กฤษณา (Agarwood) ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจเพื่อเกษตรกร

 ผู้เรียบเรียง

ปิยะธิดา ปรางค์โคกกรวด

นักเอกสารสนเทศ ฝ่ายบริการ

 

“ไม้กฤษณา” (Agarwood หรือ Aquilaria spp.) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ไม้หอม” เป็นไม้ที่มีกลิ่นหอมและมีสรรพคุณที่น่าสนใจ สามารถใช้ผลิตเป็นยา บำบัดรักษาอาการติดเชื้อ โรคผิวหนัง และความเครียดต่างๆ ที่รู้จักกันว่า Aromatherapy หรือ สุคนธบำบัด ซึ่งเป็นศาสตร์ในการใช้น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการสกัดพืชหอม นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการป้องกันแมลง เห็บ และเหาได้ ในทางอุตสาหกรรมน้ำหอมใช้ไม้จำพวกน้ำมันระเหยหรือชัน โดยยางหรือชันที่พบในต้นกฤษณาจะมีกลิ่นหอมหวาน ทำให้กฤษณาเป็นน้ำมันหอมระเหยที่มีราคาแพงมาก ซึ่งประโยชน์ของไม้กฤษณาที่น่าสนใจมีดังนี้

  1. สกัดน้ำจากใบของไม้กฤษณามาใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน
  2. ใช้ในส่วนของเนื้อไม้มาสกัดเพื่อให้ได้กลิ่นหอม แก้อาการปวดศรีษะวิงเวียน
  3. ยาแก้หอบหืดด้วยการสกัดและผสมแบบตำราจีน
  4. เนื้อไม้ของไม้กฤษณาสามารถสกัดทำเป็นยาแก้ไข้ลดไข้ แก้ร้อนใน ขับเสมหะ หรือนำมาผสมเข้ากับยาหอมเพื่อรับประทาน
  5. ใบของไม้กฤษณา สามารถนำมาต้มเพื่อรักษาอาการภูมิแพ้ได้
  6. เป็นยาบำรุงเลือด

 

โดยไม้กฤษณาถือเป็นไม้ที่มีคุณค่า สามารถขายได้ราคาและมีสรรพคุณเหมาะแก่การสกัดเป็นน้ำหอม หรือการทำเป็นยา เมื่อนำไปสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย สารกฤษณาที่พบในเนื้อไม้เกิดจากกระบวนการหลั่งสารของต้นกฤษณาเพื่อมารักษาบาดแผลที่เกิดขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีการกระตุ้นชักนำให้เกิดสารในเนื้อไม้หลายวิธี เช่น การตอกตะปู การเจาะสว่าน การสับ หรือการใช้สารเคมี ซึ่งอาจไม่ได้ผลทำให้เกษตรกรสูญเสียค่าใช้จ่าย โดยทางสถานีวิจัยวนเกษตรตราด ได้แนะนำให้มีการปลูกไม้แบบผสมผสาน เพื่อเป็นการเสริมรายได้ให้เกษตรกร โดยแนะนำให้เกษตรกร ขายไม้กฤษณาทั้งต้น เพื่อลดความเสี่ยงในการกระตุ้น  หากทำให้ต้นไม้ตาย ซึ่งการขายทั้งต้นสามารถสร้างมูลค่าได้

 

อาทิเช่น จังหวัดระยองตั้งอยู่บนพื้นที่ EEC ที่มี GDP สูงลำดับที่ 2 ของประเทศ เป็นแหล่งปลูกพืชเกษตรที่สำคัญหลายชนิดโดย “ไม้กฤษณา” เป็นไม้หอมที่ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก ได้จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผลิตไม้กฤษณา (สวนหอมมีสุข) ตั้งอยู่ที่ ตำบลกะเฉด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง (29 พ.ค.2565) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศในการแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างผลผลิตจากไม้กฤษณาด้วยการผลิตแบบครบวงจร ตั้งแต่พันธุ์กล้า แก่นกฤษณา น้ำมันหอมระเหย โดยเฉลี่ยปลูกไม้กฤษณาคนละ 10,000 ต้นถือเป็นวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการต่อยอดการแปรรูปไม้กฤษณาเป็นพัฒนาผลิตภัณฑ์

 INFO Agarwood22

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

กรุงเทพธุรกิจ. วิสาหกิจชุมชนไม้กฤษณา โมเดลเศรษฐกิจฐานราก“ระยอง”. สืบค้น 9 กรกฎาคม 2565. Retrieved From https://www.bangkokbiznews.com/business/1013365

เกษตรศาสตร์นำไทย, สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ไม้กฤษณา ไม้เศรษฐกิจเพื่อเกษตรกร. สืบค้น 9 กรกฎาคม 2565. Retrieved From https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=74520

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร". การเกิดสารกฤษณา" ไม้หอมทรงค่าของเมืองไทย. สืบค้น 9 กรกฎาคม 2565. Retrieved From https://th-th.facebook.com/SeubNakhasathienFD/posts/10152394234005827/

Admin, 1000maidee.com. แนะนำพันธุ์ไม้ ประโยชน์วิธีปลูกต้นไม้. สืบค้น 9 กรกฎาคม 2565. Retrieved From https://www.1000maidee.com/author/admin/

Koło Naukowe Systemów Komunikacyjnych, ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับต้น กฤษณา ปลูก ใน บ้านในไม้กฤษณาไม้หอม ข้อดี ข้อเสีย ep34โดยละเอียด. สืบค้น 9 กรกฎาคม 2565. Retrieved From https://bit.ly/3uzXOo3

 

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Azren, P. D., Lee, S. Y., Emang, D., & Mohamed, R. (2018). History and perspectives of induction technology for agarwood production from cultivated Aquilaria in Asia: a review. Journal of Forestry Research, 30(1), 1–11. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edsbl&AN=vdc.100127879202.0x000001&site=eds-live

Chowdhury, M., Hussain, M. D., Sun-Ok Chung, Kabir, E., & Rahman, A. (2016). Agarwood manufacturing: a multidisciplinary opportunity for economy of Bangladesh - a review. Agricultural Engineering International: CIGR Journal, 18(3), 171–178. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=118694682&site=eds-live

Kaleri, A. H., Song, X.-Q., Dai, H. F., Mehmood, A., Bhatti, U. A., Nizamani, M. M., & Kaleri, A. A. (2021). Study on Recent Developments from Aquilaria Sinensis and Future Perspectives. 2021 IEEE 9th International Conference on Bioinformatics and Computational Biology (ICBCB), Bioinformatics and Computational Biology (ICBCB), 2021 IEEE 9th International Conference On, 187–190. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=edseee&AN=edseee.9459232&site=eds-live

Shivanand, P., Arbie, N. F., Krishnamoorthy, S., & Ahmad, N. (2022). Agarwood—The Fragrant Molecules of a Wounded Tree. Molecules, 27(11), 3386. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=157372664&site=eds-live

Wang, S., Yu, Z., Wang, C., Wu, C., Guo, P., & Wei, J. (2018). Chemical Constituents and Pharmacological Activity of Agarwood and Aquilaria Plants. Molecules, 23(2), 342. Retrieved From https://portal.lib.ku.ac.th/login?url=https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=asn&AN=128282078&site=eds-live


1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri