Bio Economy

ผู้เรียบเรียง

ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล

บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการ

 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

Bio Economy หรือเศรษฐกิจชีวภาพ เป็นระบบเศรษฐกิจที่นำความรู้และนวัตกรรมด้านชีววิทยา วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือเทคโนโลยีชีวภาพ การทดสอบและควบคุมการผลิตจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์อุปโภคชีวภาพต่างๆ ซึ่งกลไกของเศรษฐกิจชีวภาพเริ่มจากการสร้างวงจรการผลิตด้านการเกษตร ผลผลิตที่ได้จะถูกคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าและประโยชน์ใช้สอย ชีวมวลที่ได้จากพืชหรือสัตว์สำหรับผลิตพลังงานด้วยการกลั่นทางชีวภาพเมื่อผ่านกระบวนการแล้วจะได้สารเคมีละเอียดและยารักษาโรค เชื้อเพลิงสำหรับการคมนาคมขนส่งและพลังงานไฟฟ้า

 

Bioeconomy มีอะไรบ้าง

  1. Bioenergy การเกษตรเพื่อพลังงาน โดยการสร้างพลังงานทดแทนจากพืช
  2. Biochemicals/plastics เคมีภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุชีวภาพ
  3. Feed for future การพัฒนาสายพันธุ์พืช เมล็ดพันธุ์พืชใหม่
  4. Biopharmas ยารักษาโรคที่ทำจากสมุนไพร ไม่มีสารเคมีตกค้าง

 

อุตสาหกรรมชีวภาพ (Bio Industry)

อุตสาหกรรมที่อาศัยเทคโนโลยีชีวภาพในการผลิตสินค้าเพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ โดยแปรสภาพผลผลิตการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและกระบวนการทางชีวภาพเพื่อให้ได้ผลผลิต ดังนี้

  1. พลังงานชีวภาพ การใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุจากการเกษตรนำมากลั่นและใช้กระบวนการชีวภาพเพื่อเปลี่ยนให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่ำและแข่งขันกับเชื้อเพลิงทั่วไปได้
  2. เคมีชีวภาพ กระบวนการแปรสภาพวัตถุดิบที่ได้จากพืชเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ สารเคมี และพลาสติกชีวภาพด้วยกระบวนการหมัก การเร่งปฏิกิริยาด้วยเอนไซม์ กระบวนการทางวิศวกรรมเคมี เพื่อลดการผลิตผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม
  3. พลาสติกชีวภาพ สารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นแทนวัสดุธรรมชาติ ใช้พลังงานในกระบวนการผลิตต่ำ และสามารถย่อยสลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำได้ด้วยจุลินทรีย์ธรรมชาติ และมีคุณสมบัติในการใช้งานเทียบเท่าพลาสติกจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

 

นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ

ประเทศไทยเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเกษตรกรรมเนื่องจากได้เปรียบในเรื่องวัตถุดิบและความหลากหลายทางชีวภาพ การเตรียมตัวรองรับภาวะโลกร้อน และการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม จากที่ภาครัฐได้ผลักดันให้นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าฐานเกษตรกรรมของประเทศ โดยนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพนี้กำหนดให้มันสำปะหลังและอ้อยเป็นพืชนำร่องในการแปรรูปสู่ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลการเกษตรและนำไปสู่การพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน สำหรับวัตถุดิบที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ น้ำตาล แป้งมันสำปะหลัง ชานอ้อยและฟางข้าว ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีปริมาณมากพอและผลิตได้อย่างต่อเนื่องและทำให้ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมเคมีเพื่อสิ่งแวดล้อมลดต่ำลง

 

การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศไทย

  1. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีนวัตกรรมและการวิจัย
  2. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
  3. ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างทั่วถึง
  4. สนับสนุนให้เกิดการเจริญเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  5. พัฒนาความเข้มแข็งในระดับชุมชน

ข้อดีของเศรษฐกิจชีวภาพ

  1. ลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และของเสีย
  2. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานทางเลือก
  3. ได้สารใหม่ๆ ทีมีมูลค่าสูงขึ้นมากกว่าเดิม
  4. กระบวนการชีวภาพนำมาใช้ทดแทนสารเคมี
  5. เพิ่มตำแหน่งงานใหม่ที่รองรับผู้เรียนที่มีพื้นฐานด้านสะเต็มศึกษา
  6. ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจเติบโต

INFO Bioeconomy

 

 แหล่งข้อมูลอ้างอิง

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2019). รายงานฉบับสมบูรณ์ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ. สืบค้น 20 เมษายน 2565,  จาก https://www.sme.go.th/th/?

ปฏิภาณ สุคนธมาน. (2561). แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีเพื่อสิ่งแวดล้อมเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชีวภาพ. วารสารรัฏฐาภิรักษ์, 60(2), 36-57

สยามรัฐออนไลน์. (2020). วว. ดันอุตสาหกรรมชีวภาพ สร้างรายได้ สร้างประโยชน์สู่ชุมชน. สืบค้น 26 เมษายน 2565,  จาก https://siamrath.co.th/n/199470

 

 

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Fraga-Corral, P. Ronza, P. Garcia-Oliveira. (2022). Aquaculture as a circular bio-economy model with Galicia as a study case: How to transform waste into revalorized by-products.Trends in Food Science & Technology, 119, 23-35.

https://doi.org/10.1016/j.tifs.2021.11.026

Hong Liu, Vinay Kumar, Vivek Yadav (2021). Bioengineered biochar as smart candidate for resource recovery toward circular bio-economy: a review BIOENGINEERED, 12(2), 10269 – 10301 

https://doi.org/10.1080/21655979.2021.1993536

VIAGGI, D., BARTOLINI, F., & RAGGI, M. (2021). The Bioeconomy in economic literature: looking back, looking ahead. Bio-Based & Applied Economics, 10(3), 169–184. https://doi.org/10.36253/bae-10881

Waßenhoven, A., Block, C., Wustmans, M., & Bröring, S. (2021). Analyzing an emerging business ecosystem through M&A activities: The case of the Bioeconomy. Business Strategy & Development, 4(3), 258–278.

https://doi.org/10.1002/bsd2.149

Skydan, O. V., Yaremova, M. I., Tarasovych, L. V., Dankevych, V. Y., & Kutsmus, N. M. (2022). Possibilities of Developing Sustainable World by Introducing Bioeconomy: Global Perspective. Problemy Ekorozwoju, 17(1), 162–170.

https://doi.org/10.35784/pe.2022.1.15

PIECUCH, J., & SZAREK, J. (2022). Dynamic panel model in bioeconomy modeling. Agricultural Economics / Zemedelska Ekonomika, 68(1), 20–27.

https://doi.org/10.17221/156/2021-AGRICECON

Bauer, F., Hansen, T., & Hellsmark, H. (2018). Innovation in the bioeconomy – dynamics of biorefinery innovation networks. Technology Analysis and Strategic Management, 30(8), 935–947.

https://doi.org/10.1080/09537325.2018.1425386

Ruth Delzeit, Tobias Heimann, Franziska Schuenemann. (2021). Scenarios for an impact assessment of global bioeconomy strategies: Results from a co-design process. Research in Globalization, 3, 1-11

https://doi.org/10.1016/j.resglo.2021.100060

Ingelinn Pleym, et al. “The Norwegian Bioeconomy Strategy and the Way Forward for Blue Growth.” Arctic Review on Law and Politics, vol. 12, no. 0, Dec. 2021, pp. 238–44. EBSCOhost, https://doi.org/10.23865/arctic.v12.3341.

Liobikiene, G., Balezentis, T., Streimikiene, D., & Chen, X. (2019). Evaluation of bioeconomy in the context of strong sustainability. Sustainable Development, 27(5), 955–964. https://doi.org/10.1002/sd.1984


1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri