มาตรการการการบริหารจัดการการประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มาตรการประหยัดไฟ และความปลอดภัยในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า

  1. ให้เปิดไฟเฉพาะบริเวณที่นั่งทำงาน และปิดสวิทซ์หลอดไฟตอนพักกลางวันหรือเมื่อไม่ใช้งานทุกครั้ง
  2. ปิดไฟกระตุกทุกครั้งหากไม่ได้นั่งอยู่โต๊ะทำงานหรือพื้นที่ใกล้เคียง
  3. ปิดจอภาพคอมพิวเตอร์ในเวลาพักเที่ยง หรือ ตั้งโปรแกรม Sleep mode เพื่อปิดหน้าจออัตโนมัติหากไม่ได้ใช้งานเกินกว่า 15 นาที
  4. การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เช่น กระติกน้ำร้อน ไมโครเวฟ ให้จัดไว้ในจุดใช้งานเดียวกันในแต่ละฝ่าย และให้ถอดปลั๊กออกหลังจากการใช้งานทุกครั้ง
  5. การใช้ตู้เย็น ให้นำสิ่งของที่คาดว่าจะเสียออกจากตู้เย็นทุกวันศุกร์ ทำความสะอาดเสมอ รวมถึงไม่ใส่ของในตู้เย็นแน่นเกินไป
  6. การใช้ลิฟท์ ให้พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ กรณีที่มีการขึ้นลง 1 ชั้น ไม่ควรใช้ลิฟท์ ยกเว้นขนสัมภาระ
  7. การบริหารจัดการการเปิด-ปิด เครื่องปรับอากาศในช่วงความต้องการไฟฟ้าต่ำ (Off Peak)
  8. ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า/ปิดสวิทซ์อุปกรณ์ไฟฟ้าสำนักงานเมื่อไม่ใช้งาน
  9. ปิดช่องอากาศ (ประตู หน้าต่าง) ในพื้นที่ปรับอากาศ
  10. ปิดระบบปรับอากาศ/ช่องจ่ายลม (AHU/FCU) เมื่อไม่ใช้งาน และเวลา 12.00 – 13.00 น.
  11. กำหนดมาตรการลดการใช้ไฟฟ้าอย่างน้อยร้อยละ 2 เมือ่เทียบกับปริมาณการใช้ไฟฟ้าของปีที่ผ่านมา
  12. กรณีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้น (จุดให้บริการ) ให้ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับสืบค้นข้อมูลในพื้นที่ให้บริการร้อยละ 50 ก่อนปิดบริการ 1 ชั่วโมง
  13. ถอดปลั๊กเครื่องทำน้ำเย็นส่วนสำนักงานหลังเวลา 16.30น.
  14. ถอดปลั๊กเครื่องปริ๊นส่วนสำนักงานหลังเวลา 16.30น. หรือเมื่อไม่ใช้งาน
  15. รณรงค์ ให้ความรู้ และสร้างจิตสำนึกด้านการประหยัดไฟฟ้า
  16. มีเอกสารการสื่อสารประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ผู้รับบริการและบุคลากรห้องสมุด ประหยัดไฟฟ้า ประหยัดทรัพยากร ตามแผนงานที่กำหนด
  17. มีเอกสารการสื่อสารประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ผู้รับบริการและบุคลากรห้องสมุด ประหยัดไฟฟ้า ประหยัดทรัพยากร ตามแผนงานที่กำหนด
  18. การทำงานในสำนักงานนอกเวลาราชการ ให้กำหนดตามความเหมาะสม

มาตรการประหยัดไฟ มาตรการการใช้ห้องประชุม

  1. กำหนดให้แต่ละการประชุมภายในหอสมุด สนับสนุนการเป็นห้องประชุมสีเขียว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  2. หลีกเลี่ยงการใช้จานกระดาษ แก้วน้ำกระดาษ เวลาจัดงานสังสรรค์ต่างๆ เพราะสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิต
  3. อาหารว่างระหว่าพัก เป็นขนมไทยที่บรรจุภัณฑ์ทำจากธรรมชาติ
  4. การจัดเตรียมห้องประชุม กรณีที่มีการใช้กระติกต้มน้ำ ให้เสียบปลั๊กก่อนพักเบรก 30 นาที และหลังพักเบรกต้องถอดปลั๊ก ทุกครั้ง

มาตรการการใช้น้ำ

  1. งานอาคารมีการตรวจสอบอุปกรณ์การใช้น้ำและหมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการสูญเสียน้ำอย่างเปล่าประโยชน์
  2. ปิดวาล์วน้ำ หรืออุปกรณ์การใช้น้ำประปาทุกชนิดให้สนิท หลังจากการใช้งานทุกครั้ง แจ้งให้บุคลากรภานใยและผู้ใช้บริการภายนอกทราบและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ
  3. ไม่เปิดน้ำตลอดเวลาในการแปรงฟัน ให้ใช้แก้วรองน้ำในการบ้วนปากและแปรงฟัน ไม่ปล่อยน้ำไหลตลอดเวลา เพราะจะทำให้สูญเสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์ (นาทีละ 9 ลิตร)
  4. ให้ใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ เช่น ชักโครกประหยัดน้ำ ฝักบัวประหยัดน้ำ ก๊อกประหยัดน้ำ หัวฉีดประหยัดน้ำ เป็นต้น
  5. นำหลักการ 3R คือ การลดการใช้น้ำ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มาปรับใช้ตามความเหมาะสมกับสำนักหอสมุด

มาตรการการใช้เชื้อเพลิง

  1. รณรงค์ลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัวภายในมหาวิทยาลัยหรือพื้นที่ใกล้เคียง ให้ใช้วิธีการเดิน หรือปั่นจักรยาน และวางแผนก่อนการเดินทาง
  2. ตรวจและซ่อมบำรุงรถยนต์ส่วนกลางและรถกอล์ฟไฟฟ้าอยู่เสมอ
  3. มีการควบคุมการใช้รถยนต์โดยการจัดทำบันทึกการใช้ยานพาหนะประจำรถยนต์ทุกคันการใช้รถยนต์ต้องจัดทำใบอนุญาตการใช้รถยนต์จากผู้บังคับบัญชา
  4. ไม่ควรติดเครื่องขณะจอดคอย ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งหากจอดรถเป็นเวลานาน
  5. กำหนดเส้นทางและวางแผนการเดินทางก่อนทุกครั้ง และการใช้รถยนต์ไปในเส้นทางเดียวกันให้ไปพร้อมกัน และควรให้คนขับรถศึกษาเส้นทางก่อนเดินทางทุกครั้งเพื่อเลือกใช้เส้นทางที่ใกล้ที่สุดหรือใช้เวลาน้อยที่สุด
  6. ใช้อุปกรณ์การสื่อสารอื่นแทนการเดินทาง เช่นการส่งหนังสือระหว่างหน่วยงานหากเร่งด่วนให้ใช้วิธีส่งทางโทรสาร หากเป็นเอกสารสำคัญก็ใช้วิธีรวบรวมเอกสารแล้วส่งพร้อมกัน หากเป็นเอกสารไม่สำคัญก็ใช้วิธีส่ง E-mail หรือส่งทางไปรษณีย์

มาตรการใช้กระดาษ

  1. รับ/ส่งข้อมูล ข่าวสารต่างต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สื่อสังคมออนไลน์ ในการรับส่ง เอกสาร เพื่อลดการใช้กระดาษ
  2. รณรงค์ให้ใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการประชุมเพื่อลดการใช้เอกสารที่เป็นกระดาษ
  3. ใช้กระดาษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถ่าย/พิมพ์เอกสารเฉพาะที่จำเป็น และใช้เป็นเอกสาร 2 หน้า
  4. การแก้ไขเอกสาร ควรแก้ไขบนจอคอมพิวเตอร์ และตรวจสอบความถูกต้องให้เรียบร้อยก่อนทำการพิมพ์ เพื่อประหยัดการใช้กระดาษ
  5. กระดาษที่ใช้แล้ว 1 หน้าให้คัดแยกไว้และนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำมาตัดและใช้เป็นกระดาษบันทึกข้อความ (Post it)
  6. กระดาษที่ใช้แล้วสองหน้า ให้แยกกระดาษสีและขาวออกจากกัน เพื่อความสะดวกในการจำหน่ายหรือนำไปใช้ประโยชน์อื่น
  7. หมั่นตรวจสอบและทำความสะอาดเครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพดีเพื่อลดการสูญเสียกระดาษ

 

 

 

การจัดการของเสียในส่วนงาน (Waste) ของสำนักหอสมุด ประจำปี 2565
สำนักหอสมุดมีการดำเนินงานลดการใช้กระดาษและพลาสติกในส่วนงาน ดังนี้
• E-Office การส่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์ และการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิคส์ ซึ่งช่วยให้เกิดความสะดวกในการจัดหมวดหมู่ ช่วยอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล
• รณรงค์การใช้กระดาษ 2 หน้าในส่วนงาน
• การใช้ QR Code สำหรับแบบประเมินต่างๆ

การจัดการขยะมีพิษ
สำนักหอสมุดมีการคัดแยกขยะมีพิษ เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะบรรจุสารกำจัดแมลงหรือวัชพืชกระป๋องสีสเปรย์กระป๋องสารกำจัดแมลง ภาชนะบรรจุสารเคมีฯลฯ ซึ่งจะมีการจัดตั้งถังขยะอันตรายบริเวณใต้อาคารเทพรัตนวิทยาโชติและจัดส่งให้กับโครงการศูนย์รวบรวมขยะอันตราย E-Waste เพื่อสิ่งแวดล้อม" ในการรวบรวมมูลฝอยอันตราย เพื่อการนำไปบำบัดอย่างถูกวิธี การลดการปนเปื้อนในขยะมูลฝอยทั่วไป รวมทั้งผลกระทบต่อสิ่งเเวดล้อม 

ขยะอันตรายในปี 2565 มีดังนี้
หลอดไฟ T5 = 40 หลอด
หลอดไฟ T8 ยาว = 15 หลอด
หลอดไฟ T 8 สั้น = 10 หลอด
ถ่านไฟฉาย AA. = 34 ก้อน

 

นอกจากนี้สำนักหอสมุด เนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 สำนักหอสมุด ยังมีการเพิ่มถังขยะอันตรายประเภทหน้ากากอนามัย ตั้งที่บริเวณหน้าอาคารเทพรัตนวิทยาโชติ 

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำหนดให้มีถังเพื่อคัดแยกขยะ ทั้งในส่วนของสำนักงาน และส่วนของผู้ใช้บริการ เพื่อสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ และเพื่อช่วยลดปริมาณขยะลง โดยนำเอาขยะในแต่ละวันมาทำการคัดแยกและชั่งเพื่อจดปริมาณ

 

สำนักหอสมุดจัดการประชุมคณะทำงานจัดการพลังงานฯ เป็นประจำทุก 2 เดือน เพื่ติดตามผลการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม และระดมสมองในการจัดกิจกรรมต่างๆ

โดยในปีงบประมาณ 2565 มีการประชุม ดังนี้

กิจกรรม 7 ส. คืออะไร

คือ กิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพภายในองค์กร ประกอบด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์สู่สังคม ช่วยให้องค์กรมีประสิทธิภาพในการทํางานที่ดีขึ้นอย่างเสมอต้นเสมอปลาย และยังช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการทํางานมากขึ้น รวมทั้งยังช่วยทําให้บุคลากรมีจิตสํานึกในการทํางานที่มีระเบียบ เรียบร้อย มีใจรักสถานที่ทํางาน และมีความร่วมมือในการทํางานกับผู้อื่น ทําให้บรรยากาศในการทํางานดีขึ้น

It is the basic activities for quality development within the organization, consisting of cleanup, convenience, cleanliness, hygiene, creating habits, caring for the environment. and create for society Helping the organization to be effective in working consistently better. and also helps to increase the safety of work It also helps to make personnel aware of working orderly and love the workplace. and have cooperation in working with others make the working atmosphere better

สะสาง

คือ แยกของใช้ที่จำเป็นออกจากของที่ไม่จำเป็น และขจัดของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทิ้งไป

สะดวก

คือ จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ สะดวกใช้งาน

สะอาด

คือ ทำความสะอาดสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้เสมอต่อเนื่อง

สุขลักษณะ

คือ รักษามาตรฐานที่ดีของความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่ทำงานให้ได้มาตรฐาน 3ส แรกและพัฒนาให้ดีเสมอเพื่อสุขลักษณะที่ดีในสถานที่ทำงานและต่อบุคลากร ตัวอย่างเช่น ค้นหาสาเหตุ ป้องกันสภาพที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มลภาวะ อุบัติเหตุ ได้แก่ แสงสว่าง เสียงดัง ฝุ่น เศษขยะ กลิ่นอับ เป็นต้น

สร้างนิสัย

คือ ทำสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง ปฎิบัติให้เป็นกิจวัตร 

ใส่ใจสิ่งแวดล้อม 

คือ รับรู้ เข้าใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สร้างสรรค์สู่สังคม

คือ ร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมที่เกี่ยวข้องกับการรักษ์โลก

ผลการตรวจ 7ส. ประจำปี 2565 มีผลดังนี้

ตรวจประเมินครั้งที่ 1 วันที่ 23 ธันวาคม 2564 และตรวจประเมินครั้งที่ 2 วันที่ 26 มกราคม 2565
• รางวัลที่ 1 ฝ่ายสารสนเทศ คะแนน 98.83
• รางวัลที่ 2 หอจดหมายเหตุ คะแนน 95.09
• รางวัลที่ 3 ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ คะแนน 94.67

 

 

 

 

 

 

รวมกิจกรรม และ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ผ่านทางสื่อ Social Media ปี 2565

Activities and public relations to educate all about energy and environment in 2022

• “กิจกรรม Solar car ล่ารางวัล”
“Solar car ล่ารางวัล” สำนักหอสมุดขอเชิญทุกท่านร่วมสนุกลุ้นรับของที่ระลึกกับกิจกรรม “Solar car ล่ารางวัล” แค่ชมคลิปและแชร์ไอเดียสนุกๆ เพียงเท่านี้ก็จะได้ลุ้นรับกระบอกน้ำบอกอุณหภูมิ และ หน้ากากอนามัย Limited จากสำนักหอสมุดส่งตรงถึงบ้าน!!
Link กิจกรรม
https://business.facebook.com/kulibpr/photos/a.553178744718360/4469719146397614/?type=3&theater


• Hydrogen Blending ไฮโดรเจน เป็นพลังงานทดแทน ที่ใช้งานร่วมกับเซลล์เชื้อเพลิง และกระบวนการเคมี เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานสำหรับใช้งาน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ มีประสิทธิภาพการใช้งานเทียบเท่าพลังงานน้ำมัน และยังสามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย เช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงในจรวด ในรถยนต์ และเป็นเชื้อเพลิงภายในครัวเรือน เมื่อเปรียบเทียบในด้านประสิทธิภาพแล้ว ไฮโดรเจน ก็เป็นพลังงานทดแทนที่น่าสนใจ ถ้าในอนาคตมีการจัดการในเรื่องข้อจำกัดต่าง ๆ ก็น่าจะทำให้ ไฮโดรเจน เป็นพลังงานทดแทนแห่งอนาคตได้อย่างแน่นอน
Link กิจกรรม
https://business.facebook.com/kulibpr/photos/a.553178744718360/4510556415647220/?type=3&theater


• พลังงานไฟฟ้าด้วย Solar Rooftop ดียังไง??
Solar Rooftop ได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากกระแสของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทำให้คนหันมาใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานสีเขียว และด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปมากทำให้ Solar Rooftop มีราคาไม่แพง และมีขั้นตอนการติดตั้งไม่ยุ่งยาก ลองมาดูกันว่า Solar Rooftop มีหลักการทำงานอย่างไร แอดมีข้อมูลมาฝากค่ะ
Link กิจกรรม
https://www.facebook.com/kulibpr/photos/a.553178744718360/4595618847140976/


• พลังงานไฮโดรเจน” (Hydrogen, H2) พลังงานทางเลือกสำหรับอนาคต ข้อดีของไฮโดรเจน คือ ให้ค่าพลังงานเชื้อเพลิงที่สูงกว่าค่าพลังงานชนิดอื่น ไม่ก่อให้เกิดกลุ่มควันฝุ่นละออง และสามารถประยุกต์ใช้กับงานที่ใช้พลังงานดั้งเดิมได้ รวมทั้งยังสามารถนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าโดยป้อนเข้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell) ได้ด้วยค่ะ เรามาทำความรู้จักกับพลังงานไฮโดรเจน” กันให้มากขึ้นกับข้อมูลที่แอดนำมาฝากค่ะ
Link กิจกรรม
https://business.facebook.com/kulibpr/photos/a.553178744718360/4831055663597292/?type=3&theater


• แอดชวนคุณมารู้จักกับ นวัตกรรม ‘Solar Desalination Skylight’ >> มันจะดีแค่ไหนหากน้ำทะเลดื่มได้!!
ในยุคที่อะไรก็ขึ้นราคา แต่ถ้าเราสามารถผลิตน้ำดื่มจากน้ำทะเลด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ได้มันคงจะดี แต่มันก็เกิดขึ้นได้จริงแล้ว ด้วยนวัตกรรม ‘Solar Desalination Skylight’ เปลี่ยนน้ำเค็ม เป็นน้ำจืดดื่มได้ ประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องสาธารณูปโภค และช่วยให้พื้นที่ชายฝั่งที่มีน้ำเกลือปริมาณมากสามารถมีน้ำดื่มสะอาดใช้ดื่มได้ ที่คุณสามารถผลิตได้เอง
Link กิจกรรม
https://www.facebook.com/kulibpr/posts/pfbid0avYHAs2jpnNgiaT6NLoS9Suw7FnEB8wHDDNDMCps6Z4oN1jo9qNVK25HqD39nXjnl?notif_id=1662540770638829&notif_t=feedback_reaction_generic&ref=notif

• สำนักหอสมุด เชิญชวน FC หอสมุด และคนกรุงมาปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น มาปิดไฟ เพื่อเปิดแอร์ให้โลก กับแคมเปญเพื่อโลก "Earth Hour ปิดไฟ 1 ชั่วโมงเพื่อลดโลกร้อน ดีเดย์คืนวันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 20.30 - 21.30 น. เพื่อเป็นการรณรงค์ลดการใช้พลังงาน สร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนตลอดจนประชาชนให้มีจิตสานึกเป็นหนึ่งเดียวกัน ที่จะช่วยกันแก้ไข และบรรเทาสาเหตุที่จะนำไปสู่วิกฤตการณ์อันเกิดจากภาวะโลกร้อนในอนาคต มาปิดเพื่อเปลี่ยนกันนะคะ
Link กิจกรรม
https://business.facebook.com/photo.php?fbid=341425781358222&set=a.310169451150522&type=3&theater


• 22 เมษายน 2565 วันคุ้มครองโลก Earth day เป็นวันที่จัดตั้งขึ้น เพื่อตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในเรื่องของมลภาวะทางอากาศ ปัญหาน้ำเน่าเสีย และการตัดไม้ทำลายป่า รวมถึงในแง่ของพลังงานด้านต่าง ๆ และปัญหาเรื่องน้ำก็นับว่าเป็นปัญหาสำคัญอันดับต้นๆ ที่ควรจัดการแก้ไข หลายพื้นที่ขาดแคลนน้ำสะอาด จะดีแค่ไหนหากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม ที่ตั้งอยู่พื้นที่ใกล้หรือติดทะเล สามารถนำน้ำทะเลเข้าสู่กระบวนการผลิตเพื่อให้ได้น้ำจืดมาใช้อุปโภค บริโภค และลดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง หากได้ลองศึกษาวิธีระบบผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล ( Desalination Plant )
Link กิจกรรม
https://business.facebook.com/photo.php?fbid=358997392934394&set=a.310169451150522&type=3&theater


• สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมออนไลน์ ZOOM MEETING โดยท่านสามารถเลือกเข้าอบรมได้ทั้ง 2 หัวข้อ
o วันพุธที่ 27 เมษายน 65 เวลา 13.00 – 16.00 น. หัวข้อ : พลังงานสะอาดและแนวโน้มการใช้พลังงานสะอาดในประเทศไทย
o วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 65 เวลา 13.00 – 16.00 น หัวข้อ : บาลานซ์ชีวิตวิถีใหม่ในยุค New Normal กับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
Program : แนวทางในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมยุค New Normal มาตรฐานประสิทธิภาพสินค้าพลังงานต่ำ หลักการของ ISO; 50001 มาตรฐานระบบจัดการด้านพลังงาน ปัจจัยที่ทำให้การอนุรักษ์พลังงานเกิดผลสำเร็จ
วิทยากร โดย รศ.(กิตติมศักดิ์) ดร บุญชนะ วิชัยกุล ผู้ทรงคุณวุฒิจากบริษัท CBM Security & Facilities Management (Thailand) ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 27 เมษายน 2565 ได้ที่ https://bit.ly/3jRyRPa ( อบรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ) ติดต่อประสานงาน คุณศสิญา แก้วนุ้ย โทร 08 6478 9334
Link กิจกรรม
https://business.facebook.com/photo.php?fbid=360327322801401&set=a.310169454483855&type=3&theater

o พลังงานสะอาด “การผลิตพลังงานทดแทนจากหญ้าเนเปีย”
จากการผลิตกระแสไฟฟ้าจากหญ้าเนเปีย จากการวิจัย พบว่าหญ้าเนเปีย อายุประมาณ 60 วัน เมื่อทำการเก็บเกี่ยว และผ่านกระบวนการหมัก จะเกิดการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion) ได้ผลผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ โดยหญ้าเนเปียสด 1 ต้น สามารถทำการผลิตก๊าซชีวภาพได้ 90 ลูกบาศก์เมตร เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า 170 กิโลวัตต์ต่อวัน และถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับพลังงานทดแทนจากหญ้าเนเปีย ?? สามารถติดตามชม "ประโยชน์ของหญ้าเนเปียร์" ได้ในรายการอยู่ดินกินดี ในวันที่ 24 มิถุนายน 2565 เวลา 11.00 ทาง Youtube : kulibrary >> https://www.youtube.com/c/KULibrarychannel ได้รู้ลึก ถึงรากแน่นอน
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2562
Link กิจกรรม
https://business.facebook.com/photo.php?fbid=386034333564033&set=a.310169451150522&type=3&theater


o แอดชวนคุณมารักษ์โลก มาช่วยกันปกป้องโลกใบนี้ของเราด้วยกัน มาหาแรงบันดาลใจกับขบวนหนังสือและภาพยนตร์ดี ๆ หลากหลายเรื่องมาให้อ่าน ให้ชมกันแบบจุกๆ ไปเลยค่ะ
? อยากปลุกจิตสำนึก + หาแรงบันดาลใจ เลือกเรื่องที่ชอบได้เลย
1. ยืมหนังสือด้วยตัวเองที่หอสมุด
2. ยืมหนังสือและจัดส่งทางไปรษณีย์ บริการสำหรับนิสิตและบุคลากร มก. และต้องเป็นหนังสือของสำนักหอสมุดบางเขนเท่านั้น >> https://bit.ly/3absmzx
3. ยืมหนังสือและรับด้วยตนเองที่ตู้ล็อคเกอร์ >> https://bit.ly/3sBNJFn
4. ยืมและส่งที่ห้องสมุดคณะ >> https://bit.ly/370n3nW
? สำหรับบุคคลที่ไม่ใช่นิสิต มก. สามารถอ่านตามได้ ยืมได้ ด้วยการสมัครแพ็คเกจ สมัครสมาชิกในราคาพิเศษสุด!! อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3x4fGIj
Link กิจกรรม
https://business.facebook.com/photo.php?fbid=390625123104954&set=a.310169451150522&type=3&theater


o 4 ข้อดีของ “พลังงานฟิวชัน” พลังงานที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
1. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะพลังงานจากนิวเคลียร์ฟิวชั่นไม่มีการเผาผลาญเชื้อเพลิงคาร์บอน เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดฝุ่นควันและมลพิษที่เป็นอันตรายต่อผู้คน รวมถึงไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนอีกด้วย
2. ขุมพลังงานที่ยั่งยืน เพราะหากมนุษย์สามารถประดิษฐ์เทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชั่นได้อย่างสมบูรณ์แบบจนเหมือนกับ “ดวงอาทิตย์” ที่จะเผาไหม้และปลดปล่อยพลังงานต่อเนื่องได้อีกเป็นระยะเวลากว่า 1 พันล้านปีต่อจากนี้ นั่นหมายความว่า เราจะมีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างเหลือเฟือ
3. มีความปลอดภัยสูง ปฏิกิริยาฟิวชั่นนั้นแตกต่างจากปฏิกิริยาฟิสชั่นอย่างสิ้นเชิง โดยหากอุณหภูมิหลายล้านองศาเซลเซียสลดลง เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือภัยพิบัติกับอุปกรณ์ ปฏิกิริยาฟิวชั่นก็จะหยุดลงด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ยังไม่ก่อให้เกิดสารกัมมันตภาพรังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศ
4. ประสิทธิภาพสูงกว่า เพราะเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ฟิวชั่นเพียง 1 กิโลกรัมสามารถให้พลังงานในปริมาณเทียบเท่ากับเชื้อเพลิงฟอสซิล 10 ล้านกิโลกรัม และเมื่อนำไปเปรียบกับขั้วตรงข้ามอย่างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิสชั่นแล้ว ฟิวชั่นผลิตพลังงานได้สูงกว่าถึง 4 เท่าเลยทีเดียว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.bangkokbankinnohub.com/th/what-is-fusion-power/
Link กิจกรรม
https://business.facebook.com/photo.php?fbid=442612754572857&set=a.310169451150522&type=3&theater

 

Green Gallery   
       
       
ประชุม / อบรม / สัมมนา ศึกษาดูงาน กิจกรรมบุคลากร ภาพประทับใจ

Quick Links

เอกสารประกอบการอบรม โครงการฝึกอบรม "การพัฒนาผู้ตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว" วันที่ 29-30 มกราคม 2561

- แนวทางการคัดแยกขยะมูลฝอย
- การจัดการพลังงานในห้องสมุด
- การจัดการสารสนเทศห้องสมุด
- หลักการและวิธีการตรวจประเมิน

Green Library
- 18 กรกฎาคม 2560 การประชุมหน่วยงานความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ครั้งที่ 4 ประจำปี 2560
9 มิถุนายน 2560 การฝึกอบรมหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมก้าวสู่ห้องสมุดสีเขียว”
2-4 พฤศจิกายน 2559 การฝึกอบรมหัวข้อ “การตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว”
29 กันยายน 2558 การอบรมหัวข้อ “โอกาสในการประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานสีเขียว เพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว”
นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เครือข่ายห้องสมุดสีเขียว 43 แห่ง และที่ปรึกษา
มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว พ.ศ. 2558
เกณฑ์การพัฒนาห้องสมุกสีเขียวข้อกำหนด เกณฑ์การพัฒนาห้องสมุกสีเขียว ข้อกำหนดแนวทางเชิงปฏิบัติ และวิธีการตรวจประเมิน พ.ศ.2559 
ห้องสมุดสีเขียว วิธีการตรวจประเมิน

Download /Form
- มาตรฐานสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- เกณฑ์การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ข้อกำหนด แนวทางปฏิบัติ และวิธีการตรวจประเมิน พ.ศ.2559
เอกสารประกอบการประชุม การฝึกอบรมการประเมินห้องสมุดสีเขียว วันที่ 2-4 พฤศจิกายน 2559
การจัดการพลังงานในห้องสมุด ( สีเขียว )
ห้องสมุดสีเขียว วิธีการตรวจประเมิน
ห้องสมุดสีเขียว ข้อกำหนดและแนวทางเชิงปฏิบัติ
- ฟอร์มแสดงผลการตรวจประเมินความสอดคล้องตามข้ออกำหนดของมาตรฐานห้องสมุดสีเขียวและระดับคะแนน
โครงการสํานักงานสีเขียว
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ในห้องสมุด
แบบฟอร์มการรายงานผลห้องสมุดสีเขียว
เอกสารการบรรยายหัวข้อ โอกาสในการประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานสีเขียว เพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว

Green Database
-
ฐานข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
คลังความรู้สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ

Carbon Footprint
ห้องสมุดคาร์บอนนิวทรัลแห่งแรกของประเทศไทย

KM / Document
Green e-Book
Green Book

เอกสารดาวน์โหลดทั้งหมด >>

Back to top