รางวัล The Outstanding paper Emerald literati Award for Excellence 2019

โดย รศ.ดร.พร้อมพิไล บัวสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ หัวหน้าภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ท่านได้รับรางวัล The Outstanding paper Emerald literati Award for Excellence 2019 จาก Emerald Publishing โดย Manager of Emerald Thailand จากบทความในหัวข้อ Rethinking Thai Higher Education for Thailand 4.0 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Asian Education and Development studies ขอต้อนรับอาจารย์พร้อมพิไล บัวสุวรรณ ขอแสดงความยินดีอีกครั้งกับผลงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้

อาจารย์ : ขอบพระคุณค่ะ

ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่อาจารย์มาเยี่ยมห้องสมุดของเรา จากที่เคยทราบอาจารย์เคยมาร่วมกิจกรรมของห้องสมุดเราหลายกิจกรรม สำหรับวันนี้ได้รับเกียรติจากอาจารย์จะมาพูดคุยถึงงานวิจัยในชิ้นนี้กันค่ะ

อาจารย์ : ต้องขอบคุณนะคะ ตัวเองก็เป็นเกียรติเช่นกัน ได้มาที่สำนักหอสมุดก็เห็นบรรยากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Eco Library มีความรู้สึกเป็นบรรยากาศที่เชื้อชวนว่าอยากจะเข้ามานั่งอ่านหนังสือเลยทีเดียว

ผลงานชิ้นนี้ที่ชื่อว่า Rethinking Thai Higher Education for Thailand 4.0 หัวข้อนี้อาจารย์มองเห็นอะไรในจุดนี้ถึงเลือกทำวิจัยชิ้นนี้

จริงๆ ต้องขออนุญาตนำเรียนว่าบทความที่เขียนอันนี้ คือเป็นผลสืบเนื่องจากงานวิจัยที่ตัวเองได้รับทุนวิจัยจากสกว หรือว่าสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย น่าจะประมาณปี 2012 ซึ่งก็ใช้เวลาในการทำวิจัยประมาณ 3 ปี พอดีงานวิจัยที่ทำในเรื่องนี้ ตอนนั้นทำเกี่ยวกับเรื่องของ Public Private Partnership to Promote a Creative Society คือตอนนั้นด้วยความที่ว่า Area of Interestจะไปที่ creative society คือเราอยากจะรู้ว่าสังคมสร้างสรรค์ มันมีลักษณะเป็นอย่างไร เรามีความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมสร้างสรรค์อย่างไร เพราะว่า ณ ยุคนั้นประเทศไทยจะเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่การเป็น creative economy เพราะฉะนั้นก็เลยมาทำวิจัยในเรื่องของ creative society จากผลงานวิจัยนั้น ซึ่งทำวิจัยใช้เวลาประมาณ 3 ปี ผลการวิจัยเราก็มาพบว่ามันมาสอดรับกับแนวนโยบายของประเทศในเรื่องของไทยแลนด์ 4.0 ก็เลยนำผลการวิจัยที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนั้นมาเขียน และเป็นการให้เราได้เห็นว่าการที่ประเทศไทยจะขับเคลื่อนไปสู่การเป็น ประเทศไทย 4.0 สถาบันอุดมศึกษาเรามีความพร้อมแค่ไหน หรือมีประเด็นที่จะต้องทบทวน หรือมีความท้าทายอะไรอยู่บ้าง เพราะฉะนั้นก็เลยเป็นที่มาที่ไปของการเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นมา 

วัตถุประสงค์หลักของบทความชิ้นนี้

วัตถุประสงค์ของบทความชิ้นนี้ คือต้องการที่จะมองถึงตรงช่องว่าง คือเหมือนกับเป็นการมองภาพ ภาพไทยแลนด์ 4.0 เป็นภาพที่สังคมหรือว่าประเทศไทยต้องการจะไปให้ถึง อย่างไรก็ตามการที่เราจะไปถึงจุดนั้นได้ เราก็ต้องดูก่อนว่า ณ ตอนนี้สถาบันอุดมศึกษาของเรา เราอยู่ ณ จุดไหน เรามีความพร้อม มีสภาพการดำเนินงานอย่างไร เรามีประเด็นความท้าทายอะไรอยู่บ้าง เพราะฉะนั้นวัตถุประสงค์สำคัญก็คือจะเป็นการ เหมือนกับว่าดูช่องว่างของสิ่งที่มันควรจะเป็นกับสิ่งที่เราเป็นอยู่ และก็ต้องการที่จะนำเสนอประเด็นที่เป็นมุมมองความท้าทายของสถาบันอุดมศึกษา ในการที่จะช่วยกันขับเคลื่อนประเทศไทยให้ไปสู่การเป็นประเทศไทย 4.0

การทำวิจัยของอาจารย์ชิ้นนี้ การเก็บข้อมูลหลักของอาจารย์คือการสัมภาษณ์และก็การใช้ Questionnaire อยากให้อาจารย์ช่วยเล่าให้เราฟัง ขั้นตอนในการสัมภาษณ์หรือการที่จะได้ข้อมูลมาในส่วนนี้ เป็นอย่างไรบ้าง

เนื่องจากว่าในคำถามวิจัยที่เรากำหนดก็คือตอนนั้นเราอยากที่ทราบก่อนว่าคำว่า creative society มันอาจเป็นคำที่ abstract เราต้องพยายามทำสิ่งที่มัน abstract ให้มันสามารถเป็นรูปธรรม และก็สามารถที่จะเข้าใจร่วมกันได้ เพราะฉะนั้นใช้วิธีการในการที่จะสัมภาษณ์

พิธีกร : สัมภาษณ์กับกลุ่มใด

มีหลายกลุ่มเลยค่ะ ตั้งแต่ที่เป็นผู้กำหนดนโยบายของประเทศ ตั้งแต่หน่วยงานองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐและก็เป็นผู้กำหนดนโยบาย และก็สถาบันอุดมศึกษา ซึ่ง ณ ตอนนั้นก็จะไปเก็บข้อมูลกับสถาบันอุดมศึกษาที่เป็น เขาเรียกว่าเป็น creative academy หรือว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาเชิงสร้างสรรค์ จะไปสัมภาษณ์กับผู้บริหารมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ระดับท่านอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี และมีสัมภาษณ์อาจารย์ด้วย เพราะว่าเราต้องการที่จะดูมุมมองในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับนโยบายที่เป็นผู้กำหนดนโยบายของประเทศ จนกระทั่งถึงสถาบันอุดมศึกษาที่จะต้องเป็นผู้รับนโยบายไปสู่การปฏิบัติ รวมกระทั่งถึงอาจารย์ที่จะต้องเป็นผู้ช่วยกันขับเคลื่อนด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าต้องเก็บข้อมูลกับสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในต่างจังหวัดด้วย เพราะว่าจะมีสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในต่างจังหวัดก็ต้องเดินทาง ประกอบกับการเก็บข้อมูลผู้ที่อยู่ในระดับนโยบายกับผู้บริหารมหาวิทยาลัย ก็ต้องอาศัยความพยายามค่อนข้างสูง เพราะว่าด้วยความที่ว่าท่านอาจจะมีภารกิจค่อนข้างเยอะ แต่เราก็ต้องใช้เวลาในการที่จะประสาน พยายามติดต่อ แต่ว่าก็เรียกได้ว่าทุกท่านก็น่ารักมากนะคะให้ความร่วมมือ คือตัวเองเชื่อว่าผู้บริหารกับนักวิชาการ ถ้าหากว่าตัวเองไม่ติดขัดอะไรยินดีที่จะให้ข้อมูลอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นก็เลยทำให้มีโอกาสได้สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุม 

พิธีกร : ใช้เวลานานไหมคะ

ใช้เวลานานค่ะ อีกประการหนึ่งก็คือมีการสัมภาษณ์กับกลุ่มที่เป็น เขาเรียกว่า เป็น series society เป็นคล้ายๆ กับเป็นบุคคลสำคัญของสังคม อาจจะไม่ได้เรียกว่า series society แต่ว่าเป็นบุคคลที่เรียกได้ว่าเป็นที่นับถือในสังคม คือเป็นผู้ที่มีมุมมองเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม ควรที่จะได้รับการกล่าวถึง หรือได้รับการพัฒนา เพราะฉะนั้นก็จะมีการไปสัมภาษณ์ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการอิสระ รวมกระทั่งถึงเป็นบุคคลสำคัญของสังคม ระยะเวลาในการสัมภาษณ์ตรงนี้ ในการเก็บข้อมูลอย่างที่นำเรียนไปว่า งานวิจัยชิ้นนี้เราก็ใช้เวลาประมาณ 2 ปีครึ่งเกือบ 3 ปี เพราะฉะนั้นในช่วงของการเก็บข้อมูลก็ใช้เวลาในการติดต่อประสานงานค่อนข้างมากทีเดียว เราก็ยังมีการเก็บ ไม่ใช่เก็บเฉพาะจากการสัมภาษณ์ เรามีการทำแบบสอบถามและก็มีการไปเก็บทั่วประเทศในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ เพราะฉะนั้นก็เลยใช้เวลานิดหนึ่ง

ผลสรุปหรือผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้ สามารถต่อยอดอย่างไรได้บ้าง

เนื่องจากว่าสิ่งสำคัญในการที่เราจะขับเคลื่อนประเทศไปสู่จุดไหน เราอาจจะมีความฝันในภาพของสังคมประเทศที่อยากจะให้เกิดขึ้น แต่สิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจร่วมกันในภาพนั้นๆ เพราะฉะนั้นพอพูดถึงคำว่าไทยแลนด์ 4.0 มันเป็นการมองภาพสังคมประเทศไทยที่เราอยากจะให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือการที่เราเหมือนกับว่าย้อนกลับมา ในการที่จะมองว่าเรามีความเข้าใจเกี่ยวกับไทยแลนด์ 4.0 ตรงนี้อย่างไร เช่นเดียวกันเหมือนกับงานวิจัยที่ตัวเองทำในจุดเริ่มต้น ก็ต้องการจะทำความเข้าใจว่า คำว่า creative society มันหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นก็เป็นการพยายามทำความเข้าใจในส่วนของตัว concept ว่าเรามีความเข้าใจในแนวคิดตรงนี้อย่างไร ซึ่งก็มาพบว่าตัว concept หรือว่าความเข้าใจเกี่ยวกับ creative society หรือว่าสังคมสร้างสรรค์มาสอดรับกับความเป็นไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งนัยหนึ่งก็ยังมาคิดว่า หรืออาจด้วยความที่ว่า เนื่องจากตอนนั้นกลุ่มที่เราไปสัมภาษณ์เป็นกลุ่มที่policy maker ด้วย และก็เป็นกลุ่มที่เป็นบุคคลสำคัญของประเทศที่เรียกได้ว่าเป็นผู้นำทางความคิดของประเทศ เพราะฉะนั้นทำให้ได้มุมมองที่อาจจะไปสอดรับกับแนวทางการพัฒนาประเทศ มันก็เลยมาเป็นแนวคิดในเรื่องของไทยแลนด์ 4.0 ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการที่เรามองว่าการที่จะเป็นสังคมสร้างสรรค์ มันก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง creativity หรือความสร้างสรรค์ รวมกระทั่งถึงการให้ความสำคัญกับเรื่องของinclusivityหรือการที่เราจะต้องไม่มองคำว่าความสร้างสรรค์เพียงแค่เฉพาะกลุ่ม เช่นเราอาจจะไปมีความคิดว่า พอพูดถึงเรื่องของความสร้างสรรค์มันจะต้องอยู่ในกลุ่มเฉพาะบางคนที่เขาอยู่ในกลุ่มCreative Industryหรืออุตสาหกรรมสร้างสรรค์เท่านั้น จริงๆ ถ้าหากเรามองดูความสร้างสรรค์อยู่ในตัวคนทุกคน และอยู่ในตัวคนทุกกลุ่ม เอาตัวอย่างง่ายๆ ตอนที่ประเทศไทยเกิดภาวะวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ เราจะเห็นนวัตกรรมชาวบ้านเกิดออกมามากมายเลย ซึ่งคนกลุ่มเหล่านี้เขาไม่จำเป็นจะต้องถูกจัดกลุ่มว่าเขาอยู่ในกลุ่ม อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือว่าเขาอยู่ในกลุ่มที่เป็นกลุ่มสังคมที่มีความสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ว่าความสร้างสรรค์มันแสดงให้เห็นว่ามันอยู่ในคนทุกๆ คน เพราะฉะนั้นเราจำเป็นจะต้องมองเรื่องของความสร้างสรรค์ที่มันinclude คนทุกกลุ่ม และทุกระดับของสังคม ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กๆ คำว่าinclusivityจึงได้เข้ามาอยู่ใน concept นี้ด้วยเช่นกัน รวมกระทั่งถึงการที่เรามองเรื่องของสังคมสร้างสรรค์ มันไม่สามารถมองเพียงแค่มิติในเรื่องของเศรษฐกิจได้ แต่ว่ามันกว้างกว่ามิติเศรษฐกิจ เพราะว่าเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศคือพัฒนาแบบเป็นองค์รวม ประกอบกับแนวทางการพัฒนาของไทยแลนด์ 4.0 ก็จะมุ่งเน้นไปที่ในเรื่องของ sustainability ก็คือการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะฉะนั้นมันจึงเป็น concept ของสังคมสร้างสรรค์ที่มองว่ามันจะต้องนำสู่ผลลัพธ์หรือผลกระทบของการพัฒนาสังคมประเทศที่มีความยั่งยืนด้วยเช่นเดียวกัน แนวคิดจึงมาสอดรับกับทิศทางการพัฒนาประเทศของไทยแลนด์ 4.0 อย่างไรก็ตามมันอาจจะเป็นภาพความเข้าใจร่วมกันที่สอดคล้องกัน ที่นี้ต้องมองย้อนกลับมาดูว่าสถาบันอุดมศึกษา ตอนนี้เรามองสังคมสร้างสรรค์อย่างไร เรามองบทบาทของเราในการที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็น ไทยแลนด์ 4.0 อย่างไร เพราะว่าคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า สถาบันอุดมศึกษาเรามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในทุกๆ มิติ ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจอย่างเดียว ต้องมาดูว่าสถาบันอุดมศึกษาเขามองจุดนี้อย่างไร แล้วเขามีความเข้าใจร่วมกันอย่างไร สิ่งที่เขาทำอยู่ ณ ตอนนี้มันเพียงพอแล้วหรือยังในการที่จะช่วยขับเคลื่อนไปสู่จุดนั้น ซึ่งจากผลการวิจัย เราก็พบว่าจริงๆ แล้วพอมองที่คำว่าสังคมสร้างสรรค์ มันจะมีจุดร่วมใน concept ที่เรามองอย่างที่นำเรียนไปในตอนต้น แต่บางครั้งพอเรามองคำว่าความสร้างสรรค์ มันไม่ได้ถูกครอบไว้ด้วยเพียงแค่แนวคิดในเรื่องของความสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมที่เป็นวิทยาศาสตร์ อย่างเช่นเราก็มีข้อค้นพบว่าเราไปสัมภาษณ์คุยกับอาจารย์ที่อาจจะอยู่ในสายสังคม แต่ว่าไม่ได้อยู่ในสายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มองว่าทำไมนโยบายประเทศถึงมองคำว่าความสร้างสรรค์ไปเพียงแค่สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพราะฉะนั้นมันก็ทำให้เห็น gaps ว่าจริงๆ แล้วมันก็จะไปสอดคล้องกับเรื่องของinclusivityเวลาที่เราจะมองเรื่องของความสร้างสรรค์ต้องมองในทุกๆ มิติ ในทุกๆDisciplineเพราะว่าความสร้างสรรค์มีอยู่ในตัวคนทุกคน มันทำให้เราได้เห็นว่ามีช่องว่างในมุมมองตรงนี้อยู่ ประกอบกับพอเราได้มีการเก็บข้อมูล ในเชิงของQuestionnaireเราก็พบว่าตอนนั้นมีการเก็บข้อมูลกับสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ เราก็จะแบ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยตามที่ สกอ เขาได้มีการจัดกลุ่มเอาไว้ ได้มีการเก็บข้อมูลแยกตามDisciplineว่าเป็นกลุ่มสายสังคม สายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สายสุขภาพ อะไรต่างๆ พวกนี้ เราก็พบว่าจริงๆ แล้วนี้ ถ้าหากมองถึงสิ่งที่เขาดำเนินการกันอยู่ มันอาจจะไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก เพราะว่าเขาก็ยังมีการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ เรามองว่าการที่จะเกิดสังคมสร้างสรรค์หรือแม้แต่ไทยแลนด์ 4.0 เอง ก็ให้ความสำคัญว่าสถาบันอุดมศึกษาต้อง reach out ต้องสามารถที่จะไปทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ได้ เราก็พบว่าจริงๆ แล้ว สถาบันอุดมศึกษาไม่ว่าประเทศไหนเขาก็มีความพยายามทำตรงนั้นอยู่ แต่เพียงแค่ว่ามันอาจจะมีช่องว่างในเชิงของมุมมองความคิดซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง ก็คือในส่วนของผู้บริหารมหาวิทยาลัย เพราะว่าเรามีการเปรียบเทียบกลุ่ม มุมมองความคิดของแต่ละกลุ่ม เราเปรียบเทียบเป็นกลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับคณะ และก็อาจารย์ เราก็พบว่าในกลุ่มของผู้บริหารมหาวิทยาลัยกับอาจารย์จะมีความคาดหวังว่าอยากที่จะพัฒนาไปสู่ในเรื่องของแนวทาง ตามแนวทางของสังคมสร้างสรรค์ และก็ไทยแลนด์ 4.0 ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการที่จะต้องพยายามพัฒนาผู้เรียนให้มีการคิดนอกกรอบ การที่ให้ผู้เรียนมีความท้าทายมุมมองความคิดเดิม หรือแม้แต่การที่จะต้องมีการใช้เทคโนโลยี ซึ่ง ณ ตอนนั้นที่ทำวิจัยเมื่อประมาณปี 2012 จนถึงปี 2015 หรือ 2016 เป็นช่วงต่อ ช่วงนั้น MOOC ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก แต่ว่าตัวเองด้วยความที่ว่าเราก็มีการค้นคว้าเรื่องพวกนี้มาก่อนแล้วปรากฏว่าคนก็ยังไปมองคำว่าการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน เขาก็ยังมองว่าเขามีการใช้อยู่แต่เพียงแค่ว่าเทคโนโลยีมันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แล้วก็จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา เพราะฉะนั้นบางครั้งการที่เรามองว่าเรามีการใช้เทคโนโลยีอยู่ มันอาจเป็นเทคโนโลยีที่เขามอง ณ ปัจจุบัน แต่จริงๆ แล้วมันจะต้องมองภาพความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เวลาพูดถึงว่าความคาดหวังว่าจะต้องมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น หรือว่าเขามีการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนในระดับไหนก็พบว่า เขาก็มองว่าเขามีการใช้อยู่เยอะแล้ว เพราะว่าเรามีการหาค่าPNI (Priority need index) ซึ่งในด้านของการใช้เทคโนโลยีพบว่ามีค่า PNI ไม่สูงมากนักไม่ได้อยู่ในระดับต้นๆ ซึ่งมาเป็นประเด็นให้เราได้คิดว่าทำไม ก็อาจจะด้วยความที่ ณ ตอนนั้นเขามองเทคโนโลยีที่อยู่ในปัจจุบัน แต่เขาอาจจะยังมองภาพไม่เห็นเทคโนโลยีที่จะมาใช้ในการเรียนการสอน มันจะต้องมีพัฒนาการไปมากกว่านั้นแล้ว อีกประการหนึ่งที่พบว่า มันมีช่องว่างหรือ PNI ที่ค่อนข้างสูงที่คิดว่ามันเป็นความท้าทายของสถาบันอุดมศึกษาก็คือเรื่องของการที่เราจะต้องสามารถที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีการท้าทายทางความคิด ตรงนี้เข้าใจว่ามันเป็นแง่มุมในเชิงของวัฒนธรรมไทย การที่เราจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเขาได้แสดงมุมมองทางความคิดอันนั้นเป็นระดับเริ่มต้น แต่การที่จะให้เขาสามารถที่จะท้าทายมุมมองความคิดเดิม ซึ่งความคิดเดิมตรงนี้มันอาจจะมีแง่มุมในเชิงวัฒนธรรมว่าไม่จะเป็นผู้สอนหรือผู้เรียนอาจจะมองว่าการที่เรามี Critical Mind หรือว่าการที่เรามีมุมมองในเชิงของการที่เราวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือว่ามีมุมมองที่เราท้าทายความคิดตัวเองหรือท้าทายความคิดผู้อื่นซึ่งกันและกัน แต่ไม่ใช่การท้าทายแบบก้าวร้าว แต่ว่ามีมุมมองความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันตรงนี้ มันอาจจะยังไม่ค่อยไม่ได้รับการส่งเสริมมากนัก เพราะว่าอาจจะขัดต่อวัฒนธรรมเรา ซึ่งตรงนี้จะเป็นประเด็นความท้าทายที่คิดว่าเราจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับแง่มุมนี้กับอีกอันหนึ่งในเรื่องของการที่เราต้องมองอุดมศึกษาของเราที่ไม่ใช่ Ivory Tower หรือเป็นหอคอยงาช้าง ถ้าเรามองอุดมศึกษาจะยังอาจมองว่าความรู้จะอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา ก็คือเป็นสถาบันขั้นสูง จริงๆ แล้วมันมีความรู้ที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ความรู้ที่อยู่กับชุมชน เพราะฉะนั้น boundary หรือขอบเขตในการแบ่งแยกระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับชุมชนหรือสังคม มันจะต้องถูกทำลายกำแพงลง ตรงนี้มันจะทำให้เกิดสังคมที่จะต้องเปิดกว้าง โดยที่อาจารย์มหาวิทยาลัยก็จะต้องไม่มองว่าองค์ความรู้ที่เราสูงกว่าคนที่เขาเป็นนักปฏิบัติ แต่มันจะต้องมีการร่วมกัน เพราะฉะนั้นจะนำมาสู่ในเรื่องของแง่มุมในเชิงของการถ้ามีการสร้างองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับนักปฏิบัติหรือชุมชนที่อาจจะเป็นชาวบ้าน ที่นี้ต้องนำมาสู่ในเรื่องของระเบียบกฎเกณฑ์ในการที่จะเอื้อให้เกิดการสร้างองค์กรความรู้ร่วมกัน รวมกระทั่งถึงไม่ว่าจะเป็นลิขสิทธิ์ทางปัญญา ทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ เหล่านี้ ที่มันอาจจะเป็นความท้าทายของเราอยู่

พิธีกร เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจมาก และสามารถนำไปต่อยอดได้หลายกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นความคิดสร้างสรรค์ และการเสนอแนะความคิดเห็น และการศึกษาร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน รางวัลของงานวิจัยชิ้นนี้ที่ได้รับ ผู้ชมอาจจะยังไม่ทราบว่าผลงานของอาจารย์สามารถสืบค้นได้ในฐานข้อมูลของ Emerald ซึ่งสำนักหอสมุดก็มีให้บริการด้วย

 

มาพูดถึงรางวัลที่อาจารย์ได้รับ อาจารย์พอทราบไหมคะ เกณฑ์ที่ได้รับรางวัลในชิ้นนี้มีอะไรบ้าง

จริงๆ แล้วในส่วนของตัวเกณฑ์ในการพิจารณารางวัลก็ต้องเรียนว่าตัวเองไม่ได้ทราบก่อนในตอนต้น ด้วยความที่ว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนส่งผลงานเข้าไปเพื่อขอรับการพิจารณา แต่ว่าทาง Emerald ส่ง e-mail มาและบอกว่าตัวเองได้รับรางวัล ซึ่งตอนนั้นตัวเองก็เกิดความสนใจใคร่รู้ขึ้นมาว่า เขาพิจารณาจากอะไร ก็เลยลองเข้าไป search ข้อมูล ทั้งของ Emerald และใน googleดู ก็พบว่าเวลาที่เขาพิจารณารางวัลตรงนี้ เขาจะมีเป็น editorial board ซึ่งเขาจะพิจารณาจากบทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดในรอบปีนั้น เขาก็จะมีวิธีการ เช่น คนที่เป็น advisory editorial board จะได้รับการให้นำเสนอขึ้นมาพิจารณาจากบทความทั้งหมดในรอบปี มาดูว่าบทความไหนที่มีความน่าสนใจ เขาจะคัดมาก่อน 3 บทความ เขาก็จะให้ advisory editorial board ในการที่จะให้คะแนนซึ่งรางวัลตอนแรกตัวเองก็งงว่ามีตัว outstanding จะมีรางวัลอยู่ประมาณ 3 ประเภท ถ้าจำไม่ผิด อันที่หนึ่งเป็น outstanding and highly commended paper รางวัล outstanding and highly commended paper เป็นรางวัลที่เขาให้กับผลงานที่ most impressive ก็คือที่มีความน่าประทับใจมากที่สุดที่มีการตีพิมพ์ในรอบปีที่ผ่านมา นอกจากนี้จะมีที่เป็นรางวัล outstanding reviewer ให้รางวัลกับคนเป็น reviewer เพราะว่าเขาก็คงจะดู reviewer บางท่านก็จะสามารถ review และให้ comment ที่เป็นประโยชน์ และอีกอันก็จะเป็น outstanding author ซึ่งตรงนี้จะให้รางวัลเป็น outstanding author สำหรับคนที่เขียนเป็น book series คือเหมือนกับเขียนเป็นหนังสือ แต่ว่ารางวัลที่ prestigiousจะเป็น outstanding and highly commended ตัวเองก็เกิดคำถามขึ้นมาว่า แล้ว outstanding กับ highly commended ต่างกันอย่างไร เพราะว่าจากที่ตัวเองเข้าไป search ข้อมูลดู บางคนได้ outstanding บางคนได้ highly commended มาพบว่าที่เป็น highly commended กับ outstanding เขาจะพิจารณาจากตอนแรกที่ให้ editorial board เสนอมา 3 บทความ และก็ให้ advisory editorial board เป็นคนพิจารณาและให้คะแนน ซึ่งก็พบว่าใน outstanding จะมีเพียงแค่ชิ้นเดียวที่ได้ outstanding ที่เหลือจะไปเป็น highly commended เพราะฉะนั้นก็อาจจะเหมือนกับที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 อะไรอย่างนี้คิดว่านะคะ ลองเข้าไป search ดูว่าเกณฑ์ในการที่เขาพิจารณาว่าบทความประเภทไหนที่ควรจะได้ outstanding พบว่าเขาจะพิจารณาจาก contribution of something new to the body of knowledge เขาจะมองว่าผลงานของเรามันสามารถที่จะนำไปก่อเกิดประโยชน์ให้กับองค์ความรู้ใน field หรือในศาสตร์นั้นๆ อย่างไร ประกอบกับมีการพิจารณาจาก excellent structure and presentation คือ เป็นการดูเรื่องของ Format การเขียนว่าที่เราเขียนมันมีการจัดลำดับความคิด หรือมีวิธีการนำเสนอที่มันมีความเหมาะสมอย่างไร รวมกระทั่งถึงเรื่องของการเขียนสามารถที่จะเขียนได้ดีอย่างไร ตรงนี้เขาบอกว่า Rigour in terms of argument or analysis ก็คืออย่างบทความที่เป็นสายสังคมศาสตร์ เขาก็จะให้ความสำคัญกับเรื่องของการที่เราจะต้องสามารถนำเสนอมุมมองที่มันมี argument คือไม่ใช่บทความประเภทที่มันเป็น descriptiveประเภทมานั่งเขียนบรรยายว่าเป็นอย่างไร ตัว analysis ของเรา หรือบทวิเคราะห์ของเราต้องแสดงให้เห็นถึงข้อโต้แย้งหรือพูดง่ายๆ ก็คือการที่จะเกิดองค์ความรู้ใหม่ได้ มันต้องโต้แย้งกับสิ่งมันอาจจะเป็นอยู่เดิม เพราะฉะนั้นเขาจะพิจารณาว่าบทความของเรานำเสนอประเด็นข้อโต้แย้งตรงนี้ รวมกระทั่งถึงบทวิเคราะห์ที่เข้มข้น Rigourเหมือนกับมีความเข้มข้น รวมกระทั่งถึง Relavance to practice and further research in most case คือดูว่างานวิจัยชิ้นนี้สามารถที่จะนำไปเป็นพื้นฐานหรือว่าไปต่อยอดให้คนเข้าไปศึกษาต่ออย่างไรได้บ้าง อีกประการเขามองว่างานจะต้องสอดคล้องกับ scope ของวารสารนั้นๆ เพราะบางครั้งงานนั้นอาจจะไม่ได้ คือเขาจะพิจารณาว่าบทความนั้นมันไปสอดคล้องกับตัวจุดมุ่งหมายของวารสารนั้นๆ หรือไม่ และเขาก็บอกว่าโดยรวมแล้ว สิ่งสำคัญในการที่จะบอกว่าการที่จะได้ outstanding หรือไม่ outstanding เขาจะต้องให้เห็นว่ามัน stand out ออกมาอย่างชัดเจน ถ้าหากมัน stand out ออกมาอย่างชัดเจน อันนั้นจะไปเป็น outstanding

พิธีกร รางวัลที่อาจารย์ได้รับทางสำนักพิมพ์นำมาให้ที่เมืองไทยไหมคะ

ใช่ค่ะ ทางผู้จัดการ emerald เขาจะมี headquartersอยู่หลายประเทศ headquarters ที่ไต้หวันเขาก็บินมามอบรางวัลให้กับที่ประเทศไทย ก็เป็นคนไต้หวันก็มามอบให้เรียบร้อยแล้วค่ะ

พิธีกร อาจารย์ส่งบทความไปตีพิมพ์ที่วารสารแล้วก็ได้รับรางวัล ซึ่งรางวัลก็จะมีหลายประเภทเลย

เรามาเข้าถึงคำถามอีกคำถามหนึ่งที่นักวิจัยรุ่นใหม่อยากจะทราบในเรื่องของการส่งบทความเพื่อการตีพิมพ์ในวารสาร ใน paper ชิ้นนี้มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง พอเขียนเสร็จแล้วและส่งบทความ

ตรงนี้ก็ต้องเรียกได้ว่ามันอาจจะมีความโชคดีอยู่ด้วยนิดหนึ่ง ด้วยความที่ว่าตัวเองก็มองว่าบทบาทหน้าที่นักวิชาการ เราก็ควรจะต้องไปเข้าร่วมประชุมวิชาการ จะทำให้เราได้เห็นมุมมองทางวิชาการที่กว้างขึ้นด้วย ก่อนที่จะส่งตีพิมพ์ ตัวเองไปเข้าร่วมประชุมวิชาการซึ่งเป็นการประชุมวิชาการ ตอนนั้นถ้าจำไม่ผิดจัดที่ประเทศฮ่องกง ก็ได้ไปพบกับนักวิชาการ ซึ่งตอนแรกเราไม่รู้หรอกว่า เหมือนกับว่าไม่ทราบว่าเขาเป็นใครอย่างไร พอเรานำเสนอเสร็จ เขาก็เข้ามาคุยด้วย เราก็เลยเป็น friend กัน เหมือนกับเป็น communityของนักวิชาการ หลังจากนั้นเขาก็มีการส่ง e-mail มาบอกว่าวารสารนี้ จะว่าไปก็คล้ายกับหลายวารสาร หลายวารสารก็จะมีการส่งเชื้อเชิญให้ตีพิมพ์บทความในวารสารเขา เขาก็ส่งข้อมูลมาว่ามีวารสารนี้ถ้าสนใจก็ส่งตีพิมพ์ได้ใช่ไหมคะ พอเราเห็นชื่อวารสารเราก็ลองเข้าไปดูข้อมูลของวารสารนั้นก็พบว่ามันก็ตรงกับงานของเรา ก็เลยลองเขียนเข้าไปและส่งบทความเข้าไปก็พบว่าได้รับการพิจารณา เพราะฉะนั้นก็มองว่าบางครั้งการที่เราจะส่งบทความเราต้อง build up ความเป็นนักวิชาการของเราโดยไม่ได้มองเพียงแค่ว่า ฉันจะเขียนแต่บทความแต่เราจะต้องเอาตัวเองออกไปให้ explosion ในแวดวงวิชาการไปเข้าร่วมประชุมวิชาการตามเวทีต่างๆ เพราะจะทำให้เราเกิด network networkตรงนั้นจะทำให้เขาเห็นว่าArea of Interestความสามารถ ความสนใจของเราเป็นอย่างไร มันเหมือนกับเป็นการต่อจิ๊กซอว์กันได้อะไรอย่างนี้

พิธีกร เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะว่านักวิชาการบางท่าน อาจจะแค่คิดว่าเขียนบทความและส่งไปและรอสำนักพิมพ์ตอบรับ แต่การไปร่วมประชุมวิชาการเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เราจะได้รับในการเสนอผลงาน

เรามาพูดถึงเทคนิคในการเขียนบทความบ้างนะคะ จากที่อ่านบทความของอาจารย์ บทความมีจำนวนถึง 17 หน้า อาจารย์ใช้เทคนิควิธีการเขียนอย่างไร ให้ทางสำนักพิมพ์เขาตอบรับมาและตีพิมพ์ จากที่ทราบ Emerald เป็นสำนักพิมพ์ที่ยักษ์ใหญ่การที่จะได้รับตีพิมพ์วารสารก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อาจารย์ใช้เทคนิควิธีการอย่างไร

ในส่วนตัวเทคนิควิธีการคือ สิ่งสำคัญอันดับแรกเลยคือเราจะต้องไปศึกษาวารสารนั้นก่อน เข้าไปศึกษาและเข้าไปอ่านตัวอย่างบทความที่เขาตีพิมพ์ในวารสารนี้ จนกระทั่งถึงเข้าไปศึกษา author guideline ต้องเรียกได้ว่าของสำนักพิมพ์ Emerald เขาจะมี guideline ที่ค่อนข้างชัดเจน และก็เอื้อกับผู้ส่งผลงานได้ดีมาก รวมกระทั่งถึงเอื้อให้กับคนที่เป็น reviewer ด้วย เพราะว่าตัวเองก็มีวารสารอื่นที่เขาส่งมาให้เราเป็น reviewer ก็จะพบว่าเขาให้ guideline ที่ค่อนข้างชัดเจน บทความประเภทไหนที่เขารับ เช่น ลักษณะบทความวิจัยเป็นอย่างไร บทความ academic เป็นอย่างไร บทความที่เป็น case study เป็นอย่างไร เราจะได้เลือกได้ถูกว่างานของเราเป็นประเภทไหน เพราะฉะนั้นน่าจะเป็นข้อแนะนำอันดับที่หนึ่งคือต้องเข้าไปดูข้อมูลของวารสารและเข้าไปดู author guideline เขา และเข้าไปดูตัวอย่างบทความของเขา ซึ่งใน author guideline เขาก็จะบอกไว้เลยว่าให้เขียน abstract ไม่เกินกี่คำ ตัวบทความเองก็จะต้องเขียนได้ไม่เกินกี่คำ แต่ว่าพวกนี้จะยืดหยุ่นได้เล็กน้อย ตัวเองน่าจะคิดว่า 10% ยัง flexibleได้อยู่ของตัวเองคาดว่าน่าจะเกิน limit ของเขามาหน่อยหนึ่ง เพราะฉะนั้นมันจะทำให้เราสามารถที่จะเห็นแนวทางในการที่จะพัฒนาตัวบทความ ถ้าหากเราลองดูตัวเองก็มีข้อเรียกได้ว่า มีข้อแย้งๆ ในใจอยู่นิดหนึ่ง เวลาที่เราส่งบทความตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ กับเวลาที่เรา guide นิสิตให้นิสิตส่งบทความตีพิมพ์ที่เป็นวารสารในเมืองไทย pattern การเขียนจะไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นของต่างประเทศเขาจะเหมือนกับ เขาจะไม่ได้ fix format เรามากนัก เขาจะบอกว่าต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้างที่สำคัญๆ แต่อย่างเป็นของบ้านเรา ด้วยความที่ว่าเราเห็นในบทความวารสารไทย จะค่อนข้างเป็น descriptive มากกว่าที่จะเป็นการ set up บทความที่มันให้เห็นประเด็นข้อโต้แย้ง รวมกระทั่งถึงการให้เห็น gaps knowledge หรือช่องว่างขององค์ความรู้ เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญถ้าหากว่าเราลองเข้าไปศึกษาตัว guideline ว่าเวลาที่เขาพิจารณาเขาดูจากอะไรบ้าง อีกอันหนึ่งคิดว่าน่าจะเอื้อประโยชน์ก็คือการที่เราเป็น reviewer ของวารสารในระดับนานาชาติ เราก็ทำแต่ไม่ใช่วารสารนี้นะคะ มันก็ทำให้เราได้เห็นว่าในระดับนานาชาติ เวลาที่เขามีcriteriaในการพิจารณาบทความเขาดูจากอะไรบ้าง เขาก็จะให้ความสำคัญกับเรื่องที่เรา develop บทความที่มันไป address หรือว่าไปเติมเต็มช่องว่างขององค์ความรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาบทความที่มันมีประเด็นที่เป็นข้อโต้แย้ง เพราะว่าการโต้แย้งจะทำให้เกิดการแตกหน่อทางความคิด เพราะฉะนั้นมันเลยทำให้เราพยายามนำเสนอแง่มุมที่มันอาจจะให้เห็นถึงช่องว่าง ประกอบกับด้วยความที่เราได้เข้าไปศึกษาวารสารตัวอย่างบทความ คืออย่างในวารสารนั้นๆ เขาก็จะมีตัวอย่างบทความ ถ้าเราไม่เป็น member เราไม่ได้ subscribe เขาจะมีว่าตัวอย่างบทความที่สามารถเข้าไปอ่านได้ แต่ถ้าหากมหาวิทยาลัยเราบอกรับเข้าไปอ่านได้หมดเลย อยากจะเชิญชวนให้ทั้งนิสิตและคณาจารย์เข้าไปอ่าน จะทำให้เราเห็นแนวทาง อีกประการหนึ่งอย่างงานของตัวเองจะต้องนำเสนอข้อมูลที่เป็นสารสนเทศ บางครั้งเราจะไปให้ความสำคัญกับเฉพาะงานวิจัยของเรา แต่ว่าสิ่งสำคัญคือการ set up บทความคือการที่เราจะต้องเขียน introduction ซึ่งการ set up บทความมันคือการที่ทำให้เราได้เห็นว่าบทความนี้จะมีความน่าสนใจหรือเข้าไปเติมเต็ม international community อย่างไร ถ้าเราเขียนตีพิมพ์ในวารสารนานาชาตินั่นหมายความว่ามันจะต้องไป contributeให้กับนานาชาติได้ แต่ถ้าเราพยายามเขียน focus เพียงแค่ของบริบทเรา มันก็จะไม่ไปตอบโจทย์มุมมอง international perspective เอาง่ายๆ comment ที่ตัวเองได้มารอบแรก พอตัวเองได้ comment มาเสร็จปุ๊บ ตัวเองเกือบถอดใจ ว่าตายแล้วเราจะไหวไหม ถ้าเราต้องแก้บทความเพราะว่าก็จะมีประเด็นที่ reviewer ส่วนใหญ่คนที่เป็น reviewer เนื่องจากเราเขียนในบริบทของประเทศไทย เขาก็ส่งให้ reviewer ที่มีความเชี่ยวชาญหรือมีความสนใจในบริบทของประเทศไทย เพราะฉะนั้น reviewer เหล่านี้เขาก็จะค่อนข้างรู้ในบริบทของเรา เขาก็จะมีมุมมองที่เขาค่อนข้างจะมีCritical Mind อยู่ จะมี comment อันหนึ่งมาที่เขาให้ ขออนุญาตไม่กล่าวถึงแต่เขาจะให้ข้อมูลมาบอกว่าถ้าเราไม่กล้าที่จะ address issue นี้ก็ให้ไปตีพิมพ์เป็น local journal อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเราก็มองว่าตอนแรกเราก็คิดว่า นั่นหมายความว่า international community เขามีมุมมองที่เขามองประเทศไทยอยู่นะ และเขาต้องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับแง่มุมนี้ การที่เราก็ต้องพยายามไป fill in หรือไปตอบโจทย์ช่องว่างตรงนั้นอยู่ มันก็น่าจะไปเกิดประโยชน์ให้กับเขา เพราะฉะนั้นมันก็เลยทำให้เราก็ต้องพยายามหาแนวทางที่จะปรับบทความของเราให้มันไปตอบโจทย์มุมมองของ international community ให้มากที่สุด

พิธีกร เป็นการศึกษา scope ของวารสารและก็ issue ข้างในเป็นสิ่งสำคัญเลยในการเขียนบทความเพื่อจะตีพิมพ์ในวารสาร

มาพูดถึงวารสาร Emerald ในส่วนที่ได้อ่าน format ของ abstract ซึ่งทราบมาว่า abstract เป็นส่วนสำคัญในการเขียนบทความเพื่อการพิจารณาตีพิมพ์ การเขียน abstract ของ Emerald จะต่างจากของวารสารชื่ออื่นๆ เท่าที่ทราบมาก็คือของ Emerald เขาจะมี format อย่างชัดเจน วัตถุประสงค์ของอันนี้คืออะไร สิ่งที่เราทดลองคืออะไร เราเรียนรู้อะไร ซึ่งต่างจากวารสารแบบอื่นๆ ที่ต้องมีเป็น paragraph แบบนี้ อาจารย์คิดว่าการเขียน abstract แบบที่มี format แบบของ Emerald กับการเขียน abstract ของที่อื่นๆ มันทำให้การตีพิมพ์บทความหรือการเขียนของอาจารย์ยากหรือง่ายอย่างไร

ในมุมมองส่วนตัวคิดว่าการที่เขามีการแยกมาเป็นประเด็นๆ มันช่วยเรา มันช่วยให้เราสามารถที่จะ scope การเขียน abstract ได้อย่างมี structure และมีระบบมากขึ้น พูดง่ายๆ คือว่าเหมือนรู้ว่าเขาคาดหวังอะไรจากเรา เพราะฉะนั้นส่วนตัวมองว่ามันช่วย ซึ่งจากตัวประเด็นที่เขาให้เรามาในการเขียน abstract มันทำให้เราเกิดแง่มุมแตกหน่อด้วยซ้ำ เช่น เขาจะมีการถามว่า มันมี limitation หรือ implication อะไรบ้างจากงานวิจัยของเรา ซึ่งหากเรามองดูอย่างวารสาร หลายวารสารอาจจะมีลักษณะการเขียน abstract เพียงแค่ให้เราเขียนวัตถุประสงค์และก็ตัววิธีวิจัยของเราและผลของเราและประโยชน์ของเราแค่นั้น แต่ว่าจริงๆ แล้วตรงนี้ของ Emerald ให้เราเขียนตั้งแต่ purposes และตัว design ของเรา ตัวผลของเรา รวมกระทั่งถึงตัว research limitation และ implication รวมกระทั่งถึงมี practical implication อีก มี social implication อีก มี originality อีก เพราะฉะนั้นมันช่วยให้เราเห็นว่า เอาแค่ง่ายๆ คำว่า originality ของงานเรามันทำให้เราต้องพยายามคิดในฐานะผู้เขียน ผู้ทำวิจัย งานวิจัยชิ้นหนึ่งเรามองว่ามันมีคุณค่าแต่เพียงแค่ว่าเราจะต้องพยายามที่จะ look into พยายามมองเข้าไปให้ลึกว่าผลวิจัยตรงนี้มันมีคุณค่าอะไรบ้างมันมีความแปลกใหม่หรือมันมี originality อยู่ตรงไหน มันทำให้เราต้องพยายามคิดให้ลึกขึ้นถึงคุณค่าของงานวิจัยของเราซึ่งตรงนี้ตัวเองกลับมองว่ามันเป็นประโยชน์ ในการที่จะทำให้เราสามารถมองย้อนกลับไปมองตัวเองด้วย 

พิธีกร ก็เป็นคำแนะนำของอาจารย์ว่ายังไม่มั่นใจในการเขียน abstract แนวไหนอาจจะศึกษาจากตรงนี้ก่อนก็ได้

เราจะมาพูดถึงเรื่องของการตีพิมพ์ อาจารย์คะในการตีพิมพ์กับวารสารมีค่าใช้จ่ายไหมคะ

อันนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายเลย พอดีตอนที่เขามามอบรางวัล ที่ทาง Emerald จากไต้หวันมามอบรางวัล เราก็เลยถือโอกาสตรงนี้ ขอให้เขาช่วยบรรยายให้ฟังนิดหนึ่งถึงเทคนิคในเรื่องของการตีพิมพ์ ทาง Emerald เขาก็บอกนะคะ ถ้าจะให้เขามาบรรยายอีกเขายินดี เขาไม่คิดค่าใช้จ่ายอะไรเลย การตีพิมพ์กับวารสารของ Emerald คือวารสารก็อยู่ในฐานข้อมูล scopusเขาบอกว่าวารสารที่อยู่ในฐาน Emerald ไม่มีการคิดค่าใช้จ่าย เพราะว่าตรงนี้เหมือนกับว่าค่าใช้จ่ายมันจะไปเกิดขึ้นกับคนที่ subscribe ตัววารสารหรือฐานข้อมูล แต่ว่าผู้ส่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เขาก็บอกว่าการไม่คิดค่าใช้จ่ายจากผู้ส่ง มันก็ดีตรงที่ว่ามันจะทำให้เขาสามารถที่จะ screen งานที่มีคุณภาพได้ แต่ถ้าหากว่าเป็นวารสารที่คิดค่าใช้จ่ายจากผู้ส่ง ก็เหมือนกับว่าเขาก็จะอยากได้ อันนี้อาจจะนะคะ เขาอาจจะอยากได้ เนื่องจากเขาต้องrely on รายได้ของผู้ส่ง ในเรื่องของ screening อาจจะต่างกันนิดหนึ่ง อะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นในวารสารของ Emerald จะไม่มีการคิดค่าใช้จ่ายจาก author 

พิธีกร ค่าใช้จ่ายก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราจะต้องพิจารณาในการตีพิมพ์ด้วย

ในการเลือกวารสารแต่ละเล่มเพื่อการตีพิมพ์ อยากให้อาจารย์ให้คำแนะนำกับนักวิจัยรุ่นใหม่ๆ นิสิตปริญญาโท ปริญญาเอกที่จะเลือกวารสารเพื่อการตีพิมพ์ ว่าเราควรจะเลือกอย่างไรดี

จริงๆ แล้วพอเราพิจารณาวารสารสิ่งสำคัญคือ เราควรจะต้องเข้าไปดูก่อน เราควรต้องดูงานของเราก่อนนะคะว่างานของเราเป็นงานที่น่าจะไปสอดคล้องกับตัวจุดมุ่งหมายหรือว่า scope ของวารสารไหน เราก็พยายามเข้าไปดู list ของวารสาร ซึ่งจริงๆ แล้วทางสำนักหอสมุดเองจะมีฐานข้อมูลตรงนี้ที่จะช่วยนิสิตหรือคณาจารย์อยู่แล้ว ประกอบกับการที่เวลาที่เราจะเขียนบทความเราสามารถที่จะดูได้จากเอกสารหรือตัว reference ที่เราเอามาใช้ เราสามารดูได้ว่างานที่เราเอามาอ้างอิง เขาไปตีพิมพ์ในวารสารไหน อันนั้นจะเป็นอีกช่องทางหนึ่ง เพื่อที่จะดู เพราะมันมีความเกี่ยวเนื่องกัน ถ้างานของเรา side งานของชิ้นนี้ แล้วงานชิ้นนี้เขาตีพิมพ์ในวารสารนี้ นั่นหมายความว่าลักษณะงานมันอาจจะคล้ายกัน เราสามารถจะเข้าไปศึกษาตัว scope ของงานกับอีกประการหนึ่งก็คือ อันนี้เหมือนกับเป็นสองมุม อันแรกดูที่งานของเราเป็นหลัก กับอีกมุมหนึ่งก็จะมีบางคน นักวิชาการบางท่านก็จะมี journal champion ที่อยู่ในใจตัวเอง เรียกได้ว่าเป็นแฟนพันธุ์แท้ของวารสารนี้ว่าอย่างนั้นเถอะ เพราะว่าอาจเป็นวารสารที่ prestigious ในสาขาของเขา ถ้าเรามองว่าเราเองยังไงก็อยากตีพิมพ์ในวารสารนั้นให้ได้ ก็ควรที่จะศึกษาวารสารนั้นก่อน เพราะฉะนั้นเวลาที่เราจะมาเขียนบทความหรือ set up งานของเรามันจะได้ไปสอดคล้องกับ scope รวมกระทั่งถึงตัวแนวทางที่วารสารเขาพิจารณา เพราะฉะนั้นมันก็ได้สองแนวทาง อีกประการหนึ่งก็คือ การที่อยากจะแนะนำให้ไปเข้าร่วมประชุมวิชาการ เพราะว่าเราจะต้อง build up หรือว่าสร้างความเป็นชุมชนทางวิชาชีพหรือชุมชนทางวิชาการของเรา การที่จะ build ตรงนั้นได้มันต้องเอาตัวเองออกไป ไปพบปะ scholar สำคัญๆ ต่างๆ เหล่านี้ 

พิธีกร สิ่งที่อาจารย์ให้ไว้กับนักวิจัยรุ่นใหม่คือเรื่องของการที่จะเลือกตีพิมพ์วารสาร ต้องมองงานของตัวเอง ในส่วนห้องสมุด ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ ห้องสมุดก็จะมีฐานข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจตรงนี้ด้วย คือ web of science และ scopusถ้าเกิดเรามีวารสารในใจแล้วก็จะต้องเข้าไปศึกษาข้อมูลของวารสารตรงนั้น และอีกสิ่งสำคัญที่อาจารย์ให้ความสำคัญนั่นคือการเข้าร่วมประชุมวิชาการเพื่อสร้าง network ขออนุญาตประชาสัมพันธ์นะคะ กิจกรรมห้องสมุดเราจะมีอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของการเลือกวารสารเพื่อการตีพิมพ์ด้วย ผู้ชมสามารถติดตามได้ผ่านทางเว็บไซต์ห้องสมุดได้นะคะ สำหรับวันนี้เราได้รับประโยชน์มากเลยจากการที่อาจารย์มาแลกเปลี่ยนกับเราไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงานวิจัยของอาจารย์และการคัดเลือกการตีพิมพ์วารสาร ขอบคุณมากๆ ค่ะ สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์

อาจารย์ : ขอบคุณค่ะ จริงๆ มีอีกประเด็นไม่แน่ใจว่า อย่างบางทีพวกฐานข้อมูลเขาจะมีเป็นเหมือนกับว่า บางคนอาจจะกังวลว่าเราเขียนภาษาอังกฤษไม่ค่อยได้อะไรอย่างนี้ จริงๆ เขาก็จะมี service ของเขา แต่มันไม่ได้เป็น conflict of interestเขาก็จะมีเหมือนกับว่าแนะนำ อันนี้ไม่แน่ใจ น่าจะพอจะทราบข้อมูลว่าในการที่จะให้มีคนช่วย edit paper อะไรอย่างนี้

พิธีกร เท่าที่ทราบบางสำนักพิมพ์ก็จะมีบริการตรงนี้ให้ อาจจะคิดค่าใช้จ่าย หรือไม่คิดค่าใช้จ่ายก็แล้วแต่

อาจารย์ : ส่วนใหญ่เขาจะคิดค่าใช้จ่ายด้วยความที่ว่าบริการตรงนี้ จะไม่ใช่บริการของวารสารหรือฐานข้อมูลแต่เพียงแค่ว่าเขาเป็นช่องทางแนะนำให้ไปติดต่อกันเอง

พิธีกร อันนี้ก็เป็นคำแนะนำอีกอันหนึ่งของอาจารย์สำหรับวันนี้ก็ขอขอบคุณ รศ.ดร. พร้อมพิไล บัวสุวรรณ มากค่ะ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

 

 


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri