Hybrid Learning
ผู้เรียบเรียง
ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล
บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Hybrid Learning การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่เกิดจากการบูรณาการระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบในห้องเรียนร่วมกับการเรียนรู้แบบออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ โดยใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายควบคู่กัน ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทของผู้เรียนและสถานที่ได้ จึงส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เข้าถึงผู้เรียนและสอดคล้องกับโลกในยุคปัจจุบัน
องค์ประกอบของการเรียนแบบ Hybrid Learning
- Learning Environment สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสมทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์
- Class Community การจำลองการเรียนในห้องเรียนให้เกิดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ทุกคนสามารถช่วยกันให้ข้อมูล พูดคุยกันได้
- Lesson Design การสร้างเนื้อหาบทเรียนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถนำข้อดีของเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ได้
- Engagement and Interactivity ระหว่างการเรียนรู้แบบออนไลน์หรือออฟไลน์ จะต้องมีกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและโต้ตอบเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียน
- Assessment and Feedback จะต้องมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและให้ผลป้อนกลับได้
แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบ Hybrid Learning
- Maintain The Time Routine การเรียนการสอนยังใช้ตารางเวลาเรียนแบบเดิม แต่เปลี่ยนมาใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อสร้างวินัยในการเรียนแม้จะอยู่ที่บ้าน
- Assign Homework ผู้สอนควรมอบหมายการบ้านเป็นส่วนๆ ในแต่ละครั้งที่จัดการเรียนการสอน
- Create Learning Media ผู้สอนต้องเตรียมหรือสร้างสื่อการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ
- Live without Everyone to Join การสอนออนไลน์ไม่จำเป็นต้องสอนสดตลอดเวลา เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนอาจมีความพร้อมในด้านอุปกรณ์ เวลาไม่เท่ากัน อาจใช้การพูดคุยกันหลังจากผู้เรียนได้ดูสื่อการเรียนรู้มาแล้ว
- Don’t The Learners Stay with a Monitor All Day ผู้สอนควรให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่หลากหลาย อย่าให้ผู้เรียนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน
- Get Parents Participate ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถให้ผู้ปกครองได้ร่วมกันทำกับผู้เรียนได้ อาจส่งแผนการเรียนให้ผู้ปกครองทราบและช่วยติดตามผลการเรียนได้ด้วย
- Use Online Platform ใช้เครื่องมือจัดการเรียนรู้ออนไลน์ต่างๆ ที่สามารถแบ่งปันสื่อการเรียนรู้
การประยุกต์ใช้ Hybrid Learning
- การสอนออนไลน์สด ควรใช้เวลา 45 นาที –1 ชั่วโมงต่อครั้ง ไม่ควรสอนเกิน 6-8 ชั่วโมงต่อเนื่องกันใน 1 วัน
- ผู้สอนต้องสร้างสื่อการเรียนการสอน อาจแบ่งออกเป็น 2-3 ตอนในแต่ละบทเรียน และแต่ละตอนใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที การทำสื่อการสอนจาก PowerPoint แปลงเป็นคลิปวิดีโอแบบง่ายๆ และอัพโหลดคลิปวิดีโอไว้บน YouTube
- ผู้สอนควรจัดทำสื่อในรูปแบบเอกสารดิจิทัล เพื่อให้ผู้เรียนที่ไม่สะดวกเปิดวิดีโอหรืออินเทอร์เน็ตไม่เสถียร สามารถอ่านและทบทวนเนื้อหาได้ง่าย
- การกระตุ้นความสนใจด้วยการเล่นเกมตอบคำถาม เพื่อให้ผู้เรียนตื่นตัวตลอดเวลา
- ผู้สอนควรสร้างห้องเรียนออนไลน์บนระบบคลาวด์ การอัพโหลดสื่อการเรียนรู้ ระบบส่งการบ้าน ระบบการสอบออนไลน์
- การแชร์ไฟล์เอกสารเพื่อทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์
ข้อดีของการเรียนรู้ แบบ Hybrid Learning
- ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
- สามารถดึงดูดและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้ดี
- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้าบทเรียนได้ทุกเวลา ทุกสถานที่
- ช่วยพัฒนาบุคลากรผู้สอนให้มีความสามารถหลากหลายขึ้น
- ตอบสนองต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
- ผู้เรียนสามารถพูดคุยสอบถามกับครูผู้สอนได้สะดวกมากขึ้นผ่านช่องทางออนไลน์
- ลดการเดินทาง ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
- ผู้สอนมีเวลาเตรียมการสอนมากขึ้น และสามารถเข้าถึงนักเรียนได้มากขึ้น ผ่าน live-streaming หรือวิดีโอ
- ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการเชื่อมโยงความรู้และเกิดการพัฒนาความคิดวิเคราะห์เชิงวิจารณญาณ ความคิดร้างสรรค์ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการเรียนการสอนแบบ Hybrid Learning
- การสร้างความตระหนักและตื่นตัวถึงความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานแบบ Hybrid Learning
- การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีให้กระจายครอบคลุมทั่วประเทศ
- การส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจังของภาครัฐในการติดตามและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตลอดจนประเมินคุณภาพการเรียนการสอนให้เป็นมาตรฐานสากล

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Audio Visual Design. (2565). ห้องเรียนยุคใหม่ รองรับการใช้งานแบบ Hybrid Learning. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2565, จาก https://avl.co.th/blogs/hybrid-learning/
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2564). Hybrid Learning ทางรอดของการศึกษาสมัยใหม่. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/89235/-blog-teaartedu-teaart-
touchpoint. (2564). Hybrid Learning : การเรียนรู้แบบปรับเปลี่ยนได้. สืบค้น 23 พฤษภาคม 2565, จาก https://bit.ly/2Su3LD4
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
Gupta, C. P., & Ravi Kumar, V. V. (2022). Hybrid Learning Challenges and Knowledge Management: Role of Information Technology. 2022 9th International Conference on Computing for Sustainable Global Development (INDIACom), Computing for Sustainable Global Development (INDIACom), 2022 9th International Conference On, 330–336. https://doi.org/10.23919/INDIACom54597.2022.9763167
Sedjelmaci, H., Senouci, S., Ansari, N., & Boualouache, A. (2022). A Trusted Hybrid Learning Approach to Secure Edge Computing. IEEE Consumer Electronics Magazine, Consumer Electronics Magazine, IEEE, IEEE Consumer Electron. Mag, 11(3), 30–37. https://doi.org/10.1109/MCE.2021.3099634
Li, H., Ren, Z., Xu, Y., Wenyuan, L., & Hu, B. (2022). A Multi-Data Driven Hybrid Learning Method for Weekly Photovoltaic Power Scenario Forecast. IEEE Transactions on Sustainable Energy, Sustainable Energy, IEEE Transactions on, IEEE Trans. Sustain. Energy, 13(1), 91–100. https://doi.org/10.1109/TSTE.2021.3104656
Purahong, B., Sithiyopasakul, S., Sithiyopasakul, P., Anuwongpinit, T., Archevapanich, T., & Vichaiva, P. (2021). Hybrid learning during the COVID-19 pandemic of engineering students at KMITL, Thailand. 2021 6th International STEM Education Conference (ISTEM-Ed), STEM Education Conference (ISTEM-Ed), 2021 6th International, 1–4.
https://doi.org/10.1109/iSTEM-Ed52129.2021.9625090
Yang, M., Qu, Q., Shen, Y., Zhao, Z., Chen, X., & Li, C. (2021). An Effective Hybrid Learning Model for Real-Time Event Summarization. IEEE Transactions on Neural Networks and Learning Systems, Neural Networks and Learning Systems, IEEE Transactions on, IEEE Trans. Neural Netw. Learning Syst, 32(10), 4419–4431.
related post you may also like

Google Bard : AI Chatbot

การเกษตรแบบไร้ขยะ

เทรนด์อาหารสุขภาพ ปี 2023
