KULC Time line


Our Journey

2486

ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2486-2519 ห้องสมุดเรือนเขียวตั้งอยู่บริเวณชั้นล่างของเรือนเขียวพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีบรรณารักษ์คือ นายชลอ เชาว์ดี และนายผล รางแดง

2491

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้แนะนำให้รวมห้องสมุดของมหาวิทยาลัยซึ่งในขณะนั้นมีฐานะเป็นกรมหนึ่งของกระทรวงเกษตรและห้องสมุดของกรมเกษตรเข้าด้วยกัน

2494

รวมห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ชั้นล่างของเรือนเขียว) มาไว้กับห้องสมุดของกรมเกษตรซึ่งตั้งอยู่ชั้นบนของตึกพืชพรรณ เรียกว่า“ห้องสมุดกลาง” องค์การความร่วมมือทางการบริหารระหว่างประเทศ (ICA) ได้ส่งนางมาร์เบลไรท์(Mrs. Marble B. Wright) มาช่วยจัดห้องสมุดโดยใช้ระบบการจัดหมู่หนังสือหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress) มาใช้เป็นแห่งแรกของประเทศ

2496

วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2496 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารห้องสมุดกลางแห่งใหม่ตั้งอยู่หลังตึกพืชพรรณ

2499

ห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการแบ่งส่วนราชการอย่างเป็นทางการเป็นแผนกห้องสมุดสำนักงานเลขานุการกรม กรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี ผศ.ประไพ แจ้งเจนกิจ เป็นหัวหน้าแผนกห้องสมุดคนแรก (พ.ศ. 2499- 7 ส.ค. 2509)

2508

ย้ายห้องสมุดกลางมาอยู่ที่อาคารเอกเทศสูง 3 ชั้น ตั้งอยู่หลังอนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ ใช้ชื่อว่า “หอสมุดกลาง”ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 และมีพิธีเปิดในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2508 โดยจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น

2509

ดรุณา สมบูรณกุล เป็นหัวหน้าแผนกห้องสมุด (8 ส.ค. 2509 – 25 พ.ค. 2520)

2515

2515-2519 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับงบประมาณจากโครงการเงินกู้ธนาคารโลกเพื่อพัฒนาการศึกษาโดยหอสมุดกลาง บางเขนได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหาหนังสือ วารสาร โสตทัศนวัสดุ และครุภัณฑ์ จำนวน 9 ล้านบาท

2518

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับงบประมาณจากโครงการเงินกู้ธนาคารโลกเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระหว่างปี พ.ศ. 2518-2520 เพื่อก่อสร้างอาคารหอสมุดทั้ง 2 วิทยาเขต คืออาคารหอสมุดกลาง วิทยาเขตบางเขน ได้รับจัดสรรค่าก่อสร้างจำนวน 28,963,550 บาท และอาคารห้องสมุดวิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 12,152,000 บาท

2520

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับงบประมาณจากโครงการเงินกู้ธนาคารโลกเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระหว่างปี พ.ศ. 2518-2520 เพื่อก่อสร้างอาคารหอสมุดทั้ง 2 วิทยาเขต คืออาคารหอสมุดกลาง วิทยาเขตบางเขน ได้รับจัดสรรค่าก่อสร้างจำนวน 28,963,550 บาท และอาคารห้องสมุดวิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 12,152,000 บาท

ก่อตั้งชมรมห้องสมุดการเกษตรแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการริเริ่มของ ผศ.ดรุณา สมบูรณกุล (สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) และ อาจารย์เฉลิมวรรณ ชูทรัพย์ (กองบริการเอกสารและห้องสมุด สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ) ต่อ มาชมรมฯได้หยุดกิจกรรมไป และได้มีการดำเนินกิจกรรมอีกครั้ง ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2529 โดยนางพิบูลศิลป์ วัฑฒนะพงศ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักหอสมุด จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2532 จึงได้สิ้นสุดกิจกรรมลง

2523

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2523 สำนักหอสมุดย้ายที่ทำการมายังอาคารหลังใหม่ ชื่อว่า “อาคารช่วงเกษตรศิลปการ”และเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2523 จนถึงปัจจุบัน

วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2523 สำนักหอสมุดได้รับมอบงานให้ทำหน้าที่เป็นศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ (Thai National AGRIS Centre)เพื่อเป็นศูนย์เครือข่ายความร่วมมือในระบบสารสนเทศเกษตรนานาชาติ (AGRIS FAO)

2524

วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 สำนักหอสมุดจัดตั้งศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ (International Buffalo Information Center-IBIC)ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์พัฒนาการวิจัยระหว่างประเทศ(IDRC) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)

2525

พิบูลศิลป์ วัฑฒนะพงศ์ เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 2(1 เม.ย. 2525 – 31 ม.ค. 2545) บันทึกข้อมูลการเกษตรของประเทศไทยเข้าคอมพิวเตอร์ ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน) และจัดพิมพ์บรรณานุกรมการเกษตรของประเทศไทย เป็นฉบับแรก

2526

ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ร่วมกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย สาธิตการสืบค้นข้อมูลด้านการเกษตรแบบ On-line ไปยัง AGRIS Processing Unit กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นครั้งแรกของประเทศ

2528

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2528 สำนักหอสมุดได้รับคอมพิวเตอร์เครื่องแรก IBM PC 80286 ฮาร์ดดิสก์ขนาด 10 MB หน่วยความจำ 256 KB โดยทุนสนับสนุนจากศูนย์พัฒนาการวิจัยระหว่างประเทศ แคนาดา (IDRC)และเริ่มต้นการพัฒนาฐานข้อมูลด้านการเกษตร ของศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ และศูนย์สนเทศทางกระบือนานานชาติ

2529

สำนักหอสมุดได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็น “ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเกษตรศาสตร์” ในระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติ (Thai NATIS – Thai National Information System) คณะกรรมการข้าราชการมหาวิทยาลัย (ก.ม.) ได้พิจารณาอนุมัติให้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักหอสมุดจากเดิม 5 งาน เป็น 7 งานได้แก่ งานบริหารและธุรการทั่วไป งานพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด งานวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำบัตรรายการ งานวารสาร งานโสตทัศนวัสดุ งานบริการ และงานห้องสมุดสาขา วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2529 ให้บริการสืบค้นข้อมูล AGRIS On-line เป็นครั้งแรกของประเทศ ด้วยวิธีสื่อสารทางไกลผ่านระบบโมเด็ม ไปยังคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมที่ AGRIS Processing Unit กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

2530

สำนักหอสมุดเริ่มให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลแบบ online ผ่านระบบ DIALOG ให้กับอาจารย์ นักวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยสมัครเป็นสมาชิก

2531

สำนักหอสมุด ได้เข้าร่วมโครงการวิจัยพัฒนาทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ : สารนิเทศห้องสมุดมหาวิทยาลัย โดยดำเนินการร่วมกับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา รวม 11 แห่ง

2533

สำนักหอสมุด ดำเนินงานโครงการสารนิเทศห้องสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาฐานข้อมูลหนังสือ ใช้โปรแกรม Micro CDS/ISIS บันทึกข้อมูลหนังสือภาษาต่างประเทศในหมวดวิทยาศาสตร์ (Q), หมวดแพทย์ (R), หมวดเกษตรศาสตร์ (S) และหมวดเทคโนโลยี (T)

2534

เปิดให้บริการสืบค้นข้อมูลด้านการเกษตรในระดับนานาชาติจากฐานข้อมูล AGRIS ผ่านระบบ CD-ROM อย่างเป็นทางการ

2535

สำนักหอสมุดแบ่งการบริหารงานออกเป็น 7 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหารและธุรการทั่วไปฝ่ายพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำบัตรรายการ ฝ่ายบริการ ฝ่ายโสตทัศนวัสดุ ฝ่ายห้องสมุดสาขา และฝ่ายวารสาร

2537

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2537 สำนักหอสมุดติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในอาคาร และเปิดให้บริการเป็นครั้งแรก เดือนกันยายน พ.ศ. 2537 เปิดให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายซีดีรอม (KU CD-Net) เป็นครั้งแรก

2538

วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สำนักหอสมุดปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายใน แบ่งการบริหารงานออกเป็น 8 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหารและธุรการทั่วไป ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำบัตรรายการ ฝ่ายวารสาร ฝ่ายโสตทัศนวัสดุ ฝ่ายบริการ ฝ่ายห้องสมุดสาขา และฝ่ายงานสารนิเทศ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2538 ดำเนินโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลาง (THAILINET) ได้รับงบประมาณผูกพัน 3 ปี (พ.ศ. 2538-2540) เป็นเงิน 12,720,000 บาท

2539

เดือนเมษายน พ.ศ. 2539 สำนักหอสมุดใช้งบประมาณโครงการ THAILINET จัดซื้อคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ระบบคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (INNOPAC) Module Catalog และ OPAC และจัดซื้อโมดูล Acquisition, Serial Control และ WebOPAC ในปีต่อไป เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2539 ติดตั้งระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (INNOPAC) เริ่มจากโมดูล Catalog และ OPAC โดยเริ่มบันทึกข้อมูลเข้าระบบในเดือนสิงหาคม ในที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2539 เปิดให้บริการสืบค้นข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศบนเครือข่ายนนทรี และผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก โดยใช้ Telnet

2540

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 สำนักหอสมุด เปิดให้บริการสารสนเทศ ผ่านโฮมเพจของสำนักหอสมุดเป็นครั้งแรก ที่ https://www.lib.ku.ac.th

2541

วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2541 สำนักหอสมุดเริ่มให้บริการยืม-คืนหนังสือผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ อย่างเป็นทางการ สำนักหอสมุด ได้รับงบประมาณแผ่นดินเป็นค่าออกแบบอาคารหลังใหม่(อาคารการเรียนรู้ สำนักหอสมุด) 2,500,000 บาท

2542

สำนักหอสมุดปรับโครงสร้างการบริหารงานเป็น 11 ฝ่าย ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายฝึกอบรมและเผยแพร่วิชาการ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายบริการเทคโนโลยีการศึกษา ฝ่ายบริการสารสนเทศ ฝ่ายบริการยืมคืน ฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายห้องสมุดสาขา และฝ่ายหอสมุดกลางกำแพงแสน

2543

เริ่มบอกรับและให้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วันที่ 6-7 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ในโอกาสครบรอบ 20 ปี ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ เปิดให้บริการฐานข้อมูลการเกษตรของประเทศไทยแบบออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ในงานสัมมนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเกษตร ครั้งที่ 1

2544

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 สำนักหอสมุด โดยศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 ศูนย์เครือข่าย AGRIS ที่มีผลงานและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาสารสนเทศด้านเกษตรของ AGRIS/FAO วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 สำนักหอสมุดเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ 50 เครื่อง ณ ห้องบริการอินเตอร์เน็ต ชั้น 1 อาคารช่วงเกษตรศิลปการ วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ในโอกาสที่ศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ ครบรอบปีที่ 20 ได้เปิดให้บริการโฮมเพจศูนย์ IBIC ฐานข้อมูลควายไทยและฐานข้อมูลสมุนไพรรักษาควาย ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ในงานสัมมนา ฝ่าวิกฤตควายไทย

2545


ผศ. ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 3 (1 ก.พ. 2545 – 31 ม.ค. 2549) วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2545 สำนักหอสมุดร่วมกับสำนักบริการคอมพิวเตอร์ เปิดให้บริการการ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย ซึ่งเป็นโมเด็มแบบ PCMCIA ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา สำหรับการเข้าใช้เครือข่าย KU-Win ภายในอาคารสำนักหอสมุด ก้าวเข้าสู่ยุคสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มพัฒนาและทดสอบระบบ KULIB eOffice ครั้งแรกในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2545

2546

สำนักหอสมุดปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานโดยแบ่งออกเป็น 9 ฝ่าย คือ สำนักงานผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายบริการ ฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ ฝ่ายห้องสมุดสาขา ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และฝ่ายหอสมุดกลาง กำแพงแสน

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เปิดระบบบริการฐานข้อมูลผลงานของบุคคลผู้ทำประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวาระ 60 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย รวบรวมผลงานของผู้ทำประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัย คณาจารย์และนักวิจัยอาวุโสที่มีชื่อเสียง จำนวน 107 ท่าน ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 และต่อยอดเป็นฐานข้อมูลภูมิปัญญามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคลังความรู้ดิจิทัลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 26 พฤษภาคม 2546 สำนักหอสมุดจัดพิธีเชิดชูเกียรติและมอบซีดีผลงานให้กับบุคคลผู้ทำประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวาระครบรอบ 26 ปีแห่งการสถาปนาสำนักหอสมุด

2547

สำนักหอสมุดได้รับงบประมาณแผ่นดินจำนวน 147,000,000 บาท เพื่อก่อสร้างอาคารหลังใหม่โดยใช้ชื่อ “อาคารการเรียนรู้ สำนักหอสมุด” เปิดบริการ KULIB eService ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 โดยรวมบริการอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของสำนักหอสมุด ไว้ภายใต้ระบบเดียว จัดการอบรมหลักสูตรนักสืบค้นสารสนเทศมืออาชีพ เป็นครั้งแรกของประเทศ เมื่อวันที่ 10 – 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2547

2548

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548สำนักหอสมุด มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานใหม่ตามที่สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อนุมัติโดยแบ่งออกเป็น 8 ฝ่าย คือ สำนักงานเลขานุการ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายบริการ และฝ่ายห้องสมุดสาขา วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 สภามหาวิทยาลัยได้มีประกาศจัดตั้ง สำนักหอสมุด กำแพงแสน โดยเป็นหน่วยงานภายใต้การบริหารจัดการของวิทยาเขตกำแพงแสนมีฐานะเทียบเท่าคณะ

วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548 สำนักหอสมุดมอบอรรถาภิธานศัพท์เกษตรไทย ในนามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เพื่อเชื่อมโยงกับ AGROVOC Multilingual Agricultural Thesaurus เป็นภาษาที่ 8 ของโลก และเป็นอรรถาภิธานศัพท์ด้านการเกษตรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ฉบับแรกของไทย พัฒนาโดยศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ร่วมกับ FAO ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544

2549


นางวันทนี โกวิทางกูร เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 4 (1 ก.พ. 2549 – 31 ม.ค. 2553) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549อาคารการเรียนรู้ สำนักหอสมุดก่อสร้างแล้วเสร็จรวมใช้งบประมาณทั้งสิ้น 222 ล้านบาท วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เวลา 15.00 น.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารการเรียนรู้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สำนักหอสมุดจัดตั้ง ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Agricultural Knowledge Centre - AGKC) อย่างเป็นทางการเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เปิดระบบห้องสมุดจินดามณี เป็นครั้งแรกที่ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร ระบบห้องสมุดจินดามณีเป็นผลงานวิจัยและพัฒนา ต่อยอดมาจากระบบห้องสมุดเปิดเผยรหัส Koha โดยฝ่ายสารสนเทศร่วมกับ NAiST Lab ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ต่อมาขยายผลนำระบบไปใช้ใน Eco-Library ในปีพ.ศ. 2555 วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เปิดให้บริการอาคารการเรียนรู้ สำนักหอสมุด วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2549 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพระราชทานชื่ออาคารการเรียนรู้ว่า “เทพรัตน์วิทยาโชติ” ซึ่งมีความหมายว่า อาคารที่รุ่งเรืองด้วยความรู้อันวิเศษดุจดวงแก้วแห่งเทพ สำนักหอสมุดเริ่มนำเทคโนโลยีระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นสัญญาณวิทยุ (RFID) มาใช้สำหรับการยืมหนังสือด้วยตนเอง และการตรวจจับสัญญาณผ่านประตูป้องกันหนังสือสูญหาย

2550

เดือนกันยายน พ.ศ. 2550 สำนักหอสมุดเริ่มโครงการเปิดบริการวันอาทิตย์ และช่วงสอบ ขยายเวลาบริการ 24 ชั่วโมงเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 5 กันยายน – 5 ตุลาคม 2550

2551

วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551 สำนักหอสมุดปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการตามประกาศสภามหาวิทยาลัย เป็น 6 ฝ่าย คือ สำนักงานเลขานุการฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายบริการ ฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551เปิดให้บริการยืม-คืนหนังสือด้วยตนเองโดยเครื่องยืมอัตโนมัติแบบ RFID อย่างเป็นทางการ

วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551 เปิดให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop) จำนวน 50 เครื่อง

2552

สำนักหอสมุดได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยเพื่อทำการปรับปรุงอาคารช่วงเกษตรศิลปการ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2552 จึงต้องปิดให้บริการที่อาคารช่วงเกษตรศิลปการ เป็นเวลา 9 เดือน และเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552 วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 เปิดบริการ Research Square พื้นที่นั่งอ่านเพื่อการค้นคว้าวิจัย บริเวณโถง ชั้น 5 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ

วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ได้รับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชนจาก สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) รางวัลดีเด่นประเภทรางวัล นวัตกรรมการให้บริการประจำปี 2552

2553


ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 5 วาระที่ 1 (1 ก.พ. 2553 - 31 ม.ค. 2557) ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ประกาศวิสัยทัศน์ก้าวสู่การเป็นคลังความรู้ของมหาวิทยาลัย เป็นห้องสมุดดิจิทัลด้านการเกษตรของประเทศ และเป็นห้องสมุดสีเขียวที่บริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำนักหอสมุดได้รับคัดเลือกให้เป็นอาคารตัวแทนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการเข้าร่วมประกวดอาคารอนุรักษ์พลังงาน ในโครงการ BEAT 2010 (Building Energy Awards of Thailand 2010) โดยมีสถาบันวิศวกรรมพลังงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นที่ปรึกษา วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553 เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็น “วันรักการอ่าน”สำนักหอสมุด เป็นแม่ข่าย จัดพิธีลงนามความร่วมมือในการจัดทำโครงการส่งเสริมการอ่าน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นครั้งแรก

สำนักหอสมุด โดยศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเกษตร เป็นครั้งแรกของประเทศ ในวันที่11พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ในงานสัมมนาวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเกษตร ครั้งที่ 3 เรื่อง ไอทีเกษตร ในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (ลงนามครั้งแรก 10 หน่วยงาน และลงนามเพิ่มเติมอีก 7 หน่วยงานในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553)

ก้าวเข้าสู่ยุคของการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ผ่าน Social media โดยสำนักหอสมุดเปิดตัว Facebook เป็นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553และขยายช่องทางการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ผ่าน Twitter, Line และ Live chat วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เปิดระบบบริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นครั้งแรกของประเทศ จำนวน 99 เล่ม และผลิตเพิ่มขึ้น เป็น 999 เล่ม เพื่อให้บริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และบันทึกลงดีวีดี มอบให้หน่วยงานด้านการเกษตรทั่วประเทศ เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

2554



วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554 KU Boy ซึ่งออกแบบโดยนายปิยะรัฐ จันทร์อ่อน นิสิตระดับปริญญาโท คณะเกษตร กำแพงแสน ชนะการประกวด ได้เป็น Mascot อนุรักษ์พลังงานประจำสำนักหอสมุด วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554เปิดบริการ e-Book ส่งเสริมการอ่านเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นครั้งแรก

วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สำนักหอสมุด ร่วมกับมูลนิธินักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย จัด “Human Library” เป็นครั้งแรก โดยมีการบันทึกเทปเผยแพร่บนเว็บไซต์เป็นประจำทุกเดือน

ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ได้เกิดมหาอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและหลายจังหวัดในประเทศไทย สำนักหอสมุดได้รับความเสียหายโดย ห้องควบคุมระบบไฟฟ้าซึ่งอยู่ใต้อาคารช่วงเกษตรศิลปการ ถูกน้ำเข้าท่วมเต็มพื้นที่ ระบบลิฟท์ได้รับความเสียหายทั้งระบบ ส่วนอาคาร

เทพรัตน์วิทยาโชติน้ำไหลเข้าท่วมเต็มพื้นที่ใต้อาคารซึ่งเป็นพื้นที่จอดรถ ห้องควบคุมระบบไฟฟ้าและปั๊มน้ำ ได้รับความเสียหายทั้งหมด รวมถึงหม้อแปลงไฟฟ้าของอาคาร วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นวันเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หลังวิกฤตการณ์มหาอุทกภัย โดยสำนักหอสมุดสามารถบริหารจัดการซ่อมคืนสภาพระบบงานอาคารได้ทันเวลา และสามารถเปิดบริการได้ตามกำหนด วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ได้รับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน ประจำปี 2554 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) รางวัลชมเชยประเภทรายกระบวนงาน เรื่อง “การเรียนรู้ด้านเกษตรผ่าน e-Book” จากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายยงยุทธวิชัยดิษฐ) ณ หอประชุมกองทัพเรือ

2555



วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555 พิธีเปิดห้อง KUEco-Libraryห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็น Eco-Library แห่งแรกของประเทศไทย วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555 สำนักหอสมุดได้รับรางวัล BEAT 2010 (Building Energy Awards of Thailand) รางวัลการแข่งขันอาคารอนุรักษ์พลังงานด้านการมีส่วนร่วม กลุ่มอาคารประเภทมหาวิทยาลัย จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ ณ โรงภาพยนตร์สกาล่า สยามสแควร์

วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555 ประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้โอนย้ายหอจดหมายเหตุ ซึ่งเดิมสังกัด สำนักงานอธิการบดีมาเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักหอสมุด โดยมีสถานะเทียบเท่าฝ่าย โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักหอสมุดจึงประกอบด้วย 7 ฝ่าย ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายบริการ และฝ่ายหอจดหมายเหตุ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ได้รับรางวัลดีเยี่ยม ประเภทการพัฒนาปรับปรุงกระบวนงาน ในโครงการรางวัลคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2554 ในผลงานเรื่อง “เพิ่มโอกาสการเรียนรู้ด้วย eBook ด้านการเกษตร” วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555 พิธีเปิดห้องสมุดในสวน ซึ่งเป็นสวนระหว่างอาคารที่ได้รับการปรับปรุงใหม่หลังจากได้รับความเสียหายจากมหาอุทกภัยปี 2554 โดยได้รับความร่วมมือจากภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร และสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

วันที่18 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ได้รับรางวัลดีเด่น และดีเยี่ยม ในโครงการรางวัลคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2555 ได้รับรางวัลดีประเภทหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่น และได้รับรางวัลดีเยี่ยมและชนะเลิศภาคโปสเตอร์ ประเภทแนวปฏิบัติที่ดี จากผลงาน KU Eco-Library ห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

2556

วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็นวันรักการอ่าน นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ศ.ดร. นิวัติ เรืองพานิช)เป็นประธานพิธีเปิด Read@KU : อ่านทุกทึ่ใน มก. เป็นครั้งแรกในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับคณะผู้บริหาร โดยสำนักหอสมุดนำหนังสือพร้อมชั้นหนังสือที่ Recycle มาจากเศษวัสดุ ไปให้บริการเริ่มต้น 7 แห่งและขยายผลไปยังหอพัก และ Too Fast Too Sleep เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560

วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556 พระปัญญานันทมุนี เจ้าอาวาสวัดปัญญานันทาราม รับมอบระบบห้องสมุดจินดามณี เพื่อใช้ประโยชน์ในห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติวัดปัญญานันทาราม และขยายผลไปติดตั้งระบบเพิ่มเติมที่ห้องสมุดศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ละเมียด สัชฌุกร วัดชลประทานรังสฤษดิ์ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ได้รับรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี 2556 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้รับรางวัลระดับดี ประเภทการพัฒนาบริการที่เป็นเลิศเรื่อง “บริการความรู้บนเส้นทางสีเขียว: ห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Eco-Library)” จากรองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ณ หอประชุมกองทัพเรือ

2557



ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 5 วาระที่ 2 (25 ก.พ. 2557 – 24 ก.พ. 2561) วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557 สำนักหอสมุด เป็นแม่ข่ายประสานงานลงนาม“บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว” เป็นครั้งแรกของประเทศ จำนวน 20 หน่วยงาน และมีห้องสมุดลงนามความร่วมมือเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง



วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557 สำนักหอสมุดเป็นหน่วยงานนำร่องของมหาวิทยาลัยในการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร ในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือน กระจกจนเป็นศูนย์ ส่งผลให้สำนักหอสมุดเป็นห้องสมุดคาร์บอนนิวทรัลแห่งแรกของประเทศและของอาเซียน

2558



วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 พิธีเปิดคลังความรู้ดิจิทัล และฐานข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในวาระครบ 72 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ก.บ.ม.) ณ ห้องประชุม กำพล อดุลวิทย์

ประสานงานร่วมกับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ในการจัดทำมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (ประกาศ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558) และเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว (ประกาศวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559) เป็นครั้งแรกของประเทศ

2559

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559 ผู้บริหาร 16 ส่วนงานในบางเขน และรักษาการแทนอธิการบดี (รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน) ร่วมลงนามความร่วมมือการพัฒนาคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (รศ.ดร. วิโรจ อิ่มพิทักษ์) ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการตรวจประเมินตามเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐานห้องสมุดสีเขียวของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ด้วยระดับคะแนนดีเยี่ยม เป็นห้องสมุดสีเขียวแห่งแรกของประเทศไทย

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานสำนักงานสีเขียว ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ระดับทองด้วยคะแนนสูงสุดของประเทศ

2561



นางวนิดา ศรีทองคำ เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 6 (1 พ.ค. 2561 – 30 เม.ย. 2565) -วันที่ 22 มกราคม 2561 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมรับประกาศนียบัตรหน่วยงานผู้ใช้เสื้อผ้า Cool Mode ลดโลกร้อน ณ โรงแรมศิวาเทล กรุงเทพฯ

วันที่ 29 มกราคม 2561 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจาก ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโอกาสที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็น 1 ใน 4 ของห้องสมุดที่ดำเนินการขยายผลการพัฒนาห้องสมุดสีเขียวสู่ชุมชนและสังคม

วันที่ 31 มกราคม 2561 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) ในระดับดีเยี่ยม (Gold) ณ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดนิทรรศการร่วมแสดงความอาลัยศาสตราจารย์ระพี สาคริก ปูชนียบุคคลเกษตรศาสตร์ ณ บริเวณโถงนิทรรศการชั้น 1 อาคารช่วงเกษตรศิลปการ (ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2561)

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดประชุมเครือข่ายห้องสมุด 4 วิทยาเขต ครั้งที่ 29 ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 2 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

วันที่ 21 มีนาคม 2561 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมจัดนิทรรศการ 99 ปี ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ในงานกตเวทิตาจิต 99 ปี ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ 9 พฤษภาคม 2561 ศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ (IBIC) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดนิทรรศการคลังความรู้ดิจิทัลควายไทย ปี 2561 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนากระบือ จังหวัดสุรินทร์

วันที่ 16 – 31 กรกฎาคม 2561 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดนิทรรศการ “ขอพระองค์ทรงพระเจริญ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” ณ บริเวณโถงนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุด

วันที่ 18 กรกฎาคม 2561 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมการประชุมหน่วยงานความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ครั้งที่ 5 ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ 24 สิงหาคม 2561 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัล “Thailand Energy Awards 2018 ” ด้านอนุรักษ์พลังงาน ประเภทอาคารควบคุม จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ

วันที่ 28 กันยายน 2561 พิธีลงนามเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา รอบปีที่ 6 ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2662


ระหว่างวันที่ 2 มกราคม – วันที่ 30 กันยายน 2562 หอจดหมายเหตุ สำนักหอสมุด ได้ดำเนินการปรับปรุงห้องนิทรรศการเย็นศิระเพราะพระบริบาล ณ อาคารหอประวัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยนำเทคโนโลยี QR CODE เข้ามาใช้เพื่อสามารถรับชมผ่านสื่อออนไลน์ได้ และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 วันที่ 9 – 10 มกราคม 2562 บุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติ PULINET (ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค) จัดโดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ณ โรงแรมเดอะไทด์ รีสอร์ท บางแสน ชลบุรี

วันที่ 10 มกราคม 2562 สำนักหอสมุด ลงนามความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ ได้แก่ The Center for People and Forests (RECOFTC) เป็นความร่วมมือด้านทรัพยากรห้องสมุดและการให้บริการ ณ ห้องประชุม 9 ชั้น 2 อาคารสารนิเทศ 50 ปี

วันที่ 14 - 15 กุมภาพันธ์ 2562 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ SJTU Library (Shanghai Jiao Tong University Library) ได้แก่ การที่สำนักหอสมุดเชิญ Dr. CHEN Jin, Director, SJTU Library มาเป็นวิทยากรให้ความรู้หัวข้อ “Electronic Resource/Database Selection Principle and API” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 และเชิญเป็นวิทยากรในโครงการสัมมนาทางวิชาการประจำปี หัวข้อ “Data Science: Data Analytics ในการบริหารห้องสมุดในศตวรรษที่ 21” เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุด

วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 สำนักหอสมุดจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคล พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ณ โถงนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ช่วงเดือนพฤษภาคม 2562 คลังความรู้ดิจิทัล มก. เปิดฐานข้อมูลผลงาน ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร เพื่อรวบรวมผลงานทั้งหมดของศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร (ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562)

วันที่ 15 มิถุนายน 2562 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงนามความร่วมมือกับ Shanghai Jiao Tong University Library (SJTU Library) เป็นความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนบุคลากร ณ ห้องประชุม SJTU Library สาธารณรัฐประชาชนจีน

วันที่ 5 – 6 กันยายน 2562 สำนักหอสมุด ส่งผลงานการจัดการความรู้เพื่อประกวดรางวัล “KU -KM Best Practice Awards” และรางวัล “KU -KM Mart Awards” จำนวน 2 ผลงาน

กันยายน 2562 สำนักหอสมุด ปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการและข้อมูลข่าวสาร

กันยายน 2562 หอจดหมายเหตุ สำนักหอสมุด ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลเกียรติภูมิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

2563

1. วันที่ 8 – 9 มกราคม 2563 บุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET ครั้งที่ 10 โดยได้รับรางวัลจำนวน 3 เรื่อง ณ โรงแรมบุรีศรีภู บูติกโฮเต็ล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2.วันที่ 2 เมษายน 2563 หอจดหมายเหตุ สำนักหอสมุด จัดทำนิทรรศการในรูปแบบออนไลน์ “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” พร้อมกันนี้ฝ่ายสารสนเทศ สำนักหอสมุด ได้จัดทำคลังความรู้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในชื่อว่า “แว่นแก้วศรีนนทรี”

3.เมษายน - พฤษภาคม 2563 เนื่องจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปิดทำการให้บริการในพื้นที่ เปิดให้บริการในรูปแบบออนไลน์ และให้บริการยืมหนังสือโดยการส่งไปรษณีย์ให้แก่นิสิตที่ต้องการยืมหนังสือในช่วงเวลาปิดทำการ

4.คลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เปิดฐานข้อมูลคลังความรู้เกษตรศาสตร์สู้ COVID – 19

5.วันที่ 17 กันยายน 2563 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้ารับประกาศนียบัตร ในพิธีขอบคุณและมอบประกาศนียบัตร จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในกิจกรรมการร่วมชดเชยคาร์บอนฟุตพริ้นท์

2564



วันที่ 26 มีนาคม 2564 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกับสถานีวิทยุ มก. รวบรวม คัดสรรความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม มาเผยแพร่และให้ประชาชนได้รับรู้และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และได้ออกอากาศครั้งแรกในรายการ อยู่ดินกินดี ร่วมกับสถานีวิทยุ มก.