KULIB TALK | รางวัล Outstanding Chapter Volunteer Award (OCVA) 2019

สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ Live ผ่านทาง Facebook Live ของสำนักหอสมุด ในรายการ KULIB Talk ค่ะ ดิฉัน ศรัญญาภรณ์ โชลิตกุล รับหน้าที่เป็นพิธีกรในวันนี้ค่ะ สำหรับวันนี้นะคะเราได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร. ดุลย์พิเชษฐ์ ฤกษ์ปรีดาพงศ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งท่านได้รับรางวัล Outstanding Chapter Volunteer Award (OCVA) 2019 จาก IEEE PES Thailand ค่ะ วันนี้เราจะมารู้จักอาจารย์เพิ่มขึ้นแล้วเราจะมารู้จักรางวัลนี้กันนะคะ สวัสดีค่ะ อาจารย์

สวัสดีครับ

พิธีกร : ก่อนอื่นนะคะก็ต้องขอแสดงยินดีกับด้วยนะคะอาจารย์กับรางวัลนี้ค่ะ

        ขอบคุณมากครับ

พิธีกร : ครั้งนี้เป็นครั้งแรกหรือเปล่าคะที่อาจารย์มาเยี่ยมสำนักหอสมุดของเราอ่ะค่ะ

        ครับ ก็ตั้งแต่ที่หอสมุดมีการปรับปรุงครั้งใหญ่เนี่ยก็นี่เป็นครั้งแรกครับ ก็คือเข้ามาแล้วก็รู้สึกว่าประทับใจ wow ครับ

พิธีกร : เรามารู้จักอาจารย์เพิ่มขึ้นกันนะคะ นอกจากอาจารย์จะเป็นผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการแล้วนะคะ อาจารย์ก็ยังเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าค่ะ มีความเชี่ยวชาญด้าน power system liability power system optimization and control และทางด้าน liability center maintenance ค่ะ และในรางวัลที่เราจะคุยกันวันนี้นะคะก็คือเป็นรางวัล Outstanding Chapter Volunteer Award (OCVA) 2019 จาก IEEE PES Thailand ค่ะ อาจารย์คะ ชื่อ จาก IEEE เนี่ยค่ะ ก็จะเหมือนกับฐานข้อมูลที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีให้บริการอยู่ อันนี้เป็นสมาคมเดียวกันหรือเปล่าคะอาจารย์

        ใช่ครับใช่ ก็ IEEE ก็คือเป็น ถ้าเกิดว่าเป็นภาษาไทยก็คือเป็น สมาคมวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งก่อตั้งที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วก็เขาก็มีเขาเรียกว่ามีมานานมากแล้วฮะ แต่ว่าในส่วนของพาร์ทที่เป็น power system หรือ power energy เนี่ยฮะ ก็คือมีมา 40 กว่าปีละ ก็มีการสะสมองค์ความรู้งานวิจัย งานทางวิชาการต่างๆมากมาย ก็มีวิศวกรนักวิชาการตีเป็นบทความ ตรงนี้เองก็เป็นฐานข้อมูลใหญ่ที่คนรุ่นหลังๆเนี่ยฮะ เวลาจะทำวิจัยก็ต้องเข้าไปดูฐานข้อมูลนี้

พิธีกร : เห็นเป็นสมาคม IEEE PES Thailand ไม่ทราบว่าสมาคมนี้มีทุกประเทศไหมคะอาจารย์

        ผมเข้าใจว่าส่วนใหญ่ก็คือประเทศใหญ่ๆ ผมก็เห็นว่าเวลาไปประชุมวิชาการที่ต่างประเทศเนี่ย ก็จะเห็นว่า IEEE จากต่างประเทศเขาก็มาประชุมร่วมกันครับ ก็คิดว่าถ้าเกิดเป็นประเทศหรือพวกส่วนใหญ่คิดว่าน่าจะมีองค์กรนี้นะ

พิธีกร : เราจะมาพูดถึงรางวัลที่อาจารย์ได้รับนะคะ รางวัลนี้ขอพูดซ้ำอีกนะคะ ก็คือ  Outstanding Chapter Volunteer Award (OCVA) 2019 รางวัลนี้เป็นรางวัลด้านไหนคะอาจารย์

        เป็นรางวัลเกี่ยวกับการช่วยงานสมาคมอ่ะครับ พูดง่ายๆก็คือเป็นจิตอาสา เพราะว่างานสมาคมเนี่ย เนื่องจากสมาคมนี้เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพราะฉะนั้นก็จะต้องอาศัยว่าคนที่มีความยินดีที่จะช่วยงานสมาคมต่างๆ ต้องการคนจำนวนมากเหมือนกัน การจัดสัมมนา ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดสัมมนาฟรีนะครับ แล้วก็มีการประชาสัมพันธ์ให้นิสิตนักศึกษาแต่ละมหาลัย รวมถึงวิศวกรไฟฟ้าเข้าร่วมเข้าฟังนะครับ แล้วก็งานเกี่ยวกับการจัด Forum เชิญผู้มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมและวิชาการมาพูด ทั้งนี้เราก็ช่วยงานในลักษณะเชิญ คนพูด คนฟัง หรือเป็นวิทยากรเองแล้วแต่จังหวะว่าหัวข้อนั้นเราถนัดหรือไม่

พิธีกร : เป็นรางวัลทางด้านการทำจิตอาสานะคะ แล้วเกณฑ์ในการตัดสินรางวัลนี้อ่ะค่ะ ทราบว่าเป็นองค์การที่ไม่แสวงหาผลกำไรด้วยค่ะ เขาจะพิจารณาจากเกณฑ์อะไรอ่ะคะ ในการให้รางวัลนี้อ่ะค่ะอาจารย์

        จริงๆ รางวัลนี้มีการมอบทุกปี ปีละรางวัล ซึ่งจริงๆแล้วเนี่ยในการทำงานในสมาคมก็มีเยอะฮะ มีคนเยอะมากมาย แล้วแต่ละคนก็เป็นจิตอาสาทั้งนั้นแหละครับ ก็คือคนที่ไม่ได้รางวัลในปีนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าทำน้อยกว่าผม เพียงแต่ว่าอาจจะว่าปีนี้ผมอาจจะได้ช่วยงานที่เกี่ยวข้อง มันมีงานใหญ่ที่พึ่งจัดไปเมื่อเดือนมีนาคมนี้อ่ะครับ ค่อนข้างใหญ่จัดที่เมืองไทย ก็คือผมได้รีบมอบหมายให้ทำหนี่หลายอย่าง คราวนี้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ อาจจะเห็นหน้าผมบ่อยมั้งก็เลยโอเคคิดว่าปีนี้น่าจะเหมาะที่ควรจะให้ผมได้รับรางวัลอะไรอย่างงี้อ่ะครับ

พิธีกร : จะมีคณะกรรมการคัดเลือกใช่ไหมคะ

        ครับ มีคณะกรรมการคัดเลือกโดยที่คณะกรรมการก็คือเป็นสมาชิกของสมาคมในระดับอาวุโสแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นระดับผู้บริหาร เช่น ผู้ช่วยรองผู้ว่าการการไฟฟ้า เขาก็มาประชุมคัดเลือก คัดเลือกเสร็จเขาก็เสนอชื่อแล้วก็เอาชื่อเสนอต่อไปที่ IEEE ที่อเมริกา เขาก็ตรวจสอบคุณสมบัติแล้วก็โอเค พอเขาโอเคเขาก็จะส่งโล่รางวัลจากอเมริกามาให้

พิธีกร : นอกจากรางวัล Outstanding Chapter Volunteer Award (OCVA) 2019 เนี่ยค่ะ แล้วในแต่ละปีค่ะ ทางสมาคมมีการให้รางวัลอย่างอื่นด้วยไหมคะอาจารย์

        ครับ ปีนึงก็จะมีให้ 4 รางวัล นอกจากรางวัลที่ผมได้รับก็จะมีรางวัล Outstanding  Engineer Award อันนี้ก็คือมอบให้วิศวกรที่ทำงานในฟิลของไฟฟ้าและพลังงานที่มีผลงานโดดเด่น รางวัลถัดไปเป็น Women In Power ก็คือจะมอบให้สุภาพสตรีในวงการวิศวกรรมไฟฟ้าและเอเนอร์จี้ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และสุดท้ายก็จะเป็น Outstanding Young Engineer Award ก็คือจะเกี่ยวข้องกับวิศวกรหนุ่มไฟแรงที่มีผลงานชัดเจน มีผลงานดีนะครับ อายุไม่เกิน 35 ปีครับ

พิธีกร : ในการเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครเนี่ยค่ะ อาจารย์ได้เข้าไปร่วมได้ยังไงคะอาจารย์

        ตอนสมัยผมเรียนต่อป.โท ป.เอกที่อเมริกานะครับ แน่นอนในการทำวิจัยต้องอ่าน Paper จำนวนมากนะฮะ ซึ่งบอกได้เลยว่าคนที่ศึกษาระดับป.โท ป.เอก ในฟิลไฟฟ้าเนี่ยไม่มีใครไม่รู้จัก IEEE 90% ของงานวิจัยที่อ่านล้วนแต่มาจากฐานข้อมูล IEEE ครับ ซึ่งตั้งแต่ครั้งนั้นเราก็รู้สึกว่าเราเป็นหนี้บุญคุณ IEEE มากเลย แม้กระทั่งมหาลัยผมตอนนั้นก็ยังไม่มีฐานข้อมูล IEEE ก็ต้องขับรถไปอีกมหาลัยนึงที่เขามีฐานข้อมูลนะครับ แล้วก็ไปโหลดไฟล์โหลดเปเปอร์ ปริ้นเปเปอร์มาอ่าน คราวนี้พอเรียนจบกลับมาปุ๊บก็ยังไม่ทราบว่ามี IEEE อยู่ที่ไทนด้สชวย แต่ก็มีอาจารย์มาทาบทามว่าเออ เชิญไปเป็นวิทยากรในงาน IEEE สัมมนา IEEE ที่ประเทศไทยหน่อย จัดที่จุฬาอ่ะครับ ผมก็พึ่งรู้ว่าเอ้า มีด้วยหรอ หลังจากนั้นพอเริ่มนำเสนอครั้งนึงเนี่ยก็ช่วยงานต่อๆมาเรื่อยๆอ่ะครับ เพราะจริงๆแล้วทางสมาคมเขาก็อยากให้มีอาจารย์ครบทุกมหาลัยอ่ะฮะ อยากให้มีตัวแทนจากทุกบริษัทใหญ่ๆร่วมงานอยู่ในสมาคม เพื่อว่าการจะทำการประชาสัมพันธ์หรือจัดกิจกรรมต่างๆก็จะได้รู้ในวงกว้าง

พิธีกร : สมาคมวิชาชีพของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแต่ว่ามีเฮดอยู่ต่างประเทศ แล้วสมาชิกในสมาคมต้องเป็นนักวิชาการหรือว่านักวิจัยไหมคะ บุคลากรท่านอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิศวะไฟฟ้าสามารถเป็นสมาชิกสมาคมได้ไหมคะ

ถ้าในลักษณะ 2 ลักษณะก็คือ ในลักษณะทำงาน ทำงานให้สมาคมก็คือเป็นได้หมดเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์หรือเป็นวิศวกรรมไฟฟ้าในบริษัท ในเอกชน ในรัฐ นะครับ เป็นได้หมดในการช่วยงานคือเรา open เนื่องจากเราเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ใครยินดีมาช่วยงานสมาคมเราก็ happy อยู่แล้ว และอีกส่วนนึงก็ลักษณะที่เป็น member ship ของ IEEE ซึงตรงนี้ก็จะมีการสมัคร member ship ผ่านทาง web ของ IEEE นะครับ ซึ่งเขาจะระบุเลยว่าต้องการสมัตร IEEE ในแขนงไหน อย่างผมอยู่ใน PES ซึ่งก็มีสาขาอื่น เช่น ไฟฟ้าสื่อสาร เยอะไปหมดแล้วแต่ว่าใครจะวิจัยในฟิลไหน เวลาสมัครก็ต้องมี member ship แต่ถ้าเป็นนิสิตนักศึกษาเนี่ย จะสมัครถูกมากครับ

พิธีกร : บุคลากรทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าหรือสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกได้ อาจารย์คะ ในการเข้ามาทำงานเป็นอาสาสมัครตรงนี้ค่ะ งานที่อาจารย์ได้รับมอบหมายมีอะไรบ้างคะ

เริ่มแรกเลย เขาจะให้ผมดูเกี่ยวกับพวกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิสิตนักศึกษาเป็นหลักครับ เช่นเขาบอกว่าเวลาจะจัดสัมมนาแต่ละครั้งก็จะมาบอกผมแล้วว่าจะให้ผมช่วยประชาสัมพันธ์ให้นิสิตนักศึกษาหน่อย ถ้าผมมีเพื่อนเป็นอาจารย์มหาลัยอื่นก็ช่วยบอกต่อ และพยายามสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษาได้เข้าร่วมฟัง อย่างผมเนี่ยก็ตอนนั้นกลับมาใหม่ๆก็ประสานกับหัวหน้าภาควิชาว่าเราจะมีงานจัดที่จุฬาบ้างจัดที่โรงแรมนี้บ้าง ก็ขอรถตู้ เพื่อพานิสิตไปฟังฟรี แล้วก็ต่อมาก็พวกจัดงานสัมมนาครั้งนี้ก็เชิญผู้พูดมาจากต่างประเทศ เราก็ไปรับแขก ไปต้อนรับ ไปเป็นคนแปลเป็นภาษาไทย เนื่องจากบาครั้งคนฟังอาจจะอยากฟังเป็นภาษาไทยสั้นๆกระชับๆ แล้วก็ล่าสุดอย่างที่เรียนไปว่าจัดงานใหญ่ที่ไบเทคนะครับ อันนี้เป็นงานระดับโลก ซึ่งแน่นอนฮะว่าต้องประสานวิทยากรต่างๆ ต้องเชิญจากทั้วโลกเลย มาพูด แล้วก็ส่วน Expo ด้วย แล้วต้องมีการประสานงาน เชิญคนมาออกบูท มากมาย นี่ก็คือค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมไม่ได้ทำคนเดียวนะครับ คือมีทีม

พิธีกร : ในการทำงานแต่ละครั้งให้แก่สมาคมก็ตะมีทีมงานด้วย ทีมงานเนี่ยจะมีการแบ่งงานกันยังไงบ้างคะอาจารย์

การทำงานของที่นี่แม้จะเป็นจิตอาสานะฮะ แต่ทุกคนทำงานแบบโปรเฟสวั่นนอล คือทำงานเหมือนกับว่าได้รับว่าจ้างให้ทำประมาณนั้น ก็คือในสเกลงานใหญ่ก็จะมีการแบ่งงานเป็นพาร์ทๆ แต่ละพาร์ทก็จะมีคณะทำงานในแต่ละกลุ่ม ในแต่ละกลุ่มก็จะมีประธาน กรรมการในแต่ละกลุ่ม ช่วยกันรัน ช่วยกันรัน รันในส่วนตัวเอง แล้วก็หลังจากนั้นทุกเดือนหรือทุกสองเดือนก็จะมีประชุมรวม ทุกกลุ่มมีประธานของ IEEE เป็นประธาน ซึ่งส่วนใหญ่ประธานก็จะเป็นระดับผู้ว่าการการไฟฟ้า ท่านก็มีจิตอาสามาช่วย เวลาท่านฟังความคืบหน้า ถ้าเกิดมีความติดขัดอะไร ถ้ามีความจำเป็นต้องช่วยเหลือ ท่านก็จะมาช่วยเหลือให้งานผ่านไปๆด้

พิธีกร : เมื่อสักครู่อาจารย์ได้พูดถึงงานใหญ่ที่ไบเทคบางนานะคะ ชื่อว่า IEEE PES GTB Asia 2019 อยากจะให้อาจารย์ช่วยแชร์ประสบการณ์ให้พวกเราฟังนะคะ ว่าในงานซึ่งเป็นงานใหญ่มากมีขั้นตอนการทำงานการเตรียมงานอย่างไงคะ ในงานใหญ่อย่างนี้อ่ะค่ะ แล้วก็ใช้เวลาเตรียมงานนานไหมคะอาจารย์

        ก็อย่างที่ผมเรียนไปว่า IEEE PES ก่อตั้งมา 40 กว่าปี ที่อเมริกา ก็งานคืองาน IEEE PES TND มันก็เกิดขึ้นมาพร้อมกับสมาคมนี้อะครับ ซึ่งเป็ฯคอนฟาเร้นใหญ่ระดับโลกเลย คือวิศวกรไฟฟ้าทั่วโลกก็หาวิศวกรมาก ทางสมาคม IEEE PES Thailand ก็มีการใฝ่ฝันว่าจะเป็นไปได้ไหมที่จะจัดวานนี้ที่ไทยซักครั้ง จนฝันมานานแล้ว ก็รู้สึกว่ามันน่าจะพอแล้วนะ ก็มีการยื่นคำขอจัดที่เมืองไทย ครับ ทีนี้ทางนั้นก็พิจารณาว่าจริงๆแล้วทางไทนแลนด์เราก็มีกิจกรรม แล้วก็มีความเป็นไปได้ที่เราจะจัดได้ เขาก็ให้เรายท่นเรื่องไปขอจัดที่เมืองไทย คราวนี้พอเขาได้อ่านเรื่องที่ยื่นไปเขาก็ประทับใจมาก เพราะเราก็ขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวการจัดงานมีตติ้งต่างๆในไทย ก็คราวนี้เขาก็ตอบกลับมาว่าเขาเห็นด้วยนะที่จะให้ไทยจัด แต่อยากจะเพิ่ม เป็น GND ด้วยได้ไหม เพราะในระบบไฟฟ้ามันต้องเกิดจากการผลิต ส่ง และก็จำหน่าย ก็เลยเปลี่ยนชื่อไปเลย ครับ คราวนี้พอเราได้รับการตอบรับงานเนี่ยเราก็รู้สึกโอเค เราดีใจ แต่ก็ดีใจแปบเดียวเราต้องเริ่มทำงานแล้วครับ เรามีเวลา 2 ปีกว่า ในการฟอร์มทีม ซึ่งก็ต้องได้รับอาศัยความช่วยเหลือจากหลายฝ่าย หลักๆก็มี 3 การไฟฟ้าใหญ่นะอะ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิต เป็นการซัพพอร์ตสำคัญเลยครับ แล้วก็จากนั้นเราก็มีการประกาศหาคนช่วยงานครับ เพราะงานระดับโลกต้องมีออแกไนซ์เซอร์มาช่วยงาน ซึ่งเราต้องมี 2 ออแกไนซ์เซอร์เลยครับ บริษัทนึงดูแลเรื่องงานเอ็กโป เนื่องจากงานนี้เป็นทั้ง Conference และ Exposition ซึ่งบริษัทนึงต้องดูแลบูท ซึ่งบูทก็เป็นระดับมอเตอร์โชว์เลยครับ ที่ไบเทค 3 ฮอลล์ 98 99 100 เนี่ย เราใช้หมด ก็คือเป็นโซนใหม่ที่ติดกับรถไฟฟ้าสถานีบางนา อีกส่วนที่เป็น Conference เนี่ย เราก็มีอีกบริษัทนึงที่จากสิงคโปร์ซึ่งมีประสบการณ์จากการจัด Conference นานาชาติมากมาย มี platform ในการอัพโหลด paper มาช่วยเรา จากนั้นเราก็แบ่งทีมนะครับ พาร์ทนึงดูแลการหาสปอนเซอร์ พาร์ทนึงดูแลการออกบูท พาร์ทนึงดูแลเทคนิค พาร์ทนึงดูแลการจัดการ อะไรอย่างนี้ ก็คือมีหลายกรุ๊ปมาก แล้วก็อย่างที่เรียนไปว่าทุกเดือนต้องมีการประชุมร่วมกัน รายงานให้กรรมการประธาน ฟังถึงปัญหา เนื่องจากเป็นงานใหญ่เราทำงานแบบตลอดเลยฮะ ตลอดสองปีนี้ ยิ่งช่วง 6 เดือนสุดท้าย เราประชุมกันทาง Teleconference ทุกคืน บางทีต้องคุยกับสิงคโปร์ ทาง US เขาก็ตามงานว่าเราจะทำได้โอเค ตามมาตรฐานเขาไหม พอจัดเสร็จทุกคนก็มีความสุข

ค่ะ อาจารย์คะ การจัดกิจกรรมที่ใหญ่ขนาดนี้แล้วประสบความสำเร็จ อาจารย์คิดว่าทางสมาคมและทางประเทศไทยได้รับอะไรบ้างคะ

ประเทศไทยได้รับมากมายเลยครับ เพราะว่า สเกลคนที่เข้าร่วมงานคือ หมื่นกว่าคนที่เข้าร่วม แล้วทาง IEEE PES เราก็หึความสำคัญกับนิสิตนักศึกษาเป็นลำดับแรกเลยครับ ก็คือเราเชิญชวนนิสิตนักศึกษามาเข้าร่วมงานถึง 1000 คน หลักๆ คือนิสิตนักศึกษา ได้ประโยชน์แล้วครับ เราเชิญแม้กระทั่งมหาลัยจากต่างจังหวัด เรามีเงินสนับสนุนค่าเดนทาง นั่งรถบัสมาฟรี ให้อาจารย์เลยว่าอาจารย์พานิสิตมารถบัส เราจัดการค่าเดินทาง ค่ากิน ค่าอาหาร เราก็ให้ 200 บาท/คน ก็คือเราสนับสนุนเต็มที่อ่ะฮะ ให้นิสิตนักศึกษามีส่วนร่วมด้วยกัน เพราะเราไม่รู้ว่าจะมีโอกาสจัดงานระดับโลกแบบนี้ได้เมือ่ไร เพราะในการออกบูทเนี่ยก็มีบริษัทชั้นนำ ผู้ผลิตจากทั่วโลกมาออกบูท เขาก็ได้เห็นเทคโนโลยีใหม่ๆ แม้แต่งานคอนฟาเร้นเอง นักวิชาการ นิสิต ป.โท ป.เอก แม้แต่อาจารย์ได้เข้าร่วมฟัง ผู้พูดก็เป็นผู้พูดระดับโลกครับ

ถือว่าประเทศไทยได้รับประโยชน์มากๆเลยนะคะ อาจารย์คะจากที่ได้พูดคุยกับอาจารย์นะคะ การทำงานกับสมาคมระดับโลกนี้นะคะ มีประโยชน์มากมายเลยนะคะ อยากจะให้อาจารย์แนะนำนิสิตรุ่นใหม่ที่เรียนทางด้านนี้นะคะ ว่าถ้าเกิดสนใจอยากจะทำงานเกี่ยวกับสมาคมระดับโลกแบบนี้อ่ะค่ะจะต้องมีทักษะอะไรบ้าง และจุดสำคัญอะไรบ้างคะที่ควรจะมีอ่ะค่ะ

ครับ ผมเชื่อว่าเด็กสมัยนี้อ่ะฮะเป็นเด็กที่เก่งแล้วก็เรียนรู้เร็วนะครับ เวลาเขาไปอ่านในเว็บภาษาอังกฤษเขาก็ไม่มีปัญหาอ่านได้เร็ว มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความกล้า แต่ส่วนนึงที่อยากจะให้เสริมอยากให้ อยากเสริมให้เขาเก่งขึ้น ควรจะมีความเพียร ความทรหดอดทน ความมุ่งมานะไม่ท้อถอยในสิ่งที่เขาต้องการ ฝันที่จะเป็นนะครับ จริงๆความเพียรที่ผมพูดตรงนี้ก็คือความเพียรอีกระดับนึงนะฮะ ไม่ใช่ความเพียรที่ลอกว่า ฉันไม่ขี้เกียจทำการบ้าน ไม่ใช่นะครับ เป็นความเพียรที่อยากจะวิ่งมาราธอนให้ได้ คนทั่วไปอยู่ดีๆไปวิ่งมาราธอนก็ไม่ได้ มันต้องมีการฝึกฝนวันแล้ววันเล่า จนซักวันนึงถ้าเกิดเราวิ่งมาราธอนได้เมื่อไร เราจะรู้สึกว่าเฮ้ย ฉันทำอะไรก็ได้นิ ถ้าเกิดฉันมีความตั้งใจจริง เขาเรียกว่าเป็น นัมเบอร์วันได้นะฮะ สมัยนี้ก็คือว่าเด็กๆมีความเก่งในการแก้ปัญหา เวลาจะเจอปัญหาเขาก็สามารถศึกษาได้ด้วยตัวเอง แก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง เข้าไปดูการแก้ในกูเกิ้ล ถ้าทางนี้แก้ไม่ได้ก็ไปอีกทางนึง เพียงแต่ว่าบางปัญหาเนี่ยมันอาจจะต้องใช้เวลาในการแก้นาน บางครั้งก็ไม่อยากให้เขาเปลี่ยนใจปล่อยปัญหานี้ไปแก้ปัญหาอื่น หรือไปทำอย่างอื่นดีกว่า บางปัญหาอาจต้องใช้เวลา ถ้าเกิดเขามีความตั้งใจจริง ผมก็เชื่อว่ามีความเพียรอย่างที่ผมบอกเนี่ย เขาก็จะสามารถเอาชนะตรงนั้นได้ สิ่งที่เขาจะได้ก็สามารถไปได้ถึงฝันที่เขาต้องการ

และนั่นก็คือสิ่งที่อาจารย์ฝากให้กับนิสิตหรือเด็กยุคใหม่นะคะ ค่ะ สำหรับวันนี้นะคะก็ต้องขอบคุณอาจารย์มากเลยนะคะ ที่ให้เกียรติกับทางสำนักหอสมุดนะคะ ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งในการทำงานกับสมาคมระดับโลกแบบนี้นะคะ แล้วในครั้งต่อไปนะคะ แขกรับเชิญจะเป็นใครโปรดติดตามข่าวสารของสำนักหอสมุดได้จาก Facebook Fanpage ของสำนักหอสมุดค่ะ สำหรับวันนี้นะคะก็ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามชมรายการค่ะ สวัสดีค่ะ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รางวัล Outstanding Chapter Volunteer Award (OCVA) 2019 จาก IEEE PES Thailand

The volunteer management handbook : leadership strategies for success / edited by Tracy Daniel Connors

Manual for network development of volunteer teachers and their income generation projects

 

 


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri