ผู้เรียบเรียง 
ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล
บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการ
 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

             ในยุคปัจจุบันนี้มนุษย์มีการใช้งานพลาสติกอยู่ในชีวิตประจำวันเสมอ เนื่องจากพลาสติกเป็นวัสดุที่มีราคาถูก คุณสมบัติหลากหลาย ใช้เป็นฉนวนกันไฟฟ้าได้ ทำให้ปริมาณการใช้งานพลาสติก มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี นอกจากนี้ขยะพลาสติกเป็นปัญหาที่จัดการได้ยาก การย่อยสลายพลาสติกใช้เวลานานถึง 400–450 ปี  ซึ่งโพลีสไตรีนเป็นพลาสติกที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตผลิตภัณฑ์หลายประเภท เช่น กล่องโฟมบรรจุอาหาร ช้อนส้อมหรือแก้วน้ำแบบใช้แล้วทิ้ง ส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนรถยนต์ ของเล่นต่างๆ ขยะพลาสติกโพลีสไตรีน ส่วนใหญ่จะถูกนำไปฝังกลบซึ่งคิดเป็นปริมาณมากถึงหนึ่งในสามของขยะฝังกลบทั่วโลก ข้อเสียของการใช้ภาชนะโฟมพลาสติกโพลีสไตรีนคือเมื่อถูกความร้อนจะเกิดสารมลพิษที่เรียกว่า สไตรีนและเบนซีน โดยสไตรีนมีผลต่อระบบประสาท และระบบหายใจ นอกจากนี้การเผาไหม้หรือสลายตัวเนื่องจากความร้อนของสไตรีนจะส่งผลให้ร่างกายขาดออกซิเจน ส่วนเบนซีนจัดเป็นสารพิษก่อมะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งผู้ที่สูดดมเข้าไปจะทำให้เกิดอาการวิงเวียน ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ง่วงนอน ชัก หัวใจเต้นแรง และอาจเสียชีวิตได้ การได้รับเบนซีนเป็นเวลานานจะมีผลทำให้เป็นโรคโลหิตจาง

            กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จาก University of Queensland’s School of Chemistry and Molecular Biosciences ได้ค้นพบว่าหนอนสายพันธุ์ Zophobas morio เป็นตัวอ่อนของแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง สายพันธุ์ด้วง darkling มีลักษณะคล้ายหนอนใยอาหารขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 1.7–2.25 นิ้ว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Superworm เป็นแหล่งอาหารของสัตว์เลื้อยคลานและนก มักพบในอเมริกากลาง และบางพื้นที่ของอเมริกาใต้ เอนไซม์หลายชนิดในลำไส้ของ Superworm สามารถย่อยสลายโพลิสไตรีนและสไตรีน หนอนยักษ์จะกินพลาสติกเป็นอาหารและมีชีวิตอยู่โดยไม่จำเป็นต้องกินอาหารชนิดอื่น การค้นพบดังกล่าวเป็นแนวทางทางสู่วิธีการกำจัดขยะพลาสติกรูปแบบใหม่ในอนาคต 

 

ที่มาภาพ : Microbiology Society

           ดังนั้นหนอนสายพันธุ์นี้จึงถูกเลือกนำมาใช้ในการทดลองนักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งหนอนตัวอ่อน 171 ตัว ออกเป็น 3 กลุ่ม กำหนดให้แต่ละกลุ่มกินอาหารที่แตกต่างกัน กลุ่มแรกให้กินพลาสติกโพลีสไตรีน กลุ่มต่อมาให้กินรำข้าว และกลุ่มสุดท้ายไม่ให้กินอะไรเลย เมื่อครบกำหนดเวลาพบว่ากลุ่มที่กินรำข้าว มีน้ำหนักมากที่สุด แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มที่กินพลาสติกโพลีสไตรีน เป็นกลุ่มที่ก็มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเหมือนกัน จึงได้ผลสรุปว่าหนอนตัวอ่อนชนิดนี้สามารถรับสารอาหารได้จากขยะพลาสติก เนื่องจาก  จุลินทรีย์ในลำไส้ของพวกมันสามารถย่อยพลาสติกได้ แต่การกินพลาสติกเข้าไปก็ไม่ได้ดีต่อสุขภาพของ Superworm เพราะหนอนกลุ่มที่กินพลาสติกจะมีน้ำหนักน้อยกว่าและมีสุขภาพลำไส้ที่แย่กว่ากลุ่มที่กินรำข้าว ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ได้ถูกตีพิมพ์บนวารสารวิทยาศาสตร์ Microbial Genomics ผลการศึกษานี้อาจเป็นพื้นฐานด้านการศึกษาการใช้จุลินทรีย์ในการจัดการขยะพลาสติกต่อไปในอนาคต

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

 

Sarakadee Lite. (2565). คาดปี 2567 รู้จักสไตรีนโมโนเมอร์ตั้งแต่การใช้งาน อันตรายต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม และวิธีระงับเหตุ.

                    สืบค้นจาก  https://www.sarakadeelite.com/better-living/fact-of-styrene-monomer/

 

Tnn Online. (2565). ซูเปอร์หนอนกินพลาสติกเป็นอาหารหนทางใหม่ในการรีไซเคิล. สืบค้นจาก

                    https://www.tnnthailand.com/news/tech/116387/

 

The Matter. (2565). นักวิจัยเผย หนอน ‘ซูเปอร์วอร์ม’ สามารถย่อยพลาสติกได้ และอาจช่วยจัดการปัญหาขยะพลาสติกได้. สืบค้นจาก

                    https://thematter.co/brief/177636/177636 

 

MM Modern Manufacturing. (2565). Superworms ยอดหนอนจอมเขมือบ ทางออกปัญหาขยะพลาสติก. สืบค้นจาก 

                   https://www.mmthailand.com/superworms-eat-plastic-waste/

 

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

 

Sun J, et al. 2022. “Corrigendum: Insights into plastic biodegradation: community composition and functional capabilities of the superworm (Zophobas morio)

                   microbiome in styrofoam feeding trials.” Microb Genom, 8(12) : mgen000916.

                   https://doi.org/10.1099/mgen.0.000916

 

Lee, H.M. et al. 2020. “Evaluation of the Biodegradation Efficiency of Four Various Types of Plastics by Pseudomonas Aeruginosa Isolated from  the Gut   

                  Extract of  Superworms. ”Microorganisms, 8(9) : 1-12–12. 

                  https://doi.org/10.3390/microorganisms8091341    

   

Yang, Y., Wang, J., & Xia, M. 2020. “Biodegradation and mineralization of polystyrene by plastic-eating superworms Zophobas atratus.” Science of

                 the Total Environment, 708.

                 https://doi.org/10.1016/j.scitotenv.2019.135233

 

Gan, Samuel et al. 2021. "Method for Zero-Waste Circular Economy Using Worms for Plastic Agriculture: Augmenting Polystyrene Consumption and

                 Plant Growth" Methods and Protocols 4(2) : 43.  

                 https://doi.org/10.3390/mps4020043

 

Lomwongsopon, Passanun, & Cristiano Varrone. 2022. “Critical Review on the Progress of Plastic Bioupcycling Technology as a Potential Solution for

                Sustainable Plastic Waste Management.” Polymers (20734360) 14 (22) : 4996.

                https://doi.org/10.3390/polym14224996

 

 Guzman, J. 2022. Comment on “Biodegradation of Polystyrene by Pseudomonas sp. Isolated from the Gut of Superworms (Larvae of Zophobas

                atratus).” Environmental Science & Technology, 56(19) : 14214–14213.

                https://doi.org/10.1021/acs.est.1c08385

 


1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri