนสูงสุดก็จะเป็นผู้ชนะ

การแข่งขัน A-Math จะต้องใช้ทักษะหรือความรู้ทางด้านไหนบ้าง

คิดว่าเราใช้ทักษะง่ายๆ เลย เพราะว่าสมัยนี้มีการจัดแข่งขันตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงรุ่นโอเพ่น ถ้าสมมติเราคิดสมการง่ายๆ เช่น การบวก ลบ คูณ หารเลขได้ เราก็สามารถเล่น A-Math ได้แล้ว

การแข่งขัน A-Math มีอุปกรณ์อะไรบ้าง

สำหรับอุปกรณ์ในการแข่งขัน ก็จะมี 1.กระดาน 2.ถุงเบี้ย 3.ที่วางเบี้ย 4.เพื่อความสนุกจะมีนาฬิกาจับเวลาในการแข่งขัน

(พิธีกร เรียกได้ว่าเป็นกีฬาที่ใช้อุปกรณ์หลากหลายชนิดมาก)

การแข่งขัน A-Math มีการแข่งขันหรือว่ามีเกณฑ์การคิดคะแนนอย่างไร

สำหรับในการแข่งขันก็จะมีหลายรุ่นหลายประเภท ตั้งแต่อย่างที่พูดไปแล้วก็คืออนุบาลถึงรุ่นโอเพ่นในปัจจุบัน และการคิดคะแนน ก็จะมีกระดาน กระดานจะประกอบไปด้วย 4 ช่องพิเศษ ช่องที่ 1 สีแดงก็คือ คูณ3 ทั้งสมการ ช่องที่ 2 สีเหลือง คูณ2 ทั้งสมการ ช่องที่ 3 สีฟ้า คูณเฉพาะตัวเบี้ยนั้นๆ แล้วก็ช่องที่ 4 สีส้ม คูณ 2 เฉพาะตัวเบี้ยนั้นๆ สำหรับการคิดคะแนนจะคิดว่า ถ้าสมมติว่ารอบแรกตาเราเล่น เราลงตัวเบี้ยไปทับช่องพิเศษจะคิดรอบนั้นแค่รอบเดียว ส่วนผู้อื่นหรือฝ่ายอื่นที่มาต่อสมการเราจะคิดแค่คะแนนบนตัวเบี้ย

ส่วนพิเศษในการเล่นของเรามีอะไรบ้าง

สำหรับส่วนพิเศษในการเล่น ข้อที่ 1 การขอเปลี่ยนตัว การขอเปลี่ยนตัวเราสามารถทำได้สูงสุด 8 ตัว แต่ว่าผู้เล่นฝ่ายไหนที่ขอเปลี่ยนตัวจะต้องเสียเกมตานั้นให้กับฝ่ายตรงข้าม แล้วก็มีกรณีพิเศษอีกอย่างหนึ่งก็คือ สมมติถุงเบี้ยเหลือไม่เกิน 5 ตัวไม่สามารถขอเปลี่ยนได้ แล้วก็ข้อที่ 2 การขอทำชาเลนจ์ การขอทำชาเลนจ์ก็คือ ถ้าเราเห็นว่าฝ่ายตรงข้ามลงสมการผิด แล้วเราทักท้วงไป มันผิดจริงๆ ตานั้นจะเป็นฝ่ายเราที่ได้เล่น แล้วเขาจะเสียตานั้นไป แล้วข้อที่ 3 คือการทำบิงโก การทำบิงโกก็คือสมมติฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลงตัวเบี้ยได้ครบ 8 ตัวก็จะได้บวก 40 คะแนนในตานั้นๆ เลย ประมาณนี้

การที่จะเข้าไปแข่งขันก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ขอทราบได้ไหมว่าได้เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้อย่างไรบ้าง

สำหรับการเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ เกิดจากการชักชวนของพี่ในวิทยาเขตศรีราชาก่อน คนแรกก็คือ พี่กานต์แล้วพี่กานต์ติดต่อกับพี่เมฆให้ว่ามีน้องในคณะสามารถเล่น A-Math ได้ เขาก็เลยไปชักชวนมาฝึกซ้อมที่บางเขน และก็ได้เป็นตัวแทนร่วมกับบางเขนไปแข่งในกีฬามหาวิทยาลัย

อยากให้ช่วยเล่าถึงบรรยากาศ รวมถึงว่าในช่วงการแข่งขันจะต้องใช้เวลาการแข่งขันกี่วัน แล้วทีมอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้าง

สำหรับบรรยากาศในการแข่งขัน วันแรกๆ ก็จะรู้สึกตื่นเต้น เพราะว่าเราเจอแบบสถาบันที่เก่งๆ แล้วก็ส่วนระยะเวลาในการแข่งขันก็จะประมาณ 7 วัน เพราะมันมีหลากหลายประเภทในการแข่งขัน A-Math เช่น ประเภททีม ประเภทเดี่ยว ประเภทผสม หรือประเภทคู่

ข้อดีหรือข้อคิดที่ได้จากการแข่งขันครั้งนี้คืออะไร

สำหรับข้อดีพี่คิดว่า ถ้าเราได้ทำในสิ่งที่เรารัก มันจะสร้างกำลังใจให้กับเราและรู้สึกว่าเราทำแล้วสนุกไปกับมัน แล้วก็ถ้าเป็นข้อคิดก็คือพี่คิดว่าถึงแม้ว่าพอเราแข่งกีฬาจบไปแล้ว ผลจะเป็นยังไงสุดท้ายทุกมหาวิทยาลัยก็มีน้ำใจนักกีฬาให้แก่กันอยู่เสมอ

ถือว่าเป็นข้อดีของกีฬาชนิดนี้และยังเป็นข้อดีของกีฬาชนิดอื่นๆ เช่นกัน และในครั้งนี้ที่ได้รับรางวัลอันดับ 1 เป็นการแข่งขันประเภททีมได้เรียนรู้อะไรจากการแข่งขันประเภททีม รวมถึงมีกติกาพิเศษอะไรเกี่ยวกับการแข่งขันประเภททีมไหม

สำหรับสิ่งที่ได้จากการแข่งขันประเภททีม ก็คือ ทีมเกษตรของเรา เราจะสร้างกำลังใจให้กันเสมอ สมมติว่าทุกคนไปแข่งมาตานั้นผลจะออกมาแพ้หรือชนะอย่างไร เรารีเซตตัวเองในเกมนั้นเพื่อจะเตรียมพร้อมในการแข่งขันในเกมต่อไปทันที แบบว่าเราจะไม่มานั่งโทษกันว่าคนนี้แพ้มานะ หรือชนะมานะ คือเราจะแบบสร้างกำลังใจให้กันและให้กำลังใจกันเสมอ

แล้วก่อนหน้านี้ ได้เคยไปร่วมเข้าการแข่งขันเกี่ยวกับประเภทอื่นๆ มาบ้างไหม

สำหรับการแข่งขัน เริ่มเล่น A-math ตั้งแต่ ม.1 แต่ว่าโรงเรียนส่งแข่งขันประมาณ ม.3 ถึง ม.6 แล้วก็รางวัลที่คิดว่าภาคภูมิใจที่สุดเป็นช่วง ม.4 ม.4 ได้รับเป็นตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปแข่งขันที่เมืองทองธานีระดับประเทศ ได้ที่ 6 ระดับประเทศ และจากนั้นมาก็เริ่มเข้ากีฬามหาวิทยาลัย เริ่มแข่งตั้งแต่ปี 2 ถึงปี 4 ก็ประเภททีมของเกษตรได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่งทุกปี

เล่น A - math เก่งขนาดนี้ต้องสอนเล่นบ้าง

ได้ค่ะ

ในฐานะที่เป็นคนรุ่นใหม่ คิดว่าเด็กยุคใหม่ควรจะมีทักษะหรือว่าด้านใด ที่สามารถจะประสบความสำเร็จได้บ้าง

เด็กยุคใหม่ คือ อยากให้มีความอดทนมากๆ แล้วก็หมั่นฝึกฝนตัวเองอยู่เสมอ ถ้าเราตั้งใจอยากทำอะไรก็ทำให้มันเต็มที่ แล้วก็เป็นผู้แบบเรียนรู้ตัวเอง หาความรู้ใส่ตัวหรือเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ถ้าสมมติมีใครติชมหรือให้คำปรึกษาเราก็น้อมรับฟังไว้ แล้วก็ไปปรับปรุงตัว พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น

สุดท้ายนี้ก็อยากจะให้ช่วยแนะนำกับรุ่นน้องๆ รวมถึงนิสิตท่านอื่นๆ สำหรับใครที่อยากจะสร้างสรรค์ผลงานดีเด่น หรืออยากจะเข้าร่วมการแข่งขันจะต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง

สำหรับคนที่สนใจจะเล่นกีฬา A - math ตอนนี้ชมรมก็มีเปิดรับสมัครอยู่ ก็ให้สมัครที่น้องไอซ์ เป็นประธานชมรมอยู่ชั้นปีที่ 3 อยู่คณะเศรษฐศาสตร์ และก็ถ้าสมมติใครสนใจให้เดินเข้าไปที่ชมรมและก็เข้าไปเล่นได้ ทุกคนแบบเป็นกันเอง แล้วเราอยู่แบบสังคมพี่น้อง

พิธีกร ก็เชื่อว่าทุกท่านก็คงจะได้รับข้อคิดดีๆ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับ A-math ก็อยากจะให้ทุกท่านสำหรับใครที่มีความฝัน หรืออยากที่จะประสบความสำเร็จเหมือนพี่ไอซ์ เชื่อว่าทุกคนมีความฝันและก็กล้าที่จะลงมือทำ เชื่อว่าความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน และสำหรับวันนี้นะคะ ทางรายการ KULib Talk ของเราก็ต้องขอขอบคุณพี่ไอซ์ค่ะ หรือว่า คุณวรรณรัตน์ สายสุวรรณ์ มากๆ ที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์ดีๆ เกี่ยวกับการแข่งขัน A - math

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

 

 

KUlib Talk No.23 “Sam’s Story RUN FOR LIFE”

 

     ในปีที่ผ่านมามีข่าวออกมามากมายหลายข่าวที่เป็นกระแสปรากฏการณ์ใหม่ให้แก่ประเทศของเรา รวมถึงการถ่ายทอดการวิ่งของพี่ตูน บอดี้แสลม ที่มีการวิ่งเพื่อระดมทุนซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์มอบให้กับโรงพยาบาลจำนวน 11 แห่ง ภายใต้โครงการก้าวคนละก้าว ซึ่งการวิ่งในครั้งนี้ได้สร้างแรงบัลดาลใจให้กับใครหลายคนที่จะพาตัวเองออกมาวิ่งเพื่อสร้างสุขภาพให้กับตัวเอง ซึ่งแขกรับเชิญของเราในรายงาน KUlib Talk ในวันนี้ก็เป็นหนึ่งท่านที่ได้รับแรงบัลดาลใจจากพี่ตูนเช่นกัน ซึ่งบุคคลท่านนี้ก็เป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา รุ่น KU65 จากคณะวิทยาการจัดการ เคยเป็นอดีตนักมวยจากเวทีราชดำเนิน ได้ล้มป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว และได้รับแรงบัลดาลใจให้ลุกขึ้นมาก้าวเดินและก็วิ่งโดยบันทึกเรื่องราวของตัวเองผ่านเพจ Sam’s Story และวันนี้คุณแซมของเราได้อยู่กับเรา ขอต้อนรับคุณแซมครับ

libtalk24 1

 

ให้คุณแซมแนะนำตัวเองให้กับท่านผู้ชมรายการในตอนนี้ด้วยครับ

     สวัสดีครับ ผม แซม ณัฐพล เสมสุวรรณ KU65 วิทยาเขตศรีราชา เป็นอดีตผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน

ตอนที่เรารู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันเราสึกอย่างไรบ้างครับ

     อาการเริ่มจากเบื่ออาหาร ทานอาหารไม่ค่อยได้ เริ่มมีอาการอาเจียน เริ่มเป็นไข้ทุกวันเลย ด้วยความที่เราอยู่หอพักอยู่ไกลจากคุณพ่อคุณแม่ เราก็เข้าใจว่ามันอ่อนเพลียจากอาการพักผ่อนน้อย ก็ทานยาพาราทุกวัน จนกระทั่งสอบเสร็จกับบ้านมา คุณแม่เห็นว่าเป็นไข้สามวัน ก็เริ่มพาไปหาหมอเจาะเลือดพบว่ามีเม็ดเลือดผิดปกติ

ตอนนั้นรู้สึกท้อแท้ไหมครับที่รู้ คือ ตอนที่รู้ยังเป็นนิสิตที่ศรีราชาใช่ไหมครับ

     รู้สึกตกใจ ท้อ เพราะว่าเรายังอยู่ในวัยที่อายุไม่เยอะมาก มีร่างกายที่แข็งแรง มันก็ตกใจเพราะเราไม่เคยป่วยเลยแต่พอมาเจ็บก็กลายเป็นว่าเป็นมะเร็งไปเลย

ตอนนั้นคิดอย่างไร พอรู้ว่าเป็นเราวางแผนการดำเนินชีวิตของตัวเองอย่างไร

      ด้วยความที่พื้นฐานร่างกายเป็นคนที่แข็งแรงมาก ๆ เราเข้าใจเอาเองว่า มันคงผ่านไปได้อย่างไม่ยากเย็น ด้วยวัยที่ยังน้อยอายุยังไม่มากร่างกายยังแข็งแรงอยู่ แต่ว่าพอเราเริ่มเข้าสู้กระบวนการรักษาจริง ๆ มันยากมาก มันยากถึงขนาดเราเอาชีวิตไม่รอด หลาย ๆ ครั้ง เราต้องเข้าปลูกถ่ายไขกระดูก เราไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ เราหายใจเองไม่ได้ เราลุกขึ้นช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เรากลายเป็นคนที่นอนติดเตียง หันซ้ายหันขวาได้อย่างเดียวเป็นระยะเวลานานมันทรมานมาก

ช่วงนั้นต้อง drop เรียนเลยไหมครับ

     Drop เรียนเลยครับ ทันทีที่รู้ว่าป่วยคุณหมอสั่งให้ drop เรียนทันที เพราะต้องรักษาทันที

การรักษาต้องใช้วิธีการรักษาอย่างไรบ้างครับ

     ให้เคมีบำบัดและก็ฉายแสงครับ

เคมีบำบัดคือตัวที่เขาเรียกว่าคีโมหรือเปล่าครับ

     ใช่ครับ

ผลการรักษาในเบื้องต้นเป็นอย่างไรบ้างครับ

     เบื้องต้นก็อาการไม่ค่อยดีครับ ตอบสนองต่อยาไม่ค่อยดี จนนำไปสู้กระบวนการที่เรียกว่าปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งเป็นการล้างเซลล์ทั้งหมดในร่างกายออก ก็ใส่เซลล์ของคนใหม่เข้าไปที่เรียกว่า stem cell ขั้นตอนนั้นเป็นขั้นตอนที่ลำบากที่สุดในชีวิตของผมครั้งหนึ่ง เราเกือบไปหลายครั้ง ติดเชื้อหลายครั้งจากกระบวนการนี้

การติดเชื้อในระหว่างการรักษาที่คุณแซมบอกมา มันมีโรคอะไรที่เพิ่มเข้ามาบ้างครับ

     ถ้าหมายถึงโรคแพ้ยาอย่างรุนแรงก็หลังจากที่ผมออกจากห้องถ่ายไขกระดูกแล้ว 2-3 เดือน มันเริ่มมีอาการหลังจากทานยาตัวหนึ่งเข้าไปมันมีผื่นขึ้นตามตัว ปากบวม ตาบวม แต่ที่มันร้ายแรงกว่าโรคทั่วไป คือมันเริ่มมีอาการไหม้ของผิวหนัง ปวดแสบปวดร้อนที่ปลายเล็บ โชคดีที่ตอนนั้นอยู่ใกล้โรคพยาบาลมาก ๆ เข้าไป หมอก็บอกว่าเป็นโรคแพ้ยาอย่างรุนแรงที่ชื่อว่าโรค Stevens Johnson Syndrome มันส่งผลให้ร่างกายของเรากลับจากหน้ามือเป็นหลังมืออีกครั้งหนึ่ง

พอผ่านสภาวะช่วงโรคมะเร็งมาได้ ก็มาเจอโรคแทรกซ้อนก็คือโรคแพ้ยาอย่างรุนแรง เห็นว่าเป็นโรคหนักอย่างหนึ่งพบเป็นจำนวนน้อยในล้านคน

     ใช่ครับ ในล้านคนจะเจอได้ใน 7 คน

ในช่วงที่เป็นในตอนนั้นเริ่มท้อหนักกว่าเก่าไหมครับ คือเราผ่านมาโรคหนึ่งแล้วมาเจออีกโรคหนึ่งที่มีโอกาสจะพบเจอน้อยมาก ๆ มาเป็นที่เราอีก

     ผมชอบเปรียบว่ามันเหมือนกับการที่เราพยายามสู้อยู่กลางมหาสมุทร แล้วเราว่ายน้ำไม่เจอฝั่งสักที เหมือนเราไปเจอเกาะเกาะหนึ่งแล้ว คือการพ้นจากมะเร็งแล้ว สักพักเกาะนั้นก็หายไปอีก เราก็ต้องลุยว่ายน้ำออกไปอีกไม่รู้ว่าเป้าหมายปลายทางเส้นชัยของเรามันอยู่ตรงไหน คำว่าชัยชนะจากโรคมะเร็งมันไม่ได้การันตีว่าเราจะหมดเคราะห์หมดกรรม มันยังมีเรื่องต่าง ๆ ที่เรายังต้องเจอ ไม่รู้ว่ามันจะสิ้นสุดที่ตรงไหน

อะไรเป็นจุดเปลี่ยนวิกฤตของเราตรงนั้นมาเป็นโอกาสมาทำให้เราหากำลังใจให้ตัวเองหรือการหาเป้าหมายใหม่ของเราครับ

     จริง ๆ จุดที่เราท้อมาก ๆ มันท้อมาจากภายนอกภายใน คือภายนอกผมปฏิเสธการรักษาตอนที่เป็นโรคมะเร็ง และก็ภายในผลเลือดทุก ๆ อย่างของผมแย่หมดเลย วันนั้นคุณหมอเอาหนังสือเล่มหนึ่งมาให้ชื่อหนังสือว่า “ความสุข ณ จุดที่ยืนอยู่” เขียนโดย หนุ่มเมืองจันทร์ ในหนังสือเล่มนี้จะมีบทหนึ่งที่พูดถึงอิฐสามก้อน เป็นเรื่องของพระท่านสร้างกำแพงเองวางอิฐทีละก้อน ๆ อิฐเป็นร้อยเป็นพันก้อนถ้าเราเรียงได้สวยงามทุกก้อนแต่ว่าในกำแพงนั้นมีอิฐอยู่แค่สามก้อนที่วางไว้อย่างไม่เป็นระเบียบ ผมก็เปรียบว่าตอนนี้ชีวิตของเรามันเหมือนอิฐแค่สามก้อน เราได้รับการเลี้ยงดูที่ดีมากตลอดจากคุณพ่อคุณแม่ คุณพ่อคุณแม่ช่วยกันวางอิฐทีละก้อน ๆ แต่ว่าในช่วงชีวิตนี้มันมีอิฐแค่สามก้อนที่วางไม่เป็นระเบียบในชีวิตของผมคือ เราไม่ควรที่จะเอาจุดเล็ก ๆ น้อย ๆ มาทำลายความหวังของอิฐหลาย ๆ ก้อน ที่สังคมคนรอบ ๆ ข้างช่วยสร้างเราขึ้นมา พออ่านจบก็ตัดสินใจโทรบอกคุณแม่ว่าผมจะสู้ต่อ คุณแม่ก็ร้องไห้ไม่ได้ตอบรับอะไรกลับมา

ตอนนั้นเป็นจุดที่ทำให้เราลุกขึ้นสู้อีกครั้งหนึ่ง

     คือหลังจากที่เราตัดสินใจว่าจะสู้ ผลเลือดของเรามันดีขึ้นมาเลยโดยที่เรายังไม่ต้องให้ยาอะไร กลายเป็นว่ายาที่ใส่เข้าไปตอบสนองต่อร่างกายมากขึ้น

มันน่าจะเกี่ยวกับจิตใจของเราในตอนนั้น มันน่าจะมีส่วน

     ครับกับโรคมะเร็งมันเป็นปัจจัยหลัก มันดีกว่ายาที่ต้องกินเข้าไป มันคือพลังที่เกิดจากภายในความเข้าใจมากกว่า

มาโยงเกี่ยวกับตอนที่หันมาวิ่ง คือก่อนที่เราเป็นมะเร็งหรือโรคแทรกซ้อน เรามีการวิ่งมาก่อนหรือเปล่าครับ

     ไม่เลยครับ คือ ต้องบอกว่าตอนที่ออกจากโรงพยาบาลไป ผมเดินไม่ได้ เป็นผู้ป่วยติดเตียงอยู่ที่บ้าน ผมยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องให้คนอื่นพยุงไปห้องน้ำอยู่ พอช่วงเริ่มเดินได้ผมก็เป็น Stevens Johnson Syndrome ร่างกายผมมันเปลี่ยนไปมาก เมื่อก่อนผมดำกว่านี้ผอมกว่านี้ ปากแข็งลิ้นแข็งพูดไม่ชัด ผิวไหม้ ซึ่งโรคนี้ทำให้ผมเก็บตัวไปประมาณ 9 ปี เพราะว่าทุกครั้งที่ออกไปมันโดนกระแสลบจากทางสังคมมาก ๆ ทุกคนมองด้วยท่าทีที่รังเกียจ ทุกครั้งที่เราไปนั่งกินข้าวตรงไหน ถ้ามีคนนั่งกินข้าวอยู่จะลุกออกหมด เราเดินไปไหนจะมีคนชี้เราและก็ค่อยหลบเรา

หลังจากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ทำให้เราเริ่มเก็บตัว 9 ปี เลยหรอครับ

     เก็บตัว 9 ปี ครับ เราหายใจอยู่ที่บ้านเราไม่ได้ใช้ชีวิตของเราเลย

ช่วงนั้นครอบครัวกับคุณพ่อคุณแม่ให้ความเห็นอย่างไรบ้างครับที่เราเริ่มมาเก็บตัว

     คุณแม่เคยพบเจอปัญหาเดียวกับผม คือวันนั้นเราออกไปนั่งกินข้าวด้วยกัน แล้วมีคนหนึ่งมานั่งใกล้โต๊ะเราแล้วหันมาเจอผมแล้วเขาตกใจ ผมก็หันไปมองหน้าคุณแม่แล้วบอกว่ากลับบ้านเถอะ เราไม่อยากกินต่อแล้ว คุณแม่เข้าใจว่าสิ่งที่เราเจอมันเป็นอย่างไง

หลังจากนั้นอะไรทำให้คุณแซมกล้าที่จะออกมาใช้ชีวิตกับสังคมภายนอกปกติครับ

     เราในมุมมองคนอื่นว่า ถ้าเราเป็นตัวของเราเองที่เห็นคนที่มีลักษณะอย่างเรามาเดินเข้ามา เราจะปฏิบัติตัวอย่างไร คำตอบนี้ต้องไม่โกหกตัวเอง คือเราจะมีปฏิกิริยาเหมือนกันคือเราจะระวังตัว เราก็จะสะกิดเพื่อนว่า มันเป็นอะไร ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ผมคิดว่าการที่เราจะให้คนทั้งโลกมาเข้าใจเราคนเดียวมันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่ว่ามันง่ายกว่าที่จะเป็นตัวเราคนเดียว ปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อสังคม เข้าใจกับสังคมทำให้เราเดินต่อไป มันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้มากกว่า เลยตัดสินใจว่า โอเคเราจะกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่งมาสู้กับสังคมอีกครั้งหนึ่ง เราจะไม่ตัดสินสังคมจากมุมมุมเดียวอีกต่อไป

หลังจากที่คิดได้เช่นนี้แล้ว คุณแซมออกมาจากที่เราเก็บตัวเลยไหมครับ พอออกมาเราค้นพบอะไรมากขึ้นไหมครับ

     ผมคิดว่าสิ่งที่ขังเรามาตลอด 9 ปี มันไม่ใช่สังคมแต่มันคือจุดเดียวในความคิดของเราเท่านั้นเอง พอเราปลดล็อคได้ทุกอย่างมันเปลี่ยนไป โลกที่เราเห็นอยู่มุมแคบมันกว้างใหญ่ขึ้น จากในมุมของสายตาและมุมของความคิด คือเรารู้สึกว่าโลกมันอยู่ง่ายขึ้นแค่เราพยายามเข้าใจมัน

หลังจากที่ออกมาแล้ว คุณแซมหันมามองเรื่องการวิ่งเลยไหมครับ

     ยังครับ ผมมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะเราแค่เดินไปไม่กี่ก้าวเราก็หอบมากแล้วครับ สภาพตัวเองยังไม่พร้อมที่จะออกกำลังกาย เรายังไม่มีความสามารถที่จะมีชีวิตเหมือนคนอื่นได้ ผมยังคิดว่าผมเป็นผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลา แต่จุดเปลี่ยนมันคือ วันนั้นที่ผมนอนอยู่เป็นวันที่พี่ตูนวิ่งจากกรุงเทพไปบางสะพาน ผมจำได้เลยว่าทุกคนมองไปที่ยอดเงินหมดมองว่าพี่ตูนได้เงินจากการวิ่งไปเท่าไหร่ทุกคนพูดถึงแต่ว่าตัวเงิน แต่ว่าผมฟังพี่ตูนพูดประโยคหนึ่งว่า “การออกมาวิ่งของเขาไม่ได้ออกมาวิ่งเพื่อระดมทุนเพียงอย่างเดียวปลุกให้คนไทยหันมามองสุขภาพของตนเอง อยากให้คนไทยหันมารักษาสุขภาพของตนเอง” มันเป็นจุดที่เรามองย้อนตัวเองไปว่า ตลอด 9 ปี ที่ผ่านมาเราอย่างแข็งแรง ทุกคนอย่างแข็งแรง เราเคยพยายามกับมันหรือเปล่า เรามองว่าเป็นผู้ป่วยตลอดเวลา เราไม่เคยมองเลยว่าเราเป็นผู้รักษาตัว เรารอคอยให้คุณหมอมารักษา ให้พยาบาลมาช่วยเหลือตลอดเวลา ให้คนที่บ้านมาช่วยเหลือตลอดเวลา แค่ว่าเรายังไม่เคยพยายามที่จะช่วยเหลือตัวเองก่อน นั้นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมออกไปวิ่งครับ

ช่วงนั้นที่คุณแซมบอกว่าร่างกายยังไม่แข็งแรง เดินนิดหนึ่งก็หอบก็เหนื่อยแล้ว คุณแซมเริ่มอย่างไงครับจนปัจจุบันสามารถวิ่งได้เป็นหลายกิโลเมตร

     ผมก็เริ่มจากการหอบนั้นแหละครับ ผมรู้ว่ามันยากมันแทบจะเป็นไปไม่ได้จากสภาพที่เป็นอยู่ แต่ถ้าเราอยู่จุดเดิมเราก็จะอยู่จุดเดิมตลอดเวลา ผมเชื่อว่าถ้าชีวิตอยากเปลี่ยนแปลงก็เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ผมก็เลยเริ่มออกไปก้าวซึ่งมันก็เป็นไปได้ยากมาก ๆ ตอนแรก ๆ แค่ 20 เมตร ผมก็รู้สึกหอบแล้ว พอหอบขาผมสั่น ด้วยความที่ผมติดเตียงมานาน ผมขาดสารอาหาร โซเดียมของผมต่ำ ผมเป็นตะคิว ผมกัดปากกัดลิ้นตัวเองเลือดไหลเต็มไปหมดเลย แม่เข้าใจว่าผมวิ่งล้ม เห็นแล้ววิ่งมาประคองร้องไห้ใหญ่เลย ก็พยุงกันเข้าบ้าน ก็เป็นอีกวันที่เราท้อแท้ เพราะว่าเราคิดว่าเราเก่งแล้วเรามาไกลได้ขนาดนี้แต่ทำไมมันยังไม่สำเร็จอีก มันยังเหนื่อยอีกยังล้มเหลวอีก เราจะผ่านมันไปได้จริง ๆ หรือเปล่า แต่เราก็คิดว่าถ้าทุกครั้งที่เราเจอกับปัญหาไม่ว่าจะเรื่องไหน การงาน ครอบครัวหรืออะไรก็ตาม ถ้าเราล้มเลิกก็จะกลับไปที่จุดเดิมมันก็ยังเป็นปัญหาอยู่ ถ้าเราเจอปัญหาแล้วเราต่อสู้กับมันต่อให้มันจะยากจะเจ็บสักเท่าไหร่ แต่ถ้าเราพยายามที่จะชนะมันมันก็จะมีโอกาสที่จะผ่านไปได้ วันรุ่งขึ้นผมเลยกลับไปบนเส้นทางที่วิ่งแล้วเจ็บใหม่นั้นแหละ  กลับไปเจ็บอีก แต่มันเจ็บน้อยลง เจ็บน้อยลง จนไม่เจ็บ ผมก็เลยเพิ่มระยะเรื่อย ๆ คนอื่นเพิ่มทีละ 20 – 50 เมตร แต่ผมเพิ่มเป็น 5 เมตร 10 เมตร แต่ผมเพิ่มทุกวัน ตลอดเวลา ประมาณ 6 เดือน จนกระทั่งเริ่มวิ่งได้

พอเริ่มวิ่งได้ระยะแรกที่คุณแซมวิ่ง จำได้ไหมครับว่าช่วงครั้งแรกเลยที่วิ่งได้ไกลที่สุดตอนนั้นระยะกี่กิโลครับ

     งานแรกก็คือ 10 กิโลเมตร เลยครับ

ตอนที่เราวิ่งได้ครั้งแรก 10 กิโลเมตร ความรู้สึกแรกเลยเรารู้สึกอย่างไรตอนเข้าเส้นชัย

     ต้องบอกก่อนเลยว่า 10 กิโลแรกนี้ผมไม่ได้ตั้งใจไปวิ่ง 10 กิโลเมตร ผมเคยเดินช้าได้ไกลสุด 5 กิโลเมตรตอนช่วงป่วย แต่ว่าที่วันนั้นเพื่อนสมัครวิ่งไว้แล้วเขาไปไม่ได้ เขาส่งเลขวิ่งมาให้ผม ระยะมัน 10 กิโลเมตรแต่เราตั้งใจไว้ 5 กิโลเมตร เพราะเราไหวแค่นี้ แต่พอวิ่งได้สักระยะหนึ่ง ใครเคยวิ่งจะรู้ว่ามันมีป้ายแยกระยะทาง 10 กิโลเมตร กับ 5 กิโลเมตร 10 กิโลเมตรไปทางซ้าย 5 กิโลเมตรไปทางขวา ไอ้ป้ายนั้นผมไม่ได้เห็นว่ามันเป็นเลข 5 หรือเลข 10 เลย ในสายตาในความคิดผม ผมเห็นว่ามันได้ทำกับทำได้ ถ้า 5 กิโลเมตร คือคำว่าได้ทำ ถ้า 10 กิโลเมตร คือคำว่าทำได้ แล้วภาพเก่า ๆ มันย้อนเข้ามา ต้องนอนอยู่บนเตียงเกือบ 10 ปี ภาพที่เราทานอาหารไม่ได้ ภาพที่เราเดินไปเข้าห้องน้ำขายังสั่น เราย้อนถามตัวเองว่าถ้าครั้งนั้นเป็นโอกาสครั้งเดียวที่เราจะได้วิ่งเราจะเลือกทำได้หรือเราจะเลือกได้ทำ ผมเลือกไปทางทำได้วิ่ง 10 กิโลเมตร ทั้งที่ยังไม่เคยวิ่งมาก่อนเลย แล้วผมก็จบ 10 กิโลเมตร ได้ในวันนั้น

จำเวลาในวันนั้นได้ไหมครับ

     1 ชั่วโมง 52 นาที ครับ

เรามีความรู้สึกอะไรเข้ามาในช่วงเวลานั้นอีกไหม

     มันไม่ใช่แค่ 10 กิโลเมตร ที่ผมก้าวข้ามผ่านมา มันคือ 9 ปี มันคืออดีตแห่งความทรมานของผม ผมรู้สึกว่านาทีที่ผมก้าวข้ามเส้นชัยในวันนั้นเป็นนาทีที่เกิดใหม่ของผม เป็นนาทีที่ผมก้าวข้ามความอ่อนแอ ก้าวข้ามมะเร็งตลอดระยะเวลา 9 ปี 10 กิโลเมตร มันคือชีวิตใหม่ของผม แล้วก็ร้องไห้ เพราะว่ามันคือก้าวที่ผ่านมาได้ตัวเอง มันไม่ได้ผ่านมาได้ด้วยหมอหรือปาฏิหาริย์อะไรใด ๆ มันเกิดมาจากความพยายาม ความอดทน และความไม่ย่อท้อของเรา ภูมิใจมาก

หลังจากครั้งแรกที่คุณแซมได้เปลี่ยนตัวเองออกมาวิ่งและวิ่งได้ระยะแรกของตัวเองเลยคือ 10 กิโลเมตร หลังจากที่คุณแซมลงได้ 10 กิโลเมตร คุณแซมตั้งเป้าในการวิ่งของตัวเองอย่างไรบ้างครับ

         ตอนนี้ผมชนะ10 กิโลเมตร มาไกลแล้วครับ อันนี้ผมผ่าน mini heart marathon มา 6 ครั้ง แล้วครับ เป้าหมายในการวิ่งต่อไปก็คือการลงระยะ full marathon

ที่คุณแซมบอกมันมี mini marathon, heart marathon, full marathon ระยะมันต่างกันอย่างไรบ้าง

         mini marathon ประมาณ 10 กิโลเมตร heart marathon 21.25 กิโลเมตร full marathon 42.195 กิโลเมตร

คุณแซมวิ่งระยะไกลสุดอยู่ที่เท่าไหร่ครับ

         ถ้าวิ่งแข่งก็ heart marathon แล้ว

full marathon ยังไม่เคยลงมาก่อนใช่ไหมครับ

         ยังครับ

แล้วปกติการตั้งเป้าหมายในการวิ่งของคุณแซม คือวัตถุประสงค์ในการลง marathon ของตัวเองอย่างไรบ้าง

         ผมเลือกลงในงานที่ผมอยากไปจริง ๆ ตอนแรกผมลงทุกงานเลย แล้วสุดท้ายมันก็จะเจ็บ เพราะเราวิ่งเร็วเกินไปบ่อยเกินไป เลือกงานจากวิวสองข้างทางมากกว่า สถานที่จัดงาน จุดประสงค์ของการจัดงาน ผมจะเลือกไปงานที่มีโอกาสได้ช่วยเหลือคนอื่น

ในส่วนของ full marathon ได้วางแผนไว้ในปีนี้หรือเปล่าครับ

         ต้นปีหน้าครับ

มีที่ไหนที่มองไว้บ้างหรือเปล่าครับ

         อาจจะวิ่งที่ Tokyo marathon

ซึ่งรายงานนี้ก็จะเห็นว่ามีคนไทยเองเข้าไปวิ่ง สมัครวิ่งบ่อย เห็นหลายคนก็บ่นว่าเราวิ่งแล้วเสียเงิน บางรายการมีคนสมัครเป็นจำนวนมาก มันก็จะมีการรันดอมรายชื่ออีกว่าคุณจะมีสิทธิ์วิ่งในรายการนั้นไหม ตรงนี้คาดหวังอะไรบ้างไหมในรายการ Tokyo marathon ครับ

         รอลุ้น auto เอาครับ

คุณแซมก็ได้มีการสร้างเพจของตัวเองชื่อว่าเพจ Sam’s Story และก็มีการแชร์เรื่องราวของตัวเองในเพจนี้ ก็อยากทราบว่าคุณแซมคิดเห็นอย่างไรที่เริ่มต้นสร้าง story ของตนเองโดยการสร้างเพจของตนเองขึ้นมา

         จริง ๆ จุดเริ่มต้นของเพจเกิดจากการอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วผมประทับใจมาก เขียน e-mail ไปหาคนเขียน ปรากฏว่าภาษาที่ผมเขียนมันดีจนมันเขียนหนังสือได้ ก็เลยอยากให้ลองเขียนหนังสือดู

เป็นคำแนะนำจากผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ว่าให้คุณแซมลองเขียนหนังสือดู

         ใช่ครับ เลยเป็นเพจที่เล่าเรื่องราวความคิด เรื่องราวจากประสบการณ์ที่เราผ่านมา การต่อสู้การไม่ย่อท้อ ความหวัง กำลังใจ ตอนที่เขียนเพจผมหวังไว้ว่าจะมีใครสักคนหนึ่งที่ได้อ่านข้อความของผมแล้วมีกำลังใจมากขึ้น เหมือนที่ผมเคยได้อ่านจากหนังสือเล่มนี้แล้วมีกำลังมากขึ้น ผมหวังว่าประสบการณ์ของผมที่มันผ่านความทุกข์มามันอาจจะเป็นกำลังใจให้ใครสักคนที่กำลังเผชิญอยู่กับความทุกข์ในวันนั้นอยู่ วันที่เรามองไม่เห็นว่ามันจะผ่านไปได้อย่าไร อาจจะเปิดโอกาสให้เห็นว่ามันมีคนที่ผ่านไปได้ ในเมื่อเราทำได้เขาก็ต้องทำได้

ใช้เรื่องราวทุกอย่างเลยไหมครับในตัวเพจ

         ใช่ครับ

ก็คือตั้งแต่การวิ่ง การเตรียมวิ่ง หรือชีวิตประจำวันต่าง ๆ

         การวิ่งความคิดครับ

จากที่สอบถามคุณแซมมาเบื้องต้น หลายท่านก็อาจจะได้มองเห็นถึงลักษณะแนวคิดหรือว่าการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของคุณแซมที่ผ่านมา ก็อยากให้คุณแซมให้ข้อคิดจากเห็นการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมาเราได้ข้อคิดอะไรบ้าง

         ผมคิดว่าไม่ว่าความทุกข์มันจะยากเย็นแค่ไหนมันจะผ่านเราไปเสมอ อะไรทีแก้ได้เราควรจะแก้ อะไรที่แก้ไม่ได้เราก็ควรจะปล่อยมันไป อย่าไปมองว่าความไม่สมบูรณ์เป็นความผิดพลาด จริง ๆ โลกนี้มันประกอบไปด้วยความไม่สมบูรณ์มากมายเลย เราไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์เท่าใคร เราต้องเข้าใจในความไม่สมบูรณ์ของเราชีวิตมันถึงจะเดินต่อไปได้ ทำสิ่งที่ทำอยู่ให้ดีที่สุดอย่าไปคาดหวังผลจนลืมความสุขของการกระทำ อย่าไปตั้งเป้าหมายที่มันไกลเกินควร พอตั้งเป้าหมายแล้วขยับตัวให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่เราตั้งไว้

หลังจากที่คุณแซมได้ทำคีโมต่าง ๆ เกี่ยวกับมะเร็งมานาน จนมาวิ่งจากสุขภาพที่ทรุดก็มาถึงในระดับที่เรียกว่าใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ วิ่งได้ปกติ เป็นคนปกติทั่วไป อยากจะทราบว่าโรคมะเร็งทีพบของคุณแซมตอนนี้หายขาดหรือยังครับ

         หายขาดแล้วครับ

อีกโรคหนึ่งที่เป็นโรคแทรกซ้อนนั้นไม่สามารถรักษาให้หายได้ใช่ไหมครับ

         ครับ

ตอนนี้มันก็จะมีวิธีรักษา เราก็รักษาเป็นปกติของเรา เป็นวิธีดูแลตัวเอง

         ชีวิตมันก็ไม่ต้องเศร้าทุกอย่าง เราใช้ชีวิตไปกับทางพุพังบ้างก็ได้ ทุกอย่างไม่จำเป็นต้องเพอร์เฟคในชีวิตของเรา อะไรที่เราอยากให้มันดีเกินความคาดหมายมันเป็นทุกข์ ผมว่าเราควรจะทำความเข้าใจในสิ่งที่เรามีอยู่มากกว่า ผมภูมิใจในชีวิตที่เหลืออยู่ และขอบคุณในทุกอย่างที่ผ่านมา ผมไม่เคยโทษมะเร็งโทษความทุกข์โทษความทรมานที่ผ่านมา เพราะมันทำให้ผมกลายเป็นคนที่มีความคิดที่เบาขึ้น ง่ายขึ้น สบายขึ้น ยอมรับได้มากขึ้น ผมเจอความสุขที่แท้จริงได้มากกว่าตอนที่ยังไม่ได้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง

เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เราได้ค้นพบอะไรเพิ่มขึ้นเยอะเลย ถ้าหากย้อนไปตอนนั้นที่ยังไม่ได้เป็นมะเร็งเราอาจจะใช้ชีวิตธรรมดาทั่วไป เรายังไม่ได้ค้นพบสิ่งเหล่านี้

         มันคงเป็นทุกข์มากกว่านี้จากการพยายามหาเงิน พยายามมีรถดี ๆ พยายามสร้างบ้านหลังใหญ่ ๆ แต่ว่าความสุขทุกวันนี้กลายเป็นการกินข้าวได้ ออกกำลังกายได้ มีร่างกายที่แข็งแรง มีเวลาอยู่กับครอบครัว มีโอกาสส่งกำลังใจให้กับสังคม มันกลายเป็นว่าความสุขของเราสร้างความยั่งยืนได้มากกว่า ถ้าไม่ป่วยผมอาจจะมีชีวิตที่เป็นทุกข์มากกว่านี้ก็ได้

สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่คุณแซมได้ค้นพบและถ่ายทอดให้กับคุณผู้ชอบ KUlib Talk ในวันนี้ ขอถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิ่งแล้วกัน ในตอนที่คุณแซมเริ่มวิ่งในครั้งแรกต้องเตรียมตัวอะไรกว่าคนอื่นทั่วไปไหมครับ

         ผมเตรียมตัว คือ ผมต้องวิ่งถือน้ำเพราะว่าผมเป็น Stevens Johnson Syndrome ร่างกายผมไม่ผลิตน้ำลาย ไม่ผลิตน้ำตา ต้องจิบน้ำตลอดเวลา ผมว่าการเตรียมตัวของเราในสภาพของแต่ละคน ต้องเตรียมตัว support ตัวเอง อย่าไปสร้างปัญหาในสนามวิ่ง ถ้าคุณรู้ว่าตัวเองตาแห้งผมพบน้ำยาหยอดตาไปผมใส่แว่นตา อย่าทำอะไรที่มันเกินตัว จนกระทบต่อคนรอบข้าง คุณป่วยได้ก็ต้องดูแลตัวเองได้ ผมพยายามวิ่งให้มันช้า ผมไม่เคยเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นเลย แรกที่ผมวิ่งทุกคนหัวเราะผมหมดเลย มีคนผอม ๆ ดำ ๆ ร่างกายน่าเกียจน่ากลัวไปวิ่ง ถ้าเราไม่ทำวันนั้นเราจะไม่มีวันนี้เลย ถ้าเราไม่ทำในสิ่งที่เราทำได้ในวันนั้น มันจะไม่มีทางพัฒนาตัวเองมาได้ถึงจุดนี้ อย่าเปรียบเทียบตัวเองกับใครไปในระยะที่ตัวเองทำได้

ช่วงนี้ก็จะมีหลายคนเริ่มหันมารักสุขภาพมากขึ้น หลายคนก็อาจจะเข้า fitness หลายคนอาจจะทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ช่วงนี้ Trand Health กำลังมา คุณแซมมีคำแนะนำอะไรให้กับคนวิ่งเพิ่มเติมไหมครับ สำหรับคนที่เริ่มต้นวิ่งหรือคนที่หันมารักษาสุขภาพตัวเอง

         การวิ่งที่ดีไม่ใช่แค่ทักษะการวิ่ง ทักษะการดูแลตัวเองก็สำคัญ การกินการพักผ่อนกลายเป็นวงจรที่จะทำให้ผลลัพธ์การวิ่งมันดีขึ้น ก่อนที่คุณจะวิ่งให้ได้ดี คุณจะต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ให้ร่างกายได้ฟื้นฟูซ้อมแซมกลายเป็นว่าเป้าหมายในการวิ่งมันกลายเป็นการหล่อรวมทุกอย่างให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทุกอย่างคุณต้องทำก่อนการวิ่ง

ให้คุณแซมฝากข้อคิดหรือฝากประเด็นอะไรให้กับผู้ชมวันนี้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือในการที่อยากจะทำอะไรบางอย่าง หรือการก้ามผ่านวิกฤตของแต่ละคน

         คนทั่วไปชอบมองว่าชีวิตของผมมันคือปาฏิหาริย์ เป็นสิ่งที่เกิดได้ยาก ผมมองว่ามันเป็นสิ่งธรรมดา ชีวิตของผมในวันนี้เกิดจากคำสองคำคือ ความอดทน กับพยายาม มันไม่มีทางลัดกับความสำเร็จเลยถ้าคุณยากไปได้ไกลขึ้น คุณต้องพยายามมากขึ้น ถ้าคุณเหนื่อยกับการต่อสู้คุณต้องอดทนให้มากขึ้น แล้วคุณจะประสบความสำเร็จในสิ่งที่เป็นเป้าหมายของคุณ “อดทน และพยายาม”

 

         นอกจากความอดทนและความพยายามแล้ว ความคิดของคุณแซมสามารถที่จะเปลี่ยนตัวเองได้ในเรื่องแรกเลยคือเรื่องความคิดที่เราจะเปลี่ยนตัวเองว่า เราไม่ใช่ว่าไม่แคร์สังคมแต่คือจากสภาพแวดล้อมของสังคมที่เราเจอมาเราเปลี่ยนแปลงความคิดของตัวเองว่าทำไมเราไม่ดูแลตัวเองก่อนไม่แคร์ตัวเอง พอเราแคร์ตัวเองเราจะนำพาตัวเองออกมาจาก 9 ปี ที่เก็บตัวจากตรงนั้นได้ และสามารถยอมรับความจริงสามารถมองสิ่งที่เกิดขึ้นให้เป็นความจริง และยอมรับได้สิ่งไหนที่เราสามารถทำให้ดีขึ้นได้ก็จะทำ เช่น การดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น การเปลี่ยนมารับการรักษาต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งในเรื่องของการตั้งเป้าไม่มองว่าตัวเองป่วยหลังจากที่มีกำลังใจทุกอย่างก็ดีขึ้นมาเรื่อย ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ได้จากการถอดความแรงบัลดาลใจต่าง ๆ ที่คุณแซมมีในวันนี้

 

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รางวัล The Outstanding paper Emerald literati Award for Excellence 2019

โดย รศ.ดร.พร้อมพิไล บัวสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ หัวหน้าภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ท่านได้รับรางวัล The Outstanding paper Emerald literati Award for Excellence 2019 จาก Emerald Publishing โดย Manager of Emerald Thailand จากบทความในหัวข้อ Rethinking Thai Higher Education for Thailand 4.0 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Asian Education and Development studies ขอต้อนรับอาจารย์พร้อมพิไล บัวสุวรรณ ขอแสดงความยินดีอีกครั้งกับผลงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้

อาจารย์ : ขอบพระคุณค่ะ

ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่อาจารย์มาเยี่ยมห้องสมุดของเรา จากที่เคยทราบอาจารย์เคยมาร่วมกิจกรรมของห้องสมุดเราหลายกิจกรรม สำหรับวันนี้ได้รับเกียรติจากอาจารย์จะมาพูดคุยถึงงานวิจัยในชิ้นนี้กันค่ะ

อาจารย์ : ต้องขอบคุณนะคะ ตัวเองก็เป็นเกียรติเช่นกัน ได้มาที่สำนักหอสมุดก็เห็นบรรยากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Eco Library มีความรู้สึกเป็นบรรยากาศที่เชื้อชวนว่าอยากจะเข้ามานั่งอ่านหนังสือเลยทีเดียว

ผลงานชิ้นนี้ที่ชื่อว่า Rethinking Thai Higher Education for Thailand 4.0 หัวข้อนี้อาจารย์มองเห็นอะไรในจุดนี้ถึงเลือกทำวิจัยชิ้นนี้

จริงๆ ต้องขออนุญาตนำเรียนว่าบทความที่เขียนอันนี้ คือเป็นผลสืบเนื่องจากงานวิจัยที่ตัวเองได้รับทุนวิจัยจากสกว หรือว่าสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย น่าจะประมาณปี 2012 ซึ่งก็ใช้เวลาในการทำวิจัยประมาณ 3 ปี พอดีงานวิจัยที่ทำในเรื่องนี้ ตอนนั้นทำเกี่ยวกับเรื่องของ Public Private Partnership to Promote a Creative Society คือตอนนั้นด้วยความที่ว่า Area of Interestจะไปที่ creative society คือเราอยากจะรู้ว่าสังคมสร้างสรรค์ มันมีลักษณะเป็นอย่างไร เรามีความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมสร้างสรรค์อย่างไร เพราะว่า ณ ยุคนั้นประเทศไทยจะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่การเป็น creative economy เพราะฉะนั้นก็เลยมาทำวิจัยในเรื่องของ creative society จากผลงานวิจัยนั้น ซึ่งทำวิจัยใช้เวลาประมาณ 3 ปี ผลการวิจัยเราก็มาพบว่ามันมาสอดรับกับแนวนโยบายของประเทศในเรื่องของไทยแลนด์ 4.0 ก็เลยนำผลการวิจัยที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนั้นมาเขียน และเป็นการให้เราได้เห็นว่าการที่ประเทศไทยจะขับเคลื่อนไปสู่การเป็น ประเทศไทย 4.0 สถาบันอุดมศึกษาเรามีความพร้อมแค่ไหน หรือมีประเด็นที่จะต้องทบทวน หรือมีความท้าทายอะไรอยู่บ้าง เพราะฉะนั้นก็เลยเป็นที่มาที่ไปของการเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นมา 

วัตถุประสงค์หลักของบทความชิ้นนี้

วัตถุประสงค์ของบทความชิ้นนี้ คือต้องการที่จะมองถึงตรงช่องว่าง คือเหมือนกับเป็นการมองภาพ ภาพไทยแลนด์ 4.0 เป็นภาพที่สังคมหรือว่าประเทศไทยต้องการจะไปให้ถึง อย่างไรก็ตามการที่เราจะไปถึงจุดนั้นได้ เราก็ต้องดูก่อนว่า ณ ตอนนี้สถาบันอุดมศึกษาของเรา เราอยู่ ณ จุดไหน เรามีความพร้อม มีสภาพการดำเนินงานอย่างไร เรามีประเด็นความท้าทายอะไรอยู่บ้าง เพราะฉะนั้นวัตถุประสงค์สำคัญก็คือจะเป็นการ เหมือนกับว่าดูช่องว่างของสิ่งที่มันควรจะเป็นกับสิ่งที่เราเป็นอยู่ และก็ต้องการที่จะนำเสนอประเด็นที่เป็นมุมมองความท้าทายของสถาบันอุดมศึกษา ในการที่จะช่วยกันขับเคลื่อนประเทศไทยให้ไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0

การทำวิจัยของอาจารย์ชิ้นนี้ การเก็บข้อมูลหลักของอาจารย์คือการสัมภาษณ์และก็การใช้ Questionnaire อยากให้อาจารย์ช่วยเล่าให้เราฟัง ขั้นตอนในการสัมภาษณ์หรือการที่จะได้ข้อมูลมาในส่วนนี้ เป็นอย่างไรบ้าง

เนื่องจากว่าในคำถามวิจัยที่เรากำหนดก็คือตอนนั้นเราอยากที่ทราบก่อนว่าคำว่า creative society มันอาจเป็นคำที่ abstract เราต้องพยายามทำสิ่งที่มัน abstract ให้มันสามารถเป็นรูปธรรม และก็สามารถที่จะเข้าใจร่วมกันได้ เพราะฉะนั้นใช้วิธีการในการที่จะสัมภาษณ์

พิธีกร : สัมภาษณ์กับกลุ่มใด

มีหลายกลุ่มเลยค่ะ ตั้งแต่ที่เป็นผู้กำหนดนโยบายของประเทศ ตั้งแต่หน่วยงานองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐและก็เป็นผู้กำหนดนโยบาย และก็สถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง ณ ตอนนั้นก็จะไปเก็บข้อมูลกับสถาบันอุดมศึกษาที่เป็น เขาเรียกว่าเป็น creative academy หรือว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาเชิงสร้างสรรค์ จะไปสัมภาษณ์กับผู้บริหารมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ระดับท่านอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี และมีสัมภาษณ์อาจารย์ด้วย เพราะว่าเราต้องการที่จะดูมุมมองในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับนโยบายที่เป็นผู้กำหนดนโยบายของประเทศ จนกระทั่งถึงสถาบันอุดมศึกษาที่จะต้องเป็นผู้รับนโยบายไปสู่การปฏิบัติ รวมกระทั่งถึงอาจารย์ที่จะต้องเป็นผู้ช่วยกันขับเคลื่อนด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าต้องเก็บข้อมูลกับสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในต่างจังหวัดด้วย เพราะว่าจะมีสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในต่างจังหวัดก็ต้องเดินทาง ประกอบกับการเก็บข้อมูลผู้ที่อยู่ในระดับนโยบายกับผู้บริหารมหาวิทยาลัย ก็ต้องอาศัยความพยายามค่อนข้างสูง เพราะว่าด้วยความที่ว่าท่านอาจจะมีภารกิจค่อนข้างเยอะ แต่เราก็ต้องใช้เวลาในการที่จะประสาน พยายามติดต่อ แต่ว่าก็เรียกได้ว่าทุกท่านก็น่ารักมากนะคะให้ความร่วมมือ คือตัวเองเชื่อว่าผู้บริหารกับนักวิชาการ ถ้าหากว่าตัวเองไม่ติดขัดอะไรยินดีที่จะให้ข้อมูลอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นก็เลยทำให้มีโอกาสได้สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุม 

พิธีกร : ใช้เวลานานไหมคะ

ใช้เวลานานค่ะ อีกประการหนึ่งก็คือมีการสัมภาษณ์กับกลุ่มที่เป็น เขาเรียกว่า เป็น series society เป็นคล้ายๆ กับเป็นบุคคลสำคัญของสังคม อาจจะไม่ได้เรียกว่า series society แต่ว่าเป็นบุคคลที่เรียกได้ว่าเป็นที่นับถือในสังคม คือเป็นผู้ที่มีมุมมองเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม ควรที่จะได้รับการกล่าวถึง หรือได้รับการพัฒนา เพราะฉะนั้นก็จะมีการไปสัมภาษณ์ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการอิสระ รวมกระทั่งถึงเป็นบุคคลสำคัญของสังคม ระยะเวลาในการสัมภาษณ์ตรงนี้ ในการเก็บข้อมูลอย่างที่นำเรียนไปว่า งานวิจัยชิ้นนี้เราก็ใช้เวลาประมาณ 2 ปีครึ่งเกือบ 3 ปี เพราะฉะนั้นในช่วงของการเก็บข้อมูลก็ใช้เวลาในการติดต่อประสานงานค่อนข้างมากทีเดียว เราก็ยังมีการเก็บ ไม่ใช่เก็บเฉพาะจากการสัมภาษณ์ เรามีการทำแบบสอบถามและก็มีการไปเก็บทั่วประเทศในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ เพราะฉะนั้นก็เลยใช้เวลานิดหนึ่ง

ผลสรุปหรือผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ สามารถต่อยอดอย่างไรได้บ้าง

เนื่องจากว่าสิ่งสำคัญในการที่เราจะขับเคลื่อนประเทศไปสู่จุดไหน เราอาจจะมีความฝันในภาพของสังคมประเทศที่อยากจะให้เกิดขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจร่วมกันในภาพนั้นๆ เพราะฉะนั้นพอพูดถึงคำว่าไทยแลนด์ 4.0 มันเป็นการมองภาพสังคมประเทศไทยที่เราอยากจะให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือการที่เราเหมือนกับว่าย้อนกลับมา ในการที่จะมองว่าเรามีความเข้าใจเกี่ยวกับไทยแลนด์ 4.0 ตรงนี้อย่างไร เช่นเดียวกันเหมือนกับงานวิจัยที่ตัวเองทำในจุดเริ่มต้น ก็ต้องการจะทำความเข้าใจว่า คำว่า creative society มันหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นก็เป็นการพยายามทำความเข้าใจในส่วนของตัว concept ว่าเรามีความเข้าใจในแนวคิดตรงนี้อย่างไร ซึ่งก็มาพบว่าตัว concept หรือว่าความเข้าใจเกี่ยวกับ creative society หรือว่าสังคมสร้างสรรค์มาสอดรับกับความเป็นไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งนัยหนึ่งก็ยังมาคิดว่า หรืออาจด้วยความที่ว่า เนื่องจากตอนนั้นกลุ่มที่เราไปสัมภาษณ์เป็นกลุ่มที่policy maker ด้วย และก็เป็นกลุ่มที่เป็นบุคคลสำคัญของประเทศที่เรียกได้ว่าเป็นผู้นำทางความคิดของประเทศ เพราะฉะนั้นทำให้ได้มุมมองที่อาจจะไปสอดรับกับแนวทางการพัฒนาประเทศ มันก็เลยมาเป็นแนวคิดในเรื่องของไทยแลนด์ 4.0 ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการที่เรามองว่าการที่จะเป็นสังคมสร้างสรรค์ มันก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง creativity หรือความสร้างสรรค์ รวมกระทั่งถึงการให้ความสำคัญกับเรื่องของinclusivityหรือการที่เราจะต้องไม่มองคำว่าความสร้างสรรค์เพียงแค่เฉพาะกลุ่ม เช่นเราอาจจะไปมีความคิดว่า พอพูดถึงเรื่องของความสร้างสรรค์มันจะต้องอยู่ในกลุ่มเฉพาะบางคนที่เขาอยู่ในกลุ่มCreative Industryหรืออุตสาหกรรมสร้างสรรค์เท่านั้น จริงๆ ถ้าหากเรามองดูความสร้างสรรค์อยู่ในตัวคนทุกคน และอยู่ในตัวคนทุกกลุ่ม เอาตัวอย่างง่ายๆ ตอนที่ประเทศไทยเกิดภาวะวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ เราจะเห็นนวัตกรรมชาวบ้านเกิดออกมามากมายเลย ซึ่งคนกลุ่มเหล่านี้เขาไม่จำเป็นจะต้องถูกจัดกลุ่มว่าเขาอยู่ในกลุ่ม อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือว่าเขาอยู่ในกลุ่มที่เป็นกลุ่มสังคมที่มีความสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ว่าความสร้างสรรค์มันแสดงให้เห็นว่ามันอยู่ในคนทุกๆ คน เพราะฉะนั้นเราจำเป็นจะต้องมองเรื่องของความสร้างสรรค์ที่มันinclude คนทุกกลุ่ม และทุกระดับของสังคม ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กๆ คำว่าinclusivityจึงได้เข้ามาอยู่ใน concept นี้ด้วยเช่นกัน รวมกระทั่งถึงการที่เรามองเรื่องของสังคมสร้างสรรค์ มันไม่สามารถมองเพียงแค่มิติในเรื่องของเศรษฐกิจได้ แต่ว่ามันกว้างกว่ามิติเศรษฐกิจ เพราะว่าเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศคือพัฒนาแบบเป็นองค์รวม ประกอบกับแนวทางการพัฒนาของไทยแลนด์ 4.0 ก็จะมุ่งเน้นไปที่ในเรื่องของ sustainability ก็คือการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะฉะนั้นมันจึงเป็น concept ของสังคมสร้างสรรค์ที่มองว่ามันจะต้องนำสู่ผลลัพธ์หรือผลกระทบของการพัฒนาสังคมประเทศที่มีความยั่งยืนด้วยเช่นเดียวกัน แนวคิดจึงมาสอดรับกับทิศทางการพัฒนาประเทศของไทยแลนด์ 4.0 อย่างไรก็ตามมันอาจจะเป็นภาพความเข้าใจร่วมกันที่สอดคล้องกัน ที่นี้ต้องมองย้อนกลับมาดูว่าสถาบันอุดมศึกษา ตอนนี้เรามองสังคมสร้างสรรค์อย่างไร เรามองบทบาทของเราในการที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็น ไทยแลนด์ 4.0 อย่างไร เพราะว่าคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า สถาบันอุดมศึกษาเรามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในทุกๆ มิติ ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจอย่างเดียว ต้องมาดูว่าสถาบันอุดมศึกษาเขามองจุดนี้อย่างไร แล้วเขามีความเข้าใจร่วมกันอย่างไร สิ่งที่เขาทำอยู่ ณ ตอนนี้มันเพียงพอแล้วหรือยังในการที่จะช่วยขับเคลื่อนไปสู่จุดนั้น ซึ่งจากผลการวิจัย เราก็พบว่าจริงๆ แล้วพอมองที่คำว่าสังคมสร้างสรรค์ มันจะมีจุดร่วมใน concept ที่เรามองอย่างที่นำเรียนไปในตอนต้น แต่บางครั้งพอเรามองคำว่าความสร้างสรรค์ มันไม่ได้ถูกครอบไว้ด้วยเพียงแค่แนวคิดในเรื่องของความสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมที่เป็นวิทยาศาสตร์ อย่างเช่นเราก็มีข้อค้นพบว่าเราไปสัมภาษณ์คุยกับอาจารย์ที่อาจจะอยู่ในสายสังคม แต่ว่าไม่ได้อยู่ในสายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มองว่าทำไมนโยบายประเทศถึงมองคำว่าความสร้างสรรค์ไปเพียงแค่สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพราะฉะนั้นมันก็ทำให้เห็น gaps ว่าจริงๆ แล้วมันก็จะไปสอดคล้องกับเรื่องของinclusivityเวลาที่เราจะมองเรื่องของความสร้างสรรค์ต้องมองในทุกๆ มิติ ในทุกๆDisciplineเพราะว่าความสร้างสรรค์มีอยู่ในตัวคนทุกคน มันทำให้เราได้เห็นว่ามีช่องว่างในมุมมองตรงนี้อยู่ ประกอบกับพอเราได้มีการเก็บข้อมูล ในเชิงของQuestionnaireเราก็พบว่าตอนนั้นมีการเก็บข้อมูลกับสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ เราก็จะแบ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยตามที่ สกอ เขาได้มีการจัดกลุ่มเอาไว้ ได้มีการเก็บข้อมูลแยกตามDisciplineว่าเป็นกลุ่มสายสังคม สายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สายสุขภาพ อะไรต่างๆ พวกนี้ เราก็พบว่าจริงๆ แล้วนี้ ถ้าหากมองถึงสิ่งที่เขาดำเนินการกันอยู่ มันอาจจะไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก เพราะว่าเขาก็ยังมีการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ เรามองว่าการที่จะเกิดสังคมสร้างสรรค์หรือแม้แต่ไทยแลนด์ 4.0 เอง ก็ให้ความสำคัญว่าสถาบันอุดมศึกษาต้อง reach out ต้องสามารถที่จะไปทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ได้ เราก็พบว่าจริงๆ แล้ว สถาบันอุดมศึกษาไม่ว่าประเทศไหนเขาก็มีความพยายามทำตรงนั้นอยู่ แต่เพียงแค่ว่ามันอาจจะมีช่องว่างในเชิงของมุมมองความคิดซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง ก็คือในส่วนของผู้บริหารมหาวิทยาลัย เพราะว่าเรามีการเปรียบเทียบกลุ่ม มุมมองความคิดของแต่ละกลุ่ม เราเปรียบเทียบเป็นกลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับคณะ และก็อาจารย์ เราก็พบว่าในกลุ่มของผู้บริหารมหาวิทยาลัยกับอาจารย์จะมีความคาดหวังว่าอยากที่จะพัฒนาไปสู่ในเรื่องของแนวทาง ตามแนวทางของสังคมสร้างสรรค์ และก็ไทยแลนด์ 4.0 ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการที่จะต้องพยายามพัฒนาผู้เรียนให้มีการคิดนอกกรอบ การที่ให้ผู้เรียนมีความท้าทายมุมมองความคิดเดิม หรือแม้แต่การที่จะต้องมีการใช้เทคโนโลยี ซึ่ง ณ ตอนนั้นที่ทำวิจัยเมื่อประมาณปี 2012 จนถึงปี 2015 หรือ 2016 เป็นช่วงต่อ ช่วงนั้น MOOC ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก แต่ว่าตัวเองด้วยความที่ว่าเราก็มีการค้นคว้าเรื่องพวกนี้มาก่อนแล้วปรากฏว่าคนก็ยังไปมองคำว่าการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน เขาก็ยังมองว่าเขามีการใช้อยู่แต่เพียงแค่ว่าเทคโนโลยีมันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แล้วก็จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา เพราะฉะนั้นบางครั้งการที่เรามองว่าเรามีการใช้เทคโนโลยีอยู่ มันอาจเป็นเทคโนโลยีที่เขามอง ณ ปัจจุบัน แต่จริงๆ แล้วมันจะต้องมองภาพความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เวลาพูดถึงว่าความคาดหวังว่าจะต้องมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น หรือว่าเขามีการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนในระดับไหนก็พบว่า เขาก็มองว่าเขามีการใช้อยู่เยอะแล้ว เพราะว่าเรามีการหาค่าPNI (Priority need index) ซึ่งในด้านของการใช้เทคโนโลยีพบว่ามีค่า PNI ไม่สูงมากนักไม่ได้อยู่ในระดับต้นๆ ซึ่งมาเป็นประเด็นให้เราได้คิดว่าทำไม ก็อาจจะด้วยความที่ ณ ตอนนั้นเขามองเทคโนโลยีที่อยู่ในปัจจุบัน แต่เขาอาจจะยังมองภาพไม่เห็นเทคโนโลยีที่จะมาใช้ในการเรียนการสอน มันจะต้องมีพัฒนาการไปมากกว่านั้นแล้ว อีกประการหนึ่งที่พบว่า มันมีช่องว่างหรือ PNI ที่ค่อนข้างสูงที่คิดว่ามันเป็นความท้าทายของสถาบันอุดมศึกษาก็คือเรื่องของการที่เราจะต้องสามารถที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีการท้าทายทางความคิด ตรงนี้เข้าใจว่ามันเป็นแง่มุมในเชิงของวัฒนธรรมไทย การที่เราจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเขาได้แสดงมุมมองทางความคิดอันนั้นเป็นระดับเริ่มต้น แต่การที่จะให้เขาสามารถที่จะท้าทายมุมมองความคิดเดิม ซึ่งความคิดเดิมตรงนี้มันอาจจะมีแง่มุมในเชิงวัฒนธรรมว่าไม่จะเป็นผู้สอนหรือผู้เรียนอาจจะมองว่าการที่เรามี Critical Mind หรือว่าการที่เรามีมุมมองในเชิงของการที่เราวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือว่ามีมุมมองที่เราท้าทายความคิดตัวเองหรือท้าทายความคิดผู้อื่นซึ่งกันและกัน แต่ไม่ใช่การท้าทายแบบก้าวร้าว แต่ว่ามีมุมมองความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันตรงนี้ มันอาจจะยังไม่ค่อยไม่ได้รับการส่งเสริมมากนัก เพราะว่าอาจจะขัดต่อวัฒนธรรมเรา ซึ่งตรงนี้จะเป็นประเด็นความท้าทายที่คิดว่าเราจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับแง่มุมนี้กับอีกอันหนึ่งในเรื่องของการที่เราต้องมองอุดมศึกษาของเราที่ไม่ใช่ Ivory Tower หรือเป็นหอคอยงาช้าง ถ้าเรามองอุดมศึกษาจะยังอาจมองว่าความรู้จะอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา ก็คือเป็นสถาบันขั้นสูง จริงๆ แล้วมันมีความรู้ที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ความรู้ที่อยู่กับชุมชน เพราะฉะนั้น boundary หรือขอบเขตในการแบ่งแยกระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับชุมชนหรือสังคม มันจะต้องถูกทำลายกำแพงลง ตรงนี้มันจะทำให้เกิดสังคมที่จะต้องเปิดกว้าง โดยที่อาจารย์มหาวิทยาลัยก็จะต้องไม่มองว่าองค์ความรู้ที่เราสูงกว่าคนที่เขาเป็นนักปฏิบัติ แต่มันจะต้องมีการร่วมกัน เพราะฉะนั้นจะนำมาสู่ในเรื่องของแง่มุมในเชิงของการถ้ามีการสร้างองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับนักปฏิบัติหรือชุมชนที่อาจจะเป็นชาวบ้าน ที่นี้ต้องนำมาสู่ในเรื่องของระเบียบกฎเกณฑ์ในการที่จะเอื้อให้เกิดการสร้างองค์กรความรู้ร่วมกัน รวมกระทั่งถึงไม่ว่าจะเป็นลิขสิทธิ์ทางปัญญา ทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ เหล่านี้ ที่มันอาจจะเป็นความท้าทายของเราอยู่

พิธีกร เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจมาก และสามารถนำไปต่อยอดได้หลายกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นความคิดสร้างสรรค์ และการเสนอแนะความคิดเห็น และการศึกษาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน รางวัลของงานวิจัยชิ้นนี้ที่ได้รับ ผู้ชมอาจจะยังไม่ทราบว่าผลงานของอาจารย์สามารถสืบค้นได้ในฐานข้อมูลของ Emerald ซึ่งสำนักหอสมุดก็มีให้บริการด้วย

 

มาพูดถึงรางวัลที่อาจารย์ได้รับ อาจารย์พอทราบไหมคะ เกณฑ์ที่ได้รับรางวัลในชิ้นนี้มีอะไรบ้าง

จริงๆ แล้วในส่วนของตัวเกณฑ์ในการพิจารณารางวัลก็ต้องเรียนว่าตัวเองไม่ได้ทราบก่อนในตอนต้น ด้วยความที่ว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนส่งผลงานเข้าไปเพื่อขอรับการพิจารณา แต่ว่าทาง Emerald ส่ง e-mail มาและบอกว่าตัวเองได้รับรางวัล ซึ่งตอนนั้นตัวเองก็เกิดความสนใจใคร่รู้ขึ้นมาว่า เขาพิจารณาจากอะไร ก็เลยลองเข้าไป search ข้อมูล ทั้งของ Emerald และใน googleดู ก็พบว่าเวลาที่เขาพิจารณารางวัลตรงนี้ เขาจะมีเป็น editorial board ซึ่งเขาจะพิจารณาจากบทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดในรอบปีนั้น เขาก็จะมีวิธีการ เช่น คนที่เป็น advisory editorial board จะได้รับการให้นำเสนอขึ้นมาพิจารณาจากบทความทั้งหมดในรอบปี มาดูว่าบทความไหนที่มีความน่าสนใจ เขาจะคัดมาก่อน 3 บทความ เขาก็จะให้ advisory editorial board ในการที่จะให้คะแนนซึ่งรางวัลตอนแรกตัวเองก็งงว่ามีตัว outstanding จะมีรางวัลอยู่ประมาณ 3 ประเภท ถ้าจำไม่ผิด อันที่หนึ่งเป็น outstanding and highly commended paper รางวัล outstanding and highly commended paper เป็นรางวัลที่เขาให้กับผลงานที่ most impressive ก็คือที่มีความน่าประทับใจมากที่สุดที่มีการตีพิมพ์ในรอบปีที่ผ่านมา นอกจากนี้จะมีที่เป็นรางวัล outstanding reviewer ให้รางวัลกับคนเป็น reviewer เพราะว่าเขาก็คงจะดู reviewer บางท่านก็จะสามารถ review และให้ comment ที่เป็นประโยชน์ และอีกอันก็จะเป็น outstanding author ซึ่งตรงนี้จะให้รางวัลเป็น outstanding author สำหรับคนที่เขียนเป็น book series คือเหมือนกับเขียนเป็นหนังสือ แต่ว่ารางวัลที่ prestigiousจะเป็น outstanding and highly commended ตัวเองก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า แล้ว outstanding กับ highly commended ต่างกันอย่างไร เพราะว่าจากที่ตัวเองเข้าไป search ข้อมูลดู บางคนได้ outstanding บางคนได้ highly commended มาพบว่าที่เป็น highly commended กับ outstanding เขาจะพิจารณาจากตอนแรกที่ให้ editorial board เสนอมา 3 บทความ และก็ให้ advisory editorial board เป็นคนพิจารณาและให้คะแนน ซึ่งก็พบว่าใน outstanding จะมีเพียงแค่ชิ้นเดียวที่ได้ outstanding ที่เหลือจะไปเป็น highly commended เพราะฉะนั้นก็อาจจะเหมือนกับที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 อะไรอย่างนี้คิดว่านะคะ ลองเข้าไป search ดูว่าเกณฑ์ในการที่เขาพิจารณาว่าบทความประเภทไหนที่ควรจะได้ outstanding พบว่าเขาจะพิจารณาจาก contribution of something new to the body of knowledge เขาจะมองว่าผลงานของเรามันสามารถที่จะนำไปก่อเกิดประโยชน์ให้กับองค์ความรู้ใน field หรือในศาสตร์นั้นๆ อย่างไร ประกอบกับมีการพิจารณาจาก excellent structure and presentation คือ เป็นการดูเรื่องของ Format การเขียนว่าที่เราเขียนมันมีการจัดลำดับความคิด หรือมีวิธีการนำเสนอที่มันมีความเหมาะสมอย่างไร รวมกระทั่งถึงเรื่องของการเขียนสามารถที่จะเขียนได้ดีอย่างไร ตรงนี้เขาบอกว่า Rigour in terms of argument or analysis ก็คืออย่างบทความที่เป็นสายสังคมศาสตร์ เขาก็จะให้ความสำคัญกับเรื่องของการที่เราจะต้องสามารถนำเสนอมุมมองที่มันมี argument คือไม่ใช่บทความประเภทที่มันเป็น descriptiveประเภทมานั่งเขียนบรรยายว่าเป็นอย่างไร ตัว analysis ของเรา หรือบทวิเคราะห์ของเราต้องแสดงให้เห็นถึงข้อโต้แย้งหรือพูดง่ายๆ ก็คือการที่จะเกิดองค์ความรู้ใหม่ได้ มันต้องโต้แย้งกับสิ่งมันอาจจะเป็นอยู่เดิม เพราะฉะนั้นเขาจะพิจารณาว่าบทความของเรานำเสนอประเด็นข้อโต้แย้งตรงนี้ รวมกระทั่งถึงบทวิเคราะห์ที่เข้มข้น Rigourเหมือนกับมีความเข้มข้น รวมกระทั่งถึง Relavance to practice and further research in most case คือดูว่างานวิจัยชิ้นนี้สามารถที่จะนำไปเป็นพื้นฐานหรือว่าไปต่อยอดให้คนเข้าไปศึกษาต่ออย่างไรได้บ้าง อีกประการเขามองว่างานจะต้องสอดคล้องกับ scope ของวารสารนั้นๆ เพราะบางครั้งงานนั้นอาจจะไม่ได้ คือเขาจะพิจารณาว่าบทความนั้นมันไปสอดคล้องกับตัวจุดมุ่งหมายของวารสารนั้นๆ หรือไม่ และเขาก็บอกว่าโดยรวมแล้ว สิ่งสำคัญในการที่จะบอกว่าการที่จะได้ outstanding หรือไม่ outstanding เขาจะต้องให้เห็นว่ามัน stand out ออกมาอย่างชัดเจน ถ้าหากมัน stand out ออกมาอย่างชัดเจน อันนั้นจะไปเป็น outstanding

พิธีกร รางวัลที่อาจารย์ได้รับทางสำนักพิมพ์นำมาให้ที่เมืองไทยไหมคะ

ใช่ค่ะ ทางผู้จัดการ emerald เขาจะมี headquartersอยู่หลายประเทศ headquarters ที่ไต้หวันเขาก็บินมามอบรางวัลให้กับที่ประเทศไทย ก็เป็นคนไต้หวันก็มามอบให้เรียบร้อยแล้วค่ะ

พิธีกร อาจารย์ส่งบทความไปตีพิมพ์ที่วารสารแล้วก็ได้รับรางวัล ซึ่งรางวัลก็จะมีหลายประเภทเลย

เรามาเข้าถึงคำถามอีกคำถามหนึ่งที่นักวิจัยรุ่นใหม่อยากจะทราบในเรื่องของการส่งบทความเพื่อการตีพิมพ์ในวารสาร ใน paper ชิ้นนี้มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง พอเขียนเสร็จแล้วและส่งบทความ

ตรงนี้ก็ต้องเรียกได้ว่ามันอาจจะมีความโชคดีอยู่ด้วยนิดหนึ่ง ด้วยความที่ว่าตัวเองก็มองว่าบทบาทหน้าที่นักวิชาการ เราก็ควรจะต้องไปเข้าร่วมประชุมวิชาการ จะทำให้เราได้เห็นมุมมองทางวิชาการที่กว้างขึ้นด้วย ก่อนที่จะส่งตีพิมพ์ ตัวเองไปเข้าร่วมประชุมวิชาการซึ่งเป็นการประชุมวิชาการ ตอนนั้นถ้าจำไม่ผิดจัดที่ประเทศฮ่องกง ก็ได้ไปพบกับนักวิชาการ ซึ่งตอนแรกเราไม่รู้หรอกว่า เหมือนกับว่าไม่ทราบว่าเขาเป็นใครอย่างไร พอเรานำเสนอเสร็จ เขาก็เข้ามาคุยด้วย เราก็เลยเป็น friend กัน เหมือนกับเป็น communityของนักวิชาการ หลังจากนั้นเขาก็มีการส่ง e-mail มาบอกว่าวารสารนี้ จะว่าไปก็คล้ายกับหลายวารสาร หลายวารสารก็จะมีการส่งเชื้อเชิญให้ตีพิมพ์บทความในวารสารเขา เขาก็ส่งข้อมูลมาว่ามีวารสารนี้ถ้าสนใจก็ส่งตีพิมพ์ได้ใช่ไหมคะ พอเราเห็นชื่อวารสารเราก็ลองเข้าไปดูข้อมูลของวารสารนั้นก็พบว่ามันก็ตรงกับงานของเรา ก็เลยลองเขียนเข้าไปและส่งบทความเข้าไปก็พบว่าได้รับการพิจารณา เพราะฉะนั้นก็มองว่าบางครั้งการที่เราจะส่งบทความเราต้อง build up ความเป็นนักวิชาการของเราโดยไม่ได้มองเพียงแค่ว่า ฉันจะเขียนแต่บทความแต่เราจะต้องเอาตัวเองออกไปให้ explosion ในแวดวงวิชาการไปเข้าร่วมประชุมวิชาการตามเวทีต่างๆ เพราะจะทำให้เราเกิด network networkตรงนั้นจะทำให้เขาเห็นว่าArea of Interestความสามารถ ความสนใจของเราเป็นอย่างไร มันเหมือนกับเป็นการต่อจิ๊กซอว์กันได้อะไรอย่างนี้

พิธีกร เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะว่านักวิชาการบางท่าน อาจจะแค่คิดว่าเขียนบทความและส่งไปและรอสำนักพิมพ์ตอบรับ แต่การไปร่วมประชุมวิชาการเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เราจะได้รับในการเสนอผลงาน

เรามาพูดถึงเทคนิคในการเขียนบทความบ้างนะคะ จากที่อ่านบทความของอาจารย์ บทความมีจำนวนถึง 17 หน้า อาจารย์ใช้เทคนิควิธีการเขียนอย่างไร ให้ทางสำนักพิมพ์เขาตอบรับมาและตีพิมพ์ จากที่ทราบ Emerald เป็นสำนักพิมพ์ที่ยักษ์ใหญ่การที่จะได้รับตีพิมพ์วารสารก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อาจารย์ใช้เทคนิควิธีการอย่างไร

ในส่วนตัวเทคนิควิธีการคือ สิ่งสำคัญอันดับแรกเลยคือเราจะต้องไปศึกษาวารสารนั้นก่อน เข้าไปศึกษาและเข้าไปอ่านตัวอย่างบทความที่เขาตีพิมพ์ในวารสารนี้ จนกระทั่งถึงเข้าไปศึกษา author guideline ต้องเรียกได้ว่าของสำนักพิมพ์ Emerald เขาจะมี guideline ที่ค่อนข้างชัดเจน และก็เอื้อกับผู้ส่งผลงานได้ดีมาก รวมกระทั่งถึงเอื้อให้กับคนที่เป็น reviewer ด้วย เพราะว่าตัวเองก็มีวารสารอื่นที่เขาส่งมาให้เราเป็น reviewer ก็จะพบว่าเขาให้ guideline ที่ค่อนข้างชัดเจน บทความประเภทไหนที่เขารับ เช่น ลักษณะบทความวิจัยเป็นอย่างไร บทความ academic เป็นอย่างไร บทความที่เป็น case study เป็นอย่างไร เราจะได้เลือกได้ถูกว่างานของเราเป็นประเภทไหน เพราะฉะนั้นน่าจะเป็นข้อแนะนำอันดับที่หนึ่งคือต้องเข้าไปดูข้อมูลของวารสารและเข้าไปดู author guideline เขา และเข้าไปดูตัวอย่างบทความของเขา ซึ่งใน author guideline เขาก็จะบอกไว้เลยว่าให้เขียน abstract ไม่เกินกี่คำ ตัวบทความเองก็จะต้องเขียนได้ไม่เกินกี่คำ แต่ว่าพวกนี้จะยืดหยุ่นได้เล็กน้อย ตัวเองน่าจะคิดว่า 10% ยัง flexibleได้อยู่ของตัวเองคาดว่าน่าจะเกิน limit ของเขามาหน่อยหนึ่ง เพราะฉะนั้นมันจะทำให้เราสามารถที่จะเห็นแนวทางในการที่จะพัฒนาตัวบทความ ถ้าหากเราลองดูตัวเองก็มีข้อเรียกได้ว่า มีข้อแย้งๆ ในใจอยู่นิดหนึ่ง เวลาที่เราส่งบทความตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ กับเวลาที่เรา guide นิสิตให้นิสิตส่งบทความตีพิมพ์ที่เป็นวารสารในเมืองไทย pattern การเขียนจะไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นของต่างประเทศเขาจะเหมือนกับ เขาจะไม่ได้ fix format เรามากนัก เขาจะบอกว่าต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้างที่สำคัญๆ แต่อย่างเป็นของบ้านเรา ด้วยความที่ว่าเราเห็นในบทความวารสารไทย จะค่อนข้างเป็น descriptive มากกว่าที่จะเป็นการ set up บทความที่มันให้เห็นประเด็นข้อโต้แย้ง รวมกระทั่งถึงการให้เห็น gaps knowledge หรือช่องว่างขององค์ความรู้ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญถ้าหากว่าเราลองเข้าไปศึกษาตัว guideline ว่าเวลาที่เขาพิจารณาเขาดูจากอะไรบ้าง อีกอันหนึ่งคิดว่าน่าจะเอื้อประโยชน์ก็คือการที่เราเป็น reviewer ของวารสารในระดับนานาชาติ เราก็ทำแต่ไม่ใช่วารสารนี้นะคะ มันก็ทำให้เราได้เห็นว่าในระดับนานาชาติ เวลาที่เขามีcriteriaในการพิจารณาบทความเขาดูจากอะไรบ้าง เขาก็จะให้ความสำคัญกับเรื่องที่เรา develop บทความที่มันไป address หรือว่าไปเติมเต็มช่องว่างขององค์ความรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาบทความที่มันมีประเด็นที่เป็นข้อโต้แย้ง เพราะว่าการโต้แย้งจะทำให้เกิดการแตกหน่อทางความคิด เพราะฉะนั้นมันเลยทำให้เราพยายามนำเสนอแง่มุมที่มันอาจจะให้เห็นถึงช่องว่าง ประกอบกับด้วยความที่เราได้เข้าไปศึกษาวารสารตัวอย่างบทความ คืออย่างในวารสารนั้นๆ เขาก็จะมีตัวอย่างบทความ ถ้าเราไม่เป็น member เราไม่ได้ subscribe เขาจะมีว่าตัวอย่างบทความที่สามารถเข้าไปอ่านได้ แต่ถ้าหากมหาวิทยาลัยเราบอกรับเข้าไปอ่านได้หมดเลย อยากจะเชิญชวนให้ทั้งนิสิตและคณาจารย์เข้าไปอ่าน จะทำให้เราเห็นแนวทาง อีกประการหนึ่งอย่างงานของตัวเองจะต้องนำเสนอข้อมูลที่เป็นสารสนเทศ บางครั้งเราจะไปให้ความสำคัญกับเฉพาะงานวิจัยของเรา แต่ว่าสิ่งสำคัญคือการ set up บทความคือการที่เราจะต้องเขียน introduction ซึ่งการ set up บทความมันคือการที่ทำให้เราได้เห็นว่าบทความนี้จะมีความน่าสนใจหรือเข้าไปเติมเต็ม international community อย่างไร ถ้าเราเขียนตีพิมพ์ในวารสารนานาชาตินั่นหมายความว่ามันจะต้องไป contributeให้กับนานาชาติได้ แต่ถ้าเราพยายามเขียน focus เพียงแค่ของบริบทเรา มันก็จะไม่ไปตอบโจทย์มุมมอง international perspective เอาง่ายๆ comment ที่ตัวเองได้มารอบแรก พอตัวเองได้ comment มาเสร็จปุ๊บ ตัวเองเกือบถอดใจ ว่าตายแล้วเราจะไหวไหม ถ้าเราต้องแก้บทความเพราะว่าก็จะมีประเด็นที่ reviewer ส่วนใหญ่คนที่เป็น reviewer เนื่องจากเราเขียนในบริบทของประเทศไทย เขาก็ส่งให้ reviewer ที่มีความเชี่ยวชาญหรือมีความสนใจในบริบทของประเทศไทย เพราะฉะนั้น reviewer เหล่านี้เขาก็จะค่อนข้างรู้ในบริบทของเรา เขาก็จะมีมุมมองที่เขาค่อนข้างจะมีCritical Mind อยู่ จะมี comment อันหนึ่งมาที่เขาให้ ขออนุญาตไม่กล่าวถึงแต่เขาจะให้ข้อมูลมาบอกว่าถ้าเราไม่กล้าที่จะ address issue นี้ก็ให้ไปตีพิมพ์เป็น local journal อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเราก็มองว่าตอนแรกเราก็คิดว่า นั่นหมายความว่า international community เขามีมุมมองที่เขามองประเทศไทยอยู่นะ และเขาต้องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับแง่มุมนี้ การที่เราก็ต้องพยายามไป fill in หรือไปตอบโจทย์ช่องว่างตรงนั้นอยู่ มันก็น่าจะไปเกิดประโยชน์ให้กับเขา เพราะฉะนั้นมันก็เลยทำให้เราก็ต้องพยายามหาแนวทางที่จะปรับบทความของเราให้มันไปตอบโจทย์มุมมองของ international community ให้มากที่สุด

พิธีกร เป็นการศึกษา scope ของวารสารและก็ issue ข้างในเป็นสิ่งสำคัญเลยในการเขียนบทความเพื่อจะตีพิมพ์ในวารสาร

มาพูดถึงวารสาร Emerald ในส่วนที่ได้อ่าน format ของ abstract ซึ่งทราบมาว่า abstract เป็นส่วนสำคัญในการเขียนบทความเพื่อการพิจารณาตีพิมพ์ การเขียน abstract ของ Emerald จะต่างจากของวารสารชื่ออื่นๆ เท่าที่ทราบมาก็คือของ Emerald เขาจะมี format อย่างชัดเจน วัตถุประสงค์ของอันนี้คืออะไร สิ่งที่เราทดลองคืออะไร เราเรียนรู้อะไร ซึ่งต่างจากวารสารแบบอื่นๆ ที่ต้องมีเป็น paragraph แบบนี้ อาจารย์คิดว่าการเขียน abstract แบบที่มี format แบบของ Emerald กับการเขียน abstract ของที่อื่นๆ มันทำให้การตีพิมพ์บทความหรือการเขียนของอาจารย์ยากหรือง่ายอย่างไร

ในมุมมองส่วนตัวคิดว่าการที่เขามีการแยกมาเป็นประเด็นๆ มันช่วยเรา มันช่วยให้เราสามารถที่จะ scope การเขียน abstract ได้อย่างมี structure และมีระบบมากขึ้น พูดง่ายๆ คือว่าเหมือนรู้ว่าเขาคาดหวังอะไรจากเรา เพราะฉะนั้นส่วนตัวมองว่ามันช่วย ซึ่งจากตัวประเด็นที่เขาให้เรามาในการเขียน abstract มันทำให้เราเกิดแง่มุมแตกหน่อด้วยซ้ำ เช่น เขาจะมีการถามว่า มันมี limitation หรือ implication อะไรบ้างจากงานวิจัยของเรา ซึ่งหากเรามองดูอย่างวารสาร หลายวารสารอาจจะมีลักษณะการเขียน abstract เพียงแค่ให้เราเขียนวัตถุประสงค์และก็ตัววิธีวิจัยของเราและผลของเราและประโยชน์ของเราแค่นั้น แต่ว่าจริงๆ แล้วตรงนี้ของ Emerald ให้เราเขียนตั้งแต่ purposes และตัว design ของเรา ตัวผลของเรา รวมกระทั่งถึงตัว research limitation และ implication รวมกระทั่งถึงมี practical implication อีก มี social implication อีก มี originality อีก เพราะฉะนั้นมันช่วยให้เราเห็นว่า เอาแค่ง่ายๆ คำว่า originality ของงานเรามันทำให้เราต้องพยายามคิดในฐานะผู้เขียน ผู้ทำวิจัย งานวิจัยชิ้นหนึ่งเรามองว่ามันมีคุณค่าแต่เพียงแค่ว่าเราจะต้องพยายามที่จะ look into พยายามมองเข้าไปให้ลึกว่าผลวิจัยตรงนี้มันมีคุณค่าอะไรบ้างมันมีความแปลกใหม่หรือมันมี originality อยู่ตรงไหน มันทำให้เราต้องพยายามคิดให้ลึกขึ้นถึงคุณค่าของงานวิจัยของเราซึ่งตรงนี้ตัวเองกลับมองว่ามันเป็นประโยชน์ ในการที่จะทำให้เราสามารถมองย้อนกลับไปมองตัวเองด้วย 

พิธีกร ก็เป็นคำแนะนำของอาจารย์ว่ายังไม่มั่นใจในการเขียน abstract แนวไหนอาจจะศึกษาจากตรงนี้ก่อนก็ได้

เราจะมาพูดถึงเรื่องของการตีพิมพ์ อาจารย์คะในการตีพิมพ์กับวารสารมีค่าใช้จ่ายไหมคะ

อันนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายเลย พอดีตอนที่เขามามอบรางวัล ที่ทาง Emerald จากไต้หวันมามอบรางวัล เราก็เลยถือโอกาสตรงนี้ ขอให้เขาช่วยบรรยายให้ฟังนิดหนึ่งถึงเทคนิคในเรื่องของการตีพิมพ์ ทาง Emerald เขาก็บอกนะคะ ถ้าจะให้เขามาบรรยายอีกเขายินดี เขาไม่คิดค่าใช้จ่ายอะไรเลย การตีพิมพ์กับวารสารของ Emerald คือวารสารก็อยู่ในฐานข้อมูล scopusเขาบอกว่าวารสารที่อยู่ในฐาน Emerald ไม่มีการคิดค่าใช้จ่าย เพราะว่าตรงนี้เหมือนกับว่าค่าใช้จ่ายมันจะไปเกิดขึ้นกับคนที่ subscribe ตัววารสารหรือฐานข้อมูล แต่ว่าผู้ส่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เขาก็บอกว่าการไม่คิดค่าใช้จ่ายจากผู้ส่ง มันก็ดีตรงที่ว่ามันจะทำให้เขาสามารถที่จะ screen งานที่มีคุณภาพได้ แต่ถ้าหากว่าเป็นวารสารที่คิดค่าใช้จ่ายจากผู้ส่ง ก็เหมือนกับว่าเขาก็จะอยากได้ อันนี้อาจจะนะคะ เขาอาจจะอยากได้ เนื่องจากเขาต้องrely on รายได้ของผู้ส่ง ในเรื่องของ screening อาจจะต่างกันนิดหนึ่ง อะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นในวารสารของ Emerald จะไม่มีการคิดค่าใช้จ่ายจาก author 

พิธีกร ค่าใช้จ่ายก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราจะต้องพิจารณาในการตีพิมพ์ด้วย

ในการเลือกวารสารแต่ละเล่มเพื่อการตีพิมพ์ อยากให้อาจารย์ให้คำแนะนำกับนักวิจัยรุ่นใหม่ๆ นิสิตปริญญาโท ปริญญาเอกที่จะเลือกวารสารเพื่อการตีพิมพ์ ว่าเราควรจะเลือกอย่างไรดี

จริงๆ แล้วพอเราพิจารณาวารสารสิ่งสำคัญคือ เราควรจะต้องเข้าไปดูก่อน เราควรต้องดูงานของเราก่อนนะคะว่างานของเราเป็นงานที่น่าจะไปสอดคล้องกับตัวจุดมุ่งหมายหรือว่า scope ของวารสารไหน เราก็พยายามเข้าไปดู list ของวารสาร ซึ่งจริงๆ แล้วทางสำนักหอสมุดเองจะมีฐานข้อมูลตรงนี้ที่จะช่วยนิสิตหรือคณาจารย์อยู่แล้ว ประกอบกับการที่เวลาที่เราจะเขียนบทความเราสามารถที่จะดูได้จากเอกสารหรือตัว reference ที่เราเอามาใช้ เราสามารดูได้ว่างานที่เราเอามาอ้างอิง เขาไปตีพิมพ์ในวารสารไหน อันนั้นจะเป็นอีกช่องทางหนึ่ง เพื่อที่จะดู เพราะมันมีความเกี่ยวเนื่องกัน ถ้างานของเรา side งานของชิ้นนี้ แล้วงานชิ้นนี้เขาตีพิมพ์ในวารสารนี้ นั่นหมายความว่าลักษณะงานมันอาจจะคล้ายกัน เราสามารถจะเข้าไปศึกษาตัว scope ของงานกับอีกประการหนึ่งก็คือ อันนี้เหมือนกับเป็นสองมุม อันแรกดูที่งานของเราเป็นหลัก กับอีกมุมหนึ่งก็จะมีบางคน นักวิชาการบางท่านก็จะมี journal champion ที่อยู่ในใจตัวเอง เรียกได้ว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้ของวารสารนี้ว่าอย่างนั้นเถอะ เพราะว่าอาจเป็นวารสารที่ prestigious ในสาขาของเขา ถ้าเรามองว่าเราเองยังไงก็อยากตีพิมพ์ในวารสารนั้นให้ได้ ก็ควรที่จะศึกษาวารสารนั้นก่อน เพราะฉะนั้นเวลาที่เราจะมาเขียนบทความหรือ set up งานของเรามันจะได้ไปสอดคล้องกับ scope รวมกระทั่งถึงตัวแนวทางที่วารสารเขาพิจารณา เพราะฉะนั้นมันก็ได้สองแนวทาง อีกประการหนึ่งก็คือ การที่อยากจะแนะนำให้ไปเข้าร่วมประชุมวิชาการ เพราะว่าเราจะต้อง build up หรือว่าสร้างความเป็นชุมชนทางวิชาชีพหรือชุมชนทางวิชาการของเรา การที่จะ build ตรงนั้นได้มันต้องเอาตัวเองออกไป ไปพบปะ scholar สำคัญๆ ต่างๆ เหล่านี้ 

พิธีกร สิ่งที่อาจารย์ให้ไว้กับนักวิจัยรุ่นใหม่คือเรื่องของการที่จะเลือกตีพิมพ์วารสาร ต้องมองงานของตัวเอง ในส่วนห้องสมุด ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ ห้องสมุดก็จะมีฐานข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจตรงนี้ด้วย คือ web of science และ scopusถ้าเกิดเรามีวารสารในใจแล้วก็จะต้องเข้าไปศึกษาข้อมูลของวารสารตรงนั้น และอีกสิ่งสำคัญที่อาจารย์ให้ความสำคัญนั่นคือการเข้าร่วมประชุมวิชาการเพื่อสร้าง network ขออนุญาตประชาสัมพันธ์นะคะ กิจกรรมห้องสมุดเราจะมีอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของการเลือกวารสารเพื่อการตีพิมพ์ด้วย ผู้ชมสามารถติดตามได้ผ่านทางเว็บไซต์ห้องสมุดได้นะคะ สำหรับวันนี้เราได้รับประโยชน์มากเลยจากการที่อาจารย์มาแลกเปลี่ยนกับเราไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงานวิจัยของอาจารย์และการคัดเลือกการตีพิมพ์วารสาร ขอบคุณมากๆ ค่ะ สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์

อาจารย์ : ขอบคุณค่ะ จริงๆ มีอีกประเด็นไม่แน่ใจว่า อย่างบางทีพวกฐานข้อมูลเขาจะมีเป็นเหมือนกับว่า บางคนอาจจะกังวลว่าเราเขียนภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้อะไรอย่างนี้ จริงๆ เขาก็จะมี service ของเขา แต่มันไม่ได้เป็น conflict of interestเขาก็จะมีเหมือนกับว่าแนะนำ อันนี้ไม่แน่ใจ น่าจะพอจะทราบข้อมูลว่าในการที่จะให้มีคนช่วย edit paper อะไรอย่างนี้

พิธีกร เท่าที่ทราบบางสำนักพิมพ์ก็จะมีบริการตรงนี้ให้ อาจจะคิดค่าใช้จ่าย หรือไม่คิดค่าใช้จ่ายก็แล้วแต่

อาจารย์ : ส่วนใหญ่เขาจะคิดค่าใช้จ่ายด้วยความที่ว่าบริการตรงนี้ จะไม่ใช่บริการของวารสารหรือฐานข้อมูลแต่เพียงแค่ว่าเขาเป็นช่องทางแนะนำให้ไปติดต่อกันเอง

พิธีกร อันนี้ก็เป็นคำแนะนำอีกอันหนึ่งของอาจารย์สำหรับวันนี้ก็ขอขอบคุณ รศ.ดร. พร้อมพิไล บัวสุวรรณ มากค่ะ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

 

 

วันนี้รายการ KULIB TALK ของเราเปลี่ยนสถานที่ถ่ายทำมาเป็นอีกมุมหนึ่งของห้องสมุดค่ะ วันนี้พวกเราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับนิสิตอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl และได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ขอต้อนรับทีม Quiz Bowl ค่ะ

อยากจะให้แนะนำตัวก่อนค่ะ

  • นายจิรกฤต ลมปปวิช ชื่อเล่น ฟิวครับ
  • นายวิศรุต โรจน์รัตนะ ชื่อเล่น ไม้ครับ
  • นางสาวสโรชา ตันประทุมวงษ์ ชื่อเล่น ไอซ์ค่ะ
  • นายยุทธชัย เรืองชัยศิรเวทย์ ชื่อเล่น บาสครับ
  • นายพิเชษฐ์ เกตุสุ ชื่อเล่น แซ้งค์ครับ

อยากจะสอบถามว่า ทราบข่าวการแข่งขันครั้งนี้อย่างไรบ้าง รวมถึงทำไมถึงสนใจการแข่งขันครั้งนี้

ฟิว FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl จะจัดขึ้นในทุกปีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นโครงการที่ให้นักวิทยาศาสตร์การอาหาร นิสิตที่ได้เรียนไปแข่งขันกันในทุกๆ ปี และทางพวกเราจะได้ไปชมกันทุกปี ตั้งแต่ปี 2 ปี 3 ได้ไปดูรุ่นพี่ ไปเชียร์รุ่นพี่ที่แข่ง ก็เลยมีความสนใจที่อยากเข้าร่วมโครงการนี้ อยากได้เป็นตัวแทนของโครงการนี้

มีการรวมตัวกันอย่างไร จนเกิดเป็นทีม Quiz Bowl ขึ้นมา

ไม้ จะดูว่าใครที่อยู่ในภาคคนไหนที่มีแววในการแข่งขันได้ มีความรู้ที่เยอะ

(พิธีกร เป็นตัวท็อปใช่ไหมคะ) อารมณ์ประมาณนั้น พอรวมตัวกันเสร็จก็จะไปทดสอบกับอาจารย์  อาจารย์จะมีตัวข้อสอบมาว่า โอเค ในข้อสอบตัวนี้จะแบ่งออกเป็น 4 หมวด ดูว่าในแต่ละด้านใครมีคะแนนมากที่สุด และนำแต่ละคนมารวมตัวกัน

อยากจะให้ช่วยเล่าให้ฟังว่า แข่งขันตอบปัญหาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl มีรูปแบบการแข่งขัน รวมถึงมีเกณฑ์การตัดสินการแข่งขันอย่างไรบ้าง

ไอซ์ ปกติคือการแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 2 รอบ เป็นรอบเช้ากับรอบบ่าย โดยที่รอบเช้าจะคัดเลือก 20 ทีมที่มีคะแนนสูงสุด แล้วก็ตัวคำถามจะแบ่งออกเป็น 4 หมวด ในแต่ละหมวดเราจะแข่งกันทั้งหมด 7 ข้อ ข้อละ 35 วินาที แล้วก็คัดเลือกว่า 20 ทีมแรกที่มีคะแนนสูงสุดจะได้ผ่านเข้าไปในรอบบ่าย แล้วตอนรอบบ่าย การแข่งขันก็คือเป็นคล้ายๆ ลักษณะเดิมของตอนเช้าก็คือหมวดละ 7 ข้อ ข้อละ 35 วินาที แต่ว่าจะมีคำถามหมวดละ 1 ข้อที่เป็นข้อที่มี 2 คะแนน แล้วก็แต่ละหมวดจะมีสติ๊กเกอร์ เขาเรียกว่าสติ๊กเกอร์แอมชัวร์ ก็จะเป็นสติ๊กเกอร์ที่ช่วยเพิ่มคะแนนในข้อนั้นๆ เพิ่ม +1 คะแนน แล้วคนที่มีคะแนนสูงสุด 4 อันดับก็จะได้รางวัลไป

ทราบมาว่าคำถามทุกคำถามจะประกอบไปด้วย 4 หมวดใหญ่ ก็มีหมวดเคมีอาหาร หมวดความปลอดภัยและจุลชีววิทยาอาหาร หมวดการแปรรูปและวิศวกรรมอาหาร และหมวดทั่วไป รู้สึกว่ามีหมวดไหนที่เราไม่ถนัดหรือรู้สึกว่ายาก

บาส คิดว่าน่าจะเป็นหมวด General หมวดทั่วไป เพราะว่าคำถามสามารถมาได้หลากหลายรูปแบบมาก ทั้งกฎหมายอาหาร วิศวกรรม Packaging ก็ได้ ความรู้มันกว้าง

ในการแข่งขันนี้เราสามารถใช้เครื่องมืออะไรที่ช่วยหาคำตอบได้บ้างไหม

บาส ไม่ได้เลย ให้เข้าไปตัวเปล่า ๆ

(พิธีกร แสดงว่าต้องใช้ความรู้ที่อ่านมาใช่ไหม) ใช่ครับ

คิดว่าคุณสมบัติอะไรที่สำคัญที่สุดที่ช่วยให้เราชนะเลิศจากการแข่งขันครั้งนี้

บาส คิดว่าเป็นเป้าหมายของกลุ่มเรา ที่เรารวมตัวกันก็เพื่อไปแข่งขันครั้งนี้ ก็ทำให้ดีที่สุด

แซ้งค์ ตัวผมคิดว่าเป็นเรื่องของการรู้จัก move on จากความผิดพลาด เพราะว่าถ้าเรามัวแต่จมปลักกับความผิดพลาดที่เราก่อไว้ เช่นตอบผิดอะไรอย่างนี้ ก็จะทำให้เรารู้สึก fail แล้วก็ไม่มีสติที่จะทำข้อต่อไป

ไอซ์ คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องการมีสติอยู่กับตัวตลอดเวลา เพราะว่าในแต่ละข้อเรามีเวลาสั้นมากแค่ 35 วินาที ถ้าสมมติว่าเราเผลอไปนิดเดียวก็คือเวลาก็หายไปแล้ว เราอาจจะตอบไม่ทันข้อถัดๆ ไป

ไม้ ก็คิดว่าเป็นเรื่องของการวางแผน คือเรารู้ เราจะมีกำหนดการที่แน่ชัดว่า โอเค วันนี้เราต้องทำอะไรบ้าง ต้องอ่านกี่วิชา ต้องทำตัวอย่างไรที่เราจะได้ฝึกซ้อมให้พอ จะถึงวันแข่งแล้วอย่างนี้เราต้องเร่งขึ้นไหม อะไร อย่างไร

ฟิว เป็นเรื่องการไม่กดดันกันเองจนมากเกินไป การกดดันตนเองมากเกินไป เพราะเวลาที่เรากดดันตัวเองมันก็จะเกิดเหมือนกับว่าทำให้ผลงานออกมาไม่ดี คือจะพยายามสร้างไม่ให้มีสภาวะกดดันกันเองมากกว่า

การอ่านหนังสือที่จะใช้ไปแข่ง คล้ายกับหนังสือที่เรียนไหม

ฟิว ส่วนมากก็จะเป็นชีทที่เราเคยเรียนกันมาแล้ว คล้ายๆ กัน แล้วก็จะมีอ่านใน text เพิ่มขึ้นมาด้วย

(พิธีกร เหมือนได้ทบทวนตัวเองไปด้วยใช่ไหม) ใช่ครับ

ไม้ หมวด General

ฟิว ก็จะเป็นความรู้กว้างๆ เราก็อ่านพวกกฎหมายไปด้วยเพิ่มเติม

ในทีมมีการแบ่งหน้าที่กันไหมว่าใครทำอะไรหรือใครถนัดหมวดไหน

แซ้งค์ จะแบ่งเป็นทีมหลัก และทีม support โดยที่ทีมหลักจะแบ่งคนละ 4 หมวดหลักก็จะมีหมวดวิศวอาหาร หมวดเคมีอาหาร หมวดจุลชีววิทยาอาหาร แล้วก็หมวดทั่วไป แล้วก็จะมีหมวดรอง ก็คือทั้ง 4 คนจะรับผิดชอบอีกคนละหมวดหนึ่ง เป็นเหมือนกองกำลังเสริม ประมาณนี้

คิดว่าการแข่งขันในครั้งนี้ได้ให้อะไรกับเราบ้าง

แซ้งค์ คิดว่าให้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีม การแบ่งหน้าที่อะไรประมาณนี้

บาส ให้เรารู้ว่ามหาวิทยาลัยเราก็ไม่ได้ด้อยไปกว่ามหาวิทยาลัยอื่นเลย

ไอซ์ ก็คือคิดว่าได้รู้ศักยภาพในตัวของเราแต่ละคน มันก็มีศักยภาพเพียงพอที่จะสามารถไปแข่งขันวิชาการได้ เราอาจจะไม่เคยรู้ตัวมาก่อน แต่ว่าครั้งนี้ก็เหมือนทำให้เราได้เพิ่มความมั่นใจในตัวด้วยอะไรอย่างนี้

ไม้ สำหรับผมก็ได้เรียนรู้ว่าตัวเองมีการจัดการรับมือกับความกดดัน ณ ตอนแข่งอย่างไรบ้าง เพราะว่าตอนแข่งก็จะมีทั้งความกดดันเรื่องของกองเชียร์ เวลา แล้วก็ทีมคู่แข่งที่จะตอบคะแนนเท่ากันอะไรอย่างนี้แล้วต้องเฉือนกันมา จะได้รู้ว่าตัวเองคุมสติได้มากน้อยแค่ไหนในสถานการณ์ตอนนั้นๆ

ฟิว ก็จะเป็นประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากที่ไหนจริงๆ ได้ทั้งฝึกซ้อม ได้อยู่กับเพื่อนๆ ถึงเวลาแข่งจริงก็ต้องไปเจอเพื่อนๆ มหาวิทยาลัยอื่นอย่างนี้ เราก็จะได้เรียนรู้ว่าที่มหาวิทยาลัยมีเรียน มหาวิทยาลัยอื่นเขาก็มี food science เหมือนกัน ได้รู้ว่าเขาเรียนเหมือนเราหรือเปล่า เราเรียนตรงนี้ เขาไม่ได้เรียนตรงนี้อะไรอย่างนี้หรือเปล่าด้วย

ทราบมาว่าตอนนี้ทุกคนเรียนจบกันแล้วใช่ไหม

ฟิว ใช่ครับ

อยากจะทราบถึงเคล็ดลับที่จะประสบความสำเร็จ ว่าแต่ละท่านมีการบริหารจัดการเวลาอย่างไรทั้งเรื่องเรียนและเรื่องกิจกรรม

ฟิว ถ้าส่วนตัวผมก็คือการแบ่งเวลาสำคัญ เหมือนกับว่าเราเรียนดีแล้วเราไม่ทำกิจกรรมเลยอันนี้ก็ไม่ได้ ก็คืออย่างที่บอกว่าจะต้องมีช่วงที่เราทำกิจกรรมกับทางมหาวิทยาลัยด้วย ก็มีการแบ่งเวลาในการพักผ่อนของเรา ถ้าเราเครียดตลอดเวลาทุกอย่างทำออกมาได้ไม่ดี ก็ต้องมีการแบ่งเวลาให้ดี

ไม้ ก็ตั้งใจเรียนในห้อง อันนี้คือตอนที่ระหว่างถ้าเทียบกันระหว่างอาจารย์สอนกับเราไปอ่านเอง อาจารย์สอนเราจะค่อนข้างรับได้ดีกว่าเพราะเราไม่ต้องมานั่งอ่านเองคืออาจารย์จะพูดมาแล้วเราก็จะฟังเขาไป คือให้โฟกัสไปกับการฟัง ตั้งใจเรียนในห้องแล้วก็พอถึงเวลาที่จะต้องอ่านทบทวนอะไรอย่างนี้มันจะใช้เวลาสั้นกว่า ทำให้เราเอาเวลาตรงนี้ไปทำอย่างอื่นได้ เช่น ไปทำกิจกรรม ไปทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ ทำงานอดิเรกอะไรพวกนี้

ไอซ์ ส่วนตัวก็คิดว่าเป็นการที่เรารู้จักตัวเองมากกว่าว่าเราทำอะไรได้ดี ทำอะไรไม่ดี จุดอ่อนข้อด้อยอะไรของเราคืออะไร สมมติเราอ่านหนังสืออย่างนี้แต่เราจำไม่ได้เลย ก็คือเราแค่นั่งอ่านไปเรื่อยแต่เราจำไม่ได้ แปลว่าจุดด้อยของเราคือเราอ่านแล้วเราจำไม่ได้ แปลว่าเราต้องมี trick อะไรสักอย่างที่จะทำให้เราจำได้ หรือทำให้เราimprove ขึ้น

(พิธีกร มี trick ในการเรียนไหม) trick ในการเรียน คือเอาจริงๆ ไม่มี trick แต่รู้แค่ว่าพี่จะความจำไม่ค่อยดีเท่าไหร่ จะมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ให้มันตรงกับ ใกล้เคียงที่จำได้ ทำให้จำได้ดีขึ้น หรืออาจจะอ่านหนังสือออกเสียงออกมา มันก็จะทำให้อ่านให้จำได้ดีขึ้นประมาณนี้

บาส คิดว่าเราอย่าไปเครียดกับการเรียนมันมาก ก็แบ่งเวลามาทำกิจกรรมบ้าง เพราะว่าถ้าเราเครียดกับการเรียนมากเกินไป ก็จะส่งผลเสียต่อการเรียนด้วย พอเราเครียดปุ๊บถ้าอ่านไปเราก็จะจำไม่ได้ใช่ไหมครับ เราก็พักผ่อนบ้างแบ่งเวลาพักผ่อนบ้าง พออารมณ์ดีขึ้นหน่อยก็กลับไปอ่านหนังสือต่อมันจะทำให้เราจำได้ดีขึ้น

แซ้งค์ ส่วนตัวก็คิดว่าการที่เราจัดการกับเวลาในการทำกิจกรรมการเรียน มันก็เป็นส่วนที่ทำให้เราประสบความสำเร็จได้ ก็เช่นการเรียนเราก็ตั้งใจเรียนในห้อง แล้วก็มาทบทวนบ้างอะไรอย่างนี้ก็ได้ แต่ว่าถ้าสมมติเราไม่อยากทบทวน เราก็ลองหากิจกรรมอย่างอื่นทำเพื่อให้มันผ่อนคลายตัวเองลง

(พิธีกร พอหลังจากนั้นก็ค่อยกลับไปอ่านหนังสือใช่ไหมคะ) ก็ถ้าเอาจริงๆ ถ้าตามส่วนตัวผมก็คือ ถ้ายังพอมีเวลาก็คืออาจจะพักผ่อนต่ออย่างนี้ คือเป็นคนที่ถ้าเครียดจัดก็จะรับอะไรไม่ได้เลย

สำหรับวันนี้นะคะ ใครที่อยากจะประสบความสำเร็จเหมือนพี่ๆ ทีม quiz bowlก็สามารถจะนำเทคนิคดีๆ รวมถึงเคล็ดลับดีๆ นำไปปรับแล้วก็ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และสำหรับวันนี้นะคะเราก็ได้พาทุกท่านมารู้จักกับพี่ๆ ทีม quiz bowl ซึ่งเป็นทีมที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของเรา ก็ต้องขอขอบคุณพี่ๆ ทีม quiz bowl มากๆ นะคะที่ให้เกียรติมาสัมภาษณ์กับเราในวันนี้

 

 

KULib Talk#7  คุณชิตพล มั่งพร้อม ผู้ก่อตั้ง Zanroo

“อะไรที่เด็กชอบนั่นล่ะ คืออนาคต Innovation คือเทคโนโลยีใหม่”

คุณชิตพล มั่งพร้อม ศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ KU 65 ไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต IUP ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง CEO ประธานกรรมการบริหารของ  Zanroo Martech startup หรือ startup สัญชาติไทยสายการตลาดเจ้าแรก ความเชี่ยวชาญในเรื่องของการใช้เทคโนโลยี รวบรวมข้อมูลจากโลกออนไลน์ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Big Data วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและเทรนต่างๆ ผ่านทาง Social Listening Social Engagement ก่อตั้งในปี 2556 ใช้เวลาเพียงแค่ 4 ปี Zanroo สามารถระดมทุน ได้เงินทั้งสิ้น  259 ล้านบาท หรือ 7.4 ล้านเหรียญสหรัฐ มีกลุ่มลูกค้าของบริษัท ประกอบด้วยกลุ่มธนาคาร ยานยนต์ โทรคมนาคม E-Commerce สินค้าอุปโภคบริโภคกว่า 300 ราย มีสำนักงานอยู่ใน 6 ประเทศ กรุงเทพ กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์ จาร์กาต้า โตเกียว และลอนดอน

 

Martech startup คืออะไร

Startup เป็นธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดดเป็น s-curve เรื่องของ User รายได้ ส่วน Martech ย่อมาจาก marketing   technology โดยสำหรับ Zanroo เป็นบริษัทที่ทำเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการตลาด เพื่อให้นักการตลาด หรือ
แบรนด์ต่างๆนำเครื่องมือไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อการสร้างยอดขายหรือเรื่องกลยุทธ์ของการตลาด

Zanroo คือ

หน้าที่ของ Zanroo คือ collect data และ convert data สำหรับ user โดยมี Software “Social Listening” เป็นตัวแรกที่ทำ เมื่อ 5 ปีที่แล้ว โดยที่ปัจจุบันยังหารายได้จาก Software นี้ได้อยู่ หน้าที่ของ Software นี้คือเก็บข้อมูลบน Social media ว่ามีคนพูดถึงเรา สินค้าเรา หรือองค์กรเราอย่างไรบ้าง ณ ตอนนี้ เราสามารถเข้าไป Action กับข้อความเหล่านั้นได้อย่างทันท่วงที และมี Tool อีกตัวหนึ่ง เรียกว่า Desk เป็นเครื่องมือการจัดการบริหารข้อมูลออนไลน์ เข้าไปโต้ตอบ เหมือน call center online เหมาะกับ CRM

Tool “ARUN” คืออะไร

ARUN คือ platform เหมือน IOS หรือ Android ที่มี Social Listening อยู่ข้างใน ที่มี Desk อยู่ข้างใน เป็น platform ที่ต่อเข้ากับอะไรก็ได้ “ARUN” เป็น open platform เรียกว่า Smart Machine ที่ทำให้ Social Listening หรือ Desk หรือ tool ที่อยู่ใต้ platform ของ ARUN สามารถคุยกับ Machine อื่นได้

Social เปลี่ยนเร็วส่งผลต่อธุรกิจ

            เทคโนโลยีเปลี่ยน มนุษย์เปลี่ยนจากดูทีวีมาดูโทรศัพท์มากขึ้น จึงเกิด Application บนมือถือ เพราะ Social Media เริ่มจะเช็ค profile ได้ รวมถึงการที่ลูกค้าจะมารู้จักและตัดสินใจเลือกสินค้าเรา ดีไม่ดีอย่างไรก็ผ่าน Digital ซื้อผ่าน Digital มีปัญหาก็ร้องเรียนผ่าน digital นั่นหมายความว่า digital เป็น New World Now ที่ทุกแบรนด์ต้องทำ

 เป้าหมายอยากไปถึงจุดไหน อย่างไร

เป้าหมายคือการเห็นคนรอบตัวมีความสุข ความสุขมันไม่ได้เกิดที่ตัวเราเพียงคนเดียว เกิดขึ้นกับคนรอบข้าง จากวันที่เริ่มต้นธุรกิจมาแล้วมีแค่ 2-3 คน วันนี้มี 160 คน มันเกิดจากความผูกพัน อยากให้ทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้น ผมมองเป้าหมายนี้เป็นเป้าหมายถัดไป ผมเห็นเพื่อนบางคน มีเงินซื้อรถเบนซ์ ตั้งแต่มาทำงานกับผม เขาซื้อรถเบนซ์ได้ บางคนซื้อบีเอ็มได้ ชีวิตเขาดีขึ้น เรารู้สึกดีขึ้น เราไม่ได้ช่วยแค่ตัวเราเอง เราช่วยทั้งลูกค้า ทั้งทีมงาน ผมมองว่าบริษัทเราเลยต้องโตขึ้นทุกๆ ปี เป็นแรงกดดันให้ตัวเอง แต่ผมต้องทำให้โตขึ้นทุกปี

มุมมองการพัฒนาของห้องสมุด

อยากให้ห้องสมุดไม่เป็นเพียงห้องสมุด เป็นเหมือนห้องแห่งการเปิดโลกทัศ อาจจะมี stage เป็น conference ให้น้องๆ มานั่งฟัง หรือ workshop จัดสัมมนาบางอย่าง ให้น้องๆ ได้เรียนรู้ โลกนี้เขาเป็นอะไรกันแล้ว เขาทำอะไรกันอยู่ ไม่ใช่แค่ห้องอ่านหนังสือ ห้องหาความรู้ของโลกนี้ ทำไมเด็กเล่นเกม แล้วได้สตางค์เยอะ e-sport game ถึงไปอยู่บนโอลิมปิก โลกเปลี่ยนไว มีคำพูดคำพูดหนึ่ง อะไรที่เด็กชอบนั่นล่ะ คืออนาคต innovation คือเทคโนโลยีใหม่

ความรู้เรื่องใดที่คิดว่า สำคัญ!!!

เรื่อง Logic ทำให้เรามีไอคิวสูงขึ้น ฝึกคิดเป็นระบบสำคัญมากขึ้น เป็นส่วนสำคัญที่ให้เราคิดเทคโนโลยี innovation ต่างๆ ว่าโลกนี้เป็นอย่างไร

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
ฐานข้อมูล

หนังสือ

 

 

 KULIB TALK | EP.49 | การปลูกเมล่อนด้วยระบบโซลาร์เซลล์

“เมล่อน ราคาต่อหนึ่งหน่วยสูงกว่าผลไม้อื่น ฉะนั้นถ้าเราดูในเรื่องของการคุ้มค่าในการลงทุน เมล่อนเป็นพืชที่ตอบสนองได้ค่อนข้างดีและก็ดูแลไม่ยากมากเพราะเป็นพืชเมืองร้อน เพราะฉะนั้นในพื้นที่ภาคกลางบริเวณต่างๆในประเทศไทยสามารถปลูกได้ “

ผู้ให้สัมภาษณ์คือ คุณศรันย์ หงษาครประเสริฐ จาก สถานีวิจัยและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกร ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำถาม : แนวคิดในการคิดค้นระบบปลูกเมล่อนด้วยโซลาร์เซลล์

คุณศรันย์ หงษาครประเสริฐ : โดยปกติทั่วไปในการปลูกเมล่อนเราก็จะใช้พลังงานจากไฟฟ้านี่แหละครับในการเป็นแหล่งพลังงานในการที่จะขับปั๊มเพื่อที่จะดึงสารละลายธาตุอาหารเข้าระบบ ปัญหาในปัจจุบันคือเกิดปัญหาไฟดับเราก็ไม่สามารถที่จะนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้สำหรับขับปั๊มให้ทำงานได้ เราก็มีแนวคิดว่าถ้าเราดึงพลังงานสะอาดจากธรรมชาติโดยเฉพาะพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่มีอยู่เยอะนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าและมาทดแทนสำรองไว้สำหรับการใช้พลังงานในระบบมันก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการปลูกพืชได้ เพราะเมล่อนก็เป็นพืชที่ต้องการน้ำและปุ๋ยค่อนข้างเยอะถ้าไฟดับและเราไม่มีไฟสำรองธาตุอาหารไม่เพียงพอมันก็จะทำให้การเจริญเติบโตของเมล่อนดรอปลงไป ฉะนั้นก็จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการนำพลังงานเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้ นอกจากจะช่วยทดแทนได้ส่วนหนึ่งแล้วก็ยังช่วยลดปัญหาเรื่องอันตรายจากกระแสไฟฟ้าด้วยเพราะพลังงานจากโซลาร์เซลล์เป็นไฟฟ้ากระแสตรงซึ่งคล้ายๆแบตเตอร์รี่ซึ่งก็จะไม่ช็อตคนซึ่งก็สามารถป้องกันได้ระดับหนึ่งอันนี้ก็จะเป็นแนวคิดเบื้องต้น  ในส่วนที่สองเราสามารถที่จะประยุกต์เอาแผงโซลาร์เซลล์มาใช้ในการควบคุมระบบออโตเมติกต่างๆที่ใช้ในโรงเรือนปลูกเมล่อนได้ เช่นในเรื่องของการควบคุมความชื้นอัตโนมัติ เรื่องระบบเซนเซอร์ที่จะส่งข้อมูลทางไกล หรือจะเป็นข้อมูลด้านการถ่ายภาพ เราสามารถประยุกต์ไฟพวกนี้มาใช้ได้หมดเลยครับผม…..

คำถาม : หลักการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์ในการปลูกเมล่อนเป็นอย่างไร ?

คุณศรันย์ หงษาครประเสริฐ : สำหรับระบบปลูกเมล่อนที่ผมทำอยู่ตอนนี้ที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์ เราจะใช้เป็นระบบ on grid ก็คือใช้ระบบร่วมกับไฟบ้านเพื่อจะทดสอบดูว่าเวลาใช้งานจริงจะใช้งานได้ดีขนาดไหน คือหลักการของโซลาร์เซลล์คือการเปลี่ยนพลังงานแสงให้มาเป็นพลังงานกระแสไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งกระบวนการที่จะต้องมาใช้ร่วมกับไฟบ้านคือก็จะต้องมีอุปกรณ์ที่ต้องใช้นะครับ หลังจากที่เราติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เสร็จแล้วเราก็ต้องมีตัวแปลงกระแสไฟฟ้าที่จะต้องชาร์ตเข้าไปในแบตเตอร์รี่หรือที่เราเรียกว่า Solar charger …… นี่สำหรับกรณี off grid นะ….. แต่กรณีถ้าเป็น on grid มันจะมีตู้อัตโนมัติ….ตัวนี้ก็จะแปลงไฟให้เป็นไฟบ้านเลยและสามารถที่จะเอาไปจั๊มรวมกับไฟบ้านได้เลย กรณีที่แสงแดดมีน้อยพลังงานที่ถูกใช้ก็จะเป็นพลังงานที่ใช้จากไฟบ้านซะส่วนใหญ่ แต่กรณีที่แสงแดดมีเยอะพลังงานที่ดึงออกมาใช้ก็จะเป็นพลังงงานจากโซลาร์เซลล์    บ้านเรามีแสงค่อนข้างเยอะฉะนั้นพลังงานที่ใช้ส่วนใหญ่จะดึงมาจากแผงโซลาร์เซลล์ หมายความว่าเราก็จะลดการใช้ค่าไฟปกติลง ค่าใช้จ่าย ต้นทุนด้านไฟฟ้าก็จะลดลง  ในส่วนที่เราเอาไปใช้สำหรับตอนนี้ก็จะเป็นการใช้ในเรื่องของการขับปั๊มสารละลายที่จะอัดเข้าไปในตัวโรงเรือน ในส่วนที่สองก็จะเป็นในเรื่องของระบบออโตเมติกในเรื่องของการตั้งสำหรับการปิด-เปิดสารละลายให้ทำงานอัตโนมัติในช่วงเวลาต่างๆที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมล่อน หลักๆตอนนี้ยังใช้อยู่สองอย่าง แต่ในอนาคตเราวางแผนเอาไว้ว่าเราจะนำพลังงานส่วนนี้เอาไปใช้ในส่วนควบคุมในโรงเรือนอีกอีกระบบหนึ่ง เช่นอาจจะทำเป็นระบบโรงเรือนที่ลดอุณหภูมิเพื่อจะทดสอบว่าเมล่อนแต่ละสายพันธุ์ตอบสนองต่ออุณหภูมิอย่างไร และก็จะมีอีกโปรเจคที่เราจะเอาไปใช้ในโรงเรือนผลิตเมล็ดพันธุ์เมล่อนเพื่อที่จะส่งเสริมเกษตรกรสามารถมีเมล็ดพันธุ์ราคาถูกและคุณภาพดีไว้ใช้ครับ

คำถาม : ข้อควรระวังในการใช้สารละลายธาตุอาหารคืออะไร ?

คุณศรันย์ หงษาครประเสริฐ : สารละลายธาตุอาหารถ้าเป็นภาษาเกษตรกรเค้าก็จะเรียกปุ๋ย คือปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ย ab ที่ใช้สำหรับการปลูกพืชผักไฮโดรโพนิก ปุ๋ยพวกนี้ก็ประกอบไปด้วยธาตุอาหารหลักพวก N P K หรือธาตุอาหารรอง Ca Mg อะไรพวกนี้รวมถึงจุลธาตุต่างๆ ซึ่งมันก็จะมีสัดส่วนที่แตกต่างกันสำหรับพืชแต่ละตัว ถ้าใช้ในพืชผักก็อาจจะเป็นสูตรนึง แต่ถ้าใช้ในพืชผลที่มันต้องใช้ความหวานเช่นเมล่อน หรือมะเขือเทศ เราก็จะต้องมีสูจรธาตุอาหารที่คล้ายๆกันบางตัวอาจจะมาก บางตัวอาจจะน้อย ทีนี้ข้อควรระวังในการใช้คือความเข้มข้น ความเข้มข้นที่เราใช้สำหรับพืชแต่ละชนิดจะไม่เท่ากัน เช่นถ้าเราจะปลูกพืชผักสลัดในรางปลูก ความเข้มข้นไม่ควรเกิน1 : 200 แต่ถ้าเป็นผักไทยที่อยู่ในรางปลูกมันก็ไม่ควรเกิน 1:100 ผักไทยก็เช่น ผักบุ้ง กวางตุ้ง ผักชี แต่ถ้าเป็นเมล่อนเราใช้วัสดุปลูกฉะนั้นความเข้มข้นเราสามารถใช้อยู่ที่ระดับ 1:200 ได้ แต่ก็ไม่ใช่จะใช้ทุกช่วงเพื่อเป็นการประหยัดธาตุอาหาร ในช่วงแรกๆเราอาจจะให้ปุ๋ยที่เจือจางลงก่อนแต่หลังจากที่โตแล้วเราอาจเพิ่มความเข้มข้นจาก 1:200 ให้เป็น 1:100 …..ถ้าเราใช้ปุ๋ยเข้มข้นเกินก็จะส่งผลต่อการดูดซับธาตุอาหารที่มากเกินไปอย่างเช่น ผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกลองนึกภาพว่ารากผักแช่อยู่ในสารละลายถ้าสารละลายมีความเข้มข้นสูงธาตุบางตัวก็จะถูกดึงเข้าไปเยอะนะครับมันก็จะเกิดการสะสม ฉะนั้นถ้าเราคิดว่าเราจะปลูกพืชโดยใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เราต้องดูว่าพืชแต่ละชนิดควรใช้ความเข้มข้นเท่าไหร่ ถ้าเราควบคุมให้ได้มาตรฐานการตกค้างของสารก็จะน้อยลงและเราก็จะประหยัดในเรื่องของต้นทุนปุ๋ยด้วย…..เราปลูกในดินเราควบคุมธาตุอาหารยากมากเวลาให้ปุ๋ยไปเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าต้นเมล่อนที่อยู่ในดินดึงไปใช้ได้กี่เปอร์เซนต์หรือใช้ปุ๋ยตัวไหนบ้าง แต่พอมาปลูกในโรงเรือนเราใช้ภาชนะที่ใส่วัสดุปลูกและเราก็คุมการหยดของสารละลายปุ๋ยฉะนั้นการควบคุมธาตุอาหารดีกว่า …. ราสามารถทดสอบได้ว่าเมล่อนพันธุ์ไหนสามารถที่จะตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี ฉะนั้นเราก็จะคุมคุณภาพได้ดีกว่า….

คำถาม : ข้อดีของการปลูกเมล่อนด้วยโซลาร์เซลล์คืออะไร ?

คุณศรันย์ หงษาครประเสริฐ : ข้อดีอันแรกเลยคือประหยัดค่าไฟ เราสามารถใช้พลังงานแสงที่มีอยู่ในบ้านเรา(ประเทศไทย)เยอะแยะเอามาเปลี่ยนเป็นไฟฟ้าคือประหยัดต้นทุนแน่นอน ข้อดีข้อที่สองคือโซลาร์เซลสามารถที่จะเอามาประยุกต์ในเรื่องของการบรรจุไฟเก็บไว้ในแบตเตอร์รี่หรือแหล่งเก็บพลังงานต่างๆได้ สมมุติว่าเราต้องการใช้ไฟช่วงกลางคืนเราก็สามารถที่จะเอาไฟจากโซลาร์เซลล์ชาร์ตเก็บเข้าแบตเตอร์รี่ไว้พอถึงช่วงกลางคืนเราก็เอาพลังงานที่เราเก็บไว้เอามาใช้ถือเป็นระบบสำรองไฟอีกระบบหนึ่ง ส่วนข้อดีอีกข้อที่ผมได้กล่าวไปคือความปลอดภัยเพราะโซลาร์เซลล์เป็นไฟกระแสตรง เช่นถ้าเรามีเด็กเล็กเล่นซนถ้าไปเล่นโดนไฟที่ออกมาจากโซลาร์เซลล์ก็ไม่ต้องกลัวไฟช็อต แต่สิ่งที่ควรจะต้องระวังในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ก็คือจุดต่อเพราะว่าไฟจากโซลาร์เซลล์จะทำงานในช่วงระยะเวลาที่มีแสงฉะนั้นในช่วงที่มีแสงมันก็จะทำงานตลอดเวลาถึงแม้เราระบบหลังจากนั้นเราตัดไฟไม่ใช้แล้ว แต่ไฟในโซลาร์เซลล์ก็จะไหลผ่านสายมาตลอดถ้าขั้วต่อไม่แน่นมันจะเกิดอาการช็อตและไฟก็จะทำให้เกิดอัคคีภัยได้ เพราะงั้นระบบการติดตั้งควรแยกส่วนออกจากตัวบ้าน เพราะถ้าเกิดว่าถ้าเราติดไว้บนหลังคาบ้านถ้าเกิดการรั่วขึ้นมาอาจจะทำให้ไฟไหม้บ้านได้….

คำถาม : เราสามารถดัดแปลงไปใช้กับพืชชนิดอื่นได้หรือไม่

คุณศรันย์ หงษาครประเสริฐ : สำหรับระบบโซลาร์เซลล์ที่เราเอามาใช้หลักๆคือการผลิตพลังงานเพื่อใช้ในระบบไม่ว่าจะเป็นการใช้โดยตรงหมายถึงว่าจากแผงโซลาร์เซลล์แล้วใช้เข้าไปในระบบเลย หรือการสำรองไฟไว้ใช้มันสามารถที่จะประยุกต์ใช้กับพืชอื่นได้เยอะแยะเลยไม่ว่าจะเป็นพืชในโรงเรือนหรือนอกโรงเรือนเราสามารถที่จะเอามาประยุกต์ในเรื่องของการให้น้ำ ให้ปุ๋ยได้เลยครับ เพราะว่าเป็นแรงไฟที่เราสามารถดัดแปลงประยุกต์ใช้ได้เลย อย่างพืชผักสวนครัวก็สามารถปลูกได้หรือพืชไม้ผล ไม้ใหญ่ เช่น ต้นมะม่วง ต้นขนุน เราก็สามารถนำเอาโซลาร์เซลล์มาดัดแปลงเป็นพลังงานในการฉุดตัวปั๊มสารละลายให้ไปทำงานได้  เราอาจจะไม่ได้ใช้ฉุดในเรื่องของปั๊มน้ำอย่างเดียว ทุกวันนี้มีระบบประปาเราอาจจะเอาโซลาร์เซลล์หรือเอาไฟฟ้าที่ได้จากโซลาร์เซลล์เอาไปคุมวาล์วไฟฟ้าหรือโซลินอยด์วาล์วในการปิดเปิดโดยผ่านตัวไทม์เมอร์อีกทีหนึ่ง …..ฉะนั้นถ้าเรามีบ้านหลังหนึ่งโดยใช้โซลาร์เซลล์เราจัดการเอามาผ่านไทม์เมอร์และมาผ่านโซลินอยวาล์วเราสามารถที่จะให้น้ำทำงานได้ตามเวลาที่ต้องการได้เลย ถึงแม้เราไม่อยู่บ้านแต่ต้นไม้เราก็จะสามารถที่จะได้รับน้ำตามที่เราต้องการได้ครับ….

คำถาม : การลงทุนและการดูแลรักษาระบบเป็นอย่างไร ?

คุณศรันย์ หงษาครประเสริฐ : เรื่องของต้นทุนขึ้นอยู่กับการใช้งานครับ อย่างเช่นของผมที่ทำการทดสอบก็จะสำหรับโรงเรือนสองถึงสามโรง หนึ่งโรงมีเนื้อที่ประมาณ 150 ตารางเมตร 3โรงก็จะตกประมาณ สี่ร้อยกว่าตารางเมตร เราก็จะใช้แผงประมาณ 4 -5 แผง ต้นทุนเฉพาะค่าแผงประมาณหมื่นกว่าบาทรวมระบบควบคุมด้วยก็ประมาณอีกสี่หมื่นกว่า เพราะงั้นค่าทุนเบ็ดเสร็จคำนวณออกมแล้วประมาณหลักแสน คำนวณออกมาแล้วหาค่า irr ก็คุ้มต้นทุนนะครับ irr อยู่ประมาณ 14 %  ถ้าเราจะเอามาใช้ในโครงการแล้วเราใช้ระบบนี้จะคืนทุนในระยะเวลาประมาณ3ปี แต่นั่นก็หมายความว่าเราต้องดูแลด้วยเพราะเมล่อนเป็นพืชที่ต้องการทักษะในการดูแลค่อนข้างเยอะตลอดช่วงเวลาเจริญเติบโต เช่น ถ้าเราปลูกแล้วเราไม่ดูแลเรื่องกิ่งแขนง แทนที่เราจะได้ยอดใหญ่ๆที่เป็นต้นหลัก เราก็จะไม่ได้ มันก็จะไปเจริญเติบโตที่กิ่งแขนงแทนฉะนั้นเราก็ต้องคอยตัดแต่งเพื่อให้ได้เป็นต้นเดียว เลี้ยงใบให้สมบูรณที่สุด ในหนึ่งต้นเราจะเลี้ยงเมล่อนหนึ่งลูกเพื่อคุณภาพที่เต็มที่ ในเรื่องของต้นทุนมันขึ้นอยู่กับการดูแล แต่โดยทั่วๆไปในการปลูกแบบระบบนี้จะคืนทุนภายในระยะเวลาสามปี ภายในพื้นที่ประมาณ 400ตารางเมตร ก็จะได้เมล่อนประมาณเกือบสองพันลูกครับ ถ้าเราดูแลดีอาจจะเสียหายแค่ 5-10 %  แต่ถ้าเราดูแลไม่ดีแล้วเมล่อนเสียหายไปครึ่งโรง การคืนทุนก็จะยื้อออกไป แต่ถ้าเราทำเมล่อนเป้นธุรกิจแล้วตายไปครึ่งโรงแสดงว่าไม่ใช่ทางเราแล้วอาจจะต้องหาพืชอื่นมาทดแทนเพราะพืชที่มีมูลค่าก็มีเยอะหลายตัว สมมุติถ้าเราอยู่ภาคเหนืออุณหภูมิต่ำๆเราก็สามารถที่จะปลูกพริกหยวก พริกหวาน ไม้ดอกไม้ประดับได้ สามารถประยุกต์ไปได้หลายทางครับ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของคุณศรันย์ หงษาครประเสริฐในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

ชุดปลูกเมล่อนพลังงานแสงอาทิตย์

My little farm vol. 7 : เมลอนอินทรีย์ 

ราชินีพืชตระกูลแตง เมล่อน พืชทำเงิน ปลูกได้ราคางาม

คู่มือการปลูกเมล่อนชีวภาพ เกษตรทางเลือกใหม่

แบบอย่าง--และแนวทางการปลูกเมล่อนคนเมือง

ปลูกเมล่อนในโรงเรือน

“การค้นพบการเวกชนิดใหม่ของโลก โดย ผศ.ดร.วิชาญ เอียดทอง และนายทวี  อินสุระ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ “

พิธีกร :  สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ รายการ KULIB talk ครับ ซึ่งเป็นการไลฟ์ผ่านทาง facebook ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นะครับ ผมเฉลิมเดช เทศเรียน รับหน้าที่พิธีกรในวันนี้ครับ และทางสำนักหอสมุดเราก็ได้ทราบข่าวจากการค้นพบพันธุ์ไม้การเวกชนิดใหม่ของโลกนะครับ จำนวน 2 ชนิดด้วยกัน ซึ่งเป็นการค้นพบของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครับ และวันนี้เราก็ได้รับเกียรติจากศิษย์เก่าภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ คุณทวี  อินสุระครับ ขอต้อนรับคุณทวีครับ”

“สวัสดีครับคุณทวี หลังจากที่จบจากการศึกษาในระดับปริญญาโท และได้กลับเข้ามาในมหาวิทยาลัยอีกครั้ง รู้สึกอย่างไรบ้างครับ ? “

นายทวี อินสุระ :  จริงๆก็ตื่นเต้นครับเพราะไม่ได้มานานครับ ก็จะเล่าว่าพันธุ์ไม้ในสกุลนี้คือสกุลการเวกนี่ที่ทุกท่านอาจจะรู้จักกันดีคือกระดังงาจีนครับ ที่ปลูกตามรั้ว ฟุตบาทในกรุงเทพ ตามป้ายรถเมล์ต่างๆครับ คือมันมีมากกว่าหนึ่งชนิดในไทยนะครับ ซึ่งที่เรารู้ทั่วไปคือ กระดังงาจีนนะครับ ที่มีกลิ่นหอมๆ ดอกเหลืองใหญ่ๆครับ  งานวิจัยที่พึ่งได้รับการตีพิมพ์มีท่าน ผศ.ดร วิชาญ เอียดทองนะครับประจำภาควิชา ชีววิทยาป่าไม้ คณะวิทยาศาสตร์ร่วมทำการวิจัย และผู้ร่วมวิจัยจากต่างประเทศคือ ชุนเถา เช็น นะครับ จากสิงคโปร์ botanical garden นะครับร่วมทำการวิจัยด้วย ก็เป็นที่น่าเสียดายนะครับที่อาจารย์ท่านได้ถึงแก่กรรมนะครับเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมครับ ก็ขอแสดงความเสียใจต่ออจารย์ และครอบครัวของท่านอาจารย์นะครับ

คำถาม : ก็ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวท่านอาจารย์อีกครั้งนะครับ

นายทวี อินสุระ : ก็ที่มาที่ไปถ้าเล่าเรื่องการเวกในประเทศไทยนะครับ…ช่วงที่ผมศึกษาในระดับปริญญาตรีปีหนึ่งปีสองนะครับ เป็นการเรียนวิชาพื้นฐานของคณะวนศาสตร์หลายๆวิชา ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรรมป่าไม้ การจัดการป่าไม้ วนวัฒนวิทยาในการปลูกป่าและก็ได้เรียนสาขาวิชานี้อ่ะครับ ชีววิทยาป่าไม้ เรียนการสำรวจพันธุ์พืชที่มีในประเทศไทย พอเรียนแล้วก็รู้สึกชอบและเรารู้สึกอยากเจ๋งในสาขานี้ในเรื่องต้นไม้ จำแนก ต่างๆ ปีสามปีสี่เลยเลือกที่จะมาแน่วแน่ในวิชาชีววิทยาป่าไม้ซึ่งมีให้เลือกอยู่สองอย่างคือ สายสัตว์ป่าไปเลย กับสายพืช ผมก็เลยคิดว่าเราน่าจะไปได้ดีในสายพืชเลยเลือกมาเรียนสายพืชครับ

คำถาม แล้วทำไมต้องเป็นการเวกด้วยครับ ? เป็นความชอบส่วนตัวหรืออย่างไรครับ ?

นายทวี อินสุระ : เริ่มพบกับอาจารย์ที่ปรึกษาครับ ผศ.ดร.วิชาญ เอียดทอง ท่านก็แจ้งว่าท่านกำลังจะทำพันธุ์ไม้ในวงศ์กระดังงาซึ่งในประเทศไทยตอนนั้นกำลังศึกษากันอย่างเข้มข้นเลยครับ ก็มีอาจารย์ ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ศึกษาด้วย แล้วก็เริ่มทำเล่มออกมาให้เห็นแล้วว่ามีกี่ชนิด ผมก็ตั้งใจตั้งแต่ปีสามแล้วว่าจะศึกษาพันธุ์ไม้ในสกุลนี้คือสกุลการเวก พอปีสี่ผมเริ่มเก็บตัวอย่าง เก็บข้อมูลแล้วครับ เพราะตั้งมั่นว่าจะต้องเรียนปริญญาโทในพันธุ์พืชสกุลนี้มาทำอนุกรมวิธานครับ

คำถาม :  ที่ฟังมาคือคุณทวี ศึกษาปริญญาตรีที่คณะวนศาสตร์ และปริญญาโทที่คณะวนศาสตร์ ?

นายทวี อินสุระ : ใช่ครับ ผมเป็นศิษย์เก่าทั้งปริญญาตรี ปริญญาโทที่นี่เลยครับ

คำถาม : ขออนุญาตสอบถาม…. ku รุ่นที่เท่าไหร่หรอครับ

นายทวี อินสุระ : 61 ครับ

คำถาม : ขออนุญาตต่อนะครับหลังจากที่ค้นพบว่าจะศึกษาต่อในเรื่องของ การเวก และปริญญาโทครับ

นายทวี อินสุระ : ทุกอย่างเริ่มจากการวางแผนครับ ตอนผมอยู่ปี4 จริงๆผมเริ่มที่หอสมุดนี่แหละครับ คือผมหาข้อมูลพันธุ์ไม้สกุลการเวก แต่ก่อนหอสมุดยังไม่พัฒนาจนถึงขั้นนี้ ช่วงนั้นจะมี pc ตั้งอยู่หน้าห้องสมุด เรามาถึงก็เสริชหาข้อมูลพันธุ์ไม้วงศ์กระดังงา พันธุ์ไม้วงศ์การเวกอยู่ที่หนังสือเล่มไหน ชั้นอะไร ก็ไปหา…ซึ่งเราเริ่มต้นจากไม่รู้อะไรจริงๆ พอเรารู้ว่าอยู่หน้าไหนเราก็ให้เค้าซีล็อค…ก็แต่ก่อนแผ่นละ50สตางค์….ณ จุดที่เรานั่งอยู่นี่ผมได้ประมาณ 30-40 เปเปอร์นะครับที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์ไม้สกุลนี้  ทั้งการกระจายอยู่ที่ไหนบ้างทั่วโลก วิสัยเป็นอย่างไร การใช้ประโยชน์ เราจดหมดครับ ซีล็อคหมดเลย…นอกจากที่นี่…ก็จะมีห้องสมุดของคณะครับ ที่สำคัญเลยคือห้องสมุดของกรมอุทยานแห่งขาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชครับ…เบ็ดเสร็จได้ประมาณ 100 เปเปอร์มารวมกัน แล้วผมก็จับมารวมกันและหาข้อมูลและพบว่าทั่วโลกมีพันธุ์ไม้ในสกุลการเวกประมาณ100กว่าชนิดๆ กระจายพันธุ์ในเอเชีย แอฟริกาใต้ และออสเตรเลีย(ออสเตรเลียพบ 1 ชนิด) ในประเทศไทยในเอกสารพบ 7 ชนิดครับ พอเรารู้จากเอกสารว่ามี 7 ชนิด เราอยากรู้ของจริงว่ามีกี่ชนิดเราเลยสำรวจตัวอย่างจริงครับ เริ่มแรกที่พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพครับ และก็พิพิธภัณฑ์พืชสำนักหอพันธุ์ไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชครับ ไปดูก็ไม่ได้ดูเฉยๆครับจดหมดทุกอย่างครับว่า เก็บวันที่เท่าไหร่ บางตัวอย่างเก็บมาเป็น 70ปี แล้วครับ ซึ่งข้อมูลมีการ label ข้อมูลอาจจะครบไม่ครบ หรือแต่ก่อนมีระบบพิกัด x,y ลองติจูด ละติจูด บอกเป็นจังหวัด อำเภอไว้ ก็เก็บหมดครับเช็คดูว่า ออกดอก ออกผลช่วงไหน รูปร่างใบ มีสิ่งไหนปกคลุมไว้คือผมจดหมดทุกอย่าง สุดท้ายผมมาพอร์ทลงในแผนที่ประเทศไทยว่า ชนิดนี้อยู่พื้นที่ไหน จังหวัดไหน ทำให้มองเห็นภาพการกระจาย สิ่งที่เจอก็คือหลังจากมาพอร์ทไว้ 7 ชนิด มันมีส่วนเพิ่มเข้ามา คือมากกว่า7 แต่ตัวอย่างยังไม่สมบูรณ์ครับอาจจะมีใบไม่มีดอก มีใบมีผลไม่มีดอกพวกนี้อ่ะครับ เราต้องมาเก็บเพิ่มอะไรต่างๆ ผมเลยเชื่อว่าไม่ได้มีแค่ 7 ชนิด  พอเราเก็บข้อมูลจากเอกสาร หนังสือก็มาดูตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้งเสร็จ ต่อไปก็เป็นการออกฟิลด์ ออกพื้นที่ครับ….ช่วงที่จบปี4 เริ่มจะเขาเรียนปริญญาโทก็เริ่มออกพื้นที่เก็บตัวอย่างตามลิสท์ที่เราจดมาว่าตัวอย่างเขาเก็บกันที่ไหน ก็เริ่มเก็บตัวอย่างออกภาคสนามครับ บางทีก็รับงานจ็อบช่วยนักวิจัยออกฟิลด์ตามป่าหารายได้เสริม ไปช่วยงานวิจัยในพื้นที่ต่างๆตามป่า ตามอุทยานแห่งชาติ เราก็มีโอกาสเก็บตัวอย่างวิจัยของเราด้วย

คำถาม : ตัวอย่างที่เก็บนี้เป็นตัวอย่างของงานวิทยานิพนธ์ ?

นายทวี อินสุระ : ใช่ครับ เก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้งมา เวลาไปเก็บก็ต้อง label หมดว่าเก็บช่วงไหน เวลาใด มีใบ มีดอกอย่างไร ลักษณะเป็นอย่างไร สูงจากระดับน้ำทะเลเท่าไหร่ เก็บข้อมูลหมดครับ และก็แพ็คเข้าตู้อบเป็นตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้งครับ บางส่วนก็เป็นตัวอย่างพันธุ์ไม้ดองเพื่อนำมาศึกษาต่อ ถ่ายภาพ เก็บตัวอย่าง บันทึกรายละเอียดทุกอย่างและก็อบป้องกันเชื้อรา สุดท้ายพอเก็บตัวอย่างเสร็จอันดับต่อไปก็เข้าแลป คือเขียนบรรยายวิสัยต่างๆ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้น ใบ ดอก ผล สิ่งปกคลุมใบ และดูในกล้องจุลทรรศน์ต่างๆ สุดท้ายคือเรณูวิทยาซึ่งเล็กมากไปส่องกล้องใช้กำลังขยายประมาณหนึ่งหมื่นเท่าดูลักษณะของเรณูต่างๆ พอเก็บรวบรวมได้หลายชนิดก็มาวาดภาพลายเส้นประกอบ วาดเองส่วนหนึ่งและก็มีคนช่วยวาดด้วย สุดท้ายผมก็เขียนเป็นวิทยานิพนธ์เพิ่มจาก 7 ชนิดเป็น 15ชนิด ตอนจบปริญญาโทครับ และก็ผมเชื่อว่ายังมีตัวอย่างอีกหลายตัวอย่างมากกว่า15ชนิดแต่ยังเก็บข้อมูลไม่ครบ ทุกวันนี้พอเก็บครบก็มั่นใจว่ามันจะไม่มีการตีพิมพ์การค้นพบ น่าจะเป็น new อะไรสักอย่าง คือเป็นนักวิจัยก็มองว่าสามารถพบพืชชนิดใหม่ในไทยได้ก็ถือว่าสุดยอดแล้ว ยิ่งถ้าค้นพบชนิดใหม่ของโลกได้ผมว่าเป็นสุดยอดโบนัสแล้วครับ ก็อยากทำให้เต็มที่ครับ

คำถาม : อย่างที่แจ้งมาว่าทั่วโลกมีกว่า 100 ชนิด อย่างของไทยจากเดิมมี 7 ชนิด และตอนนี้ก็คาดว่ามีมากกว่า 15 ชนิดแล้วและอย่างที่อาจารย์ได้แจ้งว่าพบที่ เอเชีย แอฟริกาใต้และออสเตรเลีย อยากจะทราบว่าในเอเชียกับทางแอฟริกาใต้ อัตราส่วนที่ใดมากกว่ากันครับ

นายทวี อินสุระ : เป็นเอเชียเราครับ โดยเฉพาะทาง Southeast Asia ครับ ทางสุมาตรา  ทางมาเลเซีย ทางอินโดนีเซีย เพราะพวกนี้เป็นป่าดิบชื้นมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงครับ

          ทีนี้มาถึงเรื่องที่จะตีพิมพ์ชนิดใหม่ของโลกสองชนิดนี้ครับ ทุกอย่างที่จะบรรยายได้ทางอาจารย์ได้ประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญพันธุ์ไม้ในสกุลนี้ในระดับโลกช่วยดูครับ คือชนเถา เชน ครับ จากสิงคโปรบอททานิคการ์เด้นครับ ซึ่งท่านก็มาดูถึงที่ไทยเลย และก็เปรียบเทียบตัวอย่างนี้จากพิพิธภัณฑ์พืชระดับโลกที่สิงคโปร และเช็คจากที่อื่นครับเดนมาร์คต่างๆและพบว่าชนิดนี้แตกต่างจากชนิดอื่นและยืนยันแน่ๆครับว่าเป็น new species ครับ คือพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลกครับ

คำถาม : ซึ่งในการที่จะยืนยันว่าเป็นชนิดใหม่ของโลก ต้องมีการเอาตัวอย่างค้นพบเปรียบเทียบกับศูนย์พันธุ์พืชต่างๆทั่วโลก ?

นายทวี อินสุระ : ใช่ครับ ต้องมีการเทียบเคียงครับ เทียบเคียงกับเอกสารที่มีการตพิมพ์ไปเกี่ยวกับพันธุ์ไม้สกุลนี้ทั่วโลกครับ เช็คจนละเอียด สุดท้ายก็เป็นที่มาของชนิดใหม่ของโลก2ชนิด และก็พบใหม่ในประเทษไทย และการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย 2 ชนิดครับ

คำถาม : ซึ่งสองชนิดนี้คุณทวีค้นพบที่ไหนบ้างครับ

นายทวี อินสุระ : ขอเริ่มที่ชนิดแรกก่อนนะครับ ผมพบครั้งแรกปี 2548 ครับ พบที่น้ำตกกะโรม อุทยานแห่งชาติเขาหลวงจังหวัดนครศรีธรรมราชครับ ไปช่วยรุ่นพี่ทำวิทยานิพนธ์ครับ แต่ผมตั้งใจไปหาการเวกอยู่แล้วครับ พอพบก็รู้สึกว่ามันแปลกครับ คือประเทศไทยแบ่งพันธุ์ไม้สกุลการเวก แบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกันครับ คือกลีบดอกแบบนรูปไข่ป้อมๆที่เราเจอตามป้ายรถเมล์เรียกว่าต้นกระดังงาจีนครับ อันที่สองคือกลีบดอกเป็นรูปกระบองมีชนิดเดียวครับคือก๋ายครับ พบทางภาคใต้ ภาคตะวันออกบางส่วนส่วนที่สามคือกลีบดอกเป็นรูปแถบ เรียวยาว ซึ่งที่พบตอนนั้นก็คือ Artabotrys multiflorus ชนิดเดียวครับ ทีนี้ชนิดแรกที่ไปพบคือกลุ่มรูปแถวเพิ่มเข้ามา กลีบดอกยาวครับ เกือบ5ซม.ครับ ดอกออกกระจุกเยอะมากครับ ดอกสีเหลือง พอบานเต็มที่มีกลิ่นหอมมากครับ พอเราเก็บเอกสารหลากหลายก็ทำให้เรามั่นใจครับว่าเป็นชนิดใหม่ ก็เก็บตัวอย่างกลับเข้ามาเข้าแลป นำมาเขียนอธิบายลักษณะต่างๆ และวาดลายเส้นต่างๆ และทางอาจารย์ก็มาช่วยดูช่วยเช็ค และติดต่อผู้เชี่ยวชาญในระดับโลกมาช่วยดูให้ และเค้าก็บอกว่าชนิดนี้แตกต่างกับชนิดอื่น ก็มีใกล้เคียงอยู่ชนิดเดียวแต่ว่าดอกที่เราเจอจะยาวกว่า ก้านดอก เกสรตัวผู้ก็แตกต่างกัน ก็ยืนยันว่าเป็นชนิดใหม่ของโลก และเป็นชนิดที่กลีบดอกยาวที่สุดในโลกครับ

คำถาม : มีชื่อภาษาไทยยังครับ ?

นายทวี อินสุระ : ยังครับ ยังไม่ได้ตั้งเลยครับ

คำถาม : แสดงว่าตอนนี้ก็ชื่อ  Artabotrys longipetalus  ?

นายทวี อินสุระ : ชื่อนี้ก็แปลว่ากลีบดอกยาว

คำถาม : ก็อันนี้ก็เป็นชนิดแรกที่ค้นพบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วชนิดที่สองค้นพบที่ไหนครับ?

นายทวี อินสุระ : ชนิดที่สองนี้ผมก็ค้นพบครั้งแรกในปีเดียวกันนะครับ คือปี 2548 ที่น้ำตกโตนงาช้าง จังหวัด สงขลา เป็นแนวเชื่อมต่อระหว่างสงขลากับสตูลครับ ……… Artabotrys insurae ก็มีความแตกต่างกับชนิดอื่นๆในกลุ่มของกลีบดอกรูปไข่ครับ มีชนิดที่ใกล้เคียงกันคือ Artabotrys uniflorus จะมีความแตกต่างกันในฐานใบครับ ชนิดที่ผมพบคือมีฐานใบแบบ oblique ขนที่ปกคลุมท้องใบก็จะแตกต่างกันชัดเจนมากครับ กลีบดอกที่ผมพบคือดอกแบน ป้อม เล็ก แต่ Artabotrys uniflorus เป็นแบบ tri-angel ครับคือกลีบดอกแคบและก็เกสรเพศผู้เพศเมียแตกต่างกัน ทางผู้เชี่ยวชาญมาเห็นตัวอย่าง เช็ครายละเอียดต่างๆและเทียบเคียงกับพันธุ์ไม้แห้งที่อื่นก็ยืนยันว่าเป็นชนิดใหม่ของโลกครับ

คำถาม : จากชนิดที่สองเห็นคุณทวีบอกว่าชื่อ Artabotrys insurae  ครับ….. insurae นี่มาจากนามสกุลของคุณทวีหรือเปล่าครับ ?

นายทวี อินสุระ : ครับ ก็ต้องขอขอบพระคุณนะครับ เพราะ insurae  คือนามสกุลของผมครับ และทาง
ผศ.ดรวิชาญ เอียดทอง และทาง ชุนเถา เชน ก็แต่งตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ผมนะครับที่เป็นผู้เก็บตัวอย่างครับของพันธุ์ไม้ในชนิดนี้คนแรกครับ และก็ช่วยทำงานเก็บตัวอย่างทั่วประเทศไทยนะครับของพันธุ์ไม้กสุลการเวกในปริญญาโทที่ผมทำครับ ตัวอย่างพันธุ์ไม้ที่ผมเก็บก็มีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านนำไปตีพิมพ์เป็นชนิดใหม่ของโลก ก็ถือว่าขอบคุณ ผศ.ดรวิชาญ เอียดทองที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ก็ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

คำถาม : แบบแรกที่พบคือมีกลีบดอกยาวและมีดอกที่สุดในโลก และแบบที่สองมีกลีบดอกป้อม รูปไข่ เล็ก กลีบดอกมีขน แล้วทั้งสองชนิดในเรื่องของความหอม แตกต่างกันแค่ไหนครับ ?

นายทวี อินสุระ : ชนิดแรกจะหอมกว่าครับ ดอกเยอะ ดอกหอมครับ แต่ชนิดที่สองนี่หอมนิดหน่อยเป็นเพราะดอกน่าจะน้อยครับ

คำถาม : ส่วนลำต้นไม่ต่างกันมาก ?

นายทวี อินสุระ : แต่ว่า Artabotrys insurae   เท่าที่พบจะเลื้อยไม่สูงมากครับ ประมาณ3-5เมตร ไม่น่าสูง ชนิดที่สองนี่แปลกมากคือจะพบตามพื้นที่ที่เป็นแกรบของป่า มีช่องว่างและก็ตามตรอกหินของน้ำตก ก็คือชอบอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ยาวมาก ในที่ที่เป็นช่องเปิดมากกว่า

คำถาม : ทั้งสองชนิดก็พบในอุทยาน ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้น้ำตก ซึ่งเกี่ยวกับความชอบน้ำตกของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ด้วยไหมครับ ?

นายทวี อินสุระ : จริงๆโดยส่วนตัวที่สำรวจผมว่ามีส่วนนิดเดียวครับ หลักๆพันธุ์ไม้ในสกุลนี้ชอบแสง ต้องเจอแสงถึงจะออกดอกติดผลได้ ในพื้นที่ป่าอย่างในพื้นที่ป่าราบอราในนราธิวาสข้างล่างจะเป็นเถาว์ใหญ่ ข้างบน30เมตร จะเป็นยอดของพวกการเวกซึ่งอยู่สูงมาก ผมไม่สามารถเก็บตัวอย่างได้ ต้องใช้วิธีที่มีแกรบมีช่องว่างจึงจะเก็บได้สะดวก ผมก็ต้องดิ่งหาที่ที่เป็นธรรมชาติ ด่านสัตว์ป่า หรือน้ำตก แอ่งน้ำที่รอบข้างแดดเต็มที่ ซึ่งตัวอย่างที่ผมเก็บส่วนมากก็จะเป็นช่องว่างน้ำตก ธารน้ำ หรือริมถนนทางเดินจะเจอได้ง่ายกว่า จริงๆในป่าลึกๆก็มีแต่สูงครับ ผมเก็บไม่ได้ครับ

คำถาม : ในส่วนการเวกมีช่วงเวลาความหอมเกี่ยวข้องด้วยไหมครับ ?

นายทวี อินสุระ : ก็มีผลครับ เช่น กระดังงา เวลาโดนแดดจัดๆจะมีกลิ่นหอมออกมา อย่างเราอยู่กรุงเทพไปตามป้ายรถเมล์ที่เขาปลูกช่วงบ่ายๆดอกมันก็จะหล่นมาคือมันงอมเต็มที่ ฉะนั้นกลิ่นจะหอมมากเลยครับ อย่างชนิดแรกความหอมอาจจะสู้ความหอมของกระดังงาจีนที่เราเห็นไม่ได้ แต่ความคลาสสิคความสวยงามคือดอกเยอะ ดอกแปลก ดอกยาวที่สุดในโลก ซึ่งผมว่าถ้าเรานำมาพัฒนาในเรื่องของการทำไม้ประดับ ความสวยงามชัดเจนครับ….

คำถาม : ในการค้นพบพันธุ์ไม้ต่างๆมีการแมพไว้ในแผนที่ด้วยไหมครับ ?

นายทวี อินสุระ : สำหรับที่ผมและอาจารย์ที่พบก็คือมีการ map ในแผนที่ประเทศไทย ในเล่มวิทยานิพนธ์ผมก็มีครับ ก็จะแมพหมดครับว่าเจอตรงไหน อย่างเอกสารตีพิมพ์วารสารฉบับนี้ก็มีแบบแมพว่าเจอตรงไหนบ้างทั้งสี่ชนิดที่พบอะครับ  ทุกวันนี้ผมมองว่าพื้นที่ที่เจอยังแคบอยู่ อาจจะเจอในพื้นที่อื่นด้วย ซึ่งบางจุดเช่นชนิดแรกผมเจอในนครศรีธรรมราช และตรัง อาจจะมีที่สตูลและสงขลาด้วยครับ เนื่องจากอยู่พื้นที่ใกล้ๆกันครับ….

คำถาม : รู้สึกชนิดที่พบเป็นที่ภาคใต้ทั้งสองชนิดเลย เป็นไปได้ไหมคครับว่าการเวกส่วนมากจะอยู่ที่ภาคใต้ ?

นายทวี อินสุระ : ไม่ครับ มีทั่วประเทศไทยเลยครับ อยู่ในป่าทุกชนิดเลยครับ เช่นภาคอิสานเป็นป่าเต็งรังก็จะเป็นอีกคนละชนิดที่ชอบอยู่ในพื้นที่แล้งครับ ส่วนภาคใต้อยู่ในพื้นที่ชื้นก็จะขึ้นมาบนสุดก็ได้ไม่มากครับ….

คำถาม : คุณทวีมีแพลนที่จะไปทำต่างพื้นที่บ้างหรือไม่ครับ อย่างเช่นสำรวจทางอีสาน หรือทางภาคเหนือครับ ?

นายทวี อินสุระ : ถ้ามีโอกาสผมสำรวจทุกครั้งครับ ก็ยังติดในใจว่านอกจาก20ชนิดที่ทำไปแล้ว ส่วนตัวยังมั่นใจว่ายังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ถูกค้นพบ เพราะในประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพค่อนข้างมาก และผมก็มั่นใจว่า ณ ตอนนี้มีมากกว่า20ชนิดครับ ผมยังเก็บตัวอย่างไม่ครบเป็นบางชนิดอยู่เหมือนกันครับ…

คำถาม : ขอสอบถามเพิ่มเติมในเรื่องของ พอเรามีการเก็บตัวอย่างแล้ว เวลาเดินไปยังสถานที่ต่างๆพอเห็นพันธุ์ไม้การเวก คุณทวีสามารถระบุได้ไหมครับว่า เป็นชนิดไหน ?

นายทวี อินสุระ :  ไม่ได้ทุกชนิดครับ แต่ถ้าเป็นพันธุ์ที่ผมศึกษาผมก็ชัวร์อยู่แล้วครับ ซึ่งในการศึกษาอนุกรมวิธานต้องใช้ศาสตร์หลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องครับ ไม่ว่าจะเป็นนิเวศวิทยา อย่างผมเริ่มจากการที่ไม่รู้เลยแล้วไปสำรวจอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่ก่อนมันจะต้องใช้ Gps เช็คทุกระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล พอไปถึงจุดนั้นก็จะออกซ้าย ออกขวา ว่าเจออะไรบ้าง ทำให้เราทราบว่าจากสังคมป่าด้านล่างที่เป็นป่าเต็งรัง จนถึงป่าดิบเขาพบว่ามีต่างชนิดกัน มันกระจายได้ตามความสูงด้วย นี้ก็เป็นวิธีของผมครับที่เอาหลักนิเวศวิทยามาประกอบ

          พิธีกร : ในการค้นพบชนิดใหม่ไปจนถึงตีพิมพ์ระดับโลกก็ใช้เวลาพอสมควรอย่างชนิดนี้มีการค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2548 แต่มีการตีพิมพ์ปีในวารสาร phytokets ค.ศ.2020 หรือปี พ.ศ. 2563 ใช้ระยะเวลาพอสมควรนะครับ ซึ่งวารสารที่มีการตีพิมพ์พันธุ์ไม้2ชนิดนี้ ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร phytokeys ซึ่งถือว่าเป็นวารสารที่มี impact factor ค่อนข้างเยอะ และก็ถูก index อยู่ในฐาน Scopus ก็ถือว่าเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยด้วยครับ…

          อยากย้อนไปถึงช่วงที่คุณทวีศึกษาปริญญาโทอยู่และเข้ามาศึกษาอยู่ในสำนักหอสมุด หรือ ห้องสมุดคณะ ส่วนมากหนังสือหรือตำราแหล่งฐานข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเก็บลักษณะพันธุ์ไม้ครับ มีอะไรแนะนำบ้างครับในสมัยนั้นที่มีการหาข้อมูล…

นายทวี อินสุระ : ย้อนกลับไปประมาณ 15ปี ครับ ช่วงนั้นก็ยังไม่มีออนไลน์บุ๊คกิ้ง ยังไม่มีอะไรเลยครับผม เข้ามาที่หอสมุดแรกๆก็จะมี pc ให้เราค้นหาสิ่งที่เราต้องการว่าสิ่งที่เราต้องการอยู่ที่ชั้นไหน จุดไหน เราก็ตามไป ไปดู indexข้างหลังครับว่า ข้อความที่เราต้องการอยู่ที่ส่วนไหน หน้าไหน แล้วก็ซีล็อคเก็บมาอ่านมาศึกษา….จริงๆก็เริ่มจากตรงนี้แหละครับ(สำนักหอสมุด)ที่ได้มา40 เปเปอร์จากงานวิจัยชิ้นนี้ครับ แล้วก็ไปหาจากห้องสมุดอื่นมาผนวกรวมกัน…. ในการเริ่มวิจัยเรื่องนี้จริงๆก็เริ่มจากสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยของเรานี่แหละครับ…..

คำถาม :  มีแผนที่จะตั้งชื่อไทยของสองชนิดนี้ไหมครับ?

นายทวี อินสุระ : ยังเลยครับ คือจริงๆจะพยายามตั้งให้เหมาะสมกับพื้นที่ ณ จุดๆนั้นเพื่อให้คนเข้าใจง่ายครับ เพราะว่าด้วยความสวยงามของดอกต่างๆ และพึ่งค้นพบพึ่งตีพิมพ์เสร็จใหม่ๆ ส่วนชื่อภาษาไทยผมจะให้ทางคณะพิจารณาว่าจะยังไงครับ….ก็ยืนยันว่าดอกสวยมากๆครับ สวยจริงๆครับ….

คำถาม : พบ2ชนิดนี้ตามแหล่งอื่นๆบ้างไหมครับ ?

นายทวี อินสุระ : แรกๆผมก็พบในพื้นที่สองจังหวัดคือนครศรีธรรมราช กับ ตรัง และก็พบเฉพาะในพื้นที่อนุรักษ์ครับ ส่วนในพื้นที่ของชาวบ้านยังไม่พบครับ คาดว่าน่าจะอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์เท่านั้นเพราะรอบข้างพื้นที่อนุรักษ์ก็เป็นสวนยางไปไหมดแล้ว…

คำถาม : ผมอยากจะเอามาปลูกสามารถทำได้ไหมครับ ?

นายทวี อินสุระ : ผมยังมองว่าสามารถทำในเชิงไม้ประดับได้ครับ ทำไม้เลื้อย ทำซุ้มต่างๆ และดอกสวยจริงครับ ดอกมันแปลก ก็เหมาะสมอย่างยิ่งในการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อประดับเบื้องต้นครับ….

คำถาม : เรื่องกลิ่นที่สกัดเป็นน้ำหอม ?

นายทวี อินสุระ : ขึ้นอยู่กับผู้ศึกษาท่านต่อๆไปครับ เพราะพันธุ์ไม้สกุลนี้มีการนำมาทำน้ำหอมอยู่แล้วครับคือกระดังงาจีนมีการทำน้ำหอมมาขายใช้ชื่อว่ายังหยางออย เป็นชื่อภาษาจีน ซึ่งก็ใช้มานาน เท่าที่ผมเจอก็สกัดมาหลายร้อยปี มีการมาใช้ประโยชน์อะไรอย่างงี้ครับ ซึ่งคาดว่าทุกชนิดน่าจะมีกลุ่มของสารเคมีคล้ายๆกันหรือแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการศึกษาต่อไปครับ….

คำถาม :  อย่างที่คุณทวีแจ้งมาว่าในทางเชิงพาณิชย์มาทำเป็นไม้ดอกไม้ประดับได้ ทำเป็นซุ้ม หรือสกัดเป็นน้ำหอม ส่วนทางวิชาการนอกจากว่าระบุว่าเป็นชนิดใหม่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักวิชาการสายพันธุ์ไม้การเวก มันมีการใช้ประโยชน์ด้านวิชาการอย่างอื่นเพิ่มเติมไหมครับ ?

นายทวี อินสุระ : ผมคาดว่าพันธุ์ไม้ทุกชนิดมีประโยชน์หมดครับ อยู่ที่ว่าเราจะศึกษา เจาะจงมันมาใช้ประโยชน์ด้านไหน อย่างพื้นฐานง่ายๆก็นำมาเป็นไม้ดอกไม้ประดับครับ อย่างที่สองเชิงลึกกว่านั้นคือในกลุ่มของตัวยา ตอนนี้ก็ยังขาดการศึกษาครับ อย่างน้อยตอนนี้เราก็ทราบแล้วว่าเป็นชนิดไหน ส่วนการจะพัฒนาต่อยอดต่อๆไปก็คงต้องมีครับ ก็ดีใจครับอย่างน้อยก็พบเพิ่มเข้ามาในไทยได้2ชนิดครับ…

คำถาม : ในการค้นพบชนิดใหม่คือถือเป็นจุดเริ่มต้นให้กับนักวิจัยที่จะนำไปต่อยอดทำอย่างอื่นได้ ถ้าหากยังไม่มีการค้นพบ 2 ชนิดนี้ก็ไม่อาจที่จะไปศึกษาด้านอื่นๆต่อได้ ทางด้านการเกษตรเอง อุตสาหกรรมเกษตรต่างๆที่จะมาทำเป็นน้ำหอมหรือทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆออกมาได้

นายทวี อินสุระ : นี่ก็ถือว่าเป็น base เบื้องต้นครับ อย่างน้อยเราก็รู้ว่ามีชนิดนี้อยู่ ขึ้นที่ไหน และถ้าเราสามารถพัฒนาต่อยอดได้ก็เป็นเรื่องที่ดีครับ….

คำถาม : นี่ก็เป็นเรื่องดีนะครับ อย่างของคุณทวีเองที่บอกว่า ค้นพบในประเทศแล้วก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว ยิ่งถ้าเป็นของโลกแล้วก็ถือว่าเป็นความสำเร็จขึ้นไปอีก…ครับ

นายทวี อินสุระ :  ถือว่าเป็นความสุขของคนทำงานวิจัยครับ รวมถึงท่านอาจารย์และทางคณะด้วยครับ เพราะทุกท่านก็มีส่วนร่วมกันหมด ทั้งอาจารย์ต่างๆที่ให้กำลังใจครับ เพราะมันยากครับในการที่จะเดิน survey ทั่วประเทศ โดยที่เราไม่รู้ว่ามันมีหรือไม่มี ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี ก็ดีใจที่ได้ทำชื่อเสียงให้กับคณะและมหาวิทยาลัยได้ครับ…

คำถาม : ขอชื่นชมคุณทวี ซึ่งเป็นศิษย์เก่าที่สร้างผลงานชิ้นนี้ไว้ก่อนจะจบไปครับ….

ส่วนท้ายนี้เราก็ได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์ไม้การเวก2ชนิดนี้ที่เป็นชนิดใหม่ของโลกและก็ได้รับข้อมูลพอสมควร ก่อนที่จะปิดรายการอยากให้คุณทวีฝากอะไรสักอย่างให้รุ่นน้องที่กำลังศึกษาอยู่คณะวนศาสตร์ครับ คือบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจะทำปัญหาพิเศษเรื่องอะไร ก็อยากจะให้ฝากฝังในเรื่องของนิสิตปัจจุบันที่กำลังศึกษา และมัธยมปลายที่อยากจะเข้ามาศึกษาในคณะวนศาสตร์ครับว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร หรือมีความชอบเฉพาะทางอย่างไร เดี๋ยวเชิญฝากกับน้องๆได้เลยครับ

นายทวี อินสุระ : คณะวนศาสตร์ผมมองว่าน่าเรียนนะครับ ตอนคุณอยู่มอปลายอาจจะมองว่าเป็นคณะที่ชอบอนุรักษ์อยู่กับสัตว์ป่า อยู่กับพันธุ์ไม้ครับ อันนั้นก็ใช่ครับ แต่พอได้เข้ามาก็จะได้พบว่ามีวิชาทีให้เลือกเรียนมากกว่านั้นและก็สนุกครับ อาจารย์ในคณะก็เป็นอาจารย์ที่เก่งมากๆ เก่งทางด้านการจัดการป่าไม้ การจัดการลุ่มน้ำ อุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าต่างๆ วิศวกรรมป่าไม้ ส่วนสาขาที่ผมเรียนก็ศึกษาในเรื่องพืช DNA เห็ด เชื้อราต่างๆ สัตว์ป่า… ก็คือผมว่าครบเครื่องนะครับในคณะนี้ ซึ่งจบไปก็จะมีงานทำที่ไม่ได้เครียดอะไร ก็คือไม่ได้มาผจญกับรถติดอะไรต่างๆ คุณอาจจะได้ไปอยู่ในอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า รถไม่ติด ถ้าพูดถึงเทรนสุขภาพผมว่าสุขภาพคุณดีนะครับผมว่า และถ้าจะต่อยอดถึงขั้นปริญญาโท ปริญญาเอกต่าง ทางคณะก็มีหมดนะครับ ขอฝากถึงน้องๆที่จะทำเกี่ยวกับอนุกรมวิธานพืชนะครับผมก็อยากจะฝากว่าให้ทำในสิ่งที่รักนะครับ รักในสิ่งที่ทำครับ หาสิ่งที่เรารักเราชอบให้เจอในระหว่างเรียน เราก็จะเรียนอย่างมีความสุข ทำงานวิจัยอย่างมีความสุขครับ ….. ผมเชื่อว่าน้องๆที่มาทำในเรื่องพืชคงจะมีความสุขครับ เพราะเราเจอต้นไม้เจอหลายๆอย่าง เจอสิ่งที่เราชอบครับผม….

พิธีกร : สำหรับในวันนี้เองก็ขอขอบคุณ คุณทวี อินสุระ อีกครั้งนะครับ ที่มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ 2ชนิดของโลก ซึ่งก็ได้ข้อมูลพอสมควรตั้งแต่เริ่มทำวิจัยจนถึงการต่อยอดงานวิจัย เป็นประโยชน์ทั้งในด้านของการศึกษาคุณสมบัติในด้านของสารเคมีมาทำยารักษาต่างๆ ทั้งในเชิงพาณิชย์ที่มาทำซุ้มดอกไม้ และมาทำดอกที่เป็นดอกประดับได้ และที่สำคัญเท่าที่รู้วันนี้คือชนิดแรกที่ค้นพบไปมีกลีบดอกที่ยาวที่สุดในโลกด้วยนะครับผม และชนิดต่างๆทั่วโลกที่มีอยู่ 100ชนิด และของไทยที่ค้นพบอยู่ตอนนี้คือมากกว่า 15 ชนิดด้วยกันนะครับ และในวันนี้เองก็ต้องขอขอบคุณท่านผู้ชมทุกท่านที่ชมรายการ kulib talkของเราในวันนี้นะครับ ถ้าหากอยากทราบว่าครั้งต่อไปในรายการ kulib talk จะเป็นเรื่องอะไรก็สามารถติดตามข่าวสารได้ทาง facebook ของสำนักหอสมุดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นะครับ และในวันนี้เองก็ขอขอบคุณทุกท่านนะครับ…. สวัสดีครับ….

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของผศ.ดร.วิชาญ เอียดทอง ในคลังความรู้ดิจิตอล มก.

รวมผลงานของคุณทวี อินสุระ ในคลังความรู้ดิจิตอล มก.
อนุกรมวิธานและลักษณะนิเวศบางประการของพรรณไม้สกุลการเวกในประเทศไทย

วนวัฒนวิทยาขั้นสูง / พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ

วนวัฒนวิทยาพื้นฐานการปลูกป่า / รวบรวมและเรียบเรียงโดย ลดาวัลย์ พวงจิตร

KULIB Talk #14
ชีวิตของผู้พิทักษ์ป่าแห่งทุ่งใหญ่นเรศวร
หัวหน้าวิเชียร ชิณวงษ์" ศิษย์เก่า KU59 ฟังแรงบันดาลใจในการปฏิบัติหน้าที่ ความยากลำบาก อุปสรรคต่างๆ

     วันนี้สำนักหอสมุดได้รับเกียรติเป็นอย่างยิ่ง ผู้กล้าจากทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นผู้พิทักษ์สัตว์ป่า และเป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งจบการศึกษาจากคณะวนศาสตร์ KU59 เป็นรุ่นพี่ของเราเอง โดยท่านผู้นี้ทำงานด้วยความยากลำบาก มีความเข้มแข็งอดทน และมีความกล้าหาญเป็นอย่างมาก วันนี้ได้รับเกียรติเป็นอย่างมาก ที่ได้รับชมประสบการณ์การทำงาน และประสบการณ์การใช้ชีวิต ร่วมในรายการของเราในวันนี้ ขอต้อนรับ คุณวิเชียร ชิณวงษ์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ตะวันตก จ.กาญจนบุรี



เมื่อเร็วๆ นี้ คุณวิเชียรเพิ่งได้รับรางวัลพิเศษ จากการยกย่องเชิดชูเกียรติความกล้าหาญ การสร้างสรรค์นวัตกรรม และความมีจริยธรรม จากคดีเสือดำ โดยรางวัลนี้ได้รับจาก โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ UNEP อยากให้เล่าความรู้สึกกับรางวัลครั้งนี้

     รู้สึกไม่คาดฝันว่าทางองค์กรจะมอบรางวัลนี้ให้เรา เราคิดว่าเราทำงานของเราไปเป็นปกติ ขอขอบพระคุณที่ทางสำนักงานได้กรุณามอบรางวัลให้เป็นกำลังใจในการทำงานที่ดีมาก

จากที่ได้รับรางวัลมา อะไรเป็นความหนักหนาที่สุดจากการปฏิบัติคดีที่ผ่านมา

     จริงๆ เป็นผู้ที่ทำงานดูแลป่าและสัตว์ป่า ถ้ามีการทำผิดเกิดขึ้น ถ้าเราเห็นว่าเขากระทำความผิดเราก็ต้องการให้เขาได้รับผลในสิ่งที่เขาทำลงไป สิ่งที่หนักหนาสาหัสในช่วงนั้นคือการเก็บข้อมูลหลักฐานต่างๆ เพื่อที่จะนำสืบว่าคนที่ถูกจับกุม เขามีความผิดอย่างไร เพื่อจะนำไปสู่ทางอัยการจะได้ฟ้องได้ ศาลก็สามารถตัดสินได้ ลงโทษตามที่ศาลเห็นสมควร


ในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ มีอะไรที่รู้สึกเป็นปัญหาในเรื่องของการปฏิบัติงานต่างๆ

     ปัญหามีเกือบทุกที่ ของทุ่งใหญ่นเรศวรจะเป็นพื้นที่ sensitive ต่อความอ่อนไหวของความรู้สึกของหลายๆ คน เพราะเป็นพื้นที่ป่ามรดกโลก เป็นป่าที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย การทำงานในทุ่งใหญ่ต้องมีความรอบคอบ ยึดตามระเบียบกฎหมายที่มี ซึ่งไม่ง่ายเหมือนพื้นที่อื่น เนื่องจากพื้นที่นี้สังคมจับตามองอยู่ มีกลุ่มนักอนุรักษ์ หรือกลุ่มหลายๆ ภาคส่วนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานของเรา ต้องทำงานให้รัดกุม รอบคอบ รวมทั้งให้เกิดผลสำเร็จ

ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้ง นอกเหนือจากภารกิจที่ผ่านมา คุณวิเชียรคิดว่าเรื่องไหนทำให้เราลำบากใจมากที่สุดในการปฏิบัติงาน

     เป็นเรื่องบุคลากรภายในมากกว่า การที่จะให้คนไปทำงานจะต้องมีการเทรนคน เซ็ทคน มีการวางงาน สิ่งที่เป็นปัญหาหนักของการทำงาน เชื่อว่าหน่วยงานป่าไม้ทุกองค์กรมี ปัญหาที่เกิดจากบุคลากรภายในองค์กรมากกว่า ส่วนปัญหาเรื่องศึกนอก บุคคลภายนอก ถึงจะหนักแต่น่าจะอยู่ในข่ายที่เราสามารถรับมือหรือแก้ปัญหาได้ ถ้าองค์กรภายในของเรามีความเข้มแข็ง ต้องปรับปรุงให้ดีขึ้นปัญหาที่เกิดจากองค์การภายในของเรา


สภาพพื้นที่รอบข้างมีผลต่อการปฏิบัติไหม

     มีผล ทุ่งใหญ่นเรศวรโชคดีเป็นพื้นที่ป่า ที่เป็นไข่แดงของป่าตะวันตก ทุ่งใหญ่กับห้วยขาแข้งจะเป็นไข่แดง แล้วก็จะมีป่าอื่นๆ เช่น อุทยานแห่งชาติล้อมรอบอยู่ ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้จะรับแรงปะทะจากภายนอกที่จะเข้ามาคุกคามป่า ถ้าภัยคุกคามมากจะถูกหน่วยงานเหล่านี้คอยปะทะก่อน ถึงจะค่อยเล็ดลอดเข้ามาถึงทุ่งใหญ่ได้ ถือเป็นความโชคดีที่ว่าทุ่งใหญ่กับห้วยขาแข้ง ตั้งอยู่ในเกือบจะเป็นไข่แดงของพื้นที่ชั้นในของผืนป่าตะวันตก ทุ่งใหญ่จะมีอุทยาน เขตรักษาพันธุ์ป่าอื่นๆ เป็นเสมือนรั้วให้ต้องขอบคุณหน่วยงานเหล่านี้ที่เขาดูแลพื้นที่ป่า ทำให้เราตัดปัญหาหลายๆ อย่างที่จะเกิดกับพื้นที่ของเราไปได้เยอะพอสมควร

แต่ละเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าจำนวนบุคลากรเพียงพอไหมต่อการปฏิบัติงาน

     วันนี้ถ้าดูเนื้อที่ป่าที่ต้องดูแลกับเทียบจำนวนคนถือว่าน้อยมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามองอยู่ตลอดเวลา กรมอุทยานก็มองอยู่ตลอดเวลา เชื่อว่ามีทิศทางที่ดีขึ้นจากปัญหาอัตรากำลัง เชื่อว่ามีทิศทางที่ดีขึ้น

จากการติดตามข่าวสารที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคุณวิเชียรและทีมงานมีผลงานในการปกป้องผืนป่าและสัตว์ป่าของประเทศเรามาพอสมควร อยากทราบว่ามีคติในการทำงานอย่างไร เพื่อให้ผ่านอุปสรรคต่างๆ เหล่านี้ไปได้

     ได้จากตอนเรียนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขียวเกษตร เข้มแข็ง กล้าหาญ อดทน สามัคคี ลูกเกษตรก็ผ่านกิจกรรม เช่น รับน้อง หรือกิจกรรมที่เราทำสมัยเรียนได้รับการปลูกฝังหรือคำสอนจากพี่ๆ ลูกเกษตรต้องติดดิน ไม่กลัวความลำบาก สิ่งที่เอาไปใช้ในการทำงานคือจะต้องทำให้ได้ ไม่ว่าจะมีอุปสรรคที่ลำบากแค่ไหน ซึ่งเป็นเรื่องของความพยายาม เอาสร้อยเกษตรหรือสร้อยวนศาสตร์ไปใช้ได้เลย ในการทำงานเกี่ยวกับเรื่องป่าไม้ วนศาสตร์ เข้มแข็ง กล้าหาญ อดทน สามัคคี (พิธีกร อันนี้เป็นคติในการทำงานนำมาใช้จากชีวิตในวัยเรียนในคณะวนศาสตร์ มาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน) อยู่ตึก อยู่หอ ที่เราอยู่มา 4 ปี พอเราไปทำงานเราก็แทบไม่ต้องปรับตัวอะไรมาก เพราะว่าลูกเกษตรส่วนใหญ่ก็มาจากต่างจังหวัดกัน การใช้ชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัยพอไปอยู่ข้างนอกแทบไม่ได้ปรับตัวอะไรเลย ในส่วนของการใช้ชีวิต ในส่วนของการไปทำงาน ลูกเกษตรไปอยู่ไหนก็สามารถทำงานได้



ตลอดระยะเวลาในการทำงานที่ผ่านมามีความประทับอะไรบ้าง นอกจากที่ว่าต้องแก้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ

     ประทับใจการได้เจอสัตว์ป่าที่สำคัญๆ ได้เจอทัศนียภาพหรือวิว จุดที่ซ่อนอยู่ในป่า หลายๆ คนไม่ได้เห็น นี่คือความประทับใจและความโชคดีของเราได้มีโอกาสทำงานดูแลป่า


เป็นความชอบส่วนตัวอยู่แล้วรึเปล่า ตั้งแต่สมัยเรียน รู้ตั้งแต่แรกเลยรึเปล่าว่าชอบสัตว์ป่า พื้นที่ป่าของประเทศไทยต่างๆ

     มาค้นพบตัวเองตอนเรียนอยู่คณะวนศาสตร์ อยู่ปี 2 ตอนนั้นเรียนสาขาชีวพืช ชีววิทยาป่าไม้ ซึ่งเรียนเกี่ยวกับต้นไม้ พอตอนอยู่ปี 2 อ่านหนังสือสัตว์ป่า ดูสารคดี เลยมีความสนใจเปลี่ยนสายไปเรียนด้านการจัดการสัตว์ป่า แต่ยังไงก็หนีไม่พ้นต้นไม้ หนีไม่พ้นป่าอยู่ดี เป็นความชอบมาตั้งนานตั้งแต่เด็กแล้วก็ว่าได้

ในการปฏิบัติงานที่ผ่านมากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เป็นคดีดัง อยากทราบว่าเปลี่ยนชีวิตของคุณวิเชียรไหม จากที่เคยปฏิบัติงานเป็นหัวหน้าเขต เป็นเจ้าหน้าที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เกิดมีข่าวดังมีคนรู้จักมากขึ้น ตอนนี้มีคนรู้จักคุณวิเชียรค่อนข้างมาก รู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้ ทำให้ชีวิตการปฏิบัติงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

     เหมือนกับว่าสังคมมีความคาดหวังมากขึ้นกับตัวเรา เราจะต้องพัฒนา เช่น คุณภาพงาน หรือการปฏิบัติตัว อย่าให้เขาผิดหวัง พยายามไม่ให้มีข่าวเสียหาย แต่ก่อนชีวิตก็ติดดินลูกทุ่ง อยากไปทานข้าวที่ไหนก็ทานได้ อยากทำอะไรก็ไม่มีใครมาสนใจเรา พอมีเหตุการณ์เกิดขึ้น บางอย่างทำเหมือนเดิมไม่ได้ ต้องใช้ชีวิตด้วยความเรียบร้อย (พิธีกร พอไปทานข้าว จะมีคนติดตามข่าว มาขอถ่ายภาพ มีค่อนข้างเยอะอยู่ใช่ไหม) มีบ้าง (พิธีกร เป็นสิ่งที่ประชาชนที่ติดตามข่าวให้ฟีดแบ็คกับคุณวิเชียร รู้สึกว่าเกิดเป็นความคาดหวังของประชาชน) เขามองว่าต้องเป็นคนดีนะ คนดีต้องถือศีลกี่ข้อ หรือต้องทำตัวแบบไหนถึงเรียกคนดี สังคมไทยคิดว่าถ้าเขาเป็นคนดี เขาจะต้องทำตัวประพฤติปฏิบัติ บางทีเราเป็นเด็กชาวบ้าน เด็กที่เรียนป่าไม้ บางสิ่งบางอย่าง คำพูดคำจาจากเดิมที่เราจะพูดอะไรก็ได้ ตอนนี้ก็ต้องคิดให้มากขึ้น เช่น การใช้คำหยาบคายก็ต้องในส่วนที่จะได้ต้องอยู่กับคนที่เราสนิทรู้จักมักคุ้น จะไปด่าคนอื่นเสียๆ หายๆ เหมือนตามอารมณ์ของแต่ก่อน บางทีก็ต้องดูให้ดี ต้องคิดให้มากขึ้น ไปทานข้าวริมทางแล้วดื่มสุรา บางทีก็อาจจะมีคนจำเราได้ มองภาพเรา ภาพจำของเขาคือคนดี แต่มาทำตัวอิเหละเขะขะแบบนี้เขาก็จะมอง ก็มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตมาก

อยากให้เล่าถึงการปฏิบัติงานของแต่ละวันในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ในแต่ละวันตื่นเช้ามาต้องทำอะไรบ้าง เพื่อที่อยากให้น้องๆ รุ่นใหม่ฟัง ที่ยังไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่ต้องทำอะไรบ้าง อยากให้เล่ารายละเอียดให้ฟังได้ไหม

     ขอผสมผสานไปกับเจ้าหน้าที่ด้วยว่าทำอะไรบ้าง ในองค์กรองค์กรหนึ่งมีการแบ่งงานเป็นหลายแผนก หลายฝ่าย หัวหน้าต้องดูทุกฝ่าย ถ้ามีรองหัวหน้า หัวหน้ามอบหมายให้ดูฝ่ายก็ดูแลในฝ่ายนั้นๆ เป็นหลัก หัวหน้าก็ดูเรื่องการวางแผนในการปฏิบัติงาน อย่างเช่น กรมอุทยานเขามีแผนงานอะไรมา หัวหน้าก็เอามาแจงกับเจ้าหน้าที่ เช่น หลังจากเข้าแถวเคารพธงชาติเสร็จแล้ว ก่อนคุณไปทำงานคุณต้องไปเก็บข้อมูลอะไร คุณจะไปออกป่า คุณจะต้องไปเส้นไหน อะไร อย่างไร ถ้าเป็นฝ่ายวิจัย เขาค่อนข้างจะเก่ง เราก็ไม่ได้กำชับอะไรเขามาก น้องที่มาทำงานด้วยกัน ก็เรียนจบวนศาสตร์ เรียนมาทางนี้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าให้คำแนะนำกับเขาในบางสิ่งบางอย่าง เขาก็เก็ตไปทำงานได้เลย (พิธีกร งานวิจัยส่วนมากจะวิจัยเกี่ยวกับสายพันธุ์สัตว์ป่าด้วยรึเปล่า) จริงๆ ทุ่งใหญ่ปีนี้จะมีงานวิจัยเรื่องค้างคาว อย่างนี้เป็นต้น รวมทั้งการสรุปข้อมูลด้านพันธุ์พืช ด้านสัตว์ป่าบางชนิด ฝ่ายวิจัยเราไม่ต้องบอกอะไรเขามาก มีความรู้อยู่แล้ว เขาก็เก็ตไป ส่วนฝ่ายอื่นๆ เช่น ฝ่ายบริหารเหมือนอย่างที่เราทราบว่าจะมีเรื่องงานบุคคล งานการเงิน งานงบประมาณ งานอาคารสถานที่

เจ้าหน้าที่ที่ต้องออกไปพื้นที่ป่า เขาต้องออกไปสำรวจป่าทุกวันไหม หรือบางวันที่จะต้องออกตามพื้นที่

     จริงๆ ไม่ใช่การสำรวจป่า มันเป็นงานหลักของเราคืองานคุ้มครองทรัพยากรป่าและสัตว์ป่า คือเป็นงานลาดตระเวน เพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายป่าไม้ ซึ่งเราจะมีชุดลาดตระเวนอยู่ 20 ชุดลาดตระเวน ตั้งอยู่ตามจุดต่างๆ ในทุ่งใหญ่นเรศวร ในแต่ละเดือนต้องลาดตระเวนป่าไม่น้อยกว่า 15 วันต่อชุด เอาผลการลาดตระเวนป่าเอามาประมวลผลในการประชุมใหญ่ นำเสนอมาว่าแต่ละชุดไปเจออะไรมาบ้าง เช่น เจอปลอกกระสุนปืนที่หล่นในป่าที่ยิงแล้ว ไปเจอแคมป์ที่คนเข้ามาตั้งแคมป์ในป่า เอาข้อมูลเหล่านี้มา หรือแม้กระทั่งเข้าไปเจอสัตว์ป่า ร่องรอยของสัตว์ป่าเก็บข้อมูลเหล่านี้มาด้วย นอกจากถือปืนแบกเป้จะต้องเอาปากกากับสมุดจดบันทึกไปด้วย



สัญญาณมือถือเวลาเข้าป่ามีสัญญาณไหม

     แทบไม่มีเลย มีเฉพาะบางจุดที่อยู่ใกล้ๆ ไม่ไกลนักจากสัญญาณโทรศัพท์ที่ส่งสัญญาณมาถึง เช่น อยู่บนยอดเขา ซึ่งเสาโทรศัพท์อยู่ไม่ไกลก็ยิงหากันได้

เวลาลาดตระเวนแต่ละครั้ง ระยะทางไกลแค่ไหน

     ไม่มีกำหนดระยะทางตายตัวเพียงแต่เราจะกำหนดจำนวนวัน 15 วันอาจจะหลายครั้งในการเข้าตระเวนป่า แต่ในหนึ่งชุดการจะออกไปลาดตระเวนป่าต่อ 1 เที่ยว อยู่ที่การกำหนดแผนระหว่างเจ้าหน้าที่ที่อยู่ด้วยกันในแต่ละชุด ไป 5 วัน ไป 7 วันบ้าง บางชุดไป 10 วัน เที่ยวเดียว 10 วันทั้งไปและกลับ ถ้าไม่เจอภัยคุกคามที่จะต้องไปจับกุมตัวคนก็จะใช้เวลานานมากอยู่ในป่า แต่ถ้าเจอร่องรอยต้องมีการแกะรอย ซึ่งบางทีถ้าไปจับผู้ต้องหาได้ก็ต้องพาผู้ต้องหามาส่ง สอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยเฉลี่ยระยะทางที่เดินประมาณ 50-70 กิโลเมตร ต่อชุดต่อเดือน

ระยะทางที่เดินไกลที่สุดก่อนพัก คุณวิเชียรเคยตรวจสอบไหม ระยะทางกี่กิโลเมตรแต่ละครั้ง

     มีประมาณ 110 กว่ากิโลเมตร ใน 15 วันรวมกันต่อหนึ่งชุด แต่ชุดอื่นอาจไม่ได้ 100 กิโลเมตร อาจจะได้ 80 ก็ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นที่


อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมไปเยอะพอสมควรไหม

     ไม่เยอะ เรื่องเสื้อผ้า เรื่องเครื่องกันหนาวเราคงรู้กันดีอยู่แล้ว แต่จะมีเพิ่มพวกแก๊สกระป๋อง เตาที่ใช้แก๊สกระป๋อง เวลาหน้าฝนสามารถก่อไฟได้เร็ว เวลาฝนตกไม่ต้องเสียเวลามาก่อไฟ หน้าฝนฟืนมันเปียก ส่วนพวกอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น เปลสนาม เสื้อกันฝน ถุงนอน เสื้อกันหนาว มีด ไฟฉาย เป็นพื้นฐานที่เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนป่าหมดทุกที่มีอยู่แล้ว ที่เพิ่มเติมขึ้นมา อุปกรณ์หุงต้ม แก็สกระป๋องบางที่ก็ไม่ได้มีใช้ อันที่เป็นไฮไลท์ของเรา ที่จำเป็นต้องใช้ในการลาดตระเวนเพื่อจะนำมาสู่การได้ข้อมูลสำคัญก็คือ ตัว GPS แผนที่ data sheet ที่จะต้องไปเก็บข้อมูลว่าถ้าเราเดินไปเจอแคมป์ของพราน เราต้องลงข้อมูล ไปเจอปลอกกระสุน เราก็ลงข้อมูล ไปเจอกิ่งไม้ถูกหักอยู่ในป่าลึกต้องมีคนเข้ามา เราก็ลงข้อมูลมา ไปเจอร่องรอยสัตว์ป่า ร่องรอยเสือ ร่องรอยช้าง ก็บันทึกมา ในเดือนนี้ 20 ชุด ที่กระจายลาดตระเวนมา เราก็จะรู้ว่ามีอะไรอยู่ในบ้านเราบ้างที่เราเป็นยามดูแลให้

เวลาเจอสัตว์ป่าเรามีวิธีอย่างไรบ้างในการจัดการ

     จริงๆ ถ่ายรูป (พิธีกร เขาก็จะรู้ว่าเรามา) สัตว์ป่าหลายชนิดมีสัญชาติญาณในการหลบหลีกลี้ภัย ถ้าเป็นสัตว์ใหญ่จะไม่ปรากฏตัวให้เราเห็นเท่าไร เช่น กระทิง สัตว์ผู้ล่า เช่น เสือดำ เสือดาว เสือโคร่งจะหลบคน ถ้าเป็นสัตว์เล็ก เช่น นกจะบินมาให้เห็นง่ายๆ มีอยู่ทั่วไปอยู่แล้ว เจอสัตว์ป่าทำอะไร เจ้าหน้าที่หยุดยืนดู เรียกเพื่อนมาดูและถ่ายรูป จริงอยู่ในป่าเราจะรู้สัญชาติญาณพฤติกรรมของสัตว์ป่า ไม่มีใครต้องวิ่งหนี เว้นเสียแต่ว่า สัตว์จะวิ่งเข้ามาชาร์ตคน มักจะเป็นในเวลาที่มันจวนตัว หรือเผชิญหน้ากับคนในระยะกระชั้นชิด อันนี้อาจมีการมาทำร้ายคนได้ ถ้าเป็นสัตว์โดยทั่วไปที่เข้าไปในป่าระยะทางเป็นหลาย 100 เมตร เขาก็จะได้กลิ่น เขาได้ยินฝีเท้าเรามา เขาก็หลบไป

จากที่ผ่านมา สำรวจลาดตระเวนป่า คุณวิเชียรเห็นปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย จากการลาดตระเวนเจอปัญหาอะไรมากที่สุดเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม

     การใช้ทรัพยากรเพื่อการดำรงชีวิตในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม เช่น การจุดไฟเผาป่า ฤดูหนาวเข้าฤดูแล้ง ก็จุดไฟเผาป่า เพื่อหาของป่า ซึ่งเรารู้ไหมว่าเราจุดไฟเผาป่า ต้นไม้บางชนิดก็ถูกไฟทำอันตราย สัตว์ป่าบางชนิดที่หนีไม่ทัน ก็ถูกไฟครอกตาย หรือว่าทำให้ต้นไม้ชะงักการเจริญเติบโต ถ้าวิเคราะห์ให้ดี ไฟป่าก็มีประโยชน์อีกด้านหนึ่งเช่นกัน ถ้าเป็นป่าเต็งรัง ก็จะช่วยรักษาป่าให้คงเป็นป่าเต็งรัง ซึ่งป่าชนิดนี้ก็มีสัตว์ป่าเข้ามาใช้ประโยชน์ มีทั้งคุณและโทษ ถ้าคนเอาไปใช้โดยมีเจตนาที่ไม่ดี จะเป็นช่องทางให้ป่าเสียหาย จุดไฟเพื่อให้สัตว์มันอออกมาแล้วยิง อย่างนี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ หรือการเข้ามาล่าสัตว์ป่า อย่างนี้เป็นต้น โดยเฉพาะบางคนก็ไม่ใช่เป็นคนที่ยากจน มีพออยู่พอกิน แต่เขาก็มาล่าสัตว์เพื่อความสนุกสนาน ความบันเทิง หรือความชอบส่วนตัว หรือเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าดีๆ แต่เราไปปลูกพืชที่มันไม่เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น พืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่สูง มีความลาดชัน ทำให้เกิดปัญหาเรื่องหน้าดินพังทลาย เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม อันนี้คือสิ่งที่พบ ประเทศเจอปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เหมาะสม

ส่วนใหญ่หากเกิดไฟป่าขึ้นมา เราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นไฟป่าที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ หรือไฟป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

     ตั้งแต่ทำงานมา ไฟ 100% ในเมืองไทยเกิดจากคนจุดทั้งนั้น โอกาสที่ต้นไม้ไปเสียดสีกันแล้วเกิดไฟ หรือฟ้าผ่าแล้วเกิดไฟ ไม่เคยเห็น เจ้าหน้าที่ที่เคยทำงานมา เขาก็บอกไม่เคยเห็น เกิดจากน้ำมือมนุษย์ทั้งสิ้น

ย้อนตั้งแต่เป็นนิสิตคณะวนศาสตร์ ตอนแรกเรียนชีววิทยาป่าไม้ เปลี่ยนมาเป็นทางด้านการจัดการสัตว์ป่า อยากทราบว่าถ้าอยากมาทำงานทางด้านการรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จำเป็นไหมต้องเรียนทางด้านการจัดการสัตว์ป่า หรือเรียนทางด้านเกี่ยวกับพืชก็สามารถมาปฏิบัติงานทางด้านนี้ได้

     ชีวิตจริงพอมาทำงาน มันเลือกไม่ได้ คนที่มาทำงานด้านสัตว์ป่าก็ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่จบด้านการจัดการสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว เพียงแต่ว่าความรู้ด้านนี้สามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ บางครั้งก็ได้จากประสบการณ์จริงที่พบจากการทำงาน การเรียนในคณะนี้ สาขานี้ มีความสำคัญระดับหนึ่ง จำเป็นระดับหนึ่ง ท้ายที่สุดการมาทำงานในพื้นที่จริง เป็นตัวที่คอยสอนเรามากกว่า ใครที่ไม่ได้เรียนมาทางด้านสัตว์ป่า ก็สามารถมาทำงานศึกษาเพิ่มเติมได้ (พิธีกร ในที่ทำงานไม่ได้มีเฉพาะเด็กที่จบจากวนศาสตร์ใช่ไหม มีหลากหลายสาขามาทำงานด้านนี้ก็ได้) ก็ได้ ถ้ามีความสนใจจริง ตั้งใจจริง สามารถอยู่กับป่าได้ อยู่กับความยากลำบาก อยู่กับป่าที่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหมือนในเมือง

ทำไมถึงสนใจป่าไม้เป็นพิเศษ

     ตอนเด็กๆ บ้านก็ทำไร่ทำนา โตมาก็เห็นต้นไม้ก็ชอบ เวลาพ่อพาไปไร่ไปนาจะเข้าไปในป่าที่อยู่ติดนาเราด้วย รู้สึกว่ามันท้าทาย ตอนที่ยังเรียนอยู่มัธยมถ้ามีโอกาสก็จะชวนเพื่อนไปเที่ยวตามอุทยาน ตามป่า แต่เราก็ไม่ได้ไปลึก ไปในส่วนเส้นทางท่องเที่ยวหรือจุดชมวิว ได้ยินคำว่าวนศาสตร์ ตอนแรกก็คิดว่า มันเป็นคณะอะไร วนต้นไม้รึเปล่า เคยได้ยินชื่อวนอุทยาน น่าจะเป็นป่า ก็เลยไปถามอาจารย์ จึงทราบว่าเรียนเรื่องของป่า ของต้นไม้ ของการอนุรักษ์

ตอนนั้นก็เลยต้องเรียนคณะวนศาสตร์ ตั้งเป้าหมายตั้งแต่เรียนมัธยมเลยไหม

     ก็อยากเรียน พอเอ็นทรานส์เข้ามาได้ก็ถือเป็นความโชคดี ที่เข้ามาเรียนสมใจ

ที่ต้องเข้ามาเรียนคณะวนศาสตร์รู้ไหมว่า พอจบไปทำงานต้องเสี่ยงอันตรายหลายอย่าง ทั้งจากสัตว์ป่าเองจากผู้ที่ลักลอบทำผิดกฎหมาย

     ไม่ทราบ คือรู้ว่าจบไปต้องทำงานเกี่ยวกับต้นไม้หรือป่าแน่ เราก็คิดว่าต้องได้ไปท่องในป่า ไปผจญภัย ได้เจอสิงสาราสัตว์ บางทีอ่านจากนิยายบ้าง ดูการ์ตูน ในหนังบางเรื่องบ้าง คิดว่าเป็นอย่างนั้น คิดว่าสวยหรู สวยงาม จะสนุกมากกว่า น่าจะสนุก ภาพก่อนที่จะเอ็นทรานส์ พอเข้ามาปี 1 มาเดือนแรกๆ คิดว่ามันน่าจะอย่างนี้ ยังไม่รู้ ทางคณะมีกิจกรรมรับน้องของคณะ ของมหาวิทยาลัย จบไปต้องไปเจอรายละเอียดในการทำงานยังไง ต้องมีความยากลำบากแค่ไหน อันนี้ไม่รู้ คิดว่าต้องสนุกแน่

พอเข้ามาเรียนสิ่งที่คาดหวังตอนก่อนเข้ามา วนศาสตร์ แล้วตอนเข้ามาเหมือนอย่างที่เราคาดหวังไหม

     เหมือนเป็นบางอย่างได้บางอย่าง ได้ไปผจญภัยได้แน่นอน ได้เจอความสวยงาม ความงดงามของธรรมชาติ ได้เจอสัตว์ป่าที่สำคัญๆ อันนี้เหมือนที่เราวาดหวังไว้ เรื่องที่มันสนุก ก็จะมีทั้งสุขและลำบาก ซึ่งชีวิตจริงป่าไม้ต้องเป็นหน่วยงานที่เรียกว่า จากที่ทำอยู่เป็นหน่วยงานที่ไม่ได้ไปเป็นผู้ให้โดยตรงเหมือนหน่วยงานอื่นๆ เช่น เวลาเจอแพทย์พยาบาลเป็นการรักษาคนที่ป่วยที่จะตายให้รอด ให้หาย เจอเกษตร เจอประมง มีพันธุ์พืชมาแจก พันธุ์สัตว์มาแจก ผู้ได้รับเขาก็มีความสุข ความพอใจ แต่ของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เป็นงานที่ไม่ได้ให้อะไรเขาตรงๆ แต่เป็นผู้รักษาทรัพยากรไว้ ซึ่งทรัพยากรนี้จะมีคนอยากเอาไปใช้ มีความขัดแย้งกัน นี่คือการทำงานที่อยู่บนพื้นฐานของความต้องการของคน แล้วเราไปสวนกระแสความต้องการ ทุกหน่วยงานของป่าไม้ก็จะเจอรูปแบบนี้แทบทั้งสิ้น


ในส่วนของสัตว์ป่าเอง ผู้ที่ลักลอบทำผิดตามกฎหมาย มีวิธีป้องกันสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร ไม่ให้เกิดอันตรายกับเรา(อย่างเช่นสัตว์ป่าเรามีวิธีป้องกันตัวอย่างไรบ้าง)

     การป้องกันมีหลายลักษณะ อยากเรียนก่อนว่าสัตว์ป่า ถ้าเราไม่ทำอะไรเขาก่อน น้อยนักที่เขาจะมาทำร้ายเรา หรือบางทีถ้าไม่จวนตัว เขาไม่มาทำร้ายมนุษย์ โดยส่วนใหญ่สัตว์ป่าเหล่านี้ คนเข้ามาในป่า จมูกเขาดี หูเขาดี ตาเขาดี เขาก็จะหลบเลี่ยงไปก่อน เว้นแต่ว่ามันจวนตัว หรือเจอกันในระยะกระชั้นชิด ด้วยความตกใจต่างคนต่างทำอะไรไม่ถูก สัตว์ป่า เช่น หมีอาจจะทำร้ายคน ถ้าสัตว์มีลูกอ่อน ถ้าสัตว์ตัวนั้นเป็นสัตว์ใหญ่ มีเขี้ยว มีคม มีเล็บแต่เขาก็ไล่อาละวาดเพื่อป้องกันตัว ป้องกันลูกของเขา ถ้าเจอสัตว์ป่าทำอย่างไร อย่างเช่น ถ้าเจอเสือจากประสบการณ์ที่เคยได้ยิน คนที่เขาเจอเขาเล่าให้ฟัง ไม่เคยเจอเสือ อย่าวิ่ง ถ้าวิ่งมันจะคิดว่าเราตกใจกลัวมัน หรือว่าเป็นเหยื่อที่จะต้องตามตะครุบ ล่าสุดมีเจ้าหน้าที่เจอ เขาใจแข็ง ยืนประจันหน้า สุดท้ายเสือก็ต่างคนต่างไป หรือมีบางกรณี เช่น ช้าง ถ้าเจอช้าง ถ้ามันหูกาง ยกหางเมื่อไหร่ คุณต้องมีระยะห่างกับมันที่เหมาะสม อันนั้นมันโมโหแล้ว อารมณ์ไม่ดี กระพือหู ยกหาง ดูแล้วว่ามันรู้สึกไม่ค่อยโอเคกับเราก็อยู่ให้ห่าง ถ้าเจอช้างไล่ต้องวิ่ง ถ้าอยู่ในป่า ช้างไม่เหมือนตามท้องถนน ถ้าไปเจอมันในระยะไม่ใช่กระชั้นชิด รู้ว่ามีช้างอยู่ต้องอยู่ให้ห่าง (พิธีกร ช้างป่าไม่ได้เชื่องใช่ไหม) ช้างป่าขึ้นอยู่กับพื้นที่ แต่ว่าถ้าช้างเราอยู่ในป่าไม่มีถนนลาดยาง ไม่มีถนนให้เราหนี อยู่ในป่าลึกๆ รกๆ อยู่ห่างๆ ดีกว่า แต่ว่าถ้าคุณจะไปสำรวจพฤติกรรมมัน ไปสำรวจช้าง อันนี้เป็นอีกเคสหนึ่ง

ในกรณีผู้ลักลอบทำผิดกฎหมาย เราจะมีวิธีป้องกันตัวอย่างไรบ้าง แน่นอนว่าจะเกิดการปะทะอะไรกันบ้าง

     ป้องกันตัวอย่างไร ต้องใช้ความรัดกุม เจ้าหน้าที่เมื่อเจอผู้กระทำความผิดซึ่งมีอาวุธ ขอเรียนว่าถ้าจะจับกุมคนเหล่านี้ เราต้องมีจำนวนที่มากกว่า มีคู่บัดดี้เวลาเข้าไปควบคุมตัว ไม่มีสูตรตายตัวต้องทำอย่างไร ที่เคยเห็นก็อาศัยจังหวะที่เขาเผลอ หรือจะใช้ลักษณะของการซุ่ม หมอบ คลานเข้าไปให้ใกล้ตัวบุคคลเขามากที่สุด ก่อนเข้าไปเราต้องดูก่อนว่า เขามีปืนไหม อะไรอย่างไร บางครั้งปืนเขาอาจจะเหน็บอยู่ที่เอวก็ได้ บางครั้งปืนอาจเป็นปืนยาวซึ่งเขาสะพายอยู่ก็ได้ ก่อนที่เราจะเข้าไปจับกุม ควบคุมตัวก็ต้องดูให้มั่นใจ ไม่ใช่ว่าเห็นคนอยู่ในป่าก็วิ่งทะเล่อทะล่าเข้าไปบางทีก็เสี่ยง ก็ต้องมีทีม มีการวางแผน ผ่านการฝึกมา ถึงเข้าไปทำงาน ถ้าไม่มั่นใจ คิดว่าอย่าเพิ่งเข้าไปจับทันที วันนี้จับไม่ได้ พรุ่งนี้ยังมีเวลา จับพรุ่งนี้ไม่ได้ วันต่อไปถ้าเขาเข้ามากระทำผิดอีก มีโอกาสที่เราจะจับได้ใหม่ ถ้าเราทะเล่อทะล่าเข้าไปโดยที่ไม่มีประสบการณ์ หรือไม่รัดกุม แล้วเราบาดเจ็บ หรือเราตายก็จะไม่คุ้ม

ย้อนมาในเรื่องสมัยเรียนบ้าง วนศาสตร์กับห้องสมุดของมหาวิทยาลัยก็อยู่ไม่ห่างกันมาก ตอนเรียนคุณวิเชียรเข้าห้องสมุดของหอกลางบ้างไหม

     ก็ไม่บ่อย แต่ตอนอยู่ปี 1 ปี 2 ตอนนั้นจะเข้าค่อนข้างมาก เพราะว่าในห้องสมุดมีหนังสืออยู่เยอะ คล้ายๆ ว่าเป็นจุด เป็นสถานที่ที่เราไปนั่งคุยกับเพื่อนได้ ทำรายงายได้ แอร์ก็เย็น เย็นจัดมาก บางคนก็แอบมาหลับในห้องสมุดก็มี ตอนนั้นเข้าบ่อยไหม ใช้คำว่าไม่ค่อยบ่อย เพราะว่าโดยลักษณะแล้วเราไม่ใช่เด็กหนอนหนังสือ จะเข้าก็คืออาจารย์ให้ทำรายงาน แล้วก็ตอนนั้นอินเตอร์เน็ตยังไม่แบบทุกวันนี้ ยังไม่มี google ที่ให้ search หา เราต้องเข้ามาห้องสมุด ยืมหนังสือไปทำรายงานมาคืนก็ว่าไป ถ้าเทียบกับตอนนี้ ตอนนั้นเข้าห้องสมุดมากกว่าตอนนี้ ถ้ายังเรียนอยู่นะ (พิธีกร สมัยนี้หาข้อมูลจากที่ไหนก็ได้) มีทั้งผลดีและผลที่ต้องพึงระวัง

มีหนังสือที่ชอบอ่านไหม นอกจากตำราเรียน เป็นหนังสือแนวไหน

     ชอบอ่านประวัติศาสตร์การเมือง ทุกวันนี้ก็ชอบซื้อหนังสือแนวนี้มาอ่าน

ในการปฏิบัติงานอาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม คุณวิเชียรหาข้อมูลจากแหล่งไหนบ้างในการปฏิบัติงาน หรือข้อมูลทางด้านป่าไม้

     ชอบโทรหาเพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้อง อยากได้เรื่องนี้ไปหาจากที่ไหน พี่มีข้อมูลไหม ถ้าทำงานอยู่ในป่า ทุ่งใหญ่นเรศวรเป็นพื้นที่สัญญาณอินเตอร์เน็ตแย่มาก โทรหาเพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้อง คนที่รู้จักที่พอจะให้คำแนะนำเราได้ ถ้ากลับออกมาในเมืองที่มีสัญญาณโทรศัพท์ใช้อินเตอร์เน็ตในการค้นหา ส่วนถ้าจะหาหนังสือเป็นเล่ม ที่ทำงานก็มีหนังสือเป็นห้องสมุดของหน่วยงานข้อมูลเฉพาะในการปฏิบัติงาน

เทคโนโลยีเปลี่ยนไปค่อนข้างรวดเร็ว คุณวิเชียรอยากเห็นอะไรในเด็กรุ่นใหม่สมัยนี้ อยากให้เขามองอะไรเป็นเรื่องสำคัญในอันดับแรก ในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการเรียน

     ถ้าเป็นส่วนในการทำงานด้านป่าไม้ก็ต้องมองว่า คนที่จะไปอยู่ป่าก็ไม่ควรสร้างเงื่อนไขว่าที่ทำงานนั้นๆ จะต้องมีสัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณอินเตอร์เน็ตที่มันรวดเร็วเสมอไป น้องๆ บางคนโตมาในยุคดิจิตอล ขาดไม่ได้ ยอมรับ ในป่าแม้กระทั่งบ้านพักซึ่งอยู่ในหน่วยงานแต่อยู่ในป่า สิ่งเหล่านี้ก็มีไม่ครอบคลุม ไม่เพียงพอ อย่าไปคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญจนเกินไป จนเราละเลยในเรื่องการมาทำงานดูแลทรัพยากรที่เราเรียนมา แต่มีเทคโนโลยีก็ดี ทำให้การทำงานก้าวกระโดด รวดเร็ว ชับไว

ช่วงท้ายของรายการแล้ว มีการวางแผนหรือมองภาพอนาคตตัวเอง ไว้อย่างไรบ้าง นับจากนี้

     เป็นคำถามที่ตอบยากมาก ก็ไม่ได้วางแผนอะไรไว้ คิดว่าทำงานให้งานกับเรื่องครอบครัวไปด้วยกันได้ ไม่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง ให้ชีวิตบะลานซ์ ทั้งเรื่องงานและครอบครัวเป็นสิ่งที่จะต้องทำให้ดีควบคู่กันไป เพราะถ้าเราเริ่มต้นจากตัวเราเองพร้อมแล้ว การทำงานเราก็จะไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ทำงานได้อย่างเต็มสปีดของเรา
ทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดที่เกี่ยวข้อง

ทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดที่เกี่ยวข้อง

ชื่อเรื่อง

  1. ป่าไม้ไทย / หมื่นวลี
  2. อุทยานแห่งชาติ [electronic resource]
  3. อุทยานแห่งชาติและการอนุรักษ์ [electronic resource] / กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
  4. ทุ่งใหญ่นเรศวร [videorecording]
  5. ห้วยขาแข้ง : มรดกสัตว์ป่าและพืชพันธุ์ของโลก
  6. สัตว์ป่าเมืองไทย / สุรินทร์ มัจฉาชีพ
  7. สัตว์ป่า / บำรุง วัฒนารมย์
  8. สัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร / นริศ ภูมิภาคพันธ์ และอุทิศ กุฏอินทร์
  9. สัตว์ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง / นริศ ภูมิภาคพันธ์, อุทิศ กุฎอินทร์,นพรัตน์ นาคสถิตย์
  10. สัตว์ป่า : คู่มือเพื่อการป้องกันและปราบปรามการลักลอบค้าสัตว์ป่า / ธัญญา จั่นอาจ...[และคนอื่นๆ]
  11. วนศาสตร์ชุมชนสำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมป่าไม้ / ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  12. การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้/ สุนทร คำยอง
  13. การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า / ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ กรมป่าไม้
  14. ไฟป่า [electronic resource] = Wildfires
  15. sustainable forest management
  16. wildlife
  17. กฎหมายป่าไม้และสัตว์ป่า / รวบรวมโดย จรรยา แวววุฒินันท์
  18. กฎหมายป่าไม้พิมพ์ พ.ศ.2530 / รวบรวมและเรียงโดย นิตยสารโลกตำรวจ

 

 

 



ฟังเคล็ดลับการเรียนให้ประสบความสำเร็จ จากคุณอาทิตย์ เรืองสุรเกียรติ นิสิตคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ได้รับ “ทุนพระราชทานรางวัลเรียนดี ทุนภูมิพล” ประจำปี 2561


ช่วยเล่าความรู้สึกหลังจากที่ได้รับทุนพระราชทานในครั้งนี้หน่อยคะ


      ผมมีความรู้สึกเป็นเกียติริอย่างสูงครับที่ได้รับเลือกให้เข้ามารับการสัมภาษณ์และเข้าร่วมพิธีพระราชทานทุน มันเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งครับที่ได้รับทุนภูมิพลนี้ ทีนี้ผมมองว่าคุณค่าของมันไม่ได้อยู่ที่ตัวเงินที่เราได้รับมันยังคงเป็นโอกาส เราสามารถนำไปกรอกในประวิติหรือ CV เพื่อใช้ในการสมัครงานหรือศึกษาต่อทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศได้ด้วย ผมมองว่าถ้าเราสามารถมอบโอกาสนี้กลับไปให้กับคนอื่น ๆ ในอนาคตให้กับคนรุ่นหลัง ๆ มันก็จะเป็นสิ่งที่ดี ในอนาคตผมก็อยากจะมีโอกาสที่จะเป็นคนมอบทุนเองให้กับเด็ก ๆ ต่อ ๆ ไปครับ ที่ขาดแคลงคุณทรัพย์


ทราบมาว่าในการขอทุนจะต้องมีขั้นตอนการสัมภาษณ์ อยากจะให้พี่อาทิตย์เล่าถึงขั้นตอนการ อยากจะรู้ว่าตอนที่สัมภาษณ์มีคำถามประมาณไหนบ้างคะ


     การสัมภาษณ์ทุนในครั้งนี้ เนื่องจากทุนภูมิพลเป็นทุนที่เราไม่ได้สมัครเข้าไปเอง เพราะฉะนั้นเริ่มจากเขาจะมีจดหมายแจ้งมาทางคณะและแจ้งมาที่ตัวเราว่าเราได้รับเลือกเป็นตัวแทนหรือมีสิทธิเข้าชิงทุนภูมิพล เราก็เข้ารับการสัมภาษณ์ตามที่เขานัด พอเข้าไปเราจะเจอกับคนที่ได้รับสิทธิเข้ามาชิงทุนภูมิพลเหมือนกัน ก็จะมีนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสูง ๆ พอเข้าไปห้องสัมภาษณ์เราก็จะเจอกับคณะกรรมการ 4 – 5 ท่าน พร้อมที่จะถามคำถามเราที่จะตัดสินมีคุณสมบัติครบถ้วนหรือเปล่า คำถามก็จะประกอบไปด้วยประวัติ ประวัติการขาดแคลงคุณทรัพย์ ปัญหาต่าง ๆ ที่เคยพบเจอ ผลงานต่าง ๆ รวมไปถึงการเป็นแบบอย่างที่ดีของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วยครับ

libtalk24 2


อย่างที่เราทราบกันนะคะว่าเกรดเฉลี่ยของพี่อาทิตย์สูงมาก ๆ เลยนะคะ นอกจากด้านการเรียนที่โดดเด่นแล้ว ด้านกิจกรรมยังมีความสนใจในกิจกรรมไหนเป็นพิเศษไหมคะ


      กิจกรรมที่ผมสนใจคือเรื่องของการอ่านหนังสือและการเล่นเกมส์ครับ เรื่องอ่านหนังสือเราก็สามารถอ่านหนังสืออะไรก็ได้อ่านไปเถอะ ส่วนการเล่นเกมส์ก็จะมาชี้แจงเพิ่มนิดหนึ่งว่า เกมส์ไมได้กำจัดอยู๋แค่ว่าคุณเล่นอยู่บนโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือว่าคอนโซลต่าง ๆ เกมส์นี้ผมหมายถึงเกมส์ทั่วไปอย่างเช่น พวกไพ่ หมากกระดาษ หรือว่าบอร์ดเกมส์ เกมส์พวกนี้มันช่วยให้เราพัฒนาความคิดศักยภาพทางสมอง ความสามารถการคิดเชิงระบบได้ดีกว่าการทำข้อสอบอีกครับ เพราะฉะนั้นถ้าเรายกตัวอย่างเกมส์หนึ่งที่ทุกคนรู้จักคือ หมากรุก ช่วยในการอ่านความคิดของอีกฝ่ายล่วงหน้า ซึ่งจะมีประโยชน์มาก ๆ ในการตัดช้อยอีกด้วยถ้าอีกฝ่ายเดินแบบนี้เราก็ต้องไม่เดินแบบนั้นอะไรอย่างนี้ครับ มันสามารถช่วยให้การทำข้อสอบในการตัดช้อย ในการคาดการความคิดของอาจารย์ สำหรับเรื่องเกมส์นะครับสิ่งสำคัญก็คือ ถ้าคุณชอบคุณสามารถที่ขะเล่นได้แต่ว่าคุณต้องแบ่งเวลาให้เป็น การเล่นเกมส์วันละ 5 – 6 ชั่วโมง มันไม่ค่อยมีประโยชน์เพราะว่า ประโยชน์ที่คุณจะได้รับแค่เล่นวันละไม่กี่ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว ถ้าคุณเล่นน้อยเกินไปก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรแต่ถ้าว่าคุณเล่นมากเกินไปคุณบอกว่าคุณอยากจะเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตแค่ 5-6 ชั่วโมงมันก็ไม่พอเหมือนกันครับ คุณก็ต้องจัดการเวลาให้ดี


นอกจากการเรียนหรือว่ากิจกรรมก็มาพูดถึงคณะบริหารธุรกิจที่พี่อาทิตย์เรียนอยู่กันบ้างดีกว่านะคะ อยากทราบถึงจุดที่ทำให้สนใจมาเรียนด้านนี้และก็เรียนหนักไหมคะ


      จริง ๆ ผมจบนักเรียนจากสาธิตเกษตรแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตอนนั้นคณะบริหารธุรกิจพึ่งเปิดหลักสูตรนานาชาติ อาจารย์ที่นั้นเลยเปิดโอกาสให้ผมได้รับโอกาสที่สามารถเข้ามาศึกษาต่อได้เลย โดยที่ไม่ต้องผ่านการสอบ ผมเลยรับโอกาสนั้นไว้ เพราะที่บ้านก็เป็นนักธุรกิจกันอยู่แล้วก็เลยคิดว่าเป็นโอกาสที่ดี อีกอย่างหนึ่งอันนี้ก็เป็นคำถามในการสัมภาษณ์เหมือนกันครับ คุณคิดว่าอะไรที่เป็นปัญหาของคณะบริหารธุรกิจ ผมคิดว่าคนไทยไม่ค่อยใส่ใจในการบริหารธุรกิจเท่าไหร่มันเป็นช้อยล่าง ๆ รองมาจาก แพทย์ วิศวกรรม สถาปัตย์ ลงมาอีก ทำให้เรามีปัญหาในการบริหารงานทำให้คนส่วนใหญ่คิดไม่ค่อยเป็นระบบ คิดแค่ว่าข้างหน้าไม่ได้คิดมองการไกลเท่าไหร่ ผมคิดว่าถ้าเราหันมาสนใจและกระจายเก่ง ๆ ในประเทศไปหลากหลายอาชีพมันจะช่วยพัฒนาได้มากขึ้น ส่วนเรื่องเรียนยากไหมอันนี้คือถ้าเทียบผมไม่สามารถบอกได้ว่าเรียนยากหรือเปล่าแต่ถ้าเทียบในเรื่องของเกรดค่าเฉลี่ยของแต่ละคนในห้องก็ถือว่าหนักพอสมควรครับเพราะเกรดก็อยู่ที่สองกว่า ๆ


ในการเรียนมีกฎหรือระเบียบอะไรหรือเปล่าหรือว่าเคล็ดลับอะไรช่วยแนะนำให้กับเพื่อน ๆ น้อง ๆ หน่อยคะ


      การใช้ชีวิตในการเรียนนะครับก็คือ 2 อย่าง ง่าย ๆ หนึ่งก็คือ เราต้องเรียนอย่างมีเป้าหมายถ้าเราไม่มีเป้าหมายเราจะไม่รู้ทิศทางที่เราจะไปเราก็ไม่สามารถวางแผนอะไรได้ อีกอย่างหนึ่งก็คืออย่าทำแค่พอผ่านสิ่งที่คุณจะพบเจอในชีวิตมหาลัยที่แน่ ๆ เลยในห้องของคุณจะมีคนหนึ่งที่ยกมือถามอาจารย์ อาจารย์ครับตรงนี้ออกข้อสอบไหมครับ การที่คุณทำแบบนี้แสดงว่าคุณกำลังโฟกัสกับตรงนั้นแค่ว่าออกข้อสอบหรือไม่ออกข้อสอบถ้าออกข้อสอบคุณก็จะจำถ้าไม่ออกคุณก็จะไม่ทำ มันเป็นปัญหาเพราะว่าเวลาเราเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งเราจะไปโฟกัสกับจุดหนึ่งไม่ได้ สิ่งที่สำคัญเราต้องรู้ในองค์รวมรู้ทั้งหมดของตัววิชานั้นคุณถึงจะสามารถทำข้อสอบได้ ส่วนเคล็ดลับมันก็ไม่เชิงว่าเป็นเคล็ดลับอันนี้ส่วนของผมเองนะครับก็จะแบ่งออกเป็นเรื่องการเรียนกับการสอบก่อนเรียนเราต้องเตรียมตัวอะไรบ้างบ้างหลายคนคิดว่าควรเตรียมตัวอ่านหนังสือล่วงหน้าก่อนจริง ๆ มันก็ไม่ถูกซะทีเดียว คุณเอาเวลาของคุณที่ว่าง ๆ มานั่งอ่านหนังสือล่วงหน้าก่อนมันเป็นการใช้เวลาที่ไม่คุ้มค่าซะเท่าไหร่ควรอ่านแค่พอดีอย่าไปอ่านมากจนเกินไปเพราะว่าคุณจำได้ไม่หมด เอาเวลาล่วงหน้ามาอ่านหนังสืออะไรก็ได้ที่คิดว่าจะได้ใช้ในชีวิตหรือในอนาคตจะดีกว่า พอเข้ามาถึงเวลาในคาบเรียนสิ่งที่ควรทำคือตั้งใจฟังอาจารย์จดแต่พอดีอย่าจดมากเกินไปทุกคำพูดเพราะมันไม่ได้ช่วยอะไร หลังเลิกเรียนควรมาทบทวนบทเรียนว่าเรียนอะไรบ้างเพราะเมื่อเวลาผ่านไปซะชั่วโมงสองชั่วโมงความรู้คุณจะเริ่มหายไปกว่าครั่งแล้วหลังจากที่คุณเริ่มเรียน การที่คุณทบทวนอย่างสม่ำเสมอทำให้คุณจำระยะยาวและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ พอมาถึงช่วงสอบอันนี้สำคัญมากโดยเฉพาะคนในห้องผมเขาชอบทำในสิ่งที่เรียกว่าสมุดจดหรือชีสบันทึกหรือสรุปอะไรก็ตามแต่เอาไฮไลท์มาขีดลงบนหนังสืออีกรอบหนึ่งซึ่งตรงนี้นะครับมันให้ให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าความสำเร็จแบบปลอม ๆ คือคุณทำแล้วคุณรู้สึกว่าสำเร็จอะไรอย่างหนึ่งแล้วเราทำชีทสรุปเสร็จแล้วสุดท้ายชีทตัวนั้นจะได้เอามาอ่านน้อยมากต่อให้มาเปิดคุณก็จะจำแค่สิ่งที่คุณคิดว่ามันสำคัญแต่มันอาจจะไม่สำคัญจริง ๆ ทำให้ผลคะแนนของคุณแย่ครับ ในระหว่างสอบคุณต้องพยายามนึกอะไรก็ได้ที่คุณนึกได้ที่เกี่ยวโยงกับการที่คุณอยู่ในห้องเรียนมันจะช่วยให้คุณสามารถย้อนกับไปคิดได้ ถ้าก่อนสอบคุณไม่คิดว่าการเรียนเป็นการแข่งขันคุณสามารถช่วยสอบเพื่อนในห้องมันจะทำให้คุณจำได้ยิ่งขึ้นในห้องสอบ หลังจากสอบแล้วถ้ามีโอกาส ถ้าอาจารย์บอกข้อผิดพลาดของเราข้อไหนที่เราทำผิดคุณควรที่จะถามและรู้รายระเอียดให้ได้มากที่สุดเกี่ยวกับความผิดพลาดในตัวเองเพราะว่าเวลาคุณสอบ midterm คุณยังมีเวลาที่จะแก้ตัวใน final พอไปถึง final โอกาสแก้ตัวมันน้อยถ้าคุณผิดแล้วคุณไม่รู้ตัวว่าคุณผิดใน final คุณจะผิดแน่ ๆ เพราะฉะนั้นอย่าทึ้งโอกาสนี้ไปและพยายามปรับปรุงแก้ไขตัวเองครับ


ในเรื่องของการเรียนมองว่าอะไรคือความท้าทายรวมถึงชีวิตในรั้วมหาลัยอะไรคือสิ่งที่ท้าทายสำหรับพี่อาทิตย์คะ


      สำหรับผมมองว่ามันก็มีหลายรูปแบบอย่างเช่น วิชาที่เรียนถ้าเราถนัดแต่ด้านอะไรคุณมีสองตัวเลือกลงวิชาที่คุณถนัดคุณจะได้เก็บเกรดและคุณจะได้มีเวลาว่างไปทำอย่างอื่น หรือคุณมีสิทธิที่ลงวิชาที่ไม่ถนัดคุณจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในการท้าทายตัวเองอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีการท้าทายอย่างอาจารย์และเพื่อน สำหรับอาจารย์เวลาเราเข้าเรียนเราสามารถถามรุ่นพี่ได้ว่าอาจารย์คนนี้เป็นอย่างไรคนนี้สอนดีไหมคนนี้สอนไม่ดีคนนี้โหดหรือเปล่าพอคุณรู้แบบนี้แล้วสิ่งที่ผมจะแนะนำคือให้คุณคิดว่าคนไหนคืออาจารย์ที่ดีที่สุดคนไหนคืออาจารย์ที่แย่ที่สุดที่เป็นไปได้แล้วลงเรียนทั้งสองวิชา เพราะอาจารย์ที่คุณคิดว่าดีและแย่เนี่ยคุณสามารถเรียนรู้จากพวกเขาได้ทั้งคู่ครับ อาจารย์ที่ดีคุณอาจจะเรียนรู้เรื่องของการคิดอย่างเป็นระบบการอธิบายให้คนอื่นเข้าใจ การเตรียมการเรียนการสอน ส่วนอาจารย์ที่คิดว่าไม่ดีในเรื่องของบางคนอาจจะคิดว่าอาจารย์นี้โหดเหี้ยเคร่งครัดในกฎระเบียบมาก ๆ สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้จากเขาก็คือความตรงต่อเวลา คุณต้องส่งงานตรงเวลา คุณต้องเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา คุณต้องทำอะไรหลาย ๆ ให้ตรงที่เขาต้องการ ส่วนอาจารย์ที่คุณคดว่าเขาสอนไม่ดีชอบอ่านตามสไลด์ซึ่งมีแน่ ๆ สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้จากเขาคือ คุณจะได้หัดเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง หลังจากที่คุณฟังเขามาคุณจะต้องกลั่นกรองอีกรอบหนึ่งคุณจะได้ฝึกการทำเลคเชอร์จริง ๆ ที่ไม่ใช่แค่จดตามเขาต้องคิดอีกขั้นหนึ่ง นี้ก็จะเป็นความท้าทายอีกขั้นหนึ่ง ส่วนสุดท้ายคือความท้าทายแบบเพื่อน คนก็จะบอกว่าเจอเพื่อนที่ไม่ค่อยดีขนาดต้องซื้อหนังสือคบกับคนเฮงซวยมานั่งอ่าน หรือเจอเพื่อนที่ชอบการแข่งขันมาก ๆ แบบว่าสุดยอดแห่งความ competition เลย แข่งขันเอาเป็นเอาตายจนเครียดมาก ๆ ผมไม่แนะนำให้กดดันตัวเองมากเกินไปกับการแข่งขันเพราะบางทีมันไม่ได้ประโยชน์จริง ๆ ถ้าแข่งขันเล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างเพื่อนในการเกทับถมกันในเรื่องคะแนนเกิดการพัฒนาตัวเองแบบนี้ถือว่าดีครับ แต่อย่าเอาเป็นเอาตายกับมันอย่าพยายามไปแข่งอะไรมากจนเกินไปเพราะมันเครียดอาจจะจบลงในการฆ่าตัวตายมันไม่ดีเลย


ในตอนนี้สำหรับพี่อาทิตย์เรื่องไหนที่โฟกัสมากที่สุดในขณะนี้คะ


      สำหรับเรื่องที่โฟกัสมากที่สุดมี 2 เรื่องครับ คือ หนึ่งเรื่องเรียนอย่างที่เคยบอกไปเพราะว่าตอนนี้ผมจะไปศึกษาต่อและแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ อีกเรื่องหนึ่งคืออย่างให้ทุกคนโฟกัสด้วยกันคือเรื่องความสุขในมหาวิทยาลัยเพราะว่าเวลาของคุณมีอย่างจำกัดคุณน่าจะเคยเห็นกราฟสามเหลี่ยมที่บอกว่าเรียน ใช้ชีวิต และพักผ่อน ก็คือถ้าคุณเรียนมากจนเกินไปคุณโฟกัสแต่กับการเรียนสิ่งที่คุณจะขาดหายไปคือกิจกรรมคุณจะทำกิจกรรมน้อยลงเพราะคุณทุ่มเทกับการเรียนการสอน ในขณะเดียวกันเด็กสายกิจกรรมอย่างในห้องผมที่เป็นระดับนายกสโมเขาบอกว่าเขาโฟกัสอยู่กับกิจกรรมอย่างเดียวสิ่งที่เขาขาดหายก็คือชั่วโมงเรียน เขาค่อนข้างขาดเรียนบ่อยเขาทำอย่างอื่นมั่นบางครั้งเขาติด F เพราะฉะนั้นการโฟกัสอย่างใดอย่างหนึ่งมันก็จะมีข้อเสียตามมาถ้าคุณไม่โฟกัสทั้งสองอย่างก็จะมีข้อเสียหนักเลยเพราะคุณจะเสียสุขภาพจิต เวลาในการพักผ่อน ความสุขในการใช้ชีวิต เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปได้เอาเท่าที่คุณคิดว่าพอดีและมีความสุขกับมันแค่นี้ครับ


พี่อาทิตย์วางแผนในอนาคตอย่างไรบ้างคะ


      สำหรับอนาคตผมมีเป้าหมายอยู่แล้ว มีการวางแผนระยะสั้นกับระยะยาว ระยะสั้นก็คือจะไปแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศเทอม 1 และเทอม 2 ของปี 4 หลังจากนั้นกลับมารับปริญญาและไปศึกษาต่อต่างประเทศในระดับปริญญาโท ซึ่งก็อาจจะเป็นการศึกษาต่อในสาขานิติ หรือสาขาจิตวิทยาที่ผมสนใจ หรืออาจจะกลับมาทำงานก่อนสัก 2 ปี เพื่อเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหน่อยทางด้านบริหาร ในด้านระยะยาวเรามองไปถึงว่าต่อปริญญาเอกไหมหรือเราจะกลับมาทำงาน ผมคิดว่าโอกาสที่น่าจะเป็นคือทำงานเป็นที่ปรึกษา หรือธุรกิจของตัวเอง หรือแม้แต่เป็นอาจารย์สอน


ในฐานะวัยรุ่นนิสิตนักศึกษาหรือเยาวชน ซึ่งถือว่าเป็นกำลังสำคัญในอนาคตเลย สำหรับพี่อาทิตย์คิดว่าการศึกษาไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้างคะ และอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในด้านไหนบ้าง


      การศึกษาไทยพูดกันตรง ๆ เลย ที่เห็น ๆ ค่อนข้างล้มเหลวครับ ซึ่งที่เราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงก็คือ ขั้นแรกเปลี่ยนที่ตัวอาจารย์ก่อน อาจารย์หลายคนยังมีความคิดเก่า ๆ และก็เขาสอนเมื่อ 10 ปีที่แล้วสำเร็จแต่ไม่ได้แปรว่ามาสอนใน 10 ปีนี้จะสำเร็จเหมือนกัน เพราะฉะนั้นผมอยากไดอาจารย์ที่เขาปรับเปลี่ยนตัวเองและอยากให้คนสนใจในอาชีพอาจารย์ให้มากขึ้นถ้าเป็นไปได้เรื่องเงินก็ค่อนข้างสำคัญ ผมเข้าใจว่าคนเก่ง ๆ ต้องอยากได้เงิน ถ้าเราสามารถขึ้นเงินเดือนอาจารย์เป็น 2 เท่า ให้ดึงดูดบุคลากรชั้นนำของประเทศมาทำหน้าที่อาจารย์ได้ ทำอย่างก็จะดีขึ้นมาก ในเรื่องของหลักสูตรการสอน คุณภาพชีวิตของเด็กในมหาวิทยาลัย หลังจากที่อาจารย์เปลี่ยนแล้วจะมีผลตามมาเช่น วิธีการให้คะแนนเปลี่ยนไป การให้คะแนนแบบที่คะแนนเก็บเยอะจนเกินไป หรือคะแนนสอบเยอะจนเกินไป ก็จะเริ่มน้อยลงก็จะมีความสมดุลมากขึ้น มีกิจกรรมมากขึ้นนักเรียนก็จะรู้สึกได้ถึงการแบ่งเวลา ไม่ต้องเคร่งเครียดมากจนเกินไป หลังจากเปลี่ยนหลักสูตรการสอน หลักการให้คะแนนแล้ว ซึ่งที่เปลี่ยนต่อไปคือบรรยากาศในห้องและจำนวนนิสิต และตอนนี้ถ้าไม่นับในห้องเรียนผม ถ้าไปเรียนข้างนอกกับคณะอื่น หรือที่ศูนย์เรียนรวมก็จะมีนักศึกษาที่เรียนเกิน 50 คน หรือ 100 คน เข้าไปในห้องอัดกัน ซึ่งการสอนแบบนั้นมันไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเพราะว่า อาจารย์กับนักเรียนจะห่างกัน ถึงแม้จะนั่งติดกัน คือเขาจะไม่มีโอกาสหรือกล้าที่จะยกมือถามอาจารย์หลังจากหมดคาบเรียนที่เขาไม่เข้าใจ ซึ่งก็เป็นปัญหาเหมือนกัน ผมอยากให้ตัวห้องเรียนลดลงมาหน่อยเหลือห้องละ 30 คน กำลังดี และเปลี่ยนบรรยากาศในห้องแทนที่จะเป็นโต๊ะเรียนกันเหมือนเดิม เปลี่ยนให้มันเหมือนกันห้องที่แบบ Smart Learningหน่อย มีโซฟา มีอุปกรณ์การสอนหลาย ๆ อย่าง ไม่ต้องจัดเป็นระเบียบมากก็ได้ สามารถที่จะเคลื่อนย้ายได้ เพราะในห้องเรียนก็เหมอนเวทีเวทีหนึ่งถ้ามันเป็นระเบียบเกินไปสิ่งที่คุณต้องทำบนเวทีนั้นก็คือแสดงอย่างเป็นระเบียบ ทุกอย่างจะเป๊ะไปหมด ถ้าเกิดทุกอย่างปรับเปลี่ยนได้ทั้งตัวเราที่เป็นทั้งนักเรียนและอาจารย์ปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นไปตามการเรียนการสอนได้ ผมมองว่าตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะพัฒนาในระยะยาว

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

 

 

 

KULIB Talk #12
นิสิตรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  21ธันวาคม 2561
Liveจากห้อง Eco-Library สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นายธนพล สันติวัฒนธรรม(คุณเบ๊นซ์)
นิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 6
นิสิตรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

https://www.facebook.com/kulibpr/videos/1541272055976123/

คุณธนพล สันติวัฒนธรรม(คุณเบ๊นซ์) นิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 6 ผู้ได้รับรางวัลนิสิตรางวัลพระราชทาน ประจำปี พ.ศ. 2560เข้ารับพระราชทานรางวัลจาก
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา และยังมีผลงานนักกีฬาเทเบิลเทนนิสตัวแทนทีมชาติไทย มีใจรักกิจกรรมจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือพัฒนาสังคม
 
รู้สึกอย่างไรที่ได้รับรางวัลนิสิตพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ช่วยเล่าบรรยากาศในวันนั้นให้ฟังหน่อย

     รางวัลนิสิตรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี พ.ศ. 2560ที่ได้รับนั้น ถือว่าเป็นรางวัลสูงสุดในฐานะนักศึกษาแล้วก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและตื้นตันใจเป็นที่สุดต่อตนเองและครอบครัว

ขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ช่วยเป็นแรงผลักดัน โดยเฉพาะทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เล็งเห็นความสามารถและให้โอกาสให้แสดงผลงานเพื่อเข้าร่วมคัดเลือกรางวัลนิสิตรางวัลพระราชทาน

     นอกจากได้รับเกียรติบัตรและทุนการศึกษาแล้ว ยังทำให้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารีและเกิดความตั้งใจที่จะโน้มน้อมนำพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่นิสิตนักศึกษาในเรื่องของ “ความเพียรพยายามโดยไม่เสื่อมคลาย” มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนเองในอนาคตด้วย

ต้องผ่านหลายด่าน กว่าจะได้รับรางวัลนิสิตพระราชทาน

     เกณฑ์การตัดสินมีหลายการประเมินหลายด้าน ไม่เพียงการเรียนและผลงานของนิสิตเท่านั้น แต่ยังมีการประเมินทุกด้านรวมถึงด้านคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงผลงานอื่น ๆ ที่นิสิตได้กระทำไว้ โดยคุณธรรมพื้นฐาน 5 ประการ ประกอบด้วยการเรียน, การทำงานร่วมกับผู้อื่น, สุขพลานามัย, ความมีภาวะผู้นำ, การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
โดยจะต้องผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 4 รอบ

  • รอบ 1 ระดับคณะ คัดเลือกนิสิตในคณะของตนเองและจัดทำแฟ้มผลงาน
  •  รอบ 2 ระดับมหาวิทยาลัย คัดเลือกผลงานของตัวแทนนิสิตจากทุกคณะและทุกทุกวิทยาเขตให้เหลือ 4 คน
  •  รอบ 3 ระดับคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คัดเลือกให้เหลือ 1 คนเพื่อไปร่วมคัดเลือกพร้อมนิสิต ม. อื่น
  •  รอบ 4 ระดับคณะกรรมการจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ)คัดเลือกให้เหลือตัวแทนนิสิต 3 คนที่เป็นนิสิตรางวัลพระราชทานปีนั้น ๆ 
     

ตั้งเป้าหมาย  - จัดลำดับความสำคัญ – จัดสรรเวลา คือเคล็ดลับสู่ความสำเร็จทั้งด้านการเรียนและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใจรัก

     เพราะเชื่อว่าคนเรามีความสามารถและสามารถทำอะไรได้มากกว่าหนึ่งอย่างพร้อม ๆ กัน หากเราแบ่งและบริหารเวลาให้ดี คุณธนพลจึงมีเป้าหมายตั้งแต่สมัยมัธยมแล้วว่า การเรียนต้องทำให้ดีและต้องประสบความสำเร็จด้านกีฬาด้วย ซึ่งคุณธนพลก็บรรลุเป้าหมายได้ทั้งสองอย่างตั้งแต่ระดับมัธยม
     เมื่อเข้ามหาวิทยาลัยคุณพ่อของคุณธนพลได้ให้คำสอนอันมีค่ายิ่งเพิ่มเติมอีกว่า เพียงการเรียนและกีฬานั้นไม่เพียงพอแล้วในระดับมหาวิทยาลัย “การเรียนจะทำให้เรามีงานทำ แต่การทำกิจกรรมจะทำให้เราทำงานเป็น”คุณธนพลจึงเพิ่มเป้าหมายที่ 3 คือการทำกิจกรรมให้ได้ดีเยี่ยมควบคู่กันไป
“เราจึงต้องแบ่งและจัดสรรเวลาให้ยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เราได้บรรลุเป้าหมายที่เราได้วางไว้ให้ครบ”
 
กีฬาเทเบิลเทนนิส– อีกหนึ่งสิ่งที่ทำด้วยใจรัก

     “ผมเริ่มตั้งแต่ตอนอายุ 10 ควบ นับถึงปัจจุบันก็ 10 กว่าปีแล้ว” คุณธนพลเล่าถึงจุดเริ่มต้น ที่ไม่ได้วางแผนเป็นนักกีฬาตั้งแต่แรก “จุดเริ่มต้นเกิดจากโต๊ะปิงปองเก่า ๆ ที่คุณย่าเอามาให้หลานๆ เล่นกันสนุกๆ แต่ผมเกิดความชอบและรักในกีฬาเทเบิลเทนนิส คุณพ่อจึงจัดหาโค้ชมาสอนและฝึกซ้อมอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้นและเริ่มเข้าการแข่งขัน และเป็นการเปลี่ยนเป้าหมายของตัวเองจากการเล่นเพื่อสุขภาพ เป็นการเล่นเพื่อความเป็นเลิศ”
 
ผลงานด้านกีฬา

     คุณธนพลมีผลงานทางด้านกีฬามากมาย โดยได้เข้าร่วมเยาวชนทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ตอนอายุ 15และเข้าร่วมเยาวชนทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ตอนอายุ 16และเมื่ออายุ 18 ปี ก็ได้เข้าร่วมทีมชาติชุดใหญ่เข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์เอเชียและเข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลกที่ประเทศเยอรมันนี

     ผลงานที่ภูมิใจมากที่สุด คือที่ได้ผ่านการคัดเลือกตัวนักกีฬาเทเบิลเทนนิสชายคนแรกของประเทศไทยและได้เข้าร่วมการแข่งขันมหกรรมกีฬาYouth Olympic Games 2010 ที่ประเทศสิงคโปร์แต่ว่าผลงานที่มีความภาคภูมิใจไม่แพ้กัน การที่สามารถคว้าเหรียญทองต่อเนื่อง 3 ปี ให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ จากการแข่งขันเทเบิลเทนนิสในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41, 42 และ 43ซึ่งการได้รับเหรียญทองนั้น นอกจากจะรู้สึกภาคภูมิใจอย่างมากที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว ยังเป็นการแสดงความกตัญญูของต่อมหาวิทยาลัยที่ได้ให้โอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในฐานะโควต้านักกีฬาทีมชาติด้วย
 
ผลงานด้านกีฬา (ส่วนหนึ่ง)

  • นักกีฬาเทเบิลเทนนิสชายคนแรกของประเทศไทยที่ผ่านการคัดเลือกตัวและได้เข้าร่วมการแข่งขันมหกรรมกีฬาYouth Olympic Games 2010 ที่ประเทศสิงคโปร์
  • นักกีฬาเทเบิลเทนนิสเยาวชนทีมชาติไทยและทีมชาติไทยชุดใหญ่
  • ชนะเลิศเหรียญทอง 3 ปีติดต่อกัน (ปี2557-2558-2559) ในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 42 และ 43
  • นักกีฬาเทเบิลเทนนิสชายยอดเยี่ยม 2 ปีติดต่อกัน (ปี 2558-2559) ในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 และ 43
  • ชนะเลิศประเภทชายเดี่ยว21ปี  และประเภทชายคู่ ในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสเพื่อความชนะเลิศแห่งประเทศไทยชิงถ้วยพระราชทาน
     

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการแข่งขันกีฬา

     “การกีฬาได้สอนในหลายด้าน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตนักกีฬาไม่ได้อยู่ที่ชนะ แต่อยู่ที่การพัฒนาตนเองและต่อสู้อย่างสุดความสามารถในการแข่งขันแต่ละครั้ง หากเราได้มุ่งมั่นฝึกซ้อมและแข่งขันอย่างเต็มที่ ก็เท่ากับเราได้บรรลุเป้าหมายของการเป็นนักกีฬาที่ดีแล้ว”

ในการแข่งขันแต่ละครั้ง หากเราได้มุ่งมั่นฝึกซ้อมและแข่งขันอย่างเต็มที่ ก็เท่ากับเราได้บรรลุเป้าหมายของการเป็นนักกีฬาที่ดีแล้ว
 
เรียนดี กีฬาเด่น มีวิธีการจัดสรรเวลาอย่างไร

     “เมื่อเรามีเป้าหมายในหลายด้าน ทำให้เราต้องจัดลำดับความสำคัญ ผมมองว่าตอนนี้หน้าที่หลักคือด้านการเรียน เพราะเราเป็นนิสิตจึงเปรียบเหมือนงานประจำหรืองานFull Timeส่วนการเล่นกีฬาและการทำกิจกรรมจิตอาสา เปรียบได้กับงาน Part-Timeการจะสำเร็จได้ เราต้องทำงาน Full Time ก็คือมุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียนให้เต็มที่ก่อน แล้วเมื่อเรามีเวลาว่างจากการเรียน ค่อยไปทำหน้าที่อื่น ๆ ที่เราสนใจและมีใจรัก ซึ่งสำหรับพี่ก็คือการเล่นกีฬาและออกไปทำกิจกรรมจิตอาสาช่วยเหลือสังคมในด้านต่าง ๆ”

การเตรียมตัวอย่างไรในการแข่งขันแต่ละครั้ง

     สำหรับนักกีฬาทุกคน สิ่งสำคัญก็คือการฝึกซ้อม และการวางแผนการฝึกซ้อมก็สำคัญไม่แพ้กัน ในการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ประกอบด้วย ทักษะฬา สมรรถนะทางร่างกาย และความแข่งแกร่งทางจิตใจ หากเราวางแผนการฝึกซ้อมให้พัฒนาได้ทั้ง 3 ด้านแล้ว เราก็จะได้ผลการแข่งขันที่เราพึงพอใจแน่นอน
 
จุดที่ทำให้ถึงสนใจเรียนคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     “ไม่ว่าเราจะทำอะไร สิ่งสำคัญคือแรงบันดาลใจ พี่ได้รับแรงบันดาลใจจากคุณพ่อซึ่งเป็นสัตวแพทย์ ซึ่งจบจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เหมือนกัน จึงได้เติบโตมาในคลินิกรักษาสัตว์ของคุณพ่อ เห็นคุณพ่อทำงานด้วยใจรัก รักษาสัตว์ป่วยต่าง ๆ ที่เข้ามารักษา โดยมีความตั้งใจให้เขาหายป่วยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้ซึบซับสิ่งเหล่านี้มาตลอด ประกอบกับเป็นคนรักสัตว์อยู่แล้ว จึงตัดสินใจไม่ยากที่จะเข้าเรียนที่คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์”

     “ถามว่าเรียนหนักไหม ก็เรียนค่อนข้างหนัก เพราะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี เช่นเดียวกับหมอคนเลย ได้เรียนทุกประเภททั้งสุนัข แมว โค สัตว์น้ำ สัตว์ป่า ได้เรียนหมด เพราะไม่มีการแยกเมเจอร์”

วางแผนหรือมองภาพอนาคตของตนเองไว้อย่างไรบ้าง
     
     “ตอนนี้ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายแล้ว เมื่อจบแล้วก็จะประกอบอาชีพเป็นสัตวแพทย์เช่นเดียวกับคุณพ่อ และจะสืบทอดกิจการโรงพยาบาลสัตว์จากคุณพ่อต่อไป เพื่อเป็นการได้รักษาสัตว์เลี้ยงตามความตั้งใจของตนเอง”
 
     ถ้าเราเชื่อว่าสิ่งที่เราทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเป็นสิ่งที่ดี มีคุณประโยชน์ ขอให้ตั้งใจทำ อย่าย่อท้อ เพราะพี่เชื่อสิ่งดี ๆ ที่เราตั้งใจจะนำเสนอออกมา สักวันหนึ่งจะต้องมีคนมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เราอย่างแน่นอน
 
สุดท้ายนี้ ช่วยให้คำแนะนำกับรุ่นน้อง หรือนิสิตท่านอื่นๆ ในเรื่องการสร้างสรรค์ผลงานดีเด่น หรือการเข้าร่วมการทำกิจกรรม

     ถ้าเราเชื่อว่าสิ่งที่เราทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเป็นสิ่งที่ดี มีคุณประโยชน์ ขอให้ตั้งใจทำ อย่าย่อท้อ เพราะพี่เชื่อสิ่งดี ๆ ที่เราตั้งใจจะนำเสนอออกมา สักวันหนึ่งจะต้องมีคนมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เราอย่างแน่นอนขอเป็นอีกหนึ่งแรงใจให้น้อง ๆ ทุกคนที่มีความตั้งใจสร้างสรรค์ผลงานดี ๆ ออกมา

ทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดที่เกี่ยวข้อง

ชื่อเรื่อง

  1. คู่มือการเล่นเทเบิลเทนนิส / สุรสิทธิ์ วะสิโน และคณะ รวบรวมและเรียบเรียง
  2. กีฬาเทเบิลเทนนิส / ภัชรี แช่มช้อย
  3. กติกาเทเบิลเทนนิส / งานวิชาการ กองการฝึกอบรม สำนักพัฒนาบุคลากรกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย
  4. กติกาเทเบิลเทนนิส / ผู้เรียบเรียง ณัฐวุฒิ เรืองเวส
  5. Movement Modifications Related to Psychological Pressure in a Table Tennis Forehand Task.
  6. บริหารเวลา บริหารชีวิตและความสำเร็จ / เจมส์ แมงค์เทอโลว์ ; วรินดา อลอนโซ แปล
  7. บริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ / เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
  8. สัตวแพทย์อาสา จ.ส. 100 / บรรณาธิการ อัจฉริยา ไศละสูต ... [และคนอื่น ๆ]
  9. เรียนดี-เรียนเก่ง / ปรีชา ช้างขวัญยืน
  10. พัฒนาตนเองอย่างสร้างสรรค์ / นวพันธ์ ปิยะวรรณกร
  11. พัฒนาตนเอง คุณยังก้าวไปได้อีกไกล / กรกิจ พัฒนะรุ่งเรือง

KULIB Talk No. 18 “ป้อนคำหวาน นวัตกรรมขนมไทยไร้น้ำตาล”


     วันนี้เราจะพูดคุยกันในหัวข้อนวัตกรรมขนมไทยไร้น้ำตาลที่ยังคงเอกลักษณ์ความหวานไว้อยู่นั้น ได้รับเกียรติจากเจ้าของกิจการร้านป้อนคำหวาน และเป็นศิษย์เก่าคณะประมง ku รุ่น 56 คือ คุณแพร ลวณะมาลย์

ช่วยเล่าถึงที่มาของร้านและชื่อของร้าน


      ป้อนคำหวานเป็นธุรกิจในรุ่นที่ 2 เริ่มจากที่คุณแม่เริ่มทำขนมไทยเป็นอาชีพเสริม ตอนนั้นคุณแม่เป็นครูอยู่และก็เริ่มทำขนมเป็นรายได้พิเศษรายได้เสริม ก็ทำมาเรื่อย ๆ ถ้านับจากรุ่นคุณแม่ก็ยี่สิบกว่าปีแล้ว พี่เองพึ่งเข้ามาช่วยงานที่บ้านเมื่อสิบปีที่แล้ว ตอนนั้นที่เข้ามาทำก็เริ่มคิดใหม่ทำใหม่เปลี่ยนแปลงอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ เริ่มสร้าง brand ขึ้นมาเป็นป้อนคำหวาน ปีนี้เป็นปีที่ 10 พอดี

ชื่อร้านนี้คุณแพรคิดชื่อเองเลยหรือเปล่าคะ


     ก็มีทีมงานช่วยคิด

คุณแพรจบจากประมง แสดงว่าจะต้องเตรียมตัวเป็นอย่างดีในการช่วยงานคุณแม่ใช่ไหมคะ คุณแพรมีวิธีการหรือขั้นตอนในการเตรียมตัวอย่างไรบ้างที่จะรับงานต่อมาเป็นอีกรุ่นหนึ่ง


     เริ่มจากตอนที่พี่เรียนมัธยม เราก็เห็นแม่ทำขนมเราก็ช่วยตั้งแต่ตอนนั้นแต่ยังไม่ได้เต็มรูปแบบมาก ก็อาจจะเป็นแค่บางกระบวนการเช่น การแพ็ค และการจัดส่งตามร้านของฝากใกล้ ๆ เริ่มจากตอนนั้นแต่ไม่ได้จริงจังที่จะเข้ามาในด้านการผลิต จากนั้นไปเรียน ก็เรียนคนละสายกับงานเลยไม่ได้เรียนเกี่ยวกับอาหารเลย แต่ด้วยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เหมือนกันมันก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้

ทางป้อนคำหวานได้มีการพัฒนาสูตรขนมไทยอยู่เสมอนะคะ และล่าสุดขนมที่พัฒนาคือ อาลัว แล้วทำไมคุณแพรถึงเลือกอาลัวมาพัฒนาเป็นสูตรหวานน้อยคะ


     ที่พี่สนใจอาลัวก่อนเพื่อนนี้เพราะว่าอาลัวเป็น product แรกของเราและหลาย ๆ คนรู้จัก ค่อนข้างมีชื่อเสียง ถ้านึกถึงอาลัวต้องมาหาเราก่อน ทีนี้คือ เป็นสิ้นค้าที่คนรู้จักเยอะในส่วนของเราและก็ผลิตเยอะสุดด้วย แล้วเราก็รู้สึกว่าเรามีความเชี่ยวชาญในการทำอาลัว และอาลัวสามารถเติมโน้นนี้นั้นคือพัฒนาได้ง่ายกว่าสินค้าตัวอื่น ๆ เลยเลือกที่จะทำอาลัว และที่เลือกทำหวานน้อยก็ด้วยเหตุผลหลาย ๆ อย่าง ทั้งสุขภาพของผู้บริโภค trend และ feedback ที่เราได้ยินจากลูกค้า ก็นำ comment ต่าง ๆ เก็บมา และเริ่มลองพัฒนาทีละนิดทีละหน่อย

กลุ่มเป้าหมายหลักที่คุณแพรเลือกที่จะพัฒนาเป็นสูตรหวานน้อยก็จะเป็นในเรื่องของศาสตร์ที่ดูแลสุขภาพด้วยหรือเปล่าคะ


     ก็ทั่ว ๆ ไปด้วยหลัก ๆ เริ่มจากที่เราได้ feedback ที่เราได้คุยกับลูกค้า หลายท่านก็จะปฏิเสธก่อนเลย คิดว่าขนมไทยหวานแน่นอน คือไม่ชิมแหละ เราก็รู้สึกว่ามันก็ไม่ได้หวานขนาดนั้นนะ เราก็ปรับ คือหวานมาก ๆ เราเองก็ทานไม่ไหว พอลูกค้า feedback แบบนี้เราก็อยากให้เขาชิม แต่เขาก็ปฏิเสธเพราะเขาเชื่อว่าขนมไทยมันหวานมาก เราก็รู้สึกว่าหนึ่งข้อแล้วที่เราจะเริ่มทำ อันนี้จะเป็นกลุ่มลูกค้าของเรา ที่คนทั่วไปซื้อกินซื้อฝาก และกลุ่มที่เขาอยากจะซื้อไปฝากผู้ใหญ่แต่ก็ติดว่าสูงอายุบางทีก็อาจมีโรคประจำตัวจึงไม่สามารถทานได้ และเรื่อง trend ที่เขาลดแป้งลดน้ำตาลเราเลยต้องตาม trend “เราก็จะได้กลุ่มผู้บริโภคสายหวานและสายสุขภาพด้วยก็จะได้ไปด้วยกันได้”

ในการทำอาลัวมีขั้นตอนในการทำอย่างไรในการปรับสูตรให้หวานน้อย


      ขั้นตอนในการทำอาลัวไม่ได้ยุ่งยากหรือซับซ้อนอะไรมากเพียงแต่ว่า เราก็เริ่มจากในห้องทดลองของเรา และก็มีแลป R&D ที่เราจะพยายามปรับสูตรก่อนจนเรารู้สึกว่ารสชาตินี้มันได้แล้ว เราก็เริ่มที่จะทำแบบจริง และให้ลูกค้าช่วย test ช่วย comment ว่าแบบนี้โอเคไหม เนื้อสัมผัสแบบนี้ สีสันแบบนี้ เป็นอย่างไง

รสชาติความหวานที่ยังคงอยู่คุณแพรใช้อะไรเป็นวัตถุดิบแทนความหวานคงใช้น้ำตาลอยู่ไหม


      ถ้าเป็นอาลัวยังเป็นน้ำตาลปกติอยู่แต่ว่าเราลดมาในเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูง ถ้าลดมากกว่านี้เนื้อสัมผัสมันจะกระด้างคือทานไม่ไหว คือตัวที่ไม่ได้ใช้น้ำตาลเลยคือ ขนมผึง เป็นงานวิจัยที่พี่ทำ R&D ที่ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยก็จะมีนักวิจัยช่วยดูให้ว่า เราใช้ความหวานจากวัตถุดิบจากธรรมชาติที่เขาสกัดมา ก็เอามาลองใช้กับตัวนี้ดู

ความพิเศษของสูตรหวานน้อยของอาลัวนอกจากจะมีการปรับปรุงเรื่องของหวานน้อยแล้วคุณแพรยังมีการปรับปรุงด้านอื่น ๆ อีกไหมคะ


      ถ้าเป็นตัวใหม่ล่าสุดแล้วนอกจากความหวานแล้ว คือเมื่อน้ำตาลหายไปก็ก็ต้องมีตัวอื่นเข้ามาทดแทนเพื่อให้เนื้อสัมผัสมันยังได้อยู่ เพราะว่าน้ำตาลมันเป็นตัวช่วยให้ขนมนุ่มมีความชุ่มชื่นสูงไม่แข็งกระด้าง เมื่อเอาน้ำตาลออกเราก็ต้องมีตัวอื่นทดแทนเข้าไป ก็มีการปรับวัตถุดิบด้วย ที่สำคัญก็คือตัวนี้ใช้สีจากวัตถุดิบจากธรรมชาติทั้งหมด ก็จะมี ใบเตย เราก็จะปลูกเองแล้วก็เอามาคั้นเอง และมีดอกอัญชัน ที่ริมรั้วบ้านเราบ้างและจากชาวบ้านแถว ๆ นี้ และถ้าเป็นอาลัวจิ๋วก็ยังเป็นอาลัวสูตรดั้งเดิมอยู่ก็จะใช้สีผสมอาหาร

ในจังหวัดเพรชบุรีที่เรารู้จักกันดีจะเป็นน้ำตาลโตนด แล้วคุณแพรได้เอาวัตถุดิบอื่น ๆ อย่างเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่อยู่ในชุมชนหรืออยู่ในจังหวัดมาเป็นวัตถุดิบในการทำขนมของทางร้านด้วยหรือเปล่าคะ


      ในส่วนของวัตถุดิบที่เป็นวัตถุดิบท้องถิ่น เช่น น้ำตาลโตนด ลูกตาลอ่อน เราก็นำมาใช้ในส่วนของขนมสด ของที่ร้านก็จะมี ลูกตาลลอยแก้ว เป็นซิกเนเจอร์ของทางร้านก็จะมีการผสมน้ำดอกอัญชันด้วย เป็นวัตถุดิบที่ได้จากชาวบ้าน เขาก็จะคัดเฉพาะที่เป็นเนื้ออ่อนจริง ๆ มาให้เราเพราะเขารู้ว่าเราใช้แบบไหน ในส่วนของขนมโคน้ำกระทิ ในตัวใส้ก็จะใช้น้ำตาลโตนดเป็นส่วนผสมในการให้ความหวาน ก็จะมีเจ้าประจำมาส่งให้ที่ร้าน รับรองว่าวัตถุดิบทุกอย่างสดใหม่แน่นอน

ในเรื่องของสุขภาพที่ร้านป้อนคำหวานเน้นแล้วยังมีจุดแข็งอื่น ๆ อีกไหมคะ ที่ทำให้เราสู้กับ brand อื่นได้


      นอกจากในเรื่องของสูตรขนม รสชาติแล้ว เราก็ยังสร้างจุดต่างในเรื่องของรูปลักษณ์ของขนม อย่างอาลัวจิ๋วนี้เรียกได้ว่าเราเป็นรายแรกเลยที่ผลิตอาลัวจากเม็ดใหญ่เป็นเม็ดเล็ก อย่างกลีบลำดวนที่ร้านจะปรับโฉมใหม่ก็ใช้แม่พิมพ์ในการกดลงไป แบบปั้นเราก็ยังมีอยู่ เราก็ยังนำเสนอในสิ่งที่แปลกใหม่ออกไป อันนี้ก็เป็น signature เราเรียก “ลีลาวดี”

อะไรเป็น bestseller ของร้านคะ


      ต้องเป็นอาลัวเลยคะ “พอเราทำเป็นจิ๋วทำให้เราทานง่ายขึ้น อย่างเมื่อก่อนเราก็จะเห็นว่าเป็นอันใหญ่ ๆ อาจจะทานอยากซะนิดหนึ่ง พอแบบว่าจิ๋ว ๆ ก็ทานไปดูโทรทัศน์ไปก็เพลินเลย เป็น gimmick เล็ก ๆ ทำให้ทานง่ายขึ้น”

ช่วยให้คำนิยามของคำว่า ขนมไทยไร้น้ำตาลของร้านป้อนคำหวานหน่อย คุณแพรให้นิยามของป้อนคำ


      ป้อนคำหวานนี้เราพยายามจะสร้างนวัตกรรมให้กับขนมไทย คือ ขนมไทยมันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านเราสืบทอดกันมานานแล้ว ด้วยค่านิยมที่เปลี่ยนไปคนก็จะรู้จักน้อยลงและรู้สึกแบบห่างเหินกับขนมไทย ก็พยายามที่จะนำเสนอให้เข้าถึงผู้บริโภคในยุคนี้ให้ง่ายขึ้นไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของรสชาติ รูปลักษณ์ของขนมแล้วก็ให้ความสำคัญกับ packaging ด้วย มันก็มีส่วนดึงดูดให้ลูกค้าสนใจและเขาก็สบายใจที่ซื้อไปแล้วเอาไปฝากได้เลยไม่ได้ไปห่ออีก เพราะว่าคนให้นี้อยากมอบความรู้สึกดี ๆ กับคนที่เราเข้าไป เราก็เลยนำเสนอแบบสำเร็จรูปเลย ง่าย ๆ

เป้าหมายต่อไปในด้านธุรกิจที่คุณแพรได้วางไว้ จะมีการต่อยอด สานต่ออย่างไร แล้วมีการเพิ่มสถานที่ในการจำหน่ายอย่างไรบ้างค่ะ


      เราพยายามที่จะเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่ายให้มากขึ้น ลูกค้าจะได้หาได้ง่ายขึ้น มีทั้งร้านค้าต่าง ๆ และก็เน้นในเรื่องของออนไลน์ด้วย สั่งตามหน้าเพจได้ มีบริการจัดส่งสั่งวันนี้อีก 2 วันทำการก็ได้รับขนมแล้ว ก็จะได้ขนมที่สดใหม่ และตัวแทนจำหน่ายก็จะมีรับไปก็วางกระจายสินค้าทั่วไป และก็รับผลิต อย่างสงกรานต์ที่ใกล้จะถึงนี้ก็จะมีบริษัทอยากได้ชิ้นเล็ก ๆ เพื่อจะแจกลูกค้าเขาอีกทีหนึ่ง ก็จะรับคะ

มี order เยอะไหมคะ


      เยอะคะ คือถ้าเป็นขนมพวกนี้จะเป็นช่วง season ช่วงเทศกาลของขวัญปีใหม่ มีการจัดเซตให้พร้อมเพื่อเป็นของฝากผู้ใหญ่ได้เลย

ในเรื่องของการดูแลสุขภาพที่มากขึ้นแต่ว่าก็คงเอกลักษณ์ของขนมไทยอยู่ คุณแพรมีประสบปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับพวกนี้บ้างไหมคะ


      มีในส่วนของความกังวลในเรื่องของน้ำตาล ลูกค้าก็จะรู้สึกแบบว่าขนมหวานมันต้องหวานต้องมีน้ำตาลเยอะ เราก็พยายามจะนำความกังวลของลูกค้ามาปรับให้เจอกันให้ได้มากที่สุด

 

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

 

 

KULIB TALK | รางวัล Outstanding Chapter Volunteer Award (OCVA) 2019

สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ Live ผ่านทาง Facebook Live ของสำนักหอสมุด ในรายการ KULIB Talk ค่ะ ดิฉัน ศรัญญาภรณ์ โชลิตกุล รับหน้าที่เป็นพิธีกรในวันนี้ค่ะ สำหรับวันนี้นะคะเราได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร. ดุลย์พิเชษฐ์ ฤกษ์ปรีดาพงศ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งท่านได้รับรางวัล Outstanding Chapter Volunteer Award (OCVA) 2019 จาก IEEE PES Thailand ค่ะ วันนี้เราจะมารู้จักอาจารย์เพิ่มขึ้นแล้วเราจะมารู้จักรางวัลนี้กันนะคะ สวัสดีค่ะ อาจารย์

สวัสดีครับ

พิธีกร : ก่อนอื่นนะคะก็ต้องขอแสดงยินดีกับด้วยนะคะอาจารย์กับรางวัลนี้ค่ะ

        ขอบคุณมากครับ

พิธีกร : ครั้งนี้เป็นครั้งแรกหรือเปล่าคะที่อาจารย์มาเยี่ยมสำนักหอสมุดของเราอ่ะค่ะ

        ครับ ก็ตั้งแต่ที่หอสมุดมีการปรับปรุงครั้งใหญ่เนี่ยก็นี่เป็นครั้งแรกครับ ก็คือเข้ามาแล้วก็รู้สึกว่าประทับใจ wow ครับ

พิธีกร : เรามารู้จักอาจารย์เพิ่มขึ้นกันนะคะ นอกจากอาจารย์จะเป็นผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการแล้วนะคะ อาจารย์ก็ยังเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าค่ะ มีความเชี่ยวชาญด้าน power system liability power system optimization and control และทางด้าน liability center maintenance ค่ะ และในรางวัลที่เราจะคุยกันวันนี้นะคะก็คือเป็นรางวัล Outstanding Chapter Volunteer Award (OCVA) 2019 จาก IEEE PES Thailand ค่ะ อาจารย์คะ ชื่อ จาก IEEE เนี่ยค่ะ ก็จะเหมือนกับฐานข้อมูลที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีให้บริการอยู่ อันนี้เป็นสมาคมเดียวกันหรือเปล่าคะอาจารย์

        ใช่ครับใช่ ก็ IEEE ก็คือเป็น ถ้าเกิดว่าเป็นภาษาไทยก็คือเป็น สมาคมวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งก่อตั้งที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วก็เขาก็มีเขาเรียกว่ามีมานานมากแล้วฮะ แต่ว่าในส่วนของพาร์ทที่เป็น power system หรือ power energy เนี่ยฮะ ก็คือมีมา 40 กว่าปีละ ก็มีการสะสมองค์ความรู้งานวิจัย งานทางวิชาการต่างๆมากมาย ก็มีวิศวกรนักวิชาการตีเป็นบทความ ตรงนี้เองก็เป็นฐานข้อมูลใหญ่ที่คนรุ่นหลังๆเนี่ยฮะ เวลาจะทำวิจัยก็ต้องเข้าไปดูฐานข้อมูลนี้

พิธีกร : เห็นเป็นสมาคม IEEE PES Thailand ไม่ทราบว่าสมาคมนี้มีทุกประเทศไหมคะอาจารย์

        ผมเข้าใจว่าส่วนใหญ่ก็คือประเทศใหญ่ๆ ผมก็เห็นว่าเวลาไปประชุมวิชาการที่ต่างประเทศเนี่ย ก็จะเห็นว่า IEEE จากต่างประเทศเขาก็มาประชุมร่วมกันครับ ก็คิดว่าถ้าเกิดเป็นประเทศหรือพวกส่วนใหญ่คิดว่าน่าจะมีองค์กรนี้นะ

พิธีกร : เราจะมาพูดถึงรางวัลที่อาจารย์ได้รับนะคะ รางวัลนี้ขอพูดซ้ำอีกนะคะ ก็คือ  Outstanding Chapter Volunteer Award (OCVA) 2019 รางวัลนี้เป็นรางวัลด้านไหนคะอาจารย์

        เป็นรางวัลเกี่ยวกับการช่วยงานสมาคมอ่ะครับ พูดง่ายๆก็คือเป็นจิตอาสา เพราะว่างานสมาคมเนี่ย เนื่องจากสมาคมนี้เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพราะฉะนั้นก็จะต้องอาศัยว่าคนที่มีความยินดีที่จะช่วยงานสมาคมต่างๆ ต้องการคนจำนวนมากเหมือนกัน การจัดสัมมนา ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดสัมมนาฟรีนะครับ แล้วก็มีการประชาสัมพันธ์ให้นิสิตนักศึกษาแต่ละมหาลัย รวมถึงวิศวกรไฟฟ้าเข้าร่วมเข้าฟังนะครับ แล้วก็งานเกี่ยวกับการจัด Forum เชิญผู้มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมและวิชาการมาพูด ทั้งนี้เราก็ช่วยงานในลักษณะเชิญ คนพูด คนฟัง หรือเป็นวิทยากรเองแล้วแต่จังหวะว่าหัวข้อนั้นเราถนัดหรือไม่

พิธีกร : เป็นรางวัลทางด้านการทำจิตอาสานะคะ แล้วเกณฑ์ในการตัดสินรางวัลนี้อ่ะค่ะ ทราบว่าเป็นองค์การที่ไม่แสวงหาผลกำไรด้วยค่ะ เขาจะพิจารณาจากเกณฑ์อะไรอ่ะคะ ในการให้รางวัลนี้อ่ะค่ะอาจารย์

        จริงๆ รางวัลนี้มีการมอบทุกปี ปีละรางวัล ซึ่งจริงๆแล้วเนี่ยในการทำงานในสมาคมก็มีเยอะฮะ มีคนเยอะมากมาย แล้วแต่ละคนก็เป็นจิตอาสาทั้งนั้นแหละครับ ก็คือคนที่ไม่ได้รางวัลในปีนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าทำน้อยกว่าผม เพียงแต่ว่าอาจจะว่าปีนี้ผมอาจจะได้ช่วยงานที่เกี่ยวข้อง มันมีงานใหญ่ที่พึ่งจัดไปเมื่อเดือนมีนาคมนี้อ่ะครับ ค่อนข้างใหญ่จัดที่เมืองไทย ก็คือผมได้รีบมอบหมายให้ทำหนี่หลายอย่าง คราวนี้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ อาจจะเห็นหน้าผมบ่อยมั้งก็เลยโอเคคิดว่าปีนี้น่าจะเหมาะที่ควรจะให้ผมได้รับรางวัลอะไรอย่างงี้อ่ะครับ

พิธีกร : จะมีคณะกรรมการคัดเลือกใช่ไหมคะ

        ครับ มีคณะกรรมการคัดเลือกโดยที่คณะกรรมการก็คือเป็นสมาชิกของสมาคมในระดับอาวุโสแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นระดับผู้บริหาร เช่น ผู้ช่วยรองผู้ว่าการการไฟฟ้า เขาก็มาประชุมคัดเลือก คัดเลือกเสร็จเขาก็เสนอชื่อแล้วก็เอาชื่อเสนอต่อไปที่ IEEE ที่อเมริกา เขาก็ตรวจสอบคุณสมบัติแล้วก็โอเค พอเขาโอเคเขาก็จะส่งโล่รางวัลจากอเมริกามาให้

พิธีกร : นอกจากรางวัล Outstanding Chapter Volunteer Award (OCVA) 2019 เนี่ยค่ะ แล้วในแต่ละปีค่ะ ทางสมาคมมีการให้รางวัลอย่างอื่นด้วยไหมคะอาจารย์

        ครับ ปีนึงก็จะมีให้ 4 รางวัล นอกจากรางวัลที่ผมได้รับก็จะมีรางวัล Outstanding  Engineer Award อันนี้ก็คือมอบให้วิศวกรที่ทำงานในฟิลของไฟฟ้าและพลังงานที่มีผลงานโดดเด่น รางวัลถัดไปเป็น Women In Power ก็คือจะมอบให้สุภาพสตรีในวงการวิศวกรรมไฟฟ้าและเอเนอร์จี้ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และสุดท้ายก็จะเป็น Outstanding Young Engineer Award ก็คือจะเกี่ยวข้องกับวิศวกรหนุ่มไฟแรงที่มีผลงานชัดเจน มีผลงานดีนะครับ อายุไม่เกิน 35 ปีครับ

พิธีกร : ในการเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครเนี่ยค่ะ อาจารย์ได้เข้าไปร่วมได้ยังไงคะอาจารย์

        ตอนสมัยผมเรียนต่อป.โท ป.เอกที่อเมริกานะครับ แน่นอนในการทำวิจัยต้องอ่าน Paper จำนวนมากนะฮะ ซึ่งบอกได้เลยว่าคนที่ศึกษาระดับป.โท ป.เอก ในฟิลไฟฟ้าเนี่ยไม่มีใครไม่รู้จัก IEEE 90% ของงานวิจัยที่อ่านล้วนแต่มาจากฐานข้อมูล IEEE ครับ ซึ่งตั้งแต่ครั้งนั้นเราก็รู้สึกว่าเราเป็นหนี้บุญคุณ IEEE มากเลย แม้กระทั่งมหาลัยผมตอนนั้นก็ยังไม่มีฐานข้อมูล IEEE ก็ต้องขับรถไปอีกมหาลัยนึงที่เขามีฐานข้อมูลนะครับ แล้วก็ไปโหลดไฟล์โหลดเปเปอร์ ปริ้นเปเปอร์มาอ่าน คราวนี้พอเรียนจบกลับมาปุ๊บก็ยังไม่ทราบว่ามี IEEE อยู่ที่ไทนด้สชวย แต่ก็มีอาจารย์มาทาบทามว่าเออ เชิญไปเป็นวิทยากรในงาน IEEE สัมมนา IEEE ที่ประเทศไทยหน่อย จัดที่จุฬาอ่ะครับ ผมก็พึ่งรู้ว่าเอ้า มีด้วยหรอ หลังจากนั้นพอเริ่มนำเสนอครั้งนึงเนี่ยก็ช่วยงานต่อๆมาเรื่อยๆอ่ะครับ เพราะจริงๆแล้วทางสมาคมเขาก็อยากให้มีอาจารย์ครบทุกมหาลัยอ่ะฮะ อยากให้มีตัวแทนจากทุกบริษัทใหญ่ๆร่วมงานอยู่ในสมาคม เพื่อว่าการจะทำการประชาสัมพันธ์หรือจัดกิจกรรมต่างๆก็จะได้รู้ในวงกว้าง

พิธีกร : สมาคมวิชาชีพของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแต่ว่ามีเฮดอยู่ต่างประเทศ แล้วสมาชิกในสมาคมต้องเป็นนักวิชาการหรือว่านักวิจัยไหมคะ บุคลากรท่านอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิศวะไฟฟ้าสามารถเป็นสมาชิกสมาคมได้ไหมคะ

ถ้าในลักษณะ 2 ลักษณะก็คือ ในลักษณะทำงาน ทำงานให้สมาคมก็คือเป็นได้หมดเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์หรือเป็นวิศวกรรมไฟฟ้าในบริษัท ในเอกชน ในรัฐ นะครับ เป็นได้หมดในการช่วยงานคือเรา open เนื่องจากเราเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ใครยินดีมาช่วยงานสมาคมเราก็ happy อยู่แล้ว และอีกส่วนนึงก็ลักษณะที่เป็น member ship ของ IEEE ซึงตรงนี้ก็จะมีการสมัคร member ship ผ่านทาง web ของ IEEE นะครับ ซึ่งเขาจะระบุเลยว่าต้องการสมัตร IEEE ในแขนงไหน อย่างผมอยู่ใน PES ซึ่งก็มีสาขาอื่น เช่น ไฟฟ้าสื่อสาร เยอะไปหมดแล้วแต่ว่าใครจะวิจัยในฟิลไหน เวลาสมัครก็ต้องมี member ship แต่ถ้าเป็นนิสิตนักศึกษาเนี่ย จะสมัครถูกมากครับ

พิธีกร : บุคลากรทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าหรือสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกได้ อาจารย์คะ ในการเข้ามาทำงานเป็นอาสาสมัครตรงนี้ค่ะ งานที่อาจารย์ได้รับมอบหมายมีอะไรบ้างคะ

เริ่มแรกเลย เขาจะให้ผมดูเกี่ยวกับพวกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิสิตนักศึกษาเป็นหลักครับ เช่นเขาบอกว่าเวลาจะจัดสัมมนาแต่ละครั้งก็จะมาบอกผมแล้วว่าจะให้ผมช่วยประชาสัมพันธ์ให้นิสิตนักศึกษาหน่อย ถ้าผมมีเพื่อนเป็นอาจารย์มหาลัยอื่นก็ช่วยบอกต่อ และพยายามสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษาได้เข้าร่วมฟัง อย่างผมเนี่ยก็ตอนนั้นกลับมาใหม่ๆก็ประสานกับหัวหน้าภาควิชาว่าเราจะมีงานจัดที่จุฬาบ้างจัดที่โรงแรมนี้บ้าง ก็ขอรถตู้ เพื่อพานิสิตไปฟังฟรี แล้วก็ต่อมาก็พวกจัดงานสัมมนาครั้งนี้ก็เชิญผู้พูดมาจากต่างประเทศ เราก็ไปรับแขก ไปต้อนรับ ไปเป็นคนแปลเป็นภาษาไทย เนื่องจากบาครั้งคนฟังอาจจะอยากฟังเป็นภาษาไทยสั้นๆกระชับๆ แล้วก็ล่าสุดอย่างที่เรียนไปว่าจัดงานใหญ่ที่ไบเทคนะครับ อันนี้เป็นงานระดับโลก ซึ่งแน่นอนฮะว่าต้องประสานวิทยากรต่างๆ ต้องเชิญจากทั้วโลกเลย มาพูด แล้วก็ส่วน Expo ด้วย แล้วต้องมีการประสานงาน เชิญคนมาออกบูท มากมาย นี่ก็คือค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมไม่ได้ทำคนเดียวนะครับ คือมีทีม

พิธีกร : ในการทำงานแต่ละครั้งให้แก่สมาคมก็ตะมีทีมงานด้วย ทีมงานเนี่ยจะมีการแบ่งงานกันยังไงบ้างคะอาจารย์

การทำงานของที่นี่แม้จะเป็นจิตอาสานะฮะ แต่ทุกคนทำงานแบบโปรเฟสวั่นนอล คือทำงานเหมือนกับว่าได้รับว่าจ้างให้ทำประมาณนั้น ก็คือในสเกลงานใหญ่ก็จะมีการแบ่งงานเป็นพาร์ทๆ แต่ละพาร์ทก็จะมีคณะทำงานในแต่ละกลุ่ม ในแต่ละกลุ่มก็จะมีประธาน กรรมการในแต่ละกลุ่ม ช่วยกันรัน ช่วยกันรัน รันในส่วนตัวเอง แล้วก็หลังจากนั้นทุกเดือนหรือทุกสองเดือนก็จะมีประชุมรวม ทุกกลุ่มมีประธานของ IEEE เป็นประธาน ซึ่งส่วนใหญ่ประธานก็จะเป็นระดับผู้ว่าการการไฟฟ้า ท่านก็มีจิตอาสามาช่วย เวลาท่านฟังความคืบหน้า ถ้าเกิดมีความติดขัดอะไร ถ้ามีความจำเป็นต้องช่วยเหลือ ท่านก็จะมาช่วยเหลือให้งานผ่านไปๆด้

พิธีกร : เมื่อสักครู่อาจารย์ได้พูดถึงงานใหญ่ที่ไบเทคบางนานะคะ ชื่อว่า IEEE PES GTB Asia 2019 อยากจะให้อาจารย์ช่วยแชร์ประสบการณ์ให้พวกเราฟังนะคะ ว่าในงานซึ่งเป็นงานใหญ่มากมีขั้นตอนการทำงานการเตรียมงานอย่างไงคะ ในงานใหญ่อย่างนี้อ่ะค่ะ แล้วก็ใช้เวลาเตรียมงานนานไหมคะอาจารย์

        ก็อย่างที่ผมเรียนไปว่า IEEE PES ก่อตั้งมา 40 กว่าปี ที่อเมริกา ก็งานคืองาน IEEE PES TND มันก็เกิดขึ้นมาพร้อมกับสมาคมนี้อะครับ ซึ่งเป็ฯคอนฟาเร้นใหญ่ระดับโลกเลย คือวิศวกรไฟฟ้าทั่วโลกก็หาวิศวกรมาก ทางสมาคม IEEE PES Thailand ก็มีการใฝ่ฝันว่าจะเป็นไปได้ไหมที่จะจัดวานนี้ที่ไทยซักครั้ง จนฝันมานานแล้ว ก็รู้สึกว่ามันน่าจะพอแล้วนะ ก็มีการยื่นคำขอจัดที่เมืองไทย ครับ ทีนี้ทางนั้นก็พิจารณาว่าจริงๆแล้วทางไทนแลนด์เราก็มีกิจกรรม แล้วก็มีความเป็นไปได้ที่เราจะจัดได้ เขาก็ให้เรายท่นเรื่องไปขอจัดที่เมืองไทย คราวนี้พอเขาได้อ่านเรื่องที่ยื่นไปเขาก็ประทับใจมาก เพราะเราก็ขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวการจัดงานมีตติ้งต่างๆในไทย ก็คราวนี้เขาก็ตอบกลับมาว่าเขาเห็นด้วยนะที่จะให้ไทยจัด แต่อยากจะเพิ่ม เป็น GND ด้วยได้ไหม เพราะในระบบไฟฟ้ามันต้องเกิดจากการผลิต ส่ง และก็จำหน่าย ก็เลยเปลี่ยนชื่อไปเลย ครับ คราวนี้พอเราได้รับการตอบรับงานเนี่ยเราก็รู้สึกโอเค เราดีใจ แต่ก็ดีใจแปบเดียวเราต้องเริ่มทำงานแล้วครับ เรามีเวลา 2 ปีกว่า ในการฟอร์มทีม ซึ่งก็ต้องได้รับอาศัยความช่วยเหลือจากหลายฝ่าย หลักๆก็มี 3 การไฟฟ้าใหญ่นะอะ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิต เป็นการซัพพอร์ตสำคัญเลยครับ แล้วก็จากนั้นเราก็มีการประกาศหาคนช่วยงานครับ เพราะงานระดับโลกต้องมีออแกไนซ์เซอร์มาช่วยงาน ซึ่งเราต้องมี 2 ออแกไนซ์เซอร์เลยครับ บริษัทนึงดูแลเรื่องงานเอ็กโป เนื่องจากงานนี้เป็นทั้ง Conference และ Exposition ซึ่งบริษัทนึงต้องดูแลบูท ซึ่งบูทก็เป็นระดับมอเตอร์โชว์เลยครับ ที่ไบเทค 3 ฮอลล์ 98 99 100 เนี่ย เราใช้หมด ก็คือเป็นโซนใหม่ที่ติดกับรถไฟฟ้าสถานีบางนา อีกส่วนที่เป็น Conference เนี่ย เราก็มีอีกบริษัทนึงที่จากสิงคโปร์ซึ่งมีประสบการณ์จากการจัด Conference นานาชาติมากมาย มี platform ในการอัพโหลด paper มาช่วยเรา จากนั้นเราก็แบ่งทีมนะครับ พาร์ทนึงดูแลการหาสปอนเซอร์ พาร์ทนึงดูแลการออกบูท พาร์ทนึงดูแลเทคนิค พาร์ทนึงดูแลการจัดการ อะไรอย่างนี้ ก็คือมีหลายกรุ๊ปมาก แล้วก็อย่างที่เรียนไปว่าทุกเดือนต้องมีการประชุมร่วมกัน รายงานให้กรรมการประธาน ฟังถึงปัญหา เนื่องจากเป็นงานใหญ่เราทำงานแบบตลอดเลยฮะ ตลอดสองปีนี้ ยิ่งช่วง 6 เดือนสุดท้าย เราประชุมกันทาง Teleconference ทุกคืน บางทีต้องคุยกับสิงคโปร์ ทาง US เขาก็ตามงานว่าเราจะทำได้โอเค ตามมาตรฐานเขาไหม พอจัดเสร็จทุกคนก็มีความสุข

ค่ะ อาจารย์คะ การจัดกิจกรรมที่ใหญ่ขนาดนี้แล้วประสบความสำเร็จ อาจารย์คิดว่าทางสมาคมและทางประเทศไทยได้รับอะไรบ้างคะ

ประเทศไทยได้รับมากมายเลยครับ เพราะว่า สเกลคนที่เข้าร่วมงานคือ หมื่นกว่าคนที่เข้าร่วม แล้วทาง IEEE PES เราก็หึความสำคัญกับนิสิตนักศึกษาเป็นลำดับแรกเลยครับ ก็คือเราเชิญชวนนิสิตนักศึกษามาเข้าร่วมงานถึง 1000 คน หลักๆ คือนิสิตนักศึกษา ได้ประโยชน์แล้วครับ เราเชิญแม้กระทั่งมหาลัยจากต่างจังหวัด เรามีเงินสนับสนุนค่าเดนทาง นั่งรถบัสมาฟรี ให้อาจารย์เลยว่าอาจารย์พานิสิตมารถบัส เราจัดการค่าเดินทาง ค่ากิน ค่าอาหาร เราก็ให้ 200 บาท/คน ก็คือเราสนับสนุนเต็มที่อ่ะฮะ ให้นิสิตนักศึกษามีส่วนร่วมด้วยกัน เพราะเราไม่รู้ว่าจะมีโอกาสจัดงานระดับโลกแบบนี้ได้เมือ่ไร เพราะในการออกบูทเนี่ยก็มีบริษัทชั้นนำ ผู้ผลิตจากทั่วโลกมาออกบูท เขาก็ได้เห็นเทคโนโลยีใหม่ๆ แม้แต่งานคอนฟาเร้นเอง นักวิชาการ นิสิต ป.โท ป.เอก แม้แต่อาจารย์ได้เข้าร่วมฟัง ผู้พูดก็เป็นผู้พูดระดับโลกครับ

ถือว่าประเทศไทยได้รับประโยชน์มากๆเลยนะคะ อาจารย์คะจากที่ได้พูดคุยกับอาจารย์นะคะ การทำงานกับสมาคมระดับโลกนี้นะคะ มีประโยชน์มากมายเลยนะคะ อยากจะให้อาจารย์แนะนำนิสิตรุ่นใหม่ที่เรียนทางด้านนี้นะคะ ว่าถ้าเกิดสนใจอยากจะทำงานเกี่ยวกับสมาคมระดับโลกแบบนี้อ่ะค่ะจะต้องมีทักษะอะไรบ้าง และจุดสำคัญอะไรบ้างคะที่ควรจะมีอ่ะค่ะ

ครับ ผมเชื่อว่าเด็กสมัยนี้อ่ะฮะเป็นเด็กที่เก่งแล้วก็เรียนรู้เร็วนะครับ เวลาเขาไปอ่านในเว็บภาษาอังกฤษเขาก็ไม่มีปัญหาอ่านได้เร็ว มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความกล้า แต่ส่วนนึงที่อยากจะให้เสริมอยากให้ อยากเสริมให้เขาเก่งขึ้น ควรจะมีความเพียร ความทรหดอดทน ความมุ่งมานะไม่ท้อถอยในสิ่งที่เขาต้องการ ฝันที่จะเป็นนะครับ จริงๆความเพียรที่ผมพูดตรงนี้ก็คือความเพียรอีกระดับนึงนะฮะ ไม่ใช่ความเพียรที่ลอกว่า ฉันไม่ขี้เกียจทำการบ้าน ไม่ใช่นะครับ เป็นความเพียรที่อยากจะวิ่งมาราธอนให้ได้ คนทั่วไปอยู่ดีๆไปวิ่งมาราธอนก็ไม่ได้ มันต้องมีการฝึกฝนวันแล้ววันเล่า จนซักวันนึงถ้าเกิดเราวิ่งมาราธอนได้เมื่อไร เราจะรู้สึกว่าเฮ้ย ฉันทำอะไรก็ได้นิ ถ้าเกิดฉันมีความตั้งใจจริง เขาเรียกว่าเป็น นัมเบอร์วันได้นะฮะ สมัยนี้ก็คือว่าเด็กๆมีความเก่งในการแก้ปัญหา เวลาจะเจอปัญหาเขาก็สามารถศึกษาได้ด้วยตัวเอง แก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง เข้าไปดูการแก้ในกูเกิ้ล ถ้าทางนี้แก้ไม่ได้ก็ไปอีกทางนึง เพียงแต่ว่าบางปัญหาเนี่ยมันอาจจะต้องใช้เวลาในการแก้นาน บางครั้งก็ไม่อยากให้เขาเปลี่ยนใจปล่อยปัญหานี้ไปแก้ปัญหาอื่น หรือไปทำอย่างอื่นดีกว่า บางปัญหาอาจต้องใช้เวลา ถ้าเกิดเขามีความตั้งใจจริง ผมก็เชื่อว่ามีความเพียรอย่างที่ผมบอกเนี่ย เขาก็จะสามารถเอาชนะตรงนั้นได้ สิ่งที่เขาจะได้ก็สามารถไปได้ถึงฝันที่เขาต้องการ

และนั่นก็คือสิ่งที่อาจารย์ฝากให้กับนิสิตหรือเด็กยุคใหม่นะคะ ค่ะ สำหรับวันนี้นะคะก็ต้องขอบคุณอาจารย์มากเลยนะคะ ที่ให้เกียรติกับทางสำนักหอสมุดนะคะ ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งในการทำงานกับสมาคมระดับโลกแบบนี้นะคะ แล้วในครั้งต่อไปนะคะ แขกรับเชิญจะเป็นใครโปรดติดตามข่าวสารของสำนักหอสมุดได้จาก Facebook Fanpage ของสำนักหอสมุดค่ะ สำหรับวันนี้นะคะก็ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามชมรายการค่ะ สวัสดีค่ะ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รางวัล Outstanding Chapter Volunteer Award (OCVA) 2019 จาก IEEE PES Thailand

The volunteer management handbook : leadership strategies for success / edited by Tracy Daniel Connors

Manual for network development of volunteer teachers and their income generation projects

 

 

ULIB Talk #8

24 ตุลาคม 2561

==============================================

นางสาวนิศารัตน์ อัครปัญญาวิทย์
จากคณะเศรษฐศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรกับผลงาน “รางวัล Skate Asia 2018 และรางวัลเหรียญเรียนดี

           น้องใบเฟิร์น (นางสาวนิศารัตน์ อัครปัญญาวิทย์) สาวน้อยคนเก่งจากคณะเศรษฐศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร ผู้สิ่งมีความสามารถในการเล่นไอซ์สเกต ได้รับรางวัลที่ 1 โปรแกรม Rhythmic Ribbon freestyle และที่ 2 โปรแกรม free style 1 ในการแข่งขันในรายการ Skate Asia 2018 และยังเป็นนิสิตที่สามารถทำกิจกรรมและเรียนดีไปพร้อมๆ กันได้ โดยได้รับรางวัลเหรียญเรียนดี ในปีการศึกษา 2561

เรื่องการเริ่มเล่นไอซ์สเกต น้องใบเฟิร์นเริ่มหัดเล่นอย่างจริงจังเมื่ออายุ 16 ปี โดยมีแรงบันดาลใจมาจากการดู Disney On Ice ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเรียนมาก่อนตอนเด็ก แล้วหยุดเรียนมาพักหนึ่ง

อุปสรรคในการเรียนไอซ์สเกตคือการล้ม เพราะต้องใช้การทรงตัวที่ดี ซึ่งน้องใบเฟิร์นมองว่าเรื่องการล้มเป็นเรื่องปกติของการเป็นนักไอซ์สเกต  การแข่งขันเพื่อที่จะได้รางวัล จะต้องใช้เวลาในการซ้อมมากกว่าปกติ ซึ่งในการแบ่งเวลานั้น น้องใบเฟิร์นบอกว่าเนื่องจากน้องเรียนภาคพิเศษ ซึ่งเรียนตอนเย็น จึงสามารถใช้เวลาก่อนเรียนไปซ้อมได้

          สำหรับในด้านการเรียนสาขาเศรษฐศาสตร์ มาจากความสนใจส่วนตัวคือชอบคำนวณ และการได้รางวัลเหรียญเรียนดี ซึ่งให้กับนิสิตที่ได้คะแนนเฉลี่ยมากว่า 3.50 นั้น น้องได้ให้เคล็ดในการเรียนว่าต้องเข้าเรียนเป็นประจำ ไม่ขาดเรียน และเรียนให้เข้าใจในคาบ และต้องแบ่งเวลาในการทบทวนโดยการทำสรุปเป็นของตัวเอง

          การหาข้อมูลเพื่อประกอบการเรียนของน้อง น้องจะใช้แหล่งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และฐานข้อมูลที่ห้องสมุดบอกรับคือ EconLit ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ตอบโจทย์ในด้านเศรษฐศาสตร์มาก

          เป้าหมายในอนาคตน้องต้องการจะไปเรียนต่อปริญญาโท เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์พร้อมกับไม่ทิ้งการฝึกการเล่นไอซ์สเกต เพราะน้องวางเป้าหมายไว้อยากจะเป็นโค้ช

          น้องได้ฝากไว้ว่าหากมีความผัน ขอให้ดำเนินตามฝันนั้น และเพื่อที่จะไปถึงความฝันนั้นได้ ต้องมีการวางแผนที่ดีและความรับผิดชอบในสิ่งที่เราทำ

** สนใจศึกษาเรื่องการเล่นไอซ์สเกต สามารถหาได้จากฐานข้อมูล SportDiscuss With Fulltext ที่มีให้บริการในสำนักหอสมุดค่ะ **

แนะนำทรัพยากร

รางวัลการนำเสนอผลงานระดับนานาชาติ Best Presenter

วันนี้ได้รับเกียรติจากนิสิตปริญญาเอกคณะวิศวกรรมศาสตร์ และท่านเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน โดยอาจารย์ได้นำเสนอผลงาน และได้รับรางวัลเสนอผลงานระดับนานาชาติ Best Presenter ในงาน The 2nd International Conference on Informatics and Computational Sciences จัดโดย department of inmatic facalty of science matermatic universica dinagolo ระหว่างวันที่ 30-31 ตุลาคม ณ ประเทศอินโดนีเซีย ขอต้อนรับ คุณภัทรพงษ์ ภาคภูมิ นิสิตปริญญาเอก ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน

หัวข้องานวิจัย A Column Generation Approach for Personnel Scheduling with Discrete Uncertain Requrements เป็นเรื่องของการจัดตารางพนักงาน อยากให้อาจารย์เล่ารายละเอียดให้ฟังว่าเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับอะไร

ในธุรกิจการทำงานทุกวันนี้ ต้นทุนหลักคือต้นทุนการจ้างพนักงาน มีทั้งเงินที่ต้องจ่ายให้กับพนักงาน ถ้าเราจ้างพนักงานมาเกินความจำเป็น เราก็จะเสียต้นทุน เป็น Opportunity cost ที่ซ่อนอยู่ คือว่า แทนที่เขาจะไปทำอย่างอื่น เขาก็ต้องมาอยู่ที่ทำงาน ซึ่งอาจจะไม่มีงานเพียงพอให้เขาทำ (พิธีกร อาจารย์ก็เลยคิดงานวิจัยชิ้นนี้มาโดยใช้เครื่องมือที่ช่วยจัดทำตารางของการทำงานนี้) งานนี้ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร. พีรยุทธ์ ชาญเศรษฐิกุล ท่านก็ให้คำแนะนำในการศึกษาเรื่อง topic นี้ และท่านก็ให้อิสระทางความคิด ก็เริ่มพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จากปัญหาที่ทำความยากให้เพิ่มมากขึ้น และให้สมกับสถานการณ์จริงมากขึ้น

อยากจะทราบว่าในเรื่องของการจัดตารางเวลาในการทำงานของพนักงาน ทำไมต้องใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ที่อาจารย์ทำวิจัยมาช่วยจัดตารางของพนักงาน

การจัดตารางพนักงานที่ทำอยู่ เราจัดตาม demand ซึ่ง demand ก็จะขึ้นลงตาม factor หลายอย่าง เราไม่สามารถจะบอกได้ชัดเจน 100 เปอร์เซ็นต์ว่าจะต้องเป็นเท่านั้นเท่านี้ จะกะประมาณๆ ได้

ในงานวิจัยของอาจารย์มีแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ด้วย สำหรับคนที่ติดตามงานของอาจารย์ ก็สามารถดูได้จากฐานข้อมูล IEEE Explore แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่อาจารย์นำมาช่วย มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง

การจัดตารางพนักงาน เราจัดเป็นจำนวนคน ใช้ math model ในการแทนจำนวนคน ความยากก็คือถ้าตัวแปรเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม จำนวนคนต้องเป็นจำนวนเต็ม มันจะยากกว่าถ้าเป็นเศษส่วนได้ ความยากตัวแรกคือต้องเป็นจำนวนเต็ม ความยากตัวที่ 2 คือมีความไม่แน่นอนของปัญหา เราบอกว่ามีความเป็นไปได้หลายแบบที่ความต้องการ สมมุติอาจจะเป็นต้องการคนทำงานอยู่ระหว่าง 10-20 คน มีหลายกะต่อเนื่องกัน เวลาเอามารวมกันแล้ว ตัวแปรของปัญหาจะเยอะมากเป็นพันล้านตัวแก้ด้วย software ก็จะใช้เวลานานมาก ถ้าเราไม่ได้ใช้ software เราวางแผนโดยเราใช้ประสบการณ์ ผลที่ออกมาจะไม่ดีเท่า

อาจารย์บอกว่ามีวิธีแก้ปัญหาอยู่ที่ 2 อย่าง ใช้ software กับวิธีพิเศษ 2 วิธีต่างกันอย่างไรบ้าง

ในงานวิจัยเราเปรียบเทียบวิธีทำที่เราศึกษามากับการใช้ math model แก้โดย software ซึ่ง software ถือเป็น software ชั้นนำของโลก นักวิจัยส่วนใหญ่ใช้ทั้งอเมริกา และยุโรป วิธีการของเราคือ ศึกษาโครงสร้างของปัญหา ลักษณะที่เราศึกษาได้ สังเกตได้ เอามาใช้ขั้นตอนพิเศษ เป็นขั้นตอน Column Generation เพิ่ม Column ของปัญหาตามที่ต้องการ สมมุติอาจจะมี 200 column เราจะเริ่มที่ 100 column เพิ่มทีละ column ความใหญ่จะค่อยๆ เพิ่มตามที่จำเป็น

ในงานวิจัยของอาจารย์จะมีผลลัพธ์ระหว่างเส้นสีแดงและเส้นสีน้ำเงิน เดี๋ยวภาพจะจับหน้าจอให้ดู มีความแตกต่างกันอย่างไร และมีผลอย่างไรบ้าง

ที่พูดว่า software ระดับโลกก็คือเส้นสีแดงที่ใช้ ส่วนวิธีการที่เราทำจะเป็นเส้นสีน้ำเงิน เราจะเห็นว่าถ้าเราใช้ software ในการแก้ปัญหา ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่ดีเท่าวิธีการเรา วิธีการที่เราทำ (พิธีกร เป็นเรื่องผลลัพธ์ที่ได้ที่ทางงานวิจัยชิ้นนี้ค้นพบว่าจะทำได้ดีกว่า) ทำได้ดีกว่า ต้นทุนต่ำกว่า และใช้เวลาที่รวดเร็วกว่า

ในงานวิจัยของอาจารย์ อาจารย์คาดหวังในอนาคตไหมว่าจะต่อยอดเป็นงานวิจัยชิ้นอื่นอย่างไรบ้าง

งานที่ทำในขณะนี้ยังเป็นในเชิงทฤษฎี คาดหวังว่าจะนำมาใช้ในงานจัดตารางของที่มีอยู่ในบ้านเรา เช่น การจัดตารางพนักงานพยาบาลในโรงพยาบาล ถ้าเราเอามาใช้ เราจะสามารถจัดจำนวนพนักงานได้ตามปริมาณ Demand Supply จะช่วยลดต้นทุน กำจัดสิ่งที่เกินในระบบออกไป (พิธีกร จากงานวิจัยในชิ้นนี้ก็พอจะสรุปได้ว่า งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ Column Generator จะลดต้นทุนได้ในงานวิจัยชิ้นนี้)

มาพูดถึงการนำเสนอ ที่อาจารย์ได้รับรางวัลในส่วนของ Best Presenter ในการนำเสนองานชิ้นนี้ อะไรเป็นส่วนที่อาจารย์ได้รับรางวัลใน Best Presenter ครั้งนี้

ไปที่อินโดนีเซีย ไปล่วงหน้าก่อน 1 วันก็ไปเตรียมตัว ไปซึมซับบรรยากาศ ไปเยี่ยม บุโรพุทโธ ก่อนล่วงหน้า 1 วัน พอวัน present ก็ดูในห้องเห็นว่ามีนิสิตจากมหาวิทยาลัยมาฟังเยอะ รวมกับเราตื่นเต้นด้วย ตอนเริ่มต้นก็สร้างบรรยากาศให้เป็นธรรมชาติ ก็บอกก่อนเลยว่า จริงๆ ไปประทับใจมากเราก็พูดถึงจุดนั้น ถึงเวลา present งาน คือเราทำงานมาด้วยตัวเอง เราจะรู้ว่างานเราอะไรเป็นอย่างไร อธิบายไปตามธรรมชาติว่า จุดไหนที่เรารู้ จุดไหนที่เรายังขาด บางทีเราก็ต้องบอกข้อดีข้อเสียไปตามที่มีอยู่ เขาก็คงจะเห็นว่าเป็นงานที่ออกมาตามธรรมชาติ และสามารถใช้งานได้จริง

ในการนำเสนอผลงาน ต้องมีการนำเสนอให้คณะกรรมการด้วย เคล็ดลับในการนำเสนอที่โดนใจกรรมการ

มีผู้เชี่ยวชาญอยู่เยอะมาก ก็ออกความเห็นที่ตัวเองมีอยู่อาจจะไม่ตรงใจ เวลา present พูดสิ่งที่เราทำ อาจจะดู respond ของผู้ฟัง ปรับไปตามสถานการณ์ตอนนั้น (พิธีกร เทคนิคของอาจารย์ ไปล่วงหน้า ไปเตรียมข้อมูล อธิบายในส่วนที่เราทำไป จะพูดถึงสิ่งที่เราทำ จะดู respond ของผู้ฟังด้วย นี่คือเคล็ดลับในการนำเสนอผลงาน)

ขั้นตอนในการนำเสนอผลงาน กว่าจะได้ไปนำเสนอผลงาน มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

งานวิจัยเราก็ทำล่วงหน้ามาเป็นระยะเวลาหลายเดือน เราก็ต้องมีการเขียน ต้องมีการ rewrite ให้อยู่ในระดับที่มั่นใจว่าได้ตามมาตรฐานการประชุม เราก็เตรียม powerpoint ไป present อาจจะต้องไปถึงสถานที่ล่วงหน้าไปดูว่า เรา present ห้องไหน เวลาก็อาจจะกระชั้นชิด ยิ่งถ้าเราเป็นคนแรกๆ ไปทำความรู้จักกับอาจารย์หรือคณะกรรมการ จะได้สร้างความคุ้นเคย และเผื่อว่าวันหลังได้ร่วมงานกัน อย่างที่ไปอาจารย์ที่นั่นก็ให้ความกรุณา อาจารย์ท่านเป็นผู้ใหญ่ให้ความเมตตา หลังจากงานก็พาไปชมเมือง และฝากฝังเผื่ออนาคต 2 มหาวิทยาลัย หรือทางภาควิชาหรือคณะจะได้มีความร่วมมือซึ่งกันและกัน

อยากจะให้อาจารย์แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักวิจัยรุ่นใหม่หรือนิสิตปริญญาเอก ที่จะต้องนำผลงานไปนำเสนอ ให้คำแนะนำกับน้องๆ หรือผู้ร่วมงานวิจัยที่จะนำผลงานไปนำเสนอ

งานวิจัยเราชิ้นใหญ่ ก็ดูว่าจุดไหนที่จะสามารถนำไปงานประชุมวิชาการได้ อยากจะเชิญชวนให้ไปในงานประชุมวิชาการในต่างประเทศเยอะๆ เราไปสร้าง connection ไปทำความรู้จักให้กับทั้งมหาวิทยาลัยเรา และประเทศเรา ไปบ่อยๆ จะสร้างความถนัดในงานนี้มากขึ้น จะเป็นธรรมชาติมากขึ้น (พิธีกร ข้อดีของการนำผลงานของเราไปนำเสนอผลงานที่ต่างประเทศจะเพิ่มความมั่นใจในงานวิจัยของเรา)

จะขอทราบถึงงานวิจัยของอาจารย์ในเวลาการทำวิจัย ใช้แหล่งข้อมูลใดบ้างในการทำวิจัย

ดูจากงาน เนื้อหา เกี่ยวข้องอะไรบ้าง ส่วนใหญ่จะใช้ google on แต่ google เราก็ต้องเข้าอินเตอร์เน็ตของเกษตรศาสตร์ เพราะว่าจะได้ฐานข้อมูลที่สามารถ access ได้

(พิธีกร งานวิจัยของอาจารย์ผู้สนใจสามารถติดตามได้ในฐานข้อมูล IEEE Explore ที่สำนักหอสมุดบอกรับด้วย)

อยากให้อาจารย์ช่วยพูดถึงสิ่งที่ได้รับจากการนำเสนอผลงานวิจัย มีประสบการณ์อย่างไร และสามารถนำไปต่อยอดกับวิชาชีพของอาจารย์ได้อย่างไรบ้าง

เราอยู่ในงานลักษณะที่ว่าเป็นอาจารย์และนักวิจัย อย่างไปงานนี้ก็หวังเป็นอย่างยิ่ง เขาก็หวังว่าจะจัดทุกปี วางแผนจะจัดทุกปี ก็หวังว่าจะส่งนิสิตไปได้ ครั้งแรกเราไปมาแล้ว น่าจะส่งไปได้ ดูจากลักษณะงานแล้วเราก็มาเตรียมตัว ถ้าเรามีงาน เราก็เชิญอาจารย์ที่นั่นมาได้ เขาก็จะมีกลุ่มสมาชิกของเขา ก็จะเกิดความร่วมมือซึ่งกันและกัน น่าจะพัฒนางานวิจัยให้เข้มข้นมากขึ้นมาได้

(พิธีกร สิ่งที่อาจารย์ฝากไว้อยากจะชักชวนนิสิต นักวิจัยรุ่นใหม่ๆ นำเสนอผลงานวิจัย นอกจากจะได้พัฒนาในวิชาชีพของเราแล้ว ก็ยังสร้าง connection กับสถาบันต่างๆ ได้ด้วย)

จะติดตามผลงานได้จากทางไหนบ้าง

มีเว็บไซต์ของตัวเอง google plus pat pakpoom น่าจะขึ้นมาอันแรก

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

 A Column Generation Approach for Personnel Scheduling with Discrete Uncertain RequirementsA Column Generation Approach for Personnel Scheduling with Discrete Uncertain Requirements

Principles of managerial finance

การบริหารพนักงานหลากหลายกลุ่มวัย

เคล็ดลับการวางแผนภาษี บัญชี และแรงงาน "สวัสดิการพนักงาน"

 

 

Kulib Talk #13
สีเรืองแสงเพื่อความปลอดภัยที่ดีขึ้น

สัมภาษณ์ : นางสาว ดลชนก ดรุณวรรณ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
     ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดสิ่งประดิษฐ์ชิงทุนการศึกษาGo Further Innovation Scholarship 2018 ในระดับอุดมศึกษา ในหัวข้อ “เพื่อทุกชีวิตปลอดภัยบนท้องถนน”จากผลงานสีเรืองแสงเพื่อความปลอดภัยที่ดีขึ้นและยั่งยืน หน่วยงานที่ทำให้เกิดโครงการในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง บริษัทFord ประเทศไทย บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด และ สมาคมประชากรพัฒนาและชุมชน

โครงการGo Further Innovation Scholarshipคือการประกวดอะไร มีระยะเวลาและเกณฑ์การตัดสินอย่างไรบ้าง?

     โครงการ Go Further Innovation Scholarshipเป็นโครงการเฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ โดยจัดให้นิสิตนักศึกษา และนักเรียนอาชีวะ ได้เข้าร่วมประกวดส่งผลงานชิงทุนการศึกษารวม 650,000 บาท โดย

รอบแรก : ส่งผลงานตั้งแต่วันที่ 15ส.ค. ถึงวันที่ 10ต.ค. และตัดสินรอบแรกในงันที่19 ต.ค.
รอบสอง : เป็นรอบบชิงชนะเลิศในวันที่24 พ.ย.และประกาศผลในวันนั้นเลย
 
พี่นีน่าได้รู้จักและมีความสนใจในการเข้าประกวดโครงการอย่างไร?

     พอดีพี่ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสีเรืองแสงเพื่อความปลอดภัยที่ดีขึ้นและยั่งยืนพอดี แล้วอาจารย์ก็เห็นว่าสีของพี่มีเกณฑ์ตรงตามที่โครงการกำหนดเลยแนะนำมา
 
แนวคิดในการสร้างผลงานสิ่งประดิษฐ์สีเรืองแสงเพื่อความปลอดภัยที่ดีขึ้นและยั่งยืนหรือว่าGlowing Paint for Better and Sustainable Road Safety?

     ริ่มแรกเลยพี่ได้เข้าไปฝึกงานกับบริษัท เฌอร่า ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและบริษัท เฌอร่า จัดร่วมกันเพื่อพัฒนานิสิตและงานวิจัยให้รับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นโอกาสที่ดี ทำให้พี่ได้รู้งานจริง และทำให้พี่ได้คิดค้นสีนี้ขึ้นมา

 

สีเรืองแสงเพื่อความปลอดภัยที่ดีขึ้นและยั่งยืนแตกต่างจากสีทาถนนปกติอย่างไร?

     สิ่งที่ทำให้มันแตกต่างจากสีปกติ อย่างแรกเลยคือเราได้เติมสารเพิ่มความสว่างลงไปนั่นก็คือสาร optical brightenerทำให้สีมีความขาวสว่างมากยิ่งขึ้น จะช่วยให้มองเห็นชัดเจนยิ่งขึ้นทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
 
อย่างที่พี่นีน่าได้บอกว่าได้เติมสาร3ชนิดลงไปในสีเพื่อเพิ่มความสว่างเลยอยากจะให้พี่นีน่าอธิบายเพิ่มเติมว่าสารทั้ง3ชนิดเป็นสารอะไรและมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ?

     ชนิดแรกก็คือ Optical Brightenerซึ่งเป็นสารที่ทำให้ความขาวสว่างมากยิ่งขึ้น จะช่วยให้มองเห็นชัดเจน สารตัวต่อไปคือสารเรืองแสง ทำให้เรืองแสงในเวลากลางคืน ซึ่งการที่เราได้เติมสารoptical brightenerลงไปก่อนหน้านี้จะช่วยให้สารเรืองแสงชนิดนี้กักเกบพลังงานไว้ได้มากขึ้นและจะปลดปล่อยเป็นการเรืองแสงออกมาในตอนกลางคืนได้มากและนานยิ่งขึ้น ส่วนตัวสุดท้ายคือสารประกอบ Nano Silicaเมื่อเราเติมลงไปแล้ว หากมีไฟหรือไฟจากหน้ารถมากระทบกับสีของเราจะทำให้วิสัยทัศน์ในการมองเห็นสีดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของสีทาถนนนั่นเอง
 
ขั้นตอนในการประดิษฐ์มีอะไรบ้าง?

     -ขั้นตอนแรกทำการนำสีทั่วไปมาเติมสารทั้ง3 ชนิดลงไป แล้วหาส่วนผสมที่ดีที่สุดเพื่อนำมาทดลองผลิตจริงในระดับอุตสาหกรรมซึ่งได้ทดลองผสมในห้องแลปของบริษัท เฌอร่า จำกัด (มหาชน)
 
ประโยชน์ชองผลงานชิ้นนี้มีอะไรบ้าง ในด้านของการใช้สี และประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ?
        
     ในส่วนของประโยชน์ด้านการใช้งาน สีชนิดนี้สามารถใช้งานได้หลากหลายมาก เช่น การทาบนพื้นถนน หรือ การทาบนทางจักรยานในม.เกษตรศาสตร์ ส่วนการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สีชนิดผลิตจาดวัสดุที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมจึงแน่ใจได้ว่าปลอดภัยแน่นอนค่ะ

ในการทำงานพี่มีการหาความรู้จากแหล่งความรู้ใดบ้าง และมีการนำความรู้จากสาขาอะไรบ้างที่นำมาใช้ผลิตสิ่งนี้ขึ้นมา ?

     พี่ได้หาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตและฐานข้อมูลของหอสมุด และมีการค้นคว้าหา Text book เพื่อนำมาใช้อ้างอิงในงานวิจัยนี้ และใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมวัสดุเป็นหลักค่ะ
 
ผลงานนี้มีทีมงานเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา2ท่านด้วยกัน นั่นก็คือ ผศ.ดร.ปริญญา ฉกาจนโรดม และดร.วิชิต ประกายพรรณ ทั้งทีมนี้มีรูปแบบการทำงานร่วมกันอย่างไรบ้าง?

     ทั้งผศ.ดร.ปริญญา ฉกาจนโรดม และดร.วิชิต ประกายพรรณ คอยช่วยเหลือพี่ตั้วแต่ตอนฝึกงาน รวมถึงการวิจัย ขั้นตอนการทำงาน รวมถึงตอนประกวดเลยค่ะ นอกจากนี่ยังได้รับความช่วยเหลือจากภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และบริษัทเฌอร่าด้วยค่ะ และขอขอบคุณบริษัทFord ประเทศไทย จำกัด สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน และทีวีบูรพา ที่ได้ให้โอกาสในการประกวดสิ่งดีๆแบบนี้แก่นิสิตทั่วทุกพื้นที่
 
ประสบการณ์และการต่อยอดจากการแข่งขันในโครงการนี้?

     พี่ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในมหาวิทยาลัย และในบริษัทเฌอร่า ซึ่งทำให้พี่ได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ นอกจากนี้ สีของพี่ได้รับการพัฒนาต่อยอดในการทำเป็นสีทาบ้านเพื่อการประหยัดพลังงานด้วยค่ะ
 
นอกจากนี้พี่นีน่ายังมีผลงานหรือกิจกรรมอื่นๆอีกไหม?

     ส่วนใหญ่พี่ก็ทำกิจกรรมของมหาวิทยาลัยตามที่หมาวิทยาลัยกำหนด กิจกรรมอื่นๆ พี่ก็ได้เป็นสตาฟของสโมสรนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ด้วยค่ะ
 
สุดท้ายนี้อยากให้พี่นีน่าให้คำแนะนำกับน้องๆหรือนิสิตท่านอื่นๆในเรื่องของการสร้างสรรค์ผลงานดีเด่นหรือการเข้าร่วมแข่งขันกิจกรรมต่างๆด้วยครับ

     อยากจะเชิญชวนน้องๆพี่ๆเพื่อนๆทุกคนให้มาเข้าร่วมการประกสดกันเยอะๆ เพราะนอกจากเราจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ประสบการณ์ใหม่ๆแล้วเราก็สามารถเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ให้ตัวเองอีกด้วยนะคะ อาจจะเริ่มจากสิ่งเล็กๆ แต่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ แค่คุณคิดที่จะเปลี่ยนก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้วนะคะ และอยากฝากไว้อีกเรื่องนึงนะคะ ถ้าหากใครสนใจที่จะเข้ามาเรียนต่อที่ภาควิชานี้ ก็สามารถเข้ามาดูได้ที่เว็บไซต์ของภาควิชาได้นะคะ
 
คำถามจากทางบ้าน ถามมาว่าสีเรืองแสงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆอีกได้ไหม ?

     อย่างที่บอกนะคะ สามารถนำมาทาได้ทั้งในบ้าน นอกบ้าน และถนนต่างๆก็ทำได้ค่ะ หรือจะนำมาทาเป็นทางเดินนำทางให้ผู้สูงอายุตอนกลางคืนก็ทำได้เช่นกันค่ะ
 
สีเรืองแสงสามารถนำไปใช้กับอาคารหรือรั้วบ้านได้ไหม?

     ได้เช่นกันค่ะ หากต้องการเป็นรั้วบ้านที่ชัดเจนยิ่งขึ้นตอนถอยรถเข้าบ้านก็ได้ค่ะ
 
พี่นีน่ามีกิจกรรมยามว่างที่ทำระหว่างเรียนอะไรบ้าง?

     งานอดิเรกก็พวกการอ่านหนังสือการ์ตูน และก็มีเล่นดนตรีบ้างค่ะ

 
การทำการวิจัยแต่ละเรื่องเราต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

     เราต้องมีการสืบค้นข้อมูล ซึ่งในส่วนนี้เราต้องหาข้อมูลเยอะมากเลยค่ะ ซึ่งพี่โชคดีนะคะ ที่มีหอสมุดเป็นฐานให้หาข้อมูลได้มากมาย ช่วยในการอ้างอิงในการทำวิจัยได้เยอะมากเลยค่ะ
 
ปกติใช้ฐานข้อทูลใดในการค้นคว้าหาข้อมูล?

     ส่วนใหญ่พี่จะเข้าไปในเว็บไซต์ของหอสมุดแล้วเข้าไปที่ฐานข้อมูลScience Direct ค่ะ
 
สีเรืองแสงมีการนำมาใช้จริงหรือยัง?

     ตอนนี้เป็นการทดลองผลิตจริง และนำมาใช้จริงบางส่วนในโรงงานแล้วค่ะ
 
ทำไมพี่ถึงสนใจเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ?

     พี่รู้สึกว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นคณะที่พี่ใฝ่ฝันมาตั้งแต่เด็กแล้ว และสาขาวิศวกรรมวัสดุเป็นอะไรที่แปลกใหม่มากๆเลย ไม่ค่อยเห็นที่ไหนเปิด พี่ก็เลยอยากเรียนเพราะเราจะได้รู้ถึงวัสดุต่างๆมากมายเลยค่ะ และก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในทุกสาขาอาชีพเลยค่ะ
 
ผลงานที่พี่อยากจะสร้างต่อไปมีอีกไหมครับ?

     พี่ก็อยากจะต่อยอดผลงานของพี่นะคะ เป็นสีในรูปแบบอื่นๆน่ะค่ะ ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการคิดค้นอยู่

แหล่งข้อมูลทางด้านวิศวกรรมวัสดุที่ให้บริการในสำนักหอสมุด
คำค้น “Optical Brightener”, “Nano Silica” จากแหล่งข้อมูลเหล่านี้ที่ให้บริการในสำนักหอสมุด

  1. Knovelฐานข้อมูลหนังสือ คู่มือ บทความ และสมการทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมทุกสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรม
  2. IEEE XPloreป็นฐานข้อมูลทีรวบรวมสารสนเทศจาก2 แหล่งข้อมูลคือThe Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) และ The Institution of Engineering and Technology (IET) ซึ่งใน IEL ประกอบด้วยเอกสารมากกว่า 1.2 ล้านรายการ จากสิ่งพิมพ์มากกว่า 12,000 รายชื่อ ให้ข้อมูลเอกสารฉบับเต็มตั้งแต่ปี 1988-ปัจจุบัน
  3. SciFinderเป็นแหล่งข้อมูลทางด้านเคมี ปฏิกิริยาเคมี องค์ประกอบทางด้านเคมี และสาชาที่เกี่ยวข้องกับเคมี เหมาะสำหรับนิสิต อาจารย์ และนักวิจัยทางด่านวิทยาศาสตร์ (เคมี) วัสดุศาสตร์ วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมวัสดุ

ทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดที่เกี่ยวข้อง

ชื่อเรื่อง

  1. วิศวกรรมวัสดุ: พฤติกรรมระดับโครงสร้างจุลภาพของวัสดุ / จาตุรงค์ บุญทันใจ
  2. Influence of Dual-layer and Triple-layer Remote Phosphor Package on Optical Properties of White LEDs.
  3. Respirometric Study of Optical Brighteners in Textile Wastewater.
  4. The Role of the Entropy Factor on the Adsorption of an Optical Brightener on Pulp.
  5. Aggregation Behavior of Nano-Silica in Polyvinyl Alcohol/Polyacrylamide Hydrogels Based on Dissipative Particle Dynamics.
  6. A Visible Colorimetric Fluorescent Probe for Hydrogen Sulfide Detection in Wine.
  7. Materials Engineering
  8. Computational Materials Engineering
  9. Concrete material science: Past, present, and future innovations.
  10. การถ่ายทอดนวัตกรรม : หลักการและรูปแบบ / ธันยา พิทธยาพิทักษ์, ธันยวิช วิเชียรพันธ์



KULIB Talk No.19 รางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ (Thailand Accounting Case Competition) จากสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย Dream team กลุ่มนิสิตคนเก่งจาก ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ

libtalk18 1

วันนี้ได้รับเกียติจากนิสิต ทีม Dream team จากคณะบริหารธุรกิจ โดยพวกเขาได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ (Thailand Accounting Case Competition 2018) ครั้งที่ 2 วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ เกษรี ณรงค์เดช ชั้น 6 อาคารสภาวิชาชีพบัญชี โดยมีสมาชิกประกอบด้วย

  1. คุณจาตุรงค์ สีดา สาขาการบัญชี
  2. คุณอารัชพร สสุทธิ สาขาการบัญชี
  3. คุณศศิกุล จองสุ สาขาการบัญชี
  4. คุณนพรัตน์ สว่างเกียรติกุล สาขาการบัญชี
  5. คุณธีระทัศน์ ศิรฐิตินันท์ สาขาการจัดการ
  6. ดร.จารุภา วิภูภิญโญ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา


ทราบถึงการแข่งขันได้อย่างไร ร่วมไปถึงการรวมทีมกันอย่างไร เพราะว่ามาจากต่างสาขากันด้วย


     ในส่วนของว่าเราทราบว่ามีการแข่งขันได้อย่างไร ก็คือ อาจารย์ก็จะเข้ามาประชาสัมพันธ์ทั้งในกลุ่ม facebook ของนิสิตภาควิชาบัญชี และมาพูดตามห้องเรียน ซึ่งพวกพี่สนใจอยากจะแข่ง ส่วนพี่บอลอยู่ภาคการจัดการ พี่ไปเรียนวิชาของภาคการจัดการเลยรู้จักกับบอลเลยชวนเข้ามาแข่งขันด้วยกัน


ทำไมถึงสนใจโครงการนี้

      เคยแข่งพวกกรณีศึกษามาก่อน เรารู้สึกว่ามันให้ประโยชน์แก่เรา ทำให้เราได้ฝึกการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจมากขึ้น เป็นการประยุกต์ความรู้ที่ได้จากห้องเรียนเข้ามาใช้จริง พอมีการแข่งขันนี้เราจึงรู้สึกอยากจะลงแข่งอีกครั้ง


พูดถึงกรณีการศึกษาทางบัญชี มีกติกาหรือเกณฑ์การตัดสินการแข่งขันอย่างไรบ้าง


      สำหรับกติกาและเกณฑ์การตัดสินแบ่งออกเป็นรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ สำหรับรอบคัดเลือกก็จะให้ผู้เข้าแข่งขันส่งรายงานและสไลน์ไปให้คณะกรรมการพิจารณาก่อนจากนั้นคณะกรรมการจะคัดเลือกเข้ามา 15 ทีม พอมาถึงรอบชิงชนะเลิศก็ในรอบแรกก็จะให้นำเสนอกับกรรมการชุดย่อยก่อนแบ่งออกเป็น 5 สาย สายละ 3 ทีม จากนั้นก็จะนำที่ 1 ของแต่ละสายเข้ามาคัดเลือกหาที่ 1 ของการแข่งขันครั้งนี้


ทีม Dream team ได้นำเสนอหัวข้อ secondary market comparison case study “กรณีศึกษาบริษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือ บตท.” คืออะไร มีหน้าที่ดำเนินการอย่างไรบ้าง


      บริษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือ บตท. เป็นรัฐวิสาหกิจจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวกลางระหว่างธนาคารกับบุคคลที่ต้องการจะขอสินเชื่อกู้บ้าน กระบวนการในการขอสินเชื่อประชาชนก็จะไปขอสินเชื่อกับธนาคาร ธนาคารก็จะพิจารณาสินเชื่อและก็ปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชน เมื่อธนาคารให้เงินแก่ประชาชนแล้วอีกนัยหนึ่งธนาคารก็จะมีความเสี่ยงขาดสภาพคล่อง เพราะฉะนั้นบริษัทตลาดรองสินเชื่อถูกตั้งขึ้นมาเพื่อไปซื้อลูกหนี้คือคนที่ไปขอสินเชื่อโดยการจ่ายเงินสดให้กับธนาคารเหมือนเป็นการเติมสภาพคล่องให้กับตัวธนาคารเพื่อป้องกันการขาดสภาพคล่อง พอตัวบริษัทตลาดรองสินเชื่อซื้อลูกหนี้เข้ามาเขาก็จะเอาลูกหนี้ตัวนี้ไปออกเป็นหลักทรัพย์ทางการเงิน ออกจำหน่ายให้กับนักลงทุนทั่วไป เพื่อให้นักลงทุนได้เข้ามาซื้อและจ่ายเงินให้กับบริษัทตลาดรองสินเชื่อแล้วเขาก็จะนำเงินนี้กลับไปซื้อสินเชื่อจากธนาคารใหม่อีกรอบวนเป็น cycle ไปเรื่อย ๆ


ทาง Dream team ได้โจทย์มาคือให้วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากธุรกรรมของ บตท. ทั้งด้านที่เป็นการเงินและไม่ใช่การเงิน และปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น อันเป็นผลจากการแก้ไข พ.ร.ก. บริษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2540 รวมถึงผลกระทบและการเตรียมความพร้อมของ บตท. ในการนำ TFRS 9 มาใช้ พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมในประเด็นปัญหาข้างต้น ก็อยากจะถามพี่ ๆ ว่าปัญหาที่เป็นทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงินมีอะไรบ้าง


      ตัวบริษัทตลาดรองสินเชื่อเขามีปัญหาอะไรทำไมเขาถึงอยากได้มาเป็นกรณีศึกษาในครั้งนี้ ก็คือเมื่อเขารับซื้อสินเชื่อจากธนาคารมา ทีนี้มันมีปัญหาว่าคนที่มากู้ซื้อบ้านเขาไม่มีเงินไปชำระเงินให้กับธนาคาร ก็กลายเป็นว่า บตท. ไม่มีเงินที่จะได้รับจากลูกหนี้ บตท. มีปัญหาคือ ไปรับซื้อลูกหนี้จากธนาคารมาแปลว่า หลังจากนี้ลูกหนี้ที่ไปขอกู้เงินจากธนาคารก็ต้องมาจ่ายค่าเช่าบ้านให้กับ บตท. แทน ทีนี้ลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายเงินให้กับ บตท. ได้ เกิดเป็นปัญหาหนี้เสียซึ่งเราเรียกว่า Non-performing debt คือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทำให้ บตท. เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องส่งผลต่อตัวธุรกิจหลักของ บตท. ตัวกรณีศึกษาก็ให้เราวิเคราะห์ว่า ปัญหามันเกิดจากอะไรทั้งใน part ปัญหาที่เป็นด้านการเงิน ปัญหาที่ไม่ใช่ด้านการเงิน ในส่วนของกฎหมายมีการแก้กฎหมายให้ตัว บตท. สามารถที่จะขยายขอบเขตในการทำธุรกิจได้มากขึ้น สำหรับปัญหาด้านการเงิน จะเล่าถึงกระบวนการก่อนว่า เมื่อซื้อสินเชื่อมาก็จะเอาลูกหนี้ไปออกเป็นหลักทรัพย์ขายให้กับนักลงทุน ทีนี้ตัวสินเชื่อบ้านมันมีอายุ 20 – 30 ปี เวลาคนไปขอซื้อบ้านจึงเป็นการผ่อนระยะยาว ขณะที่ว่าเอาลูกหนี้กลุ่มนี้มาแปลงเป็นหลักทรัพท์ออกจำหน่ายให้กับนักลงทุนมีอายุสั้นประมาณ 5 ปี ซึ่งมีปัญหาในการนำเงินมาชำระ ณ สิ้นปีที่ 5 ที่ต้องจ่ายเงินให้กับนักลงทุน เงินที่ต้องจ่ายมี 2 ก้อน คือ ดอกเบี้ย และเงินต้น ในขณะที่ฝั่งที่เราจะได้จากคนที่มาขอกู้ซื้อบ้าน เราจะได้แค่ดอกเบี้ยมาเท่านั้น มันทำให้เกิดปัญหาว่ารายได้ขารับจะมีแค่รายได้ดอกเบี้ย ในขณะที่รายได้ที่ต้องจ่ายออกไป ก็มีทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นซึ่งมันทำให้เกิดปัญหาในการที่ บตท. จะขาดสภาพคล่องได้ สำหรับปัญหาที่ไม่ใช่ด้านการเงิน เรากังวลว่า บตท. อาจจะต้องเผชิญหน้ากับความอยู่รอดขององค์กรเพราะว่า หนี้ที่ บตท.รับซื้อเข้ามา เป็น NPL ค่อนข้างสูง และต่อมาเรื่องเกณฑ์การรับซื้อสินเชื่อของ บตท. ยังไม่พิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตได้และจากนั้น บตท. รับซื้อสินเชื่อเข้ามา ข้อมูลของลูกหนี้บางอย่างไม่ถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันหรือมีข้อมูลสูญหายก็ยากต่อการนำไปใช้นำไปวิเคราะห์ได้

ปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการแก้ไข พ.ร.ก. ของบริษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2540


      จากการแก้ไข พ.ร.ก. ของบริษัทตลาดรองจะทำให้บริษัทตลาดรองเองสามารถขยายการทำธุรกรรมได้มากขึ้น คือเขาสามารถจัดซื้อสินเชื่อได้จากสถาบันที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (เช่น land & house) เขายังสามารถซื้อสินเชื่อจากสถานบันที่ปล่อยสินเชื่อที่มาขนาดเล็ก ทำให้มีโอกาสที่จะซื้อหนี้ที่เสียเข้ามาใน บตท. ได้มากขึ้นกว่าเดิม ทำให้สินทรัพย์ที่เอามาค้ำประกันในการออกตราศาสตร์ กระแสเงินสดที่เขาได้รับมาอาจจะไม่เพียงพอที่จะมาจ่ายชำระคืนแก่เรา ปัญหานี้ก็จะเกิดขึ้นจากการรับซื้อสินเชื่อจากสถาบันที่ไม่ใช่ทางการเงิน

ผลกระบทหรือว่าการเตรียมความพร้อมของ บตท. ในการนำ TFRS 9 มาใช้มีอะไรบ้างและมีผลกระทบด้านอื่นอีกไหม


      TFRS 9 เดิมทีแล้ว บริษัทตลาดรอง หรือ บตท. เขาจะต้องทำตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย คือ โดยปกติแล้วจะจัดชั้นลูกหนี้เป็น 5 ชั้น ถ้าสมมุติว่าTFRS 9 ที่จะนำมาใช้ใหม่ก็จะต้องจัดลูกหนี้เป็น 3 ชั้นแทนซึ่งในการตั้งสำรองหนี้โดยปกติทางธนาคารจะตั้งสำรองหนี้ดูข้อมูลว่าลูกหนี้ค้างชำระเมื่อไหร่เรียกการตั้งสำรองนี้ว่า inter long modal เมื่อ TFRS 9 นำมาปรับใช้การตั้งสำรองจะเป็นลักษณะ looking for work นำปัจจัยทางด้านเศษรฐศาสตร์มองถึงความสามารถในการชำระเงินของลูกหนี้ในอนาคตมาเป็นเกณฑ์ในการตั้งสำรอง ทำให้ในส่วนสำรองที่ บตท. ที่จะต้องตั้งมีปริมาณที่สูงขึ้น เนื่องจาก TFRS 9 เป็นมาตราฐานใหม่ที่มีเฉพาะทำให้จะต้องมีผู้ที่เชี่ยวชาญในการคำนวณการด้อยค่าหรือว่าการที่เราจะต้องคือเขาจะต้องการนักสถิติเข้ามาช่วยในการคำนวณด้วยและยังมีข้อมูลต่าง ๆ ที่ทาง บตท. จะต้องใช้มากขึ้นในการนำ TFRS 9 มาใช้

มีการนำเสนอแผนแนวทางนโยบายเชิงการจัดการองค์กรและในเชิงการพัฒนาและปรับปรุงระบบการดำเนินงานขององค์กรอย่างไร


      สำหรับข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายขององค์กร ปัญหาที่เป็นปัญหาด้านการเงินเราเสนอ 2 ข้อหลัก ๆ คือ จากเดิมที่ บตท. จะต้องไประดมเงินทุนจากตลาดตราศาสตร์หนี้ด้วยการออกตราศาสตร์หนี้ออกไปก็เสนอให้ไประดมทุนในตลาดตราศาสตร์ทุนเพิ่มขึ้นซึ่งจะช่วยลดปัญหารายได้ขารับของ บตท. กับรายได้ขาจ่ายที่มันไม่สมดุลกัน ส่วนปัญหาที่ไม่ใช่ปัญหาในด้านการเงินเราจะเน้นไปจัดการระบบภายในของ บตท. มากขึ้น สำหรับแนวทางแก้ไขภายในองค์กรเราก็มองว่าทาง บตท. เองควรจะนำข้อมูลประวัติการชำระเงินของลูกหนี้จากทะเลดิโบโลมาพิจารณาร่วมกับ 3 เกณฑ์ ที่เขามีอยู่เดิมเพื่อวิเคราะห์ถึงภาพการชำระหนี้ในอนาคตของลูกหนี้รายนั้น ๆ หลังจากนั้นก็จะนำเทคโนโลยี OCR หรือ objet all caracter rescorition นำมาใช้โดยการแปลงข้อความไฟล์เอกสารให้เป็นข้อความอัตโนมัติ เพื่อลดข้อผิดพลาดในการจัดรูปแบบข้อมูลและก็ลดความผิดพลาดของข้อมูลไม่ถูกต้อง ส่วนการแก้ปัญหาในระยะกลางได้เลือกแอปพลิเคชันมาใช้ในการแก้ไขปัญหานี้ เนื่องจากเราไปดูสถาบันการเงินต่าง ๆ มีวิธีการเข้าถึงลูกค้าอย่างไงที่จะทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการกับทางธนาคารอีกรอบหนึ่ง ดังนั้นเรามองเห็นแล้วว่าในปัจจุบันแอปพลิเคชันจะเข้าถึงตัวลูกค้าได้มากที่สุด และหลังจากนั้นในแอปพลิเคชันของเราจะแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ในการที่จะช่วยให้ บตท. ลดในเรื่องของ NPL ได้และช่วยในเรื่องของลูกหนี้ก็คือลูกหนี้จะสามารถซื้อของในราคาที่ถูกลงหรือว่ามีส่วนลดดอกเบี้ยหนี้


ในการแข่งขันในครั้งนี้ใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการค้นหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นทางฐานข้อมูล แหล่งข้อมูล ศึกษาจากแหล่งที่ไหนบ้าง


      เริ่มแรกจากที่เราได้รับ case มา เราก็เริ่มจากค้นข้อมูลที่หอสมุดก่อนเกี่ยวกับสินเชื่อและ บตท. คืออะไร เพื่อให้เราทำความเข้าใจตัวธุรกิจให้มากขึ้น และอีกแหล่งข้อมูลหนึ่งที่เป็นแหล่งข้อมูลใหญ่เลยคือตามอินเทอร์เน็ต ก็ค้นหาตามประเด็นที่เป็นประเด็นด้านการเงินและไม่ใช่ด้านการเงิน และอีกแหล่งหนึ่งที่สำคัญคือบทความ article จากตัวของบริษัทที่เขาเป็น บริษัทคอนเซาท์ติ้ง ที่ให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้า ในส่วนของแอปพลิเคชันแหล่งข้อมูลเราก็จะหาข้อมูลใน google และผู้เชี่ยวชาญ migdata คืออะไร ใช้อย่างไง พอเราได้ข้อมูลมาแล้วเราก็ทำการหาข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการเงินต่าง ๆ แอปพลิเคชันนั้นเขามา function อะไรบ้าง และเข้าไปดูว่า SCB, K-bank, AMA มี function อะไรบ้าง แล้วเราก็ดูว่า function ไหนที่เข้ากับสถานการณ์ของเรามากที่สุด เราก็จะเลือกใช้ function นั้นมาใช้ในการแก้ไขปัญหา

ในการแข่งขันครั้งนี้ให้อะไรแก่เราบ้าง


      คุณธีระทัศน์ ศิรฐิตินันท์; สำหรับผมนะครับ ไม่รู้เรื่อง TFRS 9 หรือ ทางบัญชีเลย แต่ว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้มาจากอาจารย์คือ วิธีการมองด้านธุรกิจว่าเราจะมองธุรกิจในภาพกว้างอย่างไรและเราจะใช้ในการแก้ปัญหาอย่างไร เมื่อเราเรียนรู้จากในห้องเรียนแล้ว การทำ case เป็นการนำความรู้นั้นมาใช้จริงและเพื่อให้ต่อยอดจากความรู้ที่เรามีอยู่ออกไปได้ไกลกว่านี้ ในเรื่องของ teamwork ทำให้เราได้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ตอบโต้กับคนอื่นเขามีความคิดอย่างไงที่ไม่เหมือนกับภาควิชาของเรา ทำให้ในอนาคตเราสามารถทำงานกับคนอื่นได้ง่ายขึ้น


      คุณศศิกุล ทองสุข; ในเรื่องของ teamwork เหมือนกันในการทำงานทุกครั้งที่จะให้งานนั้นประสบความสำเร็จ teamwork เป็นเรื่องสำคัญ บางอย่างเรามีความคิดเห็นไม่ตรงกันแต่เมื่อเราลองมา discuss กันหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันก็นำไปสู่ solution ที่เหมาะสมและก็ที่ดีได้ และก็อีกเรื่องหนึ่งก็เป็นเรื่องของความรู้ใหม่ ๆ ที่เราได้จากการทำ case นี้อย่างตัวพี่เองเรียนบัญชีความรู้ก็จะเป็นลักษณะบัญชีซะส่วนใหญ่แต่เมื่อเราได้ลองหาข้อมูลทางด้านไอที ทางด้านการเงิน การทำความเข้าใจให้ถ่องแท้และนำมาปรับใช้นำมาหา design หารูปแบบใหม่ ๆ ให้เข้ากันก็จะนำไปสู่ solution ที่ดีได้เหมือนกัน


      คุณจาตุรงค์ สีดา ; สำหรับผลก็ได้ความรู้หลัก ๆ 2 อย่าง ก็คือการทำงานเป็นทีม และความรู้ในห้องเรียนก็จะมีจำกัดจากอาจารย์ในระดับหนึ่งทีนี้ถ้าเราอยากจะเรียนรู้เพิ่มก็ case ก็จะช่วยให้เราอยากศึกษามากขึ้น ส่วนทักษะการทำงานเป็นทีมอยากจะขอเพิ่มเติมจากเพื่อนก็จะเป็นในเรื่องของการฝึกการสื่อสารการแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นสิ่งที่เราควรจะได้รับการฝึกก่อนไปทำงานจริง


      คุณนพรัตน์ สว่างเกียรติกุล; สำหรับพี่ก็ไม่ต่างจากทุกคนอยากจะขอเสริมก็คือสิ่งที่ได้คือ การเผชิญหน้ากับความกลัว การเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ การเจอกับคนเยอะ ๆ บางครั้งมันทำให้รู้สึกว่าน่ากลัว พี่ก็ลองคิดว่าถ้าสมมุติพี่ไม่ลองก้าวออกมาจาก zone นั้นดูมันก็จะไม่มีอะไรเปลี่ยนไปจากเมื่อวาน พี่ก็แค่ลองทำพอได้ทำพี่ก็คิดว่ามันเป็นสิ่งที่คุ้มที่เราตัดสินใจและก็ลงมือทำ รางวัลเป็นเพียงแค่ผลพลอยได้ที่เราได้มา แต่จริง ๆ สิ่งที่เราได้คือ ประสบการณ์ เพื่อน และมิตรภาพจากทุก ๆ คน ในทีม

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

Page 1 of 2
 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri