สรุปหนังสือเรื่อง ศรีเกษตรทัวร์บนเส้นทางพยู บามา มอญ กระเหรี่ยง 

ของ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร นายกยกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


หนังสือเรื่อง ศรีเกษตรทัวร์บนเส้นทางพยู บามา มอญ กระเหรี่ยง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศเมียนมาร์ (ซึ่งต่อไปในบทความจะขอเรียกแบบสั้นๆ ว่า พม่านะครับ) ของ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติรกร และคณะทัวร์ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2562 จนถึงวันที่ 5 มกราคม 2563 โดยท่านได้บันทึกเรียงราวที่น่าสนใจต่างๆ ตลอดการเดินทาง จากสิ่งที่ได้พบเห็น คำบอกเล่าของมัคคุเทศน์ชาวพม่า และจากการศึกษาเพิ่มเติมหลังจากการเดินทาง จนกลายมาเป็นหนังสือที่นำเสนอเรื่องราวในมุมมองต่างๆ ของสถานที่นั้นๆ ตลอดจนสอดแทรกประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของชาวพม่าเอาไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งข้าพเจ้าก็จะขอทำการสรุปเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ในมุมมองทางด้านประวัติศาสตร์และอธิบายความเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจแก่ผู้อ่านที่อาจจะยังไม่มีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ของพม่ามากนัก ให้สามารถอ่านหนังสือเล่มนี้ได้อย่างไม่ติดขัดและเกิดความเข้าใจมากขึ้น หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ


การแข่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ของพม่า
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์
2. สมัยการรับวัฒนธรรมอินเดียยุคแรกเริ่ม พุทธศตวรรษที่ 7-11 (รับอิทธิพล พุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ฮินดู)
3. ยุคอารธรรมโบราณ พยู(ศรีเกษตร), มอญ, อาระกัน พุทธศตวรรษที่ 11-15
4. สมัยพุกาม พ.ศ.1587-1830 (กษัตริย์องค์สำคัญ คือ พระเจ้าอโนรธา หรือ อนิรุธ เป็นมหาราชพระองค์แรกของพม่า รับเอาวัฒนธรรมจากมอญและพยูมาต่อยอด หลังจากพิชิตอาณาจักรเหล่านี้ได้แล้ว)
5. สมัยหลังพุกาม พ.ศ.1830-2098 (วรรณคดีเรื่องราชาธิราชกล่าวถึงเรื่องราวในช่วงนี้แต่ไม่ใช่เรื่องจริงทั้งหมด)
6. สมัยราชวงศ์ตองอูและนยองยาน พ.ศ.2029-2428 (พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้และพระเจ้าบุเรงนอง รบกับกรุงศรีอยุธยา)
7. สมัยราชวงศ์คองบอง พ.ศ.2295-2428 (เสียกรุงศรีอยุธยาคร้ังที่ 2, ร่วมสมัยกับกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5)
8. พม่าภายใต้การปกครองของอังกฤษ พ.ศ.2498-2491
9. พม่าหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ พ.ศ.2491-ปัจจุบัน

 


สถานที่ที่ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร และคณะทัวร์เดินทางไป

วันที่ 30 ธันวาคม 2562


1.พระเจดีย์ชเวดากอง
เป็นพระเจดีย์ที่ตั้งอยู่ที่กลางเมืองย่างกุ้ง คำว่าชเว แปล่า ทอง ส่วนดากอง เป็นชื่อเมือง หมายถึง มังกร มีตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นในสมัยพุทธกาลเพื่อบรรจุพระพุทธเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า จัดเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบมอญอยู่ในช่วงราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ปรากฏหลักฐานการบูรณะปฏิสังขรณ์โดยกษัตริย์มอญและพม่าหลายพระองค์เช่น พระเจ้าธรรมเจดีย์ (มหาปิฏกธรณ์ ในเรื่องราชาธิราช) พระเจ้าสินพยูชิน (พระเจ้ามังระ) และพระเจ้ามินดง (สมยัราชวงศค์องบอง) เป็นต้น  มีจุดเด่นคือการประดับตกแต่พระเจดีย์ ด้วยเครื่องประดับมีค่าต่างๆ แสดงถึงความศรัทธาในพุทธศาสนาของชนช้นั สูงของพม่าในอดีต

 


วันที่ 31 ธันวาคม 2562

เมืองแปร
เป็นเมืองที่อยู่เลยจากย่างกุ้งขึ้นไปทางเหนืออยู่บริเวณลุ่มแม่น้าอิรวดี

1.วัด Shwe-myet-hman-Phaya
หรือวัดชเวเมียตมัน เป็นวัดที่มีจุดเด่นคือมีพระพุทธรูปใส่แว่นตา ตำนานเล่าว่ากษัตริย์ทุตตะบองของชาวพยู(เมืองศรีเกษตร) เป็นกษัตริย์ที่มีอำนาจมาก ต่อมาไดม้ีปัญหาเรื่องสายตามืด ซึ่งมเหสีได้มีนิมิตเห็นพระพุทธเจ้ามาบอกให้ทำแว่นให้พระพุทธรูปใส่แล้วจะหาย ซึ่งพอทำแล้วก็หายจริงๆ ส่วนอีกกระแสหนึ่งบอกว่า เกิดขึ้นสมัยอังกฤษปกครองพม่า มีผู้ปกครองชาวอังกฤษคนหนึ่งมีปัญหาทางสายตา เมื่อภรรยาได้ถวายแว่น ให้พระพุทธรูปแล้วจึงหายเป็นปกติชาวพม่าจึงนิยมทำตามและมักนำแว่นมาถวายให้พระพุทธรูปทีวัดแห่งนี้


2.วัดพระธาตุ Shwe Bon Thar
จุดเด่นของวัดนี้คือเป็นวัด 1 ใน 3 วัดของพม่าที่ได้มีการประดิษฐานพระพุทธรูปพระมหามุนีซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญและมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในศิลปะพม่า (อีก 2 องค์อยู่ทูี่มัณฑะเลย์และยะไข่) โดยในแต่ละที่ก็จะมีการกล่าวอ้างว่า พระมหามุนีของตนเป็นองค์จริงและของที่อื่นเป็นของปลอม (คล้ายกับการที่มีพระพุทธรูปพระพุทธสิหิงค์หลายองค์ในประเทศไทย ที่มักมีตำนานผูกโยงว่าเป็นของแท้มาจากลังกา)


3. วัด Shwe San Daw
เป็นวัดที่มีเจดีย์ที่สูงกว่าเจดีย์ ชเวดากอง 3 เมตร ตามตำนานเล่าว่า บรรจุพระเกศาธาตุ 4 องค์มีฉัตร 2 ชั้น โดยชั้นล่างเป็นฉัตรแบบมอญแล้วแสดงถึงการที่มอญเคยมีอำนาจปกครองในบริเวณนี้มาก่อน และชั้นบนเป็นฉัตรแบบพม่าที่พระเจ้าอลองพญากษัตริย์ พม่าราชวงศ์คองบองได้ประดิษฐานขึ้น


4. เจดีย์ Payagyi
เป็นเจดีย์ที่ตั้งอยู่นอกเมืองศรีเกษตรเป็นเจดีย์ทรงลอมฟางซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเจดีย์ในวัฒนธรรมพยู (เจดีย์ทรงนี้ลักษณะของเรือนธาตุคล้ายลอมฟาง สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากเจดีย์ทรงโอคว่ำแบบที่สถูปสาญจีที่อินเดีย ซึ่ง “โอ” คือ ภาชนะทรงครึ่งวงกลม มีลักษณะคล้ายขันหรือชามขนาดใหญ่ โดยส้มโอก็คือส้มที่ใหญ่เท่าโอ) สร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรศรีเกษตรของชาวพยู ตั้งอยู่นอกเมืองโบราณศรีเกษตร

 


วันที่ 1 มกราคม 2563
1.วัด Akauk Taung
วัดนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่พระเจ้ามินดงทา ด่านเก็บภาษีทางเรือริมแม่น้า อิรวดีก่อนที่เรือจะล่องผ่านขึ้นไปยังเมืองหลวงที่อมรปุร และมัณฑะเลย์ ผู้คนจึงได้หยุดพักและมีการสร้างพระพุทธรูป โดยแกะสลักไว้ตามผนังหินกว่า 300 องค์


2. เมืองโบราณศรีเกษตร
เมืองโบราณศรีเกษตรเป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกลเ้คียงกับเมืองแปร โดยเป็นบ้านเมืองของกลุ่มชนพื้นเมืองที่อยู่มาก่อนชาวพม่าเรียกว่า “พวกพยู” หรือที่จีนเรียกว่าเปียว โดยวัฒนธรรมของชาวพยูนี้อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่11-15 ซึ่งจากหลักฐานตามบันทึกของพระภิกษุเหี้ยนจัง (พระถังซำจั๋ง) ที่เดินทางไปสืบศาสนาที่อินเดียในช่วงพุทธศตวรรษที่12 กล่าวว่า ได้มีอาณาจักรชื่อ “โถ-โล-โป-ตี” ได้ต้้งอยู่ระหว่างอาณาจักร
ศรีเกษตรและอาณาจักรอีศานปุระ ซึ่งโถ-โล-โป-ตี นั้นก็คืออาณาจกัรหรือกลุ่มวัฒนธรรมทวารวดีในบริเวณภาคกลางของไทย ส่วนอีศานปุระนั้นก็คืออาณาจักรโบราณสมัยก่อนเมืองพระนคร ในประเทศกัมพชูา เมืองศรีเกษตรนี้มีชื่อเรียกในภาษาพม่าว่า “ทาเยขิตตยา” มีผังเมืองเป็นรูปวงกลม ยาว 13 กม. มีซากพระราชวังโบราณ โบราณวัตถุและโบราณสถานที่ส่วนใหญ่เป็นของพุทธศาสนาเถรวาท โดยเมืองศรีเกษตรแห่งนี้และเมืองโบราณของพยูอีก 2 แห่งคือ Halin และ Beitthano ก็ได้รับยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นมรดกโลกอีกด้วย


3. วัด Yalanda
เป็นโบราณสถานที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบเจติยาวิหารคือเป็นทั้งวิหารและเจดีย์ กล่าวคือช่วงล่างจะก่อเป็นวิหารสี่เหลี่ยมที่ผนังตรงกลางด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปเอาไว้และช่วยบนก็จะทำเป็นยอดขึ้นไปคล้ายกับเจดีย์


4. เจดีย์ Bawbawgyi
เป็นเจดีย์ทรงลอมฟางเหมือนกับ Payagyi มีความสูง 46 เมตร ภายในบรรจุพระพิมพ์สมัยพยูจำนวนมาก และยังมีพระพิมพ์สมัยกษัตริย์อโนรธา (อนิรุทของอาณาจักรพุกาม) ซึ่งได้มายึดครองศรีเกษตร และนำเอาวัฒนธรรมของศรีเกษตรไปสานต่อที่พุกาม เช่น เจดีย์ทรงลอมฟางและการก่อสร้างเจติยาวิหาร เป็นต้น


5. โบราณสถาน Queen Beikthano Cemetery
เป็นสถานที่บรรจุไหหินฝังศพหรือเถ้ากระดูกของราชินีวิษณุในตำนานและพระญาติ


6. วัด Leimyethna
เป็นเจติยาวิหารสมัยพยูอีกแห่งหนึ่ง

 


วันที่ 2 มกราคม 2563


เมืองหงสาวดี


เมืองหงสาวดีหรือเมืองพะโคนั้นเดิมเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรมอญ จนกระทั่งสมัยพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ สามารถพิชิตอาณาจักรมอญได้แล้วจึงตั้งเมืองหงสาวดีเป็นเมืองหลวงแทนตองอู (เมืองหงสาวดีอยู่ใกล้ทางออกสู่ทะเล ส่วนเมืองตองอูตั้งอยู่ในหุบเขาเดินทางยากลำบาก) ทำให้กษัตริย์พม่าสมัยราชวงศ์ตองอูองค์ต่อๆ มา มีอีกพระนามเรียกว่า พระเจ้าหงสาวดี


1.พระราชวงับุเรงนอง
เป็นพระราชวังที่สร้างขึ้นมาใหม่ในบริเวณที่เคยเป็นพระราชวังมาแต่เดิมในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง ภายในจัดแสดงเสาไม้ที่เคยเป็นเสาเข็มของพระราชวังเดิมเอาไว้จากหลักฐานมีร่องรอยการถูกไฟไหม้โดยสันนิษฐานว่าเกิดจากคราวที่พระเจ้านันทบุเรงทิ้งเมืองหนีกองทัพของสมเด็จพระนเรศวรไปยังกรุงอังวะและตองอูจากนั้น พวกยะไข่ก็ได้เข้ามาปล้นและเผาเมืองจนเสียหายยับเยิน


พระเจ้าบุเรงนอง
พระเจ้าบุเรงนองนั้น แต่เดิมเป็นพี่เขย (คำว่า บุเรงนอง แปลว่า พระเชษฐาธิราช) และขุนพลคนสำคัญของพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ แห่งราชวงศ์ตองอู (กษตัริยพม่าที่รบกับอยุธยาในคราวที่สมเด็จพระศรีสุริโยทัยสิ้นพระชนม์) เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ถูกลอบปลงพระชนม์แผ่นดินพม่าได้แตกแยก เป็นกลุ่มต่างๆ บุเรงนองได้ทำสงครามรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น และนอกจากนี้ ยังขยายอำนาจจนสามารถยึดครองอาณาจักรใกล้เคียงได้หลายแห่ง เช่น มอญ ยะไข่ ลา้นนา อยุธยา หรือแม้แต่ยกกองทัพไปรบกับล้านช้าง(ลาว) ซ่ึงพม่าได้ยกย่องบุเรงนองเป็นมหาราชองค์ที่ 2ของพม่า ต่อจากพระเจ้าอโนรธาแห่งอาณาจักรพุกาม อีกพระราชประวัติของพระองค์ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ยาขอบ (โชติ แพร่พันธุ์) แต่งนวนิยายเรื่องผู้ชนะสิบทิศโดยมีจะเด็ดหรือบุเรงนองเป็น ตัวเอก (ทั้งหมดในเรื่องเป็นเรื่องแต่ง)

 


2. พระธาตุมุเตา
เป็นพระธาตุสำคัญที่ตั้งอยู่ในเมืองหงสาวดี ในภาษาพม่าเรียกว่า “ชเวมอดอว์”  สันนิษฐานว่า สร้างขึ้น โดยกษัตริย์มอญชื่อพญาอู่ (พระบิดาของพระเจ้าราชาธิราช) มีการบูรณะคร้ังสำคัญ สมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์และคร้ังหนึ่งพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ เคยเสด็จมาประกอบพิธีเจาะพระกรรณ (เป็นพิธีกรรมที่แสดงการเปลี่ยนแปลงจากเด็กเป็นผใู้หญ่) ที่พระธาตุมุเตานี้ซ่ึงในขณะนั้นยังอยู่ใจกลางเมืองหลวงของมอญ โดยนายทหารมาเพียง 500 คน แสดงถึงความไม่เกรงกลัวในทหารมอญนับหมื่นที่อยู่รายล้อมพระธาตุองค์นี้เคยพังทลายลงมาแล้วคร้ังหนึ่งจากแผ่นดินไหวใน พ.ศ.2573 ของที่เห็นทุกวันนี้เกิดจากการบูรณะขึ้นมาใหม่จนเสร็จใน พ.ศ.2497 โดยรูปแบบเดิมก่อนการพังทลายก็เป็นเจดีย์แบบมอญ คล้ายกับเจดีย์ชเวดากอง


3. วัดพระนอนทอง Shwethalyaung
มีตำนานเล่าว่า ลูกชายของกษัตริย์ Mgadeikpa วรรณพราหมณ์ มีภรรยาเป็นชาวพุทธ ซึ่งทำให้สามีหันมานับถือพุทธศาสนา เมื่อกษัตริย์ร์ู้ก็โกรธและจะประหารลูกสะใภ้ ลูกสะใภ้จึงอธิษฐานขอให้รูปป้ันในความเชื่ออื่นๆ นอกพุทธศาสนาพังทลายลงมาหมด กษัตริย์จึงเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา ซึ่งพระนอนองค์นี้ได้ถูกทิ้งร้างไปนาน จนยุคที่อังกฤษปกครองพม่าแล้วมีการพบพระนอนและได้มีการบูรณะขึ้นมาใหม่จนในปัจจุบันก็เป็น
รูปแบบศิลปะแบบมัณฑเลย์ โดยเป็นพระนอนปางปรินิพพานของพระพุทธเจ้า


4. พระธาตุเจดีย์Mahazedi Paya
สร้างขึ้นในสมยัพระเจ้าบุเรงนอง เพื่อบรรจุพระทันตธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ที่มาจากลังกา เป็นเจดีย์ที่ผสมผสานระหว่างศิลปะของมอญและพม่า เจดีย์องค์ปัจจุบันได้ถูกบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่หลังจากที่ได้พังทลายจากแผ่นดินไหว

 


วันที่ 3 มกราคม 2563


1. วัดพระสี่ทิศ (Kyaik Pun Paya)
สร้างโดยกษัตริย์ Migadippa แห่งเมืองหงสาวดี และบูรณะในสมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์พระ 4 องค์ หมายถึงพระอดีตพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์และพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ตำนานเล่าว่าพระธิดา 4 พระองค์สร้างองค์ พระขึ้นและสัญญาว่าเมืองพระธิดาองค์ใดจะแต่งงานองค์พระนั้นจะพังลงมา
ระหว่างเดินทางต่อก็ผ่านเมืองแครง ซึ่งเป็นเมืองที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพ และแม่น้าสะโตงที่พระองค์ทรงพระแสงปืนต้นยิงข้ามไปถูกสุรกรรมาแม่ทัพพม่า


2. พระธาตุอนิแขวน หรือเจียไตโย
ตั้งอยู่บนภูเขาสูง 3,000 ฟุต ตามความเชื่อของมอยและล้านนาบอกว่าพระธาตุองค์นี้เป็นพระธาตุประจำปีจอ เพราะอธิบายว่ามนุษย์ธรรมดาไม่สามารถที่จะไปไหว้พระธาตุจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงค์ได้และคำว่า เจียไตโย ยังแปลว่า ศีรษะฤๅษี ซึ่งเกี่ยวข้องกับตำนานที่บอกว่า พระฤๅษีได้ใ้ห้พระอินทร์หาก้อนหินที่มีลักษณะเหมือนศีรษะของตนเพื่อที่จะบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าไว้ในก้อนหินนั้น แล้วพระอินทร์ก็ได้นำมาแขวนไว้บนภูเขาหิน


เมืองสะเทิม
เป็นเมืองหลวงเก่าของอาณาจักรมอญยุคโบราณซึ่งมีความเจริญทางด้านวัฒนธรรมสูงกว่าพม่า โดยเมืองสะเทิม หรือสุธรรมวดีนี้เชื่อกันว่า คือดินแดนสุวรรณภูมิซึ่งปรากฎอยู่ในการส่งสมณฑูตมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช โดยพุทธศาสนาแบบเถรวาทนั้นได้มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในบริเวณนี้ จนทำให้ในสมัยของพระเจ้าอโนรธาแห่งพุกาม ที่สามารถพิชิตเมืองมอญได้ก็ได้นิมนต์พระสงฆชื่อ “ชิน อรหันต์” ไปเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทที่เมืองพุกามดว้ย

 

 


วันที่ 4 มกราคม 2563


เมืองมะละแหม่ง (เมาะล าไย,เมาะล าเลิง)
เป็นเมืองใหญ่ลำดับ ที่4 ในพม่าอย่ห่างจากย่างกุ้งไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 300 กม.คำว่า มะละแหม่ง แปลว่า คนตาเดียวโดยตำนานเล่าว่า มีกษัตริยมอยที่มีตาที่ 3 ทีกลางหน้าผาก สามารถรับรู้เหตุการณ์ในอาณาจักรอื่นได้กษัตริย์องค์หนึ่งจึงส่งพระธิดามาเป็นมเหสีเพื่อทำลายตาที่ 3  นี้เมืองมะละแหม่งเป็นเมืองที่มีความสำคัญ ในยุคอาณานิคมอังกฤษ โดยเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางของพม่าในยุคอาณานิคม และเป็นเมืองที่มั่ง คั่งจากการค้าไม้สัก อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของสถานกงศุลของนานาชาติอีกด้วย โดยเมืองเมืองนี้ก็เป็นต้นกำเนิดของตำนานรักที่เกิดข้ึน ระหว่างเจ้าน้อยศุขเกษม ราชโอรสองค์ใหญ่ของเจ้าแก้วนวรัตน์ เจ้าหลวงเชียงใหม่พระองค์สุดท้าย กับมะเมียะ แม่ค้าสาวชาวพม่า ซึ่งได้พบกันขณะที่เจ้าน้อยได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนที่เมืองมะละแหม่งและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกนั ฉันสามีภรรยา แต่จากที่มะเมียะเป็นชาวพม่าทำให้ท้้ง 2 ต้องถูกแยกจากกัน แม้ว่ามะเมียะจะปลอมตัวเป็นชายเดินทางมากับเจ้าน้อยก็ตาม แต่จากหลักฐานในปัจจุบนี้ส่วนมากก็จะระบุว่า เรื่องราวดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้นจริงและมะเมี๊ยะอาจไม่มีตัวตนอยู่จริง


1.วัดพระนอนที่ยาวที่สุดในโลก
พระนอนที่มีความยาวมากถึง 900 ฟุต สร้างโดยท่าน Win Sein Tawyaw พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงองค์หนึ่งของพม่า ใน ค.ศ.1990


2.วัด Yadanabonmyint Monastery
เป็นวัดที่สร้างตามพระประสงค์ของพระนางเส่งดง มิบะย่ะ มเหสีขั้นที่ 4 ของกษัตริย์มินดง (ราชวงศ์คองบอง) ที่ภายหลังได้มาบวชเป็นแม่ชีอยู่ที่วัดแห่งนี้หลังจากที่พระเจ้ามินดงสวรรคต โดยใช้สถาปนิกจากเมืองมะละแหม่ง มีจุดเด่นคือเป็นวัดที่มีการผสมผสานลวดลายประดับอาคารระหว่างศิลปะพม่ากับศิลปะยุโรป

 


วันที่ 5 มกราคม 2563
เป็นวันที่คณะทัวร์เดินทางกลับประเทศไทย โดยผ่านทางปาอัน เมียวดีและแม่สอด ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของกระเหรี่ยง โดยชาวกระเหรี่ยงนี้เป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกกดขี่โดยชาวพม่ามาตลอด จนถึงช่วงการปกครองของอังกฤษ ซึ่งชาวอังกฤษได้ใ้ช้นโยบายการแบ่งแยกและปกครอง (Divide and Rule) กับชนกลุ่มต่างๆ ในพม่า เพื่อให้เกิดความเป็นศัตรูและไม่สามารถที่จะต่อต้านเจ้าอาณานิคมชาวอังกฤษได้ โดยให้ชาวกระเหรี่ยงมีหน้าที่เป็นตำรวจในการควบคุมความประพฤติชาวพม่า พอถึงช่วงก่อนได้รับเอกราชได้มีการประชุมลงนามในสัญญาปางโหลงใน พ.ศ.2489 เพื่อกำหนดแนวทางการตั้งประเทศสหภาพพม่าและกำหนดเรื่องการปกครองและดินแดนของชนกลุ่มต่างๆ หลังได้รับเอกราช ชนกลุ่มต่างๆ คือไทใหญ่ ฉิ่น คฉิ่น ก็ได้เข้าร่วมการประชุมกับฝ่ายพม่าที่นำโดย นายพลอองซาน แต่กระเหรียงไม่ได้เข้าร่วมลงนามเนื่องจากเชื่อว่ายังไง
อังกฤษก็จะมอบดินแดนส่วนหนึ่งให้กระเหรี่ยงตั้งประเทศ แต่พอได้รับเอกราชกระเหรี่ยงก็ไม่ได้มีประเทศเป็นของตนเองและกลายเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีปัญหาต้องต่อสู้เรียกร้องดินแดนกับรัฐบาลพม่ามาจนถึงปัจจุบนี้


1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri