นวัตกรรมกับการพัฒนาระบบสารสนเทศ

ขวัญชนก พุทธจันทร์*

บรรณารักษ์ชำนาญการ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

          นวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่างๆ รวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับ การทำงานหรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ส่วนสารสนเทศนั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ จากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นไปอย่างรวดเร็วนี้ มีผลต่อการดำเนินชีวิต รวมไปถึงภาคการศึกษา โดยเฉพาะด้านการเรียนการสอน ที่สามารถเชื่อมต่อกับคนทั้งโลก สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลได้เพียงปลายนิ้วสัมผัสบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกลายเป็นขุมความรู้อันมหาศาล หลายสถาบันการศึกษาได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์ความรู้ให้ทันยุคสมัยและยั่งยืน ยกตัวอย่างเช่น การปรับรูปแบบการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning การเรียนการสอนแบบออนไลน์ เป็นต้น

          ปัจจุบันองค์กรหรือหน่วยงานที่มีพันธกิจเกี่ยวกับการให้บริการได้สนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้อมูลสารสนเทศ การจัดเก็บสารสนเทศ การให้บริการสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศ ให้เป็นระบบที่มีมาตรฐานรวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงานและการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหาร การวางแผน การจัดการเรียนการสอน และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพในทุกระดับ

        เมื่อศึกษาเกี่ยวกับความหมายของนวัตกรรม ทำให้ทราบว่าเป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการนวัตกรรมเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ 

information

ที่มา : https://www.takecareplus.com/การพัฒนาระบบ/



          ระบบสารสนเทศเป็นที่นิยมใช้ในองค์กรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก จึงจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาระบบ หรือคิดค้นนวัตกรรมใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและนำไปสู่การพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมใหม่ในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อให้สอดรับกับการพัฒนาในองค์กรในยุคปัจจุบันคือ TNS ( Three Nodes Synchronize) หมายความถึง การเชื่อมโยง 3 จุดหลักของระบบสารสนเทศให้ทำงานเชื่อมประสานพร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพมีองค์ประกอบหลักที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่


           1.ข้อมูล (Data)
หมายถึง ค่าของความจริงที่ปรากฏขึ้น หรือ สิ่งที่จะใช้ในการติดต่อโดยค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการปรับแต่งหรือประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
           2. เครือข่าย (Network) ระบบเครือข่าย หรือระบบเน็ตเวิร์ก คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้ ระบบเครือข่ายสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกันคือ
               2.1 LAN (Local Area Network) ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือจะเป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆ
               2.2 MAN (Metropolitan Area Network) ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก

               2.3.WAN (Wide Area Network) ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย (Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up / คู่สายเช่า Leased line / ISDN) (integrated Service Digital Network สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน)

 
           3. การจัดการ (Management) คือ การบริหารอย่างเป็นระบบ เป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการจัดการขององค์กรนั้น ซึ่งต้องมีการวางแผน กำหนดการ และจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้นๆ ระบบสารสนเทศเป็นที่นิยมใช้ในองค์กรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก จำแนกตามประเภทการใช้งาน ได้ ดังนี้

               3.1 ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System: TPS) ระบบประมวลผลรายการเป็นพื้นฐานของระบบธุรกิจ ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในระดับปฏิบัติการระบบจะใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกรายการประจำวันในการทำธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ระบบการสั่งซื้อ ระบบการจองห้อง ระบบเงินเดือนและค่าจ้าง เนื่องจากการบริหารในระดับปฏิบัติการ งานกฎเกณฑ์และเงื่อนไขได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแน่นอนแล้ว ดังนั้น การตัดสินใจจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้วเท่านั้น     

               3.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System: MIS) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า ระบบ MIS คือ ระบบที่ผลิตสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการเพื่อใช้ในการบริหารงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบจะผลิตรายงานเพื่อผู้บริหาร บางกรณีผู้บริหารอาจจะเรียกใช้ด้วยระบบออนไลน์ โดยทั่วไปแล้วระบบ MIS จะเป็นข้อมูลภายในองค์กร ไม่เกี่ยวกับข้อมูลภายนอกหรือข้อมูลสภาพแวดล้อม ในเบื้องต้น MIS จะผลิตสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร โดยเฉพาะในด้านการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจ

               3.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนมากเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปได้อย่างสะดวก ระบบจะสามารถสรุปหรือเปรียบเทียบข้อมูลจากทุกแหล่งไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายในหรือข้อมูลภายนอกองค์กร แหล่งข้อมูลภายใน ได้แก่ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลในองค์กรที่มีอยู่แล้ว ส่วนมากเป็นระบบที่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ และจะมีความสามารถในการวิเคราะห์ค่าทางสถิติ มีตารางการทำงาน มีกราฟแบบ ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ใช้ข้อมูลประเมินในการตัดสินใจได้

               3.4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System: ESS) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงติดตามผลการปฏิบัติงานขององค์การ ติดตามกิจกรรมของคู่แข่ง ชี้ให้เห็นปัญหา มองหาโอกาส และคาดคะเนแนวโน้มต่าง ๆ ในอนาคต ในการนำ ESS มาใช้นั้น จะต้องออกแบบให้ระบบใช้ทั้งข้อมูลภายในและข้อมูลภายนอกองค์กร นอกจากนี้ ยังต้องรวมเอาเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการจำลอง การวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น LOTUS1-2-3, EXCEL หรือโปรแกรมตารางการทำงานอื่น ๆ

               3.5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนคล้ายคลึงกับระบบอื่น ๆ คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่นอยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับ การจัดการความรู้ (Knowledge management) มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) ระบบผู้เชี่ยวชาญจะทำการโต้ตอบกับมนุษย์โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่าง ให้ข้อแนะนำ และช่วยเหลือในกระบวนการตัดสินใจ นั่นคือ การทำงานคล้ายกับเป็นมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหานั้น ๆ เนื่องจากระบบนี้ก็คือการจำลองความรู้ของผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ มานั่นเอง สิ่งที่เกิดตามมา ก็คือประโยชน์ในด้านการบริหารจัดการสารสนเทศและการใช้คอมพิวเตอร์ เช่น

    • การใช้ทรัพยากรร่วมกัน หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน กล่าวคือ มีเครื่องพิมพ์เพียงเครื่องเดียว ทุกคนในเครือข่ายสามารถใช้เครื่องพิมพ์นี้ได้ ทำให้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์หลายเครื่อง (นอกจากจะเป็นเครื่องพิมพ์คนละประเภท)
    • การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องอุปกรณ์เก็บข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้นในการโอนย้ายข้อมูลตัดปัญหาเรื่องความจุของสื่อบันทึกไปได้เลย
    • การติดต่อสื่อสาร โดยคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเป็นระบบเน็ตเวิร์ก สามารถติดต่อพูดคุยกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น โดยอาศัยโปรแกรมสื่อสารที่มีความสามารถใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกัน หรือการใช้อีเมล์ภายในก่อให้เครือข่าย Home Network หรือ Home Office จะเกิดประโยชน์นี้อีกมากมาย
    • การใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อในระบบ เน็ตเวิร์ก สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทุกเครื่อง โดยมีโมเด็มตัวเดียว ไม่ว่าจะเป็นแบบอนาล็อกหรือแบบดิจิตอลอย่าง ADSL ยอดฮิตในปัจจุบัน

input process output

ที่มา : https://www.dreamstime.com/



 โครงสร้างหลักของสารสนเทศประกอบด้วย ข้อมูลนำเข้า การประมวลผล สารสนเทศ โดยมีข้อมูลย้อนกลับเป็นตัวควบคุม

    1. ข้อมูลนำเข้า (Input) คือ ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อนำเข้าสู่ระบบเพื่อจะทำให้เกิดการประมวลผลขึ้น ข้อมูลที่จำเป็นจะมาจากสภาพ
      แวดล้อมของระบบ ส่วนจะเป็นอะไรนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละระบบ เช่น ถ้าเป็นระบบบริหารในสถาบันการศึกษา ข้อมูลนำเข้าอาจประกอบด้วย อาจารย์ นักเรียน อาคารเรียน รายวิชาต่าง ๆ

    2. การประมวลผล (Processing) คือ การเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย ซึ่งอาจจะได้แก่ การคำนวณ การสรุป หรือการจัดหมวดหมู่ของข้อมูล การประมวลผลประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้

                    2.1 บุคลากร หมายถึง บุคคลที่ทำงานในองค์กรในฝ่ายสารสนเทศ

                    2.2 กระบวนการ หมายถึง ขั้นตอนการทำงานซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อให้การทำงานได้ผลตามที่ต้องการ

                    2.3 ฮาร์ดแวร์ หมายถึง เครื่องมือทั้งหมดที่ใช้ในระบบสารสนเทศ

                    2.4 ซอฟต์แวร์ หมายถึง ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้ในระบบทั้งหมด

                    2.5 แฟ้มข้อมูล หมายถึง ข้อมูลที่เก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการประมวล ผลคราวต่อไป ข้อมูลเหล่านั้นจะเก็บในหน่วย
                    ความจำสำรองของคอมพิวเตอร์

 

          3. ผลลัพธ์ (Output) คือ สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลซึ่งจะปรากฏอยู่ในรูปรายงานต่าง ๆ คุณลักษณะของสารสนเทศที่มี
                    คุณภาพ ได้แก่

                    3.1 ตรงตามความต้องการ (Relevancy) หมายถึง ลักษณะที่สารสนเทศนั้นสามารถที่จะตอบคำถามในลักษณะที่เจาะจงได้
                    เช่น ในการขายเสื้อผ้าผู้ชาย ถ้าถามว่าเสื้อผ้าแบบไหน สีไหนขายได้ดีที่สุด

                    3.2 ความตรงต่อเวลา (Timeline) หมายถึง สารสนเทศที่ผลิตออกมานั้นจะผลิตออกมาทันกับความต้องการของผู้ใช้

                    3.3 ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง สารสนเทศจะต้องไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดและมีข้อผิดพลาด ลักษณะที่บ่งบอก
                    ถึงความเที่ยงตรงได้แก่

      • ความสมบูรณ์ (Completeness) สารสนเทศที่จำเป็นจะต้องมีอย่าง ครบถ้วน
      • ความถูกต้อง (Correctness) สารสนเทศจะต้องมีความถูกต้อง
      • ความปลอดภัย (Security) สารสนเทศจะต้องมีความปลอดภัย นั่นคือ ถ้าส่วนไหนจะให้ใครใช้ก็ใช้ได้เฉพาะคนนั้นเท่านั้น

                    3.4 ประหยัด (Economy) หมายถึง การใช้ทรัพยากรที่จะผลิตสารสนเทศนี้ใช้ในการแก้ปัญหาจะต้องไม่แพงมาก

                    3.5 มีประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง ศักยภาพในการพัฒนาสารสนเทศต่อหนึ่งหน่วยของทรัพยากรที่ใช้ เช่น ความตรง
                    ต่อเวลาต่อหนึ่งบาท เป็นต้น


         4.ส่วนย้อนกลับ (Feed back) เป็นส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของการประมวลผลเพื่อให้การประมวลผลนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลจากการเปรียบเทียบจะนำ ไปสู่การปรับข้อมูลนำเข้าหรือกระบวนการประมวลผล แนวคิดในการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาองค์กร

                    การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กรสามารถทำได้อย่างหลากหลาย จะเห็นได้ว่าลักษณะบางอย่างของเทคโนโลยี เช่น ความรวดเร็ว การจัดเก็บอย่างเป็นระบบ การทำงานที่ไม่ผิดพลาด และการทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย ตลอดจนลักษณะอื่นๆ อีกมากมายนั้น ล้วนแต่สามารถนำมาใช้ในงานต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะต้องคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ด้วย เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด



ทั้งนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากบทความออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมกับการพัฒนาระบบสารสนเทศ ดังนี้

1. A Temporally Situated Self-Agency Theory of Information Technology Reinvention.
Nevo, S., Nevo, D., & Pinsonneault, A. (2016). A Temporally Situated Self-Agency Theory of Information Technology
          Reinvention. MIS Quarterly, 40(1), 157-A8.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bth&AN=112750561&site=eds-live

2.An Innovative Information Technology Educational Framework That Embraces Diversity and Inclusion.
Richter, S. B., Rappaport, J. M., Kennedy, D. T., & Blum, T. (2019). An Innovative Information Technology Educational
          Framework That Embraces Diversity and Inclusion. Proceedings for the Northeast Region Decision Sciences
          Institute
 (NEDSI), 993–1017.

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bth&AN=138192784&site=eds-live

3. Information Technologies Pre-Service Teachers’ Acceptance of Tablet PCs as an Innovative Learning Tool.
Cuhadar, C. (2014). Information Technologies Pre-Service Teachers’ Acceptance of Tablet PCs as an Innovative
          Learning
 Tool. Educational Sciences: Theory and Practice, 14(2), 741–753.

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=eric&AN=EJ1038791&site=eds-live

 

4.Information Technology Use as a Learning Mechanism: The Impact of It Use on Knowledge Transfer Effectiveness, Absorptive Capacity, and Franchisee Performance.
Iyengar, K., Sweeney, J. R., & Montealegre, R. (2015). Information Technology Use as a Learning Mechanism: The
          Impact of
  It Use on Knowledge Transfer Effectiveness, Absorptive Capacity, and Franchisee Performance.
          MIS Quarterly, 39(3),
  615-A5.

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bth&AN=108873991&site=eds-live

 

5.Innovating Mindfully with Information Technology.
Swanson, E. B., & Ramiller, N. C. (2004). Innovating Mindfully with Information Technology. MIS Quarterly, 28(4),
          553–583.
 https://doi.org/10.2307/25148655

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bth&AN=15493946&site=eds-live

 

6.Teaching Technology and Tolerance in Tandem: Culturally Responsive Classroom Guidance Interventions.
Purgason, L. L., Boyles, J., & Greene, C. (2019). Teaching Technology and Tolerance in Tandem: Culturally Responsive
          Classroom Guidance Interventions. Journal of School Counseling, 17(23).

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=eric&AN=EJ1224480&site=eds-live

7.Technology Leadership of Education Administrators and Innovative Technologies in Education: A Case Study of Çorum City.
Kör, H., Erbay, H., & Engin, M. (2016). Technology Leadership of Education Administrators and Innovative
          Technologies in
Education: A Case Study of Çorum City. Universal Journal of Educational Research, 4, 140–150.

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=eric&AN=EJ1126052&site=eds-live

 

8.The Internet Information and Technology Research Directions based on the Fourth Industrial Revolution.
Mihyun Chung, & Jaehyoun Kim. (2016). The Internet Information and Technology Research Directions based on the
          Fourth
  Industrial Revolution. KSII Transactions on Internet & Information Systems, 10(3), 1311–1320.          
          https://doi.org/10.3837/tiis.2016.03.020

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=iih&AN=114323204&site=eds-live

 

9. The Value of Being Innovative in Information Technology
Malaquias, R. F., & Albertin, A. L. (2018). The Value of Being Innovative in Information Technology. Journal of Technology
          Management & Innovation, 13(1), 3–10.

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bth&AN=129564116&site=eds-live

 

10.The “Just in Time” Learner and the Coming Revolution in Higher Education.
Levine, A. (2018). The “Just in Time” Learner and the Coming Revolution in Higher Education. Change, 50(3/4), 27–29.           https://doi.org/10.1080/00091383.2018.1507376

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=eue&AN=132432870&site=eds-live

 

เอกสารอ้างอิง

HRIT กับการพัฒนาองค์กรในยุค ดิจิตอลเทคโนโลยี. (2561). Retrieved from
         https://www.prosofthcm.com/Article/Detail/16753

ปัทมาภรณ์ ม่วงทิม. (2553). นวัตกรรมกับการพัฒนาระบบสารสนเทศ. Retrieved from
         http://patama- patamamoungtim.blogspot.com/2010/04/blog-post_08.html

ศักดิ์ธวัช มุ่งงาม. (2552). นวัตกรรมกับการพัฒนาระบบสารสนเทศ. Retrieved from
         https://www.gotoknow.org/posts/350655

 

 


1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri