Agritourism (การท่องเที่ยวเชิงเกษตร)

ขวัญชนก พุทธจันทร์*

บรรณารักษ์ชำนาญการ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

          Agritourism หรือการท่องเที่ยวเชิงเกษตร หมายถึง การท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นทางด้านการเรียนรู้วิถีเกษตร กรรมของชาวชนบท โดยเน้นการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวในการดำเนินกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้ด้านการเกษตรและวิถีการดำรงชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และเป็นการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดการเรียนรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ก่อให้เกิดรายได้ต่อชุมชน และตัวเกษตรกร การท่องเที่ยวเชิงเกษตร จะเป็นการอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและผล กระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นการเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เกษตรกรรม สวนเกษตร วนเกษตร สวนสมุนไพร ฟาร์มปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยง เพื่อชื่นชมความสวยงาม ความสำเร็จ และเพลิดเพลินในสวนเกษตร ได้ความรู้ ได้ประสบการณ์ใหม่ บนพื้นฐานความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่แห่งนั้น  ทั้งนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) (2545) ให้ความหมายของ Agritourism (การท่องเที่ยวเชิงเกษตร) ไว้ว่า เป็นการท่องเที่ยวที่ได้ทั้งความเพลิดเพลิน และความรู้นำกลับไปประยุกต์ใช้หรือประกอบอาชีพได้ เหนือสิ่งอื่นใดคือการได้หวนกลับไปเรียนรู้เข้าใจ ภาคภูมิใจกับอาชีพเกษตรกรรมรากฐานของแผ่นดินไทยที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่า ภายใต้แนวคิด ปรัชญาองคค์วามรู้ ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษเกษตรกรไทย ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณีรูปแบบกิจกรรมและการประกอบอาชีพทางการเกษตรที่ก่อใหเ้กิดรายได้แก่ชุมชน

          การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้แยกกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ภายใต้ Amazing Thailand ดังนี้

  1. การทำนา (Rice Cultivation) ได้แก่ การทำนาปี การทำนาปรัง การทำนาหว่าน พิพิธภัณฑ์ข้าว ความรู้เรื่องข้าวสายพนัธุ์ต่างๆ ประเพณีพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าว เป็นต้น
  2. การทำสวนไม้ตัดดอก (Cutting Flowers) ได้แก่ การทำสวนดอกไม้เพื่อตัดดอกขายทุกชนิด เช่น สวนกุหลาบ ฟาร์มกล้วยไม้ สวนไม้ดอกไม้ประดับนานาชนิด ไม้กระถาง ทุกประเภทร่วมถึงไร่ทานตะวัน เป็นต้น
  3. การทำสวนผลไม้ (Horticulture) ได้แก่ การทำสวนผลไม้ทุกประเภท การทำเกษตรแผนใหม่ การทำสวนผสม การทา สวนยางพารา สวนไผ่ สวนปาลม์น้ำมัน เป็นต้น
  4. การทำผักสวนครัว (Vegetable) การปลูกพืชผักสวนครัวทุกประเภท รวมถึงการทำไร่ถั่ว ไร่ข้าวโพด ไร่ข้าวฟ่าง ไร่พริกไทย เป็นต้น
  1. การทำสวนสมุนไพร (Herbs) การปลูกพืชสมุนไพรนานาชนิด เพื่อใช้ เป็นอาหารเสริม การปลูกพืชผักสวนครัวข้างรั้ว เพื่อใช้เป็นเครื่องดื่ม เครื่องสำอางค์ และการแพทย์แผนไทย
  2. การทำฟาร์มปศุสัตว์ (Animal Farming) การเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ศรษฐกิจนานาชนิด เช่นการเลี้ยงไหม การทำฟาร์มผึ้ง การทำฟาร์มปลา การเลี้ยงหอยแมลงภู่หอยแครง หอยนางรม ฟาร์มจระเข้ หรือบางแห่งเพาะพันธุ์สัตว์หายาก เช่น ฟาร์มนกยูง ฟาร์มไก่ฟ้า ฟาร์มกวาง เป็นต้น
  1. งานผลิตภัณฑ์ต่างๆ  (Festival) การจัดงานเพื่อส่งเสริมการขายผลิตผล ทางการเกษตร เมื่อถึงฤดูกาล เช่น มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ งานเทศกาลลิ้นจี่ เทศกาลลำไย  เทศกาลกินปลา เป็นต้น

mixfarm

ที่มา : https://travel.kapook.com/view149957.html

 

การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน ควรคำนึงถึงองค์ประกอบของการท่องเที่ยว 5 (5 A’s)
(พะยอม ธรรมบุตร, 2549)  ได้แก่
          1) ด้านเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (Accessibility)

          2) ด้านที่พักแรม (Accommodation)

          3) ด้านแหล่งท่องเที่ยว (Attraction)

          4) ด้านกิจกรรม (Activities)

          5) ด้านบริการต่าง ๆ (Ancillary)

          โดยใช้วิถีเกษตรของชุมชนเป็นฐานสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน โดยพิจารณาทรัพยากรการท่องเที่ยว การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวที่มีความปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกเช่นห้องน้ำที่สะอาด มีเส้นทางการท่องเที่ยว มีป้ายบอกทางชัดเจน มีที่จอดรถ การมีส่วนร่วม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในระหว่างการท่องเที่ยว รวมไปถึงขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติบนพื้นฐานของ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และแนวคิด “การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

 

สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากบทความออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับ Agritourism ได้ดังนี้

  1. A Demand-driven Success Factor Analysis for Agritourism in Switzerland.

Huber, M., Hofstetter, P., & Hochuli, A. (2020). A Demand-driven Success Factor Analysis for Agritourism in Switzerland. Journal of Rural & Community Development, 15(1), 1–16.

URL :

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=143017459&site=eds-live

  1. ANALYSIS OF AGRITOURISM AND RURAL TOURISM SITUATION IN THE NORTH EAST OF ROMANIA.

STOIAN, M., MĂRCUȚĂ, A., NICULAE, I., & MĂRCUȚĂ, L. (2019). Analysis of Agritourism and Rural Tourism Situation in the North East of Romania. Scientific Papers: Management, Economic Engineering in Agriculture & Rural Development, 19(3), 535–541.

URL :

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=141327617&site=eds-live

  1. Agritourism in Russia: modern conditions and development prospects.

Kabanova, E. E., Vetrova, E. A., Evstratova, T. A., Sulyagina, J. O., & Kataeva, V. I. (2019). Agritourism in Russia: modern conditions and development prospects. Dilemas Contemporáneos: Educación, Política y Valores, 6(3), 1–16.

URL :

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=eue&AN=138370587&site=eds-live

  1. Agritourism in the Context of Sustainable Tourism Development.

Foris, D., Rivza, B., Kruzmetra, M., Comanescu, I. S., & Foris, T. (2020). Agritourism in the Context of Sustainable Tourism Development. Economic Science for Rural Development Conference Proceedings, 54, 108–114. https://doi.org/10.22616/ESRD.2020.54.013

URL :

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=144347836&site=eds-live

  1. California’s agritourism operations expand despite facing regulatory challenges: Surveys show that agritourism operators in California need increased support from their local governments and the state regarding regulatory requirements.

Hardesty, S., & Leff, P. (2020). California’s agritourism operations expand despite facing regulatory challenges: Surveys show that agritourism operators in California need increased support from their local governments and the state regarding regulatory requirements. California Agriculture, 74(3), 123–126. https://doi.org/10.3733/ca.2020a0026

URL :

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=fsr&AN=146576002&site=eds-live

  1. Management in Agritourism Promotion as an Element of Support Agritourism Services by Local Authorities.

BRZOZOWSKA, A., & NIEDZIÓŁKA, A. (2016). Management in Agritourism Promotion as an Element of Support Agritourism Services by Local Authorities. Valahian Journal of Economic Studies, 7(2), 35–42. https://doi.org/10.1515/vjes-2016-0002

URL :

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bth&AN=121449353&site=eds-live

  1. Sustainable Development Modeling of Agritourism Clusters.

Vital, K., Uladzimir, G., Alena, P., & Ina, S. (2020). Sustainable Development Modeling of Agritourism Clusters. Management Theory & Studies for Rural Business & Infrastructure Development, 42(2), 118–127. https://doi.org/10.15544/mts.2020.12

URL : https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bth&AN=144718388&site=eds-live

  1. The Risk Management in the Tourism, Rural Tourism and Agritourism.

TOADER, I.-A., & MOCUȚA, D. N. (2020). The Risk Management in the Tourism, Rural Tourism and Agritourism. Scientific Papers: Management, Economic Engineering in Agriculture & Rural Development, 20(2), 477–482.

URL :

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=144820435&site=eds-live

9.The role of Agritourism clusters in implementing the concept of sustainable development region.

Litvinenko, I. L., Solovykh, N. N., Smirnova, I. A., Kiyanova, L. D., & Mironova, O. A. (2019). The role of Agritourism clusters in implementing the concept of sustainable development region. Dilemas Contemporáneos: Educación, Política y Valores, 6(3), 1–23.

URL :

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=eue&AN=138370589&site=eds-live

  1. The role of natural conditions in qualified agritourism - case of Poland.

POCZTA-WAJDA, A., & POCZTA, J. (2016). The role of natural conditions in qualified agritourism - case of Poland. Agricultural Economics / Zemedelska Ekonomika, 62(4), 167–180. https://doi.org/10.17221/97/2015-AGRICECON

URL :

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=http://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=115058369&site=eds-live

 

 

เอกสารอ้างอิง

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). เกษตรพาเที่ยว. Retrieved from http://agrotourism.doae.go.th/

The works community management. (2561). การท่องเที่ยวเชิงเกษตร. Retrieved from  http://www.theworks.co.th/blog/2018/10/24/agro-tourism/

นิรมล ขวาของ เสาวคนธ์ ชูบัว นาถนลิน สีเขียว และจุฑามาศ พรหมมา. (2559). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาบ้านขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน วันที่ 8-9 ธันวาคม 2559


1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri