ซีวีเอส CVS

ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล*

บรรณารักษ์ชำนาญการ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ซีวีเอส CVS หรือ Computer Vision Syndrome เป็นโรคตาที่เกิดจากการมองจอภาพบนคอมพิวเตอร์โดยใช้สายตาเพ่งจ้องเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมง หรือเกิดจากการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดดมากเกินไป การใช้งานสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์นานกว่า 3 ชั่วโมงต่อวันจะพบอาการของโรคแบบสะสมเรื้อรัง เช่น อาการอักเสบกล้ามเนื้อ การกดทับเส้นประสาท กล้ามเนื้อรอบดวงตาและประสาทตาเกิดอาการอ่อนล้า ตาแห้ง มีถุงใต้ตาและตาแพ้แสงได้ ถ้ามีอาการปวดตารุนแรง ปวดศีรษะและคลื่นไส้อาเจียนให้รีบพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการวินิจฉัยโรค การรักษาโรค CVS นั้นสามารถใช้น้ำตาเทียมหรือน้ำยาหยอดตาเพื่อช่วยหล่อลื่นให้ดวงตาชุ่มชื้นขึ้น หรือใช้เครื่องสำอางบำรุงผิวรอบดวงตาเพื่อชะลอความเสื่อมและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนทำให้เซลล์ผิวแข็งแรงกระชับขึ้น ขับถ่ายของเสียออกจากเซลล์ผิว ช่วยลดการสะสมตัวของน้ำและไขมันที่อาจเกิดขึ้นรอบดวงตา ลดการเกิดถุงใต้ตา รอยบวม รอยคล้ำได้ อีกวิธีหนึ่งคือการรักษาด้วยการผ่าตัดดวงตาในกรณีที่ตาเป็นต้อกระจกหรือต้อหินหรือการทำเลสิกให้กับผู้ที่สายตาสั้นให้กลับมาใช้สายตาได้ดีอีกครั้ง

 

สาเหตุของอาการตาแห้ง

  1. การใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานานหรือไม่ได้มาตรฐาน
  2. การสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮล์
  3. การอยู่ในห้องแอร์หรือสถานที่มีลมแรง
  4. การรับประทานยาแก้แพ้หรือมีอาการเครียด
  5. การสร้างน้ำตาน้อยลงเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น
  6. การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนทั้งวัน
  7. การกระพริบตาน้อย
  8. การดื่มน้ำน้อย

unnamed

ที่มา : http://www.busbuddythailand.com/wordpress/2019/07/15/คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโด/

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะตาล้า

  1. ระยะเวลาการใช้คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน ผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ทำให้กระพริบตาน้อยลงจึงเกิดอาการล้าของกล้ามเนื้อตาและอาการตาแห้งตามมา
  2. ระยะทางระหว่างดวงตากับจอภาพ การมองจอภาพใกล้เกินไปจะทำให้กล้ามเนื้อตาทํางานหนักจนเกิดอาการล้าได้
  3. มุมในการมองจอภาพและระยะของจอภาพคอมพิวเตอร์สูงเกินไปทําให้เกิดความล้าของสายตา
  4. ผู้ที่มีปัญหาสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง จะทำให้สายตามีปัญหามากขึ้น
  5. ผู้มีโรคประจําตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเรื้อรังของกระจกตาและหนังตาจะทําให้น้ำตาระเหยเร็วขึ้น การกระพริบตาผิดปกติ
  6. แสงสว่างระหว่างจอภาพกับสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบๆ ไม่เหมาะสม
  7. อุณหภูมิ อากาศแห้ง ทำให้น้ำตาที่เคลือบอยู่นอกกระจกตาบางและแห้งเร็วกว่าคนทั่วไป
  8. ท่านั่งที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดคอและไหล่
  9. เพศหญิงจะมีปริมาณของเหลวในดวงตาน้อยกว่าเพศชาย ทำให้เพศหญิงพบอาการตาแห้งมากกว่าเพศชาย
  10. ผู้ที่มีอายุมากควรเลือกใช้แว่นตาและเลนส์ที่ได้รับการเคลือบสารเคมี (Multicoat) จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคได้
  11. 11. แสงสีฟ้าที่แผ่รังสีออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะตาล้าทําให้เกิดจอประสาทตาเสื่อม

การลดปัจจัยความเสี่ยงของโรค

  1. ควรปรับแสงสว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับสายตา
  2. ควรจัดวางจอคอมพิวเตอร์ให้ขอบบนสุดของจออยู่ระดับเดียวกับสายตาหรือต่ำกว่าสายตาเล็กน้อย วางเมาส์และคีย์บอร์ดไว้ในระดับเดียวกัน แป้นพิมพ์ตัวอักษรควรอยู่กึ่งกลางหน้าจอพอดี หาแผ่นรองข้อมือเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกระดูกข้อ
  3. ควรติดแผ่นกรองแสงไว้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสวมแว่นกรองรังสีเพื่อถนอมสายตาไม่ให้ปะทะกับแสงสีฟ้าบนหน้าจอโดยตรง
  4. จํากัดเวลาการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ไม่ควรจ้องหน้าจอนานเกิน 2 ชั่วโมงต่อครั้ง หรือใช้สมาร์ทโฟนนานติดต่อกันเกิน 25–30 นาที กรณีเป็นผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตาควรใช้ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง
  5. เลือกฟังก์ชั่น Night Mode บนจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นโหมดปรับแสงหน้าจอให้เหมาะสมกับการทำงานโดยที่สายตาไม่ต้องทำงานหนักเกินไป
  6. ควรกระพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำหล่อเลี้ยงดวงตา
  7. หลีกเลี่ยงการยกของหนักด้วยมือซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน รักษาความอุ่นของมือเพื่อลดอาการปวดตึง
  8. จัดท่านั่งให้เหมาะสมในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน
  9. ปรับขนาดตัวอักษรหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดประมาณ 3 เท่าของขนาดตัวหนังสือที่เล็กที่สุดและควรเป็นสีดำบนพื้นสีขาว
  10. สังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตา และควรตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำ
  11. ควรพักผ่อนนอนหลับเป็นเวลา 7 ชั่วโมงโดยประมาณเพื่อให้ประสาทตาได้พักการใช้งาน
  12. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพดวงตา เช่น วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน ผักผลไม้หลากสี
  13. บริหารกล้ามเนื้อตาบ่อยๆ เช่น กลอกตาขึ้นลง ซ้ายขวาอย่างๆช้าๆ
  14. ใช้น้ำตาเทียมหยอดตาบ่อยๆ หรือยาหยอดตาชนิดที่ยับยั้งการคั่งของเลือดบริเวณตา

การรักษาดวงตาให้มีสุขภาพดี

  1. ตรวจวัดสายตาอย่างสม่ำเสมอ
  2. เลิกสูบบุหรี่
  3. ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสคอนแทคเลนส์
  4. สวมแว่นป้องกันดวงตาให้เหมาะสมเมื่อต้องทำกิจกรรมต่างๆ
  5. สวมแว่นกันแดดเมื่อออกไปเจอแสงแดด
  6. รับประทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามินบำรุงสายตา เช่น วิตามินซี, วิตามินอี, ซิงค์, และกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีอยู่ในอาหาร
  7. หลีกเลี่ยงการทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จัดโต๊ะทำงานให้เหมาะสม และหยุดพักการทำงานแล้วลุกออกไปจากโต๊ะบ้างในทุกๆ 20 นาทีของการมองจอคอมพิวเตอร์ ให้มองวัตถุที่อยู่ไกลออกไปอย่างน้อย 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที

Vitamin ช่วยบำรุงสายตา

  • Vitamin A ช่วยเรื่องสายตา กระจกตาใส จอประสาทตา ลดการเกิดต้อกระจก
  • Vitamin E เพิ่มคอลลาเจนของกระจกตาและเยื่อบุตาขาวชั้นใน ลดการเกิดต้อกระจก
  • Vitamin C ลดความเครียดของเซลล์ลูกตา
  • Vitamin B6, B9, B12 ลดการอักเสบของจุดรับภาพในจอประสาทตา
  • ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) ลดการอักเสบของจุดรับภาพในจอประสาทตา
  • โอเมก้า 3 (Omega 3) ลดการอักเสบของเซลล์ตาและลดการเกิดเบาหวานขึ้นตา

บางคนอาจจะเป็นโรค Computer Vision Syndrome โดยไม่รู้ตัว ดังนั้นเราควรถนอมสายตาในการใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สมาร์ทโฟนทั้งหลาย หากมีอาการรุนแรงควรรีบปรึกษาแพทย์ ไม่เช่นนั้นดวงตาของเราอาจเกิดการอักเสบและอาจถึงขั้นตาบอดได้



สามารถดูแหล่งข้อมูล online เพิ่มเติมได้ที่

1. Prevalence and associated factors of computer vision syndrome among bank workers in Gondar City, northwest Ethiopia.
https://doi.org/10.2147/OPTO.S126366

2. Outcome Measures and Assessment Tools in Occupational Therapy.
https://doi.org/10.1155/2020/2561703

3. Computer vision syndrome among computer office workers in a developing country: an evaluation of prevalence and risk factors. https://bmcresnotes.biomedcentral.com/articles/10.1186/s13104-016-1962-1

4. Computer & visual display terminals (VDT) vision syndrome (CVDTS).
DOI: 10.1016/j.mjafi.2016.03.016

5. Translation and cultural adaptation of the Computer Vision Syndrome Questionnaire (CVS-Q©) into Italian.
https://doi.org/10.23749/mdl.v110i1.7499

6. Computer Vision Syndrome, CVS: one case report in children.
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tmj/article/view/33186

7. Computer Syndrome: Imminent Hazard that can be Perceived and Preventable.
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/112200

8. Prevalence and Severity of Computer Vision Syndrome of Supporting Staff in Ubon Ratchathani University.
https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/181353

9. Computer Vision Syndrome: A Study of the Knowledge, Attitude & Practices in University of Lahore.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=129286880&site=eds-live

10. COMPUTER VISION SYNDROME PREVALENCE AND ASSOCIATED RISK FACTORS AMONG THE MEDICAL STUDENTS AT RĪGA STRADIŅŠ UNIVERSITY.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspxdirect=true&db=asn&AN=138285305&site=eds-live

11. Proportion of Dry Eyes in Patients of Computer Vision Syndrome.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=119275960&site=eds-live

12. Prevalence of Computer Vision Syndrome (CVS) amongst the Students of Khyber Medical University, Peshawar.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=122706116&site=eds-live

13. Ergophthalmology in accounting offices: the computer vision syndrome (CVS).
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=124955307&site=eds-live

14. THE FREQUENCY OF SYMPTOMS OF COMPUTER VISION SYNDROME AMONG MEDICAL COLLEGE STUDENTS IN ISLAMABAD.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edb&AN=146215041&site=eds-live

15. Computer Vision Syndrome Decreases: Worker Productivity: Images on a computer screen ore viewed differently than those on printed paper.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bth&AN=130494827&site=eds-live

16. A descriptive study to assess the prevalence of Computer Vision Syndrome among computer operators in selected call centers of Amritsar, Punjab.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=126298491&site=eds-live

17. Genetic algorithm based on support vector machines for computer vision syndrome classification in health personnel.
https://link.springer.com/article/10.1007/s00521-018-3581-3

18. Prevalence of Computer Vision Syndrome and Its Relationship with Ergonomic and Individual Factors in Presbyopic VDT Workers Using Progressive Addition Lenses.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edselc&AN=edselc.2-52.0-85079083732&site=eds-live

19. Knowledge of computer vision syndrome among Nigerian Ophthalmologists: An exploratory study.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=85274854&site=eds-live

20. Computer Vision Syndrome among Undergraduate Medical Students in King Abdulaziz University, Jeddah, Saudi Arabia.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsgao&AN=edsgcl.627792072&site=eds-live

21. Assessing Computer Vision Syndrome Risk for Pilots.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=100815868&site=eds-live

22. revalence of Computer Vision Syndrome and Its Relationship with Ergonomic and Individual Factors in Presbyopic VDT Workers Using Progressive Addition Lenses.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsdoj&AN=edsdoj.1e1f76753d2b47cbaa25bdff2bcb66db&site=eds-live

23. Prevalence of self-reported computer vision syndrome symptoms and its associated factors among university students.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edselc&AN=edselc.2-52.0-85059593471&site=eds-live

24. Eyeing computer vision syndrome: Awareness, knowledge, and its impact on sleep quality among medical students.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsdoj&AN=edsdoj.2f235c9cfcfb45a4a744c7db3b5cbedb&site=eds-live

25. Computer vision symptoms in people with and without neck pain.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=137324384&site=eds-live

26. A clinical study on Triphaladi compound and Shunthyadi eye drop in the management of computer vision syndrome.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsdoj&AN=edsdoj.584d31931c14bbeb7095eb71f44eedd&site=eds-live

27. Knowledge about Computer Vision Syndrome among Bank Workers in Gondar City, Northwest Ethiopia.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edselc&AN=edselc.2-52.0-85084328690&site=eds-live

28. Prediction of computer vision syndrome in health personnel by means of genetic algorithms and binary regression trees. https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edselc&AN=edselc.2-52.0-85068758348&site=eds-live

39. Association between Poor Ergophthalmologic Practices and Computer Vision Syndrome among University Administrative Staff in Ghana.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsdoj&AN=edsdoj.bbdd274c5534fbb9cc70baef807f7d4&site=eds-live

30. Eyeing computer vision syndrome: Awareness, knowledge, and its impact on sleep quality among medical students.
https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsbl&AN=vdc.100101387320.0x000001&site=eds-live

31. Computer Vision Syndrome among Office Workers in Three Factories in Phrapradaeng District, Samutprakarn Province.
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/242203/164706

32. กลุ่มอาการจอภาพคอมพิวเตอร์หรือความล้าของสายตา
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/198010/137875

33. การใช้คอมพิวเตอร์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพบุคลากร มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล
http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/539

34. มอดูลซอฟต์แวร์เพื่อตรวจหาปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/handle/123456789/7872



 

 

แหล่งอ้างอิง

วีรยา พิมลรัฐ. 2563. Computer Vision Syndrome (CVS) ตาไม่สบายเมื่อติดจอคอม. สืบค้นจาก

https://www.bangkokhospital.com/content/computer-vision-syndrome

ศูนย์จักษุวิทยาเฉพาะทาง โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล. 2563. โรคสายตาของคนทำงานยุคใหม่ “Computer Vision Syndrome (CVS)”. สืบค้นจาก http://theworldmedicalcenter.com/th/new_site/health_article

ภัคจิรา ภูสมศร. 2561. โรคคอมพิวเตอร์วิชันซิโดรมหรือโรคซีวีเอส ปัญหาสุขภาพใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม. สืบค้นจาก he01.tci-thaijo.org › EAUHJSci › article › download

ศูนย์ข้อมูล เวก้า วีแคร์. 2561. รู้จักมั้ยโรคซีวีเอส?. สืบค้นจาก ttps://40plus.posttoday.com/health/28422/


1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri