ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2486-2519
ห้องสมุดเรือนเขียวตั้งอยู่บริเวณชั้นล่างของเรือนเขียวพร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีบรรณารักษ์คือ นายชลอ เชาว์ดี และนายผล รางแดง
พ.ศ. 2486
พ.ศ. 2491
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้แนะนำให้รวมห้องสมุดของมหาวิทยาลัยซึ่งในขณะนั้นมีฐานะเป็นกรมหนึ่งของกระทรวงเกษตรและห้องสมุดของกรมเกษตรเข้าด้วยกัน
พ.ศ. 2494
- รวมห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ชั้นล่างของเรือนเขียว) มาไว้กับห้องสมุดของกรมเกษตรซึ่งตั้งอยู่ชั้นบนของตึกพืชพรรณ เรียกว่า“ห้องสมุดกลาง”
- องค์การความร่วมมือทางการบริหารระหว่างประเทศ (ICA) ได้ส่งนางมาร์เบลไรท์(Mrs. Marble B. Wright) มาช่วยจัดห้องสมุดโดยใช้ระบบการจัดหมู่หนังสือหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress) มาใช้เป็นแห่งแรกของประเทศ
- รวมห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ชั้นล่างของเรือนเขียว) มาไว้กับห้องสมุดของกรมเกษตรซึ่งตั้งอยู่ชั้นบนของตึกพืชพรรณ เรียกว่า“ห้องสมุดกลาง”
พ.ศ. 2496
- วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2496 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารห้องสมุดกลางแห่งใหม่ตั้งอยู่หลังตึกพืชพรรณ
- ห้องสมุดกลางได้รับการยกฐานะเป็น “แผนกห้องสมุด”
- วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2496 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารห้องสมุดกลางแห่งใหม่ตั้งอยู่หลังตึกพืชพรรณ
พ.ศ. 2499
- ห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการแบ่งส่วนราชการอย่างเป็นทางการเป็นแผนกห้องสมุดสำนักงานเลขานุการกรม กรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี ผศ.ประไพ แจ้งเจนกิจ เป็นหัวหน้าแผนกห้องสมุดคนแรก (พ.ศ. 2499- 7 ส.ค. 2509)
- ห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการแบ่งส่วนราชการอย่างเป็นทางการเป็นแผนกห้องสมุดสำนักงานเลขานุการกรม กรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมี ผศ.ประไพ แจ้งเจนกิจ เป็นหัวหน้าแผนกห้องสมุดคนแรก (พ.ศ. 2499- 7 ส.ค. 2509)
พ.ศ. 2508
- ย้ายห้องสมุดกลางมาอยู่ที่อาคารเอกเทศสูง 3 ชั้น ตั้งอยู่หลังอนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ ใช้ชื่อว่า “หอสมุดกลาง”ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 และมีพิธีเปิดในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2508 โดยจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
- ย้ายห้องสมุดกลางมาอยู่ที่อาคารเอกเทศสูง 3 ชั้น ตั้งอยู่หลังอนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ ใช้ชื่อว่า “หอสมุดกลาง”ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 และมีพิธีเปิดในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2508 โดยจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
พ.ศ. 2509
- ดรุณา สมบูรณกุล เป็นหัวหน้าแผนกห้องสมุด (8 ส.ค. 2509 – 25 พ.ค. 2520)
- ดรุณา สมบูรณกุล เป็นหัวหน้าแผนกห้องสมุด (8 ส.ค. 2509 – 25 พ.ค. 2520)
พ.ศ. 2515-2519
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับงบประมาณจากโครงการเงินกู้ธนาคารโลกเพื่อพัฒนาการศึกษาโดยหอสมุดกลาง บางเขนได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหาหนังสือ วารสาร โสตทัศนวัสดุ และครุภัณฑ์ จำนวน 9 ล้านบาท
พ.ศ. 2518
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับงบประมาณจากโครงการเงินกู้ธนาคารโลกเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระหว่างปี พ.ศ. 2518-2520 เพื่อก่อสร้างอาคารหอสมุดทั้ง 2 วิทยาเขต คืออาคารหอสมุดกลาง วิทยาเขตบางเขน ได้รับจัดสรรค่าก่อสร้างจำนวน 28,963,550 บาท และอาคารห้องสมุดวิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 12,152,000 บาท
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับงบประมาณจากโครงการเงินกู้ธนาคารโลกเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระหว่างปี พ.ศ. 2518-2520 เพื่อก่อสร้างอาคารหอสมุดทั้ง 2 วิทยาเขต คืออาคารหอสมุดกลาง วิทยาเขตบางเขน ได้รับจัดสรรค่าก่อสร้างจำนวน 28,963,550 บาท และอาคารห้องสมุดวิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 12,152,000 บาท
พ.ศ. 2520
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับงบประมาณจากโครงการเงินกู้ธนาคารโลกเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระหว่างปี พ.ศ. 2518-2520 เพื่อก่อสร้างอาคารหอสมุดทั้ง 2 วิทยาเขต คืออาคารหอสมุดกลาง วิทยาเขตบางเขน ได้รับจัดสรรค่าก่อสร้างจำนวน 28,963,550 บาท และอาคารห้องสมุดวิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 12,152,000 บาท
- ก่อตั้งชมรมห้องสมุดการเกษตรแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการริเริ่มของ ผศ.ดรุณา สมบูรณกุล (สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) และ อาจารย์เฉลิมวรรณ ชูทรัพย์ (กองบริการเอกสารและห้องสมุด สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ) ต่อมาชมรมฯได้หยุดกิจกรรมไป และได้มีการดำเนินกิจกรรมอีกครั้ง ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2529 โดยนางพิบูลศิลป์ วัฑฒนะพงศ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักหอสมุด จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2532 จึงได้สิ้นสุดกิจกรรมลง
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับงบประมาณจากโครงการเงินกู้ธนาคารโลกเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระหว่างปี พ.ศ. 2518-2520 เพื่อก่อสร้างอาคารหอสมุดทั้ง 2 วิทยาเขต คืออาคารหอสมุดกลาง วิทยาเขตบางเขน ได้รับจัดสรรค่าก่อสร้างจำนวน 28,963,550 บาท และอาคารห้องสมุดวิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 12,152,000 บาท
พ.ศ. 2523
- เดือนมีนาคม พ.ศ. 2523 สำนักหอสมุดย้ายที่ทำการมายังอาคารหลังใหม่ ชื่อว่า “อาคารช่วงเกษตรศิลปการ”และเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2523 จนถึงปัจจุบัน
- วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2523 สำนักหอสมุดได้รับมอบงานให้ทำหน้าที่เป็นศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ (Thai National AGRIS Centre)เพื่อเป็นศูนย์เครือข่ายความร่วมมือในระบบสารสนเทศเกษตรนานาชาติ (AGRIS FAO)
- เดือนมีนาคม พ.ศ. 2523 สำนักหอสมุดย้ายที่ทำการมายังอาคารหลังใหม่ ชื่อว่า “อาคารช่วงเกษตรศิลปการ”และเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2523 จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2524
- วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 สำนักหอสมุดจัดตั้งศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ (International Buffalo Information Center-IBIC)ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์พัฒนาการวิจัยระหว่างประเทศ(IDRC) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
- วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 สำนักหอสมุดจัดตั้งศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ (International Buffalo Information Center-IBIC)ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์พัฒนาการวิจัยระหว่างประเทศ(IDRC) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
พ.ศ. 2525
- พิบูลศิลป์ วัฑฒนะพงศ์ เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 2(1 เม.ย. 2525 – 31 ม.ค. 2545)
- บันทึกข้อมูลการเกษตรของประเทศไทยเข้าคอมพิวเตอร์ ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สำนักบริการคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน) และจัดพิมพ์บรรณานุกรมการเกษตรของประเทศไทย เป็นฉบับแรก
- พิบูลศิลป์ วัฑฒนะพงศ์ เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 2(1 เม.ย. 2525 – 31 ม.ค. 2545)
พ.ศ. 2526
- ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ร่วมกับการสื่อสารแห่งประเทศไทย สาธิตการสืบค้นข้อมูลด้านการเกษตรแบบ On-line ไปยัง AGRIS Processing Unit กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เป็นครั้งแรกของประเทศ
พ.ศ. 2528
- เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2528 สำนักหอสมุดได้รับคอมพิวเตอร์เครื่องแรก IBM PC 80286 ฮาร์ดดิสก์ขนาด 10 MB หน่วยความจำ 256 KB โดยทุนสนับสนุนจากศูนย์พัฒนาการวิจัยระหว่างประเทศ แคนาดา (IDRC)และเริ่มต้นการพัฒนาฐานข้อมูลด้านการเกษตร ของศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ และศูนย์สนเทศทางกระบือนานานชาติ
พ.ศ. 2529
- สำนักหอสมุดได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็น “ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเกษตรศาสตร์” ในระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติ (Thai NATIS – Thai National Information System)
- คณะกรรมการข้าราชการมหาวิทยาลัย (ก.ม.) ได้พิจารณาอนุมัติให้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักหอสมุดจากเดิม 5 งาน เป็น 7 งานได้แก่ งานบริหารและธุรการทั่วไป งานพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด งานวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำบัตรรายการ งานวารสาร งานโสตทัศนวัสดุ งานบริการ และงานห้องสมุดสาขา
- วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2529 ให้บริการสืบค้นข้อมูล AGRIS On-line เป็นครั้งแรกของประเทศ ด้วยวิธีสื่อสารทางไกลผ่านระบบโมเด็ม ไปยังคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมที่ AGRIS Processing Unit กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
พ.ศ. 2530
- สำนักหอสมุดเริ่มให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลแบบ online ผ่านระบบ DIALOG ให้กับอาจารย์ นักวิจัยของมหาวิทยาลัย โดยสมัครเป็นสมาชิก
พ.ศ. 2531
- สำนักหอสมุด ได้เข้าร่วมโครงการวิจัยพัฒนาทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ : สารนิเทศห้องสมุดมหาวิทยาลัย โดยดำเนินการร่วมกับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา รวม 11 แห่ง
พ.ศ. 2533
- สำนักหอสมุด ดำเนินงานโครงการสารนิเทศห้องสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาฐานข้อมูลหนังสือ ใช้โปรแกรม Micro CDS/ISIS บันทึกข้อมูลหนังสือภาษาต่างประเทศในหมวดวิทยาศาสตร์ (Q), หมวดแพทย์ (R), หมวดเกษตรศาสตร์ (S) และหมวดเทคโนโลยี (T)
พ.ศ. 2534
- เปิดให้บริการสืบค้นข้อมูลด้านการเกษตรในระดับนานาชาติจากฐานข้อมูล AGRIS ผ่านระบบ CD-ROM อย่างเป็นทางการ
พ.ศ. 2535
- สำนักหอสมุดแบ่งการบริหารงานออกเป็น 7 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหารและธุรการทั่วไปฝ่ายพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำบัตรรายการ ฝ่ายบริการ ฝ่ายโสตทัศนวัสดุ ฝ่ายห้องสมุดสาขา และฝ่ายวารสาร
พ.ศ. 2537
- เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2537 สำนักหอสมุดติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในอาคาร และเปิดให้บริการเป็นครั้งแรก
- เดือนกันยายน พ.ศ. 2537 เปิดให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายซีดีรอม (KU CD-Net) เป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2538
- วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สำนักหอสมุดปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายใน แบ่งการบริหารงานออกเป็น 8 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหารและธุรการทั่วไป ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรห้องสมุดและทำบัตรรายการ ฝ่ายวารสาร ฝ่ายโสตทัศนวัสดุ ฝ่ายบริการ ฝ่ายห้องสมุดสาขา และฝ่ายงานสารนิเทศ
- เดือนตุลาคม พ.ศ. 2538 ดำเนินโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลาง (THAILINET) ได้รับงบประมาณผูกพัน 3 ปี (พ.ศ. 2538-2540) เป็นเงิน 12,720,000 บาท
พ.ศ. 2539
- เดือนเมษายน พ.ศ. 2539 สำนักหอสมุดใช้งบประมาณโครงการ THAILINET จัดซื้อคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ระบบคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (INNOPAC) Module Catalog และ OPAC และจัดซื้อโมดูล Acquisition, Serial Control และ WebOPAC ในปีต่อไป
- เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2539 ติดตั้งระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (INNOPAC) เริ่มจากโมดูล Catalog และ OPAC โดยเริ่มบันทึกข้อมูลเข้าระบบในเดือนสิงหาคม
- ในที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2539 เปิดให้บริการสืบค้นข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศบนเครือข่ายนนทรี และผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก โดยใช้ Telnet
พ.ศ. 2540
- เดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 สำนักหอสมุด เปิดให้บริการสารสนเทศ ผ่านโฮมเพจของสำนักหอสมุดเป็นครั้งแรก ที่ http://www.lib.ku.ac.th
พ.ศ. 2541
- วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2541 สำนักหอสมุดเริ่มให้บริการยืม-คืนหนังสือผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ อย่างเป็นทางการ
- สำนักหอสมุด ได้รับงบประมาณแผ่นดินเป็นค่าออกแบบอาคารหลังใหม่(อาคารการเรียนรู้ สำนักหอสมุด) 2,500,000 บาท
พ.ศ. 2542
- สำนักหอสมุดปรับโครงสร้างการบริหารงานเป็น 11 ฝ่าย ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายฝึกอบรมและเผยแพร่วิชาการ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายบริการเทคโนโลยีการศึกษา ฝ่ายบริการสารสนเทศ ฝ่ายบริการยืมคืน ฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายห้องสมุดสาขา และฝ่ายหอสมุดกลางกำแพงแสน
พ.ศ. 2543
- เริ่มบอกรับและให้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- วันที่ 6-7 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ในโอกาสครบรอบ 20 ปี ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ เปิดให้บริการฐานข้อมูลการเกษตรของประเทศไทยแบบออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ในงานสัมมนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเกษตร ครั้งที่ 1<
พ.ศ. 2544
- เดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 สำนักหอสมุด โดยศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 ศูนย์เครือข่าย AGRIS ที่มีผลงานและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาสารสนเทศด้านเกษตรของ AGRIS/FAO
- วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 สำนักหอสมุดเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ 50 เครื่อง ณ ห้องบริการอินเตอร์เน็ต ชั้น 1 อาคารช่วงเกษตรศิลปการ
- วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ในโอกาสที่ศูนย์สนเทศทางกระบือนานาชาติ ครบรอบปีที่ 20 ได้เปิดให้บริการโฮมเพจศูนย์ IBIC ฐานข้อมูลควายไทยและฐานข้อมูลสมุนไพรรักษาควาย ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ในงานสัมมนา ฝ่าวิกฤตควายไทย
พ.ศ. 2545
- ผศ. ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 3 (1 ก.พ. 2545 – 31 ม.ค. 2549)
- วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2545 สำนักหอสมุดร่วมกับสำนักบริการคอมพิวเตอร์ เปิดให้บริการการ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย ซึ่งเป็นโมเด็มแบบ PCMCIA ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา สำหรับการเข้าใช้เครือข่าย KU-Win ภายในอาคารสำนักหอสมุด
- ก้าวเข้าสู่ยุคสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ เริ่มพัฒนาและทดสอบระบบ KULIB eOffice ครั้งแรกในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
พ.ศ. 2546
- สำนักหอสมุดปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานโดยแบ่งออกเป็น 9 ฝ่าย คือ สำนักงานผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายบริการ ฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ ฝ่ายห้องสมุดสาขา ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และฝ่ายหอสมุดกลาง กำแพงแสน
- วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เปิดระบบบริการฐานข้อมูลผลงานของบุคคลผู้ทำประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวาระ 60 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย รวบรวมผลงานของผู้ทำประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัย คณาจารย์และนักวิจัยอาวุโสที่มีชื่อเสียง จำนวน 107 ท่าน ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 และต่อยอดเป็นฐานข้อมูลภูมิปัญญามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคลังความรู้ดิจิทัลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วันที่ 26 พฤษภาคม 2546 สำนักหอสมุดจัดพิธีเชิดชูเกียรติและมอบซีดีผลงานให้กับบุคคลผู้ทำประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในวาระครบรอบ 26 ปีแห่งการสถาปนาสำนักหอสมุด
พ.ศ. 2547
- สำนักหอสมุดได้รับงบประมาณแผ่นดินจำนวน 147,000,000 บาท เพื่อก่อสร้างอาคารหลังใหม่โดยใช้ชื่อ “อาคารการเรียนรู้ สำนักหอสมุด”
- เปิดบริการ KULIB eService ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 โดยรวมบริการอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดของสำนักหอสมุด ไว้ภายใต้ระบบเดียว
- จัดการอบรมหลักสูตรนักสืบค้นสารสนเทศมืออาชีพ เป็นครั้งแรกของประเทศ เมื่อวันที่ 10 – 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
พ.ศ. 2548
- วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548สำนักหอสมุด มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานใหม่ตามที่สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อนุมัติโดยแบ่งออกเป็น 8 ฝ่าย คือ สำนักงานเลขานุการ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายบริการ และฝ่ายห้องสมุดสาขา
- วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 สภามหาวิทยาลัยได้มีประกาศจัดตั้ง สำนักหอสมุด กำแพงแสน โดยเป็นหน่วยงานภายใต้การบริหารจัดการของวิทยาเขตกำแพงแสนมีฐานะเทียบเท่าคณะ
- วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2548 สำนักหอสมุดมอบอรรถาภิธานศัพท์เกษตรไทย ในนามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เพื่อเชื่อมโยงกับ AGROVOC Multilingual Agricultural Thesaurus เป็นภาษาที่ 8 ของโลก และเป็นอรรถาภิธานศัพท์ด้านการเกษตรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ฉบับแรกของไทย พัฒนาโดยศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ ร่วมกับ FAO ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544
พ.ศ. 2549
- นางวันทนี โกวิทางกูร เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 4 (1 ก.พ. 2549 – 31 ม.ค. 2553)
- วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549อาคารการเรียนรู้ สำนักหอสมุดก่อสร้างแล้วเสร็จรวมใช้งบประมาณทั้งสิ้น 222 ล้านบาท
- วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เวลา 15.00 น.สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอาคารการเรียนรู้ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สำนักหอสมุดจัดตั้ง ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Agricultural Knowledge Centre - AGKC) อย่างเป็นทางการเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
- วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เปิดระบบห้องสมุดจินดามณี เป็นครั้งแรกที่ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร ระบบห้องสมุดจินดามณีเป็นผลงานวิจัยและพัฒนา ต่อยอดมาจากระบบห้องสมุดเปิดเผยรหัส Koha โดยฝ่ายสารสนเทศร่วมกับ NAiST Lab ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ต่อมาขยายผลนำระบบไปใช้ใน Eco-Library ในปีพ.ศ. 2555
- วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เปิดให้บริการอาคารการเรียนรู้ สำนักหอสมุด
- วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2549 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพระราชทานชื่ออาคารการเรียนรู้ว่า “เทพรัตน์วิทยาโชติ” ซึ่งมีความหมายว่า อาคารที่รุ่งเรืองด้วยความรู้อันวิเศษดุจดวงแก้วแห่งเทพ
- สำนักหอสมุดเริ่มนำเทคโนโลยีระบุเอกลักษณ์ด้วยคลื่นสัญญาณวิทยุ (RFID) มาใช้สำหรับการยืมหนังสือด้วยตนเอง และการตรวจจับสัญญาณผ่านประตูป้องกันหนังสือสูญหาย
- นางวันทนี โกวิทางกูร เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 4 (1 ก.พ. 2549 – 31 ม.ค. 2553)
พ.ศ. 2550
- เดือนกันยายน พ.ศ. 2550 สำนักหอสมุดเริ่มโครงการเปิดบริการวันอาทิตย์ และช่วงสอบ ขยายเวลาบริการ 24 ชั่วโมงเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 5 กันยายน – 5 ตุลาคม 2550
พ.ศ. 2551
- วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551 สำนักหอสมุดปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการตามประกาศสภามหาวิทยาลัย เป็น 6 ฝ่าย คือ สำนักงานเลขานุการฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายบริการ ฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา
- วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551เปิดให้บริการยืม-คืนหนังสือด้วยตนเองโดยเครื่องยืมอัตโนมัติแบบ RFID อย่างเป็นทางการ
- วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551 เปิดให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop) จำนวน 50 เครื่อง
พ.ศ. 2552
- สำนักหอสมุดได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยเพื่อทำการปรับปรุงอาคารช่วงเกษตรศิลปการ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2552 จึงต้องปิดให้บริการที่อาคารช่วงเกษตรศิลปการ เป็นเวลา 9 เดือน และเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552
- วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 เปิดบริการ Research Square พื้นที่นั่งอ่านเพื่อการค้นคว้าวิจัย บริเวณโถง ชั้น 5 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ
- วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ได้รับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชนจาก สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) รางวัลดีเด่นประเภทรางวัล นวัตกรรมการให้บริการประจำปี 2552
พ.ศ. 2553
- ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 5 วาระที่ 1 (1 ก.พ. 2553 - 31 ม.ค. 2557)
- ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด ประกาศวิสัยทัศน์ก้าวสู่การเป็นคลังความรู้ของมหาวิทยาลัย เป็นห้องสมุดดิจิทัลด้านการเกษตรของประเทศ และเป็นห้องสมุดสีเขียวที่บริหารจัดการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- สำนักหอสมุดได้รับคัดเลือกให้เป็นอาคารตัวแทนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการเข้าร่วมประกวดอาคารอนุรักษ์พลังงาน ในโครงการ BEAT 2010 (Building Energy Awards of Thailand 2010) โดยมีสถาบันวิศวกรรมพลังงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นที่ปรึกษา
- วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553 เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็น “วันรักการอ่าน”สำนักหอสมุด เป็นแม่ข่าย จัดพิธีลงนามความร่วมมือในการจัดทำโครงการส่งเสริมการอ่าน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นครั้งแรก
- สำนักหอสมุด โดยศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเกษตร เป็นครั้งแรกของประเทศ ในวันที่11พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ในงานสัมมนาวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเกษตร ครั้งที่ 3 เรื่อง ไอทีเกษตร ในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (ลงนามครั้งแรก 10 หน่วยงาน และลงนามเพิ่มเติมอีก 7 หน่วยงานในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553)
- ก้าวเข้าสู่ยุคของการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ผ่าน Social media โดยสำนักหอสมุดเปิดตัว Facebook เป็นครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553และขยายช่องทางการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ผ่าน Twitter, Line และ Live chat
- วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เปิดระบบบริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นครั้งแรกของประเทศ จำนวน 99 เล่ม และผลิตเพิ่มขึ้น เป็น 999 เล่ม เพื่อให้บริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และบันทึกลงดีวีดี มอบให้หน่วยงานด้านการเกษตรทั่วประเทศ เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554
- ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 5 วาระที่ 1 (1 ก.พ. 2553 - 31 ม.ค. 2557)
พ.ศ. 2554
- วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554 KU Boy ซึ่งออกแบบโดยนายปิยะรัฐ จันทร์อ่อน นิสิตระดับปริญญาโท คณะเกษตร กำแพงแสน ชนะการประกวด ได้เป็น Mascot อนุรักษ์พลังงานประจำสำนักหอสมุด
- วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554เปิดบริการ e-Book ส่งเสริมการอ่านเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นครั้งแรก
- วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สำนักหอสมุด ร่วมกับมูลนิธินักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย จัด “Human Library” เป็นครั้งแรก โดยมีการบันทึกเทปเผยแพร่บนเว็บไซต์เป็นประจำทุกเดือน
- ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ได้เกิดมหาอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและหลายจังหวัดในประเทศไทย สำนักหอสมุดได้รับความเสียหายโดย ห้องควบคุมระบบไฟฟ้าซึ่งอยู่ใต้อาคารช่วงเกษตรศิลปการ ถูกน้ำเข้าท่วมเต็มพื้นที่ ระบบลิฟท์ได้รับความเสียหายทั้งระบบ ส่วนอาคารเทพรัตน์วิทยาโชติน้ำไหลเข้าท่วมเต็มพื้นที่ใต้อาคารซึ่งเป็นพื้นที่จอดรถ ห้องควบคุมระบบไฟฟ้าและปั๊มน้ำ ได้รับความเสียหายทั้งหมด รวมถึงหม้อแปลงไฟฟ้าของอาคาร
- วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นวันเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หลังวิกฤตการณ์มหาอุทกภัย โดยสำนักหอสมุดสามารถบริหารจัดการซ่อมคืนสภาพระบบงานอาคารได้ทันเวลา และสามารถเปิดบริการได้ตามกำหนด
- วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ได้รับรางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน ประจำปี 2554 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) รางวัลชมเชยประเภทรายกระบวนงาน เรื่อง “การเรียนรู้ด้านเกษตรผ่าน e-Book” จากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายยงยุทธวิชัยดิษฐ) ณ หอประชุมกองทัพเรือ
- วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554 KU Boy ซึ่งออกแบบโดยนายปิยะรัฐ จันทร์อ่อน นิสิตระดับปริญญาโท คณะเกษตร กำแพงแสน ชนะการประกวด ได้เป็น Mascot อนุรักษ์พลังงานประจำสำนักหอสมุด
พ.ศ. 2555
- วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555 พิธีเปิดห้อง KUEco-Libraryห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็น Eco-Library แห่งแรกของประเทศไทย
- วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555 สำนักหอสมุดได้รับรางวัล BEAT 2010 (Building Energy Awards of Thailand) รางวัลการแข่งขันอาคารอนุรักษ์พลังงานด้านการมีส่วนร่วม กลุ่มอาคารประเภทมหาวิทยาลัย จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ ณ โรงภาพยนตร์สกาล่า สยามสแควร์
- วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555 ประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้โอนย้ายหอจดหมายเหตุ ซึ่งเดิมสังกัด สำนักงานอธิการบดีมาเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักหอสมุด โดยมีสถานะเทียบเท่าฝ่าย โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักหอสมุดจึงประกอบด้วย 7 ฝ่าย ได้แก่ สำนักงานเลขานุการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายบริการ และฝ่ายหอจดหมายเหตุ
- วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ได้รับรางวัลดีเยี่ยม ประเภทการพัฒนาปรับปรุงกระบวนงาน ในโครงการรางวัลคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2554 ในผลงานเรื่อง “เพิ่มโอกาสการเรียนรู้ด้วย eBook ด้านการเกษตร”
- วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555 พิธีเปิดห้องสมุดในสวน ซึ่งเป็นสวนระหว่างอาคารที่ได้รับการปรับปรุงใหม่หลังจากได้รับความเสียหายจากมหาอุทกภัยปี 2554 โดยได้รับความร่วมมือจากภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร และสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- วันที่18 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ได้รับรางวัลดีเด่น และดีเยี่ยม ในโครงการรางวัลคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 6 ประจำปี 2555 ได้รับรางวัลดีประเภทหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่น และได้รับรางวัลดีเยี่ยมและชนะเลิศภาคโปสเตอร์ ประเภทแนวปฏิบัติที่ดี จากผลงาน KU Eco-Library ห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
- วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555 พิธีเปิดห้อง KUEco-Libraryห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็น Eco-Library แห่งแรกของประเทศไทย
พ.ศ. 2556
- วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็นวันรักการอ่าน นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ศ.ดร. นิวัติ เรืองพานิช)เป็นประธานพิธีเปิด Read@KU : อ่านทุกทึ่ใน มก. เป็นครั้งแรกในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับคณะผู้บริหาร โดยสำนักหอสมุดนำหนังสือพร้อมชั้นหนังสือที่ Recycle มาจากเศษวัสดุ ไปให้บริการเริ่มต้น 7 แห่งและขยายผลไปยังหอพัก และ Too Fast Too Sleep เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560
- วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556 พระปัญญานันทมุนี เจ้าอาวาสวัดปัญญานันทาราม รับมอบระบบห้องสมุดจินดามณี เพื่อใช้ประโยชน์ในห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติวัดปัญญานันทาราม และขยายผลไปติดตั้งระบบเพิ่มเติมที่ห้องสมุดศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ละเมียด สัชฌุกร วัดชลประทานรังสฤษดิ์ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559
- วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ได้รับรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ ประจำปี 2556 จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้รับรางวัลระดับดี ประเภทการพัฒนาบริการที่เป็นเลิศเรื่อง “บริการความรู้บนเส้นทางสีเขียว: ห้องสมุดเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม (Eco-Library)” จากรองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ณ หอประชุมกองทัพเรือ
- วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็นวันรักการอ่าน นายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ศ.ดร. นิวัติ เรืองพานิช)เป็นประธานพิธีเปิด Read@KU : อ่านทุกทึ่ใน มก. เป็นครั้งแรกในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับคณะผู้บริหาร โดยสำนักหอสมุดนำหนังสือพร้อมชั้นหนังสือที่ Recycle มาจากเศษวัสดุ ไปให้บริการเริ่มต้น 7 แห่งและขยายผลไปยังหอพัก และ Too Fast Too Sleep เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2557
- ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 5 วาระที่ 2 (25 ก.พ. 2557 – 24 ก.พ. 2561)
- วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557 สำนักหอสมุด เป็นแม่ข่ายประสานงานลงนาม“บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว” เป็นครั้งแรกของประเทศ จำนวน 20 หน่วยงาน และมีห้องสมุดลงนามความร่วมมือเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557 สำนักหอสมุดเป็นหน่วยงานนำร่องของมหาวิทยาลัยในการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร ในการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนเป็นศูนย์ ส่งผลให้สำนักหอสมุดเป็นห้องสมุดคาร์บอนนิวทรัลแห่งแรกของประเทศและของอาเซียน
- ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 5 วาระที่ 2 (25 ก.พ. 2557 – 24 ก.พ. 2561)
พ.ศ. 2558
- วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 พิธีเปิดคลังความรู้ดิจิทัล และฐานข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในวาระครบ 72 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ก.บ.ม.) ณ ห้องประชุม กำพล อดุลวิทย์
- ประสานงานร่วมกับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ในการจัดทำมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว (ประกาศ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558) และเกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว (ประกาศวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559) เป็นครั้งแรกของประเทศ
- วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 พิธีเปิดคลังความรู้ดิจิทัล และฐานข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในวาระครบ 72 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ก.บ.ม.) ณ ห้องประชุม กำพล อดุลวิทย์
พ.ศ. 2559
- วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559 ผู้บริหาร 16 ส่วนงานในบางเขน และรักษาการแทนอธิการบดี (รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน) ร่วมลงนามความร่วมมือการพัฒนาคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (รศ.ดร. วิโรจ อิ่มพิทักษ์) ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการตรวจประเมินตามเกณฑ์ข้อกำหนดมาตรฐานห้องสมุดสีเขียวของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ด้วยระดับคะแนนดีเยี่ยม เป็นห้องสมุดสีเขียวแห่งแรกของประเทศไทย
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานสำนักงานสีเขียว ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ระดับทองด้วยคะแนนสูงสุดของประเทศ
- วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559 ผู้บริหาร 16 ส่วนงานในบางเขน และรักษาการแทนอธิการบดี (รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน) ร่วมลงนามความร่วมมือการพัฒนาคลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (รศ.ดร. วิโรจ อิ่มพิทักษ์) ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2561
- นางวนิดา ศรีทองคำ เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 6 (1 พ.ค. 2561 – 30 เม.ย. 2565)
- นางวนิดา ศรีทองคำ เป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุด คนที่ 6 (1 พ.ค. 2561 – 30 เม.ย. 2565)