Microalgae คุณค่าสาหร่ายขนาดเล็ก: อาหารและโภชนาการ; พลังงานทดแทน; การจัดการสิ่งแวดล้อม; การวิจัยทางด้านชีววิทยา

ผู้เรียบเรียง
วินัย มะหะหมัด
บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 

          ไมโครแอลจี แพลงก์ตอนพืช หรือ สาหร่ายขนาดเล็ก พบได้ทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม มีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลของห่วงโซ่อาหาร และระบบนิเวศน้ำ เป็นพืชที่
เพาะปลูกง่ายใช้พื้นที่น้อย เติบโตรวดเร็ว มีคุณค่าทางโภชนาการสูง สามารถใช้บำบัดคุณภาพน้ำ เติบโตได้ทั้งแหล่งน้ำดี หรือแหล่งปนเปื้อน บริเวณพื้นที่ชื้นแฉะ และน้ำขัง แหล่งน้ำจืด กร่อย เค็ม ด้วยความสามารถในการปรับตัวนี้ทำให้ไมโครแอลจีจึงได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่อาหารและโภชนาการ พลังงานทดแทน การบำบัดสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการศึกษาวิจัยทางด้านชีววิทยา

คุณค่าด้านโภชนาการอาหาร

ไมโครแอลจี เป็นแหล่งโปรตีนทางเลือกที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีกรดอะมิโนที่ครบถ้วน บางชนิดมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และสารต้านการอักเสบ ซึ่งช่วย
ส่งสริมสุขภาพลำไส้ (Eilam et al., 2023; Pagels et al., 2022; Sarıtaş et al., 2024) ตัวอย่างเช่น Spirulina เป็นหนึ่งในไมโครแอลจีที่ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง    มีการนำไปใช้เป็นอาหารเสริม และนอกจากนี้ไมโครแอลจียังอุดมด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวโอเมก้า 3 ทั้ง EPA และ DHA ที่สำคัญในการพัฒนาสมองและระบบประสาท ไมโครแอลจีบางสายพันธุ์ เช่น Chlorella และ Haematococcus pluvialis ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ ที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระสูง

ที่มา: https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC9489850/figure/F1/ 

คุณค่าด้านพลังงานและการผลิตไบโอดีเซล

ไมโครแอลจี เป็นแหล่งพลังงานชีวภาพที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากสามารถผลิตไขมันที่ใช้ในการสร้าง  ไบโอดีเซลได้ในปริมาณมาก และมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็ว 
การผลิตไบโอดีเซลจาก ไมโครแอลจี มีข้อดีหลายประการ เช่น การใช้พื้นที่น้อย ความสามารถในการเติบโตในน้ำเสีย และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 
เทคโนโลยีล่าสุดสำหรับการผลิตไบโอดีเซล เช่น การเหนี่ยวนำไขมันและการสกัดไขมัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ    ในการผลิตและลดต้นทุน (Zhang et al., 2022)

คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมและการบำบัดน้ำเสีย

ไมโครแอลจี  ยังมีศักยภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย โดยสามารถดูดซับกำจัดสารพิษจากน้ำเสียจากสารอาหารส่วนเกินในน้ำ เช่น ไนโตรเจนฟอสฟอรัส และโลหะหนัก 
และยังมีสารประกอบที่มีมูลค่าเพิ่มหลายประเภทซึ่งมีประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เช่น สารชีวภาพและพลังงานชีวภาพ การเพาะเลี้ยง ไมโครแอลจี 
ร่วมกับจุลินทรีย์อื่น ๆ ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดสารพิษและลดต้นทุนของกระบวนการบำบัดน้ำเสีย (Abdelfattah et al., 2023)

คุณค่าด้านการศึกษาวิจัยทางด้านชีววิทยา

ไมโครแอลจี เป็นโมเดลสำหรับการวิจัยด้านชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ เนื่องจากมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและสามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมที่
หลากหลาย (Abdelfattah et al., 2023; Sarıtaş et al., 2024) นักวิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ ไมโครแอลจี ในการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น กรดไขมัน
โอเมก้า-3 และโปรตีน เพื่อพัฒนาอาหารเสริมและยาใหม่ ๆ (Sarıtaş et al., 2024) นอกจากนี้ยังมีการศึกษาความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อ
ช่วยลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน (Abdelfattah et al., 2023). 
ไมโครแอลจีเป็นพืชทรัพยากรธรรมชาติที่มีศักยภาพสูงและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในด้านอาหารและโภชนาการ พลังงานทดแทน การจัดการสิ่งแวดล้อมและการวิจัยด้วยคุณสมบัติโดดเด่นที่มีความสามารถในการเจริญเติบโตได้ในสภาวะที่หลากหลาย ทำให้ไมโครแอลจีเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการศึกษาวิจัยช่วยแก้ไขปัญหาความท้าทายระดับโลก เช่น การผลิตอาหารแหล่งอนาคต (superfood) การใช้ประโยชน์ในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ลดมลพิษทางด้านสิ่งแวดล้อม ถึงแม้ว่าจะมีการวิจัยเกี่ยวกับไมโครแอลจีอย่างกว้างขวาง ประเด็นสำคัญในการศึกษาวิจัยก็คือ การลดต้นทุนกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรม นักวิจัยจึง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งผู้กำหนดนโยบาย และผู้ประกอบการ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

ยุวดี พีรพพิศาล, ฐิติกานต์ ปัญโญใหญ่, & ดวงพร อมรเลิศพิศาล. (2555). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของสาหร่ายเตา. 
          วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 40(1), 228-235.

Abdelfattah, A., Ali, S. S., Ramadan, H., El-Aswar, E. I., Eltawab, R., Ho, S. H., . . . Sun, J. (2023). Microalgae-based wastewater treatment:
           Mechanisms, challenges, recent advances, and future prospects. Environ Sci Ecotechnol, 13, 100205.
           https://doi.org/10.1016/j.ese.2022.100205

Eilam, Y., Khattib, H., Pintel, N., & Avni, D. (2023). Microalgae—Sustainable Source for Alternative Proteins and Functional Ingredients
           Promoting Gut and Liver Health. Global Challenges, 7(5), 2200177. 
           https://doi.org/https://doi.org/10.1002/gch2.202200177

Pagels, F., Amaro, H. M., Tavares, T. G., Amil, B. F., & Guedes, A. C. (2022). Potential of Microalgae Extracts for Food and Feed
           Supplementation-A Promising Source of Antioxidant and Anti-Inflammatory Compounds. Life (Basel), 12(11).
           https://doi.org/10.3390/life12111901

Sarıtaş, S., Kalkan, A. E., Yılmaz, K., Gurdal, S., Göksan, T., Witkowska, A. M., . . . Karav, S. (2024). Biological and Nutritional 
           Applications of Microalgae. Nutrients, 17(1). https://doi.org/10.3390/nu17010093

Zhang, S., Zhang, L., Xu, G., Li, F., & Li, X. (2022). A review on biodiesel production from microalgae: Influencing parameters 
           and recent advanced technologies [Review]. Frontiers in Microbiology, Volume 13 - 2022.
           https://doi.org/10.3389/fmicb.2022.970028

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ครรชิต เงินคำคง. (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบผลิตก๊าซชีวภาพด้วยจุลสาหร่าย [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,  มหาวิทยาลัย
            เชียงใหม่]. http://mdc.library.mju.ac.th/thesis/2561/khanchit_ngoenkhamkhong/fulltext.pdf

ครรชิต เงินคำคง, ศิราภรณ์ ชื่นบาล, ฐปน ชื่นบาล, & นันท์นภัส เงินคำคง. (2560). ประสิทธิภาพการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็ก 
          The Efficiency of CO2 Capture by Green Microalgae. วารสาร มทร.อีสาน, 10(2), 119-129. 
          https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/rmutijo/article/view/96537/75309 

ณัฐวุฒิ ยอดสุวรรณ. (2562). การเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กระดับขยายกำลังผลิตเพื่อผลิตน้ำมันสาหร่ายและไบโอดีเซล [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, 
             มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]. https://www-lib-ku-ac-th.kasetsart.idm.oclc.org/KUthesis/2562/natthawut-yod-all.pdf 

ศิราภรณ์ ชื่นบาล, ฐปน ชื่นบาล, & รุ่งทิพย์ กาวารี. (2558). การลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ด้วยจุลสาหร่ายในระบบผลิตก๊าซชีวภาพ.
             http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2558/siraporn_cheunbarn_2557/fulltext.pdf

อภิญญา รุจาคม, สรัลภัทร ชูสุวรรณ, ปองชนก นวลนาถ, & สุนทรต์ ชูลักษณ์. (2567). การสกัดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารออกฤทธิ์
             ทางชีวภาพจากสาหร่ายทะเลขนาดเล็ก Tetraselmis gracilisBIMS-PP017. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 52(2), 219-234. 
             https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/256387/172464  

อัจฉริย์ กรมเมือง, ฉัตรชัย กันยาวุธ, & อิทธิศักดิ์ เภาโพธิ์. (2564). การบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยจุลสาหร่าย คลอโรคอคคัม ฮิวมิโคล่า 
             ในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพใช้แสงแบบอากาศยก. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 11(1), 55-67. 
             https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jitubru/article/view/228434 

Natthawut Yodsuwan, Nahatai Chamchuang, Yothaka Puchcha & Sarote Sirisansaneeyakul. (2013). 
             Seminar on Natural Resources Adaptation to the Global Climate Change: Extended Abstracts. 
             Laboratory-scale microalgae cultivation for oil/biodiesel production. (pp.). The Commission on Higher 
             Education, Bangkok (Thailand). Higher Education Research Promotion and National Research University 
             (HERP-NRU). https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/kukr/search_detail/result/203170

ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล | 07/05/2568 | 24 | share : , ,

related post you may also like


แบบประเมิน