แหนแดงพืชน้ำมหัศจรรย์

(Azolla)

ผู้เรียบเรียง
กัณฐิกา เดชแสง
บรรณารักษ์ปฏิบัติการ ฝ่ายบริการ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

        แหนแดง(Azolla) พืชตระกูลเฟิร์นที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในแหล่งน้ำเขตร้อนและเขตอบอุ่นอีกทั้งยังสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว มีการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยกันกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ในประเทศไทยมีอยู่เพียงชนิดเดียว คือ อะซอลล่า พินนาต้า (Azolla pinnata) แหนแดงมีคุณสมบัติตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ มีอัตราการตรึงไนโตรเจนสูงถึงวันละ 300-600 กรัมต่อไร่ เนื่องจากแหนแดงสามารถสลายตัวได้ง่ายและปลดปล่อยไนโตรเจนและธาตุอาหารของพืชได้เร็ว เกษตรกรจึงนิยมนำมาใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในการปลูกข้าวเพื่อช่วยลดต้นทุนและทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีอีกทั้งยังช่วยรักษาสภาพดินอีกด้วย  

       ปุ๋ยพืชสดจากแหนแดงสามารถให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น กรมวิชาการเกษตรได้พัฒนาและขยายพันธุ์แหนแดงไมโครฟิลล่า (Microphylla) ตั้งแต่ปี2520 จนถึงปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์แหนแดงได้สำเร็จ พบว่าแหนแดงที่ใช้เป็นปุ๋ยสดในนาข้าวสามารถเพิ่มผลผลิตข้าว เฉลี่ย 160 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งใกล้เคียงกับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 6-12 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยยูเรีย อัตรา 4.8 กิโลกรัมต่อไร่ อีกทั้งยังสามารถลดระยะเวลากล้าจาก 40 วัน เหลือเพียง 30 วัน    

       นอกจากการนำไปเป็นปุ๋ยใส่นาข้าวแล้ว แหนแดงยังสามารถนำไปใช้ในการปลูกผักได้ด้วย เนื่องด้วยคุณสมบัติของแหนแดงที่มีไนโตรเจนสูงสลายตัวได้ง่ายจึงมีการนำไปใช้ในการปลูกผักชนิดต่างๆ โดยใช้แหนแดงจำนวน1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ปลูก 2 ตารางเมตร งานวิจัยพบว่าแหนแดง 1 กิโลกรัมให้แร่ธาตุได้เทียบเท่ากับปุ๋ยยูเรีย 100 กรัม กรมวิชาการเกษตรยังได้นำแหนแดงไปต่อยอด โดยการนำไปตากแห้ง พบว่าคุณสมบัติยังคงอยู่ในปริมาณเท่าเดิมกับแหนแดงสด เพราะแหนแดงประกอบด้วยในโตรเจนสูง เมื่อเทียบกับปุ๋ยยูเรีย 10-12 กิโลกรัม เกษตรกรสามารถใช้แหนแดงแห้งเพียง 6 กิโลกรัมก็เพียงพอสำหรับการปลูกพืชแล้ว แหนแดงยังจัดเป็นพืชทางเลือกให้กับเกษตรกรนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ แหนแดงมีส่วนประกอบของโปรตีนมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และมีไขมัน กรดอะมิโนที่จำเป็น รวมถึงแร่ธาตุต่างๆ จึงเหมาะแก่การนำไปผสมกับอาหารสัตว์ จัดว่าเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีสำหรับการเลี้ยงสัตว์ เช่น ปลา วัว ควาย เป็ด ไก่ เป็นต้น โดยเฉพาะในหน้าแล้งที่ขาดแคลนหญ้า อีกทั้งยังราคาต่ำกว่าราคาอาหารสัตว์ในท้องตลาด

INFO Azolla 2

 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

นวลศรี โชตินันทน์.  (2564).  “แหนแดง” พืชน้ำมหัศจรรย์ เปรียบเหมือนโรงงานผลิตปุ๋ย ใช้ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ ทำเกษตรอินทรีย์ ช่วยลดต้นทุน.  สืบค้นจาก https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_178311

ภาษิตา ทุ่นศิริ, ศิริรัตน์ แจ้งกรณ์, กานดา ปุ่มสิน, ฉันทนา เคนศรี, & พันธ์ทิวา กระจาย.  (2563).  “แหนแดง”....แหล่งไนโตรเจนในแปลงผัก. วารสารสิ่งแวดล้อม, 24(4), 1-8.  สืบค้นจาก http://www.ej.eric.chula.ac.th/content/6136/287

ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต.  (2564).  แหนแดง โรงงานผลิตปุ๋ยชีวภาพไนโตรเจนลอยน้ำ.  สืบค้นจาก https://www.doa.go.th/ksp/attachment.php?aid=2984

 

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ปริศนา อัครพงษ์สวัสดิ์.  (2560).  ประสิทธิภาพจุลินทรีย์อีเอ็มร่วมกับมูลสัตว์ต่อผลผลิตแหนแดง. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 1(1), 86-93.

มนตรี ปานตู และคนอื่นๆ.  (2559).  การใช้แหนแดง (Azolla microphylla) ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโตและปริมาณธาตุอาหารในใบปาล์มน้ำมัน.  วารสารวิชาการเกษตร, 34(3), 286-298.

ศิราภรณ์ ชื่นบาล, & ฐปน ชื่นบาล.  (2562).  การศึกษาการเจริญ การสะสม และการปลดปล่อยธาตุอาหารของแหนแดงที่เลี้ยงด้วยน้ำทิ้งจากฟาร์มเลี้ยงสุกร. วารสาร มทร. อีสาน ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12(1), 86-96.

Anjana, V. J., & Lekeshmanaswamy, M. (2019).  Biomass increase and preliminary phytochemical screening of azolla microphylla kaulf grown under four soil nutrient medium.  Journal of Advanced Scientific Research, 10(4), 275-278. 

Gupta, S. K., Gupta, S., Lone, S. A., Kumar, N., Shinde, K. P., & Panigrahy, K. (2016).  Importance and production of azolla fodder for feeding of lactating animals.  , 31(4), 292-295.

Maswada, H. F., Abd El-Razek, U. A., El-Sheshtawy, A.-N. A., & Mazrou, Y. S. A.  (2021).  Effect of Azolla filiculoides on Growth, Physiological and Yield Attributes of Maize Grown under Water and Nitrogen Deficiencies.  Journal of Plant Growth Regulation, 40(2), 558-573.

Miranda, A. F., Biswas, B., Ramkumar, N., Singh, R., Kumar, J., James, A., . . . Mouradov, A. (2016).  Aquatic plant Azolla as the universal feedstock for biofuel production.  Biotechnology for Biofuels, 9, 1-17. 

Wasuwan, R. (2008).  Classification and nitrogen fixation efficiency analysis of azolla species in rice fields. (Master Thesis). Suranaree University of Technology.

 

 


1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri