'Trend แมลง' อาหารใหม่ที่เป็นมากกว่าความยั่งยืน

 ผู้เรียบเรียง

ปิยะธิดา ปรางค์โคกกรวด

นักเอกสารสนเทศ ฝ่ายบริการ

 

          ในขณะนี้ทั่วโลกให้ความสำคัญกับโมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควบคู่ไปกับวิกฤตความขัดแย้งของรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้ทั่วโลกมีความกังวลในเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร เป็นปัจจัยที่เร่งให้ภาคอุตสาหกรรมให้ความสนใจกับอาหารทางเลือกมากขึ้นโดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีน โดยมีวัตถุดิบหลายชนิดถูกนำมาแปรรูปเป็นอาหารในรูปแบบใหม่ที่ผลิตโดยใช้โปรตีนจากพืชโดยไม่มีเนื้อสัตว์เจือปน แต่ในขณะเดียวกันยังมีแหล่งโปรตีนที่น่าสนใจคือ Insect Protein หรือโปรตีนจากแมลง แหล่งอาหารชนิดใหม่ในภาคอุตสาหกรรมของอาหารและเครื่องดื่มที่กำลังได้รับความนิยมในต่างชาติ มีสัดส่วนการบริโภคและส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ และจะมีโอกาสเติบโตขึ้นอีกจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจต่อสุขภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้มีแนวโน้มการบริโภคแมลงซึ่งอุดมไปด้วยโปรตีน แร่ธาตุและวิตามินนานาชนิดมากขึ้น

 

h2

 

ปัจจุบันเทคโนโลยีและการวิจัยมีการพัฒนาเป็นอย่างมาก การนำแมลงที่มีการศึกษา วิจัยมาแล้วว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ไม่ต่างจากเนื้อสัตว์เริ่มได้รับการพัฒนา แปรรูป ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น การผลิตผลิตภัณฑ์จากแมลงประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ฟาร์มแมลงหรือโรงงานเพาะเลี้ยงแมลง, โรงงานแปรรูปแมลง และธุรกิจที่นำแมลงไปแปรรูปเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ห่วงโซ่ของการผลิตแมลงเริ่มจากการที่เกษตรกรนำเศษอาหาร ขยะอินทรีย์ เศษพืชที่เหลือใช้จากธรรมชาติมาใช้เป็นอาหารในการเพาะเลี้ยงแมลง

h3

 

ผลิตภัณฑ์จากแมลงที่จะเติบโตดี ได้แก่ Insect Protein จะอยู่ในรูปแบบของแมลงสด / ตากแห้งหรือการนำไปแปรรูป      (บด, ปั่น, สกัด) เพื่อให้ได้โปรตีนในรูปแบบผงหรือน้ำมัน และผลิตภัณฑ์จากแมลงสามารถต่อยอดไปในกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้ เช่น อาหาร อาหารเสริม เครื่องสำอาง อาหารสัตว์เลี้ยง และยา โดย Insect Protein เป็นหนึ่งในอาหารกลุ่ม Alternative Protein ประกอบไปด้วย

1) Plant-based Food โปรตีนจากพืช

2) Mycoprotein         การใช้ราที่ได้จากการเพาะเลี้ยงสำหรับการทำโปรตีน

3) Insect Protein        โปรตีนที่ทำจากแมลง

4) Algal Protein          โปรตีนจากสาหร่าย

5) Cultured Meat       การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสัตว์จากห้อง Lab

จากข้อมูลของบริษัทวิจัยตลาด Meticulous Market Research Inc.  ในปี 2565-2573 ตลาดผลิตภัณฑ์แมลงที่รับประทานได้จะมีอัตราการเจริญเติบโต 28.3% มีมูลค่า 9,600 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นประมาณ 3,139,035 ตัน เติบโต 31.1% เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกที่อุดมไปด้วยสารอาหารอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง     โดยรูปแบบในการบริโภคจะมีทั้งผลิตภัณฑ์ในรูปมื้ออาหาร น้ำมัน แบบผง แบบแป้งและการรับประทานเป็นตัว ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์จากแมลงควรพัฒนาในด้านการผลิตให้เกิดความหลากหลายในรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหาร อาทิ การนำเสนอเป็นอาหารสำเร็จรูป ของทานเล่นหรือโปรตีนบาร์ รวมไปถึงการพิจารณาใช้บรรจุภัณฑ์ อีกทั้งควรพิจารณาผลิตแมลงแช่แข็งซึ่งจะช่วยยืดอายุของสินค้าให้นานออกไป

 

ในระยะอีก 3 - 5 ปีข้างหน้า ตลาดผลิตภัณฑ์จากแมลงจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการสูงมีสารอาหารครบถ้วน ช่วยตอบโจทย์ปัญหา Food Security และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

กรุงไทย COMPASS. ทําความรู้จัก Insect Products...เมื่อแมลงกลายเป็นแหล่งโปรตีนใหม่แห่งโลกอนาคต. สืบค้น 9

พฤศจิกายน 2565. Retrieved From https://krungthai.com/Download/economyresources/EconomyResourcesDownload_476Insect_Products.pdf

ประภาศรี โอสถานนท์, เศรษฐกิจ. “แมลง “อาหารอนาคต โอกาสส่งออกไทยสู่ตลาดโลก. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2565.

 Retrieved From https://www.bangkokbiznews.com/business/1007884

อิสรภาพแห่งความคิดไทยโพสต์. ส่องเทรนด์การกิน“แมลง”แหล่งโปรตีนทางเลือก. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2565. Retrieved

From https://www.thaipost.net/economy-news/156769/

Marketing Eat, The Academy. เทรนด์ผลิตภัณฑ์จากแมลงพุ่งแรง ก้าวสู่ธุรกิจหมื่นล้าน ตอบโจทย์ความมั่นคงทางอาหาร

และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2565. Retrieved from https://marketeeronline.co/archives/286849

Praornpit Katchwattana, Salika Knowledge Learning Space. โปรตีนทางเลือกจากแมลง พร้อมตีตลาดส่งออกไทยไป

สหรัฐฯ สอดรับเทรนด์อาหารแห่งอนาคต. สืบค้น 9 พฤศจิกายน 2565. Retrieved

From https://www.salika.co/2022/06/04/thai-export-protein-from-insects-to-usa/

 

 

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Clarkson, C., Mirosa, M., & Birch, J. (2018). Consumer acceptance of insects and ideal product attributes.

British Food Journal, 120(12), 2898–2911. Retrieved From

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsemr&AN=edsemr.10.1108.BFJ.11.2017.0645&site=eds-live

FELLOWS, P. (2014). Insect products for high-value Western markets. Food Chain (2046-1887), 4(2), 119–

  1. Retrieved From

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=108346969&site=eds-live

Rovai, D., Michniuk, E., Roseman, E., Amin, S., Lesniauskas, R., Wilke, K., Garza, J., & Lammert, A. (2021).

Insects as a sustainable food ingredient: Identifying and classifying early adopters of edible insects based on eating behavior, familiarity, and hesitation. Journal of Sensory Studies, 36(5). Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=152969684&site=eds-live

Sogari, G., Menozzi, D., & Mora, C. (2019). The food neophobia scale and young adults’ intention to eat

insect products. International Journal of Consumer Studies, 43(1), 68–76. Retrieved From

https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=bsu&AN=134201568&site=eds-live

Veldkamp, T., Meijer, N., Alleweldt, F., Deruytter, D., Van Campenhout, L., Gasco, L., Roos, N., Smetana, S.,

Fernandes, A., & van der Fels-Klerx, H. J. (2022). Overcoming Technical and Market Barriers to Enable Sustainable Large-Scale Production and Consumption of Insect Proteins in Europe: A SUSINCHAIN Perspective. Insects (2075-4450), 13(3), 281–N.PAG. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=156019577&site=eds-live

 


1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri