Floating Cities : นวัตกรรมรับมือน้ำทะเลล้นโลก
ผู้เรียบเรียง
ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล
บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิด จากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณมหาศาล การ สะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทนและไนตรัสออกไซด์ ได้ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาวะโลกร้อนนี้เป็นตัวขับเคลื่อนหลักที่นำไปสู่ปัญหาการเพิ่มขึ้นของ ระดับน้ำทะเล ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบเชิงระบบในวงกว้างต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองใหญ่และศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก การ เพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลมีสาเหตุจากการที่อุณหภูมิของมหาสมุทรสูงขึ้นทำให้มวลน้ำเกิดการขยายตัว เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้นส่งผลให้ธารน้ำแข็งบนภูเขาและแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ละลายในอัตราเร่งไหลลงสู่มหาสมุทร จากผลกระทบดังกล่าวทำให้เกิดการพัฒนามาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือกับสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงและคาดเดาได้ยากขึ้น
ผลกระทบจากการสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลส่งผลต่อทั้งมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ดังนี้
ด้านสังคม ประชากรในพื้นที่ชายฝั่งต่ำต้องเผชิญกับการสูญเสียที่อยู่อาศัย การพลัดถิ่น และการสูญเสียวิถีชีวิตดั้งเดิม ประชากรในพื้นที่เหล่านี้อาจต้องอพยพไปยังพื้นที่อื่นส่งผลให้เกิดปัญหาจำนวนผู้ลี้ภัยมากขึ้น
ด้านเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐานชายฝั่งที่มีมูลค่าสูงกำลังเสี่ยงต่อความเสียหาย รวมถึงการเกษตรในพื้นที่ชายฝั่งยังได้รับผลกระทบจากการรุกล้ำของน้ำเค็ม ทำให้ผลผลิตลดลงและเกิดปัญหาความมั่นคงทางอาหาร
ด้านสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศสิ่งมีชีวิตชายฝั่งต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ บางพื้นที่อาจสูญหายไปหากไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ส่งผลต่อความหนาแน่นของสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศ
แนวคิด “เมืองลอยน้ำ” จึงได้รับความสนใจในฐานะทางเลือกใหม่ของการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ที่สามารถปรับตัวได้กับสภาวะแวดล้อมทางทะเล ซึ่งแนวคิดนี้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่เผชิญปัญหาน้ำท่วมและพื้นที่จำกัด เมืองลอยน้ำก็คือความสามารถในการลอยตัวและปรับตัวตามระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะอยู่ในมหาสมุทร ทะเลสาบ หรือแม่น้ำขนาดใหญ่ เมืองลอยน้ำสมัยใหม่ต้องมีระบบที่ครบครันและยั่งยืน ประกอบด้วยโครงสร้างลอยน้ำที่มั่นคง ระบบสาธารณูปโภคที่เหมาะสม การจัดการของเสียและน้ำเสีย แหล่งพลังงานทดแทน ระบบการผลิตอาหาร และการเชื่อมต่อกับชุมชนภายนอก นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยทางสังคมและจิตวิทยาของผู้อยู่อาศัยเพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นชุมชนและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีระบบสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันเทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับเมืองบนบก

ประเภทของเมืองลอยน้ำ
เมืองลอยน้ำขนาดเล็ก เป็นชุมชนที่รองรับประชากรไม่เกินหลักพันคน เหมาะสำหรับการทดลองแนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ๆ
เมืองลอยน้ำขนาดกลาง เป็นชุมชนที่รองรับประชากรหลักหมื่นคน มีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยที่ชัดเจน ทั้งที่อยู่อาศัย พาณิชกรรม การศึกษา และสาธารณสุข เหมาะสำหรับการเป็นชุมชนที่สมบูรณ์และพึ่งพาตนเองได้ในระดับหนึ่ง
เมืองลอยน้ำขนาดใหญ่ เป็นแนวคิดที่ยังอยู่ในขั้นทฤษฎี สำหรับรองรับประชากรหลักแสนคนขึ้นไป ต้องการเทคโนโลยีขั้นสูงและการลงทุนมหาศาล แต่จะมีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและสร้างเศรษฐกิจขนาดใหญ่
นอกจากการจำแนกตามขนาดแล้ว ยังสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ เช่น เมืองลอยน้ำเพื่อการอยู่อาศัย เมืองลอยน้ำเพื่อการวิจัย เมืองลอยน้ำเพื่อการท่องเที่ยว และเมืองลอยน้ำเพื่อการผลิตพลังงาน
เทคโนโลยีและวิศวกรรมของเมืองลอยน้ำ
การก่อสร้างเมืองลอยน้ำให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงยั่งยืนและน่าอยู่อาศัยนั้น จำเป็นต้องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและหลักการทางวิศวกรรมที่ซับซ้อนในหลากหลายสาขา ตั้งแต่วัสดุศาสตร์ โครงสร้าง ไปจนถึงระบบสาธารณูปโภคที่พึ่งพาตนเองได้ เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้แนวคิดเมืองลอยน้ำสามารถเปลี่ยนจากจินตนาการมาสู่ความเป็นจริง
1. วัสดุและโครงสร้าง (Materials and Structures)
การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการออกแบบเมืองลอยน้ำ เนื่องจากต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมทางทะเลที่รุนแรงและกัดกร่อนตลอดเวลา วัสดุหลักที่นิยมนำมาใช้งาน ได้แก่
- คอนกรีตน้ำหนักเบา เป็นวัสดุที่มีความทนทานสูงต่อการกัดกร่อนของน้ำเค็ม และมีความสามารถในการลอยตัวที่ดีเมื่อออกแบบให้มีช่องว่างอากาศภายใน นอกจากนี้ยังสามารถขึ้นรูปได้หลากหลายและมีต้นทุนการผลิตที่ควบคุมได้เมื่อเทียบกับวัสดุบางชนิด
- เหล็ก มีความแข็งแรงสูง รับน้ำหนักได้ดี และมีความยืดหยุ่น ทำให้สามารถออกแบบโครงสร้างที่บางแต่แข็งแรงได้ดี แต่เหล็กมีข้อจำกัดด้านการกัดกร่อนจากน้ำเค็มที่รุนแรงกว่าคอนกรีตมาก จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคการป้องกันการกัดกร่อนขั้นสูง
- โพลีเมอร์และคอมโพสิต วัสดุที่มีน้ำหนักเบามาก ทนทานต่อการกัดกร่อนสูง และสามารถขึ้นรูปได้ซับซ้อน เหมาะสำหรับโครงสร้างที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมหาศาล หรือใช้เป็นส่วนประกอบเสริม แต่อาจมีต้นทุนที่สูงกว่าคอนกรีตและเหล็กในบางกรณี
- ไม้แปรรูป ผ่านกระบวนการแปรรูปพิเศษเพื่อเพิ่มความทนทานต่อการเน่าเปื่อยและแมลงในสภาพแวดล้อมทางน้ำ มีความสวยงามและกลมกลืนกับธรรมชาติ แต่ต้องมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ
2. ระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน (Utilities and Infrastructure Systems)
2.1 การจัดการน้ำ
- ระบบบำบัดน้ำเสีย จำเป็นต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียแบบวงปิด หรือระบบบำบัดขั้นสูงที่ไม่ปล่อยน้ำเสียที่ปนเปื้อนลงสู่สิ่งแวดล้อมทางทะเล เพื่อนำน้ำที่ถูกบำบัดแล้วเอากลับมาใช้ใหม่ได้ หรือปล่อยลงสู่ทะเลได้อย่างปลอดภัย
- การผลิตน้ำจืด โดยแยกเกลือออกจากน้ำทะเล การใช้วิธี Reverse Osmosis ซึ่งใช้พลังงานค่อนข้างต่ำและมีประสิทธิภาพสูง
2.2 พลังงาน
- พลังงานแสงอาทิตย์ สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบลอยน้ำได้แม้ในพื้นที่ที่มีคลื่น นอกจากนี้ผิวน้ำยังช่วยระบายความร้อนทำให้แผงโซลาร์เซลล์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
- พลังงานลม เหมาะสำหรับเมืองลอยน้ำที่อยู่ในพื้นที่ที่มีลมแรง กังหันลมทะเลมีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าสูง แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบจากเสียงและการรบกวนต่อสัตว์ทะเล
- พลังงานจากคลื่นและกระแสน้ำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากคลื่นสามารถติดตั้งใต้รอบๆ เมืองลอยน้ำ ส่วนพลังงานจากกระแสน้ำใช้กังหันใต้น้ำที่หมุนด้วยการไหลของน้ำ
- การเก็บกักพลังงานระบบแบตเตอรี่ หรือระบบกักเก็บพลังงานรูปแบบอื่น ๆ
2.3 การจัดการของเสีย
- ระบบบำบัดของเสียครบวงจร เน้นแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยการลด นำกลับมาใช้ซ้ำ และการรีไซเคิลขยะ
- การผลิตปุ๋ยหมักและก๊าซชีวภาพ ของเสียอินทรีย์สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยสำหรับแปลงผักลอยน้ำ หรือผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง
- ระบบบำบัดขยะขั้นสูง สำหรับขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ เพื่อลดปริมาณขยะและผลิตพลังงาน.
2.4 การเชื่อมต่อและการคมนาคม
- สะพานลอยน้ำและทางเชื่อมต่อระหว่างแพลตฟอร์มต่างๆ กับบนบก
- ระบบขนส่งทางน้ำ เรือขนาดเล็ก เรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า หรือยานพาหนะทางน้ำอัตโนมัติ จะเป็นระบบคมนาคมหลักภายในเมืองลอยน้ำ
- ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมหรือใยแก้วนำแสงใต้น้ำ เพื่อให้มั่นใจว่าเมืองลอยน้ำมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและโทรคมนาคมที่มีเสถียรภาพ
3. สถาปัตยกรรมและการออกแบบ (Architecture and Design)
- การออกแบบที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมทางทะเล อาคารและโครงสร้างต้องได้รับการออกแบบให้ทนทานต่อแรงลม คลื่น และความชื้นสูง การใช้รูปทรงที่ลู่ลม และการจัดวางโครงสร้างเพื่อลดผลกระทบจากคลื่น
- การสร้างพื้นที่สีเขียวและการเกษตรกรรมลอยน้ำ เพื่อเพิ่มความน่าอยู่และเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร
- การสร้างความเชื่อมโยงกับธรรมชาติ เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมทางน้ำ และอาจรวมถึงพื้นที่สำหรับนันทนาการทางน้ำ
4. นวัตกรรมเสริม (Ancillary Innovations)
- ระบบทำความเย็นและควบคุมอุณหภูมิ การออกแบบที่ใช้ประโยชน์จากการระบายอากาศตามธรรมชาติ การเลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนที่ดี และการใช้ระบบระบายความร้อนจากน้ำทะเลลึก
- เทคโนโลยี Smart City การนำระบบ Internet of Things, เซ็นเซอร์, และปัญญาประดิษฐ์ มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ไฟฟ้า ของเสีย การตรวจสอบโครงสร้างและการจัดการการจราจร
- การบูรณาการกับระบบนิเวศทางทะเล การออกแบบโครงสร้างใต้ผิวน้ำที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในทะเล
ข้อดีของเมืองลอยน้ำ
การปรับตัวต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น โครงสร้างถูกออกแบบมาให้ลอยขึ้นลงตามระดับน้ำทะเล ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากการจมน้ำหรือน้ำท่วมถาวร ไม่ว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด โครงสร้างก็ยังคงอยู่เหนือผิวน้ำ ซึ่งแตกต่างจากสิ่งปลูกสร้างบนบกที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการจมน้ำและต้องใช้มาตรการป้องกันที่มีต้นทุนสูงและไม่ยืดหยุ่น
การขยายพื้นที่ใช้สอยและการแก้ปัญหาการขาดแคลนพื้นที่ สามารถสร้างพื้นที่อยู่อาศัย กิจกรรมเชิงพาณิชย์ และพื้นที่สาธารณะใหม่ๆ บนผืนน้ำ โดยไม่ต้องพึ่งพาการถมทะเลซึ่งมีต้นทุนสูงและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง
ความยืดหยุ่นและการเคลื่อนย้าย เมืองลอยน้ำได้รับการออกแบบให้เป็นแบบโมดูลาร์หรือสามารถเคลื่อนย้ายได้ สามารถปรับเปลี่ยนขนาดหรือย้ายตำแหน่งของโครงสร้าง ในกรณีที่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง
การรบกวนระบบนิเวศน้อยกว่าการถมทะเล การก่อสร้างเมืองลอยน้ำมีการรบกวนต่อพื้นทะเลและระบบนิเวศใต้ผืนน้ำน้อยกว่าบนบก เนื่องจากโครงสร้างส่วนใหญ่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำทำให้สามารถรักษาระบบนิเวศทางทะเลดั้งเดิมไว้ได้บางส่วน และสามารถออกแบบให้มีการบูรณาการกับสภาพแวดล้อมทางทะเลเพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ
ศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมและการวิจัย การพัฒนาเมืองลอยน้ำต้องอาศัยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรมใหม่ๆ ในหลากหลายสาขา ทำให้เมืองลอยน้ำสามารถเป็นพื้นที่สำหรับการทดลอง การวิจัย และการแสดงต้นแบบของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ข้อจำกัดของเมืองลอยน้ำ
ต้นทุนการก่อสร้างและการบำรุงรักษา การสร้างเมืองลอยน้ำเป็นงานวิศวกรรมที่ซับซ้อนและใช้เทคโนโลยีเฉพาะทางซึ่งแตกต่างจากการก่อสร้างบนบกอย่างมาก ส่งผลให้ต้นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาโครงสร้างในสภาพแวดล้อมทางทะเลที่กัดกร่อนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลามีราคาสูงในระยะยาว
ความซับซ้อนทางวิศวกรรมและการรับมือกับสภาพอากาศที่รุนแรง การออกแบบเมืองลอยน้ำให้มีความมั่นคง ปลอดภัย และทนทานต่อสภาพอากาศทางทะเลที่รุนแรงเป็นความท้าทายทางวิศวกรรม ซึ่ง โครงสร้างจะต้องสามารถดูดซับแรงกระแทกจากคลื่นได้ดี ลดผลกระทบจากการเคลื่อนไหวที่อาจทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกไม่สบาย และต้องมีความสามารถในการรักษาเสถียรภาพภายใต้สภาวะที่ไม่เอื้ออำนวย
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล เมืองลอยน้ำยังคงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลได้หากไม่มีการจัดการที่เหมาะสมและยั่งยืน เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการไหลของกระแสน้ำและตะกอน, การบดบังแสงแดดที่ส่องลงสู่ระบบนิเวศใต้ผิวน้ำ, และการปล่อยมลพิษจากกิจกรรมของมนุษย์
กฎหมายและข้อบังคับ การพัฒนาเมืองลอยน้ำเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างใหม่ จำเป็นต้องกำหนดกรอบกฎหมายให้ชัดเจน เช่น กรรมสิทธิ์ การกำกับดูแลเขตอำนาจศาล การอนุญาตก่อสร้าง สิทธิ์ในการใช้ กฎหมายและอำนาจอธิปไตยในน่านน้ำสากล และการจัดการข้อพิพาทด้านอาณาเขต
การยอมรับทางสังคมและจิตวิทยา การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากการอยู่อาศัยบนบกมาสู่บนผืนน้ำอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย ผู้คนอาจมีความกังวลเกี่ยวกับความรู้สึกไม่มั่นคง การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่จำกัด รวมถึงความสัมพันธ์กับชุมชนบนบกและชุมชนลอยน้ำ
การบำรุงรักษาและการจัดการของเสียระยะยาว การป้องกันการกัดกร่อนจากน้ำเค็มและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในทะเลยังต้องใช้งบประมาณและเทคโนโลยีเฉพาะ นอกจากนี้การจัดการของเสียจากเมืองลอยน้ำต้องใช้ระบบที่ซับซ้อนและมีประสิทธิภาพสูงเพื่อป้องกันการปนเปื้อนสู่ทะเล
ความปลอดภัยและการอพยพในกรณีฉุกเฉิน การวางแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉินและภัยพิบัติเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ต้องมีระบบความปลอดภัยที่เข้มงวดและทดสอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยและทรัพย์สิน
กฎหมายและการเมือง การกำหนดกฎหมายและอำนาจอธิปไตยในน่านน้ำสากล การได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ และการจัดการข้อพิพาทด้านอาณาเขต
โครงการเมืองลอยน้ำที่โดดเด่นทั่วโลก
Oceanix City
โครงการแรกของโลกที่ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติ สร้างขึ้นที่เมืองปูซาน เมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ ลักษณะเป็นหมู่เกาะลอยน้ำ สามารถรองรับผู้อยู่อาศัยได้มากถึง 10,000 คนหรือราว 300 ครัวเรือน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน มีการออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้พลังงานทดแทน 100% และมีระบบการจัดการขยะแบบหมุนเวียน
Dogen City
เป็นแนวคิดการออกแบบเมืองใหม่ที่ลอยอยู่บนน้ำ มีขนาดใหญ่ในระดับที่รองรับผู้อยู่อาศัยได้กว่า 10,000 คน คิดค้นโดยบริษัทสตาร์ทอัพญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า N-ARK ได้รวมเอาความเป็นอัจฉริยะด้านต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการอาหาร สถาปัตยกรรม ข้อมูล การจัดการด้านพลังงาน โดยเน้นเรื่องของการดูแลสุขภาพแบบอัจฉริยะ
Maldives Floating City
โครงการเมืองลอยน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในมัลดีฟส์ รองรับประชากรได้ 20,000 คน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แนวคิดในการออกแบบให้มีลักษณะคล้ายปะการังและสามารถขยายตัวได้ตามต้องการ
Dubai Reef
โครงการสร้างสถาปัตยกรรมชุมชนลอยน้ำขนาดใหญ่ที่มีความยั่งยืน บนเกาะลอยน้ำในนครดูไบประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยการออกแบบมีลักษณะเรียบง่ายแต่ทันสมัยและให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
Oxagon
เมืองท่าลอยน้ำ ประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเมืองแห่งอนาคต Neom สมาร์ทซิตี้ขนาดมหึมาที่ดำเนินการโดยหุ่นยนต์และ AI ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาด 100% พร้อมเทคโนโลยีขั้นสูงที่ทันสมัย รวมถึง Internet of Things (IoT), AI และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั่วทุกซอกทุกมุมของเมือง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Lucía Burbano. (2024). Oceanix in Busan, the world’s first prototype of a resilient and sustainable
floating community. สืบค้นจาก
https://www.tomorrow.city/oceanix-busan-worlds-1st-sustainable-floating-city-prototype/
Hagbart Skage Alsos. (2023). What are floating cities and do we need them?.
สืบค้นจาก https://blog.sintef.com/ocean/what-are-floating-cities-and-do-we-need-them/
Hagbart Skage Alsos. (2023). What are floating cities and do we need them? สืบค้นจาก
https://blog.sintef.com/ocean/what-are-floating-cities-and-do-we-need-them/
Ankitha Gattupalli. (2023). Floating Cities of the Past and Future. สืบค้นจาก
https://www.archdaily.com/992148/floating-cities-of-the-past-and-future
Urban Creature. (2023). Dogen City เมืองลอยน้ำแห่งอนาคต ดูแลผู้อยู่อาศัยด้วยการแพทย์ล้ำสมัย พร้อม
รับมือสภาพอากาศและภัยพิบัติ. สืบค้นจาก https://urbancreature.co/dogen-city/
Shira Rubin. (2022). Why the Dutch embrace floating homes. สืบค้นจาก
https://www.bbc.com/future/article/20220202-floating-homes-the-benefits-of-living-on-
water
Milly Chan. (2022). A floating city in the Maldives begins to take shape. สืบค้นจาก
https://edition.cnn.com/style/article/maldives-floating-city-spc-intl
BigRentz. (2019). Floating Cities: Your Guide to the Future of Urban Construction.
สืบค้นจาก https://www.bigrentz.com/blog/floating-cities?srsltid=AfmBOopYfUD-
fc9TMRtcbi8ND_hkr4lWoNc_5Ok0s5kTxA-8qKHbDFlP
สถาบันการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. (2566). เมืองต้นแบบแห่งอนาคต OCEANIX
CITY "เมืองลอยน้ำต้นแบบความยั่งยืนแห่งแรกของโลก". สืบค้นจาก
https://hub.mnre.go.th/th/knowledge/detail/63604
Energy Thai Chamber. (2566). รู้จักกับ Dogen City เมืองลอยน้ำ แห่งอนาคต ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของ
สภาพภูมิอากาศ. สืบค้นจาก https://energy-thaichamber.org/dogen-city/
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
Ahmed, A., Azam, A., Zhang, Z., Yi, M., Aslam, T., Mugheri, S. A., Hao, D., Abdelrahman, M., &
Tairab, A. M. (2025). An isomorphic Froude scaling approach to bulbous-bottomed
buoys in wave energy converters for smart floating cities. Applied Ocean Research, 156.
https://doi.org/10.1016/j.apor.2025.104485
Kirimtat, A., Krejcar, O., & Tasgetiren, M. F. (2020). Evolutionary Computation for the
Development of Smart Floating Cities. 2020 IEEE International Conference on Industrial
Technology (ICIT), Industrial Technology (ICIT), 2020 IEEE International Conference On,
822–828. https://doi.org/10.1109/ICIT45562.2020.9067105
eriola, A. A., Alonge, A. A., & Ogudo, K. A. (2021). Network Architecture Design for Floating Cities.
2021 IEEE AFRICON, AFRICON, 2021 IEEE, 1–6.
https://doi.org/10.1109/AFRICON51333.2021.9570904
Ahmed A. EL-Shihy. (2024). A new approach for configuring modular floating cities: assessing
modular floating platforms by means of analytic hierarchy process. City, Territory and
Architecture, 11(1), 1–26. https://doi.org/10.1186/s40410-024-00228-6
Krystyna Januszkiewicz, Jakub Gołbiewski, Bartosz Czarnecki, & Adam Turecki. (2024).
Redefining Urbanism in Perspective of Climate Change: Floating Cities Concept. Arts,
13(6), 183. https://doi.org/10.3390/arts13060183
Wang, J., & Tamprasirt, A. (2024). “Smart city” and its implementation in concepts of cities of
future (floating cities). Architecture Image Studies, 5(2), 34–51.
https://doi.org/10.48619/ais.v5i2.955
Huimin Yang, Shuwen Zhao, & Chulsoo Kim. (2022). Analysis of floating city design solutions in
the context of carbon neutrality-focus on Busan Oceanix City. Energy Reports,
8(153–162), 153–162. https://doi.org/10.1016/j.egyr.2022.10.310
Antoniak, J. (2020). Taking Root in Floating Cities--Space, Environment, and Immigrant Identity in
Kerri Sakamoto’s Floating City. Studia Anglica Posnaniensia: International Review of
English Studies, 55(S2), 444. https://doi.org/10.2478/stap-2020-0022
Güneş MUTLU AVİNÇ, & Semra ARSLAN SELÇUK. (2023). Floating Cities: A Solution for Climate
Refugees? PLANARCH - Design and Planning Research, 7(1), 1–7.
https://doi.org/10.5152/Planarch.2023.221429
Waals, O., & van der Zanden, J. (2024). The Floating Future of Cities. Sea Technology, 65(1), 30–33.
https://research.ebsco.com/c/nysgmc/viewer/pdf/dvgqygdz5f