“การค้นพบการเวกชนิดใหม่ของโลก โดย ผศ.ดร.วิชาญ เอียดทอง และนายทวี  อินสุระ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ “

พิธีกร :  สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ รายการ KULIB talk ครับ ซึ่งเป็นการไลฟ์ผ่านทาง facebook ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นะครับ ผมเฉลิมเดช เทศเรียน รับหน้าที่พิธีกรในวันนี้ครับ และทางสำนักหอสมุดเราก็ได้ทราบข่าวจากการค้นพบพันธุ์ไม้การเวกชนิดใหม่ของโลกนะครับ จำนวน 2 ชนิดด้วยกัน ซึ่งเป็นการค้นพบของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครับ และวันนี้เราก็ได้รับเกียรติจากศิษย์เก่าภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ คุณทวี  อินสุระครับ ขอต้อนรับคุณทวีครับ”

“สวัสดีครับคุณทวี หลังจากที่จบจากการศึกษาในระดับปริญญาโท และได้กลับเข้ามาในมหาวิทยาลัยอีกครั้ง รู้สึกอย่างไรบ้างครับ ? “

นายทวี อินสุระ :  จริงๆก็ตื่นเต้นครับเพราะไม่ได้มานานครับ ก็จะเล่าว่าพันธุ์ไม้ในสกุลนี้คือสกุลการเวกนี่ที่ทุกท่านอาจจะรู้จักกันดีคือกระดังงาจีนครับ ที่ปลูกตามรั้ว ฟุตบาทในกรุงเทพ ตามป้ายรถเมล์ต่างๆครับ คือมันมีมากกว่าหนึ่งชนิดในไทยนะครับ ซึ่งที่เรารู้ทั่วไปคือ กระดังงาจีนนะครับ ที่มีกลิ่นหอมๆ ดอกเหลืองใหญ่ๆครับ  งานวิจัยที่พึ่งได้รับการตีพิมพ์มีท่าน ผศ.ดร วิชาญ เอียดทองนะครับประจำภาควิชา ชีววิทยาป่าไม้ คณะวิทยาศาสตร์ร่วมทำการวิจัย และผู้ร่วมวิจัยจากต่างประเทศคือ ชุนเถา เช็น นะครับ จากสิงคโปร์ botanical garden นะครับร่วมทำการวิจัยด้วย ก็เป็นที่น่าเสียดายนะครับที่อาจารย์ท่านได้ถึงแก่กรรมนะครับเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมครับ ก็ขอแสดงความเสียใจต่ออจารย์ และครอบครัวของท่านอาจารย์นะครับ

คำถาม : ก็ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวท่านอาจารย์อีกครั้งนะครับ

นายทวี อินสุระ : ก็ที่มาที่ไปถ้าเล่าเรื่องการเวกในประเทศไทยนะครับ…ช่วงที่ผมศึกษาในระดับปริญญาตรีปีหนึ่งปีสองนะครับ เป็นการเรียนวิชาพื้นฐานของคณะวนศาสตร์หลายๆวิชา ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรรมป่าไม้ การจัดการป่าไม้ วนวัฒนวิทยาในการปลูกป่าและก็ได้เรียนสาขาวิชานี้อ่ะครับ ชีววิทยาป่าไม้ เรียนการสำรวจพันธุ์พืชที่มีในประเทศไทย พอเรียนแล้วก็รู้สึกชอบและเรารู้สึกอยากเจ๋งในสาขานี้ในเรื่องต้นไม้ จำแนก ต่างๆ ปีสามปีสี่เลยเลือกที่จะมาแน่วแน่ในวิชาชีววิทยาป่าไม้ซึ่งมีให้เลือกอยู่สองอย่างคือ สายสัตว์ป่าไปเลย กับสายพืช ผมก็เลยคิดว่าเราน่าจะไปได้ดีในสายพืชเลยเลือกมาเรียนสายพืชครับ

คำถาม แล้วทำไมต้องเป็นการเวกด้วยครับ ? เป็นความชอบส่วนตัวหรืออย่างไรครับ ?

นายทวี อินสุระ : เริ่มพบกับอาจารย์ที่ปรึกษาครับ ผศ.ดร.วิชาญ เอียดทอง ท่านก็แจ้งว่าท่านกำลังจะทำพันธุ์ไม้ในวงศ์กระดังงาซึ่งในประเทศไทยตอนนั้นกำลังศึกษากันอย่างเข้มข้นเลยครับ ก็มีอาจารย์ ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ศึกษาด้วย แล้วก็เริ่มทำเล่มออกมาให้เห็นแล้วว่ามีกี่ชนิด ผมก็ตั้งใจตั้งแต่ปีสามแล้วว่าจะศึกษาพันธุ์ไม้ในสกุลนี้คือสกุลการเวก พอปีสี่ผมเริ่มเก็บตัวอย่าง เก็บข้อมูลแล้วครับ เพราะตั้งมั่นว่าจะต้องเรียนปริญญาโทในพันธุ์พืชสกุลนี้มาทำอนุกรมวิธานครับ

คำถาม :  ที่ฟังมาคือคุณทวี ศึกษาปริญญาตรีที่คณะวนศาสตร์ และปริญญาโทที่คณะวนศาสตร์ ?

นายทวี อินสุระ : ใช่ครับ ผมเป็นศิษย์เก่าทั้งปริญญาตรี ปริญญาโทที่นี่เลยครับ

คำถาม : ขออนุญาตสอบถาม…. ku รุ่นที่เท่าไหร่หรอครับ

นายทวี อินสุระ : 61 ครับ

คำถาม : ขออนุญาตต่อนะครับหลังจากที่ค้นพบว่าจะศึกษาต่อในเรื่องของ การเวก และปริญญาโทครับ

นายทวี อินสุระ : ทุกอย่างเริ่มจากการวางแผนครับ ตอนผมอยู่ปี4 จริงๆผมเริ่มที่หอสมุดนี่แหละครับ คือผมหาข้อมูลพันธุ์ไม้สกุลการเวก แต่ก่อนหอสมุดยังไม่พัฒนาจนถึงขั้นนี้ ช่วงนั้นจะมี pc ตั้งอยู่หน้าห้องสมุด เรามาถึงก็เสริชหาข้อมูลพันธุ์ไม้วงศ์กระดังงา พันธุ์ไม้วงศ์การเวกอยู่ที่หนังสือเล่มไหน ชั้นอะไร ก็ไปหา…ซึ่งเราเริ่มต้นจากไม่รู้อะไรจริงๆ พอเรารู้ว่าอยู่หน้าไหนเราก็ให้เค้าซีล็อค…ก็แต่ก่อนแผ่นละ50สตางค์….ณ จุดที่เรานั่งอยู่นี่ผมได้ประมาณ 30-40 เปเปอร์นะครับที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์ไม้สกุลนี้  ทั้งการกระจายอยู่ที่ไหนบ้างทั่วโลก วิสัยเป็นอย่างไร การใช้ประโยชน์ เราจดหมดครับ ซีล็อคหมดเลย…นอกจากที่นี่…ก็จะมีห้องสมุดของคณะครับ ที่สำคัญเลยคือห้องสมุดของกรมอุทยานแห่งขาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชครับ…เบ็ดเสร็จได้ประมาณ 100 เปเปอร์มารวมกัน แล้วผมก็จับมารวมกันและหาข้อมูลและพบว่าทั่วโลกมีพันธุ์ไม้ในสกุลการเวกประมาณ100กว่าชนิดๆ กระจายพันธุ์ในเอเชีย แอฟริกาใต้ และออสเตรเลีย(ออสเตรเลียพบ 1 ชนิด) ในประเทศไทยในเอกสารพบ 7 ชนิดครับ พอเรารู้จากเอกสารว่ามี 7 ชนิด เราอยากรู้ของจริงว่ามีกี่ชนิดเราเลยสำรวจตัวอย่างจริงครับ เริ่มแรกที่พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพครับ และก็พิพิธภัณฑ์พืชสำนักหอพันธุ์ไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชครับ ไปดูก็ไม่ได้ดูเฉยๆครับจดหมดทุกอย่างครับว่า เก็บวันที่เท่าไหร่ บางตัวอย่างเก็บมาเป็น 70ปี แล้วครับ ซึ่งข้อมูลมีการ label ข้อมูลอาจจะครบไม่ครบ หรือแต่ก่อนมีระบบพิกัด x,y ลองติจูด ละติจูด บอกเป็นจังหวัด อำเภอไว้ ก็เก็บหมดครับเช็คดูว่า ออกดอก ออกผลช่วงไหน รูปร่างใบ มีสิ่งไหนปกคลุมไว้คือผมจดหมดทุกอย่าง สุดท้ายผมมาพอร์ทลงในแผนที่ประเทศไทยว่า ชนิดนี้อยู่พื้นที่ไหน จังหวัดไหน ทำให้มองเห็นภาพการกระจาย สิ่งที่เจอก็คือหลังจากมาพอร์ทไว้ 7 ชนิด มันมีส่วนเพิ่มเข้ามา คือมากกว่า7 แต่ตัวอย่างยังไม่สมบูรณ์ครับอาจจะมีใบไม่มีดอก มีใบมีผลไม่มีดอกพวกนี้อ่ะครับ เราต้องมาเก็บเพิ่มอะไรต่างๆ ผมเลยเชื่อว่าไม่ได้มีแค่ 7 ชนิด  พอเราเก็บข้อมูลจากเอกสาร หนังสือก็มาดูตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้งเสร็จ ต่อไปก็เป็นการออกฟิลด์ ออกพื้นที่ครับ….ช่วงที่จบปี4 เริ่มจะเขาเรียนปริญญาโทก็เริ่มออกพื้นที่เก็บตัวอย่างตามลิสท์ที่เราจดมาว่าตัวอย่างเขาเก็บกันที่ไหน ก็เริ่มเก็บตัวอย่างออกภาคสนามครับ บางทีก็รับงานจ็อบช่วยนักวิจัยออกฟิลด์ตามป่าหารายได้เสริม ไปช่วยงานวิจัยในพื้นที่ต่างๆตามป่า ตามอุทยานแห่งชาติ เราก็มีโอกาสเก็บตัวอย่างวิจัยของเราด้วย

คำถาม : ตัวอย่างที่เก็บนี้เป็นตัวอย่างของงานวิทยานิพนธ์ ?

นายทวี อินสุระ : ใช่ครับ เก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้งมา เวลาไปเก็บก็ต้อง label หมดว่าเก็บช่วงไหน เวลาใด มีใบ มีดอกอย่างไร ลักษณะเป็นอย่างไร สูงจากระดับน้ำทะเลเท่าไหร่ เก็บข้อมูลหมดครับ และก็แพ็คเข้าตู้อบเป็นตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้งครับ บางส่วนก็เป็นตัวอย่างพันธุ์ไม้ดองเพื่อนำมาศึกษาต่อ ถ่ายภาพ เก็บตัวอย่าง บันทึกรายละเอียดทุกอย่างและก็อบป้องกันเชื้อรา สุดท้ายพอเก็บตัวอย่างเสร็จอันดับต่อไปก็เข้าแลป คือเขียนบรรยายวิสัยต่างๆ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้น ใบ ดอก ผล สิ่งปกคลุมใบ และดูในกล้องจุลทรรศน์ต่างๆ สุดท้ายคือเรณูวิทยาซึ่งเล็กมากไปส่องกล้องใช้กำลังขยายประมาณหนึ่งหมื่นเท่าดูลักษณะของเรณูต่างๆ พอเก็บรวบรวมได้หลายชนิดก็มาวาดภาพลายเส้นประกอบ วาดเองส่วนหนึ่งและก็มีคนช่วยวาดด้วย สุดท้ายผมก็เขียนเป็นวิทยานิพนธ์เพิ่มจาก 7 ชนิดเป็น 15ชนิด ตอนจบปริญญาโทครับ และก็ผมเชื่อว่ายังมีตัวอย่างอีกหลายตัวอย่างมากกว่า15ชนิดแต่ยังเก็บข้อมูลไม่ครบ ทุกวันนี้พอเก็บครบก็มั่นใจว่ามันจะไม่มีการตีพิมพ์การค้นพบ น่าจะเป็น new อะไรสักอย่าง คือเป็นนักวิจัยก็มองว่าสามารถพบพืชชนิดใหม่ในไทยได้ก็ถือว่าสุดยอดแล้ว ยิ่งถ้าค้นพบชนิดใหม่ของโลกได้ผมว่าเป็นสุดยอดโบนัสแล้วครับ ก็อยากทำให้เต็มที่ครับ

คำถาม : อย่างที่แจ้งมาว่าทั่วโลกมีกว่า 100 ชนิด อย่างของไทยจากเดิมมี 7 ชนิด และตอนนี้ก็คาดว่ามีมากกว่า 15 ชนิดแล้วและอย่างที่อาจารย์ได้แจ้งว่าพบที่ เอเชีย แอฟริกาใต้และออสเตรเลีย อยากจะทราบว่าในเอเชียกับทางแอฟริกาใต้ อัตราส่วนที่ใดมากกว่ากันครับ

นายทวี อินสุระ : เป็นเอเชียเราครับ โดยเฉพาะทาง Southeast Asia ครับ ทางสุมาตรา  ทางมาเลเซีย ทางอินโดนีเซีย เพราะพวกนี้เป็นป่าดิบชื้นมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงครับ

          ทีนี้มาถึงเรื่องที่จะตีพิมพ์ชนิดใหม่ของโลกสองชนิดนี้ครับ ทุกอย่างที่จะบรรยายได้ทางอาจารย์ได้ประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญพันธุ์ไม้ในสกุลนี้ในระดับโลกช่วยดูครับ คือชนเถา เชน ครับ จากสิงคโปรบอททานิคการ์เด้นครับ ซึ่งท่านก็มาดูถึงที่ไทยเลย และก็เปรียบเทียบตัวอย่างนี้จากพิพิธภัณฑ์พืชระดับโลกที่สิงคโปร และเช็คจากที่อื่นครับเดนมาร์คต่างๆและพบว่าชนิดนี้แตกต่างจากชนิดอื่นและยืนยันแน่ๆครับว่าเป็น new species ครับ คือพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลกครับ

คำถาม : ซึ่งในการที่จะยืนยันว่าเป็นชนิดใหม่ของโลก ต้องมีการเอาตัวอย่างค้นพบเปรียบเทียบกับศูนย์พันธุ์พืชต่างๆทั่วโลก ?

นายทวี อินสุระ : ใช่ครับ ต้องมีการเทียบเคียงครับ เทียบเคียงกับเอกสารที่มีการตพิมพ์ไปเกี่ยวกับพันธุ์ไม้สกุลนี้ทั่วโลกครับ เช็คจนละเอียด สุดท้ายก็เป็นที่มาของชนิดใหม่ของโลก2ชนิด และก็พบใหม่ในประเทษไทย และการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย 2 ชนิดครับ

คำถาม : ซึ่งสองชนิดนี้คุณทวีค้นพบที่ไหนบ้างครับ

นายทวี อินสุระ : ขอเริ่มที่ชนิดแรกก่อนนะครับ ผมพบครั้งแรกปี 2548 ครับ พบที่น้ำตกกะโรม อุทยานแห่งชาติเขาหลวงจังหวัดนครศรีธรรมราชครับ ไปช่วยรุ่นพี่ทำวิทยานิพนธ์ครับ แต่ผมตั้งใจไปหาการเวกอยู่แล้วครับ พอพบก็รู้สึกว่ามันแปลกครับ คือประเทศไทยแบ่งพันธุ์ไม้สกุลการเวก แบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกันครับ คือกลีบดอกแบบนรูปไข่ป้อมๆที่เราเจอตามป้ายรถเมล์เรียกว่าต้นกระดังงาจีนครับ อันที่สองคือกลีบดอกเป็นรูปกระบองมีชนิดเดียวครับคือก๋ายครับ พบทางภาคใต้ ภาคตะวันออกบางส่วนส่วนที่สามคือกลีบดอกเป็นรูปแถบ เรียวยาว ซึ่งที่พบตอนนั้นก็คือ Artabotrys multiflorus ชนิดเดียวครับ ทีนี้ชนิดแรกที่ไปพบคือกลุ่มรูปแถวเพิ่มเข้ามา กลีบดอกยาวครับ เกือบ5ซม.ครับ ดอกออกกระจุกเยอะมากครับ ดอกสีเหลือง พอบานเต็มที่มีกลิ่นหอมมากครับ พอเราเก็บเอกสารหลากหลายก็ทำให้เรามั่นใจครับว่าเป็นชนิดใหม่ ก็เก็บตัวอย่างกลับเข้ามาเข้าแลป นำมาเขียนอธิบายลักษณะต่างๆ และวาดลายเส้นต่างๆ และทางอาจารย์ก็มาช่วยดูช่วยเช็ค และติดต่อผู้เชี่ยวชาญในระดับโลกมาช่วยดูให้ และเค้าก็บอกว่าชนิดนี้แตกต่างกับชนิดอื่น ก็มีใกล้เคียงอยู่ชนิดเดียวแต่ว่าดอกที่เราเจอจะยาวกว่า ก้านดอก เกสรตัวผู้ก็แตกต่างกัน ก็ยืนยันว่าเป็นชนิดใหม่ของโลก และเป็นชนิดที่กลีบดอกยาวที่สุดในโลกครับ

คำถาม : มีชื่อภาษาไทยยังครับ ?

นายทวี อินสุระ : ยังครับ ยังไม่ได้ตั้งเลยครับ

คำถาม : แสดงว่าตอนนี้ก็ชื่อ  Artabotrys longipetalus  ?

นายทวี อินสุระ : ชื่อนี้ก็แปลว่ากลีบดอกยาว

คำถาม : ก็อันนี้ก็เป็นชนิดแรกที่ค้นพบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วชนิดที่สองค้นพบที่ไหนครับ?

นายทวี อินสุระ : ชนิดที่สองนี้ผมก็ค้นพบครั้งแรกในปีเดียวกันนะครับ คือปี 2548 ที่น้ำตกโตนงาช้าง จังหวัด สงขลา เป็นแนวเชื่อมต่อระหว่างสงขลากับสตูลครับ ……… Artabotrys insurae ก็มีความแตกต่างกับชนิดอื่นๆในกลุ่มของกลีบดอกรูปไข่ครับ มีชนิดที่ใกล้เคียงกันคือ Artabotrys uniflorus จะมีความแตกต่างกันในฐานใบครับ ชนิดที่ผมพบคือมีฐานใบแบบ oblique ขนที่ปกคลุมท้องใบก็จะแตกต่างกันชัดเจนมากครับ กลีบดอกที่ผมพบคือดอกแบน ป้อม เล็ก แต่ Artabotrys uniflorus เป็นแบบ tri-angel ครับคือกลีบดอกแคบและก็เกสรเพศผู้เพศเมียแตกต่างกัน ทางผู้เชี่ยวชาญมาเห็นตัวอย่าง เช็ครายละเอียดต่างๆและเทียบเคียงกับพันธุ์ไม้แห้งที่อื่นก็ยืนยันว่าเป็นชนิดใหม่ของโลกครับ

คำถาม : จากชนิดที่สองเห็นคุณทวีบอกว่าชื่อ Artabotrys insurae  ครับ….. insurae นี่มาจากนามสกุลของคุณทวีหรือเปล่าครับ ?

นายทวี อินสุระ : ครับ ก็ต้องขอขอบพระคุณนะครับ เพราะ insurae  คือนามสกุลของผมครับ และทาง
ผศ.ดรวิชาญ เอียดทอง และทาง ชุนเถา เชน ก็แต่งตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ผมนะครับที่เป็นผู้เก็บตัวอย่างครับของพันธุ์ไม้ในชนิดนี้คนแรกครับ และก็ช่วยทำงานเก็บตัวอย่างทั่วประเทศไทยนะครับของพันธุ์ไม้กสุลการเวกในปริญญาโทที่ผมทำครับ ตัวอย่างพันธุ์ไม้ที่ผมเก็บก็มีผู้เชี่ยวชาญหลายท่านนำไปตีพิมพ์เป็นชนิดใหม่ของโลก ก็ถือว่าขอบคุณ ผศ.ดรวิชาญ เอียดทองที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ก็ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

คำถาม : แบบแรกที่พบคือมีกลีบดอกยาวและมีดอกที่สุดในโลก และแบบที่สองมีกลีบดอกป้อม รูปไข่ เล็ก กลีบดอกมีขน แล้วทั้งสองชนิดในเรื่องของความหอม แตกต่างกันแค่ไหนครับ ?

นายทวี อินสุระ : ชนิดแรกจะหอมกว่าครับ ดอกเยอะ ดอกหอมครับ แต่ชนิดที่สองนี่หอมนิดหน่อยเป็นเพราะดอกน่าจะน้อยครับ

คำถาม : ส่วนลำต้นไม่ต่างกันมาก ?

นายทวี อินสุระ : แต่ว่า Artabotrys insurae   เท่าที่พบจะเลื้อยไม่สูงมากครับ ประมาณ3-5เมตร ไม่น่าสูง ชนิดที่สองนี่แปลกมากคือจะพบตามพื้นที่ที่เป็นแกรบของป่า มีช่องว่างและก็ตามตรอกหินของน้ำตก ก็คือชอบอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ยาวมาก ในที่ที่เป็นช่องเปิดมากกว่า

คำถาม : ทั้งสองชนิดก็พบในอุทยาน ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้น้ำตก ซึ่งเกี่ยวกับความชอบน้ำตกของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ด้วยไหมครับ ?

นายทวี อินสุระ : จริงๆโดยส่วนตัวที่สำรวจผมว่ามีส่วนนิดเดียวครับ หลักๆพันธุ์ไม้ในสกุลนี้ชอบแสง ต้องเจอแสงถึงจะออกดอกติดผลได้ ในพื้นที่ป่าอย่างในพื้นที่ป่าราบอราในนราธิวาสข้างล่างจะเป็นเถาว์ใหญ่ ข้างบน30เมตร จะเป็นยอดของพวกการเวกซึ่งอยู่สูงมาก ผมไม่สามารถเก็บตัวอย่างได้ ต้องใช้วิธีที่มีแกรบมีช่องว่างจึงจะเก็บได้สะดวก ผมก็ต้องดิ่งหาที่ที่เป็นธรรมชาติ ด่านสัตว์ป่า หรือน้ำตก แอ่งน้ำที่รอบข้างแดดเต็มที่ ซึ่งตัวอย่างที่ผมเก็บส่วนมากก็จะเป็นช่องว่างน้ำตก ธารน้ำ หรือริมถนนทางเดินจะเจอได้ง่ายกว่า จริงๆในป่าลึกๆก็มีแต่สูงครับ ผมเก็บไม่ได้ครับ

คำถาม : ในส่วนการเวกมีช่วงเวลาความหอมเกี่ยวข้องด้วยไหมครับ ?

นายทวี อินสุระ : ก็มีผลครับ เช่น กระดังงา เวลาโดนแดดจัดๆจะมีกลิ่นหอมออกมา อย่างเราอยู่กรุงเทพไปตามป้ายรถเมล์ที่เขาปลูกช่วงบ่ายๆดอกมันก็จะหล่นมาคือมันงอมเต็มที่ ฉะนั้นกลิ่นจะหอมมากเลยครับ อย่างชนิดแรกความหอมอาจจะสู้ความหอมของกระดังงาจีนที่เราเห็นไม่ได้ แต่ความคลาสสิคความสวยงามคือดอกเยอะ ดอกแปลก ดอกยาวที่สุดในโลก ซึ่งผมว่าถ้าเรานำมาพัฒนาในเรื่องของการทำไม้ประดับ ความสวยงามชัดเจนครับ….

คำถาม : ในการค้นพบพันธุ์ไม้ต่างๆมีการแมพไว้ในแผนที่ด้วยไหมครับ ?

นายทวี อินสุระ : สำหรับที่ผมและอาจารย์ที่พบก็คือมีการ map ในแผนที่ประเทศไทย ในเล่มวิทยานิพนธ์ผมก็มีครับ ก็จะแมพหมดครับว่าเจอตรงไหน อย่างเอกสารตีพิมพ์วารสารฉบับนี้ก็มีแบบแมพว่าเจอตรงไหนบ้างทั้งสี่ชนิดที่พบอะครับ  ทุกวันนี้ผมมองว่าพื้นที่ที่เจอยังแคบอยู่ อาจจะเจอในพื้นที่อื่นด้วย ซึ่งบางจุดเช่นชนิดแรกผมเจอในนครศรีธรรมราช และตรัง อาจจะมีที่สตูลและสงขลาด้วยครับ เนื่องจากอยู่พื้นที่ใกล้ๆกันครับ….

คำถาม : รู้สึกชนิดที่พบเป็นที่ภาคใต้ทั้งสองชนิดเลย เป็นไปได้ไหมคครับว่าการเวกส่วนมากจะอยู่ที่ภาคใต้ ?

นายทวี อินสุระ : ไม่ครับ มีทั่วประเทศไทยเลยครับ อยู่ในป่าทุกชนิดเลยครับ เช่นภาคอิสานเป็นป่าเต็งรังก็จะเป็นอีกคนละชนิดที่ชอบอยู่ในพื้นที่แล้งครับ ส่วนภาคใต้อยู่ในพื้นที่ชื้นก็จะขึ้นมาบนสุดก็ได้ไม่มากครับ….

คำถาม : คุณทวีมีแพลนที่จะไปทำต่างพื้นที่บ้างหรือไม่ครับ อย่างเช่นสำรวจทางอีสาน หรือทางภาคเหนือครับ ?

นายทวี อินสุระ : ถ้ามีโอกาสผมสำรวจทุกครั้งครับ ก็ยังติดในใจว่านอกจาก20ชนิดที่ทำไปแล้ว ส่วนตัวยังมั่นใจว่ายังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ถูกค้นพบ เพราะในประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพค่อนข้างมาก และผมก็มั่นใจว่า ณ ตอนนี้มีมากกว่า20ชนิดครับ ผมยังเก็บตัวอย่างไม่ครบเป็นบางชนิดอยู่เหมือนกันครับ…

คำถาม : ขอสอบถามเพิ่มเติมในเรื่องของ พอเรามีการเก็บตัวอย่างแล้ว เวลาเดินไปยังสถานที่ต่างๆพอเห็นพันธุ์ไม้การเวก คุณทวีสามารถระบุได้ไหมครับว่า เป็นชนิดไหน ?

นายทวี อินสุระ :  ไม่ได้ทุกชนิดครับ แต่ถ้าเป็นพันธุ์ที่ผมศึกษาผมก็ชัวร์อยู่แล้วครับ ซึ่งในการศึกษาอนุกรมวิธานต้องใช้ศาสตร์หลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องครับ ไม่ว่าจะเป็นนิเวศวิทยา อย่างผมเริ่มจากการที่ไม่รู้เลยแล้วไปสำรวจอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่ก่อนมันจะต้องใช้ Gps เช็คทุกระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล พอไปถึงจุดนั้นก็จะออกซ้าย ออกขวา ว่าเจออะไรบ้าง ทำให้เราทราบว่าจากสังคมป่าด้านล่างที่เป็นป่าเต็งรัง จนถึงป่าดิบเขาพบว่ามีต่างชนิดกัน มันกระจายได้ตามความสูงด้วย นี้ก็เป็นวิธีของผมครับที่เอาหลักนิเวศวิทยามาประกอบ

          พิธีกร : ในการค้นพบชนิดใหม่ไปจนถึงตีพิมพ์ระดับโลกก็ใช้เวลาพอสมควรอย่างชนิดนี้มีการค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2548 แต่มีการตีพิมพ์ปีในวารสาร phytokets ค.ศ.2020 หรือปี พ.ศ. 2563 ใช้ระยะเวลาพอสมควรนะครับ ซึ่งวารสารที่มีการตีพิมพ์พันธุ์ไม้2ชนิดนี้ ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร phytokeys ซึ่งถือว่าเป็นวารสารที่มี impact factor ค่อนข้างเยอะ และก็ถูก index อยู่ในฐาน Scopus ก็ถือว่าเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยด้วยครับ…

          อยากย้อนไปถึงช่วงที่คุณทวีศึกษาปริญญาโทอยู่และเข้ามาศึกษาอยู่ในสำนักหอสมุด หรือ ห้องสมุดคณะ ส่วนมากหนังสือหรือตำราแหล่งฐานข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเก็บลักษณะพันธุ์ไม้ครับ มีอะไรแนะนำบ้างครับในสมัยนั้นที่มีการหาข้อมูล…

นายทวี อินสุระ : ย้อนกลับไปประมาณ 15ปี ครับ ช่วงนั้นก็ยังไม่มีออนไลน์บุ๊คกิ้ง ยังไม่มีอะไรเลยครับผม เข้ามาที่หอสมุดแรกๆก็จะมี pc ให้เราค้นหาสิ่งที่เราต้องการว่าสิ่งที่เราต้องการอยู่ที่ชั้นไหน จุดไหน เราก็ตามไป ไปดู indexข้างหลังครับว่า ข้อความที่เราต้องการอยู่ที่ส่วนไหน หน้าไหน แล้วก็ซีล็อคเก็บมาอ่านมาศึกษา….จริงๆก็เริ่มจากตรงนี้แหละครับ(สำนักหอสมุด)ที่ได้มา40 เปเปอร์จากงานวิจัยชิ้นนี้ครับ แล้วก็ไปหาจากห้องสมุดอื่นมาผนวกรวมกัน…. ในการเริ่มวิจัยเรื่องนี้จริงๆก็เริ่มจากสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยของเรานี่แหละครับ…..

คำถาม :  มีแผนที่จะตั้งชื่อไทยของสองชนิดนี้ไหมครับ?

นายทวี อินสุระ : ยังเลยครับ คือจริงๆจะพยายามตั้งให้เหมาะสมกับพื้นที่ ณ จุดๆนั้นเพื่อให้คนเข้าใจง่ายครับ เพราะว่าด้วยความสวยงามของดอกต่างๆ และพึ่งค้นพบพึ่งตีพิมพ์เสร็จใหม่ๆ ส่วนชื่อภาษาไทยผมจะให้ทางคณะพิจารณาว่าจะยังไงครับ….ก็ยืนยันว่าดอกสวยมากๆครับ สวยจริงๆครับ….

คำถาม : พบ2ชนิดนี้ตามแหล่งอื่นๆบ้างไหมครับ ?

นายทวี อินสุระ : แรกๆผมก็พบในพื้นที่สองจังหวัดคือนครศรีธรรมราช กับ ตรัง และก็พบเฉพาะในพื้นที่อนุรักษ์ครับ ส่วนในพื้นที่ของชาวบ้านยังไม่พบครับ คาดว่าน่าจะอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์เท่านั้นเพราะรอบข้างพื้นที่อนุรักษ์ก็เป็นสวนยางไปไหมดแล้ว…

คำถาม : ผมอยากจะเอามาปลูกสามารถทำได้ไหมครับ ?

นายทวี อินสุระ : ผมยังมองว่าสามารถทำในเชิงไม้ประดับได้ครับ ทำไม้เลื้อย ทำซุ้มต่างๆ และดอกสวยจริงครับ ดอกมันแปลก ก็เหมาะสมอย่างยิ่งในการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อประดับเบื้องต้นครับ….

คำถาม : เรื่องกลิ่นที่สกัดเป็นน้ำหอม ?

นายทวี อินสุระ : ขึ้นอยู่กับผู้ศึกษาท่านต่อๆไปครับ เพราะพันธุ์ไม้สกุลนี้มีการนำมาทำน้ำหอมอยู่แล้วครับคือกระดังงาจีนมีการทำน้ำหอมมาขายใช้ชื่อว่ายังหยางออย เป็นชื่อภาษาจีน ซึ่งก็ใช้มานาน เท่าที่ผมเจอก็สกัดมาหลายร้อยปี มีการมาใช้ประโยชน์อะไรอย่างงี้ครับ ซึ่งคาดว่าทุกชนิดน่าจะมีกลุ่มของสารเคมีคล้ายๆกันหรือแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการศึกษาต่อไปครับ….

คำถาม :  อย่างที่คุณทวีแจ้งมาว่าในทางเชิงพาณิชย์มาทำเป็นไม้ดอกไม้ประดับได้ ทำเป็นซุ้ม หรือสกัดเป็นน้ำหอม ส่วนทางวิชาการนอกจากว่าระบุว่าเป็นชนิดใหม่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักวิชาการสายพันธุ์ไม้การเวก มันมีการใช้ประโยชน์ด้านวิชาการอย่างอื่นเพิ่มเติมไหมครับ ?

นายทวี อินสุระ : ผมคาดว่าพันธุ์ไม้ทุกชนิดมีประโยชน์หมดครับ อยู่ที่ว่าเราจะศึกษา เจาะจงมันมาใช้ประโยชน์ด้านไหน อย่างพื้นฐานง่ายๆก็นำมาเป็นไม้ดอกไม้ประดับครับ อย่างที่สองเชิงลึกกว่านั้นคือในกลุ่มของตัวยา ตอนนี้ก็ยังขาดการศึกษาครับ อย่างน้อยตอนนี้เราก็ทราบแล้วว่าเป็นชนิดไหน ส่วนการจะพัฒนาต่อยอดต่อๆไปก็คงต้องมีครับ ก็ดีใจครับอย่างน้อยก็พบเพิ่มเข้ามาในไทยได้2ชนิดครับ…

คำถาม : ในการค้นพบชนิดใหม่คือถือเป็นจุดเริ่มต้นให้กับนักวิจัยที่จะนำไปต่อยอดทำอย่างอื่นได้ ถ้าหากยังไม่มีการค้นพบ 2 ชนิดนี้ก็ไม่อาจที่จะไปศึกษาด้านอื่นๆต่อได้ ทางด้านการเกษตรเอง อุตสาหกรรมเกษตรต่างๆที่จะมาทำเป็นน้ำหอมหรือทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆออกมาได้

นายทวี อินสุระ : นี่ก็ถือว่าเป็น base เบื้องต้นครับ อย่างน้อยเราก็รู้ว่ามีชนิดนี้อยู่ ขึ้นที่ไหน และถ้าเราสามารถพัฒนาต่อยอดได้ก็เป็นเรื่องที่ดีครับ….

คำถาม : นี่ก็เป็นเรื่องดีนะครับ อย่างของคุณทวีเองที่บอกว่า ค้นพบในประเทศแล้วก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว ยิ่งถ้าเป็นของโลกแล้วก็ถือว่าเป็นความสำเร็จขึ้นไปอีก…ครับ

นายทวี อินสุระ :  ถือว่าเป็นความสุขของคนทำงานวิจัยครับ รวมถึงท่านอาจารย์และทางคณะด้วยครับ เพราะทุกท่านก็มีส่วนร่วมกันหมด ทั้งอาจารย์ต่างๆที่ให้กำลังใจครับ เพราะมันยากครับในการที่จะเดิน survey ทั่วประเทศ โดยที่เราไม่รู้ว่ามันมีหรือไม่มี ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี ก็ดีใจที่ได้ทำชื่อเสียงให้กับคณะและมหาวิทยาลัยได้ครับ…

คำถาม : ขอชื่นชมคุณทวี ซึ่งเป็นศิษย์เก่าที่สร้างผลงานชิ้นนี้ไว้ก่อนจะจบไปครับ….

ส่วนท้ายนี้เราก็ได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์ไม้การเวก2ชนิดนี้ที่เป็นชนิดใหม่ของโลกและก็ได้รับข้อมูลพอสมควร ก่อนที่จะปิดรายการอยากให้คุณทวีฝากอะไรสักอย่างให้รุ่นน้องที่กำลังศึกษาอยู่คณะวนศาสตร์ครับ คือบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจะทำปัญหาพิเศษเรื่องอะไร ก็อยากจะให้ฝากฝังในเรื่องของนิสิตปัจจุบันที่กำลังศึกษา และมัธยมปลายที่อยากจะเข้ามาศึกษาในคณะวนศาสตร์ครับว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร หรือมีความชอบเฉพาะทางอย่างไร เดี๋ยวเชิญฝากกับน้องๆได้เลยครับ

นายทวี อินสุระ : คณะวนศาสตร์ผมมองว่าน่าเรียนนะครับ ตอนคุณอยู่มอปลายอาจจะมองว่าเป็นคณะที่ชอบอนุรักษ์อยู่กับสัตว์ป่า อยู่กับพันธุ์ไม้ครับ อันนั้นก็ใช่ครับ แต่พอได้เข้ามาก็จะได้พบว่ามีวิชาทีให้เลือกเรียนมากกว่านั้นและก็สนุกครับ อาจารย์ในคณะก็เป็นอาจารย์ที่เก่งมากๆ เก่งทางด้านการจัดการป่าไม้ การจัดการลุ่มน้ำ อุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าต่างๆ วิศวกรรมป่าไม้ ส่วนสาขาที่ผมเรียนก็ศึกษาในเรื่องพืช DNA เห็ด เชื้อราต่างๆ สัตว์ป่า… ก็คือผมว่าครบเครื่องนะครับในคณะนี้ ซึ่งจบไปก็จะมีงานทำที่ไม่ได้เครียดอะไร ก็คือไม่ได้มาผจญกับรถติดอะไรต่างๆ คุณอาจจะได้ไปอยู่ในอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า รถไม่ติด ถ้าพูดถึงเทรนสุขภาพผมว่าสุขภาพคุณดีนะครับผมว่า และถ้าจะต่อยอดถึงขั้นปริญญาโท ปริญญาเอกต่าง ทางคณะก็มีหมดนะครับ ขอฝากถึงน้องๆที่จะทำเกี่ยวกับอนุกรมวิธานพืชนะครับผมก็อยากจะฝากว่าให้ทำในสิ่งที่รักนะครับ รักในสิ่งที่ทำครับ หาสิ่งที่เรารักเราชอบให้เจอในระหว่างเรียน เราก็จะเรียนอย่างมีความสุข ทำงานวิจัยอย่างมีความสุขครับ ….. ผมเชื่อว่าน้องๆที่มาทำในเรื่องพืชคงจะมีความสุขครับ เพราะเราเจอต้นไม้เจอหลายๆอย่าง เจอสิ่งที่เราชอบครับผม….

พิธีกร : สำหรับในวันนี้เองก็ขอขอบคุณ คุณทวี อินสุระ อีกครั้งนะครับ ที่มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ชนิดใหม่ 2ชนิดของโลก ซึ่งก็ได้ข้อมูลพอสมควรตั้งแต่เริ่มทำวิจัยจนถึงการต่อยอดงานวิจัย เป็นประโยชน์ทั้งในด้านของการศึกษาคุณสมบัติในด้านของสารเคมีมาทำยารักษาต่างๆ ทั้งในเชิงพาณิชย์ที่มาทำซุ้มดอกไม้ และมาทำดอกที่เป็นดอกประดับได้ และที่สำคัญเท่าที่รู้วันนี้คือชนิดแรกที่ค้นพบไปมีกลีบดอกที่ยาวที่สุดในโลกด้วยนะครับผม และชนิดต่างๆทั่วโลกที่มีอยู่ 100ชนิด และของไทยที่ค้นพบอยู่ตอนนี้คือมากกว่า 15 ชนิดด้วยกันนะครับ และในวันนี้เองก็ต้องขอขอบคุณท่านผู้ชมทุกท่านที่ชมรายการ kulib talkของเราในวันนี้นะครับ ถ้าหากอยากทราบว่าครั้งต่อไปในรายการ kulib talk จะเป็นเรื่องอะไรก็สามารถติดตามข่าวสารได้ทาง facebook ของสำนักหอสมุดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นะครับ และในวันนี้เองก็ขอขอบคุณทุกท่านนะครับ…. สวัสดีครับ….

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของผศ.ดร.วิชาญ เอียดทอง ในคลังความรู้ดิจิตอล มก.

รวมผลงานของคุณทวี อินสุระ ในคลังความรู้ดิจิตอล มก.
อนุกรมวิธานและลักษณะนิเวศบางประการของพรรณไม้สกุลการเวกในประเทศไทย

วนวัฒนวิทยาขั้นสูง / พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ

วนวัฒนวิทยาพื้นฐานการปลูกป่า / รวบรวมและเรียบเรียงโดย ลดาวัลย์ พวงจิตร


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri