KULIB Talk #27 KU green2 เรือพลังงานไฟฟ้า เรือเพื่อชีวิตและอนาคต

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งกับรายการ Kulib Talk ดิฉัน กิตติยา ขุมทอง ทำหน้าที่พิธีกรในวันนี้ สำหรับวันนี้ รายการ Kulib Talk เราก็มาเปิดรายการในบรรยากาศสบายๆ ริมคลอง เพราะว่าอยากจะพาท่านผู้ชมทุกท่านมาพบกับผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการพัฒนาและนำมาใช้จริงที่นี่ คือ คลองลัดมะยมนั่นเอง

2672019 0035

          ผลงานชิ้นนี้ก็คือ เรือ KU Green 2 ความพิเศษของเรือลำนี้ เขาว่ากันว่าเป็นเรือที่ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม

          ตอนนี้อยู่กับบุคคลที่สำคัญทั้งสองท่านซึ่งถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่พัฒนาในส่วนของเรือ KU Green 2 ลำนี้ขึ้นมา ขอแนะนำอาจารย์ทั้งสองท่าน ท่านแรก ผศ.ดร ยอดชาย เตียเปิ้น จากคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ วิทยาเขตศรีราชา อีกท่านหนึ่ง ผศ.ดร.เกวลิน มะลิ จากคณะเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เช่นเดียวกัน ต้องขอสวัสดีอาจารย์ทั้งสองท่าน

ขอสอบถามอาจารย์เกวลินก่อน อยากทราบว่าโครงการนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

          โครงการเรือไฟฟ้า เราได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สวพ. มก. หรือสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะขออนุญาตเท้าความสักนิดหนึ่ง มันเป็นงานวิจัยในลักษณะผลงานต่อยอด เมื่อประมาณปี 2559 เราได้ทำ KU Green 1 หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม เรือพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการท่องเที่ยวทางน้ำในกรุงเทพมหานคร และใช้สถานที่ที่นี่ในการทำวิจัย เพื่อที่จะสำรวจเส้นทางและเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยว ผลวิจัยตอนนั้นเราได้ทราบว่านักท่องเที่ยวมีความเต็มใจจ่ายซื้ออยู่ที่เท่าไร การเดินทางท่องเที่ยว พฤติกรรมการท่องเที่ยว จะเดินทางเป็นกลุ่ม กลุ่มหนึ่งก็ประมาณ 5-6 คน จากการสำรวจแม่น้ำลำคลองในกรุงเทพฯ เป็นคลองที่แคบและตื้น ดังนั้นเป็นที่มาของงานวิจัยชิ้นที่ 2 ของเรา ว่าเราพยายามที่จะออกแบบเรือให้มีการลดต้นทุนในการผลิตลง สามารถที่จะเหมาะสมกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวมากขึ้น ทางทีมนักวิจัยก็เลยคุยกัน ไปของบประมาณสนับสนุนจาก สวพ. มก. เราเลยได้รับอนุมัติงบประมาณ เมื่อปีงบประมาณ 2561 ตอนนี้ก็ยังไม่สิ้นสุดโครงการอยู่ระหว่างที่จะทำวิจัยกันอยู่ แต่ว่าผลค่อนข้างจะนิ่งแล้ว

จากที่ขอทุนจาก สวพ.มก. สังเกตว่าอาจารย์อยู่คณะเศรษฐศาสตร์ อาจารย์อยู่คณะพาณิชยนาวี มาร่วมงานกันได้อย่างไร

อาจารย์เกวลิน : การทำงานในเชิงพื้นที่แบบนี้เป็นการทำงานลักษณะบูรณาการระหว่างศาสตร์ ทางด้านวิศวกรรมเองเขาก็มีจุดเด่นในเรื่องของความเชี่ยวชาญในการออกแบบเครื่องกล หรือออกแบบเรือที่มีความเหมาะสมของพื้นที่ แต่ว่าในทางวิศวกรรมเองก็อาจจะตอบโจทย์ได้ไม่หมด อาศัยความรู้ศาสตร์อื่นๆ ด้วย เช่น จะมีคำถามจากทั้งผู้ต้องการลงทุน ผู้ที่สนใจทั่วไป แล้วเรือราคาเท่าไร มันจะคุ้มทุนในปีที่เท่าไร วิธีใช้จะใช้อย่างไร ราคาเราจะตั้งที่เท่าไรดีถึงจะเหมาะสม ดังนั้นเป็นที่มาว่าทำไมเดี๋ยวนี้เราจะต้องทำงานวิจัยระหว่างศาสตร์มากขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากคณะของอาจารย์ยอดชายแล้วยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่มาร่วมทำงานวิจัยชิ้นนี้

อาจารย์เกวลิน : งานชิ้นนี้มีอยู่ 3 หน่วยงานสำคัญ คือ หน่วยงานภายในเราเอง ก็จะมีคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา แล้วก็มีหน่วยงานภายนอกคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ ได้นักวิจัยมาช่วยเรื่องของการประเมินความคุ้มค่า และการทำ marketing 

ในส่วนของการทำงานทั้งสองท่านทำงานในส่วนไหนบ้าง

อาจารย์เกวลิน : ในส่วนของอาจารย์ อาจารย์ก็จะทำในเรื่องของเมื่อทางวิศวกรรมเขาทำเรือเสร็จแล้ว อาจารย์ก็จะมีหน้าที่เอาเรือไปใช้ประโยชน์ และทำการสำรวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยว พูดคุยกับชุมชน พูดคุยกับผู้ที่สนใจ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยรอบของบริเวณว่าเราจะมีแนวทางในการทำรูปแบบการท่องเที่ยวที่ใช้เรือไฟฟ้าอย่างไรบ้าง แน่นอนว่าจะต้องมีการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนว่าลงทุนในเรือไฟฟ้าแล้วจะมีความคุ้มทุนหรือไม่อย่างไร

ในส่วนของอาจารย์ยอดชาย

          ในส่วนทางวิศวกรรมก็จะรับผิดชอบในส่วนของการออกแบบทางด้านวิศวกรรมทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มต้น การออกแบบ detail การใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมมาช่วยในการออกแบบทั้งหมด จนกระทั่งนำไปสู่ในการผลิตเราก็รับผิดชอบในการกำกับดูแลตรงนี้ หลังจากนั้นแล้วเราได้ตัวเรือต้นแบบแล้วก็จะนำมายังพื้นที่ เพื่อมาทดสอบและเก็บข้อมูลของทางด้านเศรษฐศาสตร์ต่อไป

วัตถุประสงค์หรือจุดเด่นของเรือลำนี้ ที่บอกว่าเป็นเรือประหยัดพลังงานมีจุดเด่นหรือความพิเศษอย่างไรบ้าง

อาจารย์ยอดชาย : คำว่าประหยัดพลังงานเราก็สามารถที่จะตีความได้ว่าถ้าเราสามารถที่จะออกแบบตัวเรือโดยใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถที่จะช่วยในการประหยัดพลังงานได้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งหลักๆ คือการออกแบบรูปทรงตัวเรือ เป็นส่วนที่สำคัญเพราะว่าถ้ารูปทรงตัวเรือไม่ดีก็จะทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน เราก็ทำการ optimize ท้องเรือให้เกิดแรงต้านน้อย เราสามารถดูได้จากคลื่นที่วิ่งออกจากตัวเรือถ้าคลื่นออกจากตัวเรือน้อยก็หมายความว่าเรือลำนั้นจะประหยัดพลังงานเมื่อเทียบกับเรือที่วิ่งทั่วไป เป็นการประหยัดพลังงานอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นเรือลำนี้ที่มีจุดเด่นคือพวกอุปกรณ์ทั้งหลาย ส่วนใหญ่เราจะพัฒนากันเอง ยกเว้นทางด้านแบตเตอรี่อย่างเดียว เพราะว่าแบตเตอรี่จะต้องใช้เวลาในการทำ Research  ค่อนข้างเยอะและใช้งบประมาณ อันนี้เรายังไม่ได้ไปแตะ เราจะแตะในส่วนของ ชุดขับเคลื่อน มอเตอร์ไฟฟ้า ระบบควบคุม รวมกระทั่งระบบในเรือทั้งหมด เราจะทำเอง เพราะฉะนั้นทุกอย่างเมื่อเอาไปใช้งานจริงๆ เราสามารถที่จะ Service บำรุงรักษาได้เองทั้งหมด คือเมื่อก่อนเราเจอปัญหา ซื้ออุปกรณ์ชิ้นส่วนจากต่างประเทศ ปรากฏว่ามันเสีย เราไม่สามารถที่จะซ่อมเองได้ อันนี้เป็นปัญหาหลักที่บ้านเราประสบ เราก็พยายามที่จะเอาองค์ความรู้ที่เรามี สามารถที่จะพัฒนาเอง ใช้ Know How ที่เรามี พัฒนาอุปกรณ์ขึ้นมาทั้งหมด ที่จะมาทดแทนของที่จะต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ

เรือที่ใช้พลังงานไฟฟ้า อยากทราบว่าการใช้งานมีระบบการใช้พลังงานอย่างไรบ้าง หรือแบตเตอรี่ที่ใช้ต้องขนาดไหน

อาจารย์ยอดชาย : เกิดจากการ เราต้องมาคุยกันว่า เส้นทางการท่องเที่ยวของเราประมาณไหน เราจะใช้ระยะเวลาการท่องเที่ยวระยะเวลาเท่าไหร่ สมมุติว่าจากข้อมูลทางด้านเศรษฐศาสตร์ เก็บข้อมูลมาว่า การท่องเที่ยวทางน้ำ จะไม่เกิน 1 ชั่วโมง ถ้าเกิน 1 ชั่วโมงก็เริ่มเบื่อแล้ว เราก็เอาตรงนี้เป็นโจทย์ ถ้าเรือวิ่งเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง จะกินค่าพลังงานไปเท่าไร เราก็จะเผื่อต่อการชาร์ต 1 รอบ เราจะใช้กี่ครั้งกี่รอบ สมมุติว่าเราต้องการใช้ 3 ชั่วโมง  เราก็จะคำนวณขนาดของแบตเตอรี่ เผื่อสำหรับ 3 ชั่วโมง ใช้งาน 3 รอบค่อยมาชาร์ตไฟ

(พิธีกร จะหมดก่อนไหม) ค่อนข้างน้อย ถ้าพลังงานเหลือน้อย กรณีสมมุติว่าบรรทุกเยอะ ใช้สปีดสูง ปริมาณค่าพลังงานที่ใช้อาจจะเยอะ อาจจะทำให้เหลือน้อย เราสามารถที่ชดเชยได้ด้วยการลดสปีด ถ้าลดความเร็วลง ค่าพลังงานก็จะใช้น้อยลง และเราก็ยังสามารถไปสู่ปลายทางได้

(พิธีกร เหมือนกับการใช้พลังงานขึ้นอยู่กับ น้ำหนัก และการสปีด ต้องมีการกำหนดไหมกี่คน) จริงๆ ตัวเรือก็กำหนดอยู่แล้วว่านั่งได้ 6 คน

(พิธีกร จำกัดน้ำหนักไหม ถ้า 6 คนนั้นไซต์ใหญ่) ก็ 6 ที่นั่ง น้ำหนักเราเผื่อไว้แล้ว เพราะว่าบางคนอาจจะ 80 60 เป็นค่าเฉลี่ย

ในส่วนของการออบแบบเรือไม่ว่าจะเป็นที่นั่งหรือตัวเรือมีแนวคิดในการออกแบบอย่างไร หรือตัววัสดุอาจารย์เลือกอะไรมาใช้บ้าง

อาจารย์ยอดชาย : สำหรับตัวเรือลักษณะการออบแบบเราพยายามให้ผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยวนั่งได้สบาย ขึ้นลงได้สะดวกสบาย จะเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบ นอกจากนั้นก็เรื่องความปลอดภัยด้วย อันนี้ก็ส่วนสำคัญ ส่วนลักษณะการออกแบบตัวเรือ ใช้วัสดุที่เป็นประเภทน้ำหนักเบาเป็นพวกไฟเบอร์กราส พวกนี้เป็นวัสดุสมัยใหม่ที่เอามาทดแทนการใช้ไม้ เพราะฉะนั้นตัวเรือจะน้ำหนักเบามาก

อาจารย์บอกว่าลำหนึ่งบรรจุได้ 6 คน ความปลอดภัยมีการออกแบบเรื่องความปลอดภัย หรือคำนวณเรื่องความปลอดภัยอย่างไรบ้าง

อาจารย์ยอดชาย : ในเชิงทางวิศวกรรมต่อเรือ จะมีข้อกำหนดว่าการเอียงเรือไม่เกินเท่าไร ไม่เกิดการพลิกค่ำ มันก็จะมีหลักการในการคำนวณตรงนี้อยู่ ตามข้อกำหนดของทางด้านกรมเจ้าท่าที่เขาดูแลตรงนี้อยู่

(พิธีกร เป็นไปตามระเบียบการขนส่งทางเรือ)

กลับมาถามทางอาจารย์เกวลิน ถ้ามาทางด้านการตลาดต้นทุนการผลิตต่อลำประมาณเท่าไร มีการคิดค่าใช้จ่ายในการบริการอยู่ที่เท่าไร อาจารย์มีการวางแผนการคุ้มค่าคุ้มทุนอย่างไรบ้าง

          ต้นทุนการผลิตลำแรก แน่นอนว่าเป็นเรือต้นแบบต้นทุนจะสูงกว่าผลิตในเชิงพาณิชย์ ต้นทุนของลำนี้อยู่ที่ประมาณ 8 แสนบาท เราจะต้องมาทำ Business Model เราจะมีการใช้เรืออย่างไรให้มีความคุ้มค่า แต่ก่อนที่เราจะทำ Business Mode ได้ คำนวณความคุ้มค่าได้ เราจะต้องหาให้ได้ก่อนว่าราคาที่เหมาะสมอยู่ที่เท่าไร ดังนั้นตัวเลขพวกนี้จะเกิดจากการสำรวจ เกิดจากการวิจัย เพราะว่านักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวแต่ละสถานที่กำลังจ่ายซื้อไม่เท่ากัน อย่างอาจารย์ยกตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวคลองลัดมะยมกับนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวที่ภูเก็ต หรือนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวอัมพวาจะมีความเต็มใจจ่ายอยู่ที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นการตั้งราคา ณ สถานที่ต่างๆ จำเป็นที่จะต้องทำ Business Model หมดเลยใช้ราคาตรงนั้นมาวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุน เช่นคร่าวๆ ราคาตอนนี้เราคิดราคาเช่าเหมาลำอยู่ที่ลำละ 3,000 ต่อ 1 เที่ยว 3,000 บาท นักท่องเที่ยวก็มีกำลังที่จะจ่ายได้ ความเต็มใจจ่ายนักท่องเที่ยวก็จ่ายได้ นักท่องเที่ยวก็มีความสุขเพราะว่าพฤติกรรมนักท่องเที่ยว เดี๋ยวนี้ชอบท่องเที่ยวแบบเป็น private เฉพาะกลุ่มของตนเอง ไม่อยากจะไปนั่งร่วมกับคนอื่น แล้วก็ 3,000 บาท ถ้านั่งกัน 6 คน จะตกคนละ 500 บาท ซึ่งถ้าเทียบกันว่าเราได้นั่งเรือไฟฟ้าได้นั่งของใหม่ๆ แล้วกัน อยู่ในกำลังที่นักท่องเที่ยวที่ตลาดคลองลัดมะยมจะสามารถที่จะจ่ายได้

ตอนที่อาจารย์เก็บรวบรวมข้อมูล อาจารย์ลงไปทำอย่างไรบ้างในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสำรวจทั่วไป หรือลงไปเชิงสัมภาษณ์

อาจารย์เกวลิน : ใช้ทั้งสองส่วน เวลาที่ลงสัมภาษณ์เจอนักท่องเที่ยวก็จะมีวิธีการพูดคุยด้วย เอาเรือมาให้นักท่องเที่ยวได้ลองนั่ง ได้นั่งแล้วรู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง แตกต่างจากเรือเดิมๆ ที่เคยใช้อยู่ไหม ผลตอบรับ กระแสตอบรับออกมาค่อนข้างดีมาก ตรงนี้คือช่วยกำจัดจุดอ่อนของการท่องเที่ยวเรือที่มันเสียงดัง คลื่นแรง เสียงดังเวลาเรานั่งไปในกลุ่มจะพูดคุยกันค่อนข้างลำบากมากในการคุยกัน ตรงนี้เราก็เข้าไปคุยด้วย โดยที่เราใช้แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ประกอบด้วย ว่านั่งแล้วรู้สึกอย่างไร แล้วถ้าจะจ่ายราคาเท่านี้คิดว่าเหมาะสมไหม แพงเกินไปหรือถูกเกินไป เราไม่ได้ใช้ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวแค่ฝ่ายเดียว เราต้องคำนวณต้นทุนแบบละเอียดของเราด้วย เพราะว่าเวลาที่เราคำนวณ นักวิจัยส่วนใหญ่จะชอบลืมคำนวณรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ

เสียงตอบรับส่วนใหญ่คือดี ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มไหน

อาจารย์เกวลิน : สำหรับตลาดน้ำคลองลัดมะยมจะเป็นคนกรุงเทพฯ ที่มาเที่ยววันเดย์ทริปจะมีต่างจังหวัดบ้าง 80 เปอร์เซ็นต์เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย เดี๋ยวต้องดูว่าทำไมต่างชาติถึงยังไม่มาที่นี่ เราก็พบว่า หนึ่งคือตลาดน้ำใหม่ สองยังไม่มีทัวร์ลง เหมือนถ้าเราเทียบกันกับตลาดน้ำดำเนินสะดวก จะมีทัวร์ลงนักท่องเที่ยวต่างชาติค่อนข้างจะเยอะ

(พิธีกร ตลาดนี้เหมือนก็ยังเพิ่งเปิดได้ไม่นาน ยังมีความสดใหม่ของการเป็นตลาดน้ำอยู่)

ขอสอบถามทั้งสองท่าน นอกจากนวัตกรรมในเรื่องเรือไฟฟ้าที่มีตั้งแต่ KU Green 1 และก็มาสู่ KU Green 2 อาจารย์ทั้งสองมีนวัตกรรมอื่นๆ ที่จะมานำเสนอ หรือที่อยู่ระหว่างทำอยากจะนำเสนอ

อาจารย์ยอดชาย : ตอนนี้เราก็ได้รับมอบหมายจากกรมเจ้าท่าซึ่งเราทำงานร่วมกับกรมเจ้าท่า ซึ่งมอบหมายให้เราออกแบบเรือไฟฟ้าสำหรับผู้โดยสารในคลองแสนแสบ อันนี้ก็จะไซต์ใหญ่ บรรทุก 100 คน ความยาวประมาณ 20 เมตร มีโจทย์ที่ท้าท้ายเยอะแยะ สปีดก็ต้องเร็ว ลำนี้ KU Green2 ความเร็วแค่ประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ชิวๆ แต่ลำนั้นเขาต้องการ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

(พิธีกร ความต่างลำนี้อาจจะนั่งชมวิว แต่อันนั้นคือเร่งด่วน ) ซึ่งมันเป็นโจทย์ที่ต้องบอกว่าโจทย์ระดับโลก เพราะว่าเรือไฟฟ้าระดับโลกเขาก็ยังวิ่งประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

(พิธีกร จริงๆ จำกัดความเร็วอยู่) จริงๆ มันจำกัดเพราะว่ามันใช้พลังงานเยอะถ้าวิ่งเร็ว ถ้าใช้พลังงานเยอะเราก็ต้องมีแบตเตอรี่เยอะ ตรงนี้มันเป็นเหมือนผลที่ตามมา เพราะฉะนั้นเวลาเราออกแบบตัวเรือ ต้องใส่นวัตกรรมเต็มที่เพื่อที่จะทำอย่างไรให้ลดพลังงานให้ได้มากที่สุดที่ความเร็วที่ต้องการ อันนี้จะเป็นนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นภายในปีนี้

(พิธีกร เราอาจจะได้ชมตัวเรือสำหรับวิ่งที่คลองแสนแสบ จะเป็น KU Green 3 หรือว่าเป็นชื่อใหม่) น่าจะเป็นชื่อใหม่เพราะว่าต้องตามผู้ให้ทุน

ถ้าผู้ชมทางบ้านสนใจสามารถขอติดต่อรับบริการได้ตรงจุดไหน

อาจารย์ยอดชาย : จริงๆ สามารถติดต่อได้โดยตรงทางมหาวิทยาลัยหรือว่าที่วิทยาเขตศรีราชาก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่คณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา หรือว่าคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ สามารถติดต่อได้ เพิ่มเติมนิดหนึ่งตอนนี้มีเอกชนที่เห็นว่าประโยชน์ของเรือไฟฟ้า พยายามที่จะมาคุย พยายามปั้นโปรเจกต์เพื่อที่เอาไปใช้ในแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำอื่นๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นที่ดำเนินสะดวกเป็นนโยบายของผู้ว่าจังหวัดราชบุรีอยากได้เรือไฟฟ้าไปทดแทน

(พิธีกร ที่ดำเนินสะดวกเป็นเรือพายหรือไม่) ไม่ครับ เป็นเรือเครื่อง เรือเสียงดัง เขาพยายามไปช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสียงดัง เรื่องคลื่น เรื่องอะไรพวกนี้ มีพวกที่อุดรธานี หนองบัวแดง มีเอกชนเริ่มติดต่อมา

(พิธีกร ถือว่ามีหลายหน่วยงานที่เริ่มสนใจเรือลำนี้ ต้องติดตามชม)

พิธีกร วันนี้เราได้พาทุกท่านมาชมเรือพลังงานไฟฟ้า อย่างที่บอกไปการขับเคลื่อนทำให้ลดในส่วนของมลพิษไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางเสียง หรือมลพิษทางอากาศ เพราะว่ามันประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญสามารถชาร์จไฟที่บ้านได้ด้วย

พิธีกร เราได้รับชมผู้พัฒนาเรือทั้งสองท่านไปแล้ว ทั้งจากอาจารย์ยอดชายและอาจารย์เกวลิน เรามาพบกับเรือจริงหน้าตาเป็นอย่างไร ลำนี้คือ เรือ KU Green 2 ที่อาจารย์ยอดชาติและอาจารย์เกวลินได้แนะนำให้ทุกท่านรู้จักในเบื้องต้นแล้ว นอกจากเราจะเห็นตัวเรือจริงแล้ว อยากจะแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับบุคคลสำคัญอีกท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นคนที่ให้นำเรือ KU Green 2 มาวิ่งที่นี่ได้ พบกับคุณลุงชวน ชูจันทร์ คุณลุงเป็นผู้ก่อตั้งตลาดน้ำคลองลัดมะยม เป็นผู้ก่อตั้งเมื่อ 15 ปีที่แล้ว

แสดงว่าตลาดน้ำมีมานานแล้ว

          15 ปี ปีที่ 15 แล้วปีนี้

คุณลุงคิดอย่างไรถึงให้ KU Green 2 มาลงที่นี่

          คือเราเป็นตลาดที่มีการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวที่สะอาดก็เป็นเรื่องที่เราคิดอยู่ในใจมานานแล้ว เพราะว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความสงบ เกิดความสะอาด เกิดความยั่งยืน ทุกวันนี้เราเลือกน้ำมัน แน่นอนเกิดเป็นพิษ เกิดเสียงดัง ก็คิดอยู่ในใจตั้งนาน พอดีทางอาจารย์ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็มีโครงการนี้เราก็ดีใจเหมือนที่เราคิดไว้ เราคิดคนเดียวทำอะไรไม่ได้ อาจารย์คิดตรงนี้ด้วยก็ยินดี ที่มาร่วมโครงการกับอาจารย์ หลายคนก็ชอบ เรานำมาทดลองใช้นักท่องเที่ยวเห็นก็ชอบ มันเงียบดี มันก็เข้าแนวโน้มของยานยนต์ในอนาคต รถยนต์เขาก็เริ่มใช้กันมากแล้ว ไฟฟ้า ตอนนี้เราก็มาเริ่มที่นี่ น่าจะเป็นแห่งแรกก็ดีใจที่ร่วมโครงการกับอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ตั้งแต่ KU Green 1 เลยที่มาลงที่นี่

          KU Green 1 เป็นอันดับต้น อับดับแรกที่เราทดลอง มีอะไรต้องแก้ไขหลายอย่าง เรือเหมาะกับสภาพพื้นที่ เหมาะกับน้ำ ต้องแมตช์กัน ปรับปรุงมาเรื่อยๆ จนถึงลำที่ 2 ก็ดีขึ้นอันเดิมก็ดีแต่ต้องไปใช้ในอีกพื้นที่หนึ่ง ที่นี่คลองเล็ก ถ้าเรือใหญ่มาก จะไม่ค่อยเหมาะ ไม่ค่อยคล่องตัว

จริงๆ เรือ KU Green ตอบโจทย์ตลาดน้ำที่นี่เลย

          ได้ ถ้าเราใช้ระบบไฟฟ้าปรับปรุงนิดหน่อย น่าจะดีขึ้นมาก เพราะเรื่องไฟฟ้าไม่ว่ารถหรือเรือ ปัญหาคือเรื่องแบตเตอรี่ เรื่องความทนบ้าง อะไรบ้าง สิ่งที่ผมคิดว่านอกจากเราจะได้ตรงนี้ หนึ่งคือเราพยายามทำของเราเอง ตัวนี้สำคัญ มันอาจบกพร่องบ้าง แต่มันก็เป็นการเริ่มต้น มันอาจจะเป็นลำที่ 10 20 ก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้เราทำได้ก็แล้วกัน

คือต้องเริ่มต้นส่วนการที่จะพัฒนาต่อยอดไปก็คือเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

          ต้องส่งเสริมกันไป บางคนมันไม่คุ้มหรอก จริงๆ ความรู้วัดไม่ได้ถ้าเราไม่ลอง 1 2 3 4 5 ก็ไม่รู้ว่าจะทำยังไง

ปกติขับเรือลำนี้ประจำไหม

          ผมก็จะขับก่อน จนกว่าเขาจะมาเรียนรู้กัน มาช่วยกัน เพราะว่าถ้าไม่เคยบางทีมันมีอะไรของมันเหมือนกัน ว่าไม่เหมือนเครื่องยนต์น้ำมัน แรงมันจะเลี้ยวยังไง ตีโค้งแค่ไหน ถอยหน้าถอยหลังยังไง ต้องลองนิดหนึ่ง เรือไฟฟ้าไม่ใช่เปิดปุ๊บติดปั๊บต้องมีระยะห่างจะถอยหลังต้องทิ้งระยะพอสมควร เรือยนต์ก็ถอยเลย  การเลี้ยวจะปัดอย่างไร จะใช้ความเร็วอย่างไร ต้องฝึกเหมือนกัน พูดคุยเล็กน้อยกับคุณลุงชวน ถ้าใครอยากมาพบกับคุณลุงชวน หรืออยากมาขึ้นเรือ KU Green 2 ก็มาเที่ยวกันได้ที่ ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ต้องขอขอบคุณคุณลุงชวนมากนะคะ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri