การท่องเที่ยวเชิงอาหาร

 (Gastronomy Tourism)

ผู้เรียบเรียง

ปิยะธิดา ปรางค์โคกกรวด

นักเอกสารสนเทศ ฝ่ายบริการ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

            Gastronomy Tourism: การท่องเที่ยวเชิงอาหาร  หมายถึงการท่องเที่ยวที่มีค่ามากกว่าการดื่มและกินอาหารเมนูที่มีชื่อเสียงตามแหล่งท่องเที่ยว แต่จะรวมไปถึงการผลิต ไปจนถึงหลังการบริโภค โดยแนวโน้มการท่องเที่ยวได้เปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบของการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ ซึ่งอาหารเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์คุณค่าทางสังคม และในปัจจุบันขับเคลื่อนจากสื่อออนไลน์ในการสร้างความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวเพื่อการค้นหาข้อมูลข่าวสาร  แหล่งผลิตอาหารที่เป็นต้นฉบับ เส้นทางชิมอาหาร ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว รวมไปถึงเมนูแนะนำของท้องถิ่น

4 เสาหลักของการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ประกอบด้วย

  • Farming System จุดเริ่มต้นในเรื่องราวของอาหาร
  • Story of Food เบื้องหลังของอาหารแต่ละจานที่จะรวบรวมภูมิปัญญา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ทำให้อาหารแต่ละจานมีคุณค่า โดดเด่นและเป็นที่จดจำ
  • Creative Industries ใช้ความคิดสร้างสรรค์เข้ามาเกี่ยวข้องกับอาหาร ผ่านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไปจนถึงนวัตกรรมด้านอาหารที่ทำให้สามารถสร้างสรรค์ให้อิ่มเอม
  • Sustainable Tourism พัฒนาอย่างยั่งยืนบนรากฐานของการท่องเที่ยว ส่งเสริมอนุรักษ์เรื่องราวท้องถิ่น การใช้วัตถุดิบท้องถิ่น เพื่อสร้างโอกาสให้อาหารเป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่ ช่วยเปิดประสบการณ์การท่องเที่ยวอย่างลึกซึ้งและยั่งยืนแก่ผู้มาเยือน


            ประเทศไทยมีจุดแข็งในเรื่องนี้เพราะเป็นครัวของโลก การสร้างรายได้จากการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ในทันที เป็นการต่อยอดจากจุดแข็งที่ประเทศไทยเป็นอยู่ และการที่คนไทยใช้เวลากับ Social Media ที่มีการนำภาพอาหาร ร้านอาหาร บรรยากาศดี มาแบ่งปันช่วยกัน Post ช่วยกัน Share ช่วยกัน Comment ยิ่งทำให้ธุรกิจนี้เติบโตสามารถกระตุ้นให้ผู้ที่เห็นอยากตามไปใช้บริการ สามารถสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบได้จำนวนมหาศาล เพราะวัตถุดิบอาหารในหนึ่งชนิดจะมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เม็ดเงินที่ได้จึงมีเสถียรภาพสูง ไม่ต้องกังวลกับอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ต้องกังวลกับนโยบายกีดกันทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีและไม่ใช่ภาษีจากต่างชาติ ช่วยลดความกังวลจากเชื้อCovid – 19 รวมไปถึงการแพร่โรคระบาดอื่นๆ ในอนาคตที่อาจมาจากต่างประเทศได้ด้วย

 INFO gastronomy

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

ประชาชาติธุรกิจ, บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน). (2562). Gastronomy Tourism กระจายรายได้สู่ “ฐานราก”. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์

  1. Retrieved from https://www.prachachat.net/tourism/news-317059

พรรณี สวนเพลง และคณะ. รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomic

Tourism). สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2565. Retrieved from https://asean.psu.ac.th/Data/tourism/topic/17/Gastronomy_Tourism_TH2559.pdf

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2018). ท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy

Tourism). สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2565. Retrieved from https://tis.dasta.or.th/dastaknowledge/gastronomytourism/

Blockdit. (2564). ยุคใหม่การตลาดของไทย. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2565. Retrieved from

https://www.blockdit.com/posts/606f4600581de5101956f176

NATIONAL GEOGRAPHIC ASIA. (2019). Gastronomy: การท่องเที่ยวเชิงอาหาร. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์

  1. Retrieved from https://ngthai.com/news-activity/20864/gastronomy/


แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Aydın, A. (2020). The Strategic Process of Integrating Gastronomy and Tourism: The Case of Cappodocia. Journal of Culinary Science and Technology, 18(5), 347-370. doi:10.1080/15428052.2019.1616022. Retrieved from https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=fsr&AN=145498105&site=eds-live

Goulas, A., Tsiountsioura, V., Korda, E., & Papachatzis, A. (2020). GASTRONOMY TOURISM, LOCAL AGRICULTURAL PRODUCTS AND LOCAL DEVELOPMENT. Analele Universitatii din Craiova. Seria Biologie, Horticultura, Tehnologia Prelucrarii Produselor Agricole, Ingineria Mediului, 25, 86-91. Retrieved from https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=aps&AN=148054652&site=eds-live

Iulian Adrian, S. (2019). Gastronomy Tourism - A Sustainable Alternative for Local Economic Development. Annals of Dunarea de Jos University. Fascicle I : Economics and Applied Informatics, 25(1), 103-110. Retrieved from https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsdoj&AN=edsdoj.b11cb9c1caf7450e86a4d60030a37dcc&site=eds-live

Pamukçu, H., Saraç, Ö., Aytuğar, S., & Sandıkçı, M. (2021). The Effects of Local Food and Local Products with Geographical Indication on the Development of Tourism Gastronomy. Sustainability (2071-1050), 13(12), 6692. doi:10.3390/su13126692. Retrieved from https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=fsr&AN=151140892&site=eds-live

Visković, N. R., & Komac, B. (2021). Gastronomy tourism: A brief introduction. Gastronomski turizem: kratek uvod., 61(1), 95-105. doi:10.3986/AGS.10258. Retrieved from https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=151714213&site=eds-live

 


1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri