อ่านแล้วเล่า จากนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร. กฤษณพงศ์ กีรติกร

หนังสือที่ชื่นชอบ 

      นิราศพระธาตุอินทร์แขวน เจ้าจันท์ผมหอม ซึ่งเป็นหนังสือของนักเขียนรางวัลซีไรต์ คุณมาลา คำจันทร์

ประมาณเกือบ 30 ปีแล้วครับ 

หลักการอ่านหนังสือวรรณกรรมเล่มนี้

       การอ่านหนังสือเล่มนี้ควรอ่าน หนังสือประวัติศาสตร์ล้านนา เขียนโดย อาจารย์สุรัสวดี อ่องสกุล เขียนมาสักสามสิบสี่สิบปีแล้ว อาจจะออกมาก่อนหนังสือเล่มนี้ หรือเกี่ยวกับวัฒนธรรมล้านนาเกี่ยวกับการไหว้พระธาตุประจำปีนักษัตร เส้นทางการค้าระหว่างไทยกับมะละแหม่ง เป็นต้น จะทำให้เข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมล้านนา

หนังสือสะท้อนความขมขื่นของเจ้าหญิงเมืองล้านนา

      ทั้งฝ่ายหญิง ฝ่ายชายก็เป็นเจ้าที่ได้รับผลกระทบจากการที่เปลี่ยนแปลงสถานภาพ

ทำไมสถานภาพของเจ้าเมืองล้านนาถึงเปลี่ยนไป  

        บริบทในประวัติศาสตร์ล้านนา จะเป็นกษัตริย์จากล้านนาหรือแคว้นไหนก็แล้วแต่ เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ ลำพูน น่าน ก่อนหน้านั้นเป็นประเทศราช ประเทศราชเนี่ยฝรั่งไม่เข้าใจ เบื้องต้นทราบว่าแต่เดิมก่อนที่จะมาเป็นประเทศราช  ประเทศราชต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาให้ประเทศที่เป็นใหญ่กว่า  อาจจะเป็นปีต่อปีก็แล้วแต่ การปกครองปล่อยให้ดูแลเป็นอิสระ พอถึงเวลาเปลี่ยนแผ่นดินก็ส่งดอกไม้เงิน ดอกไม้ทองมา หรือจะเปลี่ยนกษัตริย์ก็ให้กรุงเทพฯอนุญาต ถึงเวลาสงครามก็ต้องส่งทหารมา มาช่วยรบ ส่งข้าวมาช่วย นั่นก็เป็นความสัมพันธ์แบบหนึ่ง  ปลายรัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 เนี่ย เรามีภัยคุกคามจากอังกฤษและฝรั่งเศส อังกฤษก็เข้ามากับอินเดียแล้วก็พม่า อังกฤษก็ใช้วิธีกินทีละแคว้นทีละแคว้นกินไป 40 แคว้น พม่าก็เหมือนกันก็ข้ามแม่น้ำสาละวินมา เพื่อมาขอตัดไม้สัก แต่ก่อนนี้ก็ตกลงโดยตรงกับเจ้าเมืองเหนือ ทีนี้ต้องเข้าใจว่าเจ้าเมืองเหนือเนี่ยจะต่างกับเจ้าอยุธยาหรือเจ้ารัตนโกสินทร์ เจ้าเมืองเหนือ พ่อเป็นเจ้า ลูกก็เป็นเจ้า หลานก็เป็นเจ้า เพราะฉะนั้นความเป็นเจ้าเนี่ยไม่มีที่สิ้นสุด ขณะที่เจ้ารัตนโกสินทร์เนี่ยเริ่มได้เป็นพระมหากษัตริย์ชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 ก็คือลูก ชั้นที่ 3 คือหลานหยุดแค่หมดเจ้า เจ้าเนี่ยจะมี 3 ชั้นเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นเนี่ยเจ้าจะหมดไปเหลือแต่ทั่วไป ที่เหลือจะไม่ใช่เจ้าละ ในการเป็นเจ้าต้องใช้ราชาศัพท์ เพราะฉะนั้นเราก็ใช้ราชาศัพท์กับเจ้าแผ่นดิน เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า ก็เป็นเหมือนราชวงค์คนอื่นก็ไม่ใช่เจ้า ตอนนั้นก็เหมือนว่ามีเจ้าเมืองเหนือจะเยอะ และการที่ไม่ต้องขึ้นกับส่วนกลางเนี่ย เจ้าก็จะมีเหมือนกับพื้นที่ที่ตัวเองสามารถที่จะหาผลประโยชน์ได้ มีคนที่ตัวเองสามารถทำประโยชน์ได้ การค้าผูกขาด ปลูกข้าวได้ ข้าวก็ต้องส่งให้เจ้าไป เจ้าเมืองเหนือนี่ผูกขาดเรื่องการค้าขาย  ทีนี้พอมาถึงไม้สักก็ให้สัมปทานตัดไม้สักกลับบริษัทของอังกฤษ ก็แชร์บริษัท Bombay Burma British ก็แล้วแต่ ทีนี้มันก็มีเรื่องที่ว่าความที่มีเจ้าเยอะเนี่ย เจ้าก็ให้สัมปทานทับซ้อนกัน การให้สัมปทาน คือพวกบริษัทป่าไม้เนี่ย เขาตัดแล้วเขาจะให้ค่าเป็นตอไม้ ตัดไม้ไปกี่พันต้นกี่หมื่นต้นก็ให้ค่าต่อไม้กับเจ้า คราวนี้ก็ความที่เจ้าเยอะ เขามีระบบควบคุมว่าใครดูภูเขาผืนไหนมีกี่ร้อยกี่พันไร่เนี่ย มันก็เคลมเรื่องตอไม้ทับซ้อนกันเจ้าขัดแย้งด้วยกันเอง อันนี้อังกฤษก็กำลังจะถือโอกาสเข้ามาแทรกแซงภาคเหนือ 

          เพราะฉะนั้นรัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านเลยต้องดึงเอาแว่นแคว้นแดนเหนือมาเป็นส่วนหนึ่งปกครองรัตนโกสินทร์เท่านั้นเอง ดึงอำนาจเข้ามาสู่กรุงเทพ  แทนที่จะให้อาณาจักรหรือแว่นแคว้นแถวนี้ปกครองประเทศเป็นอิสระที่เป็นประเทศราช ก็ไม่ละ ก็ให้จัดระบบใหม่ มีจังหวัด มีมณฑลนะครับ ปกครองมาจากส่วนกลาง มีเหมือนกับรัฐมนตรี กระทรวง มีผู้ว่ามณฑล เจ้าประเทศราชนี่ก็แทนที่จะถวายเครื่องราชบรรณาการได้เอง ก็ต้องเป็นข้าราชการของประเทศ เพราะเขากินเงินเดือน   เจ้าเมืองเหนือก็จะจนลง เพราะว่าไม่มีนาเป็นของตัวเองแล้ว ไม่มีป่าไม้เป็นของตัวเอง มากินเงินเดือนเป็นข้าราชการ คือไม่สามารถจะมีพื้นที่ที่ไปหาผลประโยชน์ได้ แต่ก่อนนี้ก็เป็นไม้สักเป็นหลัก และการปลูกข้าว หรือไม่ก็เก็บของป่า ก็เป็นที่มาว่าทำไมเจ้าเมืองเหนือถึงได้ยากจนและปกครองไม่ได้ แล้วก็เป็นเรื่องที่เจ้าเมืองเหนือคับแค้นใจ ซึ่งก็นำมาสู่เรารู้กันในประวัติศาสตร์ในยุคกบฏที่เรียกว่า กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ เงี้ยวเมืองแพร่ก็คือไทใหญ่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเจ้าแพร่ 

             ต้องเข้าใจประวัติศาสตร์กันว่ามันมาถึงจุดนี้ได้ยังไง เรียกว่านำมาสู่ความไม่พอใจของเจ้าเมืองเหนือ แล้วทำไมเจ้าเมืองเหนือถึงจน ต้องกลายไปเป็นเสมียนกลายเป็นอะไรก็แล้วแต่ เป็นที่มาของนางเอก จนกระทั่งกับคนรักของนางเอกซึ่งเป็นเจ้า มันเป็นที่มา เราต้องเข้าใจประวัติศาสตร์อะไรพวกนี้

วัฒนธรรมการไหว้พระธาตุประจำปีนักษัตร

            ในเรื่องนี้เจ้าจันทร์มีความเชื่อเกี่ยวกับการไหว้พระธาตุอินทร์แขวน เพราะเจ้าจันท์เกิดปีจอ ความจริงเรื่องไหว้พระธาตุเป็นการแสดงว่าคนเหนือก็มีวัฒนธรรม คนที่เกิดปีจอในตำราโบราณเขาให้ไปไหว้พระเจดีย์จุฬามณี แต่ไปไม่ได้ก็เลยต้องไปพระธาตุอินทร์แขวน ถ้าไปอ่านประวัติศาสตร์การไหว้พระธาตุปีเกิดหรือ 12 นักษัตร มีมาตั้งแต่ชาวไทยล้านนา พระธาตุก็เป็นพระธาตุทางไทยล้านนา จากพระธาตุไทยล้านนาก็เป็นพระธาตุไทยล้านช้าง ซึ่งหากศึกษาต่อพม่าก็มี12 นักษัตร เหมือนกัน แต่ของเขาก็จะเป็นเจดีย์อยู่ในพม่าและก็เป็นวัฒนธรรมของคนกลุ่มไทยใหญ่ ดังนั้นคนพม่า คนไทยล้านช้าง คนไทยล้านนา เป็นเรื่องปฏิกิริยาที่ประทะกันทางวัฒนธรรม การปะทะทางวัฒนธรรมไม่ใช่เรื่องพระธาตุเท่านั้น ซึ่งเราก็ต้องศึกษาต่อ วัฒนธรรมมันก็ไม่ใช่เรื่องพระธาตุเท่านั้น คำที่เราได้ยินคำว่า”คนเมือง”ก็พึ่งเกิดช่วงนี้ เหมือนกัน “คนเมือง” หมายถึง คนเมืองเหนือ ไม่ใช่คนรัตนโกสินทร์ นี้ก็เป็นปฏิกิริยาเราก็เข้าใจบริบททางสังคมตรงนี้ด้วย

ชนชั้นในสังคมไทย

     เมื่อเจ้าจันท์ต้องแต่งงานกับปะหล่องต่องสู่ เป็นเรื่องที่น่าสงสาร ปะหล่องต่องสู่ไม่ใช่เป็นตัวละครหลัก ตัวหลักจะเป็นเจ้าจันท์ซึ่งจะต้องหาสมดุลระหว่างเรื่องส่วนตัวคือความรัก กับบทบาทหน้าที่ที่มีที่ต้องรักษาสถานภาพของเจ้าไว้ให้ได้ โดยอาศัยความมั่งคั่งของปะหล่องต่องสู่  ให้ได้ก็เพราะว่าต้องไปตกลงแต่งงานกับปะหล่องต่องสู่ ซึ่งในสายตาของเจ้าทางเหนือก็คือเป็นเหมือนกับคนที่ไม่พัฒนา ในสังคมไทยพูดว่าไม่มีชนชั้นแต่มันก็มีชนชั้น เราก็จะมองว่าพวกที่อยู่ในแผ่นดินไทยมาแต่เดิมถูกเรียกว่าคนป่าหมด จะเป็นกระหรี่ยง จะเป็นลั่ว  ในเรื่องนี้น่าจะเป็นกระเหรี่ยงคอยาว แต่กระเหรี่ยงก็มีหลายเผ่าเป็น10ๆ เช่น ยางดำ ยางแดง ยางขาว 

ความพยายามครั้งสุดท้าย

            เจ้าจันท์อธิษฐานถ้าปูผมลอดพระธาตุได้ จะไม่ต้องแต่งงานกับปะหล่องต่องสู่ ซึ่งเป็นไปไม่ได้  เป็นความศรัทธามากกว่าทั้งที่รู้ว่าเป็นไปไม่ได้ พอปะหล่องต่องสู่ บอกว่าถ้าปูผมลอดพระธาตุได้จะยอมให้แต่งงานกับคู่รัก เจ้าจันท์จึงมีความหวัง หวังในปฏิหาริย์มากกว่า ในภาษาอังกฤษ คือ The Last Ditch Attempt ความพยายามครั้งสุดท้าย 

ปาฏิหาริย์ในชีวิตเกิดขึ้นจริงหรือไม่

    เชื่อว่ามี มีแต่คงไม่บ่อย ก็อาจจะมีเป็นไปได้ เรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวผมเอง ขณะที่ผมนั่งคุยกับเพื่อนอยู่คนนึงถึงเหตุการณ์หนึ่งเมื่อ 30 - 40 ปี พูดถึงบุคคลที่ 3 พอสักพัก บุคคลที่ 3 คนนั้นก็เดินเข้ามา อธิบายไม่ได้เลยถ้ามันไม่ใช่ปฏิหาริย์ แต่ก็ไม่อยากจะใช้คำว่าปฏิหาริย์ หลายๆอย่างที่อธิบายไม่ได้ทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์อธิบายทุกอย่างไม่ได้

เจ้าจันท์เคยป่วยมากและพ่อแม่ก็ไหว้อธิษฐานพระธาตุอินทร์แขวน เหมือนมีปาฏิหาริย์เจ้าจันท์หายจากป่วยไข้ ซึ่งเป็นความเชื่อปาฏิหาริย์ ในสมัยก่อนคนไทยไม่ว่าจะไทยล้านนา ไทยล้านช้าง หรือภาคกลาง ภาคใต้ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องพึ่งปฏิหาริย์ ตัวผมตอนอนุบาลตอนประถม ถ้าป่วยคุณยายของผมก็บ่นบานกับศาลพระภูมิ   

 

 

การอ่านกับคนทำงานห้องสมุด           

        อยู่ห้องสมุดต้องอ่านหนังสือ ต้องมีหนังสือที่ชอบ เป็นการ์ตูนก็ได้  หนังสือในปัจจุบันสวยงาม การพิมพ์ดี ทุกคนต้องมีหนังสือที่ชื่นชอบ หนังสือในดวงใจ 

การอ่านหนังสือทำให้เกิดสุนทรีย 

       เพราะว่าสุนทรียมันต้องใช้เวลา  “Instance สุนทรีย”มันไม่มีหรอก  สุนทรียมันต้องซึม บางที่มาเข้าใจทีหลัง คนสมัยใหม่อ่าน 15 วินาทีเข้าใจ แต่มันไม่ซึม เพราะว่าสุนทรียต้องใช้เวลา เหมือนการฟังดนตรี หรือไปดูรูปวาดสวย ๆ  มันต้องเวลา ประเภทที่เต้นแล้วชอบทันทีก็มี แต่เต้นแล้วซึ้งทันที่มันไม่ใช่ การไปดู MODERN DANCE หรือ บัลเล่ต์ ก็ต้องใชเวลาซึม

      การอ่านหนังสือทุกเล่มเนี่ย ต้องเข้าใจเรื่องราวหลังตัวหนังสือ ไม่งั้นเราไม่เข้าใจ ฝรั่งเขาเรียกว่า อ่านระหว่างบรรทัด ไม่ใช่เข้าใจแต่ตัวอักษร ต้องเข้าใจว่ามันมีนัยยอะไร เข้าใจเบื้องลึกเบื้องหลัง

                                                                                            เรียบเรียงโดย วนิดา ศรีทองคำ


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri