Kulibtalk#25“อนุกรมวิธานพืช ความหลากหลายทางชีวภาพ”
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ค้นพบ “ช้างงาเอก” พืชชนิดใหม่ของโลก!!นอกจากนี้อาจารย์ยังมีผลงานวิจัยด้วยอนุกรมวิธานพืชที่น่าสนใจอีกมากมาย

          ในวันนี้ได้เชิญอาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญการจัดทำอนุกรมวิธานพืช มีความสำคัญต่อวงการพฤกษศาสตร์ประเทศไทยของเรา ซึ่งล่าสุดอาจารย์มีผลงานที่สำคัญกับประเทศ คือการค้นพบ ช้างงาเอก ซึ่งถือว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก และจัดอยู่ในสถานภาพที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ และอาจารย์ได้มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการจำแนกหมวดหมู่ของพืชต่างๆ ในวันนี้จะได้มาเรียนรู้เกี่ยวกับ ช้างงาเอก และอนุกรมวิธานพืช ผู้ที่จะมาให้ความรู้กับเราในวันนี้ ขอต้อนรับ รศ.ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย เป็นอาจารย์ประจำภาควิชา พฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อนุกรมวิธานพืชคืออะไร ช่วยให้คำจำกัดความ

คำว่าอนุกรมวิธานพืชมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Plant taxonomy Plant taxonomyหมายถึงอะไร เป็นวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาพฤกษศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของพันธุ์พืช หรือที่เรียกว่า Plant diversityโดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพืชร่วมกับวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญทางอนุกรมวิธานมาสร้างระบบการจำแนกพืช โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของพันธุ์พืชกลุ่มนั้นๆ โดยมีขอบเขตการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการจำแนกพืชที่เรียกว่า Plant Classification การระบุพืชที่เรียกว่า Plant Identificationและการตั้งชื่อพืช ที่เรียกว่า Plant Nomenclature 

ถ้าหากเราเจอพืช เราเดินไปเจอต้นไม้หรือพืชต่างๆ สามารถดูอนุกรมวิธานพืช และแยกเป็นวงศ์ย่อยของพืชเหล่านั้นๆได้หรือไม่

คนที่จะรู้ว่าพืชชนิดนั้นๆ เป็นชนิดอะไร จำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานทางอนุกรมวิธานพืช สิ่งแรกที่จะต้องเรียนรู้ คือ ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพืชเบื้องต้น ที่ใช้ในการระบุวงศ์ ระบุสกุล ระบุชนิดของพืช ซึ่งมีอะไรบ้าง ตั้งแต่ลักษณะวิสัยของพืช ว่าเป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก ไม้เลื้อย นอกจากลักษณะวิสัยแล้ว ยังต้องรู้จักในเรื่องของลักษณะของพืชไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ราก ลำต้น ใบ ดอก และผล ลักษณะต่างๆ เหล่านั้นเราเรียกว่าเป็นลักษณะสัณฐานวิทยาของพืชPlant Morphologyซึ่งเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ข้อมูลต่างๆเหล่านี้ ใช้เป็นข้อมูลที่สำคัญในการระบุวงศ์ ระบุสกุล ระบุชนิดพืช ในการสร้างระบบการจำแนกพืชนั้น เขาไม่ได้ใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาอย่างเดียว ยังใช้ศาสตร์อื่นๆ ที่มาร่วมด้วย เป็นข้อมูลสนับสนุนในการสร้างระบบการจำแนกพืช ผู้ใช้จะไม่ได้เป็นผู้สร้าง จะมีกลุ่มคน กลุ่มนักพฤกษศาสตร์ที่เขานำข้อมูลต่างๆ เหล่านี้​ข้อมูลต่างๆเหล่านี้มีอะไรบ้าง​เช่น​ทางด้านกายวิภาคศาสตร์พืช​หรือที่เรียกว่า​plant Anatomyหรือเรณูวิทยา​ที่เรียกว่า​palynology​หรือเกี่ยวกับ​ชีววิทยาโมเลกุล​ที่เรียกว่า​plant molecular biology พฤกษเคมีดูองค์ประกอบสำคัญ สาระสำคัญในพืช ​และยังมีเรื่องราวอื่นๆ​อีกมากมาย​ศาสตร์อื่นๆ​อีกมากมายที่ใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการสร้างระบบการจำแนกพืช​เพื่อให้มีความถูกต้อง​และความแม่นยำมากขึ้น​

วัตถุประสงค์ในการศึกษาอนุกรมวิธานพืชเพื่ออะไร

วัตถุประสงค์ของการศึกษา​ทางด้านอนุกรมวิธานพืช​อย่างน้อยผู้ศึกษาหรือผู้เรียน​ต้องมีความรู้พื้นฐานที่แม่น​ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับในเรื่องการจำแนกพืช​การระบุพืช​และการตั้งชื่อพืช​ความรู้พื้นฐานเหล่านี้​เมื่อมีความรู้​แล้วจะต้องนำไปใช้ให้ถูกต้อง​นอกจากรู้เรื่องที่กล่าวมาแล้ว​ยังจำเป็นที่จะต้องรู้ในเรื่องเกี่ยวกับการกระจายพันธุ์​นิเวศวิทยา​และรวมถึงการใช้ประโยชน์​ถามว่าทำไมจึงต้องรู้ให้ถ่องแท้​รู้ให้ถูกต้อง​ครบถ้วน​เพราะว่า​การนำความรู้​พื้นฐาน​ไปใช้ในอนุกรมวิธานพืชเป็นความรู้​พื้นฐาน​ที่สามารถ​นำไปใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษา​ด้านพืชหลายๆ​สาขา​เพราะฉะนั้น​สิ่งที่จำเป็นการที่จะนำความรู้​ไปใช้ต้องระบุชนิดพืชให้ถูกต้อง​ถ้าหากว่ามีการระบุชนิดพืชผิด​อาจจะเป็นโทษต่อมวลมนุษยชาติก็ได้​อย่างกรณี​ตัวอย่าง​ที่ศึกษา​คนที่ศึกษา​ทางด้านเภสัชจำเป็นที่ต้องใช้พืชไปสกัดสารต่างๆ​หาตัวยาต่างๆ​ที่สำคัญ​หากระบุชนิดพืชผิด​ก็จะทำให้เป็นผลเสียต่อมวลมนุษยชาติมากกว่าที่จะเป็นประโยชน์​และนอกจากนั้นเขาบอกว่างานวิจัยใดๆก็ตามที่ศึกษาที่เกี่ยวข้องกับพืช​จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระบุชนิดพืชให้ถูกต้อง​ถ้าระบุพืชผิดชนิดใช้พืชผิดชนิด​ทำให้งานวิจัย​นั้นไม่มีคุณค่า​และเป็นผลเสีย​รวมถึงไม่เป็นที่ยอมรับด้านวิชาการ​เพราะฉะนั้น​จึงเห็นว่างานวิจัยทางด้านอนุกรมวิธานพืช​เป็นงานวิจัยพื้นฐานที่มีความสำคัญมาก​และสามารถ​นำไปต่อยอด​ทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ​ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต นอกจากนั้นผู้เรียน​ผู้ศึกษายังต้องตระหนักในเรื่องของคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรพันธุ์​พืช​ตลอดจนถึงการอนุรักษ์​การใช้ประโยชน์​ใช้ทรัพยากร​อย่างยั่งยืน​ต้องมีการปลูกฝังให้มีจิตสำนึกในเรื่องของการรู้คุณค่าของทรัพยากรพันธุ์​พืชด้วย

อาจารย์พูดถึงรายละเอียดการจัดทำอนุกรมวิธานพืชถ้าหากมีท่านผู้ชมนิสิตนักศึกษานักเรียนที่กำลังจะศึกษาต่อเข้ามหาวิทยาลัยต้องเตรียมตัวต้องมีพื้นฐานความรู้อะไรเบื้องต้นเข้ามาศึกษาต่อพฤกษศาสตร์หรือการจัดทำอนุกรมวิธานพืช

สำหรับนิสิต​นักศึกษา​หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจจะเรียน​ทางด้านอนุกรมวิธานพืชเบื้องต้น​ควรจะได้มีโอกาสได้เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องที่เป็นวิชาพื้นฐาน​เช่น​วิชาพฤกษศาสตร์​ทั่วไป​หรือที่เราเรียกว่า​generalbotanyซึ่งเป็นวิชาในภาควิชาพฤกษศาสตร์​คณะวิทยาศาสตร์​มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หรือในที่อื่นๆ​มหาวิทยาลัย​อื่นๆ​ก็มีสอนทางด้านพฤกษศาสตร์​เช่นเดียวกัน​อย่างในเกษตรของเรา​ก็มีวิชาหนึ่ง​วิชารุกขวิทยา​หรือที่เรีย​กว่า​dendrology ก็จะเรียน​ในลักษณะ​ที่คล้ายๆกัน​ต้องเรียนความรู้พื้นฐาน​ทางด้านสัณฐาน​วิทยาเบื้องต้น​แล้วจึงมาต่อเนื่อง​ในเรื่องของการเรียน​อนุกรมวิธานพืช​

เท่าที่ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักอนุกรมวิธานพืชมีเรื่องของกระบวนการการศึกษาในการจำแนกที่ทราบมามีอยู่3ขั้นตอน

1.การจำแนกพืช

2.การตรวจสอบเอกลักษณ์ลักษณะและวินิจฉัยพืช

3.การกำหนดการตั้งชื่อพืช

อยากให้เล่าทั้ง3กระบวนการมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ในเรื่องของขอบเขตการศึกษาทางด้านอนุกรมวิธานพืช​ผู้เรียนหรือผู้สนใจศึกษา​จำเป็น​ต้องมีความรู้​ในขอบเขต​3​หัวข้อหลักๆ

หัวข้อแรกคือในเรื่องการจำแนกพืช เรียกว่า Plant Classification 

หัวข้อที่สอง คือ การระบุพืชหรือที่เรียกว่าการวินิจฉัย การตรวจสอบเอกลักษณ์ของพืช ภาษาอังกฤษใช้คำว่าPlant Identification

หัวข้อที่สาม คือเรื่องการตั้งชื่อพืช Plant nomenclature

จะขออธิบายในรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ อย่างในเรื่องการจำแนกพืช เป็นกระบวนการจำแนกพืชโดยใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับสัณฐานวิทยาพืช ร่วมกับวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะเป็นข้อมูลสนับสนุน เป็นแหล่งข้อมูลทางอนุกรมวิธานพืชที่สำคัญ ที่นักพฤกษศาสตร์นำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการสร้างระบบการจำแนกโดยที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการชาติพันธุ์ว่ากลุ่มไหนที่มีลักษณะคล้ายกัน เกิดขึ้นเมื่อไร อะไร อย่างไร มีลักษณะเหมือนกัน ลักษณะร่วมกันเป็นเครือญาติกันก็จัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ตั้งแต่ในเรื่องของการลำดับชั้นการจำแนกหมวดหมู่ เหมือนที่เราเคยเรียนในชีววิทยาเบื้องต้นตั้งแต่ Kingdom Division Class Order family genusและ speciesตามลำดับชั้นของการจำแนกหมวดหมู่ ระบบการจำแนกนั้นผู้ศึกษาอาจไม่ได้เป็นผู้ที่สร้างระบบขึ้นมาเอง แต่จะมีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งร่วมกันหาลักษณะสำคัญที่เราเรียกว่าTaxonomic data ที่สำคัญเอามาสร้างระบบการจำแนกให้บุคคลทั่วไปที่เป็น User เป็นผู้ใช้เขาก็ต้องเลือกลักษณะที่ดี ลักษณะที่มีความสำคัญทางอนุกรมวิธานที่ใช้ได้ง่ายมาใช้ นั่นก็คือในเรื่องของการจำแนกพืช การจำแนกพืชจะขอเล่าตั้งแต่ในอดีต ตั้งแต่ยุคแรกๆเป็นยุคในเรื่องการใช้ประโยชน์ เป็นการจำแนกพืชอย่างง่าย ใช้ลักษณะเพียงไม่กี่ลักษณะ ในการสร้างระบบการจำแนก อย่าง LINNAEUS เขาใช้ลักษณะของจำนวนเกสรเพศผู้ว่ามีกี่กลุ่ม มีกี่เกสรก็จัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน อันนั้นเป็นยุคในอดีตที่ทางด้านวิชาการยังไม่พัฒนามาถึงทุกวันนี้หรือดูแค่ลักษณะวิสัยเป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก เรียกเป็นการจำแนกอย่างง่าย ใช้ลักษณะของพืชเพียงไม่กี่ลักษณะ ในยุคต่อมาเรียกว่าเป็นยุคที่การใช้หลายลักษณะมากขึ้นที่เราเรียกว่าNatural Classification Systemก็อาจจะใช้ลักษณะที่เราเห็นด้วยสายตาหลายลักษณะมากขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ดูจากลักษณะที่เป็นธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และพอในยุคต่อมาเป็นยุคที่การจำแนกละเอียดที่สุด เราเรียกว่าPhylogenetic Classification Systemอย่างที่บอกว่านอกจากสัณฐานวิทยาแล้วยังใช้ศาสตร์อื่นๆ เข้ามาร่วมด้วยเพราะว่าวิทยาการพัฒนามากขึ้นก็นำศาสตร์ต่างๆเหล่านั้น มาร่วมสร้างระบบการจำแนกทำให้ระบบการจำแนกมีความแม่นยำมากขึ้น และถูกต้องมากขึ้นตามลำดับ ในเรื่องของการจำแนกพืช การะบุพืชนั้นหมายถึงว่า สมมุติว่าเดินเข้าป่ามาไปเก็บตัวอย่างพืชมาหนึ่งชนิด อยากรู้ว่าพืชชนิดนั้นอยู่ในวงศ์อะไร อยู่ในสกุลอะไร และชนิดอะไร จะต้องดำเนินการในเรื่องของการระบุชนิดพืช เพื่อให้ทราบว่ามีชื่อวิทยาศาสตร์อะไร เรียกว่า การระบุชนิดพืช ต้องทำอย่างไรบ้าง อยู่ดีๆเก็บตัวอย่างพืชมา ถ้าตามกระบวนการแล้วจะต้องศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของพืชชนิดนั้นก่อน ตอนที่ไปเก็บมาต้องบันทึกว่าเป็น ไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก แล้วต้องบันทึกข้อมูลต่างๆ และเอามาศึกษาในห้องปฏิบัติการว่า ลำต้น ใบดอก ผล มีลักษณะอย่างไร หลังจากนั้นพอเราทราบลักษณะต่างๆ เหล่านั้นแล้วเราทำอย่างไรต่อ เรานำข้อมูลเหล่านั้นไปค้นคว้าในสิ่งพิมพ์ทางอนุกรมวิธานพืชที่สำคัญที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ เช่นหนังสือพรรณพฤกษชาติต่างๆ อาจจะเป็นพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย พรรณพฤกษชาติของประเทศเพื่อนบ้าน หรือพรรณพฤกษชาติของประเทศอื่นๆ ที่สามารถจะใช้ได้ นอกจากนั้นยังมีเกี่ยวกับการศึกษาทบทวนพันธุ์พืชในระดับโลกที่เราเรียกว่าเป็น monographหรือการศึกษาทบทวนพันธุ์พืชในระดับเขต ระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศที่เราเรียกว่าrevisionหรืออาจจะมีหนังสือเกี่ยวกับพรรณพฤกษชาติของเขตต่างๆ อย่างเช่น พรรณพฤกษชาติของประเทศไทย  พรรณพฤกษชาติของอุทยานนั้น อุทยานนี้ ในประเทศไทย นั่นคือเป็นแหล่งข้อมูลที่เราจะไปค้นคว้า หรือจากงานตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่แล้วแต่ศักยภาพของผู้ศึกษาว่าจะหาข้อมูลเพื่อที่จะมาระบุชนิดพืชจากนั้นพอมาอ่านในนั้นอาจจะมีในเรื่องรูปวิธานระบุสกุล ระบุชนิดคือกุญแจไขไปสู่ว่าพืชที่เก็บมาเป็นชนิดอะไร มีขั้นตอนมากมาย หลังจากนั้นพอเราเก็บมาแล้วเราก็ศึกษาตามที่บอกไปแล้วอ่านรายละเอียดใช้รูปวิธาน พอได้รูปวิธานเป็นชนิดอะไรแล้วก็ต้องอ่านรายละเอียดว่ารายละเอียดที่เขาเขียนตรงกับคำบรรยายพืชที่เขาเขียนตามที่เราเก็บมารึเปล่า ถ้าเราได้แล้ว เราคิดว่าตรงแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องการให้ตรวจสอบอีกอย่างหนึ่ง คือเราเอาตัวอย่างนั้นเทียบเคียงกับตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้งหรือตัวอย่างพันธุ์ไม้ดองที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พืชศาสตร์ต่างๆ ถ้าเกิดมีผู้เชี่ยวชาญระบุ มีสลิปที่ระบุชนิดพืชไว้แล้ว ยิ่งทำให้เรามั่นใจมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นในหนังสือหรือเอกสารต่างๆ จะมีภาพวาดลายเส้น ถ้ามีภาพลายเส้น ภาพถ่าย ถ้าเราเห็นว่าสอดคล้องกันตรงกันก็ทำให้เรามั่นใจมากขึ้น ยิ่งถ้ามีผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาเกี่ยวกับพืชกลุ่มนั้นๆ เราก็สามารถ Confirm หรือถามจากผู้เชี่ยวชาญ ก็จะทำให้ชนิดที่เราระบุนั้น มีความถูกต้องมากขึ้น นักเรียนที่เรียนทางด้านนี้จะต้องผ่านกระบวนการนี้ แทนที่จะไปเปิดเทียบจากGoogleหรืออะไรต่างๆ พื้นฐานต้องมีความรู้ด้านนี้ และผ่านกระบวนการด้านนี้ จึงจะทำให้เขาสามารถค้นคว้าข้อมูลระบุชนิดพืชได้ถูกต้อง  

ในส่วนที่อาจารย์ได้กล่าวมา สามารถที่จะดูจากผลแห้ง หรือการดองตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ สามารถดูได้จากแหล่งไหนบ้าง)ในพิพิธภัณฑ์พืชคนที่ศึกษาด้านนี้ก็มีทั้งพิพิธภัณฑ์พืชในประเทศไทยและพิพิธภัณฑ์พืชในต่างประเทศ คำว่าพิพิธภัณฑ์พืชในที่นี้ เป็นพิพิธภัณฑ์พืชที่มีข้อมูลและขึ้นทะเบียนเป็นสากล มีหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน ขอยกตัวอย่าง เช่น พิพิธภัณฑ์พืชแห่งแรกของประเทศไทย พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ กรมวิชาเกษตร ตั้งขึ้นในปี 2463 ปีหน้า 2563 จะครบ100 ปี และอีกที่หนึ่งที่เป็นหน่วยงานที่สำคัญของชาติอีกที่หนึ่งก็คือ หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตั้งขึ้นในปี2473 หลังจากพิพิธภัณฑ์พืชแห่งแรก 10ปี ในปีหน้าจะครบ 90 ปี จะมีการฉลอง นอกจากนั้นมีพิพิธภัณฑ์ที่เป็นนานาชาติที่ตั้งขึ้นมาอยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆ อย่างเช่นที่เชียงใหม่มีองค์การศูนย์พฤกษศาสตร์ นอกจากนั้นอยู่ในภาควิชาชีววิทยา ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากนั้นมีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ชื่อว่า พิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นก็มี และอยู่ในอีกหลายมหาวิทยาลัยที่กลุ่มนักวิชาการช่วยกันสร้างขึ้นมา

ในส่วนของการกำหนดการตั้งชื่อ

สำหรับการตั้งชื่อกระบวนการต้องรู้ที่มาและเรียนรู้เกี่ยวกับกฎการตั้งชื่อ การตั้งชื่อนี้ไม่ใช่ว่าใครๆก็ตั้งขึ้นมาก็ได้ แต่จริงๆ ในเรื่องของการตั้งชื่อเขามีกฎ กฎการตั้งชื่อ เรียกว่า กฎนานาชาติของการตั้งชื่อ กฎนานาชาติของการตั้งชื่อสาหร่าย เห็ดรา และพืช ชื่อภาษาอังกฤษใช้คำว่า International Code Of  Nomenclature For Algae, Fungi, And Plants อักษรย่อใช้ ICNที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ แต่ในอดีตใช้ ICBNย่อมาจาก International Code Of Botanical Nomenclature พอมีการประชุมครั้งที่18 สภาพฤกษศาสตร์นานาชาติเข้าร่วมการประชุม เขาเปลี่ยนชื่อกฎโดยที่ตัดคำว่า Botanical อ​อกเหตุผลที่ตัดคำว่า Botanical ออกเพราะว่ากฎนี้เดิมก็ไม่ได้ใช้ตั้งชื่อพืชอย่างเดียว ใช้ตั้งชื่อสาหร่ายซึ่งมีสาหร่ายบางกลุ่มที่ไม่ใช้พืช เห็ดราก็ไม่ใช่พืช เขาบอกว่าเพื่อความเหมาะสมจึงให้ตัดคำว่าBotanical ออกเพราะว่ากฎนี้ใช้ในการตั้งชื่อนอกจากพืชแล้วยังมีสาหร่ายเห็ดรา เป็นที่มาของกฎนี้ กฎนี้ก็จะต้องมีหลักการสำคัญในการตั้งชื่อพืช มีกฎข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดให้ถูกต้องของการตั้งชื่อพืช เขาจะมี CODEรายละเอียดเยอะแยะมากมาย ในที่นี้ไม่ขอเล่ารายละเอียด ใครอยากรู้ไปศึกษาเพิ่มเติมเอง แต่อย่างไรจะขอบอกว่าการตั้งชื่อพืชทุกชื่อต้องมีตัวอย่างต้นแบบ หรือที่เราเรียกว่า Type Specimen ทำไมต้องมีตัวอย่างต้นแบบ ตัวอย่างต้นแบบเหล่านี้ใช้ในการMatching สมมุติว่ามีการตีพิมพ์เผยแพร่และตัวอย่างต้นแบบนี้ Matching กับชื่อนี้เป็นหลักฐานที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช พืชทุกชนิดมีชื่อที่ถูกต้องเพียงชื่อเดียว ในเรื่องของกฎการตั้งชื่ออย่างที่ว่ากฎนานาชาตินี้ ทำไมต้องมีกฎ เพื่อให้การตั้งชื่อเป็นสากล ชื่อพืชให้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เข้าใจและถูกต้องตรงกัน อย่างที่บอกว่าพืชหนึ่งชนิดอาจมีชื่อท้องถิ่นหรือพื้นเมืองหลายชื่อจะใช้ชื่อไหน หรือพืชต่างชนิดกันอาจมีชื่อท้องถิ่นหรือชื่อพื้นเมืองที่ซ้ำกันก็มี เพราะฉะนั้นเพื่อให้เป็นสากลจึงจำเป็นต้องมีชื่อวิทยาศาสตร์ การตั้งชื่อพืชสามารถจะตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลก็ได้ นำชื่อบุคคล นำนามสกุลของบุคคลมาตั้งก็ได้ หรือตั้งตามลักษณะของพืช ลักษณะที่สำคัญ ลักษณะเด่นๆ ก็ได้ตั้งตามสถานที่ที่ค้นพบ แต่เราจะไม่ตั้งชื่อตามผู้ที่ค้นพบ แต่เราจะตั้งกรณีเป็นชื่อบุคคล คือบุคคลนั้นอาจเป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อวงการพฤกษศาสตร์ หรือเป็นผู้ที่เก็บต้นแบบ หรือเป็นผู้ที่ทุ่มเททำงานทางด้านอนุกรมวิธานพืช แต่จะมี Other อยู่ท้ายชื่อวิทยาศาสตร์ บุคคลเหล่านั้นจะตั้งชื่อให้เกียรติกับบุคคลใดก็แล้วแต่ 

โดยทั่วไปแล้วนักพฤกษศาสตร์ที่มีโอกาสได้ไปทริปหรือไปศึกษาภาคสนาม พวกนี้อยู่ในจิตวิญญาณ อยู่ในหัวอยู่แล้ว  เวลาพูดถึงก็จะพูดถึง เห็นพืชก็จะมันน่าจะอยู่วงศ์อะไร อยู่ในสกุลอะไร หรือถ้าสามารถระบุชนิดได้ก็แชร์องค์ความรู้กัน บอกลักษณะแลกเปลี่ยนความรู้กันว่ากลุ่มนี้มีลักษณะเด่น มีลักษณะสำคัญอะไร อย่างที่ว่านั้นจะพูดเป็นภาษาเป็นชื่อScientific name

อยากทราบว่ามีอุปกรณ์เครื่องมืออะไรบ้าง ที่ช่วยในการจำแนก ตรวจสอบ ใช้ในการเก็บตัวอย่าง

การที่จะรู้จักพืชจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเก็บตัวอย่าง การเก็บตัวอย่างต้องเก็บที่ไหน ต้องไปภาคสนาม อุปกรณ์ที่สำคัญในการที่จะต้องออกภาคสนามที่เราจะต้องเตรียมไปด้วยมีแผงอัดพันธุ์ไม้ ชุดอุปกรณ์แผงอัดพันธุ์ไม้ที่ใช้ในการอัด และเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้ขึ้นอยู่กับพืชบางกลุ่ม พืชบางกลุ่มจำเป็นที่จะเอามาอัดในสำนักงานก็ได้ หลังจากที่เก็บมาแล้ว แต่มีพืชบางกลุ่มจำเป็นที่จะต้องเก็บและอัดเลย เนื่องจากลักษณะของดอก ลักษณะเหี่ยวเร็ว เปราะ แตกหักง่าย ต้องใช้อุปกรณ์อัด กรรไกรตัดกิ่ง หรืออาจจะต้องมีเสียม ในกรณีที่เราจำเป็นต้องเก็บเหง้าหรือรากที่สะสมอาหารอยู่ใต้ดิน เป็นส่วนสำคัญที่นำมาใช้ในการบรรยายลักษณะพืชรวมถึงไม้สอย กรณีที่เป็นไม้ต้นเราเก็บไม่ถึงในบางกรณีถ้าเกิดเป็นต้นไม้สูงๆ ทางภาคใต้เขาก็จะฝึกลิงให้ช่วยเก็บตัวอย่างให้เราแต่ลิงบางตัวที่ฝึกไว้ถ้าเขาเจอผลไม้ที่เขาชอบก็จะกินก่อน ก่อนที่จะเก็บให้เรา แต่ลิงเหล่านี้ก็จะสามารถเก็บตัวอย่างให้เราเหมือนกับตอนที่ไปทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกก็ใช้ลิงเก็บต้นไม้ เก็บกิ่งตัวอย่างที่มีผลให้ เพราะว่าเราไม่สามารถปีนได้ ต้นไม้สูงมาก30กว่าเมตรพอเขาเก็บให้เราแล้วเป็นการตอบแทนให้รางวัลให้ผลไม้ เจ้าของลิงจะมีแอปเปิ้ลให้ นั่นคืออุปกรณ์ ต้องมีถุงพลาสติก มีแผงอัด กรรไกรตัดกิ่งต่างๆ มีแผ่นป้ายบันทึกหมายเลขคนเก็บ หมายเลขตัวอย่างของคนเก็บแต่ละคนจะแตกต่างกันไปว่าเก็บอะไรอย่างไร มีสมุดบันทึกข้อมูลภาคสนามในการเก็บภาคสนามในบางครั้งเราจำเป็นต้องมีขวดดองติดไปด้วย หรือแอลกอฮอล์ติดไปด้วย เพื่อที่จะใช้ในการดองดอก สำหรับชนิดที่มีการเปราะแตกหัก หรือเสียหายง่าย จะต้องดองตัวอย่างเลย แต่อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เสียเที่ยวในการเก็บตัวอย่างนั้นบางครั้งคนที่เขาศึกษาเรื่องอื่นเพิ่มเติม อาจจะศึกษาเกี่ยวกับDNA อาจจะต้องมีซิลิก้าเจลติดไปด้วย เก็บใบ หรือเก็บส่วนต่างๆ ที่ต้องการที่จะเอามาศึกษาในห้องปฏบัติการ อันนั้นเป็นการศึกษาในภาคสนาม หลังจากศึกษาภาคสนามเสร็จแล้ว เราจะจัดการตัวอย่างพันธุ์ไม้นั้นอย่างไร ก็เอามาทำเป็นตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้ง เพื่อเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช ให้เป็นตัวอย่างพันธุ์ไม้อ้างอิงถือว่าเป็นตัวอย่างอ้างอิงที่มีความสำคัญมาก ในการระบุชนิดพืชจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างและทำตัวอย่างพันธุ์ไม้อ้างอิง เมื่อทำแห้งแล้วต้องมีการเย็บติดกระดาษแข็ง ซึ่งตามขนาดที่เขากำหนดในอุปกรณ์อยู่ด้านนี้ เย็บติดต่างๆ มีการบันทึกข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ฟอร์มมาตรฐานว่าข้อมูลพื้นฐานจะต้องมีอะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับแล้วแต่ว่าแต่ละพิพิธภัณฑ์พืชจะกำหนดข้อมูลมากน้อยหรือขนาดของกระดาษบันทึกข้อมูลแตกต่างกันไปในแต่ละพิพิธภัณฑ์พืช ขึ้นอยู่กับว่าอยากจะใส่ข้อมูลอะไรที่มีความสำคัญลงไปบ้าง หลังจากที่เราเก็บทำตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้งแล้ว เราก็มาเย็บติด มีกระบวนการต่างๆ รายละเอียดก็ไปดูเพิ่มเติมกัน

การทำให้แห้ง เราปล่อยให้แห้งตามธรรมชาติหรือว่ามีวิธีการอย่างไร

การทำให้แห้งในอดีตนั้นที่เรายังไม่มีตู้อบ สมัยก่อนต้องนึกถึงว่านักพฤกษศาสตร์ในอดีตค่อนข้างทำงานหนัก ไปในภาคสนาม ไหนจะต้องอัดตัวอย่างด้วย ใช้อัดด้วยหนังสือพิมพ์ ห่อกระดาษหนังสือพิมพ์แล้วอัดในแผง มันมีความชื้นถ้าไม่เปลี่ยนกระดาษหนังสือพิมพ์ตัวอย่างก็ขึ้นรา อุตส่าห์ไปเก็บขึ้นภูเขาสูงๆ เดิน5วัน 10วันตัวอย่างขึ้นราก็ทำให้ตัวอย่างเสียหาย เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนกระดาษหนังสือพิมพ์ทุกวัน ใช้วิธีพึ่งแดด แต่ว่าในปัจจุบันนี้ในการเก็บชนิดพันธุ์ไม้จำนวนมากๆ คงไม่สะดวกที่จะต้องมาเปลี่ยนกระดาษหนังสือพิมพ์ทุกวัน เพราะฉะนั้นก็มีตู้อบ ทำตัวอย่างเข้าแผงอะไรให้เรียบร้อยเข้าไปใส่ตู้อบ อบก็ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและจำนวนของตัวอย่างว่ามากน้อยขนาดไหน อาจจะมี 60 องศาเซลเซียส 65 70ก็แล้วแต่ชนิดพืชและจำนวนวันก็แล้วแต่จะ 3วัน4วัน5วันหรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่บอกไป หลังจากที่ทำตัวอย่างแห้งเสร็จแล้ว เราก็มาเย็บติดและขึ้นทะเบียน ต้องมีการลงทะเบียนและขึ้นทะเบียนและเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช เป็นมาตรฐานของคนทำงานด้านนี้เลย อย่างคนที่ศึกษาด้านอื่นที่ศึกษาเกี่ยวกับพืชจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างแบบนี้ เขาเรียกว่าเป็นตัวอย่างพันธุ์ไม้อ้างอิง หรือที่เรียกว่าเป็น voucher specimenให้กำกับว่าเราใช้พืชชนิดนั้นมาศึกษาถูกต้องนะidentifyถูกต้องนะ เวลาตีพิมพ์ผลงานต่างๆ เขาจะถามหาvoucher specimenด้วยว่าเก็บไว้ในที่ไหน อะไร อย่างไร

ล่าสุดอาจารย์ได้ค้นพบชนิดใหม่ของโลก เป็นพืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์ด้วย ที่ชื่อว่า ช้างงาเอก อยากให้อาจารย์เล่าถึงช้างงาเอก ตอนนั้นค้นพบที่ไหน อาจารย์ใช้หลักอะไรในการจำแนก

ก็สืบเนื่องจากที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับพืชกลุ่มนี้อยู่แล้ว เป็นการศึกษาทบทวนอนุกรมวิธานพืชสกุลการ์ซีเนียในประเทศไทยก็ได้มีการตรวจสอบพืช และได้ศึกษาพืชต่างๆ ทั้งที่ไปเก็บในภาคสนามและตัวอย่างที่เขามีการเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พืชต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ก็ได้รู้ว่าพืชชนิดนี้เป็นชนิดใหม่ ตัวอย่างนี้เก็บโดยคุณณรงค์ นันทะแสน ซึ่งเป็นบุคลากรของหอพรรณไม้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งเขาเป็นนักเก็บตัวอย่าง เขาเก็บมาตั้งแต่ปี 2551แต่ก็ยังเก็บตัวอย่างไว้ทั้งเป็นตัวอย่างแห้งและตัวอย่างดอง แต่ก็ยังไม่มีการระบุชนิด ต่อมาก็มี ดร.สมราน สุดดี ต้องการที่จะระบุชนิดพืชชนิดนี้ ดร.สมรานเป็นนักวิชาการชำนาญการพิเศษของหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก็ได้เอาตัวอย่างมาให้ดูให้ช่วยระบุชนิด ได้ศึกษาดูแล้วไม่เหมือนกับพืชชนิดใดๆที่เคยได้ศึกษามาจากทั้งตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้ง ตัวอย่างพันธุ์ไม้ดอง และการออกเก็บตัวอย่างในภาคสนามได้ตรวจสอบจากเอกสารต่างๆ ในฐานข้อมูลต่างๆทั่วแล้วจึงทำให้ตัดสินใจได้ว่าพืชชนิดนี้เป็นพืชชนิดใหม่ของโลก จากนั้นก็ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารทางวิชาการในปี2559 ชื่อไทยชาวบ้านเขาเรียกกันอยู่แล้วชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อว่าGarcinianuntasaenii  คำระบุชนิดnuntasaeniiตั้งชื่อเพื่อให้เป็นเกียรติกับคุณณรงค์ นันทะแสนซึ่งเป็นคนที่เก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้ซึ่งให้ตัวอย่างพันธุ์ไม้นั้นเป็นพันธุ์ไม้ต้นแบบที่เก็บตั้งแต่ปี 2551

พอเราเป็น New specie ในประเทศไทย ที่ประเทศลาวก็ค้นพบหลังจากที่อาจารย์ได้บันทึก

หลังจากที่ตีพิมพ์ได้ไม่นาน ก็มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ซึ่งก็ทำงานทางด้านอนุกรมวิธานพืชเช่นเดียวกัน เขาไปสำรวจที่ภูเขาควาย ที่ประเทศลาว และเขาก็ได้ค้นพบพืชชนิดนี้ เพราะฉะนั้นพืชชนิดนี้ก็เป็น New Record หรือเป็นพืชที่รายงานใหม่ของประเทศลาวอีกที่หนึ่ง พืชชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยและในประเทศลาวสองแห่ง

สถานที่พบช้างงาเอก ที่จังหวัดอะไร

การค้นพบช้างงาเอก ตอนที่ไปเก็บตัวอย่างไปเก็บตัวอย่างที่ อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ และมีรายงานจากข้อมูลการเก็บของนักพฤกษศาสตร์อีกที่หนึ่ง จ.นครพนม เพราะฉะนั้นในการกระจายพันธุ์มีอยู่ 2 จังหวัด ที่บึงกาฬและนครพนม ในต่างประเทศพบที่ลาว

ในการหาข้อมูลอาจารย์หาได้จากที่ไหน มีหนังสือหรือแหล่งออนไลน์ใด

แหล่งข้อมูลอย่างที่เคยเล่าไปว่าทั้งการศึกษาทบทวนพันธุ์ไม้ระดับโลกที่เรียกว่า Monograph การศึกษาทบทวนพันธุ์ไม้ในระดับเขต ในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ หรือที่เรียกว่า revisionเกี่ยวกับพันธุ์พฤกษชาติของประเทศต่างๆ ทั้งในประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน คู่มืออะไรต่างๆ ที่เราจะหา หรือแม้กระทั่งวารสารที่มีออนไลน์ หรือวารสารและสิ่งตีพิมพ์ทางด้านอนุกรมวิธานพืชที่สำคัญๆ อีกมากมาย นอกจากนั้นยังมีฐานข้อมูลตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้งของประเทศต่างๆ ของหอพรรณไม้ต่างๆ ที่ทำขึ้นไว้ เราสามารถค้นคว้าข้อมูลจากตรงนั้นได้ เรื่องการตรวจสอบชื่อ ปัจจุบันนี้วิทยาการทันสมัย มีฐานข้อมูลออนไลน์ของประเทศต่างๆ หลายฐานข้อมูลหลายแหล่ง อย่างเช่น The Plant List, Plant of The World Online, Plant of the world selected familiesและยังมีอีกหลายๆ ฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับนิสิตนักศึกษา หรือผู้ที่สนใจทางด้านพฤกษศาสตร์ที่จะใช้ค้นคว้าชื่อที่ถูกต้องได้

อยากทราบว่าในการจัดทำอนุกรมวิธานพืชในประเทศไทย มีหน่วยงานใดรับผิดชอบจัดทำอนุกรมวิธานพืช

หน่วยงานหลักๆ ที่ดูแลงานทางด้านอนุกรมวิธานพืช อย่างเช่น หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่เป็นหน่วยงานที่มีคลังความรู้ของชาติ มีพิพิธภัณฑ์พืชเกือบ 90 ปีแล้ว องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ที่อยู่ จ.เชียงใหม่ องค์การพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานอื่นๆ อีกที่อยู่ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งมีนักวิชาการ อาจารย์ เป็นผู้ที่ผลิตบัณฑิตทางด้านอนุกรมวิธานพืช และความหลากหลายทางชีวภาพในมหาวิทยาลัยต่างๆ อยู่ทั่วประเทศที่ดูแลงานทางด้านนี้ ซึ่งในแต่ละปีจะมีการรวมตัวกันของนักพฤกษศาสตร์ มีการจัดประชุมอย่างน้อยเป็นการประชุมพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย ตอนนี้ล่าสุดเพิ่งประชุมไปเมื่อต้นเดือนเป็นครั้งที่ 13 และยังมีการประชุมเกี่ยวกับอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ และทุก 3 ปี กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก็จะประชุมทางด้านพฤกษศาสตร์ 3 ปี 1 ครั้ง สลับประเทศไทยและต่างประเทศ และจะมีนักพฤกษศาสตร์ชาวต่างชาติมีความร่วมมือมายาวนานที่มาช่วยศึกษาพันธุ์ไม้ในประเทศไทย

คนกลุ่มใดจะได้ประโยชน์จากการทำอนุกรมวิธานพืช

ขอตอบว่ามวลมนุษยชาติทั้งโลก ทำไมถึงบอกแบบนั้น เพราะงานวิจัยทางด้านอนุกรมวิธานเป็นงานวิจัยพื้นฐาน ทรัพยากรชีวภาพเป็นจุดแข็งของประเทศไทยเป็นต้นทุนทางธรรมชาติที่มีชีวิตมีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น งานด้านอนุกรมวิธานพืชจะสนับสนุนและส่งเสริมเลือกชนิดพืชที่มีความสำคัญ และที่จะพัฒนาให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน งานวิจัยพื้นฐานทางอนุกรมวิธานพืช เป็นงานพื้นฐานที่สำคัญมากและมีประโยชน์ที่นำไปศึกษาต่อยอดสำหรับการศึกษาด้านพืชสาขาอื่นๆอีกมากมายหลายสาขา

โครงการในพระราชดำริ มีโครงการอะไรที่เกี่ยวข้องกับพฤกษศาสตร์

ได้มีโอกาสได้ใช้ความรู้ ความสามารถในฐานะที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ได้ผลิตบัณฑิตทางด้านอนุกรมวิธานพืช และความหลากหลายทางชีวภาพนับ 10 ปี ตั้งแต่เริ่มทำงาน มีโอกาสถวายงานรับใช้ใต้เบื้อง พระยุคลบาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี หลายครั้งงานล่าสุดนี้ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยรักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มอบหมายให้เป็นหัวหน้าโครงการ เข้าไปศึกษาพันธุ์ไม้ในวังสระปทุมที่เป็นที่ประทับของพระองค์ท่าน และก็มีโอกาสได้ถวายรายงาน ในงานปลูกต้นไม้ วันอาสาฬหบูชาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นอีกครั้ง และมีโอกาสได้ถวายรายงานวิจัยเรื่องการค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก ช้างงาเอก และเอื้องเทียนปากสีน้ำตาล ในงานประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 และได้มีโอกาสได้ถวายงานเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาอนุกรมวิธานพืชสกุลการ์ซีเนียในประเทศไทยในงานนิทรรศการวิชาการของโรงเรียนนายร้อย จปร และได้ถวายงานเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางพันธุ์พืชในพื้นที่คุ้งบางกระเจ้า และพระองค์ท่านรับสั่งให้ไปช่วยงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนปิยชาติพัฒนา ในพระราชูปถัมภ์ ถือว่านับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่มีโอกาสได้รับใช้ใต้เบื้อง พระยุคคลบาทพระองค์ท่าน

 

พิธีกร :  เป็นเรื่องราวที่ภาคภูมิใจ อย่างที่อาจารย์ได้กล่าวมา จากอาจารย์ได้กล่าวในเรื่องอนุกรมวิธานพืช ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์เอง หอสมุดจะมีฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าชมฐานข้อมูลออนไลน์ที่หอสมุดบอกรับได้ หรืออยากหาข้อมูลหนังสือที่เกี่ยวข้อง จะมีศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร อยู่ที่ชั้น 3 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติจะมีหนังสืออนุกรมวิธานพืช หรือหนังสือที่เกี่ยวข้องกับทางพฤกษศาสตร์มากมาย สามารถติดต่อเข้าใช้บริการได้ที่ ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตรได้

 

อยากจะฝากอะไรกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือนิสิตนักศึกษาที่จะศึกษาเรื่องเกี่ยวกับพฤกษศาสตร์ และอนุกรมวิธานพืช

อยากจะฝากเชิญชวนผู้ที่สนใจนักเรียน นักศึกษา ที่มีความสนใจมาศึกษาทางด้านอนุกรมวิธานให้มากขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในอนาคตขอขอบคุณครูบาอาจารย์ที่สอนผมมาทำให้ผมมีความเจริญก้าวหน้าในสายงานทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพและงานทางด้านอนุกรมวิธานพืชขออนุญาตเอ่ยชื่ออาจารย์ ท่านแรก ดร.ก่องกานดา ชยามฤต ท่านที่สอง ศ.ดร.ธวัชชัย สันติสุข ท่านที่สาม ผศ.สมนึก ผ่องอำไพ ท่านที่สี่ รศ.สุมน มาสุธนผู้ที่สอนและอบรมให้ความรู้ผมมาทำให้ผมมีความรักและความภาคภูมิใจในการทำงานทางด้านอนุกรมวิธานพืช สุดท้ายขอขอบคุณโครงการBRT ย่อมาจากBiodiversity Research and Training Program ในยุคปี 2543 ที่โครงการ BRT ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้นักวิจัย นิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาโท ปริญญาเอกทั่วประเทศ ซึ่งโครงการนี้มีคุณูปการต่อวงการพฤกษศาสตร์ วงการอนุกรมวิธานพืชมากมาย รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งบุคคลเหล่านั้นที่ท่านผลิตเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา บุคคลเหล่านั้นไปเป็นอาจารย์ เป็นนักวิจัยในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ และบุคคลเหล่านั้นได้เติบโตเจริญก้าวหน้าทางหน้าที่การงาน และยังได้ผลิตบัณฑิตออกมารับใช้ประเทศชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืนต่อไป

เรื่องราวทั้งหมดในวันนี้ เป็นเรื่องราวที่มีประโยชน์ซึ่งหลายท่านเองก็ยังไม่ได้มีข้อมูลในเรื่องพฤกษศาสตร์ ทางอนุกรมวิธานพืช หรือแม้กระทั่งพืชชนิดใหม่ของโลก เช่น ช้างงาเอก ในวันนี้เราได้ทราบถึงรายละเอียดทางพฤกษศาสตร์ค่อนข้างมาก ใช้ศาสตร์หลายศาสตร์ต่างๆ เข้ามาเพื่อจะจำแนกพืช ขั้นตอนการเก็บ การรวบรวม จัดทำอนุกรมวิธานพืชเองจะมีประโยชน์มากมายในเรื่องของมวลมนุษยชาติ ได้ประโยชน์จากการจัดทำอนุกรมวิธานพืช หรือแม้กระทั่งประโยชน์ในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศหรือของโลก หรือในเรื่องของการจัดทำงานวิจัยที่จะทำให้งานวิจัยทางพฤกษศาสตร์หรืออนุกรมวิธานพืชให้มีคุณภาพของการวิจัย รวมถึงทางด้านการแพทย์เอง ซึ่งมีความสำคัญมาก ถ้ามีการจัดทำอนุกรมวิธานพืช จำแนก จัดชนิดของพืชอาจจะส่งผลให้ทางด้านเภสัช หรือการทำยา ที่นำพืชไปต่อยอดต่อ ทำให้มีการผิดพลาด ซึ่งผลกระทบแน่นอนจะเกิดต่อสุขภาพเราด้วยเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่กล่าวมา มีประโยชน์อย่างมาก

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

 

 


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri