KULIB Talk : เทคนิคการเขียนหนังสือวิชาการ

สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การ Live ผ่านทาง Facebook Live ของสำนักหอสมุด ในรายการ KULIB Talk ค่ะ

          วันนี้ KULIB Talk จะนำเสนอการเขียนผลงานวิชาการค่ะ โดยอาจารย์ผู้มีผลงานหนังสือวิชาการหลายเล่มค่ะ โดยเฉพาะทางด้านไอทีค่ะ ขอต้อนรับ รศ.ดร.วรเศรษฐ สุวรรณิก ค่ะ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
คณะวิทยาศาสตร์ แล้วก็ยังเป็นรองผู้อำนวยการสำนักบริการคอมพิวเตอร์ด้วยนะคะ นอกจากนั้นแล้ว ทางสำนักหอสมุดยังเคยได้รับเกียรติจากอาจารย์มาบรรยายแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับบุคลากรในสำนักหอสมุดด้วยนะคะ ขอบคุณนะคะที่ให้เกียรติรายการ KULIB Talk อีกครั้งหนึ่งค่ะ

พิธีกร : เราจะมาพูดถึงการเขียนหนังสือวิชาการของอาจารย์กันนะคะ คำถามแรกค่ะ ตอนนี้อาจารย์มีผลงานมาแล้วกี่เล่มคะ

          ถ้าพูดถึงหนังสือนะครับ ก็จะมี 1+2+2 เล่ม 1 ก็คือ 1 โหล เป็นหนังสือที่เขียนเป็นภาษาไทย ส่วน 2 ที่ บวกเข้าไปคือการแปล และที่บวก 2 ต่อเข้าไปอีกก็คือ เขียนเป็นภาษาอังกฤษครับ อาจารย์คะ มีแรงบันดาลใจยังไงบ้างคะที่ทำให้อาจารย์มีผลงานได้เยอะขนาดนี้คะ ทั้งเรื่องแปล หนังสือภาษาอังกฤษ และก็หนังสือภาษาไทยถึง12เล่ม ก็คือ ชอบอ่านหนังสือ นะครับ ชอบอ่านหนังสือตั้งแต่เด็กๆแล้ว ก็อ่านการ์ตูน อ่านนิยาย อ่านแนววิชาการ อ่านหลายอย่างเลยครับ ก็ ชอบอ่านหนังสือ ทั้ง Non-fictionแล้วก็ Fiction ถ้าเป็นNon-fiction หรือหนังสือวิชาการ ก็จะมีหนังสือที่อ่านแล้วสนุกก็มีนะ อ่านตั้งแต่เด็กๆแล้ว ก็เป็นหนังสือที่พูดถึงเรื่องโปรแกรม อาจารย์ท่านเขียนหนังสือสนุก แล้วก็มีหนังสือหลายเล่มที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่อ่านแล้วสนุกเหมือนกัน เช่น หนังสือ Head First Java เป็นหนังสือที่อ่านสนุก อ่านแล้วชอบ อ่านแล้วได้ความรู้ด้วย สนุกด้วย แล้วก็อ่านหนังสือเนี่ย ได้กำไร ก็คือว่า เวลาเขียนหนังสือดีเนี่ย กว่าจะได้มาหนึ่งเล่ม ค้นคว้านานมาก แต่เราอ่านแป๊บเดียว เช่นหนังสือวิชาการ ใช้เวลาเขียนเป็นปี แต่เราใช้เวลาอ่านเดือนนึง สัปดาห์นึง เราก็ได้ความรู้มามหาศาลแล้ว มันได้กำไรมากเลย อันนี้ก็เป็นแรงบันดาลใจส่วนแรก ส่วนถัดไปคือชอบเขียน  ชอบบันทึก เพราะขี้ลืม ก็เลยต้องเขียน แล้วก็ตอนเขียนหนังสือ ก็จะได้ค้นคว้า ทำให้เราได้ทบทวน ว่าที่เรารู้นี่มันแม่นไหม และบางทีก็ได้ความรู้ใหม่ๆ คือตอนที่เราค้นหาข้อมูล เราก็จะได้ความรู้ใหม่ๆเข้ามาด้วย ในกระบวนการเขียนตรงนี้ แล้วก็พอหนังสือเขียนเสร็จแล้ว เราไปเดินตามร้านหนังสือ เราก็จะเห็นหนังสือเราวางอยู่บนเชลฟ์ เห็นแล้วก็จะเกิดความสุข หรือเวลาที่มีคนใช้หนังสือเรา ถือหนังสือเราเดินไปมา อ่านหนังสือของเรา เราก็มีความสุข
แรงบันดาลใจก็คือมาจากการอ่านการเขียน แล้วก็เห็นผลงานของตัวเองมีคนอ่าน มีคนอ้างถึงก็รู้สึกดีใจ

พิธีกร : ในการที่จะเขียนหนังสือซักหนึ่งเล่ม ก่อนที่จะเริ่มเขียนตำราวิชาการ อาจารย์จะต้องมีการเตรียมตัวหรือว่ามีเรื่องควรทราบอย่างไรบ้าง

          ผมว่า พื้นฐานเกิดจากการอ่าน คือถ้าเราไม่มีคลังความรู้เกี่ยวกับการเขียน สำนวนการเขียน หรือคลังคำศัพท์ มันก็จะเขียนไม่ออก ควรเริ่มจากการซึมซับการอ่าน การฟัง ต้องอ่านเยอะๆ หลากหลายแนว เก็บข้อมูลจากการอ่านมาก่อน ถัดไปก็ต้องฝึกเขียน การเขียนเป็นทักษะ สอนไม่ได้ นั่งฟังบรรยายหลายชั่วโมงก็เขียนไม่เป็น ถ้าไม่ลองเขียนดู เพราะฉะนั้น ก็ต้องลองเขียนดูจริงๆ ต้องฝึกเขียน เขียนไดอารี่ เขียนเรื่อยเปื่อย หรือถ้าคิดไม่ออกว่าจะเขียนอะไร ก็ลอกมาเลย ถ้าอ่านหนังสือแล้วเจอย่อหน้าที่เราชอบ เช่นแต่ก่อน ผมอ่านแมกกาซีน ก็จะลอกออกมาเลย ลอกคำพูดออกมาตรงๆ หรือจะเริ่มจากการแปล ถ้าหากคิดไม่ออกว่าจะเขียนอะไร เราก็แปลมา เอาภาษาอังกฤษมาแปลเป็นไทย หัดแปลดู สุดท้ายก็ลงมือเขียน

พิธีกร : ก่อนที่เราจะลงมือเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง ก็จะมีการเตรียมตัว คือ การอ่าน การฝึกเขียน ครับ มันคือทักษะ ที่ต้องฝึก ต้องพัฒนา ต้องใช้เวลาในการสะสม อาจารย์คะ ในการเขียนตำราเล่มนึงเนี่ย มีขั้นตอนยังไงบ้างคะ

          นอกจากการอ่าน การเขียน คือ เขียนตำราเนี่ยควรจะมีขั้นตอน ก็คือ “ถอดเทป ก็เคยสัญญา” คำว่าถอดเทปก็คือ ฟัง แล้วเอามาพิมพ์ แต่สมัยนี้ก็จะง่าย ไม่ต้องพิมพ์เองแล้ว ใช้โปรแกรมช่วยได้ ก็คือบันทึกเสียงเราเอง แล้วก็ใช้กูเกิลพิมพ์ให้เรา ก็สบายขึ้นเยอะ สมัยก่อนต้องจ้างคนพิมพ์ หรือไม่ก็พิมพ์เอง สมัยนี้การถอดเทปจะง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะ คำว่าถอดเทปก็คือว่า ตอนที่เราสอนหนังสือเนี่ย ต้องมีพาวเวอร์พ้อย แล้วเราก็สอน โดยจะมีการบันทึก ว่าเราสอนไปว่าอะไร แล้วก็ถอดเทป โดยใช้กูเกิลช่วยนำเสียงเราแปลงเป็นข้อความ พอเราสอนจบหนึ่งเทอม เราก็จะได้ดราฟแรก เอาไปใช้ต่อได้ เอาไปแก้ไขต่อ เพราะถ้าเราไม่มีดราฟแรก แล้วให้เขียนจากกระดาษเปล่า มันจะยาก แต่พอเรามีดราฟมันจะไปต่อได้ง่ายและเร็วขึ้น เขียนหนังสือต้องมีหลายดราฟ ขนาดมืออาชีพอย่างสตีเฟ่นคิง ยังมีการแก้หลายรอบเลย ฉะนั้นต่อให้เป็นมืออาชีพก็ต้องมีการแก้ไข จนถึงจุดที่เราพอใจ ก็ตีพิมพ์ อันนี้คือการถอดเทปนะ ส่วนคำว่า ก็เคยสัญญา ของอัสนี วสัน ก็คือ ก่อนเปิดเทอม ให้เราเขียนรอไว้สี่บท คือตำราปกติเนี่ย ควรจะมีสิบห้าบท ตามสัปดาห์ เพราะฉะนั้น ก่อนเปิดเทอม ก็ให้เขียนรอไว้สี่บท หรือสามบท เสร็จแล้ววันเปิดเทอมก็บอกนักเรียนเลยว่าต่อไปนี้ ทุกสัปดาห์ อาจารย์จะแจกเอกสารคำสอนให้นักเรียนสัปดาห์ละหนึ่งบท ทุกสัปดาห์ คือต้องสัญญากับนักเรียน คือจะเขียนไป ให้นักเรียนไป ทุกสัปดาห์พอจบเทอมก็จะมีครบหนึ่งเล่ม ตามที่สัญญากับนักเรียนไว้ ถามว่าที่เขียนไว้สาม สี่บทล่วงหน้าเพราะอะไร ก็เพราะบางสัปดาห์จะยุ่งมาก ทำไม่ทัน ก็เลยต้องเอาของเก่ามาส่งให้นักเรียนไปก่อน กันไว้เผื่อทำไม่ทัน สรุปง่ายๆก็คือ “ถอดเทป ก็เคยสัญญา” ก็จะเขียนหนังสือได้หนึ่งเล่ม ตอนจบเทอม

พิธีกร :ในการที่เขียนตำราของอาจารย์ก็จะต้องมีแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้วย ใช่ไหมคะ ใช้แหล่งข้อมูลไหนบ้างคะ และอยากจะทราบว่า ห้องสมุดเราเนี่ยมีส่วนช่วยในการซัพพอร์ตการเขียนตำราของอาจารย์ไหมคะ ครับ แหล่งข้อมูลที่ใช้ก็คือ

          Google หลักๆเลย Google กับหอสมุดก็ใช้ ใช้สองอย่างทั้งหอสมุดและ Google คราวนี้กูเกิลก็จะมีการค้นหาหลายแบบ Basic ก็คือ Google เซิร์จธรรมดา ซึ่งให้ผลเป็นข้อความ ถัดไปคือ Google Image Search คือหาจากรูปภาพ บางทีอ่านข้อความค้นหาลำบาก แต่ถ้าเรากู Google Image Search จะง่าย เพราะเราแค่เลื่อนดูรูปคร่าวๆ ว่าเกี่ยวข้องไหม ผมก็จะใช้ Google Image Search ในการหาช้อมูล อีกส่วนนึง Youtube แต่ละแบบจะมีข้อดีข้อเสีย ก็คือจะใช้ Youtube Google Search และ Google Image Search ส่วนหอสมุดก็ใช้บริการเป็นประจำ ก็จะยืมหนังสือแล้วก็อีบุ๊ก จะมีสองเจ้าที่ชอบใช้ ก็คือของ Wiley และ Science direct จะดีตรงที่ Google เจอ บางที่เราหาใน Google มันจะเด้งไปที่ Science Direct แล้วเราก็ไปที่ห้องสมุดต่อ แล้วก็ตัว paper

ก็คืออาจารย์จะใช้ทั้งแหล่งข้อมุลที่หาได้ทั่วไป เช่น Google Youtube รวมทั้งฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดด้วย ใช่ไหมคะ

พิธีกร : ข้อดีของการเขียนตำราหรือว่าหนังสือในความคิดของอาจารย์ มีอะไรบ้างคะ

          ผมว่าข้อดีที่เราได้กับตัวเองเนี่ย คือบางทีเราจะยังไม่รู้ จนกว่าเราจะพูดออกมา แต่คำพูดจะยังไม่เป๊ะเท่ากับการเขียน เราต้องเข้าใจมากกว่าการพูด ถึงจะเขียนออกมาได้ การเขียนช่วยให้เรามีความชัดเจน ในเรื่องที่เราจะเขียนมาก ช่วยให้เราเอาไปสอนต่อได้ ได้ค้นคว้าได้ความรู้ใหม่ บางทีเราคิดว่าเรารู้เรื่องนี้แล้ว แต่พอไปค้นดูอาจจะเจอเรื่องใหม่ๆ ขอบเขตเราก็จะกว้างขึ้น อันนี้ก็เป็นข้อดีข้อหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง

ข้อสองก็คือ การได้เผยแพร่ความรู้ให้กับคนหมู่มาก เพราะหนังสือเวลาตีพิมพ์นี่ไปทั้งประเทศ ก็มีคนคอยจำหน่ายช่วยกระจายสินค้าไปทั่วประเทศ ได้เผยแพร่ความรู้ให้ประเทศพัฒนาขึ้น แล้วก็มีคนรู้จักมากขึ้น อย่างบางทีไปอบรม ปรากฏว่าไปเจอวิทยากร อ่านหนังสือของผม เราก็แฮปปี้เลย เพราะวิทยากรเขาอ่านหนังสือเราสมัยเขาเป็นนักเรียน ถ้าพูดถึงรายได้การเขียนหนังสือเนี่ยน้อย แต่ข้อดีคือ มีคนมาชวนไปเป็นวิทยากร เพราะว่า รู้จักเราจากการเขียนหนังสือ ก็เลยเชิญเราไปเป็นวิทยากร ก็เลยกลายเป็นทางอ้อม ไม่ได้มาตรงๆจากการขายหนังสือ แต่ว่า มาจากการที่เขารู้จักเราผ่านทางหนังสือ ก็เกิดความมั่นใจว่า เราเข้าใจเรื่องนี้จริง ก็เชิญเราไปสอน

ค่ะ นี่ก็เป็นข้อดีที่อาจารย์ได้ประสบกับตัวเองในการเขียนหนังสือนะคะ อาจารย์คะ ในการเขียนหนังสือเล่มนึง แน่นอนว่าจะต้องมีปัญหาที่เราเจอบ้าง แล้วปัญหาที่อาจารย์เจอ ในการเขียนหนังสือ มีอะไรบ้างคะ ครับ เรื่องเวลาเลยครับ คือบางทีเรา มีช่วงนึงที่ไฟแรงมากเลยนะ เขียนหนังสือเยอะมากเลย แต่ว่าไม่มีเวลา ก็ต้องจัดสรรเวลา ต้องหาเวลา แล้วก็ต้องจัดเวลา ทำให้สม่ำเสมอ การเขียนหนังสือก็เหมือนกับการวิ่งระยะยาว ก็คือต้องแบ่งเวลาทำไปเรื่อยๆ

พิธีกร : เทคนิคในการเขียนส่วนตัวของอาจารย์เนี่ย มีเทคนิคยังไง หรือเล่าเรื่องในหนังสือของอาจารย์ยังไง ที่ทำให้เนื้อหามันสนุก น่าอ่านทำให้คนติดตามอ่านตั้งแต่ต้นจนจบได้ อยากจะให้อาจารย์ช่วยแชร์กับพวกเราค่ะ

          ผมคิดว่า ส่วนนึงก็คือการใช้ภาษา มันก็ต้องเป็นธรรมชาติ คำที่เราใช้ เช่น ศัพท์เทคนิคอะไรบางอย่าง เราก็ใช้ศัพท์ที่เราพูด ไม่ใช้ศัพท์พิศดารที่อ่านแล้วงง ย่อหน้าต้องไม่ยาว อาจจะมีรูปภาพประกอบ ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น ไอเดียหลักก็คือ เขียนหนังสือยังไงให้คนอ่านไม่ต้องใช้สมอง คือ ใช้น้อยๆ ไม่ต้องออกแรงเยอะ อ่านแบบสบายๆ แต่ว่า คนเขียนก็จะลำบาก แต่คนอ่านจะสบาย ไม่ต้องออกแรงคิดเยอะ เราก็จะคิดถึงคนอ่านในแง่นั้น บางทีถ้าเรามีโจทย์อะไร โจทย์ที่มันอินเทรนด์ อยู่ในกระแส เราก็จะสมมติตัวละครขึ้นมา  หนังสือวิชาการบางทีมันก็ทำยาก แต่ก็พยายามหาโจทย์ที่มันเกี่ยวข้องกับเขา  ค่ะ นี่ก็เป็นเทคนิคการเขียนหนังสือของอาจารย์นะคะ

พิธีกร : อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องการเผยแพร่ความรู้ อาจารย์ได้เป็นบุคคลที่เริ่มนำ Work Place เข้ามาใช้ในหน่วยงาน ก็จะขอถามถึงเรื่องนี้ด้วยค่ะ ว่าวัตถุประสงค์ของการเอา Work Place เข้ามาใช้ในหน่วยงาน เกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้ตรงนี้ด้วยรึปล่าวคะ

          ครับ Work Place เนี่ย คือ Facebook แต่ใช้ในองค์กร คือเป็น Facebook ที่จำกัดคนที่ใช้ ก็คือใช้ได้เฉพาะในเกษตร ข้อดีก็คือว่า จะมีการใช้กันด้วยชื่อจริง ไม่ใช่ตั้งชื่ออะไรมาก็ได้ ทุกคนใช้ด้วยชื่อจริงของตัวเอง เพราะฉะนั้นการสื่อสาร อันนี้คือคีย์เวิร์ดสำคัญนะ การสื่อสาร เพราะการทำงานของเราเนี่ยต้องใช้การสื่อสารกันให้ชัดเจน และให้รู้ว่าผู้ที่รับสารจะได้รับสารหรือเปล่า อย่างนี้ เป็นต้น ซึ่ง Work Place ก็ตอบโจทย์หลายอย่าง ในแง่การสื่อสาร เพราะงั้น คำถามที่ว่า นำเข้ามาเพราะอะไร เพราะผมเชื่อว่า มันช่วยในการสื่อสาร โดยเฉพาะหากผู้บริหารใช้ ก็จะสามารถสื่อสารนโยบาย ทิศทางขององค์กรให้กับบุคลากรทราบได้ และถ้าบางคนมีความรู้อะไรก็มาแชร์ความรู้กัน เช่นไปดูงานหอสมุดที่เซี่ยงไฮ้ ก็เอามาแชร์ความรู้กัน ผมว่ามันเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะว่า หลายท่านไม่มีโอกาสไป อย่างผมก็ไม่ได้ไป ก็ไม่รู้ว่าเป็นยังไง ก็มีคนของหอสมุดมาแชร์ให้ดูว่าไปแล้วได้ความรู้อะไรบ้าง ผมว่าเป็นเรื่องดี การที่เราแชร์กัน คือทุกคนเก่งขึ้น ผมเก่งขึ้น คุณเก่งขึ้น ค่ะ ก็ขอบคุณมากเลยนะคะ ที่ให้ไอเดียในการใช้ Work Place ร่วมกัน เพราะว่าหลายๆคนยังไม่ได้มาสมัคร ยังไงก็แนะนำให้มาสมัครด้วยนะคะ จะได้เผยแพร่แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้กันค่ะ

     ค่ะ สำหรับวันนี้นะคะ เราก็ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากเลยนะคะ ทั้งในเรื่องของการเขียนหนังสือวิชาการ แล้วก็ในเรื่องของWork Place ที่ใช้กันในหน่วยงาน สำหรับวันนี้ก็ต้องขอขอบคุณ รศ.ดร.วรเศรษฐ  สุวรรณิก ที่ให้เกียรติกับรายการ KULIB Talk ค่ะ ขอบคุณค่ะ และในครั้งต่อๆไปจะเป็นแขกรับเชิญท่านใด ก็สามารถติดตามข่าวสารผ่านช่องทาง

Facebook Fanpage สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ Line:@kulibrary ค่ะ สำหรับวันนี้ก็ขอขอบคุณทุกท่านนะคะ ที่ติดตามชมรายการค่ะ สวัสดีค่ะ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงาน รศ.ดร.วรเศรษฐ สุวรรณิก ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

การเขียนหนังสือส่งเสริมการอ่านและตัวอย่างหนังสือส่งเสริมการอ่านที่เป็นผลงานทางวิชาการ / รังสิมันต์ ฉิมรักษ์

คู่มือการเขียนเอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม / โดย เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง

แนวการเขียนตำราวิชาการ / คณะกรรมการวิชาการ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

เทคนิคและประสบการณ์การเขียนตำราทางวิชาการ / บันลือ พฤกษะวัน ดำรง ศิริเจริญ


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri