Blockchain บริการแห่งอนาคต

ขวัญชนก พุทธจันทร์*

บรรณารักษ์ชำนาญการ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

 

         เทคโนโลยีดิจิตอลมีบทบาทสำคัญมากในการดำเนินชีวิตประจำวัน นวัตกรรมล้ำยุคนำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงงานด้านบริการให้สามารถเชื่อมโยงได้จากทั่วโลก ลดต้นทุน อำนวยความสะดวก รวดเร็ว ง่ายดาย โดยไม่ต้องผ่านคนกลางแต่ใช้เทคโนโลยีทดแทน  ในยุคแห่งการทำธุรกรรมการเงิน การใช้ Mobile Banking กลายเป็นส่วนหนึ่งใน เทคโนโลยี  Blockchain จึงเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนโลกธุรกิจ พลิกโฉมธุรกรรมการเงิน เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคต

          Block chain  คือ เทคโนโลยีแห่งอนาคต ที่วงการ FinTech กำลังจับตามอง เพื่อเตรียมความให้ก้าวทันนวัตกรรมของโลก และรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ทางด้านการเงิน และผลักดันให้ประเทศพร้อมเดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่เก็บสถิติการทำธุรกรรมทางการเงินและสินทรัพย์ชนิดอื่นๆ โดยไม่มีตัวกลาง ทำให้ต้นทุนการทำธุรกรรมลดราคาลงและอาจจะส่งผลให้สถาบันการเงินที่เป็นตัวกลาง รวมไปถึงสำนักชำระบัญชีต่างๆ อาจไม่จำเป็นต้องมีอีกต่อไปในอนาคต หากเทคโนโลยีนี้เข้ามาแทนที่ได้อย่างสมบูรณ์  โดยเทคโนโลยี Blockchain  เป็นแนวทางเพิ่มเสถียรภาพให้ระบบและลดต้นทุนในการขยายระบบได้อย่างมหาศาล ปัจจุบันงานด้านการให้บริการได้นำ Block chain ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน เช่น

  1. งานด้านธุรกรรมหรือสัญญา เช่น การเงินโดยสามารถใช้งานแทนเอกสารในรูปแบบเดิมๆ ปลอดภัย และลดค่าใช้จ่าย และในอุตสาหกรรมประกันภัย Blockchain จะเข้ามาช่วยเพิ่มความโปร่งใสและป้องกันปัญหาการทุจริตในวงการประกันภัย

  2. งานในธุรกิจที่ต้องการความโปร่งใส เช่น การบริจาคเงินให้กับองค์กรหรือบุคคลต่างๆ ทำให้ทราบข้อมูลการบริจาคเงินตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง และลดค่าใช้จ่าย

  3. งานติดตามสินค้าต่างๆ เช่น การติดตามเส้นทางขนส่งของอาหารสด ตั้งแต่วัตถุดิบออกจากฟาร์มไปสู่ลูกค้า กำหนดวันหมดอายุ การสืบสวนปัญหาต่างๆ

  4. งานที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น บริษัทรถยนต์ ได้นำ Blockchain มาพัฒนาการเก็บข้อมูลที่ได้จากผู้ผลิตรถยนต์และผู้ใช้งานรถยนต์กว่าพันล้านข้อมูลมาวิเคราะห์และปรับปรุงความปลอดภัยของเทคโนโลยีไร้คนขับให้มีประสิทธิภาพ

  5. งานสำรองข้อมูลย้อนหลัง ให้มั่นใจว่าจะไม่ถูกทำลายหรือไม่ถูกเปลี่ยนแปลง สามารถใช้ Blockchain ในการบันทึกข้อมูลที่ต้องการสำรองเอาไว้ได้ หรือ บริการการจัดเก็บเอกสารสำหรับใช้ทำสัญญาโดยเฉพาะ

  6. งานที่มีลิขสิทธิ์ เช่น Muse Blockchain ได้สร้างแพลตฟอร์ม Streaming ชื่อว่า Peer Tracks ที่ผู้ฟังสามารถจ่ายเงินโดยตรงไปยังศิลปินได้ นอกจากจะช่วยเรื่องลิขสิทธิ์แล้ว ยังช่วยตัดคนกลางออกไป ทำให้ศิลปินได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น

  7. งานด้านการแพทย์ ใช้ Blockchain เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข้ามหน่วยงานและแพลตฟอร์มที่ต่างกันได้ เพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการนำข้อมูลมาวินิจฉัยและรักษาโรค แทนการเช็คแฟ้มประวัติคนไข้หรือโทรศัพท์ไปขอข้อมูลผู้ป่วย

 

Blockchain ประกอบด้วย 4 ส่วนหลักสำคัญ คือ

  1. กล่องเก็บข้อมูล หรือ Block ทำหน้าที่กระจายไปให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเก็บเอาไว้ โดยข้อมูลเหล่านั้นไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้ และทุกๆ ครั้งที่มีการทำธุรกรรมใหม่เกิดขึ้นจะมีการสร้างกล่องใหม่ขึ้นมา

  2. กล่องเชื่อมต่อ หรือที่เรียกว่า Chain โดยการผูกด้วยวิธี Hash Function ซึ่งเปรียบเสมือนลายนิ้วมือของไฟล์ที่ใช้ในการ Verify หรือยืนยันความถูกต้องจากข้อมูลที่แต่ละคนถือเอาไว้ ถือเป็นตัวแทนของข้อมูลต้นฉบับ ซึ่งค่าที่ได้จากการ Hash นี้มีโอกาสที่ซ้ำกันยากมาก จึงเป็นคุณสมบัติที่เชื่อมั่นได้ในการนำมาใช้ยืนยัน (Verify) ข้อมูลที่แต่ละบุคคลถือไว้

  3. การตกลงร่วมกัน หรือ Consensus เพื่อกำหนดข้อตกลงที่ต้องเห็นพ้องร่วมกันด้วยอัลกอริทึมต่างๆ แล้วแต่การตกลง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในเรื่องกฎและเครื่องมือที่ใช้ในเครือข่ายของผู้ใช้บริการ

  4. ขั้นตอนการตรวจสอบ หรือ Validation เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นร่วมกัน ซึ่งกระบวนการตรวจสอบต้องเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเมื่อมีการทำธุรกรรมใดๆเกิดขึ้นจะสร้างกล่องใหม่ขึ้น จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการเชื่อมโยงกล่องนั้นเข้ากับห่วงโซ่เดิมที่ผูกรวมกัน โดยมีการยืนยันตัวเองของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมนั้น ซึ่งข้อมูลธุรกรรมที่สร้างใหม่จะต้องได้รับการเห็นชอบจากผู้ใช้คนอื่นๆในห่วงโซ่ผ่านข้อตกลงที่มีร่วมกันก่อนหน้านี้ และระบบจะทำการตรวจสอบ กระนั้นจึงทำให้เทคโนโลยี Blockchain ได้รับความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยและความถูกต้องสูง

 

Info Blockchain2

 

 

สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากบทความออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain ได้ดังนี้

 

  1. Integrated Technologies of Blockchain and Biometrics Based on Wireless Sensor Network for Library Management.
    Meng-Hsuan Fu. (2020). Integrated Technologies of Blockchain and Biometrics Based on Wireless       
              Sensor
    Network for Library Management. Information Technology & Libraries, 39(3), 1–13.
              https://doi.org/10.6017/ital.v39i3.11883


  1. Blockchain Technology and Business Transaction: From Security and Privacy Perspectives.

        Chih-Ming Chen, Di-Yu Lei, Jui-Hsi Cheng, & Kai-Ping Huang. (2020). Blockchain Technology and
                 Business  
Transaction: From Security and Privacy Perspectives. International Journal of
                 Organizational
Innovation, 13(2), 145–155.https://www.infosys.com/Oracle/white-
                 papers/Documents/integrating-
blockchain-erp.pdf

  1. Using Blockchain Technology in Smart University.

        STOICA, M., MIRCEA, M., & GHILIC-MICU, B. (2020). Using Blockchain Technology in Smart University.
                   ELearning & Software for Education, 3, 134–141. https://doi.org/10.12753/2066-026X-20-187

 

  1. Blockchain technology and its relationships to sustainable supply chain management.

        Saberi, S., Kouhizadeh, M., Sarkis, J., & Shen, L. (2019). Blockchain technology and its relationships to
                  sustainable supply chain management. International Journal of Production Research, 57(7),
                  2117–2135. https://doi.org/10.1080/00207543.2018.1533261

 

  1. Blockchain Technology for Cloud Storage: A Systematic Literature Review.

       SHARMA, P., JINDAL, R., & BORAH, M. D. (2020). Blockchain Technology for Cloud Storage: A
                Systematic
 Literature Review. ACM Computing Surveys, 53(4), 89–89:32.
                https://doi.org/10.1145/3403954

 

  1. Blockchain technology - support for collaborative systems.

         MATEI, G. (2020). Blockchain technology - support for collaborative systems. Informatica Economica,
                  24(2), 15–26. https://doi.org/10.24818/issn14531305/24.2.2020.02

 

 

  1. Applied Learning of Emerging Technology: Using Business-Relevant Examples of Blockchain.

        Milovich Jr., M., Nicholson, J. A., & Nicholson, D. B. (2020). Applied Learning of Emerging Technology:
                   Using Business-Relevant Examples of Blockchain. Journal of Information Systems Education,
                   31(3), 187–195.

 

  1. Blockchain Technologies and Microservices for Open Learning Communities.

        STEFAN, L. (2020). Blockchain Technologies and Microservices for Open Learning Communities. A
                   Software Architecture Perspective. ELearning & Software for Education, 3, 126–133.
                   https://doi.org/10.12753/2066-026X-20-186

 

  1. Research on a Shared Bicycle Deposit Management System Based on Blockchain Technology.

         Zhao, D., Wang, D., & Wang, B. (2020). Research on a Shared Bicycle Deposit Management System
                  Based
on Blockchain Technology. Journal of Advanced Transportation, 1–14.
                  https://doi.org/10.1155/2020/8854082

 

  1. Recent Development Trend of Blockchain Technologies: A Patent Analysis.

        Yann-Jy Yang, & Jiann-Chyau Hwang. (2020). Recent Development Trend of Blockchain Technologies:
                  A Patent Analysis. International Journal of Electronic Commerce Studies, 11(1), 1–12.
                  https://doi.org/10.7903/ijecs.1931

 

 

บรรณานุกรม

Jeerichuda Juntrabut. (2563).เทคโนโลยี Blockchain คืออะไร และมันจะมาเปลี่ยนโลกได้อย่างไร? Retrieved
          from
https://siamblockchain.com/2017/06/04/blockchain-คืออะไร/

TechTalkThai. (2563). รู้จัก Blockchain เบื้องต้นฉบับคนทั่วไปเข้าใจง่าย อ่านได้ใน 5 นาที. Retrieved from
          https://www.techtalkthai.com/introduction-to-blockchain-for-everyone-in-5-minutes/

ริเวอร์พลัส. (2563). 4 ตัวอย่างในการนำเทคโนโลยี Blockchain ไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม. Retrieved from
          https://riverplus.com/blockchain-to-industry/

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2563). การบูรณาการ Blockchain กับการประยุกต์ใช้ในระดับองค์กร. 
          Retrieved
from https://www.depa.or.th/th/article-view/blockchain-work

 


1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri