Kulib Talk #11
เทคโนโลยีพลาสมาเย็น : เทคโนโลยีสะอาดสำหรับศตวรรษที่ 21
https://www.facebook.com/kulibpr/videos/1456101284523591/

สัมภาษณ์ : ผศ.ดร.ศิวพล ศรีสนพันธุ์
พิธีกร      : นางสาวศรัญญภรณ์ โชลิตกุล
     แขกรับเชิญในวันนี้อาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งได้คว้ารางวัลผลงานวิจัยระดับดีมาก ประจำปี 2560 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมการวิจัย จากผลงานเทคโนโลยีพลาสมาเย็น จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ขอต้อนรับ ผศ.ดร.ศิวพล ศรีสนพันธุ์

 รู้สึกอย่างไรที่ได้รับรางวัลนี้
        
     ถ้าพูดถึงรางวัล รางวัลนี้เป็นรางวัลจากสภาวิจัยแห่งชาติ รู้สึกดี รู้สึกดีมากๆ รู้สึกเป็นเกียรติ เพราะว่าการจะทำงานวิจัยแต่ละชิ้นออกมาได้ เราต้องเริ่มค่อยๆ คิดกระบวนการ โจทย์วิจัย โจทย์วิจัยอาจจะมีของเราเอง โจทย์ของส่วนร่วม แต่โจทย์นี้อาจจะตอบโจทย์ส่วนรวมได้มากหน่อย พอเราคิดไตร่ตรอง เราส่งงานวิจัยไปเราได้รางวัลมา เรารู้สึกเป็นเกียรติต่อตัวเราเอง ทั้งทีมงาน ภาควิชา คณะ และมหาวิทยาลัยเพราะว่าเรารู้สึกว่าเราสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยได้

อยากให้อาจารย์เล่าถึงรางวัลนี้ให้พวกเราฟังว่าเป็นรางวัลอะไรมีเกณฑ์ในการมอบรางวัลให้กับใคร ยังไงบ้าง

         In detail เลย รางวัลนี้เป็นรางวัลที่จัดโดยสภาวิจัยแห่งชาติ เมื่อเรามีผลงานวิจัยที่รู้สึกว่าพอใช้ได้ เราก็ทำการยื่นให้สภาวิจัยแห่งชาติพิจารณา เราก็โชคดีได้รางวัลในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมการวิจัยระดับดีมาก ปีนี้มีทั้งหมด 3 รางวัล แต่เราก็โชคดีได้มา2 รางวัล ใน 3 รางวัล ถือว่าโชคดีมากๆ เลย รางวัลนี้ไม่ใช่ของผมคนเดียว ผมมาพูดในฐานะของทีมงาน เพราะรางวัลนี้เป็นรางวัลที่เกิดจากการบูรณาการวิจัยจากหลายงานวิจัย อย่างผมเอง ผมเชี่ยวชาญทางด้านนาโนอิเล็กทรอนิกส์ ผมก็ต้องมีทีมงานทางด้านพาวเวอร์ อิเล็กทรอนิกส์อาจารย์นิธิพัฒน์ อาจารย์วีรวุฒิด้านไฟฟ้ากำลัง จนกระทั่งเราต้องบูรณาการใช้งานของเราเทคโนโลยีพลาสมาเย็น เราก็ได้รับการสนับสนุนร่วมมืออย่างดี จากภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อาจารย์ดำรงวุฒิ อ่อนวิมล ท่านกรุณาสนับสนุนเราเต็มที่ ท่านเห็นว่าโจทย์นี้สำคัญกับประเทศ พอเรายื่นไปผมก็เชื่อว่าสภาวิจัยแห่งชาติก็เห็นด้วยเช่นเดียวกัน เลยเป็นที่มา

ผลงานของทีมงานคือเทคโนโลยีพลาสมาเย็น มีความเป็นมาอย่างไร
        
     อย่างที่เกริ่นไปตัวผมเองถึงแม้จะเป็นหัวหน้าทีมงานวิจัยในตรงนี้ ผมมีความเชี่ยวชาญทางด้านนาโนอิเล็กทรอนิกส์ นาโนเทคโนโลยี ถ้านึกภาพไม่ออกลองนึกภาพถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พวกคอมพิวเตอร์ มือถือ ผมเข้าไปอยู่ในนั้น พอเราทำงานวิจัยมาถึงจุดหนึ่งเรารู้สึกว่ามันเป็นความท้าทาย เรามีไอเดียมีความท้าทายว่าเราอยากสร้างงานวิจัยสักชิ้นที่เราสามารถตอบโจทย์ประเทศในวงกว้าง คือเป็นconcept big changeต้องมีการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง เพราะฉะนั้นเราจึงมานั่งคิด ตกผลึก มาหาโจทย์วิจัย งานวิจัยของเราถึงจะมีความซับซ้อนอะไรก็แล้วแต่ ผลลัพธ์สุดท้ายควรจะต้องใช้งานง่าย สร้างเองได้ พัฒนาง่าย และเข้าถึงคนได้ง่ายเวลาใช้งานแล้วส่งผลกระทบอย่างวงกว้าง สร้างimpactหรือยกระดับประเทศขึ้นมาได้ทำอะไรง่ายๆตรงนี้เองเราเริ่มค่อยๆ คิดผสมเล็กผสมน้อย ค่อยๆ คิดไตร่ตรอง ผมอาจจะศึกษาเรื่อง อิเล็กตรอนในไฟฟ้า ขยับจนมาเจอโจทย์หนึ่งเรียกว่าพลาสมาเย็น เรารู้สึกเราเข้าถึงได้ จริงๆตรงพลาสมาเย็นมีข้อจำกัดของมันอยู่เพียงแต่เดี๋ยวเราค่อยลงลึกdetail แล้วกัน ที่แน่ๆ เรารู้แล้วว่าพลาสมาเย็นมีประโยชน์มาก เพราะมันมีองค์ประกอบที่มีประโยชน์มากมาย งานวิจัยต่างประเทศคนที่เขาทำมาก่อนเรา เขาsupportเราว่ามีประโยชน์แต่การใช้งานอาจไม่ง่ายอย่างที่เราคิด นี่เป็นโจทย์วิจัยของเรา เป็นที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้

พลาสมาเย็นคืออะไร

     ถ้าเราพูดถึงพลาสมาเย็นนึกถึง คิดว่าอุณหภูมิเท่าไรครับคุณหนึ่ง ความรู้สึกเป็นอย่างไร (พิธีกร ความเย็นน่าจะเป็นน้ำแข็ง) มันต้องเย็น แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีความเข้าใจผิดเล็กน้อยเกี่ยวกับเรื่องของชื่อพลาสมาเย็นเทคโนโลยีนี้ พลาสมาเย็นนี้อุณหภูมิที่เราพูดถึงอุณหภูมิการทำงานจริงๆ ประมาณให้ดีเลยควรจะเท่ากับอุณหภูมิห้อง อุณหภูมิประมาณ 25 องศาที่ใช้งานแล้วมันเย็นได้อย่างไรก่อนจะพูดถึงพลาสมาเย็น เราอาจจะต้องมาทำความเข้าใจเรื่องของพลาสมาปกติก่อนว่า พลาสมาคืออะไร เราเกิดมาทุกคน เราชินกับ สถานะ 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซไม่ว่าจะจับต้องอะไร มีแต่ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ เราไม่พูดถึงสถานะที่ 4 คืออีกสถานะหนึ่ง เราเรียกสถานะพลาสมาอาจจะนึกภาพไม่ออก นึกภาพน้ำแข็ง น้ำแข็งคือของแข็งให้อุณหภูมิ ให้ความร้อน พลังงานมีหลายแบบ แต่ว่าพลังงานความร้อนง่ายหน่อย ให้ไปมันก็ละลายเป็นของเหลว สักพักหนึ่งก็จะละเหยกลายเป็นไอออกมา ถามว่าเป็นไอแล้วสิ้นสุดไหม มันไม่สิ้นสุด จริงๆ แล้วพอสิ่งเหล่านี้เป็นก๊าซ เป็นไอ ได้รับพลังงานที่มากพอ มันจะเกิดการแตกตัว แตกตัวจะให้เป็น แสง สี เสียง บางอย่างมา แต่เราอาจไม่ได้สัมผัสกับมันมากนัก เป็นปรากฏการณ์ที่มีมายาวนานมาร้อยปีเราย่อปรากฏการณ์ธรรมชาติมาอยู่ในมือเราเพียงแต่เราจะย่อมันยังไงเท่านั้นเอง ถ้านึกภาพไม่ออก ลองนึกภาพปรากฏการณ์ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า เห็นแสง ได้ยินเสียง เราจะรู้สึกจะเห็นละอองสีม่วงกระจายเต็มท้องฟ้า สิ่งที่เราอยากไปเที่ยวกันมากที่สุดคือ แสงเหนือนั่นคือปรากฏการณ์หนึ่งของพลาสมา นั่นก็คือพลาสมาแตกตัวให้เป็นแสงออกมา แสงแต่ละสีอาจจะมีค่าไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับเขาเรียกว่าโมเลกุลในอากาศ อย่างเราเห็นแสงสีม่วงเวลาฟ้าผ่า ไนโตรเจนจะให้แสงสีนี้มาในแสงเหนือจะมีค่าสะท้อนมุมสะท้อนเราเห็นรุ้งมีหลายสีเราไม่พูดถึงแล้วกัน พลาสมาปกติอาจจะเกิดการคายประจุแต่มันเต็มไปด้วยไอออน ไอออนคือประจุไฟฟ้า เคยได้เรียนใช่ไหมครับ อะตอมมีโปรตอน อิเล็กตรอน ลองนึกภาพ ปกติมันอยู่เฉยๆ แต่ถ้ามันไม่อยู่เฉยๆ มีพลังงานเข้ามาแล้ว หลุดเป็นอิสระ แยกไปอยู่เดี่ยวๆ เรียกว่าประจุไฟฟ้า หรือไอออนพอมีสิ่งเหล่านี้ในอากาศมากๆ ก็จะเกิดปรากฏการณ์หลายๆ อย่างเกิดขึ้นเป็นที่มาที่ไปของพลาสมา พลาสมาปกติอุณหภูมิเท่าไร เวลาฟ้าผ่ามา เห็นไหมครับว่า เกิดความร้อน ไหม้ เกรียมเลย พลาสมาปกติเรานิยามเป็น normal oneเลย พลาสมาปกติอุณหภูมิสูงเป็นพันองศา อาจจะขอลงdetail นิดนึง ในทางการศึกษาอิเล็กตรอนจะมีพลังงานเยอะมันถ่ายทอดให้กับโมเลกุลรอบข้างแบบสมบูรณ์ มันก็จะเกิดพลังงานความร้อนตามไปด้วย สิ่งที่เราเห็นชัดก็คือเครื่องเชื่อมไฟฟ้าจริงๆ เครื่องเชื่อมไฟฟ้าเป็นปรากฏการณ์พวกพลาสมา แต่เราเรียกพวกนี้ว่าพลาสมาร้อน เพราะว่าอุณหภูมิจริงๆ เขาสูงมาก เป็นพันองศา เราจะทำอย่างไรที่จะเอาพวกนี้มาใช้งานโดยที่ทำอุณหภูมิให้ใกล้เคียงอุณหภูมิห้อง นี่คือเทคโนโลยีพลาสมาเย็น พลาสมาเย็นเหมือนเราจำลองฟ้าผ่ามา แต่เราไม่อยากให้เกิดฟ้าผ่าพลาสมาเย็นที่เราเห็นมีประโยชน์หลายอย่าง ใกล้ตัวมีขีดจำกัดในการสร้าง พลาสมานึกถึงอุปกรณ์ใกล้ตัว เราเคยได้ยินทีวีพลาสมา ทีวีพลาสมาใช้หลักการคล้ายๆ พลาสมาเย็นมีการแตกตัวของไอออนถามว่าขนาดมันเท่าไร ขนาดมันอยู่ในหลักนาโนมิเตอร์ ไมโครมิเตอร์ ขนาดเท่าไรนึกไม่ออก ลองนึกภาพเส้นผม ความกว้างของเส้นผม การที่จะเป็นทีวีได้ ก็จะประกอบด้วยจุดพลาสมาเป็นล้านพิกเซล มันแสดงถึงขีดจำกัดในการสร้างพลาสมาเย็นไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่มีมานานแต่ว่ามีข้อจำกัดหลายอย่างที่ไม่สามารถทำให้เดินหน้าต่อไปได้ เดี๋ยวนี้เราไม่ค่อยเห็นทีวีพลาสมาในท้องตลาด เพราะเรามีแอลอีดีเข้ามา ทีวีพลาสมาเราสร้างขนาดเล็กได้ เพราะว่าใช้ไฟฟ้าเยอะ กินกำลังไฟฟ้าเยอะเราเสียค่าไฟฟ้าเยอะเทียบกับแอลอีดี ขอกลับไปกลับมามาถึงพลาสมา ถ้าผมอยากจำลองฟ้าผ่ามาอยู่ในลูกบอลนี้ ที่เราเล่นกันตามห้องนอน ห้องนั่งเล่น หรือกิจกรรมต่างๆ นี่เรียกว่าพลาสมา เรานึกภาพว่าข้างในมีเหมือนประจุไฟฟ้า เกิดสนามไฟฟ้า ก๊าซแตกตัวจะเกิดเป็นแสง สีที่เห็นกันอยู่ ที่เห็นวิ่งหาเข้ามือผม มือผมอาจจะมีอิเล็กตรอนเยอะ เป็นเรื่องของไฟฟ้า จะมีการtransferส่งถ่ายพวกอิเล็กตรอน แต่ที่แน่ๆ สิ่งที่เห็นก็คือ แสง อาจจะยังไม่ได้ยินเสียง เสียงแนะนำให้ไปเดินตามสายไฟฟ้าแรงสูง จะสังเกตได้ยินเสียงซ่าๆ สิ่งเหล่านี้มักจะมีเสียงมาด้วย แสง เสียงและข้างในประกอบไปด้วยโมเลกุลต่างๆ มากมาย เห็นแสงแบบนี้ วิธีการให้เกิดแสงก็ไปใช้ในพลาสมาทีวี ขีดจำกัดที่เราเห็นข้างในมีก๊าซเฉพาะ ข้างในเป็นสุญญากาศก่อนแล้วค่อยใส่ก๊าซลงไป ปัญหาของพลาสมาเย็นมาแล้ว ที่ผ่านมาพลาสมาเย็นจำเป็นต้องใช้ระบบสุญญากาศพลาสมาอุณหภูมิปกติเราใช้มานานแล้ว แต่เราใช้ในอุตสาหกรรมเซมิคินดักเตอร์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คนทั่วไปเข้าไม่ถึง เพราะว่าต้องใช้ระบบสุญญากาศที่ดีระบบซีล หลายอย่าง ทำไมจึงใช้กับอุตสาหกรรมพวกนั้น แสง สี เสียง และองค์ประกอบของมัน มีอนุมูลอิสระ อิเล็กทริกสปีชีส์อิเล็กตรอน ประจุโปรตอน มีพลังงาน ซึ่งมันจะทำให้เกิดปรากฎการณ์หลายอย่าง ตั้งแต่ในระดับนาโน คราวนี้มาดูขีดจำกัดบ้าง ขีดจำกัดพลาสมาเย็น ถ้าจะทำตัวนี้ให้ใช้งานได้ขนาดใหญ่ขึ้น มันใช้สุญญากาศ ใช้พลังงานเยอะมันสร้างยาก มันยากที่คนจะเข้าถึงได้ในการใช้งาน ต้องย้อนไปที่มาของงานวิจัย เรารู้สึกว่าตรงนี้มีประโยชน์ สามารถใช้อะไรหลายอย่างมากมาย ถ้าเราดูองค์ประกอบใช้ได้ตั้งแต่วงการแพทย์รักษาโรค ทำได้ทุกอย่าง แต่การใช้เข้าถึงยาก concept ของงานวิจัยนี้ ที่เราตั้งเป้าไว้เลย ก็คือต้องไม่ใช้สุญญากาศต้องอุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้อง ต้องขยายสเกล หรือขยายขนาดได้ง่าย สามารถapply ประยุกต์ใช้ได้หลายๆ แอพพลิเคชั่น และที่สำคัญราคาต้องถูก ต้องสร้างเองในประเทศได้ นี่เป็นเกณฑ์ที่ตั้งเป้าไว้เลย
 
หลักการทำงานของเทคโนโลยีพลาสมาเย็นคืออะไร

         นั่นแหละครับ เลยย้อนกลับมาที่เราพูดถึงว่า ถ้าconditionถ้ามันconcurrentขีดจำกัดมันเยอะขนาดนี้เราจะทำอย่างไร ที่ทำให้เครื่องสามารถสร้างเครื่องขนาดเล็กได้ ใหญ่ได้แล้วแต่เราใช้พลังงานไม่มาก ใช้พลังงานไฟฟ้า จริงๆ พลาสมาเย็น หลักการทำงานเครื่องที่ทำเรียกว่าไฮบริด ก่อนจะพูดถึงไฮบริด อย่างที่ยกตัวอย่างไป มีวิธีการสร้างเยอะ ขอให้เราเข้าใจเขาสักนิดหนึ่งเข้าใจพลาสมาว่าเขาต้องการอะไรถึงจะเกิดเขาได้ เราอาจจะใช้อุปกรณ์ในตู้ไมโครเวฟ หลายอย่างสร้างได้ คลื่นวิทยุ เรารู้สึกว่าเราจะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก หรือใกล้เคียงกับพลังงานไฟฟ้า เรารู้จักเขาแล้วเราจะควบคุมเขาได้ ไม่ใช้ระบบสุญญากาศหลักการทำงานที่เราสร้างขึ้นมาใช้ร่วมกับไฮบริด เพราะว่าเรามีการรวมสองปรากฏการณ์เข้าด้วยกันเรียกว่าปรากฏการณ์โคโรน่า ในทางสายวิศวกรรมเรียกPartial Dischargeก็คือการคายประจุไฟฟ้าถ้าเราเดินไปตามหม้อแปลงไฟฟ้า เสาไฟฟ้าแรงสูงที่มีการฉนวนไม่ดี เราจะได้ยินเสียงซี่ เป็นเสียงการแตกตัวของอากาศ แนะนำว่าอย่าไปเดินใกล้มากเพราะว่าประจุหรืออิเล็กตรอนที่แตกตัวอยู่ตรงนั้น มีแกนนำจะมีการเคลื่อนtransfer ประจุ หรือช็อตมาหาเราได้ สังเกตว่าไฟฟ้าแรงสูงเราไม่จำเป็นต้องไปถึงเขาแต่ไปเฉียดเขา เขาก็สามารถส่งประจุมาหาเราได้ ไฟดูด เสียชีวิตได้ ตรงนี้อาจเป็นความรู้ไว้ว่าอาจต้องระมัดระวัง เพราะระบบไฟฟ้าแรงสูง โคโรนาเกิดจากที่เราสามารถสร้างให้มีความแตกต่างของประจุไฟฟ้าเกิดขึ้น คนเราอาจจะสงสัยเคยได้ยินประจุไฟฟ้างงไหมว่า คืออะไร เคยสัมผัสไหม (พิธีกร เคยเรียนมา มีประจุไฟฟ้าบวก ประจุไฟฟ้าลบ) ขออนุญาตใช้เครื่องมือ พื้นฐานเลยเราเรียนตั้งแต่เล็กจนโต เคยเห็นไหมที่เราเอาไม้บรรทัดมาถูตัวเราเอง เราเรียนทำไม เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าTriboelectric Effectถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ พอเราถูเราจะได้ยินเสียง เสียงเหมือนดีดของอากาศ บ้านเราความชื้นเยอะอาจไม่ค่อยมีปัญหา ต่างชาตินี่หนัก เพราะอากาศค่อนข้างแห้ง ยิ่งหนัก ยิ่งเยอะ ตรงนี้คืออะไร การที่ถูกันเกิดอะไรขึ้น ยกตัวอย่างง่ายๆ ผมtransfer energy ของผม พลังงานจากการที่ถูไปเข้าที่เทฟลอนหลอด พลังงานของผมทำให้เกิดการเหนี่ยวนำอิเล็กตรอน ในเคสนี้อาจมีอิเล็กตรอนก็คือประจุไฟฟ้าสะสมอยู่ในพื้นผิว ประจุไฟฟ้าสะสมอยู่ในพื้นผิวมากๆ จะได้ยินเสียงคายประจุ เปี้ยะเลย ผมเลือกวัสดุที่ให้เห็นชัดนิดหนึ่ง ขอโทษนะครับถ้าเอาไปใกล้คุณหนึ่งจะรู้สึกขนลุก สังเกตว่าประจุไฟฟ้าสะสมอยู่ตรงนี้ แต่คุณหนึ่งอยู่ใกล้ๆ ไม่ได้สัมผัส แต่จะรู้สึกว่าเหมือนมีแรงมากระทำกับคุณหนึ่ง สิ่งที่เรารู้จักไฟฟ้า ย้อนถึงหลักการพื้นฐานของไฟฟ้า วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เราพูดถึงอิเล็กตรอนหรือประจุไฟฟ้าก็แล้วแต่ ประจุพวกนี้โดยหลักแล้ว เขาจะสร้างแรงขึ้นมา เป็นที่มาของสนามไฟฟ้า เป็นที่มาของวิทยาศาสตร์หลายๆ อย่าง สังเกตที่ให้คุณหนึ่งสัมผัส รู้สึกว่าพอมีประจุไฟฟ้าเกิดขึ้นก็จะเกิดแรง พอมีแรงมากระทำอาจจะมองไม่เห็น แต่แรงเหล่านี้ที่เกิดจากการแตกตัว ถ้าสัมผัสใกล้หน่อย เคยโดนไฟฟ้าสถิตไหมโดนโลหะแล้วเปรี๊ยะ คือหลักการเดียวกัน ถ้าผมสัมผัสถ้ามันเยอะๆ จะรู้สึกแบบเดียวกับไฟฟ้าสถิต หรือถ้าขยายขนาดขึ้นมาคือฟ้าผ่านั่นเอง หลักการตรงนี้สังเกตว่า ถ้าเข้าใกล้คุณหนึ่งถ้าผมมีประจุไฟฟ้าเยอะจะเกิดการแตกตัว เรียกว่า โคโรน่า แต่ไม่จบแค่นี้ มีเรื่องของฉนวนเรื่องพวกนั้นเข้ามาด้วย ลองนึกภาพฟ้าผ่า เราเห็นฟ้าแลบ เราเห็นละอองพลาสมาเต็มเลย เราทนไม่ได้ถ้ามาก ถ้าฟ้าผ่าแล้วประจุไฟฟ้าเกิดจากไหนเมฆมันเสียดสีกันเหมือนที่ผมถูเมื่อกี้นี้ ประจุต่างกันนั่นคือมหาศาล แต่ถ้าไม่ให้เกิดฟ้าผ่า ยกตัวอย่างเป็นการเทียบเคียงเพียงแต่ให้เกิดการแตกตัว ในเมื่อเราเข้าใจเขามากนิดหนึ่ง คีย์หลักของผมก็คือสนามไฟฟ้า พอประจุมีสนามไฟฟ้า ประจุทำให้เกิดสนามไฟฟ้า พอสนามไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ ไม่เพียงพอที่จะทำให้คายประจุได้เต็มที่ เกิดฟ้าผ่า ถ้าฟ้าผ่าจะกลายเป็นพลาสมาร้อน ถ้าผมไม่ทำให้มันเกิด มันอาจจะเกิดพลาสมาบริเวณนั้น แต่มันจะมีหลักการดีไซน์นิดหน่อย พอเรามารวมสองconditionเข้าด้วยกัน ทั้งโคโรน่าและเรื่องของฉนวน ผมเรียกว่าพลาสมาไฮบริด ตรงนี้เองที่ทำให้ผมสามารถสร้างมันขึ้นมาโดยที่บรรยากาศปกติ บางท่านอาจจะเห็นวีดีโอบ้างแล้ว สิ่งที่เห็นไม่ได้ใช้กับระบบสุญญากาศนะครับ อากาศธรรมดานั่นล่ะครับ หรือเราอาจจะมีการfeed ใส่ก๊าซบางอย่างเข้าไป ขึ้นอยู่กับการดีไซน์ผมขออนุญาตบอกก่อนว่า องค์ประกอบของมันมีทั้งแสงยูวี สนามแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก ประจุบวก ประจุลบ อนุมูลอิสระ สิ่งเหล่านี้เราอย่าให้มาก อย่าให้น้อย เรารู้จักเขาเราcontrol ได้ เราสามารถเลือกใช้แอพพลิเคชั่นได้ตามความเหมาะสมของเรา นี่คือหลักการง่ายๆ อธิบายให้เข้าใจการทำงานของเครื่องนี้ แต่ถ้าเกิดในเชิงลึก อาจต้องเข้ามาคุยกันอีกทีว่า มันทำอย่างไร เป็นเรื่องทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มันมากขึ้นไปนิดหนึ่ง

มีอีกคำที่สงสัยเทคโนโลยีพลาสมาเย็นกับนาโนเทคโนโลยีเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

     จริงๆ แล้วคำว่าเทคโนโลยีพลาสมาเย็นกับนาโนเทคโนโลยี มันทั้งเหมือนกันและแยกกันไม่ออกเลย ทุกอย่างของเราที่ใช้ชีวิตอยู่ทุกวันนี้ เรา base onคือเรามีพื้นฐานมาจากคำว่านาโนเทคโนโลยี บางคนอาจไม่เข้าใจคำว่านาโน เราอาจจะรู้จักสเกล เซนติเมตร มิลลิเมตร เรารู้แล้วว่ามิลลิเมตรซอยลงไป จาก 1 เมตร 1มิลลิเมตร ลดลงไปพันเท่าก็จะเป็นไมโครเมตรเริ่มนึกภาพยาก ลองดึงเส้นผมเรามา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของผมเรา อยู่ประมาณ 60-100 ไมโครเมตร และถ้าลดจากไมโครเมตรไปพันเท่า นั่นคือระดับนาโน เริ่มจุดเริ่มต้นมาจากนาโน ปรากฏการณ์ที่เราใช้ส่วนใหญ่ เป็นปรากฏการณ์ที่เราobserveได้ สังเกตได้ด้วยตา เราเห็นแสงเราเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง มันใหญ่พอที่ให้เราเห็น แต่จริงๆ ลึกๆ ลงไปประกอบด้วย นาโนมากมาย แต่งานนี้ในความเข้าใจของเรามันอยู่ในระดับนาโน เราเอามันขึ้นมาพูดถึงการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ปรากฏการณ์ของเขาจนสามารถสร้างเป็นพลาสมา พลาสมามีขนาดใหญ่ขึ้นจนเราสามารถจับต้องได้ คือขนาดใหญ่ แต่ปรากฏการณ์ข้างในเกี่ยวข้องกับนาโนทั้งหมด นาโนเทคโนโลยีในการเกิด นาโนอิเล็กทรอนิกส์ในการสร้าง จนถึงเมื่อเรานำพลาสมาเย็นไปใช้งาน เรามีตัวอย่างเดี๋ยวเราจะได้คุยกัน ผมไปใช้ในข้าว การกระทำของsurfaceหรือพื้นผิว มันก็มีกระบวนการปฏิกิริยาในระดับนาโน ซึ่งเราต้องมองลึกอย่างนั้น เราถึงเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น ต้องบอกว่าเป็นส่วนหนึ่งของนาโนเทคโนโลยี

ทุกวันนี้อาจจะเห็นบ้างที่พลาสมาเย็นถูกนำไปใช้กับ วงการเสริมความงาม วงการแพทย์งานวิจัยของอาจารย์เป็นทางด้านนี้ด้วยไหมคะ

     จริงๆ ตั้งใจ มีความตั้งใจวันหนึ่งจะต้องถึงเทคโนโลยีพลาสมาเย็นเทคโนโลยีพลาสมาเย็นใช้มานานมาก ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย โอโซน อาจจะเข้าใจยากนิดหนึ่ง โอโซนเป็นsubset เป็นส่วนหนึ่งของพลาสมาเท่านั้นเอง พลาสมาสามารถสร้างโอโซนได้มากน้อยก็ได้อยู่ที่เราดีไซน์ ข้อจำกัดของเขาอยู่ที่เราสร้างขนาดใหญ่ จริงๆ เป็นข้อจำกัดที่มีมานาน ทุกวันนี้ยังเป็นปัญหาของเทคโนโลยีนี้ ไม่ใช่ของเราคนเดียว ทั้งโลกนี้ที่ทำงานวิจัยด้านนี้ ทำยังไงให้เป็นขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก จับต้องได้ง่ายสุด นึกภาพถ้าทำขนาดเล็กแบบนี้ได้ จริงๆ มีวิธีการเล่น เกี่ยวกับพลาสมาตัวนี้เล่นอย่างไร บางคนอาจเห็นในYouTubeตรงนี้อาจจะไม่สะดวกนัก ถ้าเราเอาเหรียญบาทวางไว้ แล้วเราเอานิ้วไปสัมผัสเราจะสู้สึกได้ว่าจะมีกระแสไฟฟ้าวิ่งเข้าหามือเรา ถ้าเราปิดไฟเราจะมองเห็น พลาสมาบอลอย่าไปประดับในห้องนอน ดูอาจจะไม่มีอะไร มีโลหะ ตรงนี้เดี๋ยวถ้ามีโอกาสจะโชว์ให้ดูนะครับ เอาโลหะวางแล้วเราไปใกล้ สังเกตว่ากระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านมือเราโดยการเหนี่ยวนำ ที่ยกตัวอย่างให้ดูได้ มันสามารถเกิดขึ้นในสเกลเล็กๆได้ แอพพลิเคชั่นอย่างแรกที่เราอยากใช้ ตอนแรกไม่คิดใหญ่มาก อยากapply ในกระบวนการแพทย์และเสริมความงาม ที่ใช้ในการแพทย์และเสริมความงาม เรารู้ว่าเขาประกอบไปด้วยอนุมูลอิสระ แสงยูวี ศักย์ไฟฟ้า นี่คือองค์ประกอบยังไม่รวมถึงกระบวนการประกอบไปด้วยการกัดเซาะ เช่นกัดเซาะผิวหนัง กัดเซาะเชื้อ กัดเซาะอะไรก็แล้วแต่ นึกภาพตรงนี้ถ้าเรามีผิวเสีย ผมอาจไม่เข้าใจเรื่องการแพทย์มากนัก ต้องบอกตรงนี้ก่อน เราใช้สารเคมีในการล้างออกแต่เราก็สามารถใช้พลาสมาในการล้างออก ปัจจุบันเทรนของการวงการเสริมความงามใช้อยู่แล้ว เพราะว่าค่อนข้างจะปลอดภัย เทคโนโลยีนี้ไม่ใช้สารเคมีและไม่ทิ้งสารเคมีไว้รอบข้าง นี่คือสิ่งที่มันน่าชื่นชม อีกอย่างหนึ่งงานวิจัยที่ใช้หลักๆ ในการใช้ในวงการแพทย์ ก็คือ เบาหวานรักษาแผลเบาหวาน เคยปรึกษาแพทย์ แผลบางอย่างอาจจะไม่เหมาะสมกับกับการใช้สารเคมี หรือใช้อะไรราดลงไปเท่าไรนัก พลาสมาจะช่วยได้ อย่างเช่นในทางทันตกรรม ด้านฟัน ในการยิงเข้าไปเพื่อรักษารากฟันหรืออะไรก็แล้วแต่ ช่วยในการฆ่าเชื้อได้ ไปทำลายแบคทีเรียบางอย่างได้จนกระทั่งปัจจุบันวงการแพทย์ที่ใช้กันหนักๆ เลยกำลังโฟกัสกันหลักๆ เลยคือโรคมะเร็ง จริงๆ ผมมีความยินดีแพทย์ท่านไหนสนใจผมยินดีร่วมมืออย่างเต็มที่แต่โจทย์วิจัยของเราก็คือโอเคผมสร้างได้แต่ผมอยากขยายขนาดให้ ในเมื่อผมอยากให้มันราคาถูก ไม่อยากจะพูดว่าให้มันอยู่ในหลักพัน หลักหมื่น หรืออะไรประมาณนี้ด้านราคา แล้วมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ใช้งานทั่วไป ผมก็เลยมาapplyทางการเกษตร พอดีเรามีทีมงานที่พร้อมอาจารย์คณะเกษตร ภาคพืชไร่ อาจารย์วรวุฒิ ท่านก็พร้อมบอกว่าอาจารย์ลองศึกษาเรื่องข้าวไหมครับ ข้าวมีเชื้อราติดมากับเมล็ดข้าว ไหนจะข้าวอินทรีย์ ถ้าprocess ของอาจารย์ช่วยได้ ก็เลยเป็นที่มาของงานวิจัยเราเอาพลาสมาเย็นที่เราทำ ที่เราขยายขนาด ก่อนที่เราจะขยายขนาดใหญ่ให้ดู เราdefineขนาดareaที่แน่นอน ทำการวิจัยที่ชัดเจน ก่อนที่เราจะทำอะไรลงไปเราต้องยืนยันให้ได้ว่ามีประโยชน์เราทดสอบกับเมล็ดข้าวขาวหอมมะลิ105 ข้าวที่ไม่ผ่านพลาสมา เมื่อเราทดสอบการงอก จะมีเชื้อราที่ปนมา เจริญเติบโตไปด้วย การที่ข้าวของเราที่ผ่านพลาสมา ค่อนข้างจะใสสะอาดมันเกิดจากกระบวนการกัดเซาะพื้นผิว นอกจากข้าวรวมถึงmaterialวัสดุต่างๆ เช่นอาจจะไม่ชอบเกาะน้ำ ไม่ซึมซับน้ำดี พอเราจัดพลาสมาในconditionในสถานะที่เหมาะสม มันสามารถดูดซับน้ำได้ไวขึ้น ได้ดีขึ้น เมล็ดข้าวเราลองหยดน้ำที่เท่ากันเล็กๆ เมล็ดข้าวธรรมดาใช้เวลา 20 นาที เมล็ดข้าวนี้อาจใช้เวลาไม่ถึง 2 นาที หรือ 1 นาที ขึ้นอยู่ในปริมาณที่เราcontrolแต่เรื่องของการซึมซับน้ำดีไม่ดีเดี๋ยวค่อยมาดูกัน บางอย่างเหมาะสม บางอย่างไม่เหมาะสม แต่ผลที่ออกมาก็คืออัตราการงอกที่สูงกว่าเกือบสิบเปอร์เซ็นต์ แล้วก็สะอาดกว่าแน่นอน แล้วก็มีการงอก เจริญเติบโตยาวกว่า นอกจากงานวิจัยของเราแล้ว งานวิจัยทั่วโลกก็supportเมื่อใช้งานแล้วเก็บอายุการใช้งานของอาหารได้มากขึ้น หลายสิ่งหลายอย่าง

ถ้าเรานำเทคโนโลยีพลาสมาเย็นไปใช้ได้จริงๆ จะเกิดประโยชน์อย่างไรกับประเทศชาติบ้างคะ


     จริงๆผมอยู่ในจุดที่เรียกว่าใหม่ในเรื่องของการapplyสถานะของผมที่ผ่านมา เราต้องยืนยันให้ได้ก่อนว่าเขาใช้ประโยชน์ได้จริง หนึ่ง สองpprocessกระบวนการของเราต้องอย่างที่ผมบอก ต้องขยายสเกลได้ ถึงคนได้ง่าย ราคาไม่แพง ตอนนี้ผมรู้สึกว่าผลงานวิจัยที่ออกมาsupport หมดแล้ว คราวนี้ถึงกระบวนการที่ต้องขยับในการใช้งาน จริงๆ ใช้งานได้หลายอย่าง เราคุยเรื่องข้าวแล้วกันนะครับ เพราะมันใกล้เคียงกับงานที่เราทำไป เรารู้สึกว่าการแข่งขันข้าวในตลาดโลกทุกวันนี้มีสูงมากแล้วก็ใช้ปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนการผลิต สารเคมี สารเคมีนี้อย่างที่เราทราบกันก็อาจจะหนักมากเลย ปัญหาสารเคมีมีแนวโน้มว่าใช้มากขึ้นทุกปี ต้นทุนการผลิตก็เพิ่มขึ้น และที่สำคัญคือไม่ได้ส่งผลกระทบแต่แค่ผู้บริโภค สารเคมีปนเปื้อนตั้งแต่พื้นดิน ถูกไหมครับ การเก็บรักษา ปนเปื้อนมากับผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเกษตรกรที่ใช้งานเอง หรือแม้แต่ผู้บริโภคเพราะฉะนั้นสิ่งที่เราอยากจะทำ ถ้าเราเอาprocess นี้เข้าไปช่วยลดการใช้งานสารเคมีลงบ้าง หรือแม้แต่ในงานข้าวอินทรีย์อะไรแล้วแต่ หรือการเกษตรอินทรีย์ที่อยากได้อินทรีย์pureและprocess นี้ อย่างที่เรารู้ โอโซน หรือทุกอย่างเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ แน่นอนว่าผู้บริโภคก็สบายใจ ตลาดเราก็เปิดกว้างขึ้นเชื่อว่าการแข่งขันของเราตลาดเราก็จะสูงขึ้น ลดปัญหาสุขภาพอนามัย ทั้งเกษตรกรเอง ผู้บริโภค และที่ผมreport ไป มันช่วยเรื่องเพิ่มผลผลิตแน่นอน ในการทำงานที่ดีขึ้น ในงานวิจัยบางชิ้นก็supportแล้วว่า โดยเฉพาะพืชบางชนิดที่เติบโตยาก งอกยาก ตัวนี้มีบางอย่างสามารถไปช่วยเขาsupportได้ด้วยองค์ประกอบของเขา รวมทั้งกระบวนการนี้ยังสามารถช่วยในการเก็บรักษา บางครั้งอยากอินทรีย์ 100%ออร์แกนิค 100%หรือherbมีการลดใช้สารเคมีลงบ้าง หรือการจัดการหลังเก็บเกี่ยว คราวนี้มาดูในส่วนอื่น เช่น ในส่วนของการเก็บรักษาอาหาร จริงๆ มีงานวิจัยหลายชิ้นเริ่มมีการapply กระบวนการเก็บรักษาอาหารด้วยองค์ประกอบที่เขามี แต่ต้องบอกก่อนว่าในแต่ละแอพพลิเคชั่น มันอยู่ที่เราจะดีไซน์ ออกแบบให้เหมาะสมกับงาน ขอให้เราเข้าใจเขา อย่างตอนนี้ความรู้งานวิจัยเราพอสมควรแล้ว เราสามารถดีไซน์ออกแบบให้เหมาะกับการใช้งานได้ อย่างเกษตรกรใช้กับข้าวเราก็มีการดีไซด์อีกแบบหนึ่งขนาดใหญ่ที่ราคาไม่แพงมาก เข้าถึงง่าย ขณะที่ในส่วนการใช้งานในเรื่องการเก็บรักษาอาหารต่างๆ อาจต้องมีการออกแบบใหม่ให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับการใช้งาน ตรงนี้ถ้าเราทำน่าจะเพิ่มคุณค่าให้กับผลผลิตของเรา การเกษตรของเราให้สู้กับตลาดโลกได้ แข่งขันกับตลาดโลกได้ เช่น ในช่วงปัจจุบันนี้เทรนออร์แกนิค เทรนสุขภาพมาแรงมาก อย่างที่เราทราบกัน

(พิธีกร ถ้าเรานำเทคโนโลยีด้านนี้มาใช้ในด้านการเกษตรก็จะเป็นการเพิ่มคุณภาพผลผลิตของเรา เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค)

ข้อคิดแนวคิดนี้มีแรงบันดาลใจมาจากไหน ในการสร้างผลงานดีๆ ในระดับนี้

     จริงๆ แรกๆ ไม่ได้คิดเลย ดูเป็นคนไม่ดีเลยตอนเรียนทำงานวิจัยอยู่ พอกลับมาเริ่มเห็นหลายสิ่งหลายอย่าง เริ่มปรับสภาพ เริ่มรู้สึกว่าไม่ได้แล้ว งานวิจัยเราเดินหน้าได้แต่ทำอย่างไรงานวิจัยจะมีประโยชน์กับประเทศเรากับคนของเรามากขึ้น นี่คือแรงบันดาลใจ จุดเริ่มต้น ครั้งแรกผมก็คิดงานวิจัยของผมคนคงเข้าถึงยาก ทำให้คนจับต้องไม่ได้ พอถึงจุดจุดหนึ่งมันเริ่มจากความรู้สึกอยาก อยากทำอะไรให้กับประเทศบ้าง ทำให้เกษตรกร ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ทำให้เรายกระดับประเทศขึ้นมาได้ แน่นอนไม่ได้สวยหรู ไม่ได้มาอย่างนี้แน่นอน การทำงานมีล้มเลิก มีผิดพลาด ได้แต่ยิ้มรับและหัวเราะไปกับเขากับปัญหาที่เกิดขึ้น ทำไม่ได้ผล เห็นอย่างนี้ไฟช็อตเองก็บ่อย ระบบนี้บอกไว้ก่อนเลยที่เราดีไซน์มาปลอดภัย การใช้งานดีไซน์ออกมาต้องปลอดภัยกับผู้ใช้งานเราสัมผัสมาแล้ว เรารู้ว่าอะไรคืออันตราย อะไรคือปลอดภัย แรงบันดาลใจตรงนี้ก็คือเกิดจากความอยาก สำหรับงานวิจัยที่จะให้แก่รุ่นน้อง จุดเริ่มต้นในการทำงาน คือมีการผสมเล็กผสมน้อย ไม่ได้ประสบความสำเร็จทุกครั้ง ในบางครั้งความสำเร็จของเราก็ไม่ได้เกิดจากตั้งใจของเรา ความตั้งใจคือคาดหวังเอาไว้จะได้ผลแบบนี้ บางครั้งผลลัพธ์ที่ออกมาก็ตรงข้ามกับสิ่งที่เราคิด เราต้องยอมรับเรียนรู้ไปกับเขา เรียนรู้ไปกับมันว่าบางครั้งประตูนี้ปิด อาจจะมีประตูอีกอย่างเปิด ความสำเร็จในบางครั้งเราต้องอดทน ตั้งใจ

ในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนนิสิตด้วย แนวคิดในการสร้างงานวิจัยได้ถ่ายทอดให้นิสิตได้อย่างไรบ้าง

     นิสิตนักศึกษาก็จะพยายามโฆษณาเหมือนกัน ช่วงแรกอาจจะพูดได้ไม่เยอะ ช่วงนี้เริ่มมีนิสิตเข้ามาแล้ว มีนิสิตจากมหาวิทยาลัยเราเอง เริ่มมีอาจารย์มีความร่วมมือจากต่างมหาวิทยาลัย หรือแม้แต่จากหน่วยงานรัฐเริ่มเข้ามาสนใจ มีบางหน่วยงานให้เราทดสอบและชื่นชอบในผลการทดสอบของเรา โดยเฉพาะกับนิสิตรู้สึกว่ามันเป็นความรู้นะ สิ่งเหล่านี้นิสิตก็สนุก เพราะว่าได้ลงมือทำได้คิด ได้เล่น บางครั้งนิสิตเข้ามายังสงสัย อย่างที่คุยกันครั้งแรก พลาสมาเย็นคืออะไร สงสัยแปลกใจ แต่พอลองทำไปมาสนุก มันก็สนุกเพราะว่าเราเล่นกับปรากฏการณ์บางอย่าง งานวิจัยพลาสมาเย็นมันคือการบูรณาการหลายสาขาวิชา ไม่จำกัดแค่วิศวกรรมไฟฟ้า เพราะฉะนั้นตรงนี้ฝากถึงไม่ว่าจะเป็นนิสิตหรือผู้สนใจ โดยเฉพาะนิสิตนักศึกษาไม่จำกัดอยู่แค่นิสิตวิศวกรรมไฟฟ้า จะเป็นสาขาตรงข้ามเลย จะอยู่คณะเกษตร อยู่คณะอุตสาหกรรมเกษตร วิทยาศาสตร์ อะไรก็แล้วแต่ แม้แต่ชีววิทยา การทำงานตรงนี้ผมไม่ได้เก่งทุกด้าน และไม่ใช่คนที่รู้ทั้งหมด เราต้องอาศัยความรู้ทุกด้าน รู้หลายๆ ด้าน บางครั้งผมชื่นชอบ เด็กบางคนมีความสามารถทางชีวะมาเลย ชอบเลย เพราะเราสามารถapply งานหลากหลายมากขึ้น อยากบอกนิสิตที่มีความสนใจ อยากประยุกต์ใช้งานหรือเรียนรู้ ยินดีนะครับlab welcomeเข้ามาได้เลย ความรู้พื้นฐานสงสัยผมบอกได้เลย จริงๆ ใช้ความรู้แค่พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ก็พอ ประสบการณ์บอกได้เลยว่างานวิจัยคือการเรียนรู้ใหม่ สิ่งที่ผมทำอยู่เริ่มต้นอาจจะไม่รู้เลย บางอย่างต้องศึกษาใหม่ อาจจะศึกษาไปด้วยกัน อยากจะฝากนิสิตไว้ตรงนี้นะครับว่า ถ้ามีความสนใจก็ยินดีต้อนรับ ไม่ว่าจะสาขาไหนก็ตาม

ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีพลาสมาเย็นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยใช่ไหม

     จัดว่าเป็นจุดขาย เพราะว่าพลาสมาเย็นบางคนจะได้ยินในลักษณะที่เรียกว่า Green เทคโนโลยี เทคโนโลยีสีเขียว เทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 กำลังมา ด้วยองค์ประกอบของเขา อย่างที่ผมบอก แต่จำไว้บางคนอาจจะบอกโอโซนมากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ดี ถูกไหมครับ ขึ้นอยู่กับการดีไซน์ แต่ที่แน่ๆ ตัวนี้ไม่ทิ้งสารเคมีให้กับสิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่ผู้ใช้งานเองก็ตาม และประโยชน์ของเขาในเมื่อเขาสามารถกำจัดเชื้อรา สามารถรักษาโรคได้โดยไม่ใช้สารเคมี เขาเลยติดชื่อว่าเป็นหนึ่งในgreen เทคโนโลยี นอกจากนั้นประโยชน์ของเขาเอง ถ้าออกแบบดีๆ เราสามารถใช้ได้ในพวกบำบัดน้ำเสียมีมานานแล้ว มลพิษทางอากาศ หรือแม้กระทั่งงานวิจัยใหม่ บำบัดน้ำแล้วเอาน้ำนั้นไปเพาะปลูกต้นไม้ แล้วต้นไม้เจริญเติบโตมากขึ้น บางคนอาจจะมีคำถามด้วยซ้ำไป ทำไมวัชพืชแถวๆ ไฟฟ้าแรงสูง จริงๆ เป็นคำถามมานานแล้ว ไฟฟ้าแรงสูงข้างล่างทำไมวัชพืชเจริญเติบโต สิ่งเหล่านี้ตอบท่านได้ ปรากฏการณ์นี้ตอบท่านได้ และที่สำคัญคือผมบอกไม่ทิ้งสารเคมีไว้ให้กับระบบสิ่งแวดล้อม นี่เลยเป็นที่มาของ green เทคโนโลยี

เวลาอาจารย์สร้างสรรค์ผลงานวิจัยแต่ละชิ้น อาจารย์ใช้แหล่งข้อมูลอะไรบ้างคะเพราะว่าเห็นจากหลายสาขาวิชาเลย

     เยอะเลยครับ สมัยตอนเรียนผมอ่านหนังสือสอบก็อ่านเยอะ สมัยไปเรียนต่างประเทศก็อ่านเยอะ ตอนทำงานอ่านหนักกว่าเดิมอีก ค่อนข้างใช้เยอะมาก เริ่มตั้งแต่หนังสือ ตำรา ต้องฝากถึงนิสิตนักศึกษา เรามีโอกาสอยู่ในมหาวิทยาลัยแล้ว เรามีแหล่งข้อมูลที่เมื่อเราออกจากมหาวิทยาลัยแล้ว เราเข้าไม่ถึง ผมอาจจะไม่เข้าใจเรื่องฐานข้อมูลมากนัก แต่พอดีผมอยู่ที่นี่ ผมหาได้เข้าจากaccount ที่นี่ เพราะฉะนั้นข้อมูลผมใช้หมดIEEE เกี่ยวกับวิศวกรรมไฟฟ้า พูดถึงเกี่ยวกับงานวิจัยอย่างเดียวwileyมีทั้งงานวิจัย มีทั้งหนังสือต่างๆ E-book ฐานข้อมูลacsงานวิจัยเราต้องทันโลกให้ทัน งานวิจัยขยับตลอดเวลา ในการทำงานวิจัยเราไม่ใช่คนเก่ง ไม่ได้ตอบปัญหาทุกอย่างได้ บางครั้งเราต้องพึ่งพาคนที่เขาทำมาก่อนเรา คนละแนวกับเราจะตอบเราได้ ฐานข้อมูลที่ผมใช้ค่อนข้างเยอะ มีspringer อีก มีเยอะแยะเลย เป็นฐานข้อมูลที่มีให้บริการในห้องสมุด

นอกจากผลงานพลาสมาเย็นแล้ว ผลงานเราสามารถสืบค้นงานของอาจารย์ได้ที่ไหนบ้างคะ

     จริงๆ ผลงานของผมเองมีในฐานข้อมูล ผมอาจจะโชคดีมีตีพิมพ์ในทุกฐานข้อมูล แต่ง่ายสุด ตรงๆ เลยก็คือ google ยุคสมัยนี้เราอยู่ด้วย google จริงๆ ถ้าสนใจงานผมพิมพ์ชื่อผมเข้าไปใน google จะ link ต่อไปเรื่อยๆ ผมยังคงแนะนำว่างานวิจัยผมไม่ใช่ทุกสิ่ง ผมอาจจะ reportแค่บางอย่างแต่อยากจะให้คนที่สนใจไปดูงานผมแล้วดูหน้า referenceงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาไปเลยครับ เพราะจะเจออะไรที่ตอบโจทย์มากกว่า

ขอให้อาจารย์ฝากข้อคิดในการทำวิจัย เพื่อสร้างผลงานต่อยอดให้กับประเทศชาติต่อไป

     การทำงานวิจัยอาจจะไม่ได้คำตอบ หรือไม่ได้ผลที่เราคาดไว้ตั้งแต่แรก เราวัดที่ความอดทน เราต้องอดทนและต้องยอมรับ และเรียนรู้กับเขา งานวิจัยหลายชิ้นที่ประสบความสำเร็จ จุดเริ่มต้นอาจจะเริ่มต้นทำอีกแบบหนึ่ง แต่สุดท้ายผลลัพธ์ที่ออกมาอาจจะตอบโจทย์อีกอย่างหนึ่ง ที่impact มากกว่า หรือบางครั้งถ้าเรารู้สึกว่ายังไม่ได้ผลที่เราต้องการ เราต้องค่อยๆ อดทน ค่อยๆ ทำไป อยากจะฝากตรงนี้ไว้ว่าต้องอดทนและใจเย็น เปิดกว้าง

พลาสมาเย็นที่อาจารย์วิจัยนำไปใช้ด้านอื่นอีกไหม

     ด้านอื่นอีกได้ไหม ผมขอยกตัวอย่าง งานวิจัยปัจจุบัน พร้อมใช้ พร้อมดีไซน์ พร้อมออกแบบในด้านการเกษตรอย่างที่บอก เริ่มจากเมล็ดพันธุ์เรามีแนวโน้มที่เราจะใช้เพื่อการเก็บรักษาอาหาร การเก็บรักษาอาหารในที่นี้ ความตั้งใจเลย อาหารเราแพ็คในซีลในถุงเรียบร้อยแล้ว หรือพืชผักผลไม้โดยเฉพาะออร์แกนิคกระบวนการพลาสมา ผมสามารถเคลียร์พลาสมาให้เกิดขึ้นได้อย่างที่เห็น ลองนึกภาพข้างใน containประกอบด้วยไปด้วย ผักผลไม้ต่างๆ เราไม่ต้องไปแกะซีลออกมา ขอให้อยู่ในสภาพเดิมแต่เรารักษาอายุของอาหารให้นานขึ้น นี่คือเรื่องของเกษตรค่อยๆ ไล่ขึ้นไปจนขนาดใหญ่ขึ้น การดีไซน์ออกแบบ อาจจะคาบเกี่ยวกับเรื่องการแพทย์ ในลักษณะขนาดใหญ่มากขึ้น เราอาจใช้กระบวนการออกแบบดีไซน์ให้พลาสมาทรีตเม้นต์พลาสมาปกติเราใช้คำว่าทรีตเม้นต์เพราะเหมือนเป็นการรักษา เอาอะไรมาทาผิวเรียกทรีตเม้นต์หรือผ่านผิว นี่คือการเกษตร หลังจากนี้จะมีเรื่องมลพิษ ควัน เรารู้ว่าตัวนี้สามารถทำปฏิกิริยากับมลพิษ ควันพิษได้ โอโซนประกอบไปด้วยreactive oxygen speciesอนุมูลอิสระพวกนี้พร้อมจะจับกับโมเลกุลต่างๆ กลิ่น หรืออะไรก็แล้วแต่ และสุดท้ายสามารถapply ได้หลายแอพพลิเคชั่นสุดท้ายที่อยากให้ไปถึงคือวงการแพทย์ ผมก็ยินดีแต่ตัวผมเองอาจจะไม่ค่อยถนัดด้านการแพทย์ แต่เราพร้อมที่จะช่วยsupportดีไซน์เครื่องมือให้

พลาสมาเย็นช่วยในการเกษตรได้อย่างไรบ้าง

     นอกจากการเก็บเมล็ด การฆ่าเชื้อ เริ่มตั้งแต่การเก็บเมล็ดพันธุ์ ผมอาจจะพูดไม่เคลียร์ด้วย เมล็ดตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ เราเก็บรักษาเขาปกติเราต้องคลุกสารเคมีบางอย่าง อาจารย์ท่านเองก็ไม่ชอบเท่าไรนัก เป็นโจทย์ให้เรามา เราก็ทดสอบ process นี้ให้ลดสารเคมีลงได้บ้าง เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ทำให้เมล็ดพันธุ์เติบโตได้ไวขึ้น หรือดูดซึมน้ำได้มากขึ้น การดูดซึมน้ำได้มากขึ้น ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ในการเกษตรด้านอื่นนอกจากเก็บเมล็ดพันธุ์ส่งออกออร์แกนิค ยังมีแอพพลิเคชั่นที่เหนือกว่านี้คือ plasma activated waterเราเอาไปบำบัดน้ำ ฆ่าเชื้อในน้ำ บำบัดน้ำให้ความสะอาดมากขึ้น และในบางconditionเราสามารถบำบัดน้ำทำให้น้ำมีคุณลักษณะบางอย่าง เช่น ไนเตรท ไนไตรท์ให้มีคุณสมบัติบางอย่างที่มีประโยชน์ต่อพืชผักผลไม้มากขึ้น มีคนนำงานวิจัยไปเพาะปลูก ทำก็งอกงามมากขึ้นด้วย เป็นตัวอย่างหนึ่งของการเกษตร

เทคโนโลยีพลาสมาเย็นประยุกต์ใช้ได้กับผลิตภัณฑ์อะไรได้อีกบ้าง

     จริงๆ การฆ่าเชื้อไม่ได้จำกัดอยู่ที่เมล็ดพันธุ์ เครื่องมือต่างๆ หรือแม้แต่มือเรา มือเราต้องล้างมือ ทุกครั้งที่ผมใช้เจล ผมก็ไม่ได้รู้สึกดีทุกครั้ง รู้สึกไม่มีเชื้อโรคแต่มีเจลเกาะที่มือผม แต่พลาสมาเป็นละอองถ้าเรานำมากำจัดเชื้อ ในพื้นผิว เครื่องไม้เครื่องมือทางการแพทย์ อาจจะประยุกต์ถึงขั้นclean มือเรา อุปกรณ์บางอย่างรู้สึกว่ามีเชื้อโรคติดอยู่อาจจะผ่านพลาสมาได้

งานประยุกต์ผลิตภัณฑ์พวกนี้มีโอกาสได้ใช้ในเร็วๆ นี้ไหม

     ตัวผมเองก็ถือว่าช้าในระดับหนึ่ง ที่ผ่านมามัวแต่ไปfocus ว่า ที่มันใช้ได้ผลจริงๆ รึเปล่า ถามprocess นี้ทำได้นานไหม ทำได้พักใหญ่แล้ว สิ่งที่สำคัญสำหรับผม ผมต้องยืนยันให้ได้ว่าเรารู้ว่ามีอะไร เราต้องเข้าใจเขาด้วยว่า ใช้กับอะไรได้บ้าง แต่ตอนนี้ถึงจุดแล้ว ตอนนี้กำลังขยายสเกลที่ตั้งเป้าไว้เลยเราจะสร้างเครื่องขนาดใหญ่ งานวิจัยอยู่lab-scaleเรารู้ว่าหน่วยงานบางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เขาอยากทดสอบปลูกในระดับไร่นา หรือระดับใหญ่มากขึ้น เราอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจาก improviseระดับเล็กเป็นขนาดใหญ่ ซึ่งคาดว่าเร็วๆ นี้ อาจจะได้เห็น ขอเวลาสักนิดหนึ่ง ใครสนใจลงทุนก็ดี

ผลงานวิจัยสามารถหาได้ที่ไหนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     มหาวิทยาลัยเราเป็นมหาวิทยาลัยดิจิตอลไปแล้ว งานทุกอย่างอยู่บนเว็บไซต์จากภาควิชา คณะ หาได้โดยส่วนใหญ่ เราเป็นดิจิตอลlink ถึงกันหมดแล้ว search google สิ่งที่ออกมาแรกๆ คือภาควิชา แล้วก็ไล่ไปตามนั้น

อาจารย์คิดว่าวงการวิทยาศาสตร์ในบ้านเราเป็นอย่างไร ควรจะผลักดันด้านไหนให้กับเยาวชนเพื่อเป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่

     พูดตรงๆ เลยว่าตอนที่เป็นอาจารย์ใหม่ได้สัมผัสกับเด็ก นิสิตที่เข้ามาใหม่ ปี 1 แต่ละคนที่เข้ามา จบ ม.4 5 6 มา แต่ละคน fresh มาก และความรู้เขาเป็นความรู้ที่ผมรักมาก ผมชอบ เขามีไอเดียต่างๆ มากมาย สะท้อนถึงเด็กเหล่านี้คือเรียนสายวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เล็กจนโต หรือเด็กบางคนอาจไม่ได้เรียนสายวิทยาศาสตร์มาโดยตรง พื้นฐานวิทยาศาสตร์ไม่ได้มาจากไหน มาจากการสังเกต ศึกษาความรู้เพิ่มเติมทำความเข้าใจ  ผมเองเพิ่งเข้าวงการวิทยาศาสตร์จริงๆ ตอนที่ผมเรียนปริญญาเอกนี่เอง เรากลับไปสัมผัสเด็กวงการวิทยาศาสตร์บ้านเรา เยาวชนเก่ง เพียงแต่ว่าปัญหาของเราในมุมกว้าง การผลักดันให้เขานำความรู้เหล่านั้นมาใช้งานจับต้องได้ง่าย ระบบการเรียนรู้ที่ที่เข้ามา บางครั้งผมเข้าใจ พอเข้ามาเรียนเรามีวิชาเฉพาะทางบางอย่างมากขึ้น ความรู้นั้นก็ใช้น้อยลง แต่ในปัจจุบันโลกของเราจะเข้าไปอยู่ในบูรณาการสหวิทยาการหลายสาขา ถ้าทำให้เขาเรียนในสาขาหลักของเขา และยังใช้ความรู้พื้นฐาน ความเข้าใจเก่าของเขาเข้าด้วยกันได้ โดยเฉพาะงานmergeหลายๆ ฟิวเข้าด้วยกัน บางครั้งหนีไม่พ้นเยาวชนอาจมีความถนัดทางวิทยาศาสตร์ไม่เหมือนกัน ยิ่งถ้าร่วมมือกันได้ แม้แต่ระดับในหน่วยงานของเราอาจเป็นส่วนผลักดันที่ดี จะทำให้ภาพนี้เห็นชัดว่าการใช้งานนี้เห็นชัดมาก

ทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดที่เกี่ยวข้อง

ชื่อเรื่อง

  1. การโมเดลวิเคราะห์และประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์โครงสร้างขนาดนาโนในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์และพลาสมา [electronic resource] = Modeling and analysis of nanoscale materials and geometries in electronics and plasma applications / ศิวพล ศรีสนพันธุ์
  2. นาโนเทคโนโลยีขั้นต้น / เรียบเรียงโดย ศรัญญา พรหมโคตร์
  3. Nano science and technology : novel structures and phenomena / edited by Zikang Tang and Ping Sheng
  4. Atmospheric Plasma Jet: Effect of Inner Diameter Size to the Length of Plasma Discharge.
  5. Nanotechnology Inclusion in Pharmaceutical Sciences Education in Portugal.
  6. พลาสมาดีเอ็นเอในผู้ป่วยมะเร็ง / วชิราวุธ ใจหวัง ... [และคนอื่น ๆ]
  7. พลาสมาเทคโนโลยี : เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาผ้าไหมและสิ่งทอไทยสู่ระดับโลก / ประดุง สวนพุฒ
  8. นาโนเทคโนโลยี / ชัชฎา กมลเดชเดชา
  9. นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีแห่งศตวรรษ / วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล
  10. นาโน (10-9) เทคโนโลยีใกล้ตัว / วนิดา คูชัยสิทธิ์
  11. นาโนเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม / พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล
  12. นาโนเทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศไทย / วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล, วัชรภ ชัยกิตติศิลป์
  13. Plasma–maser theory for magnetized electron–positron plasma 

KULIB Talk #Special
"ฝุ่นเล็กๆ ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม"
ผศ.ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ขณะนี้สำนักข่าวทุกสำนักมีการโหมกระแสเกาะติดสถานการณ์รายงานข่าวสถานการณ์ฝุ่นPM2.5อย่างต่อเนื่องสถานการณ์ฝุ่น PM2.5ขณะนี้เป็นอย่างไรบ้างคะ

     ตอนนี้ประเด็นที่สำคัญที่สุดที่ประชาชนรับทราบก็คือเรามีจำนวนอนุภาคของฝุ่นที่อยู่รอบตัวเรามากขึ้น ตอนนี้ทุกสถานี ของกรมควบคุมมลพิษของกรุงเทพมหานคร มีค่าสูงขึ้นมาในแนวโน้มเดียวกันทั้งหมด ถ้ามองไปตอนนี้ระหว่างเส้นขอบฟ้า กับผิวข้างล่างเราจะเห็นชั้นบางๆ ชั้นหนึ่งที่ค่อนข้างออกสีน้ำตาล อันนั้นคือส่วนที่เราเรียกว่าฝุ่นละอองที่อยู่ในบรรยากาศชั้นล่าง ฝุ่นเหล่านี้มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหาเพราะเกิดขึ้นแล้วดับไปในบริเวณแถวนั้น ฝุ่นขนาดเล็กวิ่งเร็วเท่าไหร่จะยิ่งคงค้างอยู่ในบรรยากาศคำตอบว่ามาจากไหนอยู่ที่เราทุกคนเพราะคนส่วนใหญ่ทำให้เกิดปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองการจราจรถือว่าเป็นส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เกิดมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงโดยเฉพาะเชื้อเพลิงที่เรียกว่าดีเซล ในรถยนต์ประเภทนี้ ส่งผลให้ฝุ่นละอองออกมาค่อนข้างเยอะ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับการเผาไหม้ในลักษณะ พื้นที่โล่งก็ทำให้เกิดฝุ่นละอองได้ หรือแม้กระทั่งปฏิกิริยาเคมีในชั้นบรรยากาศ เมื่อรวมตัวกันก็ทำให้เกิดพาติเคิลขนาดเล็กได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้มันรวมกันให้พื้นที่กรุงเทพมหานคร มีฝุ่นละอองค่อนข้างสูง แล้วทำไมฤดูกาลอื่นถึงไม่แบบนี้ คำตอบก็คือในช่วงเวลาอื่นลมพัดค่อนข้างแรง แสงแดดค่อนข้างแรงทำให้การเคลื่อนตัวของอากาศ เป็นไปตามธรรมชาติ ในขณะเดียวกัน ช่วงฤดูฝนก็จะมีฝนตกลงมาคอยชะล้าง เราเรียกกระบวนการนี้ว่า  Wash Out  ฝุ่นละอองจะตกสู่พื้น แต่กลับมาในฤดูหนาวอากาศบางช่วงมีความชื้นต่ำ ประกอบกับคุณสมบัติของอากาศที่เมื่อเย็นจะมีความหนัก มันก็ทำให้อากาศเหล่านี้จมตัวลงค่อนข้างเยอะ ในบางครั้งเรายังพบอากาศในลักษณะ inversionหมายความว่าขึ้นไปยิ่งสูงแต่มันยังมีส่วนที่ร้อนอยู่ อากาศก็จะไม่ลอยตัวและค้างอยู่กับที่ สิ่งเหล่านี้ทำให้ความเข้มข้นของฝุ่นมีค่าสูงขึ้น

คำว่าสภาพอากาศปิดหรือเปิด ลอยตัวไม่ดี พวกนี้มันหมายความว่าอะไรคะอาจารย์

     ถ้ามองไปรอบตัวเราวันนี้จะเห็นแสงแดดที่ค่อนข้างชัด นั่นหมายความว่าสภาพอากาศค่อนข้างดี ค่าอากาศได้รับแสงแดดพื้นล่างจะค่อนข้างร้อน เพราะอากาศร้อนข้างล่างและเย็นขึ้นตามระดับความสูง มวลอากาศจะเคลื่อนตัวลอยขึ้นไปข้างบนได้ง่ายเป็นไปตามกระบวนการธรรมชาติ เมื่อเขาลอยขึ้นไปก็จะมีอากาศส่วนหนึ่งเข้ามาแทนที่ ซึ่งเราเรียกกันว่าลม ตามธรรมชาติมวลของอากาศก็จะมีการเคลื่อนตัว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มวลอากาศด้านบนมีความร้อนสูงขึ้น มวลอากาศด้านล่างก็ไม่สามารถลอยขึ้นได้ก็จะหยุดอยู่ตรงนั้น ประกอบกับสภาพอากาศที่มีมวลอากาศเย็น มันจะหนักและจมตัว ก็จะเกิดการที่อากาศไม่เคลื่อนที่ หรือสภาพหยุดนิ่งของอากาศ ดังนั้นสภาพอากาศปิดก็เป็นสภาพอากาศที่มีความคงตัวค่อนข้างสูงลมไม่พัดแสงแดดไม่มาลักษณะแบบนี้จะทำให้มีการสะสมตัวของฝุ่นละอองมากขึ้น

เรามีค่าที่เป็นขีดอันตรายอยู่ก็คือ50 ซึ่งถ้าเกินกว่านี้ก็จะเป็นอันตรายต่อ ซึ่งในความจริงแล้วต้องมีค่ามาตรฐานเท่าไหร่จึงจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ แล้วกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบนี้จริงๆแล้วคือกลุ่มไหน

     จริงๆแล้วมาตรฐานของฝุ่นละอองจะอยู่ที่ 50ไมโครกรัมเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ถ้าเกินกว่านี้ก็จะส่งผลต่อสุขภาพตัวที่เป็นอันตรายก็คือ 90 ขึ้นไป ซึ่งปกติเราก็จะใช้เครื่องมือวัดแบบเรียลไทม์ก็จะมีค่าสูงบ้างต่ำบ้างตามลักษณะสภาพตอนนั้น ดังนั้นยังไม่ต้องไปกังวลเพราะให้ดูค่าเฉลี่ยตลอดทั้งวันว่าเกินหรือไม่ ถ้าหากว่าเกิน 50 แสดงว่าเริ่มมีผลต่อสุขภาพ แต่ในกรุงเทพมีค่าเฉลี่ยเกิน 50 ติดต่อกันหลายวัน ก็จะมีช่วงที่หลายคนเริ่มรู้สึกว่ามีอาการแสบคอ อาการภูมิแพ้ ซึ่งกลุ่มเสี่ยงก็คือคนที่มีโรคประจำตัวเป็นกลุ่มนี้อยู่แล้ว หรืออาจจะเป็นโรคอื่นเกี่ยวกับหอบหืดภูมิแพ้ พรุ่งนี้ก็ต้องมีการปฏิบัติตัวเป็นพิเศษและมีอุปกรณ์ช่วยเหลือ กลุ่มเสี่ยงอีกกลุ่มคือคนที่ใช้ชีวิตตามท้องถนนเป็นระยะเวลานาน เช่น ตำรวจจราจร วินมอเตอร์ไซค์ หรือผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณนั้น จำเป็นต้องมีการป้องกันตัวเอง

กลุ่มของนิสิตและบุคลากรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่

     อย่างแรกเราต้องสำรวจตัวเองก่อนว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ เรามีอาการหอบหืดหรือไม่เพราะหลายคนไม่ทราบว่าตัวเองมีลักษณะแบบนั้น และหากมีโรคประจำตัวต้องปรึกษาแพทย์ ว่าโรคประจำตัวเกี่ยวข้องไหมกับลักษณะอาการเหล่านี้ หรือใครที่ทราบว่าตัวเองมีอาการหอบหืดอยู่แล้วเมื่อเวลาอากาศเปลี่ยนหรือพบฝุ่นละอองควรจะหลีกเลี่ยงกิจกรรมภายนอกต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หรือคนที่แข็งแรงก็ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมภายนอกไม่ควรไปอยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่นเยอะ เช่น ริมถนนหรือที่โล่งแจ้ง แต่ถ้ามีความจำเป็นที่ต้องเดินออกไปก็หาอุปกรณ์ป้องกันตัว เช่นหน้ากากอนามัยที่ปิดให้มิดชิดไม่จำเป็นต้องเป็นหน้ากาก N 95 ซึ่งจริงๆแล้ว N 95 เป็นหน้ากากที่ป้องกันดีและถูกต้อง แต่ใช้ไปนานๆจะหายใจไม่ออกเพราะใช้งานยาก และไม่สามารถใช้ต่อเนื่องได้ใช้ไปสักพักต้องเปลี่ยน เพราะจะเกิดกลิ่นอับ แต่ถ้าอยู่ในอาคารสำหรับบุคคลที่แข็งแรงก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่หน้ากากอนามัย
 
การใช้หน้ากากอนามัยธรรมดาสามารถช่วยในเรื่องของฝุ่นละอองนี้ได้มากน้อยแค่ไหน

     ช่วยได้แต่ข้อสำคัญก็คือใช้งานให้ดี ปิดให้มิดชิด และหลีกเลี่ยงออกไปอยู่ในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานานๆ ไม่ใช่ว่าใส่หน้ากากอนามัยแล้วไปนั่งอยู่ที่โล่งแจ้งนานๆ มีข้อมูลที่นิสิตนักศึกษารวมถึงโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของเราเองตกใจเกี่ยวกับความเข้มข้นของฝุ่นละอองที่รายงานโดยหน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งที่รายงานว่าแถวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีตัวเลขสูงสุดอันดับ 1 สีแดง ซึ่งผมจะเรียนให้ทุกคนทราบว่าเนื่องมาจากข้อมูลเหล่านั้นเป็นการลงเก็บข้อมูลที่ริมถนน ริมรั้วของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้านถนนพหลโยธิน เป็นจุดที่มีการติดขัดของการจราจรสูงมาก ดังนั้น ที่นั้นถูกต้องแต่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะมีค่าต่ำกว่านั้น ในบางเวลาจะมีค่าต่างกันถึง 30 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ดังนั้นอยากเรียนให้ทราบว่าในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีส่วนที่ช่วยให้ฝุ่นละอองลดลงช้างในเรื่องของต้นไม้และการเดินทางโดยใช้รถEV  และอื่นๆที่บุคลากรและนิสิตนักศึกษาช่วยกันและมันสามารถพิสูจน์ได้ข้อมูลที่เราตรวจวัดซึ่งตอนนี้ปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยแล้ว ซึ่งทุกคนสามารถตรวจเช็คก่อนออกไปทำกิจกรรมได้
อันดับแรก เราควรเช็คว่าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่
อันดับสอง เราควรเช็คข้อมูลสภาพอากาศ ว่าคุณภาพอากาศวันนี้เป็นอย่างไร
 
ตอนนี้มีข่าวว่ากรมควบคุมมลพิษได้มีการขอความร่วมมือจากประชาชนลดฝุ่นละอองจากแหล่ง เช่นการลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ห้ามเผาในที่โล่ง ห้ามใช้รถยนต์ควันดำทุกประเภท การทำในลักษณะเช่นนี้สามารถช่วยได้จริงหรือไม่และการที่จะทำกิจกรรมเหล่านี้ควรที่จะทำในเขตกรุงเทพและปริมณฑลเมื่อเวลามีปัญหาอยู่หรือเราควรขยายไปในเขตรอบๆเช่น ระยอง ชลบุรี ที่มีนิคมอุตสาหกรรมอยู่

     ในเบื้องต้นฝุ่นมาจากปัญหาการจราจร ดังนั้นคนที่แก้ปัญหาเรื่องนี้มุ่งเน้นไปที่การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงรถยนต์ดังที่ได้กล่าวไป จึงต้องกรวดขันการทำผิดกฎการจราจรของเครื่องยนต์อย่างเช่นพวกควันดำ โดยจะนำรถเหล่านี้ออกจากระบบโดยพักการใช้งาน ส่วนเรื่องของการกวดขันให้รถยนต์จอดให้ถูกที่ถูกเวลา ห้ามจอดในถนนสายหลักทำให้เกิดการไหลของการจราจรได้ดีขึ้น ทั้งในบริเวณที่ใกล้เคียงกับบริเวณที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้า เมื่อรถวิ่งดีขึ้นก็จะปล่อยมวลสารที่เป็นพิษน้อยกว่าบริเวณที่มีรถติด ส่วนมาตรการอื่น เช่น การฉีดน้ำ นั่นเป็นเพียงมาตรการที่เข้ามาเสริม แม้กระทั่งเมื่อวานที่ได้เข้าไปประชุมกับกรมทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เขาก็เน้นประเด็นนี้เหมือนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เรามีคณะกองยาน ที่ช่วยลดการใช้รถยนต์ในมหาวิทยาลัย ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของเรามาถูกทางและถ้าหากมีการนำโมเดลนี้ไปใช้ในทุกที่ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน หรือสถานศึกษา หรือแม้แต่ที่บ้าน ทั้งเมืองทำแบบเดียวกัน ก็จะเหมือนกับน้ำที่ไหลไปทางเดียวกันทำให้มันไหลไปเร็วยิ่งขึ้น ต้องช่วยกันจึงจะประสบความสำเร็จ และอยากฝากไปทางผู้ใช้รถตอนที่ท่านจอดรอรับบุตรหลานขอให้ท่านดับเครื่อง เพราะจะเป็นการสร้างฝุ่นละอองที่จะเข้าไปในโรงเรียนมากยิ่งขึ้น ซึ่งตอนนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็มีการใช้รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ไม่ทำให้เกิดมลภาวะฝุ่นละออง
 
เมื่อมีฝนตกลงมาเรายังจะต้องกังวลกับปัญหาฝุ่นละอองนี้หรือไม่ หรือต้องผ่านไปกี่วันปัญหาฝุ่นละอองเหล่านี้ถึงจะกลับมาให้เรากังวลอีกครั้ง

     ฝนมีส่วนช่วยบ้าง แต่การจะให้ฝนตกหนักในช่วงเวลานี้เป็นเรื่องที่ยาก ผมเข้าใจว่ากรมการบินฝนหลวงและการเกษตร ได้เริ่มลงมือปฏิบัติอย่างเต็มที่โดยบินจากอู่ตะเภา และพยายามที่จะสร้างฝนเทียมแต่ด้วยสภาพอากาศที่จะทำให้เกิดผลเทียมก็ไม่สามารถทำให้เกิดฝนตกหนักเหมือนในช่วงฤดูฝนได้ ดังนั้นก็จะช่วยได้ส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งในอนาคตถ้าหากอากาศปิดและกรมการบินฝนหลวงไม่สามารถทำให้เกิดผลได้ปริมาณละอองฝุ่นก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นตัวเราเองสำคัญที่สุดที่จะช่วยคนละไม้คนละมือช่วยกันลดฝุ่น ในระยะยาวผมอยากเห็นระบบขนส่งมวลชนที่ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ มีการเดินทางที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนบุคคลมากนัก หรือมีการใช้รถยนต์ในการเดินทางใกล้ๆในบริเวณที่ไม่ไกลกันเช่นจากบ้านไปโรงเรียน ใช้เวลาในการขับรถน้อยลงการปลดปล่อยมวลสารก็จะต่ำลง นี่ก็อาจจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในอนาคตที่ควรต้องมาคุยกันว่าจะทำอย่างไร นี่คือสิ่งที่เราต้องมานั่งคิดกันว่าในอีก 5  ปี  10 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครจะมีสภาพอากาศเป็นอย่างไรและจะมีปริมาณรถยนต์อย่างไร รถจะติดหนักกว่าเดิมหรือไม่ ณ วันนั้นก็จะเกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และสุดท้ายคนเมืองก็จะอยู่ในสภาพอากาศที่มีฝุ่นละอองเป็นเวลานานขึ้น จึงอยากฝากไว้ให้ช่วยกันแก้ไข

 

โครงการติดตามลักษณะทางอุตุนิยมวิทยาใกล้ผิวดินและมลสารทางอากาศสำหรับประเทศไทยเก็บรวบรวมจากKU Tower ซึ่งตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อม อาจารย์ช่วยเล่าให้ฟังถึงโครงการนี้สักนิดนึงค่ะ

   โครงการนี้เริ่มมา 4 ปีแล้ว เป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) ซึ่งอุตุนิยมวิทยาใกล้ผิวดินและมลสารทางอากาศสำหรับประเทศไทย เราจำศึกษาตามแนวดิ่งขึ้นไป ไม่ใช่ศึกษาตามแนวราบ เป็นการศึกษาเฉพาะที่โดยเราจะดูการเคลื่อนตัวของเขาได้สร้าง KU Tower  ขึ้นมา ซึ่งมีความสูง 117 เมตร โดย 100เมตรข้างล่างเป็นตัวที่จะสัมผัสชั้นบรรยากาศที่ได้รับความร้อนและการเคลื่อนที่ของอากาศ อีกประการหนึ่งคือมันเป็นลิมิตของความสูงของสิ่งก่อสร้างที่อยู่บริเวณใกล้สนามบิน เราวัดอุตุนิยมวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความเร็วลม อุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ ฝน อยู่บน KU Tower   5 ระดับความสูง ก๊าซและมลสารอื่นๆ 3 ระดับความสูง ข้อมูลเหล่านี้ถูกประมวลว่ามลสารหรือ Pollution มีส่วนหรือไม่ในอุตุนิยมวิทยา ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาก็ได้ผลว่ามลสารเกี่ยวข้องกับอุตุนิยมวิทยา เมื่อไหร่ที่สภาพอากาศปิดความเข้มข้นของมลสารก็จะสูงขึ้น ในอดีตผมเคยวัดมลสารที่ตึกใบหยก สูงประมาณ 300 กว่าเมตรเราจะทราบความเข้มข้นของมลสารที่มันอยู่ ทำให้เรามีข้อมูลที่จะมาอธิบายลักษณะของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้

ทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดที่เกี่ยวข้อง

ชื่อเรื่อง

  1. ฝุ่นละอองในบรรยากาศ / วิลาวรรณ์ คำหาญ
  2. มลพิษทางอากาศ [videorecording] = Air pollution / จัดทำโดย กองควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  3. Air pollution: sources, impacts and controls.
  4. สิ่งแวดล้อม--เพื่ออนาคตคนกรุงเทพฯ / คณะผู้จัดทำ ยอดฤดี ปัทมะสุคนธ์ ... [และคนอื่น ๆ]
  5. Global Crises, Global Solutions
  6. Morphology and Elemental Composition of Fine Particulate Matters PM10 by SEM-EDS
  7. Advanced technique to reduce the emissions of particulate matter (PM)
  8. บทความวิชาการ-งานวิจัย สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์กรมหาชน) / กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  9. การศึกษาการลดปริมาณควันดำจากเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้น้ำมันปาล์มดีเซลโดยการติดตั้งอุปกรณ์กรองควันดำ / บุญชัย ตันติกรกุล
  10. ทัศนคติของประชาชนที่ถูกจับปรับรถปล่อยควันดำเกินมาตรฐาน / จารุพร กลั่นกำเนิด และบุญจง ขาวสิทธิวงษ์
  11. หมอกควันและมลพิษทางอากาศในจังหวัดเชียงใหม่ / มงคล รายะนาคร
  12. จมูกอิเลกทรอนิกส์ยามเฝ้าคุณภาพอากาศ / จักราพิชญ์ อัตโน และอุดม ทิพาราช
  13. การทำนายการกระจายตัวของฝุ่นละอองจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เพื่อการประเมินค่าดัชนีคุณภาพอากาศ / วัชรเดช ไทยวัฒน์
  14. มลพิษอากาศและการจัดการคุณภาพอากาศ / วนิดา จีนศาสตร์
  15. หลักการตรวจวัดและขั้นตอนการปรับเทียบสำหรับการตรวจวัดคุณภาพอากาศ / ส่วนคุณภาพอากาศในบรรยากาศ สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มก.

KULIB TALK | EP.40 | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ของศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มก.

ศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตร Prof.Dr.Apichart Vanavichit

Director (RSC&RGDU) 

ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวและ หน่วยค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน


คำถาม : ศูนย์นี้มีเทคโนโลยีหรือบริการอะไรบ้างที่เกี่ยวกับข้าว

  • เป็นศูนย์ที่ปรับปรุงและศึกษาข้าวโดยเน้นเรื่องของการปรับปรุงพันธ์ รวบรวมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยมี 3 ส่วนคือ
  1. การศึกษาความหมายทางชีวภาพของข้าว การปรับปรุงยีนส์หรือพันธุกรรมที่เกิดขึ้น เช่นการปรับปรุงข้าวหอม โดยต้องมีพันธุกรรมควบคุม โดยการค้นหายีนส์ความหอม
  2. คือให้บริการเทคโนโลยีห้องปฏิบัติการใช้แยกพันธ์ข้าว โดยสามารถประยุกต์ใช้การแยกพันธ์ข้าว มีอะไรบ้าง โดยเรานำไปใช้กับการควบคุมพันธ์ข้าวที่ส่งออก เช่นถ้าต้องการข้าวหอมมะลิไทย ต้องมีความบริสุทธ์ขนาดไหน
  3. การส่งเสริมเชิงการตลาด

โดยงานที่เป็นหลักของศูนย์คือ การสร้างพันธ์ข้าวใหม่ ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี แต่ไม่ใช้ GMO โดยมีทิศทาง 2 แบบคือ กำหนดเพื่อตอบโจทย์ชาวนา ซึ่งจะมีปัญหามาก ถ้าไม่ปรับตัว และเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกัน เป็นผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศ

คำถาม : นอกจากผลงานที่สำคัญคือ ข้าวไรท์เบอร์รี่ ซึ่งเป็นผลงานโดดเด่นของศูนย์แล้ว ทางศูนย์มีผลงานอะไรอีกบ้างคะ

  • เราพัฒนาพันธุ์ข้าวเพื่อผู้บริโภค ทางศูนย์มีเป้าหมาย 3 ระยะ

ในระยะใกล้ ผู้บริโภคต้องการข้าวที่ถูกปาก มีรสนุ่ม กลิ่นหอม ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะสั้น

ระยะกลางมองถึงปัญหาสุขภาพผู้บริโภค ซึ่งข้าวให้พลังงานค่อนข้างมาก ประกอบกับความอ่อนแอของมนุษย์ยุคปัจจุบันที่มีกิจกรรมการใช้พลังงานต่อวันน้อย แต่การทานอาหารมากกว่าเดิม จึงมีแนวคิดเรื่องข้าวที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยทำอย่างไรให้ข้าวมีธาตุอาหาร ธาตุเหล็กและสังกะสีสูงขึ้น ซึ่งทำงานร่วมกับนักโภชนาการ โดยเริ่มต้นจากข้าวเจ้าหอมนิลที่ปลูกได้ทั้งปี แต่รสชาติยังไม่อร่อยมาก จากนั้นก็ได้ ข้าวไรเบอรี่มา ซึ่งเป็นตัวจุดประกายให้ผู้บริโภค บริโภคข้าวกล้อง ต่อมาก็มีข้าวสินเหล็กซึ่งมีเหล็กและสังกะสีสูง และมีดัชนีน้ำตาลปานกลาง เมื่อบริโภคแล้วให้ปริมาณกลูโคสน้อยกว่าข้าวพันธุ์อื่น ซึ่งดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน และพันธุ์ข้าวตัวถัดมาคือข้าวขาว ซึ่งคือพันธุ์ข้าวปิ่นเกษตรบวก4 ซึ่งก็คือการพัฒนาคุณภาพของแป้ง ย่อยช้า ให้ผลผลิตสูง ต้านทานน้ำท่วม แมลง โดยพัฒนามา 4 ปี

คำถาม : ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์คืออะไรบ้าง

          เรารู้จักความหลากหมายของพันธุ์ข้าว เราจะรุ้จักดีว่าแต่ละตัวให้อะไร เช่น ถ้าข้าวทนน้ำท่วมก็เป็นข้าวจากอินเดีย เรารู้จักว่ายีนต์ข้าวอะไรที่เค้าให้ ซึ่งเราเรียกเทคโนโลยีชีวภาพนี้ว่า Molecular Breeding เราจะทำแบบนี้กับข้าวหลายพันธุ์ เช่นข้าวหอมปทุม เราก็ใช้เทคโนโลยีชีวภาพนี้ กับข้าวหอมปทุม ก็จะสามารถทนต่อโรค ทนน้ำท่วม ทนร้อนได้ เราสามารถเอาเทคโนโลยีและยีนต์ที่เราค้นพบเข้ามาช่วยพัฒนาพันธุ์ได้

คำถาม : อยากให้อาจารย์ให้ข้อคิดว่า ทิศทางในอนาคตจะไปในทางไหนบ้าง

  • Climate change เป็นเรื่องสำคัญมาก เราต้องปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้สู้ได้ เช่น อุณหภูมิที่สูง ใช้น้ำเยอะ ต้องแก้ไขยังไง หรือเมื่อน้ำแข็งขั่วโลกละลาย น้ำทะเลหนุน น้ำก็จะขึ้น ข้าวก็ต้องทนต่อเรื่องความเค็ม ซึ่งเราต้องปรับให้ข้าวทนต่อน้ำเค็ม ข้าวจะไม่ตาย ซึ่งเป็นลักษณะพันธุ์ข้าวที่จะ Climate Ready พร้อมที่จะเผชิญ และเมื่อถึงจุดนั้น ประชากรเพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น ต้องให้คนในยุคหน้ามีอาหารที่ช่วยชลอการเกิดโรคภัยและทำให้แข็งแรง โดยให้ข้าวมีโภชนาการที่เข้มข้น โดยเฉพาะข้าวสี ให้ธาตุอาหารและอร่อย นอกจากนี้ยังทำข้าวสรรพสี ที่ปลูกง่าย สามารถบริโภคได้ทุกส่วน

คำถาม : ฝากถึงเรื่องของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว

          เราขาดนักวิจัย และนักเรียนที่มาค้นคว้า เรียกว่าตอนนี้คนเรียนน้อยลง มันเป็นวิทยาศาสตร์ เรื่องของการผลิตอาหาร ผลิตพันธุ์พืช มีความน่าสนุก และมีความอิสระทางความคิดสูงมาก โดยเฉพาะการปรับปรุงพันธุ์ ก็อยากฝากให้นักเรียนตั้งแต่มัธยมว่าการเกษตรไม่ใช่แค่ดำนาตัวเลอะแต่เป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

ข้าวสรรพสี

ข้าวหอม ดัชนีน้ำตาลต่ำ

ข้าวไทย : การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการผลิตและช่องทางการกระจาย

ฐานข้อมูลลักษณะข้าววัชพืชที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงในประเทศ ไทย

แนวทาง--และแบบอย่างการทำนาข้าวสุขภาพ สร้างมูลค่าเพิ่ม 1ไร่

ไรซ์เบอร์รี่ ข้าวหอมสายพันธุ์ใหม่ พลิกชีวิตชาวนาไทย

ข้าวไทยในอนาคต

โมเดลธุรกิจเชิงสังคม ข้าวไรซ์เบอร์รี่และธัญโอสถ อีกทางเลือกของชาวนาไทย

การคัดเลือกดีเอ็นเอเครื่องหมายแบบ SSR ของยีนต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens (Stal), delphacidae, Homoptera ชนิด Qbph6 และ Qbph12 จากข้าวสายพันธุ์ปรับปรุง abhaya และพันธุ์ชัยนาท 1

การค้นพบยีนความหอม จากข้าวสู่ถั่วเหลืองและพืชอื่นๆ

Customer segmentation of functional food with application of Kano's model: A case study of Riceberry drink in Bangkok

Tailor-made climate-ready and nutrient-dense rice

 

 

 

KULIB TALK | EP.48 | สร้างตู้ปลาด้วย App-Quarium

สัมภาษณ์ผู้คิดค้น 2 ท่าน ดังนี้

1.รศ.ดร.วราห์ เทพาหุดี ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง วิทยาเขตบางเขน

2.ดร.สหภาพ ดอกแก้ว นักวิชาการประมง ศูนย์วิจัยปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำประดับ คณะประมง วิทยาเขตบางเขน

คำถาม : แนวคิดการพัฒนา App-Quariam ?

          รศ.ดร.วราห์ เทพาหุดี  : ตอนที่รัฐบาลไทยมีนโยบาย 4.0 นายกก็มาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมาดูเทคโนโลยีมหาลัยในแต่ละคณะ หลังจากนั้นท่านก็มีนโยบายว่าน่าจะสนับสนุนให้ถึงเกษตรกรก็เลยให้สำนักนายกผสานมาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยให้ท่าน รศ.ดร. สุตเขตต์ นาคะเสถียร คณะบดีคณะเกษตรเป็นหัวหน้าโครงการและร่วมกันหลายคณะในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นทางการเกษตร ภายใต้โครงการพัฒนาแอพพลิเคชั่นทางการเกษตรเพื่อสร้างระบบตัดสินใจให้เกษตรกรและผู้ผลิต 4.0 ซึ่งผมก็เป็นผู้รับผิดชอบทางด้านประมงซึ่งมีทั้งหมด 6 แอพพลิเคชั่นด้วยกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ app-quarium หรือแอพพลิเคชั่นที่ช่วยการเลี้ยงปลาสวยงามนั่นเองครับ…

คำถาม: App-Quarium ให้ข้อมูลอย่างไรบ้าง ?

          ดร.สหภาพ ดอกแก้ว:  App-quarium เป็นแอพเกี่ยวกับปลาสวยงามนะครับ ซึ่งในข้อมูลในแอพก็จะมีข้อมูลทั่วไปของปลาสวยงามครับ เป็นผลิตภัณฑ์ไม้น้ำ ข้อมูลการจัดตู้ปลา การดีไซน์ตู้ปลา การคำนวณปริมาตรน้ำในตู้ปลา และข้อมูลในการคำนวณค่าไฟซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้ในชีวิตประจำวันของนักเลี้ยงปลา รวมถึงคำถามทั่วไปที่พบในการเลี้ยงปลาสวยงาม ที่ผู้ที่นิยมเลี้ยงปลาสวยงามเจอ ข้อมูลทางด้านโรคเบื้องต้นเพื่อที่จะให้ผู้ใช้แอพสามารถที่จะศึกษาเบื้องต้นได้ สำหรับผู้เชี่ยวชาญในแอพนี้เป็นบุคลากรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของเราเองนะครับ ซึ่งก็จะทำข้อมูลลงไปในแอพพลิเคชั่น ในกรณีที่มีคำถามก็จะส่งอีเมลล์มาและก็จะตอบครับ ส่วนใหญ่มีข้อมูลและรูปภาพประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปลาสวยงาม ฉะนั้นก็จะใช้บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เกือบทั้งหมดเลยครับ ส่วนหนึ่งถ้าเป็นข้อมูลเฉพาะเราก็จะมีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญเราก็จะสอบถามกรมประมง มหาวิทยาลัยต่างๆเป็นข้อมูลเสริมร่วมด้วยครับ

คำถาม : App-Quarium มีข้อมูลทั้งปลาน้ำจืดและน้ำเค็มรวมถึงวิธีการเลี้ยงด้วย ?

          ดร.สหภาพ ดอกแก้ว : ใช่ครับ…ในแอพพลิเคชั่นของเรามีข้อมูลของสิ่งมีชีวิตหลากหลายเลย มีปลาน้ำจืดหลายๆชนิดซึ่งเป็นชนิดที่เราเจอได้ทั่วไปจะเป็นข้อมูลลักษณะของตัวปลา ถิ่นอาศัย อาหาร ความยากง่ายในการเลี้ยงทั้งน้ำเค็มน้ำจืดเลยรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำด้วยครับ เรามีสิ่งมีชีวิตที่เรานิยมเลี้ยงกันในตู้ปลาครับ….

คำถาม : จุดเด่นของ App-Quariumคืออะไร ?

รศ.ดร.วราห์ เทพาหุดี  : แอพพลิเคชั่นนี้..เบื้องต้นขอบอกก่อนเลยว่าฟรี เพราะเราสนับสนุนผู้ที่ไม่มีความรู้เลยและอยากจะเลี้ยง แอพพลิเคชั่นตัวนี้จะช่วยในการเลี้ยง ให้ความรู้เบื้องต้นในการเลี้ยงได้เลย

ดร.สหภาพ ดอกแก้ว : คนที่สนใจในการเลี้ยงปลาโดยไม่มีพื้นฐานเลย สามารถศึกษาข้อมูลรายละเอียดสิ่งมีชีวิตทั้งปลาน้ำจืด ปลาทะเล พันธุ์ไม้น้ำ คนที่สนใจจะลองดีไซน์ด้วยตัวเองก็ทำได้ โดยใส่ความยาว ความสูง ความกว้าง หรือภาชนะที่ใส่หรือจะดีไซน์เป็นตู้ ลักษณะทรงกลมทรงกระบอก โปรแกรมของเราจะคำนวณปริมาตรน้ำที่ต้องการ ทำให้เราทราบวาขนาดที่เราเลี้ยงมีขนาดเท่าไหร่ รวมถึงปลาแต่ละชนิดเราสามารถจะเอามารวมกันและเราจะทราบว่าปลาแต่ละชนิดสามารถเลี้ยงด้วยกันได้หรือเปล่า ถ้าเข้ากันได้ก็สามารถเลี้ยงร่วมกันได้ รวมถึงประเด็นสำคัญเลยก็คือเรื่องค่าไฟ เราสามารถที่จะกรอกเลยว่าเราใช้อุปกรณ์อะไรบ้างในการเลี้ยงปลานะครับ ไม่ว่าจะเป็นไฟ ปั๊มลม ปั๊มน้ำ หรือจะเป็นพัดลม และจะคำนวณค่าไฟคร่าวๆมาให้เรานะครับ ซึ่งก็จะทำให้ผู้เลี้ยงปลาสบายใจและก็มีความสุข สามารถที่จะดีไซน์คำนวณล่วงหน้าได้ เราสามารถที่จะจำลองตู้ปลาของเราเอง ก็คือสร้างขนาดตู้ปลา ทราบปริมาตรน้ำที่ใส่ลงไปเราจะได้ประเมินหาวางตำแหน่งของตู้ และแอพก็จะสามารถบอกได้ว่าปลาแต่ละตัวต้องการปริมาตรน้ำเท่าไหร่ รวมถึงเราศึกษาเรื่องของการแก่งแย่ง ต่อสู้กัน ปลาแต่ละชนิดสามารถที่จะเข้ากันได้หรือเปล่า ถ้าเข้าไม่ได้เราก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงครับ

คำถาม : ระยะเวลาในการพัฒนา App-Quarium ?

          รศ.ดร.วราห์ เทพาหุดี  :  .ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นตัวนี้ เราใช้เวลาทั้งหมด 1 ปีโดยรวมนะครับ แต่เนื่องจากว่าเราอยากทำให้คนใช้ได้ ในสามเดือนแรกเราสอบถามผู้ใช้ก่อนว่ามีความต้องการอะไรบ้าง พอเห็นความต้องการของผู้ใช้แล้ว สามเดือนเรานำมาพัฒนาโปรแกรม พอพัฒนาเสร็จแล้วเราเอาไปทดสอบอีกสามเดือนจนตรงกับความต้องการของผู้ใช้หลังจากนั้นสามเดือนนี้เราได้มีการอบรมกับผู้สนใจทั่วไปจำนวนมากครับผม

คำถาม : การพัฒนา App-Quarium ในขั้นต่อไป ?

          รศ.ดร.วราห์ เทพาหุดี  : ความไม่เสถียรของระบบมหาวิทยาลัยเราเอง ซึ่งตอนนี้เรากำลังหาแนวทางที่จะทำการปรับปรุงพัฒนาให้มีความเสถียรเพิ่มขึ้น เพราะอย่างที่ถามมาอย่างว่าเวลามีคนมีข้อสงสัยและถามผ่านแอพพลิเคชั่นเข้ามาบางทีเราอาจจะตอบช้าไป เพราะฉะนั้นก็ต้องพัฒนาปรับปรุง ข้อเสนอต่างๆที่เข้ามาก็จะมีการพูดคุยโดยเฉพาะมีคนติดต่อเสนอมาว่าน่าจะปรับปรุงส่วนนั้นส่วนนี้ เราก็จะนำมาพัฒนาต่อไปครับ….

คำถาม : หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ไหน ?

          รศ.ดร.วราห์ เทพาหุดี  : โดยทั่วไปก็คือที่ play store , Google play หรือเข้าไปที่ Google แล้วคีย์คำว่า Agri-app 4.0 มันจะเจอตัวแอพทั้งหมดที่อยู่ภายใต้โครงการใหญ่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทั้งหมดเลยครับ ประมาณ 40-50 แอพพลิเคชั่นครับ หรือติดต่อผ่านมาทางที่คณะประมงก็ได้ครับ….ถ้าในส่วนแอพที่เกี่ยวข้องกับคณะประมงนะครับซึ่งมีอยู่ 6 แอพพลิเคชั่น ผมขออนุญาตที่จะพูดนะครับว่ามีอะไรบ้าง อันดับแรกเลยคือ 1.Gap มาตรฐานการเลี้ยงนะครับหมายความว่าเกษตรกรสามารถประเมินตนเองได้เลยว่าตนเองอยู่ในมาตรฐานหรือต้องปรับปรุงอะไรอย่างไรนั่นคือGap … GMP คือมาตรฐานการผลิต แปรรูป ก็คล้ายๆกันเกษตรกรสามารถประเมินตนเองก่อนได้เลยว่าอยู่ในมาตรฐานอะไรต้องปรับปรุงอะไรบ้าง ต่อไปคือแอพ Plankton-Key คือสัตว์น้ำที่อยู่ในน้ำทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ซึ่งมีการแยกชนิดแต่ละตัวเรื่องดัชนีคุณภาพน้ำซึ่งคนนอกอาจจะไม่ทราบ แอพพลิเคชั่นนี้ก็สามารถที่จะประเมินหรือแยกชนิดได้โดยประเมินจากภาพถ่าย ต่อมาคือแอพพลิเคชั่น Shrimp Disease app เป็นแอพที่นำเสนอเกี่ยวกับโรคของกุ้งทะเล ซึ่งกุ้งทะเลก็เป็นสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกที่นำเงินเข้าประเทศสูง และปัญหาหลักๆของเกษตรกรคือโรคกุ้ง เราก็มีข้อมูลจากรูปถ่าย การถ่ายภาพเพื่อมาประมวลผลเพื่อบอกว่าเป็นโรคอะไรมีแนวทางป้องกันแก้ไขอย่างไร ต่อมาเป็นแอพพลิเคชั่น 3FS ก็คือว่าเราต้องการให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งต้นทุนหลักในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำก็คือค่าอาหารซึ่งคิดเป็น 60-70% ของต้นทุนรวม ซึ่งถ้าเราลดตรงนี้ได้ เกษตรกรก็จะมีกำไรที่สูงขึ้น วิธีการก็คือให้เกษตรกรหาวัตถุดิบในท้องถิ่นเพื่อมาปรับปรุง ทำสูตรอาหารขึ้นเองได้ และสามารถที่จะนำไปทดลองเลี้ยง ดูว่าต้นทุนค่าอาหารของเราเท่าไหร่ ซึ่งในเมื่อเราหาวัตถุดิบท้องถิ่นเข้ามาแล้ว วัตถุดิบอาหารนั้นลดต่ำลงแน่นอน และสุดท้ายก็คือแอพ Quarium นี่แหละครับผม…

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของ รศ.ดร.วราห์ เทพาหุดี ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

การใช้เทคนิคอิเลคโทรไลซิสในการบำบัดน้ำในการอนุบาลกุ้งขาวแวนนาไมระบบปิด / วราห์ เทพาหุดี

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแพลงก์ตอนและคุณภาพน้ำในการเลี้ยง กุ้งกุลาดำ / วราห์ เทพาหุดี

การสร้างบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ / วราห์ เทพาหุดี

คู่มือปฏิบัติการสร้างบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ / วราห์ เทพาหุดี

ชีววิทยาบางประการและปัจจัยเพื่อการขยายพันธุ์ของเห็ดทะเล Metarhodactis aff. boninensis / สหภพ ดอกแก้ว

โปรแกรมการออกแบบและการสร้างบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

ผลงานวิชาการของวราห์ เทพาหุดี

ระเบียบวิธีวิจัยทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ / วราห์ เทพาหุดี

มาเลี้ยงปลาสวยงาม--กันเถอะ / สหภพ ดอกแก้ว และ พงศ์เชฏฐ์ พิชิตกุล

คู่มือการใช้โปรแกรม feed application (feed app) / ผู้จัดทำ พุทธ ส่องแสงจินดา

KULIB TALK | Special | สร้างสื่อการสอนอย่างไร ไม่ผิดลิขสิทธิ์

ในสถานการณ์ที่ไวรัสโคโรน่าระบาดเช่นนี้ มหาวิทยาลัยของไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพ มีนโยบายให้อาจารย์จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์เพื่อลดความเสี่ยงจากการออกนอกบ้าน แต่จะทราบได้อย่างไรว่าจะไม่มีความเสี่ยงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ในการนำข้อมูลบางอย่างมาใช้ประกอบการเรียนการสอนออนไลน์ วันนี้จะพาทุกท่านมาฟังคุณ บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. ในตอน สร้างสื่อและสอนออนไลน์อย่างไร ไม่ผิดลิขสิทธิ์

คำถาม :  อะไรบ้างที่ต้องระวังเรื่องลิขสิทธิ์ในการสอนออนไลน์

คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ : แยกเป็นสองส่วนนะครับ คือสสไลด์สอน กับการนำสไลด์สอนขึ้นออนไลน์ ในมาตรา32 ค่อนข้างที่มีความชัดเจนใน พรบ.ลิขสิทธิ์ที่เขียนไว้ว่า ผู้สอนสามารถนำสื่อที่มีลิขสิทธิ์มาใช้การเรียนการสอนได้ ภายใต้บทบัญญัติ วรรค1 นะครับ เพราะฉะนั้นโดยหลักการแล้ว ครูอาจารย์สามารถนำสื่อที่มีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นมาใช้เพื่อการเรียนการสอนได้ ไม่มีความเสี่ยงใดมากนัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของวรรค 1 นั่นก็คือ ไม่ใช้เกินสมควร และไม่หาผลประโยชน์จากสื่อที่นำมาดำเนินการนั้นๆนะครับ ทีนี้กลับมาประเด็นสำคัญคือนำสื่อการเรียนการสอนขึ้นออนไลน์ อันนี้น่าจะมีประเด็นความเสี่ยงจากเอกสารของกรมทรัพย์สินเล่ม1 ที่ชื่อว่า คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมในการเรียนการสอน ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้มีการเขียนแนวการปฏิบัติของการใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนบนพื้นฐานคำว่าไม่เกินสมควรไว้ เช่น รูปภาพจะต้องไม่เกิน5รูป หรือร้อยละ10 แล้วแต่จำนวนใดน้อยกว่ากัน ทั้งนี้จะต้องไม่นำเผยแพร่ออนไลน์หรือเผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ต ดังนั้น การเอาสื่อการเรียนการสอนที่มีสื่อที่เป็นลิขสิทธิ์ของผู้อื่นมาเผยแพร่ออนไลน์ถือว่ามีความเสี่ยงอยู่ระดับหนึ่ง ผู้สอนควรขออนุญาติอย่างเป็นทางการและได้รับอนุญาตนั้นๆ

คำถาม :  ประเด็นที่น่าสนใจคือคำว่าเกินสมควร ทำไมการเรียนการสอนออนไลน์จึงน่าจะมีความเสี่ยงในคำนี้?

คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ : เราต้องกลับไปดูบริบทเดิมก่อนว่าการเรียนการสอนในภาคปกติหรือที่ผ่านมา เราจะทำการเรียนการสอนในห้องเรียนที่มีจำนวนนักศึกษาจำกัด และเป็นการเรียนการสอนภายใต้กรอบของชั้นปีนั้นๆ เช่นอาจารย์ท่านหนึ่งสอนปีหนึ่ง วิชาวิทยาศาสตร์ ในห้องหนึ่งก็จะมีนักศึกษาเฉพาะปีนั้นๆในห้องนั้นๆ แต่การเรียนการสอนออนไลน์เราจะมีความเสี่ยงตรงที่ไม่สามารถควบคุมจำนวนของผู้เรียนได้ หรือผู้รับรู้สื่อได้ ดังนั้นการเรียนการสอนออนไลน์จึงเกินสมควรในระดับที่มันควรจะเป็น จึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมากกว่าการเรียนการสอนในห้องเรียนปกติ

คำถาม : กรณีที่อนุญาตให้ใช้สามารถใช้ได้ปริมาณเท่าไร มีจำกัดหรือไม่ ? เช่นหนังสือ1เล่ม  ใช้รูปได้1รูปโดยต้องอ้างอิงหรือไม่ ?

คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ : กลับมาที่คำในพรบ.ไม่เกินสมควร ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้จัดทำคู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมในการเรียนการสอน และได้มีการร่างแนวปปฏิบัติเป็นตัวอย่างเอาไว้ เช่นข้อ 4.4 ในหนังสือคู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมในการเรียนการสอน ได้ระบุว่า การใช้รูปภาพและรูปถ่ายใช้ได้อย่างน้อย 1 ภาพ แต่ไม่เกิน 5 ภาพต่อผู้สร้างสรรค์ 1ราย หรือร้อยละ 10 ของจำนวนภาพ ของผู้สร้างสรรค์ 1 ราย แล้วแต่จำนวนใดน้อยกว่ากัน อันนี้คือไม่เกินสมควรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพและรูปถ่าย และข้อ 4.4.2 ผู้สอนและผู้เรียนดาวน์โหลดภาพจากอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในการศึกษาสามารถทำได้โดยจะต้องยึดปริมาณเท่ากับในข้อ 4.4.1 คืออย่างน้อย 1 ภาพ แต่ไม่เกิน 5ภาพ หรือร้อยละ 10 ของจำนวนภาพของผู้สร้างสรรค์ 1ราย  มีข้อความปิดท้ายค่อนข้างน่าสนใจ ซึ่งนำไปใช้ในการอ้างอิงการตอบคำถามประเด็นที่ 1 ด้วยเช่นกัน คือ ผู้สอนและผู้เรียนจะอัพโหลดงานชิ้นนั้นกลับขึ้นบนอินเตอร์เน็ตไม่ได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ทั้งนี้คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมในการเรียนการสอนยังมีระเบียบเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆ เช่นการใช้งานในวรรณกรรมสิ่งพิมพ์ การใช้งานภาพยนต์และโสตทัศนวัสดุ ซึ่งผู้เรียนผู้สอนหรืออาจารย์ควรให้ความสำคัญและศึกษาเอกสารเล่มนี้ประกอบไปด้วย

คำถาม : การนำข้อมูลต่างๆมาใช้แต่บอก แหล่งที่มา ทำได้หรือไม่ อย่างไร ?

คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ : สามารถทำได้ และเป็นสิ่งที่ควรทำ ทั้งนี้ในมาตรา33 ของ พรบ.ลิขสิทธิ์กล่าวไว้ว่า  “การกล่าว คัด ลอก เลียน หรืออ้างอิงงานบางตอนตามสมควรจากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง” ดังนั้นประเด็นนี้ก็จะมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่คือต่อให้มีการให้เครดิต ก็ต้องปฏิบัติตามมาตร 32 วรรค 1 เช่นเดียวกัน ซึ่งก็คือไม่นำไปหาประโยชน์ให้ตนเองและใช้ไม่เกินสมคสร

คำถาม : Creative Commons / OER คืออะไร นำไปปรับใช้อย่างไรได้บ้าง ?

คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ :  Creative Commons คือสัญญาอนุญาตที่มีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงเงื่อนไขของผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ต่อสื่อนั้นๆ ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ สื่อหลายๆชิ้นที่ผ่านมา เมื่อผู้สร้างสรรค์ สร้างสรรค์และเผยแพร่อาจจะไม่ได้ระบุสัญญาอนุญาตที่ชัดเจน เช่น ไม่ได้ใส่คำว่า สงวนลิขสิทธิ์ ไม่ได้ใส่คำว่า ก๊อปปี้ไรท์ ไม่ได้ใส่ข้อความห้าม ไม่ได้ใส่ชื่อผู้สร้างสรรค์ ซึ่งผู้ต้องการใช้งานจำนวนมากมักจะเชื่อว่าสื่อที่ไม่มีการประกาศข้อความห้ามใดๆในลักษณะนี้คือเจ้าของสามารถอนุญาตให้ใช้ได้ ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนจากกฎหมายลิขสิทธิ์พอสมควร เนื่องจากว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้สร้างสรรค์ไม่จำเป็นต้องประกาศเงื่อนไขใดๆ สิ่งที่สร้างสรรค์จะถูกคุ้มครองโดยอัตโนมัติ ดังนั้นก็จะเกิดข้อเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการนำสื่อมาใช้งาน สัญญาอนุญาต Creative Commons จึงเกิดขึ้นมาเพื่อให้ผู้สร้างสรรค์ที่มีเจตนาจะเผยแพร่สื่อของตนเองและอนุญาตบางอย่างสำหรับผู้ใช้ได้แสดงความชัดเจนขึ้นมาว่าสื่อนั้นๆอนุญาตแล้วอย่างไรบ้าง เช่น สื่อที่ผู้สร้างสรรค์อนุญาตให้นำไปใช้ได้และติดสัญญาอนุญาต Creative Commons จะมีสัญลักษณ์เป็นตัว c 2ตัว อยู่ในวงเล็บหรือวงกลมกำกับ และจะมีเงื่อนไขย่อยรายประเด็นที่ผู้สร้างสรรค์อยากกำหนดเช่น ผู้ใช้ต้องอ้างอิงทุกครั้งก็จะมีรูปตัวคนกำกับด้วย  ห้ามนำไปหารายได้ก็จะเป็นรูปดอลลาร์ทับ หรือห้ามแก้ไขก็จะมีเครื่องหมายเท่ากับกำกับ ดังนั้น สัญญาอนุญาต Creative Commons จึงเป็นสัญญาที่ลดระดับของก๊อปปี้ไรท์ให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานสื่อที่มีลิขสิทธิ์ได้สะดวกและชัดเจนมากขึ้น เว็ปไซต์และก็สื่อใหม่ๆรวมถึงสิ่งพิมพ์ใหม่ๆ มักจะมีการประกาศสัญญาอนุญาตที่ชัดเจนมากกว่าที่ผ่านมา ดังนั้นถ้าท่านเจอสื่อใดๆที่มีตัว C ตัวเดียวอยู่ในวงเล็บหรือในวงกลมแปลว่าสื่อนั้นเป็นก๊อปปี้ไรท์ แต่ถ้ามี C 2ตัวก็จะแสดงว่าเจ้าของหรือผู้สร้างสรรค์อนุญาตแล้ว และการนำไปใช้ต้องดูเงื่อนไขย่อยที่เป็นสัญลักษณ์กำกับย่อยลงไป ดังนั้นการนำสื่อใดๆมาใช้สิ่งที่ผู้ใช้ต้องพิจารณาและให้ความระมัดระวังก็คือคำว่าสัญญานุญาติ โดยสื่อชิ้นใดก็ตามไม่มีข้อความกำกับ ไม่มีข้อความห้าม ไม่มีสัญลักษณ์ สัญญาอนุญาตกำกับ ให้ตีความว่ามีลิขสิทธิ์ หากจะใช้ให้ต้องยึดตามสิทธิ์ที่เป็นธรรมที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ เช่นไม่เกิน5รูปและเจ้าของต้องอนุญาต ส่วนสื่อที่ผู้สร้างสรรค์มีการติดสัญญานุญาติเอาไว้ ให้ยึดตามเงื่อนไขของสัญญานุญาตินั้นๆเช่น C ในวงกลม ก็คือก๊อปปี้ไรท์  หรือ CC ก็คือ Creative Commons ซึ่งแปลว่าผู้สร้างสรรค์อนุญาตตามเงื่อนไขที่เขาระบุ

สำหรับสัญญาอนุญาตที่เป็น Creative Commons จะมีทั้งหมด 6รูปแบบ

          รูปแบบที่1 จะเป็นสัญลักษณ์รูปคนอย่างเดียวแปลว่า ผู้สร้างสรรค์อนุญาตให้นำสื่อชิ้นนี้ไปใช้ได้โดยไม่มีข้อห้ามใดๆทั้งนี้ผู้ใช้ต้องอ้างอิง

          รูปแบบที่2 รูปคนและมีลูกศรโค้ง แปลว่า อนุญาตให้นำไปใช้ได้ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องอ้างอิงและต้องเผยแพร่สื่อนั้นด้วยสัญญานุญาติที่เป็น Creative Commons เช่นเดียวกัน

          รูปแบบที่3 รูปคนและเครื่องหมายเท่ากับ แปลว่า การใช้งานนั้นๆต้องอ้างอิงและต้องห้ามแก้ไข

          รูปแบบที่4 รูปคนและดอลลาร์ขีดทับ แปลว่า สื่อนั้นๆเจ้าของอนุญาตให้ใช้ได้โดยต้องอ้างอิงและห้ามนำไปหารายได้

          รูปแบบที่5 รูปคน ดอลลาร์ขีดทับ และลูกศรวงกลม แปลว่า การใช้งานสื่อต้องอ้างอิงห้ามหารายได้ และต้องใช้สัญญานุญาติแบบ Creative Commons เช่นเดียวกัน

          รูปแบบที่6 รูปคน ดอลลาร์ขีดทับ เครื่องหมายเท่ากับ แปลว่า สื่อชิ้นนั้นต้องอ้างอิง ห้ามหารายได้และห้ามแก้ไข

ในประเด็นข้อ4 ยังมีการกล่าวถึง OER   ….. OER คือ แนวคิดของการสร้างคลังสื่อแบบเปิด ย่อมาจากคำว่า Open Edutional resources หรือคลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดอันสืบเนื่องมาจากประเด็นที่ผู้สร้างสรรค์อยากจะเผยแพร่ข้อมูลของตนเองภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons และให้ผู้ใช้เข้ามาสืบค้น เรียกใช้ได้อย่างสะดวกจึงมีแนวคิดที่จะสร้างคลังดิจิตอลขึ้นมา และนำสื่อภายใต้สัญญา Creative Commons มาดำเนินการรวบรวมจัดเก็บเพื่อเป็นช่องทางเข้าถึงที่สะดวกมากขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยได้ดำเนินการพัฒนาคลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดหรือ OER ขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ภายใต้ชื่อโครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อเรียนรู้ทางไกล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 โดยสามารถเข้าได้ผ่านเว็ปไซต์ OER.learn.in.th

คำถาม: เราสามารถหารูปหรือสื่อใดๆ โดยไม่ผิดกฏหมายได้อย่างไร ?

คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ : สิ่งที่น่าสนใจคือ พรบ.ลิขสิทธิ์นั่นเองในมาตรา 7 ได้มีการเขียนเอาไว้ว่า “สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้” แปลว่า ทุกสิ่งที่อยู่ในมาตรา7 ใครๆก็สามารถนำไปใช้ได้และไม่มีใครเป็นเจ้าของ ซึ่งก็จะสอดคล้องกับสัญญานุญาติที่เรียกว่า plubic domain ได้แก่ 1 ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันไม่ใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ แผนกศิลปะ ดังนั้นข่าวที่เกิดขึ้นรายวันและปรากฏอยู่ในสื่อสารมวลชนต่างๆก็จะเข้าข่ายของ

          ข้อ 1 คือทุกคนสามารถนำข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงดังกล่าวไปใช้ได้เลย ทั้งนี้จะต้องระมัดระวังว่าข่าวนั้นจะต้องไม่ใช่ข่าวเชิงวิเคราะห์ ไม่ใช่ข่าวสารคดี

ข้อ2 รัฐธรรมนูญและกฎหมาย ดังนั้นข้อกฎหมายที่ประกาศกฎหมายที่ประเทษไทยออกทั้งหมดก็จะเข้าอยู่ในกลุ่มของมาตรา7 คือไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตามต้องระวังการนำกฏหมายที่เกิดจากการรวบรวมโดยบุคคลหรือหน่วยงานและจำหน่ายเผยแพร่จะถือเป็นงานลิขสิทธิ์ที่เกิดจากการรวบรวมใหม่

เว็บไซต์ที่น่าสนใจของข้อ2 หนีไม่พ้น เว็บไซต์ของสำนักนายก เว็บไซต์ของราชกิจจานุเบกษา หรือเว็ปไซต์ของสำนักกฤษฎีกา รวมถึงศาลต่างๆ

ข้อ3 ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น    กรณีอย่างนี้เช่น ระเบียบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็จะเข้าข่ายมาตรา7 ไม่ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์

ข้อ4 คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ

ข้อ5 คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตาม ข้อ (1) ถึง (4) ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

ทั้ง5ข้อในมาตรา7 น่าจะเป็นฐานสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานได้ระดับหนึ่งนอกเหนือจากมาตรา7 ในพรบ.ลิขสิทธิ์ ก็คงจะต้องนึกถึงคลัง OER หรือคลังอื่นใดที่ใช้สัญญานุญาติ Creative Commons เช่น Wikicommons.org ซึ่งสื่อต่างๆในเว็บดังกล่าว ก็ใช้สัญญาอนุญาตที่เป็น Creative Commons เช่นเดียวกัน ผู้ใช้สามารถเข้ามาสืบค้นและโหลดไปใช้งานได้ รวมไปถึงฟอนต์ของหลายสำนักพิมพ์ หลายหน่วยงานที่เผยแพร่ด้วยสัญญาอนุญาตที่เป็น Creative Commons นอกเหนือจากนี้ก็จะเป็นคลังสื่อใดๆหรือคลังทรัพยากรใดๆที่ใช้สัญญาอนุญาติ Public domain เช่น openclipart.org ซึ่งมีลายเส้นที่ค่อนข้างชัดเจน และระบุไว้ว่า 100% Public domain

นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีกลุ่มที่เรียกว่า open access ryzenzing ซึ่งถือว่าเป็นสัญญานุญาติในกลุ่มผลงานวิชาการที่น่าสนใจโดยเฉพาะฐานข้อมูลวิชาการชั้นนำเช่น  plosone.org บทความวิชาการต่างๆในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญานุญาติที่เป็น OA แปลว่า นักวิจัย นักวิชาการสามารถเข้ามาใช้สื่อใน plosone.org ภายใต้สัญญานุญาติ open access ได้ทันทีและไม่ต้องสมัครสมาชิก เว็บไซต์นี้ยังบริการการเข้าถึงข้อมูลแบบ full paper ซึ่งสามารถที่จะดูเอกสารบทความวิชาการฉบับเต็มได้ทั้งหมด รูปภาพที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์และในบทความนั้นๆบริการให้โหลดถึงระดับ original image ความละเอียดสูง และมีบริการ power point slide พร้อมอ้างอิงสำหรับการนำไปใช้ได้ทันที

คำถาม : โจทย์คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือภาษาอังกฤษ ถือว่ามี ลิขสิทธิ์หรือไม่ ?

คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ : หลักๆก็คงต้องกลับไปที่ว่า ตำรานั้นผู้สร้างสรรค์สร้างขึ้นมาเพื่อหารายได้ หรือผู้สร้างสรรค์ใช้สัญญานุญาติก๊อปปี้ไรท์หรือไม่ หากผู้สร้างสรรค์มีการหารายได้และใช้สัญญานุญาติก๊อปปี้ไรท์ อาจารย์ ครู หรือผู้ใช้งานต้องขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรเหมือนสื่ออื่นๆ อย่างไรก็ตามในมาตรา7 ในพรบ.ลิขสิทธิ์ในวงเล็บ 1 ได้ระบุไว้แล้วว่า สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งก็คือข้อเท็จจริง ดังนั้นโจทย์คณิตศาสตร์โจทย์ฟิสิกส์บางประเด็นถือเป็นข้อเท็จจริงซึ่งไม่มีใครเป็นลิขสิทธิ์จึงต้องพิจารณาเป็นกรณีรายกรณีไป

คำถาม : ผลงานใดบ้างที่ถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ : มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่2มาตรา คือ1)มาตรา14ในพรบ.ลิขสิทธิ์ว่าด้วยว่า “กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นย่อมมีลิขสิทธิ์ในงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาโดนการจ้างหรือตามคำสั่งหรือในความควบคุมของตน เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร”  ดังนั้นผลงานที่เกิดจากการควบคุมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งถือเป็นหน่วยงานของรัฐผลงานที่เกิดจากการจ้างของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐหรือตามคำสั่งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ย่อมถือเป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

          จะมีส่วนที่โยงมาหามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เช่นเดียวกันก็คือ ข้อย่อยต่างๆที่ปรากฏในมาตราที่7แล้วเกิดจากบุคลากรหรือคณะหรือหน่วยงานในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ย่อมถือว่าเป็นผลงานของมหาวิทยาลัยแต่เป็นผลงานในกลุ่มที่ไม่มีลิขสิทธิ์เช่นรายงานของมหาวิทยาลัย ประกาศ คำสั่ง กฎหมายชองมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยต้องมีความชัดเจนในการสร้างสรรค์ผลงานของบุคลากรหรือหน่วยงานในสังกัดของมอ เมื่อเกิดจากการรับทุน การวิจัยร่วม หรือการสร้างสรรค์งานนอกภาระหน้าที่ว่าสิ่งต่างๆนั้นจะเป็นลิขสิทธิ์ของมอมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้จะต้องพิจารณารายกรณี เช่น มหาวิทยาลัยตั้งสำนักพิมพ์และอาจารย์เขียนหนังสือส่งมาที่สำนักพิมพ์ลิขสิทธิ์ของหนังสือดังกล่าวควรจะเป็นของอาจารย์หรือของมหาวิทยาลัย เนื่องจากว่าหนังสือทั้งหมดที่ผ่านสำนักพิมพ์เป็นหนังสือที่ต้องการหารายได้ ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่มอจะต้องพิจารณาให้เหมาะสมรวมถึงจะต้องประกาศให้ชัดเจน รวมถึงกรณีของการรับทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกซึ่งแบ่งเป็นเคสย่อยได้เช่น อาจารย์ท่านดังกล่าวไปรับทุนด้วยตนเองโดยไม่ผ่านมหาวิทยาลัยแต่ใช้เวลา ใช้กำลัง และความรู้ที่เกิดจากการเป็นบุคลากรของสถาบัน หรือ มหาวิทยาลัยเป็นช่องทางในการรับทุนแล้วนำมาส่งมอบให้ โดยมีสัญญาย่อยกับหน่วยงานให้ทุน ซึ่งจะต้องไปดูในสัญญาย่อยของหน่วยงานให้ทุนดังกล่าว เกี่ยวกับประเด็นลิขสิทธิ์ ว่าเป็นลิขสิทธิ์ร่วมระหว่างหน่วยงานให้ทุนกับมหาวิทยาลัย หรือเป็นลิขสิทธิ์ของหน่วยงานให้ทุนแต่เพียงผู้เดียว

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

การสร้างสื่อนำเสนอคุณภาพด้วย OpenOffice.org Impress 3.0

คำอธิบายกฎหมายลิขสิทธิ์

คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมสำหรับบรรณารักษ์และห้องสมุด


เขียนผลงานทางวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์และไม่ลักลอกผลงาน

คัมภีร์ลิขสิทธิ์ : 180 คำถามที่จำเป็นต้องไขคำตอบ 


ลิขสิทธิ์ : หลักกฎหมายและแนววิธีปฏิบัติเพื่อการคุ้มครองและการแสวงหาประโยชน์ จากงานสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์ 

รวมกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ : พ.ร. บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537, พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522, พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534, พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534, พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพยสินทางปัญญาฯ พ.ศ. 2539, พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545, พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ล่าสุด พ.ศ. 2560) / คณะวิชาการ The Justice Group

 กฎหมายไซเบอร์

 

KULIB TALK | Special | สัตว์เลี้ยงแสนรักกับไวรัสโคโรน่า

 “อย่างของคนเนี้ย ทำให้มีการติดต่อไปยังคนใกล้ๆเราเนี้ย 1คน ติดเชื้อไปยัง 3 คน แต่การทดลองที่เกิดขึ้นในแมวจำนวน5ตัว แมว3ตัวที่มีเชื้อติดไปยัง 1 ตัว เพราะฉะนั้น 3 ตัวติดไปยัง 1 ตัว แล้วหนึ่งตัวเนี่ยจะติดไปเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นโอกาสที่จะแพร่ต่อเนี่ยยากเลย โอกาสน้อย “

คำถาม : ความเป็นไปได้ว่าเชื้อไวรัสโคโรน่าจะแพร่เชื้อ จากคนสู่สัตว์ และ สัตว์สู่คน ?

ศาสตราจารย์.สพ.ญ.ดร.พรทิพภา เล็กเจริญสุข : อันนี้ต้องแยกเป็น 2 คำถามนะคะ ไวรัสที่ก่อโรคโควิดนี่นะคะจัดว่าเป็นโรคที่ติดต่อมาจากสัตว์ แต่ว่าสัตว์ที่เป็นสาเหตุของการติดต่อมานี้นะคะ ในหลักฐานพบว่าไวรัสที่มีความคล้ายคลึงมากที่สุดคือไวรัสที่ปรากฏอยู่ในค้างคาวผลไม้ซึ่งอยู่ในป่า แต่ว่ายังไม่สามารถที่จะระบุสัตว์ตัวกลางได้ว่าหลังจากค้างคาวแล้วมีการผ่านสัตว์ตัวกลางแล้วติดต่อมายังคนหรือไม่ อันนี้เป็นการติดต่อจากสัตว์สู่คนแล้วก็ทำให้เกิดโรคโควิดที่ระบาดไปทั่วในขณะนี้ แต่ว่าในขณะเดียวกัน การติดต่อจากคนสู่สัตว์ก็มีรายงาน มีการติดต่อจากคนสู่สุนัขและก็จากคนไปสู่แมว แต่ว่าสุนัขและแมวโดยส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ ที่มีรายงานมีการพบสุนัขในฮ่องกงสองตัวที่ได้รับเชื้อจากเจ้าของซึ่งป่วยด้วยโรคโควิด-19 นะคะ แล้วก็มีแมวจากเบลเยี่ยมหนึ่งตัวที่มีรายงาน และในขณะนี้ก็มีรายงานการทดลองในสัตว์นะคะก็พบว่าโคโรน่าไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโควิด-19 ก็สามารถติดเชื้อในแมวได้ และแมวสามารถแพร่เชื้อไปยังแมวด้วยกันได้ แต่ว่าอัตราการแพร่เชื้อต่ำมากนะคะ ในขณะที่ในสุนัขเนี่ยจะไม่ค่อยไวต่อการติดเชื้อเท่าไหร่ แล้วก็เชื้อที่พบในสุนัขจากการทดลองพบว่าเชื้อที่ปลดปล่อยออกมาเนี่ยไม่มีชีวิตนะคะและเค้ามีการทดลองว่าเชื้อนี้สามารถติดต่อไปยังสัตว์ปีกที่เรากินเป็นอาหารหรือไม่ พบว่าไม่ติดต่อและก็ไม่ติดต่อไปยังสุกรซึ่งเป็นอาหารเหมือนกันอันนี้ก็เป็นแค่รายงานเบื้องต้น ส่วนรายงานการแพร่เชื้อกลับจากสัตว์ที่ติดต่อไปยังสัตว์แล้วแพร่เชื้อมายังคนยังไม่มีหลักฐานนะคะแล้วก็นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกรวมทั้งสัตวแพทย์ด้วยเชื่อว่าสัตว์เลี้ยงของเราไม่ได้เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโควิด-19 นะคะ อันนี้ก็จะเป็นข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่เนื่องจากเป็นโรคที่ใหม่มากเลยข้อมูลความรู้ต่างๆจึงเกิดขึ้นทุกวัน เพราะฉะนั้นเราจึงต้องติดตามข้อมูลกันต่อไป ซึ่งก็จะเป็นสิ่งที่สามารถนำมาเล่าต่อกันฟังหรือว่าแจ้งในภายหลังเมื่อมีข้อมูลที่เพิ่มขึ้นๆทุกวัน

คำถาม: มีแนวโน้ที่ เชื้อไวรัสโคโรน่า แพร่ ระบาดในสัตว์ หรือไม่อย่างไร ?

ศาสตราจารย์.สพ.ญ.ดร.พรทิพภา เล็กเจริญสุข : จากข้อมูลเบื้องต้นนะคะที่มีรายงาน และก็ข้อมูลที่มีการทดลองเนี่ย ขนาดในส่วนของแมวซึ่งสามารถที่จะติดเชื้อได้ ตอนนี้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันแค่แมว สัตว์เลี้ยงที่สามารถติดเชื้อได้ก็คือแมวแต่ว่าอัตราการแพร่เชื้อของแมวจากการทดลองเนี่ย จากแมวที่ทำการทดลอง 3 ตัวที่มีการติดเชื้อ ทดลองให้ติดเชื้อโดยการใส่เชื้อเข้าไปในช่องจมูกและเอาแมวที่ปกติมาอยู่ด้วยกัน 3 ตัว พบเชื้อก็คือเพียงแค่ตัวเดียวจากหนึ่งในสาม ถ้าเป็นแบบนี้คืออัตราแพร่เชื้อค่อนข้างต่ำมาก จากประสบการณ์ที่ทำงานเกี่ยวกับไวรัสและโรคติดเชื้อมานะคะก็เชื่อว่าไม่เกิดการแพร่ระบาดในหมู่สัตว์ เชื่อว่าเป็นแบบนั้น อันนี้เฉพาะงานการทดลองที่เกิดขึ้นนะคะ ในส่วนของสัตว์ที่ค่อนข้างจะติดเชื้อและแสดงอาการเด่นชัดก็คือเฟอเรส เฟอเรสก็คือกลุ่มนางอายนะคะ ซึ่งจริงๆแล้วเนี่ยกลุ่มนี้ก็สามารถติดโควิดได้และก็แสดงอาการชัดเจน เพราะฉะนั้นเนี่ยคนที่เลี้ยงสัตว์ที่เป็นแบบพวกนางอายหรือในกลุ่มของ non-human primates พวกลิงแบบนี้นะคะก็ต้องระวัง

คำถาม : อาการของสัตว์เช่น ไอ อ่อนเพลีย หายใจติดขัด อาจเป็นโรคอื่น อะไรบ้าง ?

ศาสตราจารย์.สพ.ญ.ดร.พรทิพภา เล็กเจริญสุข : สำหรับสัตว์เลี้ยงสุนัขและแมวนะคะ ซึ่งจริงๆแล้วก็ต้องบอกว่า ถ้าไอ อ่อนเพลียแล้วก็เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก อันนี้เนี่ยก็ต้องแบ่งออกเป็น 2กลุ่มใหญ่ๆ เลยก็คือกลุ่มโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ กับโรคที่ไม่ติดเชื้อ ซึ่งโรคที่ไม่ติดเชื้อก็มีหลายโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบหายใจ ระบบหัวใจและก็ระบบหมุนเวียนโลหิตนะคะ อย่างเช่นในระบบหมุนเวียนโลหิตเนี่ย ถ้าสมมุติว่ามีอาการซีดมากๆเม็ดเลือดแดงต่ำอย่างเช่นโรหิตจางหรืออาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานานนะคะ ก็จะทำให้ปริมาณเม็ดเลือดแดงเนี่ยต่ำ เพราะฉะนั้นเนี่ยพอปริมาณเม็ดเลือดแดงต่ำการส่งออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของร่างกายก็จะต่ำลงเพราะฉะนั้นสัตว์ก็จะต้องทดโดยการที่หายใจถี่ขึ้นเร็วขึ้น แล้วก็สัตว์พวกนี้ก็จะมีอาการเหนื่อย อ่อนนะคะ พวกโรคหัวใจซึ่งก็จะทำให้หัวใจทำงานผิดปกติเพราะฉะนั้นกลุ่มนี้ก็จะเหนื่อยอ่อนอยู่แล้วแล้วก็มีอาจจะมีการกระตุ้นการไอทำให้เค้าไอได้ในเวลากลางคืน แล้วก็โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจทั้งหมดที่ไม่ติดเชื้อก็อย่างเช่น มีสิ่งอุดตันในระบบทางเดินหายใจก็อาจจะทำให้เกิดการไอ หอบเหนื่อย หายใจผิดปกติได้ หรือว่าในกลุ่มของโรคที่เกิดจาก…เอ่อมีการฉีดขาดของกระบังลมยังเงี้ย ก็จะทำให้มีคอนเทนต์หรือสิ่งที่อยู่ในช่องท้องหรือลำไส้เคลื่อนเข้าไปบดบังการทำงานของปอดก็จะทำให้หายใจผิดปกติได้หรืออะไรก็ตามที่มีการอุดตันหรือทำให้สูญเสียสมดุลของระบบหายใจก็จะมีอาการเหล่านี้ได้ อันนี้เป็นกลุ่มของโรคที่ไม่ติดเชื้อ

ส่วนในโรคติดเชื้อก็จะมีเชื้อเนี่ยมันก็จะมีเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสเองก็ตามที่จะทำให้เกิดอาการปอดอักเสบก็จะมีอาการเหนื่อยหอบได้ อย่างในสุนัขเองเนี่ยมันก็จะมีโรคที่เรียกว่าโรค Kennel cough  หรือว่าการไอของสุนัขเด็กซึ่งเกิดจากแบคทีเรียที่เรียกว่า  Bordetella bronchiseptica ซึ่งจะทำให้สุนัขมีอาการไอแห้งๆหรือไอถี่ๆ อันนี้ก็จะเป็นในส่วนของแบคทีเรีย ในส่วนของไวรัสเองโรคติดเชื้ออย่างเช่น ……….. ไวรัสเนี่ยก็จะมีอาการของระบบทางเดินหายใจร่วมด้วยแต่ส่วนใหญ่ก็จะมีอาการอื่นๆซึ่งทำให้เราสามารถแยกได้ว่าเป็นโรคอะไร ส่วนในแมวเองก็จะมีไวรัสที่ก่อโรคระบบทางเดินหายใจหลายตัว ไม่ว่าจะเป็น herpesvirus หรือว่า calicivirus พวกนี้นะคะ แต่ว่ากลุ่มนี้จะทำให้เกิดหวัดแมวซึ่งมันก็จะมีสิ่งกระตุ้นสารคัดหลั่งออกมาค่อนข้างเยอะนอกจากอาจจะไม่ได้ไอชัดเจนแต่ว่ามีน้ำมูกน้ำลายอะไรอย่างนี้นะคะ อย่างเช่นหวัดแมวที่เกิดจาก calicivirus นอกจากจะทำให้เกิดน้ำมูกน้ำลายแล้วก็จะมีตุ่มใสในช่องปาก เหงือกและก็บริเวณอุ้งเท้าแล้วก็ตุ่มแตกออกเราก็จะแยกโรคออกได้ ส่วนherpesvirus ก็จะทำให้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังก็จะมีน้ำมูกน้ำตาเกรอะกรังก็จะสามารถแยกโรคออกไปได้ อีกโรคหนึ่งซึ่งเกิดจาก Feline coronavirus อันนี้จะเป็นโคโรน่าไวรัสในแมว โรคก็จะออกมา2รูปแบบ ถ้าเป็นรูปแบบปกติที่เป็น feline coronavirusเนี่ย เชื้อก็จะอยู่บริเวณลำไส้เป็นส่วนใหญ่และก็จะทำให้เกิดอาการท้องเสียเรื้อรังและก็ในกรณีที่มีการกลายพันธุ์และสามารถเข้าไปในเม็ดเลือดขาวได้เนี่ยก็อาจจะสามารถก่อให้เกิดอาการที่เรียกว่าเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อนะคะ ซึ่งเชื้อตัวนี้ก็คือ feline infectious peritonitis virus ซึ่งก็จะทำให้มีอาการกับทุกระบบและหนึ่งในนั้นก็จะเป็นระบบทางเดินหายใจด้วยก็เป็นไปได้ที่แมวจะมีอาการหายใจลำบากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นลักษณะของที่เรียกว่าฟอร์มเปียกหรือ wet-form ก็จะมีการกระตุ้นให้เกิดการสะสมของน้ำในช่องอกและช่องท้องซึ่งอันนี้ก็จะไปบดบังการหายใจของสัตว์ อันนี้คือโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับโรคไม่ติดเชื้อค่ะ

คำถาม : ในประเทศไทยมีอุปกรณ์ตรวจเชื้อไวรัสโคโรน่าสำหรับสัตว์หรือไม่ ?

ศาสตราจารย์.สพ.ญ.ดร.พรทิพภา เล็กเจริญสุข : คิดว่าหลายๆที่เนี่ย มีความพร้อมที่จะสามารถตรวจได้ เนื่องจากว่าอย่างกรมปศุสัตว์ก็จะทำงานร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เค้าก็จะมี…มีชุดตรวจมาอยู่แล้ว แต่ว่าจะเป็นชุดตรวจที่เป็น Rt-pcr  หรือว่า realtime rt-pcr จะไม่ได้ชุดตรวจที่ตรวจภูมิคุ้มกันในกระแสเลือดนะคะก็อันนี้ก็สามารถส่งตรวจได้ แต่จริงแล้วถ้าสมุติว่าดูจากข้อมูลทั้งหมดเนี่ยนะคะที่มีอยู่เนี่ย สัตว์ที่ไม่เคยสัมผัสเชื้อไม่ได้อยู่กับผู้ป่วยเลยเนี่ยไม่คิดว่าสัตว์จะติดเชื้อนะคะ เพราะว่ารายงานที่มีอยู่ตามการติดเชื้อตามธรรมชาติเนี่ยทุกเคสเลย เนื่องจากเจ้าของป่วยและก็อยู่กับเจ้าของ ซึ่งในสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงอยู่กับเจ้าของเนี่ยก็มีโอกาสที่จะได้รับเชื้อปริมาณมากอยู่แล้วเพราะว่าเจ้าของทั้งมีอาการไอ อาการจามแล้วก็มีสิ่งปนเปื้อนที่อยู่บริเวณบ้านจำนวนค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นอันนี้เนี่ยก็บอกได้ว่า..จริงๆสิ่งที่ต้องระวังก็คือว่าคนที่ป่วยเนี่ยต้องแยกตัวเองออกจากทุกคนในบ้านรวมทั้งสัตว์เลี้ยงด้วย แต่ถ้าสมมุติสัตว์เลี้ยงปกติซึ่งอยู่ในบ้านที่ไม่มีคนป่วย ตอนนี้ยังไม่มีรายงานเลยนะคะว่าสัตว์ได้รับการพบเชื้อ..ในสัตวเหล่านั้น แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากว่ามันเป็นโรคที่ใหม่มากฉะนั้นเนี่ยข้อมูลมันเกิดขึ้นทุกวันนะคะ

คำถาม: ในช่วงโควิด-19 ระบาดนี้ ควรป้องกันและดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างไร

ศาสตราจารย์.สพ.ญ.ดร.พรทิพภา เล็กเจริญสุข : จริงๆแล้วเนี่ย เราก็ต้อง…ดูแลเค้าเหมือนลูกคนนึงในบ้านนะคะ..ลูกเล็กๆ… เนื่องจากว่าเค้าไม่ทราบว่าที่ไหนสะอาดหรือที่ไหนสกปรกเวลาออกไปนอกบ้าน เพราะฉะนั้นดีที่สุดก็คือในช่วงที่มีการระบาดของโรคเนี่ย ควรจะให้สัตว์เลี้ยงอยู่เฉพาะแต่ในบ้าน ไม่ควรนำออกไปข้างนอกเพราะเราไม่ทราบว่าพื้นที่ไหนที่ปลอดภัย และก็ยังไม่มีข้อมูลใดๆระบุทั้งสิ้นฉะนั้นป้องกันเอาไว้จะดีที่สุด ที่กล่าวมาคือข้อแรกนะคะ ข้อต่อมาอันที่สองก็คือไม่ควรพาไปในที่ที่มีการพบปะหรือมีโอกาสที่สัตว์เลี้ยงจะไปปนเปื้อนปะปนกับสัตว์เลี้ยงอื่นๆอย่างเช่น ในร้านหรืออะไรที่เค้ารับอาบน้ำสัตว์ อันนี้ก็งดไปก่อนนะคะให้เราอาบเอง และให้หมั่นดูแลทำความสะอาดสัตว์เลี้ยงของเรานะคะเป็นประจำนะคะ ถ้าสมุติว่าอาบน้ำอาทิตย์ละครั้งและรู้สึกว่าไปเปื้อนหรือสกปรกอะไรนะคะเราก็สามารถที่จะเช็ดตัวให้เค้าได้ และก็การไม่เอาเค้าออกไปเที่ยวข้างนอกเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แล้วก็ให้เค้าอยู่ในบ้าน ในส่วนอื่นๆถ้าสมมุติว่าเราเป็นผู้ป่วยหรือว่าเป็นผู้ที่แพทย์ระบุให้กักตัวหรือมาจากประเทศอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันก็หลายประเทศแล้วค่ะทุกคนก็กลัวไปหมด ฉะนั้นเนี่ยคนที่มาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคอย่างรุนแรง…คนที่เป็นผู้ป่วยนะคะ หรือว่าตรวจพบว่ามีเชื้อเนี่ยก็ควรจะอยู่ห่างๆจากสัตว์เลี้ยงด้วยเหมือนกัน ไม่ควรจะไปคลุกคลี เช่นเดียวกับการไม่ไปคลุกคลีกับสมาชิกในครอบครัวนะคะ แล้วคนกลุ่มนี้เองก็ตามนะคะถ้าสามารถหาคนเลี้ยงสัตว์เลี้ยงของตนได้ก็ควรจะให้คนอื่นเลี้ยงแทน แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ก็จะต้องใส่หน้ากากนะคะในขณะที่ดูแลสัตว์เลี้ยงและก็ล้างมือตัวเองให้สะอาดก่อนที่จะสัมผัสสัตว์เลี้ยงและก็ล้างมือตัวเองให้สะอาดหลังสัมผัสสัตว์เลี้ยงด้วยเช่นกันนะคะ และก็ไม่คลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงและไม่แบ่งปันอาหารที่ตัวเองกินให้แก่สัตว์เลี้ยงก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดข้อควรระวังมากที่สุดคืออย่าให้สัตว์สัมผัสกับผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องกักตัวนะคะ

คำถาม : ในปัจจุบัน รพ.สัตว์เกษตร มีมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 นี้อย่างไร

ศาสตราจารย์.สพ.ญ.ดร.พรทิพภา เล็กเจริญสุข :  เราก็คงต้องป้องกันทั้งเจ้าของที่จะเข้ามารับการรักษาภายในโรงพยาบาลด้วย ซึ่งตอนนี้เชื่อว่าโรงพยาบาล โรงพยาบาลสัตว์ส่วนใหญ่ก็จะมีการกำหนดประตูที่เข้า ประตูที่ออก และก็จะมีการวัดอุณหภูมิของเจ้าของสัตว์ก่อนที่จะเข้ามารับการรักษา และถ้าเกิดว่าเจ้าของสัตว์มีไข้ส่วนใหญ่เราก็จะขออนุญาตให้เป็นคนอื่นมาพามานะคะ แล้วถ้าสัตว์ป่วยหรือสัตว์ที่มีนัดกับโรงพยาบาลทั้งหมด หากไม่เร่งด่วนอะไร สามารถที่จะรออยู่ก่อนได้นะคะ อันนี้ก็เป็นมาตรการเบื้องต้น และในส่วนของในสัวต์เลี้ยงเองก็ตามถ้าเจ้าของซึ่งป่วยด้วยโรค covid-19 เนี่ยนะคะ และพบว่าสุนัขตนเองมีอาการป่วยหรือยังไงเนี่ยค่ะ

          ซึ่งคำแนะนำที่ดีที่สุดก็คือเจ้าของก็ควรจะโทรศัพท์มาถามสัตวแพทย์ที่โรงพยาบาลก่อนว่าควรจะทำอย่างไร ซึ่งเราไม่อนุญาตให้พามา แต่ว่าทางโรงพยาบาลเองจริงๆแล้วทางโรงพยาบาลก็จะต้องมีทีมที่จะต้องออกไปตรวจข้างนอกนะคะพร้อมกับชุดป้องกันอย่างดีนะคะ ซึ่งอันนี้ก็เป็นสิ่งที่โรงพยาบาลก็ควรจะมีมาตรการรองรับเอาไว้เนื่องจาก…เราเองเราเป็นสัตวแพทย์เราก็ต้องดูแลสัตว์ป่วยด้วยเพื่อให้เจ้าของคลายความกังวลและในขณะเดียวกันในประเทศไทยตอนนี้ยังไม่มีมาตราการอะไรเกี่ยวข้องกับสัตว์ที่อาจจะ…ที่อยู่ร่วมกับเจ้าของซึ่งป่วยด้วยโรคโควิด-19 แต่อย่างในฮ่องกงเค้าก็จะมีหน่วยงานราชการคล้ายกรมปศุสัตว์ของเรา เค้าก็จะนำสัตว์เลี้ยงเนี่ยไปกักกันเอาไว้เพื่อที่จะตรวจดูว่าสัตว์ได้มีการติดเชื้อใดๆหรือไม่ มีการปล่อยเชื้อไหม จนกระทั่งไม่พบเชื้อจึงจะปล่อยกลับอันนี้ก็จะเป็นในฮ่องกงนะคะ แต่ในประเทศไทยเรายังไม่มีมาตรการตรงนี้ออกมานะคะ

คำถาม : อยากให้อาจารย์พูดถึงประโยชน์สัตว์เลี้ยงในช่วงกักตัวหรือ Work From Home

ศาสตราจารย์.สพ.ญ.ดร.พรทิพภา เล็กเจริญสุข :  จริงๆแล้วเนี่ยต้องบอกว่าสัตว์เลี้ยงเนี่ย…ตั้งแต่สมัยไหนมาเลยก็ตาม…จริงๆเนี่ยสัตว์เลี้ยงมีคุณค่าทางจิตใจนะคะ….แล้วก็ยิ่งในปัจจุบันนี้สัตว์เลี้ยงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการดูแลคนแก่ ดูแลคนป่วยที่เป็นคนป่วยเรื้อรังนะคะ ดูแลเด็กที่มีปัญหาที่ต้องนอนหรือว่าต้องนอนอยู่กับบ้านหรืออยู่โรงพยาบาลนานๆหรือว่าผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิต เนื่องจากว่าสัตว์กับคนเนี่ย..มันจะมีบอร์นติดต่อซึ่งกันและกัน..แล้วสัตว์โดยเฉพาะสุนัขเนี่ยเป็นสัตว์ที่มีความซื่อสัตย์นะคะ…ถ้าสมมุติว่าเราดูแลเค้า เค้าก็จะภักดีกับเรา แล้วสิ่งที่สุนัขหรือแมวหรือสัตว์เลี้ยงเนี่ยตอบสนองต่ออารมณ์ของเรา..ซึ่งเค้าก็ไม่บ่นไม่เคยว่าเรากลับ…มันก็ทำให้เค้าเป็นเพื่อนที่ดีสำหรับคนที่เค้าอาจจะ…เอ่อ…ในสภาวะปกติอาจจะต้องการการดูแลเป็นพิเศษ…เพราะฉะนั้นเนี่ยสัตว์เลี้ยงเหล่านี้จะช่วยได้มากเลย…ซึ่งทุกคนอยู่บ้านเนี่ยปกติเคยออกไปนู่นไปนี่เราก็ต้องมาอยู่บ้านเป็นเวลาเป็นเดือน…สัตว์เลี้ยงก็จะเป็นเพื่อนที่ดีสำหรับเรา…เนื่องจากว่าเค้ามี interactive กับเราเมื่อเราเล่นกับเค้า เค้าก็ตอบสนองนะคะ และเค้าก็แสดงท่าทีของการภักดีและก็….เป็นท่าทีที่ทำให้เรารู้สึกว่ามีใครที่เป็นที่สนใจเราและเป็นเพื่อนเราได้ก็จะดีกว่าการอยู่กับคอมพิวเตอร์นะคะเพราะมี interaction ซึ่งกันและกัน…..น่าจะเป็นประโยชน์ที่ดีที่สุดในตอนนี้ และประโยชน์ด้านอื่นๆ ถ้าเราเลี้ยงสุนัขเนี่ยเค้าก็ช่วยดูแลบ้านให้เราด้วย..อันนี้สำคัญมากเลย…เนื่องจากว่าเวลาที่เราอาจจะเพลินๆกับงานที่บ้านหรือเพลินๆกับอะไรก็ตามเนี่ย…สุนัขก็จะหูไว..เพราะฉะนั้นเค้าก็จะได้ยินเสียงอะไรที่ผิดปกติแล้วก็ได้ยินมาแต่ไกล เค้าก็จะเห่าเตือนเรา เค้าก็จะช่วยเราดูแลบ้านได้ ช่วยเราดูแลอะไรหลายๆอย่างได้ จริงๆในปัจจุบันแม้กระทั่งใน…เอ่ออ… มันมีการศึกษาว่าเด็กที่อยู่กับสัตว์เลี้ยงเค้าก็จะพบว่าเป็นเด็กที่ฉลาดในอนาคต…ค่ะ…ก็มีประโยชน์เยอะค่ะ…..

 “ในช่วงสถานการณ์แบบนี้เราควรดูแลสัตว์เลี้ยงของเราให้มากกว่าเดิมเพราะการมีสัตว์เลี้ยงอยู่เป็นเพื่อนภายในบ้านจะช่วยลดความตึงเครียดของเราได้เป็นอย่างดีแล้วเราจะผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน…”

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของ ศาสตราจารย์.สพ.ญ.ดร.พรทิพภา เล็กเจริญสุข ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน / จัดทำโดย อนุชา ศิริมาลัยสุวรรณ

รายงานการวิจัยระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศเพื่อการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคติดต่อในสัตว์และโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่สำคัญ

การพัฒนาแบบจำลองเพื่อการพยากรณ์การระบาดของโรคระบาดสัตว์ในประเทศไทย 

โรคติดต่อจากสุนัขและแมวสู่คน : ตอน โรคติดเชื้อโปรโตซัว

วันหมาป่วย / คฑาวุฒิ

มหันตภัยหวัดมรณะ SARS 

A Discussion of Corona Virus.

 Spike protein recognition of mammalian ACE2 predicts the host range and an optimized ACE2 for SARS-CoV-2 infection

 COVID-19: Transmission, prevention, and potential therapeutic opportunities

What we know about COVID-19 and its treatment.

Bats and Viruses : A New Frontier of Emerging Infectious Diseases

 

 

 

อาจารย์นักทำหุ่นยนต์

KULib Talk No.16 “อาจารย์นักทำหุ่นยนต์”

แขกรับเชิญในวันนี้ได้รับเกียรติจากอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งถือได้ว่าท่านมีบทบาทสำคัญในเรื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ รวมถึงยังเป็นผู้ผลักดันนิสิตให้ได้รับโอกาสในการแข่งขันและประสบความสำเร็จในระดับโลกมาแล้วหลายสมัย ถ้าพูดถึง skuba - jr ที่เคยสัมภาษณ์ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ก็ได้พูดถึงอาจารย์ท่านนี้เหมือนกัน เป็นบุคคลสำคัญที่ได้พาไปประสบความสำเร็จ ขอต้อนรับ ดร.กาญจนพันธ์ สุขวิชชัย จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ 

อยากทราบว่าอาจารย์ก้าวเข้ามาสู่วงการนักทำหุ่นยนต์ได้อย่างไร

ต้องเล่าเท้าความไปไกลสักนิดหนึ่ง เริ่มต้นตั้งแต่อยู่ ปี 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ของ ม.เกษตร ได้รู้จักอาจารย์ท่านหนึ่ง เชื่อว่าหลายท่านคงรู้จักอาจารย์ท่านนี้ อ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา อาจารย์ปัญญาเป็นคนชวนเข้าไป เมื่อก่อนเรียกชุมนุม Robot พอเข้าไปก็จะมีรุ่นพี่หลายๆ คน เริ่มเอาหุ่นยนต์มาให้ดูว่าหุ่นยนต์คืออะไร มีโอกาสได้ไปทดลองเขียนโปรแกรมทำหุ่นยนต์เพื่อไปแข่งขันเล็กๆ น้อยๆ ตั้งแต่สมัย ปี 2 ป.ตรี พอไปเรียนต่อ ป.โท ป.เอก เลยไป focus เรื่องหุ่นยนต์ หลังจากนั้นเมื่อกลับมามีจังหวะได้รับการสนับสนุนจากสมาคมหุ่นยนต์ไทย  เพื่อจะนำหุ่นยนต์ของเกษตรไปแข่งขันระดับโลกในครั้งแรก ปรากฏว่าเราได้ที่ 3 มา มีการแข่งต่อเนื่องมาเรื่อยๆ (พิธีกร สนุกไหมคะที่อยู่ใน project) สนุกมาก ก่อนไปเราสนุกมาก แต่พอไปถึงวันที่แข่ง เครียด เราแบกชื่อประเทศ เราแบกชื่อมหาวิทยาลัย และคณะไปด้วย แต่ก็ดีได้ประสบการณ์ และเด็กได้ฝึกความอดทนว่าเราต้องผ่านมันไปให้ได้ ตอนแข่งขันในปีแรก ตอนเด็กเขียนโปรแกรมมือสั่น คือเครียดมาก ประมาณนั้น แต่เราก็ผ่านมาได้

น้องๆ ที่สนใจเข้า lab ของอาจารย์ มีขั้นตอนการเข้ามาทำงานอย่างไร มีคุณสมบัติอย่างไร

ห้อง lab ของเราโดยพื้นฐานแล้วไม่ได้มีการสอบ หรือทดสอบอะไรก่อนเข้า เริ่มต้นเรามานั่งคุยกันก่อนว่ามีทัศนคติต่อการทำหุ่นยนต์เป็นอย่างไร โดยเน้นที่ว่าอยากให้เริ่มจากการที่เขามีแรงบันดาลใจจากภายในว่าอยากจะทำอะไร ความรู้มาหาได้จากภายในห้อง lab หาได้จากการที่รุ่นพี่สอนรุ่นน้อง เพราะฉะนั้นเดินมาแต่ตัวกับหัวใจ เดินเข้าห้อง lab และมาบอกว่าอยากทำอะไร (พิธีกร แค่มีความตั้งใจก็สามารถเข้ามาสมัครได้เลย) ได้เลย

ความสามารถพื้นฐานของหุ่นยนต์ ควรจะมีอะไรบ้าง

ตัวนี้เป็นหุ่นยนต์คุณลำไย เป็นหุ่นยนต์ที่ใช้งานในบ้าน โดยพื้นฐานแล้วอะไรก็ตามที่เป็นหุ่นยนต์ใช้งานร่วมกับมนุษย์ เราจะมีความคาดหวังว่าหุ่นยนต์จะต้องคิดเหมือนมนุษย์ได้ เดินเหมือนมนุษย์ ขยับแขนขยับขาได้เหมือนมนุษย์ ฟังเสียงได้ เข้าใจเสียง จดจำภาพได้ ค้นหาภาพได้ และเข้าใจภาพ อันนั้นคือพื้นฐานของมนุษย์ คิดง่ายๆ เราพยายามจำลองมนุษย์คนหนึ่งลงไปบนหุ่นยนต์ ถ้าหุ่นยนต์สามารถทำงานได้ดี หุ่นยนต์ต้องทำความสามารถได้อย่างน้อยเหมือนพื้นฐานของมนุษย์คนหนึ่ง (พิธีกร ยากไหมกว่าที่คุณลำไยจะออกมา) คุณลำไย ถ้าถึงวันนี้ใช้เวลาพัฒนาประมาณ 12 ปีแล้ว แต่ช่วงแรกๆ ยังเป็น prototype เป็นหุ่นยนต์ทดสอบอยู่ ยังไม่มีความสามารถอะไร อาจจะได้แค่เดินตามบุคคล จดจำใบหน้าได้แค่คนสองคนเท่านั้นเอง แต่ปัจจุบันได้รับการพัฒนาโดยการเอา AI หลายๆ ส่วนเข้าไป จะสามารถเข้าใจได้ว่ามนุษย์พูดอะไรอยู่ ตอบโต้เป็นภาษามนุษย์ได้ สามารถบอกได้ว่าคนที่เข้ามาในบ้านเป็นผู้ชาย ผู้หญิง อายุเท่าไร และเป็นคนที่คุณลำไยรู้จักรึเปล่า สามารถหาของในบ้านได้ เช่น ปีที่ผ่านมาเอา AI ในการหาของ จำลองสถานการณ์ว่าคุณยายตื่นมาแล้วไม่รู้แว่นอยู่ไหน สั่งให้คุณลำไยไปเดินหา คุณลำไยจะเดินไปทั่วบ้าน และบอกว่าเจอแว่นแล้วนะ แว่นอยู่ตรงโต๊ะกินข้าว (พิธีกร เราต้องป้อนข้อมูลเข้าไปก่อน) ต้องการทำให้หุ่นยนต์เรียนรู้ AI สมัยใหม่มันไม่ใช่ coding แบบ Algorithm เหมือนกับ fix ค่าอีกแล้ว เป็นลักษณะ dinamic ให้หุ่นยนต์สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา โดยที่เราเป็นผู้สอน เหมือนคุณลำไยเป็นเด็กไปโรงเรียน เราเป็นครูเป็นอาจารย์ เราก็บอกว่าสิ่งนี้เรียกว่า กรรไกร สิ่งนี้เรียกว่าแว่นตา สิ่งนี้เรียกว่าจานข้าว ค่อยๆ สอนไปเรื่อยๆ หุ่นยนต์จะเก่งขึ้นเรื่อยๆ (พิธีกร ไม่จำเป็นว่าจะเป็นกรรไกรอันเดิม อันไหนก็ได้ในกลุ่มนี้) เหมือนมนุษย์การที่จะเข้าใจกรรไกรได้ อย่างแรกต้องมีที่จับ ที่จับอาจมีหลายสี หลาย size ได้ไม่เป็นไร มีที่ตัดสองอัน อันเดียวไม่ได้อันเดียวจะเป็นมีดต้องมี 2 อัน หุ่นยนต์เรียนรู้สิ่งนั้นมากกว่าจะบอกว่าหน้าตาอย่างนี้เปรียบเทียบภาพนี้กับภาพที่แล้วว่ามันคือกรรไกร หุ่นยนต์จะเห็นการที่จะเป็นองค์ประกอบของกรรไกรคืออะไรบ้าง (พิธีกร ตอนนี้คุณลำไยพัฒนาเต็มประสิทธิภาพแล้ว หรือยังพัฒนาต่อ) ยังไปได้อีกค่อนข้างเยอะ ตอนนี้ยังมีปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องพัฒนาต่อ เช่น จะทำอย่างไรให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น ปัญหาของหุ่นยนต์ตอนนี้ที่เราไม่เห็นในท้องตลาดมากมายนัก เพราะว่าเราเป็นคนใช้ คิดถึงในมุมมองคนใช้ เปิดกล่องมา เสียบปลั๊ก เราควรจะใช้งานได้เลย แต่หุ่นยนต์ต้อง set up ค่อนข้างเยอะเพื่อจำ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ ตอนนี้มีหลายๆ บริษัทมีความสนใจว่าจะให้พัฒนาระบบ lady of the box คือแกะหุ่นยนต์ออกจากกล่องวาง เสียบปลั๊ก เปิดไฟ ใช้งานได้เลย จะต้องมีหลายเรื่องๆ เช่น อัตโนมัติ สามารถค้นหาสถานที่ได้ว่าเขาอยู่ตรงไหนของบ้าน เพื่อจะบอกได้ว่าตอนนี้อยู่ห้องนอน อยู่ห้องรับแขก ห้องอาหาร หลังจากนั้นจดจำใบหน้าของคนใช้งาน อาจจะต้องคุณยายคะเดินมาหน้ากล้องหน่อยขอจำหน้านิดหนึ่ง คุณผู้ชายคะขอจำหน้านิดหนึ่ง ต้องเป็นอัตโนมัติระดับนั้น ที่สามารถทำให้หุ่นยนต์สามารถ interact กับคน สามารถปรับตัวเองได้กับบ้านที่เขาไปอยู่

หุ่นยนต์เริ่มมีบทบาท ถ้าในอนาคตหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่มนุษย์ มีความคิดเห็นอย่างไร

เรากลับมาดูจุดมุ่งหมายพื้นฐานของการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาหนึ่งตัว เราสร้างหุ่นยนต์เพราะอะไร เราต้องการสร้างบางสิ่งบางอย่างมาช่วยเหลือมนุษย์ ในเรื่องกิจกรรมที่มนุษย์ไม่ค่อยอยากทำ เพราะฉะนั้นถ้าเรายึดหลักการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ ในกิจกรรมที่มนุษย์ไม่พึงจะทำ เช่น กิจกรรมซ้ำๆ กิจกรรมที่ทำงานต่อเนื่องยาวนาน กิจกรรมที่มีความล้า หรือกิจกรรมที่อันตราย เพราะฉะนั้นถ้าหุ่นยนต์ยังตอบโจทย์นั้นอยู่ แปลว่าจริงๆ หุ่นยนต์เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่มาช่วยเรา เพื่อไม่ไห้มนุษย์ต้องเสียเวลาในชีวิตไปทำกับเรื่องที่น่าเบื่อ อันตราย ใช้เวลายาวนาน เพื่อให้มนุษย์มีเวลาเหลือเพื่อไปใช้ทำอย่างอื่นที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น เป็นการพัฒนาตนเอง สร้างสิ่งใหม่ๆ อย่างหนึ่งหุ่นยนต์ไม่สามารถสร้างศิลปะได้ เพราะฉะนั้นในอนาคต เราจะเห็นหุ่นยนต์ในลักษณะเป็นผู้ช่วยเหลือ มนุษย์ไปสร้างสรรค์อย่างอื่นให้เกิดประโยชน์ต่อโลกมากขึ้น (พิธีกร มาเพิ่มความสะดวกสบายให้เรา ลดความเสี่ยงในบางงานที่เราต้องเสี่ยง) เพราะบางเรื่องไม่จำเป็นต้องเสี่ยง อาจเคยได้ยินเหมือนกับเรื่องหุ่นยนต์กู้ภัย กว่าจะพัฒนาบุคลากรขึ้นมาสามารถเข้าไปเก็บกู้ระเบิดได้ใช้เวลานาน แต่หุ่นยนต์เรามองว่าเป็นสิ่งของ การที่เขาเข้าไปเขาจัดการได้ มันปลอดภัยต่อมนุษย์มากกว่า ยังเชื่อว่าทรัพยากรมนุษย์อย่างเราใช้เวลายาวนานและสร้างยากยังมีประโยชน์ สามารถสอนคนรุ่นต่อรุ่น เป็นการพัฒนาต่อยอด

ในการแข่งขันแต่ละครั้ง มีการเตรียมการอย่างไร ทราบข่าวในเรื่องการแข่งขันจากที่ไหนบ้าง

โดยพื้นฐานแล้ว เรามีความสนุกกับการทำหุ่นยนต์เพื่อแข่งขัน ส่วนใหญ่ search google ง่ายๆ ว่า ตอนนี้มีการแข่งขันอะไรบ้าง ในหัวข้อที่เราสนใจ ช่วงแรกๆ ก็จะเป็นอย่างนี้ ในโลกนี้มีอะไรแข่งกันบ้าง เช่น เราไปค้นพบว่าที่สิงคโปร์มีการแข่งขันหุ่นยนต์ใช้งานใต้น้ำ ที่อเมริกามีการแข่งขันหุ่นยนต์ใช้งานใต้น้ำ ที่ญี่ปุ่นหุ่นยนต์ใช้งานในบ้าน หุ่นยนต์ใช้งานในห้องสมุด หุ่นยนต์ใช้งานในร้านสะดวกซื้อ หรือที่ต่างประเทศจะเป็นทุกปี เช่น RoboCup เราก็เริ่มเข้าไปดู detail เริ่มสมัครไป ไปอ่าน qualified ว่าการที่จะเข้าไปได้ ไม่ใช่สมัครอย่างเดียวจำเป็นต้อง prove ให้เขาดูด้วยว่าหุ่นยนต์เรามีความสามารถ โดยการที่เราส่งที่เรียกว่า คล้ายๆ เปเปอร์เหมือนทำงานวิจัย อธิบายไปว่าหุ่นยนต์เราเป็นอย่างไร มีความสามารถอะไรบ้าง เทคโนโลยีที่ใช้จริงๆ ในทางวิศวกรรมเป็นอย่างไร AI เราใช้เทคนิคไหน ส่งไปเพื่อ qualified รวมทั้ง vdo ตอนที่หุ่นยนต์ทำงานจริง เพราะบางคนเป็นลักษณะที่ตอนส่งเปเปอร์มันดูดี แต่พอหุ่นยนต์ต้องแสดงความสามารถจริงๆ ทำไม่ได้ตามนั้น เขาก็มีการตรวจสอบอีกครั้งโดยการส่ง vdo ไปด้วยที่ห้ามตัดต่อ ไม่สวยไม่เป็นไร ในระยะเวลา 5 นาที ว่าหุ่นยนต์ต้องทำความสามารถอะไร 1 2 3 4 5 พอหลังจากเราส่งไปเรียบร้อยแล้ว เราก็นั่งรอ คณะกรรมการจะติดต่อกลับมาว่าตอนนี้ทีมคุณ qualified รึเปล่า หรือ qualified แบบมี condition  condition เช่น เราเห็นศักยภาพหุ่นยนต์คุณนะแต่ว่ายังดีไม่พอ คุณไปทำนี่หน่อยไหม พอทำเสร็จแล้วส่งมาใหม่ คณะกรรมการจะตรวจสอบว่าโอเคดีรึยัง ถ้าโอเคแล้วจะได้สิทธิ์ ได้ invitation letter เพื่อจะขอวีซ่าไปแข่งขัน รายการใหญ่ๆ เกี่ยวกับหุ่นยนต์ใช้งานในบ้านหรือหุ่นยนต์ทั่วๆ ไป จะเป็น RoboCup concept ก็คือจะเป็นหุ่นยนต์หลายๆ ประเภทมาแข่งขัน โดยมุ่งหวังว่าจะพัฒนาหุ่นยนต์พร้อมๆ กันทั่วโลกขึ้นไป ที่ใช้ว่า RoboCup จำลองเหมือนเตะบอลโลก หุ่นยนต์แรกๆ ที่อยู่ในการแข่งขันนี้ เป็นหุ่นยนต์เตะบอลจะมีหลายรูปแบบ แล้วเขามีความคาดหวังว่า 2050 หุ่นยนต์แชมป์โลกจะไปเตะบอลกับมนุษย์แชมป์โลกได้เลย (พิธีกร คล้ายๆ เราต้องไป defense เหมือนหัวข้องานวิจัยเลย) แล้วไปถึงที่นั่นไม่ใช่แข่งอย่างเดียว จะมีหนึ่ง section ทุกคนต้องเอางานวิจัยตัวเอง present ให้คนอื่นฟัง ลักษณะเป็น open ในปีต่างๆ ที่เราไปถึงแม้คิดว่าเราโอเคแล้ว เราไป present เรื่องใหม่ๆ เราอาจจะได้เรียนรู้สิ่งอื่นที่มาจากทีมอื่นด้วย เช่น เขาทำกันอย่างนี้ได้ด้วยหรือ จะทำให้เราพัฒนาได้เร็วขึ้น ทีมที่ไปบ่อยๆ จะมีอัตราการพัฒนาที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกคนเปิดเผย 100 เปอร์เซ็นต์ เหมือนเป็นเพื่อนกัน เหมือนไปเตะฟุตบอลกัน หลังจากแข่งเสร็จก็สนุกกัน อารมณ์นั้น

อาจารย์เป็นแชมป์มาหลายสมัย รู้สึกกดดันไหม

เป็นแชมป์ว่ายากแล้ว รักษาแชมป์ยากกว่าเยอะ มันยากกว่าลักษณะที่ว่า ที่เรายังไม่ได้แชมป์ เราจะมองเหมือนกับว่า จุดมุ่งหมายเราจะเป็นแชมป์ให้ได้ เราจะเตรียมทุกอย่างเพื่อไปล้มเขา แต่วันที่เราอยู่จุดที่สูงที่สุดแล้ว โจทย์มันจะพลิกว่าเราจะทำอย่างไรพัฒนาต่อไปเพื่อไม่ให้คนอื่นมาล้มเราได้ ยาก เหมือนกับว่าเราไม่รู้เราจะไปทางไหน เราต้องคิดแล้ว เราบอกว่าเส้นทางที่เราจะสร้างเองหลังจากนี้เพื่ออะไร เช่น เราอาจมีหลายๆ เส้นทางที่เกิดขึ้นเราเป็น head แล้ว เราอาจจะไปทางนี้จะพิสูจน์ว่าสิ่งที่เราไปมันถูกทางไหม  ถ้าไม่ถูกทางคนอื่นก็จะมาล้มเรา เป็นคลื่นลูกใหม่ที่แรงกว่าเสมอ ยาก ยากจริง คู่ต่อสู้แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่าง ตอนที่ทีม skuba เป็นแชมป์โลกเตะฟุตบอล ปีแรกเราเป็นม้ามืดไม่คิดว่าเราจะได้แชมป์โลก พอได้แชมป์โลกปีแรกเราชนะทีมญี่ปุ่นในรอบชิง 11-1 พอปีถัดไปเราไปเจอทีมอิหร่านในรอบชิง เราชนะไป 6-1 ปีถัดมาเหลือ 4-1 ปีถัดว่าเหลือ 2-1 เพราะว่าทุกคนเริ่มเข้ามาทันกันเรื่อยๆ ความยากอยู่ตรงนี้ว่าจะมีแรงผลักดันตัวเองไปได้ไกลแค่ไหน อันที่สองเราต้องก้าวข้ามความสำเร็จ คือบางทีเรายึดติดกับความสำเร็จ เราเป็นแชมป์แล้ว เราไม่ต้องพัฒนามันไม่ได้ เพราะว่าเมื่อไรเราหยุดพัฒนา คนอื่นแซงทันที ที่ยากที่สุดต้องสร้าง momentum ในห้อง labไปเรื่อยๆ ว่าปีนี้เราทำอะไรใหม่ ปีนี้เราทำอะไรใหม่ ปีนี้เราทำอะไรใหม่

ล่าสุดทีม SKUBA – Jr คว้ารางวัลแชมป์โลกมา อาจารย์มีการคัดน้องๆ ที่เข้ามาร่วมทีมอย่างไร

น้องๆ แต่ละคนที่อยู่ในทีมจะมีความแตกต่างกัน แต่ละคนมาจากหลายภาควิชา มีความถนัดที่แตกต่างกัน เช่น น้องทรายที่เคยออกรายการจะมีความสามารถทางด้าน AI ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ จะมีน้องๆ อีกหลายคนๆ ที่ไม่ได้มา จะมีความสามารถด้าน AI เกี่ยวกับเรื่อง programing ค่อนข้างสูง อีกสองคนก็มีความสามารถ presentation เพราะว่าการไปไม่ได้มีคะแนนเฉพาะความสามารถหุ่นยนต์ทางด้าน tachnical ต้องมีการนำเสนอที่ดี ต้องมีความสามารถในการพูดให้เห็นว่าหุ่นยนต์ของเราสามารถใช้งานจริงได้ในโลก ให้คณะกรรมการที่มาจากภาคเอกชน มีอาจารย์ส่วนหนึ่งที่มาจากมหาวิทยาลัยชื่อดังในโลก และมีส่วนหนึ่งมาจากภาคเอกชนที่ทำหุ่นยนต์หรือของที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์มานั่งฟังและให้คะแนน เพราะฉะนั้นไม่ได้ง่ายที่เราต้องไป convince คนที่มีความรู้ขนาดนั้นให้เชื่อว่าหุ่นยนต์เรามีความสามารถและให้คะแนนเรา เพราะฉะนั้นแล้วมันต้องเป็นองค์ประกอบที่ลงตัว อันที่สองเชื่ออย่างหนึ่งว่าเด็กทุกคนที่เข้ามหาวิทยาลัยได้มีความสามารถ เพียงแต่เราจะต้องมีขบวนการดึงความสามารถเขาออกมาใช้ให้เต็มความสามารถที่สุดมากกว่า ทุกคนมีความสามารถ อย่าคิดว่าตัวเองไม่เก่ง ไม่ดี มาลองก่อน บางทีคุณอาจจะค้นพบว่าบางอย่างในตัวคุณมันมี เพียงแต่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง อย่าคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถ อย่ามองข้ามความสามารถตัวเอง มีทุกคน

จากการที่อาจารย์ส่งเสริมนิสิตให้ทำหุ่นยนต์ ทำให้อาจารย์มองเห็นอะไรในตัวน้องๆ บ้าง

เห็นว่าเด็กไทยมีศักยภาพ เพียงแต่เราต้องมีขบวนการที่ถูกต้องในการเพาะบ่มให้เด็กเติบโตขึ้นไป ให้แสดงความสามารถได้ เขาพร้อมจะไปสู่ระดับโลก สามารถไปชนะประเทศอื่นๆ ได้ เช่น ตัวอย่างที่ไปแข่งขันมหาวิทยาลัยที่แข่งกับเราเป็น มหาวิทยาลัยโตเกียว มหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน เอ็มไอที คอร์เนล เบริกเล หลายๆ ที่ ซึ่งเด็กไทยพิสูจน์แล้วว่าเขาก็ชนะได้ ถามว่าเด็กไทย ป.ตรี จบแล้วยังไงต่อ เขาไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำ บางคนไปอยู่เยอรมัน ไปอาเคิน ไปหลายๆ ที่ ญี่ปุ่นส่วนใหญ่เด็กเราที่แข่งขันเสร็จจะได้รับโอกาสไปทำงานที่ญี่ปุ่นเลย ทางทีมบริษัทญี่ปุ่นจะติดต่อไปทำงาน บางคนไปทำหุ่นยนต์ที่ญี่ปุ่น บริษัท โตชิบา หรือ พานาโซนิค เด็กไทยอยู่เบื้องหลังเป็นคนไปทำ นอกจากนั้นแล้วเด็กที่มุ่งไปทางด้านวิชาการ ไปพวกอิมพิเรียลคอลเลจ ไปเอ็มไอที หลายคน ห้อง lab เหมือนเราสร้างเด็กแล้ว สุดท้ายเรากระจายเด็กไปต่างประเทศแต่ก็โชคดีมีเด็กที่กลับมาเป็นอาจารย์ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์

ผลงานของอาจารย์ไม่ได้มีแค่หุ่นยนต์คุณลำไย มีการพัฒนาระบบเตะฟุตบอลเพื่อการศึกษา มีหุ่นยนต์อัตโนมัติใต้น้ำ มีคุณลำไยหุ่นยนต์ที่ใช้งานในบ้าน หุ่นยนต์น้องต้นหอม ผลงานต่างๆ มีความเป็นมาอย่างไร ทำไมอาจารย์ถึงสร้างหุ่นยนต์ที่มีการทำงานที่แตกต่างกัน

ต้องเล่าให้ฟัง การที่จะมีหุ่นยนต์หนึ่งตัวที่ทำทุกอย่างแทนมนุษย์เป็นไปได้ยาก เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดีที่สุดในการพัฒนา คือการที่แบ่งแต่ละส่วนของความสามารถมนุษย์เป็นหุ่นยนต์แต่ละตัว เช่น หุ่นยนต์คุณลำไยตอนนี้ยังไม่สามารถว่ายน้ำได้ ก็เลยสร้างหุ่นยนต์ใต้น้ำ หุ่นยนต์ใต้น้ำไว้ทำอะไร ใช้ในการสำรวจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปะการัง สำรวจเรือจม เอาไปใช้แท่นขุดเจาะน้ำมัน ซึ่ง project นี้เริ่มจาก ปตท.สผ. ได้เดินเข้ามาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และอยากจะได้หุ่นยนต์สักอย่างหนึ่งเพื่อใช้ในการสำรวจน้ำมัน การขุดน้ำมันยากขึ้น ยากขึ้นตรงที่ว่าจุดที่ต้องลงไปสำรวจจะไม่ได้อยู่ตรงไหล่ทวีปแล้ว ลงไปทะเลน้ำลึกมากๆ ดังนั้นมนุษย์นักประดาน้ำลงไม่ได้แล้ว จำเป็นต้องมีหุ่นยนต์ลงไปแทน นอกจากนั้นหุ่นยนต์อื่นๆ เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในกระทรวงของทหารก็เคยทำ เป็นหุ่นยนต์ที่ใช้ในการสำรวจอาคาร ความเสียหายของอาคาร โจทย์จะยากนิดหนึ่ง หุ่นยนต์ต้องน้ำหนักเบา วิ่งบนฝ้าได้ เพื่อจะไปตรวจสอบว่าโครงสร้างข้างบน พังไหม และมีปลวกกินไหม เพราะว่าอาคารของทหารส่วนใหญ่เป็นไม้อยู่ โจทย์ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง น้องต้นหอมเป็นหุ่นยนต์ทรงตัวบนฟุตบอล ทำขึ้นมาเพื่อจำลองพฤติกรรม ถ้าเราจะทำคณะละครสัตว์ที่เป็นหุ่นยนต์แสดง เราจะทำได้อย่างไร เหมือนตัวตลกที่จะพยายามเดินบนลูกบอล concept เดียวกันเลย หุ่นยนต์เตะฟุตบอลก็ชัดเจนแล้ว หุ่นยนต์แม่บ้านก็ชัดเจนแล้ว อื่นๆ อีก ก็จะมีหุ่นยนต์ไต่ผนัง ไม่ได้ทาสี ใช้สำรวจปล่องต่างๆ เช่น กรมมลพิษอยากจะสำรวจปล่อง ปล่องนี้ขึ้นไปข้างบนแล้วเอาตัว sensor ไปติดข้างบนว่าตอนนี้มลพิษเยอะไหม ก็สามารถใช้หุ่นยนต์พวกนี้ไต่ขึ้นไปได้ โดยที่คนไม่ต้องปีน เพราะว่าปล่องบางปล่องจะเรียบๆ ปีนอันตราย ตั้งนั่งร้านก็ไม่คุ้มค่า เอาหุ่นยนต์หนึ่งตัววิ่งขึ้นไปเลย ขึ้นไปวัด sensor ส่งข้อมูลกลับและวิ่งลง (พิธีกร การสร้างจะมีวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกัน) เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ เราไม่สามารถทำหุ่นยนต์ตัวเดียวทำได้ทุกอย่างเพราะฉะนั้นก็แยกเป็นส่วนๆ จะง่ายกว่า

โครงการ Robot citizen หรือประชากรหุ่นยนต์ มันคืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร

เป็น concept ของห้อง lab อย่างที่อธิบายไปว่า หุ่นยนต์มีได้หลายรูปแบบ ไม่จำเป็นต้องมีแบบเดียว สิ่งที่เกิดขึ้นคือห้อง lab นี้จำลองลักษณะที่ว่าถ้ามีหุ่นยนต์หลายๆ ประเภทมาอยู่รวมกัน คนหลายๆ คน หลายๆ ประเภทมาอยู่รวมกัน จะเกิดอะไรขึ้น จะเกิดความหลากหลายทางชนชาติ เพราะฉะนั้นเราอาจจะสร้างอะไรใหม่ๆ ขึ้นมาได้ หุ่นยนต์รูปแบบใหม่ใช้งานลักษณะใหม่ เกิดขึ้นมาในห้อง lab เราจะไม่ปิดกั้น ลักษณะที่ว่าเราเป็นหุ่นยนต์ใช้งานในบ้านคุณลำไย เราต้องคุณลำไยนะไม่จำเป็น ทำอะไรก็ได้ที่หุ่นยนต์ตัวนั้นสามารถช่วยเหลือมนุษย์ เรา happy ที่จะทำ

ผลลัพธ์ของการแข่งขันในแต่ละครั้งอาจารย์มองว่าอนาคตวงการหุ่นยนต์ในประเทศไทยจะเป็นอย่างไร

เมืองไทยเก่งในเรื่องหุ่นยนต์ เรามีแชมป์โลกในหลายๆ สาขาตลอดเวลาทุกปี เราจะได้ยินข่าวเสมอว่าเป็นแชมป์โลกหุ่นยนต์อีกแล้ว ตั้งแต่สมัยเด็กจนถึงมหาวิทยาลัย น่าเสียดายเหลือเกินเมื่อก่อน เด็กเหล่านี้ไปไหน เด็กเหล่านี้ไม่ไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยชั้นนำ ก็ไปทำงานบริษัทชั้นนำต่างประเทศ  เช่น อย่างห้อง lab ไปญี่ปุ่นบ่อยมาก ทางญี่ปุ่นเห็นว่ามีศักยภาพ แต่ตอนนี้โชคดีเหลือเกิน ที่ทางรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนทางด้านหุ่นยนต์เกิดขึ้นในประเทศ เพื่อจะสร้างเทคโนโลยีของเราเอง สร้างบริษัทของเราเอง ตอนนี้มีบริษัทของคนไทยที่ทำเรื่องหุ่นยนต์เกิดขึ้นเยอะขึ้นเรื่อยๆ เป็นความโชคดีที่ทำให้เด็กที่ทำหุ่นยนต์ใหม่ๆ สามารถทำงานในเมืองไทยได้ เชื่อว่าเด็กส่วนใหญ่ที่ไปทำงานต่างประเทศทางด้านหุ่นยนต์ ไม่จำเป็นไม่อยากไป เขาอยากทำงานในเมืองไทย แค่หางานไม่ได้ ปัจจุบันการที่มีงานแล้วมีการสนับสนุนจากภาครัฐที่ดีแล้ว เชื่อว่าเป็นอนาคตที่สดใสของประเทศไทย เรามีเด็ก เรามีจุดให้เด็กไปแสดงความสามารถแล้ว เชื่อว่ามันครบ loop ขึ้นเรื่อยๆ (พิธีกร ในอนาคตอันใกล้นี้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นสิ่งอำนวยของคนเราอาจจะมีหุ่นยนต์เข้ามาทำหน้าที่ให้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการช่วยเหลือหรือว่าการทำหน้าที่แทน ทำให้ชีวิตของเราอาจจะดีขึ้น สะดวกขึ้น)

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

Neural networks for robotics : an engineering perspective

Robot : meet the machines of the future

Industrial robotics & mechatronics applications

Springer Handbook of Robotics

Introduction to mobile robot control

Make : รวมโปรเจกต์สร้างหุ่นยนต์และสิ่งประดิษฐ์ด้วย Arduino

สร้างหุ่นยนต์ที่ควบคุมด้วย Raspberry Pi

การสร้างและพัฒนาหุ่นยนต์

Artificial intelligence with machine learning, AI สร้างได้ด้วยแมชชีนเลิร์นนิ่ง

ปัญญาประดิษฐ์ คิดเปลี่ยนโลก

คน กับ AI : โอกาสและความเสี่ยง

ติดจรวดทางความคิด แบบ อีลอน มัสก์

 

KULIB TALK | EP.51 | เครื่องลอกเยื่อเมล็ดมะละกอ

“เครื่องลอกเยื่อเมล็ดมะละกอ ภาควิชาวิชาวิศวกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน”

พิธีกร : สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ Kulib talk ครับผม ผมเฉลิมเดช เทศเรียนรับหน้าที่พิธีกรในวันนี้นะครับ และในวันนี้เองเราก็ได้พาทุกท่านเข้ามาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนนะครับ และวันนี้เราจะพาทุกท่านมารู้จักผลงานที่มีชื่อว่า เครื่องลอกเยื่อเมล็ดมะละกอซึ่งเป็นผลงานจากภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสนนะครับ และวันนี้เราก็อยู่กับอาจารย์ผู้ที่คิดค้นผลงานนี้ขึ้นมานั่นก็คือ ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัตินะครับ ซึ่งตอนนี้ท่านอาจารย์ก็อยู่กับเราแล้วนะครับ ขอต้อนรับอาจารย์ครับผม

“สวัสดีครับอาจารย์ ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการ kulib talk ครับ“

คำถาม : ผลงานที่ชื่อว่าเครื่องลอกเยื่อหุ้มเมล็ดมะละกอ อยากจะทราบแนวคิดในการพัฒนาผลงานชิ้นนี้ขึ้นมาครับ

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ก็ได้โจทย์มาจากเกษตรกรที่ทำการเพาะต้นมะละกอ คือว่ากรรมาวิธีในการเพาะค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลานานครับ เกษตรกรเลยให้โจทย์มาว่าอยากให้พัฒนาเครื่องลอกเยื่อให้ใช้งานได้และลดเวลาในการปลูก…โดยปกกติแล้วเวลาเกษตรกรปลูกถ้าใช้ในการทำเป็นต้นกล้าจะใช้เวลา 2 วัน ก็คือนำเมล็ดไปแช่น้ำอุ่นเพื่อให้เยื่อที่หุ้มเมล็ดเปื่อยและเน่า และใช้มือขยี้ให้ตัวเยื่อหลุด ซึ่งเยื่อตัวนี้ก็มีผลต่อการงอกเมล็ดมะละกอครับ เราก็เลยนำแนวคิดนี้มาพัฒนาเป็นเครื่องดังกล่าวคือทำให้มันสามารถลอกเยื่อได้เลยโดยที่ไม่ต้องแช่น้ำ 48 ชั่วโมงครับ

คำถาม : ซึ่งก็แปลว่าเครื่องนี้ช่วยเกษตรกรในการลดระยะการปลูกต้นมะละกอใช่ไหมครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ใช่ครับ

คำถาม : อยากทราบข้อแตกต่างนอกเหนือจากการย่นระยะเวลาการลอกเยื่อเมล็ดระหว่างวิธีแบบดั้งเดิมและแบบใหม่ มีอะไรที่ช่วยเกษตรกรอีกครับ…

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ในส่วนของแรงงาน แรงงานที่จะมาใช้ในการทำการขยี้เยื่อออกครับ และเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรเลยคือใช้คนแค่คนเดียวก็เสร็จเลยครับ

คำถาม : นำเอาเมล็ดที่จะลอกใส่ได้เรื่อยๆเลยไหมครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ตัวเครื่องนี้จะเป็นตัวเครื่องที่ทำงานแบบต่อเนื่อง คือพอเราใส่เมล็ดแล้ว เครื่องก็จะทำการขัดและออกมาทาง2ช่องนี้ (ชี้ไปที่ช่องเครื่องจักร) คือเราก็สามารถป้อนเมล็ดได้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆเลยครับจนกว่าเมล็ดที่เราต้องการเตรียมจะเสร็จครับ…

คำถาม :  “เรียกว่าใส่ได้เรื่อยๆเลย น่าจะช่วยทุ่นแรงให้กับเกษตรกรเพราะว่าปริมาณเมล็ดมะละกอมีจำนวนมากต่อการผลิตครั้งหนึ่ง”

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ใช่ครับ

คำถาม : ระยะเวลาการทำก่อนที่จะได้เครื่องนี้มา ใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : คร่าวๆก็ประมาณหนึ่งปีครับ เป็นโปรเจคที่ให้แก่นิสิตปริญญาตรีในการค้นคว้าหาข้อมูลและพัฒนาเครื่องตัวนี้ขึ้นมา โดยในเทอมแรกเค้าก็หาข้อมูลว่าวิธีการลอกเยื่อต่างๆที่เหมาะสม และทำการออกแบบเป็นตัวเครื่องขึ้นมา ส่วนในเทอมที่สองเค้าก็จะเริ่มลงมือทำและพัฒนาสร้างเครื่องขึ้นมาและทำการทดสอบครับ

คำถาม : สมมุติว่ามีแบบเรียบร้อยแล้ว จะใช้เวลาผลิตนานไหมครับ

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ประมาณเดือนเดียวก็สามารถสร้างเสร็จได้ครับ…

คำถาม : “จากที่ดูก็จะมีส่วนประกอบของมอเตอร์ โครงสร้างเหล็กต่างๆ อันนี้รู้สึกจะเป็นโปรเจคของนิสิตปริญญาตรี “  ที่นี่โปรเจคปริญญาตรีเป็นเดี่ยวหรือกลุ่มครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : เป็นกลุ่ม หรือเดี่ยวมีหมดครับ แล้วแต่ว่านิสิตอยากทำเดี่ยวหรือกลุ่ม ที่ภาควิชากำหนดให้หนึ่งกลุ่มมีสองคน คือสามารถทำคนเดียวก็ได้หรือว่าทำเป็นคู่ก็ได้…

คำถาม : เครื่องนี้มีการทดลองอย่างไรบ้างครับว่า เห็นในผลงานอาจารย์จะมีเรื่องของตัวกรอง ขนาดครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : เงื่อนไขจริงๆถ้าเราดูก็จะเริ่มจาก ลูกกลิ้ง ลูกกลิ้งตัวนี้เราก็จะใช้สองตัวครับ เงื่อไขของเราตัวแรกคือวัสดุที่ห่อหุ้มลูกกลิ้ง ที่ทดสอบก็จะมีหลายแบบมีทั้งเป็นผ้าดิบ ผ้ายีนส์และเป็นตัวของแปรงขัดล้างจานตัวนี้ครับ เงื่อนไขที่สองคือระยะห่างระหว่างลูกกลิ้ง ซึ่งก็จะแปลผันกับตัวเมล็ด ส่วนต่อไปนะครับพอมันโดนขัดจากชุดนี้เสร็จแล้ว เราสังเกตุว่าลูกกลิ้งนี้มีการหมุนเพราะฉะนั้นทิศทางการหมุนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง อาจจะหมุนทิศทางเดียวกันหรือตรงข้ามกันก็ได้ นอกจากนี้แล้วยังมีในส่วนของความเร็วที่ใช้ของลูกกลิ้งครับ

คำถาม : ความเร็วลูกกลิ้งเราสามารถปรับระดับได้ไหมครับ หรือเราตั้งไว้เหมาะสมแล้ว ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ในส่วนขั้นทดลองเราสามารถปรับความเร็วลูกกลิ้งได้จนได้ความเร็วที่เหมาะสม พอได้ความเร็วที่ต้องการแล้วก็ทำการออกแบบ ดีไซน์ ระบบส่งกำลังต่างๆให้ได้ระบบตามที่เราต้องการ ก็คือตอนนี้อยู่ในขั้นที่ทดสอบโดยใช้มอเตอร์ที่สามารถปรับความเร็วได้อยู่ครับ

คำถาม : รูนี้คือรูไว้สำหรับกรองหรือเปล่าครับอาจารย์ (รูของเครื่องจักร)

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ตัวรูนี้เป็นตัวสุดท้ายนะครับ ที่เป็นตะแกรงรู…. ในส่วนที่เราออกแบบไว้ก็คือตัวรูจะสัมพันธ์กับเมล็ดที่เป็นเมล็ดที่ลอกเยื่อแล้ว ก็คือเราจะให้มีขนาดใกล้เคียงกับเมล็ดที่ลอกเยื่อแล้วเพื่อที่…พอลูกกลิ้งตัวนี้วิ่งมาขัดหรือสัมผัสกับเมล็ดมะละกอแล้วมันก็จะดันเมล็ดมะละกอลงรูไป…และอีกส่วนหนึ่งถ้ามันไม่ลงรูไป มันก็จะถูกขัดกับผิวขรุขระครับ ก็จะวิ่งออกมาทางฝั่งนี้อ่ะครับ…เพราะฉะนั้นรูตรงนี้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่เราต้องศึกษาครับ…

คำถาม : จากการศึกษาขนาดรูแล้ว ได้ขนาดที่เหมาะสมเท่าไหร่ครับ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : อยู่ที่เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มิลลิเมตรครับ

คำถาม : ขอสอบถามในเรื่องของมะละกอบ้างนะครับ มะละกอแต่ละสายพันธุ์มีขนาดเมล็ดและเยื่อหุ้มแตกต่างกันไหมครับ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : มีความแตกต่างกันครับ ตัวนี้ก็เป็นอีกตัวปัจจัยที่เราต้องศึกษาครับ ก็คือโปรเจคนี้ก็เลยทำการปรับขนาดระยะลูกกลิ้งเข้าออกได้ครับ และแผ่นตะแกรงจริงๆก็มีการทำเพิ่มเติมไว้หลายขนาดเพื่อให้ปรับเปลี่ยนไปใช้ได้ครับ…

คำถาม : ก็คือผู้ที่ใช้เครื่อง สามารถที่จะปรับระยะห่างได้ด้วยตนเอง และเปลี่ยนแผ่นกรองได้ แสดงว่าเครื่องนี้ก็จะซัพพอร์ทมะละกอสายพันธุ์ต่างๆที่มีรูปร่างและเมล็ดแตกต่างกัน…. คราวนี้ก็ทราบถึงรายละเอียดและความเป็นมาของตัวเครื่องแล้ว ตอนนี้อยากเห็นขั้นตอนการทำงาน สามารถที่จะโชว์ตรงนี้ได้ไหมครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ได้ครับ ขอเชิญทีมงานครับ

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ก็คือส่วนของตัวเมล็ดก็จะใส่เข้าไปในช่องนี้ครับ (ชี้ไปที่ช่องเครื่องจักร) เมล็ดก็จะไหลผ่านเข้าสู่ตัวป้อนนะครับ แล้วก็วิ่งผ่านช่องตัวลูกกลิ้งสองลูก พอผ่านลูกกลิ้งตัวนี้ก็จะมีการผลัดตัวเยื่อหนึ่งครั้ง และก็วิ่งไหลลงมา ชุดที่สองก็จะมีการผลัดที่เป็นแผ่นตะแกรงตรงนี้อ่ะครับอีกรอบหนึ่งครับ….

 “ซึ่งทางด้านนี้เองก็จะเป็นตัวเมล็ดที่มีขนาดเล็กกว่ารูที่เราใส่ในเครื่องกรองไว้ (ฝั่งด้านซ้ายของภาพ) แต่ก็เมล็ดหลักๆก็จะออกทางด้านอาจารย์นะครับ …. ก็ค่อนข้างออกมาไวนะครับอาจารย์ใส่ไปสักพักเมล็ดก็ออกมาเลย ฝั่งทางอาจารย์ (ฝั่งทางขวาในภาพ) คือเป็นฝั่งที่มีการปลอกเยื่อหุ้มเมล็ดออกไปแล้วนะครับ ส่วนทางฝั่งผมเองก็เป็นเมล็ดที่มีขนาดเล็กกว่ารูเครื่องกรองครับ “

“อันนี้ก็จะเป็นตัวอย่างกระบวนการของเครื่องที่ปลอกเยื่อหุ้มเมล็ดมะละกอนะครับ “

คำถาม : จากที่อาจารย์บอกว่าไปซึกษาดูในเครื่องโรงสี ไอเดียมาจากส่วนนั้นหรือเปล่าครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : จริงๆไอเดียมาจากหลายส่วนมากครับ ก็คือส่วนแรกผมก็ได้ไปดูจากข้อมูลที่เค้าเคยพัฒนาเครื่องมา เค้าก็ใช้หลักการที่เป็นแผ่นเหล็กแล้วก็เจาะรูให้มีชนาดเท่าตัวเมล็ดแล้วใช้ลูกกลิ้งเหล็กบดให้ตัวเมล็ดผ่านรูไป โดยมีข้อเสียคือตัวเมล็ดมันอาจจะถูกบดแล้วไม่ได้ผ่านรูคือไปผ่านตัวเนื้อเหล็กเองทำให้เมล็ดเสียหายได้ ส่วนที่สองก็คือลูกกลิ้งหมุนสองตัวคือผมได้ไปศึกษาข้อมูลจากเครื่องสีข้าว คือเค้าใช้ลูกกลิ้งในการสีเปลือกข้าวให้หลุด ก็เลยนำมาพัฒนาร่วมกันให้เป็นสองส่วนเพื่อที่จะได้ทำการคัดเยื่อให้มันมีสองระบบเกิดขึ้น ให้มันขัดได้สะอาดมากขึ้นครับ…

คำถาม : สำหรับในส่วนของการต่อยอดเราก็ได้ทราบจากที่อาจารย์กล่าวไปแล้วนะครับ คราวนี้อยากจะสอบถามอาจารย์ในเรื่องของ เครื่องนี้เคยมีใครเคยคิดค้นมาก่อนหรือเปล่าครับ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : มีครับ คืออย่างที่ผมกล่าวไปคือเค้าก็ได้มีการพัฒนามาหลายเครื่องเหมือนกันครับ แต่ว่าเค้าใช้เป็นอย่างที่บอกครับเป็นแผ่นเหล็กตรงๆแล้วก็มีรู แล้วก็ใช้ลูกกลิ้งเหล็กบด ผมก็คิดว่าตัวนั้นก็ใช้ได้จริงแต่มีเปอร์เซ็นต์ที่เมล็ดเสียหายเยอะก็เลยเปลี่ยนครับ ก็เท่าที่ศึกษามาก็มีประมาณนี้ครับ

คำถาม : ในส่วนของตัวเครื่องเมื่อเรามีการผลิตจัดทำแล้ว ต้องมีการจดลิขสิทธิ์ไหมครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ถ้าเครื่องสมบูรณ์แล้วอาจจะมีการจดอนุสิทธิบัตรครับ เพื่อเป็นผลงานของทางคณะครับ และก็อาจจะมีการเผยแพร่ให้เกษตรกรทั่วไปได้ชมตามงานเกษตรต่างๆครับ

คำถาม : ในเชิงพาณิชย์ต่อไปล่ะครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : เราเป็นหน่วยงานของราชการเรายังไมได้คิดส่วนนี้ไว้ครับ ก็คือในส่วนของภาควิชาก็อาจจะแค่เผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ หรือเกษตรกรครับ

คำถาม : ณ ปัจจุบันต้นทุนเครื่องนี้เท่าไหร่ครับ

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : จริงๆผมยังไม่ได้รวมข้อมูลมาครับ แต่คร่าวๆก็คือไม่น่าจะเกินหนึ่งหมื่นบาทต่อเครื่องครับ

คำถาม : อายุการใช้งานล่ะครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ :  อายุการใช้งานในส่วนนี้เรายังทดสอบพัฒนาเรื่อยๆครับ เรายังไม่ได้รันเครื่องทิ้งไว้นานๆครับ ก็เลยยังไม่ทราบข้อมูลในส่วนนี้ครับ…

คำถาม : เบื้องต้นที่อาจารย์แจ้งก็คือาจจะต้องเปลี่ยนในส่วนของตัวนี้ พอใช้งานไปก็อาจจะต้องเปลี่ยนคือตัวครอบวงล้อ

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : คือมันมีข้อเสียตรงตัวเยื่อตัวนี้อ่ะครับ (ชี้ไปที่เครื่อง) คือแผ่นล้างครับ …. เยื่อมะละกอเวลาขัดไปเรื่อยๆมันก็จะมาติดอยู่แผ่นล้าง พอแผ่นขัดมีเยื่อติดเยอะๆมันจะทำให้การลอกเยื่อเป็นไปได้ต่ำครับ….

คำถาม : อันนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับผลงานที่ชื่อว่า เครื่องลอกเยื่อหุ้มเมล็ดมะละกอ ที่อาจารย์ได้ร่วมกับนิสิตคณะตัวเองเนี่ยได้ร่วมกันพัฒนาออกแบบขึ้นมานะครับ… ทีนี้อยากจะให้อาจารย์ฝากสำหรับเด็กๆรุ่นใหม่ที่อยู่ในช่วงของมัธยมปลายที่จะต้องเข้ามหาลัย สำหรับเด็กที่สนใจอยากจะเรียนในภาควิชาวิศวกรรมเกษตร อาจจะต้องเตรียมข้อมูลอะไรที่จะเข้ามาเรียนคณะนี้ คือบางคนอาจจะดูรายการนี้และอาจจะได้ไอเดียว่ามันเป็นทางของเราและอยากจะมาออกแบบเครื่องเพื่อพัฒนาให้แก่เกษตรกรครับ…. เรียนให้อาจารย์ฝากน้องๆครับ

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : สำหรับภาควิชานะครับ ภาควิชาก็เป็นภาควิชาวิศวกรรมเกษตรนะครับ ก็เป็นภาควิชาพี่พัฒนาเครื่องจักรกลไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรที่ทำงานก่อนเตรียมแปลง ก่อนเก็บเกี่ยว หรือหลังการเก็บเกี่ยวครับ ซึ่งตัวภาควิชาเองก็เรียนเป็นวิศวะครับ จริงๆก็ได้ใบประกอบเป็นวิซวะ กว.ครับ ก็คือได้ใบประกอบวิชาชีพของเครื่องกล แต่ว่าเราจะเน้นพัฒนาในด้านของการเกษตรครับ ถ้าน้องๆคนไหนสนใจที่จะร่วมมือ พัฒนาเครื่องจักรการเกษตรบ้านเราให้เจริญและมีเครื่องจักรเครื่องมือให้พร้อมก็เรียนเชิญมาเรียนที่ภาควิชาได้ครับ

คำถาม : ก่อนจบรายการขอทิ้งทวนอีกคำถามนะครับ ตัวเครื่องที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นเป็นโปรเจคที่ทางคณะและอาจารย์พัฒนาขึ้นมา อยากทราบว่ามีหน่วยงานอื่นที่มีการเชื่อมโยงหรือว่าการทำงานร่วมกันไหมครับ ?

ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ : ในส่วนของหน่วยงานอื่น ….จริงๆเราได้โจทย์เครื่องนี้มาจากภาควิชาพืชสวนครับ คือเค้าแจ้งมาที่ภาควิชาพืชสวน และภาควิชาพืชสวนก็ได้แจ้งมาที่เราอีกที เราก็ร่วมมือกับภาควิชาพืชสวนและพัฒนาขึ้นมาครับ และอาจจะมีหน่วยงานอื่นที่แจ้งเข้ามาก็จะเป็นการพัฒนาเครื่องหลายๆเครื่องของภาควิชาเหมือนกันครับผม

พิธีกร : เพราะฉะนั้นหลายๆเครื่องที่พัฒนาขึ้นมาก็จะได้รับโจทย์มาจากเกษตรกรที่ประสบปัญหาจริง และก็อาจจะมาจากภาควิชาพืชสวนหรือภาควิชาที่เกี่ยวข้องกับคณะเกษตรกำแพงแสนเองนะครับ…และทางที่คณะวิศวกรรมเกษตรเองก็จะดูโจทย์และออกแบบพัฒนาเครื่องจักรกลที่ทุ่นแรง ลดระยะเวลาให้เกษตรกรเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตทางการเกษตรของประเทศเรานะครับผม วันนี้เราก็ได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเครื่องลอกเยื่อเมล็ดมะละกอนะครับ ในเครื่องนี้เองดูแล้วก็ค่อนข้างที่จะช่วยเกษตรกรได้เป็นอย่างดีนะครับในเรื่องของการเกษตร การผลิต การเตรียมเมล็ดพันธุ์ที่จะนำไปเพาะปลูกต่อ ซึ่งมีปัญหาดังที่อาจารย์กล่าวมา อันนี้ก็จะเป็นปัญาที่เกษตรกรเจอและอาจารย์ได้คิดค้นแบบมาเพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกร  ท่านผู้ชมที่ชมรายการเราหากสนใจเครื่องนี้นะครับก็สามารถที่จะติดต่อได้ที่ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์กำแพงแสนได้นะครับ โดยติดต่อผ่านทาง ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ นะครับ วันนี้เองก็ขอขอบพระคุณอาจารย์มากครับที่ให้ความรู้แก่เราครับ…

“สำหรับท่านผู้ชมที่ติดตามรายการ KULIB talk นะครับ ในวันนี้ก็ขอขอบพระคุณทุกท่านมากครับ หากอยากทราบว่าในเทปหน้าจะเป็นเรื่องอะไรก็สามารถติดตามได้ทาง fanpage สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นะครับผม สำหรับวันนี้ก็ขอขอบคุณทุกท่านมากนะครับผม สวัสดีครับ….

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ ในคลังความรู้ดิจิตอล มก.ผศ.ดร.อาทิตย์ พวงสมบัติ ในคลังความรู้ดิจิตอล มก.

ผลของ ABA ต่อการยับยั้งการงอกในผลของเมล็ดมะละกอ/ ปุณิกา กุลพงค์

ผลของสภาพการเก็บรักษาต่อคุณภาพของเมล็ดมะละกอพันธุ์แขกดำ / ทรงศิลป์ พจน์ชนะชัย

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเมล็ดมะละกอ / อภิญาณ์ หทัยธรรม

การออกแบบเครื่องจักรกลเกษตร / พยุงศักดิ์ จุลยุเสน
เครื่องจักรกลเกษตรและการจัดการผลิตพืช / สุรเวทย์ กฤษณะเศรณี

การออกแบบเครื่องจักรกลเกษตร 1 / ธัญญา นิยมาภา

Advances in agricultural machinery and technologies / edited by Guangnan Chen

Agricultural machinery design and data handbook : seeders and planters

Japan agricultural machinery and engines

Development status and prospect of intelligent agricultural machinery equipment.

Research on intelligent agricultural machinery control platform based on multi-discipline technology integration.

Risk analysis of highly automated agricultural machinery and development of safety requirements for machine and use.

Effect of cryo-storage on germinability and biochemical changes in papaya (Carica papaya L.) seeds.

 

 

เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

KULIB TALK เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

“ผมว่าเดี๋ยวนี้ปัญหาสิ่งแวดล้อมมันรุมเร้าเรามาก อย่างเช่น ณ วันนี้เนี่ยเราเจอปัญหา PM2.5 ใช่ไหม ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเราเจอปัญหาน้ำแล้ง น้ำเค็ม จะทำก็ก็ตามเนี่ยขอให้ผสมผสานเป็นโซเชี่ยวเอนเตอร์ไพรส์ เป็นเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อผู้คนและโลก ไม่ใช่ทำเพื่อสุนทรียอย่างเดียว สุนทรียสำคัญไหม สำคัญมาก แต่ผมมองว่าอนาคตเนี่ย ต้องเน้นในเรื่องของสิ่งแวดล้อมให้มาก”

สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ KULIB Talk live ค่ะ รายการไลฟ์ผ่านทางเฟสบุ๊คของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ค่ะ ซึ่งวันนี้นะคะ เป็นอีกหนึ่งไลฟ์ที่พลาดไม่ได้เลยเพราะว่าเรามีแขกรับเชิญที่พิเศษมาก อาจารย์เป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ค่ะ แล้วก็เรียกได้ว่าจะมีความผูกพันกับสำนักหอสมุดของเรามากทีเดียว เพราะว่าอาจารย์เป็นผู้ออกแบบห้อง ECO library location ที่เรา live อยู่ใน ณ ขณะนี้ค่ะ  ก็จะเป็นท่านใดไปไม่ได้เลย ดิฉันขอต้อนรับ รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโตค่ะ สวัสดีค่ะอาจารย์ สวัสดีครับ ค่ะก็นอกจากอาจารย์จะเป็นผู้ออกแบบห้อง ECO library แห่งนี้แล้วนะคะ อาจารย์เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขนของเรา เป็นภาควิชานวัตกรรมอาคารนะคะ ของเกษตรศาสตร์บางเขนนะคะ และอาจารย์ยังเป็นผุ้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบด้านสิ่งแวดล้อมหรือว่า อีโคดีไซด์ด้วยนะคะ ซึ่งวันนี้เนี่ย เราไปชิงคิวทองของอาจารย์ให้มาร่วมรายการไลฟ์กับเราวันนี้นะคะ เพราะว่าเราทราบมาว่าอาจารย์มีผลงานวิจัยล่าสุดที่น่าสนใจและก็เรียกว่าเป็นเรื่องที่คนให้ความสนใจในยุคที่ไทยก้าวสู่สังคมของผู้สูงอายุ งานวิจัยที่เราจะเห็นวันนี้ก็มีอุปกรณ์เสริมมาด้วย เป็นเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกนะคะ

อันดับแรกเลย อยากจะให้อาจารย์เล่าให้ฟังนิดหนึ่งค่ะว่า อาจารย์มีแรงบันดาลใจยังไง มองจุดไหนถึงเป็นที่มาในการทำวิจัยเรื่องนี้คะ

            ตอนเริ่มต้นนะครับต้องการให้โรงพยาบาลมีสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทีนี้เวลาเราเข้าไปในโรงพยาบาล สิ่งแรกเลยที่ผมสนใจเป็นการส่วนตัวเนี่ยคือเรื่องเศษวัสดุที่เหลือจากการแพทย์ การพยาบาลและก็พบว่าจริง ๆ แล้วเนี่ย ถ้าเราสามารถคัดแยกของเหลือใช้ต่างๆในสถานพยาบาลจะพบว่า เกือบครึ่งหนึ่งหรือ 40 เปอเซ็น เป็นขยะจากการแพ็คเกจ การเปิดห่อต่างๆ เพราะฉะนั้นมันเป็นขยะสะอาด เมื่อเดินไปตามชั้นต่างๆก็ผ่านไปชั้นหนึ่งเป็นชั้นที่ดูแลผู้สูงอายุ แล้วก็เห็นว่าพยาบาลบ้าง ญาติบ้างเนี่ยพยายามที่จะป้อนข้าวผู้สูงอายุ ผมนั่งคิดว่าเอ๊ะ เราจะรู้ได้ไงว่าจังหวะนี้ควรจะป้อนหรือไม่ป้อน เร็วไปช้าไป และบางทีและบางทีผู้สูงอายุหงุดหงิดที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้หรือเป็นเพราะว่าถ้วยชามช้อนส้อมไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่เป็นถาดหลุมซึ่งผู้ป่วยเด็ก วัยรุ่น ผู้สูงอายุเหมือนกันหมด หรือจานๆที่สวยหน่อยเด็ก วัยรุ่น ผู้สูงอายุเหมือนกันหมด ผมก็เลยมามองว่าจริงๆแล้วผู้สูงอายุมีปัญหาเรื่องข้อ เลยถามพยาบาลว่าจริงๆแล้วเค้าดูแลตัวเองไม่ได้จริงใช่ไหมถึงต้องป้อน พยาบาลบอกเปล่าแต่ของผู้สูงอายุต่างประเทศแพง และไม่เข้ากับสรีระกับผู้สูงอายุไทย ผลทำงานวิจัยเมลามีนที่เอาเส้นใยของปาล์มมาผสมกับเมลามีนเพื่อทำเป็นภาชนะต่างๆบนโต๊ะอาหารสำหรับอาหารญี่ปุ่น คิดว่าถ้าเราทำวิธีเดียวกันเราให้วัสดุเดียวกันเพื่อผู้สูงอายุ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเชิงวัสดุด้วยและผู้สูงอายุดูแลตัวเองได้ด้วย ที่สำคัญคือเราพบว่าจริงๆแล้วผู้สูงอายุจริงๆแล้วไม่ได้ชอบให้คนมาป้อนเพราะเค้าประสบความสำเร็จมาก่อน เค้าเป็นคนที่เคยเป็นอธิบดี เป็นอาจารย์ เป็นนู้นเป็นนี่ อยู่ๆให้คนมาป้อน

ในแง่จิตใจด้วยเหมือนเคยทำได้

ถ้างั้นผมจะลองทำดูเพื่อที่จะแก้ปัญหาสร้างความภูมิใจให้ผู้สูงอายุที่เค้าเศร้าอยู่แล้วที่สุขภาพร่างกายเค้าไม่ดีถ้าเค้าดูแลตัวเองได้บ้างจะเพิ่มกำลังใจก็เลยพัฒนาขึ้นมา โดยไม่ได้คิดว่ามันจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขายในท้องตลาดเพื่อชาวบ้าน

นั่นก็เลยกลายเป็นจุดเริ่มต้นเช่นกันว่าอาจารย์ต้องมีการลงฟิวจริงๆทำงานวิจัยร่วมกับนักกายภาพบำบัด พยาบาล

คือเวลาเราทำผลิตภัณฑ์เพื่อผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเนี่ยเราไม่สามารถทำในแลปได้เหมือนตามปกติ ถ้าในแลปผมเองเนี่ยก็จะเรียกเด็กๆเข้ามาแล้วมาลองนั่งเก้าอี้ มาลองวางชั้นหนังสือสิ ว่ามันแข็งแรงหรือไม่แข็งแรง ถ้าทำเพื่อผู้สูงอายุเราก็ไม่คุ้น ถึงผมจะดูแลคุณพ่อคุณแม่ของผมตลอดเวลาก็ตามแต่ผมก็ไม่ได้คุ้นกับการที่บอกว่า เค้ากินยังไง ติดตรงข้อไหน ข้อศอก ไหล่ หรือช้อน เราไม่เคยดูใกล้ขนาดนั้นและเราก็ไม่ได้เรียนรู้มาจาก คือผมไม่ได้เป็นproduct designerผมเป็นสถาปนิกออกแบบอาคารความละเอียดอ่อนเล็กๆน้อยๆพวกนี้เนี่ยมันต้องอาศัยคนที่อยู่หน้างาน ก็เลยเริ่มจับมือกับพยาบาลโรงพยาบาลกลางก่อนเพราะเรามี collaborationร่วมกันอยู่แล้วชื่อ ดร.ภัทรารัตน์ เราจับมือเป็นกลุ่มกัน เราหานักกายภาพบำบัด เราหาผู้มีความรู้ในการที่จะศึกษาทดลองการใช้งานก็เลยได้เริ่มเอาผู้สูงอายุที่อยู่ในโรงพยาบาลที่ต้องทานอาหารอยู่แล้วเป็นประจำทุกวันลองให้เค้าใช้ดู ทดลองดู

ซึ่งก็เลยเก็บข้อมูลมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวนี้

มันเก็บข้อมูลนานมาก

นานขนาดไหนคะอาจารย์

เป็นปีนะครับ เพราเราไม่ได้หาคนที่สเปกเดียวกันตลอดเวลา อันที่สองคือตอนที่เราทำมาหนักไป ยกไม่ขึ้น ยกสามทีแล้วก็ต้องวาง วัสดุเนี่ยหนักเกินไป shape อาจจะดีเค้าชอบจับได้พอดี แต่ยกไม่ไหว หรือบางที่เราบอกว่าเราเบาลง เปลี่ยนเป็นสปริงที่จับได้มั้ยให้เค้าบีบออกกำลังกายมือได้ด้วย สุดท้ายล้างลำบาก เวลาของไปติด ก็เปลี่ยนมาหลายเวอร์ชั่นมาก แต่สิ่งเราพบอย่างนึงคือคนหลายคนถามว่าทำไมเราไม่ผลิตส้อม

นั่นสิคะอาจารย์มีแต่ช้อน

ผู้สูงอายุไม่จิ้ม ทีนี่เรามีทั้งหมดเลย สุดท้ายทดลองไปทดลองมา พอไปทดสอบแล้วส่องกล้องดูถ่ายวิดีโอดู เค้าจะตักอย่างเดียวไม่จิ้ม เราก็เลยบอกเราประหยัดงบไปแสนนึงที่ต้องทำโมสำหรับส้อม ก็เลยเปลี่ยนมาเป็นช้อนอย่างเดียว

เป็นการสังเกตจากพฤติกรรมจริงๆ

ใช้เราจะเห็นเลยว่าค้าใช้หรือไม่ใช้ยังไง เรื่องปกติมากที่ถ้าเราดูซักพักเราจะเห็นว่าเค้าทานอาหารแบบนี้หรือหรือว่าเค้าเอนจอยไหมกับสิ่งที่เราทำกับเค้าอยู่

จากการสังเกต คลุกคลีพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาจารย์มองว่าปัจจัยสำคัญที่สุดเลยในการที่จะทำผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุหรือว่าผู้ป่วยอัมภาพครึ่งซีก ปัจจัยนั้นคืออะไรคะ

ทีมเวิก เพราะอาศัยคนเยอะมาก เพราะเห็นแค่นี่เนี่ยเราใช้คนเยอะมากนะครับผู้ป่วยก็ไม่รู้กี่สิบ พยาบาลก็ไม่รู้กี่สิบ ผู้เชี่ยวชาญก็ไม่รู้กี่สิบแล้วก็ต้อง coordinate กันใครว่างใครไม่ว่างใครเข้าตอนไหน ใครออกตอนไหนตลอดเวลา ผมคิดว่าอย่างแรกเลยทำ innovation ต่างๆต้องใช้ Teamwork อย่างมหาศาลมาก เราแก้ไม่ได้เราก็ออกแบบมาให้เข้ามาในแลปแล้วก็มีน้อง ๆ เป็นทีมที่ปั้นดินน้ำมันบ้าง ปูนพลาสเตอร์บ้าง กระดาษบ้าง คือสารพัดหลายอย่าง ฉะนั้นเรามีทีมที่เบื้องหลังมาก ๆ คือออก แบบเบื้องหลังการเก็บข้อมูล เบื้องหน้าคือไปทดลองนะครับ เราทดลองเพื่อทรีปริ้นติ้งก่อน เป็นเชฟ ตอนทำทรีปริ้นติ้งเนี่ย มันกินจริงไม่ได้ เพราะว่าพลาสติกนั้นไม่ได้สำหรับทานอาหาร ทำได้แค่จับอย่างเดียว มีความเสี่ยงสูงมากในการที่เราจะทำโมขึ้นมาแล้วคาดหวังว่ามันจะใช้งานได้เพราะโมแพงมาก

ที่อาจารย์บอกว่าเป็นทีมเวิร์คก็คือทุกอย่างไม่ว่าเราจะเก็บข้อมูล ประสานงานในการปรับผลิตภัณฑ์ในหลาย ๆ เวอร์ชั่น และก็มีการทดลองใช้งานจริง เป็นปัจจัยที่สำคัญมากนะคะ มาถึงตอนนี้ทุกคนอยากเห็นอุปกรณ์ชัด ๆ แล้วค่ะอาจารย์ อธิบายได้ไหมคะว่าแต่ละอัน ตอนนี้เรามีช้อนมีชามมีจานมีแก้ว แต่ละอันมันเป็นฟังก์ชั่นอย่างไรคะ

            คือช้อนเนี่ย เราทำให้มันบรรจุอาหารได้เพียง 5 มิลลิลิตร เพื่อกันสำลัก ฉะนั้นบางที ผู้สูงอายุอาจจะรำคาญว่าทำไมชั้นตักได้น้อยจัง เราทราบดีครับว่ามันไม่ควรเกิน 5 มิลลิลิตร ส่วนตรงนี้โก่งขึ้นมาเพราะเพื่อการจับแน่นก็ให้มันกว้างขึ้น แต่ต้องให้พอดีอุ้งมือด้านล่าง และผิวข้างบนเนี่ยเราเลือกผิวที่เราให้ผู้สูงอายุปิดตาแล้วก็เลือกว่าผิวไหนที่เค้ารู้สึกว่ามันกระตุ้นปลายนิ้วได้มากที่สุด และจะเอาผิวนั้นมาแกะอยู่ข้างในโม

หมายถึงเพื่อที่จับถนัด

และกระตุ้นปลายนิ้ว คือจับถนัดนี่คือเซฟ และผิวสัมผัสคือกระตุ้น เพราะปลายนิ้วมีประสาทสัมผัสและมันจะเริ่มชาเมื่อมีอายุมาก เพราะเมื่อเวลากระตุ้นประสาทสัมผัส เค้าจะรู้สึกได้มากขึ้น ว่า อ่อ เค้าถือช้อนอยู่นะ นะครับ และถ้ากำแรงไม่แรงเนี่ย มันก็จะไม่หนักมาก เพราะเราคว้านข้างในไว้ ทีนี้มีผู้สูงอายุหลายคนที่บอกว่า กินไม่ทันใจ เค้าจะเริ่มอารมณ์เสียง่าย เค้าจะใช้ด้านนี้เลยฮะ ซึ่งต้องระวัง ไม่ควร แต่พอสรุปแล้วใช้ด้านนี้ก็ถนัดเหมือนกัน แต่ไม่ควรนะครับ แต่จริง ๆ แล้วมันคือด้านนี้ คือพอช้อนแบบนี้แล้วจะเห็นว่ามันเลี้ยวเข้าหาตัว เพราะไม่สามารถที่จะ หมุนข้อศอกแล้วมือได้มาก ฉะนั้นเราต้องช่วยเค้าในการที่หันช้อนเข้าหาตัว ถ้วยนี้ก็เช่นกัน เราจะเห็นว่ามันจะเทลงมาด้านหนึ่ง ด้านนี้จะลึก ด้านนี้ตื้น เราอาจจะมองเผินๆไม่เห็น

จะมีด้านที่มีที่จับจะลึกกว่า

ด้านที่เข้าตัวจะลึกกว่า เพราะเวลาเค้าตัก เค้าจะตักเข้าหาตัว แบบนี้ ส่วนด้านนี้จะเห็นเลยครับว่า เค้าประคองนะครับ ถ้ามีโต๊ะข้างหน้าจะเห็นเลยครับ จะได้เห็นก็คือว่า เค้าจะจับแบบนี้เลยครับ แล้วก็ตัก แล้วเวลามีซุปต่างๆเนี่ยมันจะไม่ต้องไปให้เค้ากวาด เค้าก็สามารถที่จะตักได้เลย ฉะนั้นเพื่อการช่วย

พื้นผิวมันเทเข้าด้านใน การเทอาหารเพื่อความสะดวกในการรับประทานมากกว่า

มือชวาเค้ากวาดไม่ไหวแล้ว เราจะเห็นนะครับว่า ถ้าดูด้านล่างจะเห็นว่า ด้านนี้ตื้นด้านนี้ตื้น เห็นไหมครับ มันจะเดขึ้นบนนี้เช่นกัน จานก็เช่นกันครับ ก็จะมีด้านที่ลึกกับตื้น ทีนี้ หลายนสงสัยว่า ชิ้นนี้ไว้เพื่ออะไร โอโห้ เราจะทราบนะครับว่าแขนนี้เค้าเอาไว้วางเฉยๆ ครับ แล้วก็ตัก เพราะฉะนั้นจานทุกอย่างก็จะไม่ลื่นไปไหนนะครับ แล้วก็ตัก แล้วก็ทาน เพราะฉะนั้นทุกอย่างจะเทมาที่ฝั่งนี้หมดและก็ทานแบบนี้ แก้วนะครับ ดูเหมือนแก้วคนปกติ ทุกอย่าง ความสูงต่างๆ เพื่อความสูงแบบนี้เค้าจะจับง่าย ในตรงนี้เกี่ยวนิ้วไว้นิดหน่อยนะครับ แต่จริง ๆ แล้วข้างในตื้นมากครับ เพราะข้างในข้างล่างนี่ลึก เพื่อให้น้ำไม่ลึกเกินไป เพราะให้เค้ายกนิดหน่อยเค้าก็สามารถที่จะดื่มได้แล้วไม่ต้องแบบหงายมากนะครับ เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จะบรรจุน้ำแค่นี้เองนะครับ เพื่อกันการสำลักนะครับ ทั้งหมดนี้นะครับพอทำมาตอนแรกเนี่ยด้วยความเป็นนักออกแบบก็จะชอบขาวดำเทานะครับ แต่ในความเป็นจริงแล้วเนี่ย พอเราให้สาขาทำ ขาวดำเทาก็จะ ผู้สูงอายุเนี่ยจะไม่ชอบนะครับเค้ามองไม่เห็นว่าอาหารจะเป็นยังไงตาเค้าเริ่มมองไม่ค่อยชัดเพราะฉนั้นเราให้เค้าเลือกสีเอง แล้วก็เอาไปอีกรอบนึงว่าจะเอาสีอะไร ก็เอาสีเจ๋งๆไปรวมทั้งขาวดำเทา สุดท้ายเค้าเลือกเป็นสีนี้ออกมา

ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดมีสีเดียว สีเขียว

ใช่ครับ สีเดียวก็เค้าเลือกมาแบบนี้เราก็ ถามว่าเราชอบสีนี้มั้ยเราก็คงจะโอโห้ มันแจ๋นเสียงเหลือเกินจริงๆแล้วมันทำให้เค้ามองเห็นอาหารได้ชัดเจนที่สุด

ได้ค่ะ อันนี้เป็นรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ที่นี้ขออนุญาตขยับ นิดนึงค่ะอาจารย์ เราจะได้เห็นบนโต๊ะนี้นอกจากจะมีผลิตภัณฑ์ 4 ชิ้นนี้แล้วนะคะเห็นว่านี่รางวัลอีก 2 อัน

ดีใจครับ รางวัลอันนึงชื่อว่า Design excellence awardหรือว่า Demark สำหรับช้อน จริงๆแล้วเนี่ยเราส่งไปแต่ช้อนนะครับ เพราะเรารู้สึกว่าช้อนมันเจ๋งมาก เหมือนใบไม้เลย ไม่เคยเห็นคนที่ออกแบบช้อนผู้สูงอายุแบบนี้มาก่อน คือถ้วยชามยังพอเห็นบ้างแต่ช้อนเป็นสิ่งที่แบบแม้แต่เราเองก็ตื่นเต้นกับเห้ยมันใช้งานได้จริงหรือแค่เนี่ย แล้วก็เบามากทำให้เค้ายกได้ตลอดเวลาเราก็ส่งอันนี้เข้าไปประกวดนะครับ อันที่สองคือ Good design award 2019 หรือ Gmarkอันนี้จากญี่ปุ่นนะครับซึ่งเป็นที่ภูมิใจของทีมงานเรามากว่าญี่ปุ่นให้รางวัลกับผลิตภัณฑ์ผู้สูงอายุซึ่งเค้าเป็น specialist ของการดูแลผู้สูงอายุ เวลาเค้าให้เรามาเป็นสิ่งที่เกินความคาดหมายก็ดีใจ

เป็นรางวัลที่น่าภูมิใจเหมือนเป็นรางวัลของคนไทยทั้งประเทศ ผลงานของอาจารย์สร้างชื่อเสียงประเทศไทยด้วย เมื่อกี้อาจารย์เกริ่นไปนิดนึงแล้วว่าคือถ้าพูดถึงอาจารย์สิงห์เนี่ยต้องมีเรื่องของการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วยอยู่แล้วแปลว่าผลิตภัณฑ์อันนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแนวคิดของการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยไหมคะ

อันนี้ตอบยาก ประเทศไทยมีกฎหมายที่ไม่ให้ใช้วัสดุcompositeสำหรับ food contract คือไปหาอย.อะไรต่างๆเนี่ยมันจะไม่มีตัวเนี่ยที่อนุญาตให้เรา ฉะนั้นเราจึงไม่สามารถจะใช้พวก composite ที่เราพัฒนาไว้กับ fiber ได้ตัวเหล่านี้เป็นวัสดุธรรมดาของ Food grade ทั่วไป แต่ว่าข้อดีของสิ่งที่เราออกแบบนี่คือ Recycle ได้ทั้งอัน เพราเราไม่ได้ผสมอะไรเลย เราใช้ pure ของมันเลยทำให้การRecycle ง่ายขึ้น

อาจารย์อันนี้หนูถามความสงสัย อันนี้สำหรับมือขวา อาจารย์จะมีมือซ้ายออกมาไหมคะ

คือมีมือซ้ายได้ แต่ว่ามูลค่าของโม มันคือแสนหนึ่งฉะนั้นตอนนี้ก็อยากจะได้มีใครมาทอดพระป่าโมช้อนมือซ้าย เพื่อรวบรวมทุนซักแสนสองแสนเพื่อเอามือซ้ายให้เกิดขึ้น เกือบแสนนึงนะครับแค่โมอย่างเดียว ผมถนัดมือขวา ผู้ป่วยผู้สูงอายุ มือขวาที่เราทดลอง เราก็ใช้มือขวาก่อนเลย ส่วนมือซ้ายเนี่ยมีคนถามเยอะมากแต่ตอนนี้เนี่ย เราไม่งบแล้วครับ มหาวิทยาลัยเกษตรจะช่วยไหมครับ

อันนี้อาจจะลองพูดดังๆ ผ่านกล้องออกมาได้เลยนะคะ

ของบเพิ่มจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อทำโมช้อนมือซ้ายนะครับ

อันนี้เป็นงานวิจัยที่เรียกว่าน่าทึ่งนะคะน่าสนใจมาก ถ้าในมุมมองของอาจารย์เองเนี่ย นักออกแบบจะมองว่าเทรนในการออกแบบยุคปัจจุบัน ควรจะมองว่าเน้นเรื่องอะไรเป็นหลักคะ

เทรนในการออกแบบยุคปัจจุบันควรที่จะเน้นอะไรเป็นหลัก ผมว่าเดี๋ยวนี้ปัญหาสิ่งแวดล้อมมันรุมเร้าเรามาก อย่างเช่น ณ วันนี้เนี่ยเราเจอปัญหา PM2.5 ใช่ไหมครับ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเราเจอปัญหาน้ำแล้ง น้ำเค็ม แล้วก็ปีที่ผ่านมา ออสเตรเลียเจอไฟไหม้เพราะฉะนั้นตอนนี้ปัญหามันรุมเร้าเราไปทุกด้านเลย ผมอยากจะฝากนักออกแบบรุ่นใหม่ว่า จะทำก็ก็ตามเนี่ยขอให้ผสมผสานเป็นโซเชี่ยวเอนเตอร์ไพรส์ เป็นเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อผู้คนและโลก ไม่ใช่ทำเพื่อสุนทรียอย่างเดียว สุนทรียสำคัญไหม สำคัญมาก แต่ผมมองว่าอนาคตเนี่ย ต้องเน้นในเรื่องของสิ่งแวดล้อมให้มากทั้งวัสดุที่ใช้ กฎหมายต้องปรับ เพราะว่าวัสดุที่ใช้ถ้าเราสามารถเทสได้ว่ามันไม่สิ่งเจือปนที่เป็นพิษก็ควรที่จะอนุญาตให้เอามาใช้ได้นะครับ อันนี้คือที่สิ่งที่ผมหวังว่า ตัดสูททีเดียวฟิตในทุกเรื่อง เช่นว่า ไม่ได้ พลาสติกรีไซเคิลไม่สามารถเอามาใช้กับ Food contact เนี่ยและปิดประตูไปเลยเนี่ย ผมว่าอันนี้มันผิด เพราะทรัพยากรมันมีอยู่แล้ว อยากจะฝากไว้ตรงนี้ครับ

นักออกแบบรุ่นใหม่อาจจะต้องมองไม่ใช่ว่าชั้นอยากไปอย่างนู่นอย่างนี้ ฉันมีแรงบัลดาลใจตรงจุดนู้นจุดนี้ แต่อยากจะให้มองถึงโลกของเราด้วย

ผู้คนและโลก ผมว่ามันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเลยครับ แต่ว่าผู้คนเนี่ยคือปัญหา เพราะว่าเราสามารถออกแบบให้คนเนี่ยได้จนพอใจ คนเรามีความต้องการไม่สิ้นสุด อะไรก็จะเอาเยอะขึ้นเยอะขึ้นเรื่อยเรื่อย ผมคิดว่าต้องไปพร้อมกันคือดีไซด์เพื่อผู้คนและโลก เพราะผู้คนเนี่ยไม่ยั้งเลยถ้าเราเลือกโลกมาบาลานซ์ไว้เนี่ย ยังไงก็โลกก็พังถ้าเราทำเพื่อผู้คนอย่างเดียว

อันนี้ที่น่าสนใจคือ กฎหมายต้องปรับด้วย ให้เราเอื้อต่อการที่จะออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม อีกหนึ่งคำถามที่อยากจะถามอาจารย์ให้เป็นข้อคิดทิ้งท้ายนิดหนึ่ง อาจารย์ว่าอุปสรรคในการออกแบบในประเทศไทยคืออะไร และอาจารย์อยากจะมองเห็นวงการดีไซด์เนอร์หรือการออกแบบในประเทศไทยเนี่ย ไปในแนวทางไหนคะ

อุปสรรคการออกแบบในประเทศไทยเนี่ย จริงๆแล้วไม่เชิงของการออกแบบแต่ว่าอุปสรรคหลักๆ เนี่ยคือ คนไม่ได้เห็นคำว่าประเทศไทยเนี่ยเป็นแหล่งผลิตดีไซต์ที่มีคุณภาพระดับโลก อาจจะมองเราแค่เป็น OEN เป็นผู้ผลิตตามแบบของต่างประเทศ และก็เมืองไทยเนี่ยไม่มีจำนวนยของนักออกแบบโรงงานต่างๆเนี่ย มากพอที่จะดึงดูดเทรนเนอร์หรือว่าคนที่จะช็อปปิ้งเรื่องผลิตภัณฑ์ออกแบบเนี่ยมาสู่ประเทศไทยได้

อาจารย์พูดเหมือนเป็นแง่ของภาพลักษณ์ว่าเรายังไม่ถูกมองว่าเป็นผู้มีศักยภาพมากพอในการออกแบบ

นั้นคืออันที่ 1 อันที่ 2 คือเราไม่สามารถดึงดูดจำนวนเทรดเนอร์หรือว่าผู้ซื้อต่างๆจากต่างประเทศเข้ามาเมืองไทยได้ เพราะเราดึงเข้ามาไม่ได้ ปัญหาต่อมาคือทำออกมาแล้วขายยาก พอขายยากนักออกแบบต่างๆ ก็จะค่อยๆ หลุดออกไปจากโลกของการออกแบบ จำนวนก็เล็กลงเรื่อย ๆ ต่างชาติก็ไม่เข้ามากลายเป็นไก่ไข่

เหมือนมันวนลูปไปเรื่อย ๆ

วนลูปไปเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นพอคนไม่มา อ่าวขายไม่ได้ ก็ย้ายอาชีพไปเปิดร้านกาแฟบ้าง ร้านอาหารบ้างกลับไปเรียนปริญญาโทบ้างอะไรอย่างนี้ ทำให้เราก็เลยเป็นปัญหาว่า ทำไปแล้วทำยังไงดีให้มันกระจายไปสู่ระดับโลกได้ถึงมีของดีแล้วก็ตามคนที่มาก็บอกว่า หู้ว มันดีมากเลย นี่ก็เป็นปัญหาหนึ่งครับ และผมก็คิดว่าเทคโนโลยีต่างๆเนี่ย เราไม่ค่อยลงทุนลงแรงกับงานวิจัย ในโลกของการออกแบบ ในโรงงานที่ผลิตแบบ เพราะงานวิจัยทำให้เราก้าวไปข้างหน้าโดยเร็วไปไกล แต่พอเราไม่มีเนี่ย เราก็ทำภาพลักษณ์ที่สวยงาม เทคนิคที่ดีขึ้นเล็กๆน้อยๆ แต่เราไม่มีวัสดุที่เจ๋งๆออกมา เพื่อไปสู่ในระดับแนวหน้า เราไม่มีอะไรที่คนมองแล้วมันเป็นfirst อันนี้มันเป็นอะไรที่เป็นปัญหาเพราะเราไม่มี R&D พอในโลกของการออกแบบ

ก็ประเด็นของอาจารย์ขขออนุญาตสรุปนิดหนึ่งค่ะ ก็จะมีปัญหาในแง่ของภาพลักษณ์ คนอาจจะไม่ค่อยมองว่าไทยเป็นศูนย์ของนักออกแบบที่มีศักยภาพมากพอ ซึ่งก็จะทำให้เราดึงดูดเทรดเดอร์ที่จะเข้ามา กำลังซื้อก็อาจจะมีไม่มากพอทำให้คนออกแบบก็อาจจะรู้สึกว่าพอทำออกมาปุ๊ป อาจจะไม่มีแหล่งสำหรับขาย รวมไปถึงอาจารย์พูดถึงเทคโนโลยีที่บางครั้งเรามองภาพการปรับปรุงตัวผลิตภัณฑ์ในการออกแบบออกมาแต่ R&D ยังก้าวไม่ทัน ไปไม่ถึง

ผมว่ามันอาจจะไม่ใช่ก้าวไม่ทัน แต่เราไม่ยอมลงทุน R&D ในประเทศเราเองเนี่ยทำให้เราไม่เจอวัตถุดิบที่มัน คาร์ดิเอท เราไม่มีนวัตกรรมที่ทำให้คนเค้ามองว่า ประเทศไทยมันเริ่มมาทาง High-Tech เพื่อที่จะแก้ปัญหาการออกแบบมีชั้นเชิงที่มากขึ้นที่มี imagine สูงขึ้น

อันนี้เป็นมุมมองจากอาจารย์สิงห์นะคะ สำหรับวันนี้งานวิจัยที่น่าสนใจอันนี้ก็ทราบว่าล่าสุดมีผู้ที่ขอใช้สิทธิบัตรในผลงานวิจัยสิทธิบัตรชิ้นนี้

ใช่ครับ ก็ขาย license ไปแล้ว

ผลิตเป็นcommercial จริงๆแล้วอาจารย์พอทราบมั้ยคะว่าราคาเนี่ยจับต้องได้ไหมคะ

เราทำมาเพื่อราคาถูกอยู่แล้ว ฉะนั้น ผมตอบไม่ได้ว่าเรา license ไปแล้วต้องถามผู้ประกอบการณ์เราจะไม่ไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตั้งราคาของเค้า แต่เราเค้าทราบดีว่าเราทำขึ้นมาเพื่อให้ราคา available เมื่อเทียบกับสินค้าจากต่างประเทศ หรือราคาที่เค้าใช้จ่ายอยู่แล้วปัจจุบัน

สิทธิบัตรการออกแบบอันนี้ได้ถูกขอใช้สิทธิบัตรไปผลิตสู่ commercial แล้วก็เราคาดหวังว่าจะเป็นราคาที่จับต้องได้ในท้องตลาดทั่วไปจะได้เข้าถึงผู้สูงอายุ กับผู้ป่วยได้จริงๆ และนี่คือผลงานเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากรองศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ อินทรชูโต ในวันนี้ขอบคุณอาจารย์มากที่สละเวลาให้มาร่วมรายการกับทางเราค่ะ        แล้วก็นี่นะคะนี่คือ live ของ KULIB talk ในวันนี้นะคะ ซึ่งแขกรับเชิญในเทปต่อไปของเราจะเป็นใครก็ขอให้กดติดตาม facebook ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ Line : @kulibrary เพื่อที่จะไม่พลาดข่าวสารที่น่าสนใจจากทางสำนักหอสมุดค่ะ สำหรับวันนี้ขอบคุณที่ติดตามชม สวัสดีค่ะ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

คู่มือดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยภาวะวิกฤต 

คู่มือการดูแลผู้ป่วยทางอายุรศาสตร์

103 สูตรอาหารคาวสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

คู่มือดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต และผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือเบื้องต้น

ดูแลกันในวันลืมเลือน

เทคโนโลยีอุปกรณ์งานอาหาร

Fundamentals of care : a textbook for health and social care assistants

Intensive care of the surgical patient

Sustainability in fashion and textiles : values, design, production and consumption

KULIB TALK | EP.53 | เรื่องกล้วยๆ ที่ไม่กล้วย

“สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ KULIB Talk ครับ ซึ่งเป็นการไลฟ์ผ่านทาง Facebook ของสำนักหอสมุดของทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครับ กระผม เฉลิมเดช  เทศเรียน รับหน้าที่เป็นพิธีกรในวันนี้ครับ และวันนี้เองเราก็พาท่านผู้ชมมาที่สถานีวิจัยปากช่อง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครับ วันนี้เราจะพาท่านผู้ชมมารู้จักกับกล้วยสายพันธุ์หนึ่งครับ ซึ่งมีข้อเด่นคือออกผลตลอดทั้งปีนะครับ ซึ่งจะเป็นสายพันธุ์อะไรนั้น เดี๋ยวเราจะพาท่านผู้ชมมาทำความรู้จักกับกล้วยสายพันธุ์นี้กันครับ และในวันนี้ครับเราก็ได้อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญที่ทำวิจัยเกี่ยวกับกล้วยสายพันธุ์นี้ขึ้นมานะครับ ซึ่งก็คือ อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส ซึ่งเป็นนักวิจัยชำนาญการพิเศษ ขอต้อนรับอาจารย์เข้าสู่รายการ KULIB Talk ครับ “

พิธีกร คือ คุณเฉลิมเดช  เทศเรียน

ผู้ให้สัมภาษณ์คือ : อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส

พิธีกรถาม : อยากทราบว่า ที่มาที่ไปเริ่มแรกของการวิจัย เริ่มต้นได้อย่างไรครับ ?

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : สำหรับกล้วยน้ำว้าที่เราจะคุยกันวันนี้คือกล้วยน้ำว้าปากช่อง50 ค่ะ เป็นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เราได้ออกพันธุ์มาเมื่อปี 2551 แล้วที่เราให้ชื่อว่ากล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 นั้นก็เนื่องจากสถานีวิจัยปากช่องครบรอบ 50 ปี เป็นการเฉลิมฉลองค่ะ … ข้อดีของกล้วยน้ำว่าปากช่อง 50 ดีอย่างไรถึงได้รับความนิยมก็คือ ผลผลิตสูง เครือใหญ่ ลูกอ้วนสม่ำเสมอและลำต้นสูงใหญ่ ถ้าลำต้นไม่สูงใหญ่จะรับน้ำหนักเครือไม่ได้  ไม่ต้องใช้ไม้ค้ำ… เมื่อเทียบกับพันธุ์อื่น จริงๆแล้วกล้วยน้ำว้าในประเทศไทยมีหลากหลายสายพันธุ์แต่ว่าคนจะแยกไม่ออก จะสร้างมาตรฐานของกล้วยไม่ออก เราก็เลยได้ทำการรวบรวมกล้วยน้ำว้าทั่วประเทศมาศึกษาที่สถานีวิจัยปากช่อง ว่ามีข้อแตกต่างกันจริงหรือไม่….. ที่นี่จะเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์กล้วย และฐานข้อมูลพันธุ์กล้วยในประเทศไทย ตอนนี้ทำอยู่ 120 กว่าชนิด และทำอยู่ในฐานข้อมูลสามารถเข้าไปเปิดค้นได้ แต่ทีนี้พอเรารวบรวมปุ๊บเราเลยสังเกตุว่ามีพันธุ์เศรษฐกิจแค่กล้วยหอมและกล้วยไข่เราจึงมองว่าทำไมไม่ศึกษาเรื่องของกล้วยน้ำว้า ซึ่งเรามองว่าในอนาคตกล้วยน้ำว้าสามารถทำการแปรรูปได้และมีคุณค่าทางอาหารสูง แต่พออาจารย์ได้รวบรวมมาจากหลายสถานที่จึงพบความแตกต่างว่า ไม่ใช่เป็นพันธุ์ที่ทุกคนเข้าใจว่าต้องปลูกน้ำชุ่ม ดินดำดูแลดีจึงจะเครือใหญ่ ลูกใหญ่สีสวย อาจารย์เลยมามองดูก็คิดว่ามันไม่ใช่ก็เลยรวบรวมและปลูกเปรียบเทียบในสถานีวิจัยปากช่อง ใช้ข้อจำกัดต่างๆเหมือนกันหมดและทดสอบปรากฏว่ามีความแตกต่างของสายพันธุ์จริงๆ อย่างเช่นเปลือกสีเขียวเข้ม หรือเปลือกสีนวลๆ หรือออกสีเขียวอ่อนๆ พอปลูกเปรียบเทียบเสร็จปรากฏว่า กล้วยน้ำว้า50 (ต้นกำเนิดคือสายพันธุ์อุบลราชธานี)  มีความโดดเด่นขึ้นมา ไม่ว่าในฤดูกาลไหนก็ให้ผลผลิตสูงกว่า ถึงจะหน้าแล้งหรือดูแลไม่ดีเค้าก็ยังให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์อื่นๆ และก็ลักษณะผลดี…อาจารย์ทำการปลูกทดสอบไม่ใช่แค่ปีเดียวหรือฤดูกาลเดียว อาจารย์ทำการทดสอบตัวนี้อยู่ประมาณ10ปี พอรู้แล้วว่าพันธุ์นี้โดดเด่นจริงก็ทำแปลงใหญ่ทำเป็นไร่ เป็นร้อยต้นและหลายๆที่ไม่ใช่ทำแค่ต้นสองต้นแล้วสรุป ก็ปรากฏว่าเค้าก็ยังได้ผลผลิตสูงคุณภาพดี….เลยออกพันธุ์นี้เมื่อปี 2551 จากนั้นอาจารย์ก็เลยส่งไปให้เกษตรกร และทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีไม่ใช่แค่ตัวของพันธุ์กล้วย เพราะอาจารย์มุ่งเน้นว่าจะให้เค้า (กล้วยน้ำว้าปากช่อง50) เข้าสู่การผลิตเพื่อการค้า เพื่อการอุตสาหกรรม เพื่อการแปรรูป……ทำไมเราจะต้องมาปลูกกล้วยที่ได้ผลผลิตต่ำทั้งที่อายุการเก็บเกี่ยวเท่ากันหันมาปลูกปากช่อง 50 ได้ผลผลิตสูง ดีไม่ดี 1 เครือเท่ากับ 2 เครือของปากช่อง 50 ก็เลยแนะนำตัวนี้ออกไปในระดับของอุตสาหกรรมปากช่อง 50   

พิธีกร : เห็นในปีนึงมีการนำกล้วยปากช่อง50ไปออกบูธที่เกษตรแฟร์…?

อาจารย์ กัลยาณี สุวิทวัส : ทางมหาวิทยาลัยให้เราขึ้นโชว์เรื่องนวัตกรรมและเราก็มีต้นแจกด้วยปรากฏว่าบูธเราหางยาวไปถึงประตู…….พูดถึงปัจจุบัน กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ก็เป็นกล้วยอีกชนิดหนึ่งที่เข้าสู่การค้าในระดับอุตสาหกรรมและการแปรรูปเนื่องจากที่คุณเปรม(พิธีกร) กล่าวไปว่าให้ผลผลิตสูง

พิธีกร :  เห็นว่าออกตลอดทั้งปีด้วย ?

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : เดี๋ยวคนเข้าใจว่ากล้วยของอาจารย์เดี๋ยวก็ออกเครือ เดี๋ยวก็ออกเครือ…ความจริงไม่ใช่นะคะ…กล้วยเวลาออกเครือเสร็จก็จะตาย แต่ว่าก็จะมีเทคนิคการไว้หน่อ การไว้กอ การไว้หน่อตาม สำหรับกล้วยหอมกล้วยไข่เค้าจะไม่ไว้หน่อกันเค้าจะนิยมปลูกใหม่กัน สำหรับกล้วยน้ำว้าอาจารย์ให้ไว้หน่อ วิธีการไว้หน่ออาจารย์ก็ศึกษาว่าไว้หน่อยังไงให้ผลิตผลยังดีอยู่ไม่ใช่ให้ต้นแม่ตายแล้วค่อยมาไว้หน่อ เพราะว่ากล้วยน้ำว้าถ้าเราปลูกจากต้นแรกเลย 10-12 เดือน ถึงจะแทงปี และก็อีก 4 เดือนถึงจะเก็บเกี่ยวก็ปีกว่าในต้นแรก แต่พอเราไว้กอเราก็จะรู้สึกว่าเดี๋ยวก็ได้ตัด….อาจารย์ก็เลยมาศึกษาวิธีการไว้หน่อตาม พอต้นแม่อายุได้ 6 เดือน เราจะไว้หน่อลูกคนที่หนึ่ง พูดง่ายๆ ว่าลูกคนที่หนึ่งก่อนหน้านั้นตัดทิ้งหมดเลย เพราะว่าถ้าเราปล่อยให้โตทันต้นแม่ก็จะไปแย่งอาหารต้นแม่ ก็คือ 6 เดือนไว้หนึ่งหน่อ แต่พอลูกคนที่1ได้3เดือน เราก็จะไว้ลูกคนที่ 2 และพอลูกคนที่ 2 ได้ 3เดือน ทีนี้ทุกๆ 3 เดือนเราจะเก็บไว้หนึ่งหน่อ เรามาศึกษาว่าการทำดังกล่าวอาหารในดินพวกฟอสฟอรัส โพแทสเซียมจะถูกใช้ไปทั้งหมด เพราะว่าอายุต่างกัน แต่ถ้าเราเอาอายุไว้ใกล้เคียงกันเค้าก็จะแย่งสารอาหารกัน แต่ถ้าทำวิธีดังกล่าวเค้าได้ใช้ทั้งหมด เช่น ต้นแม่ใกล้ออกเครือ แทงปี ใช้ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ลูกเล็กใช้ไนโตรเจนเค้าก็จะไม่แย่งอาหารกัน ทีนี้พอสามเดือนอาจารย์ลองไปทดสอบในแปลง 1 ไร่ ประมาณ 100 ต้น ปรากฏว่าช่วงอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิต จะเก็บเกี่ยวภายใน 3 เดือน ก็คือจะมีช่วงพีคของเค้า เช่น ถ้าเราปลูกจากหน่อจาก 50% เก็บเกี่ยวพร้อมกัน เดือนหน้าอาจจะ 20% หรือเดือนต่อมาอาจจะ 30% ก็จะมีการกระจายอยู่ภายใน 3 เดือน เพราะฉะนั้นกว่าเราจะเก็บเกี่ยวเสร็จในล็อตนี้ ลูกรุ่นต่อมาก็จะตกเครือ พอรุ่นที่1 จะเก็บเกี่ยวภายใน 3 เดือน รุ่นที่ 2 ก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวแล้ว ก็คือเป็นที่มาว่ากล้วยชองเราสามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี  พอเข้าปีที่ 2 ทุกๆ 3 เดือน แปลงของเราก็จะสามารถมีกล้วยตัดเก็บเกี่ยวได้ และที่สำคัญพ่อค้าสามารถมาจัดการได้ว่าแปลงนี้เข้าเดือนไหน ได้กล้วยออกไปเท่าไหร่ มีกล้วยเก็บเกี่ยวเท่าไหร่ บางทีแปลงใหญ่ๆพ่อค้าแม่ค้ามาติดแท็คไว้เลย คล้ายการจองผลผลิตไว้ …….โดยเฉพาะที่นำเข้ามากล้วยน้ำว้าแพงมากและลูกไม่สวยตอนนี้แค่หวีที่อาจารย์เอามาให้ดูก็มีราคา 40 บาท ออกจากหน้าสวนก็ 20บาทแล้ว….

พิธีกร : มองด้วยตาเปล่าจะสามารถดูลักษณะเด่นของกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ได้อย่างไรบ้างครับ ?

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : ( อาจารย์เอากล้วยให้พิธีกรถือ 1 หวี และอาจารย์ถือ 1หวี กล้วยปากช่อง50  ) (อาจารย์ชี้ไปที่กล้วยในมือพิธีกร) นี่เป็นน้ำว้าเขียว เปลือกเค้าจะสีเขียวเข้มเลย ส่วนน้ำว้าปากช่อง50 สีจะออกสีเขียวอ่อน เขียวนวล ถ้าเราเจอแบบนี้เราบอกว่ากล้วยน้ำว้าเหมือนกันแล้วเราเอาไปแปรรูป คุณภาพการแปรรูปจะไม่เหมือนกัน กล้วยน้ำว้าเขียวจะค่อนข้างฝาด พอไปทำกล้วยตากจะดำ ส่วนกล้วยน้ำว้าปากช่องจะไม่ดำจะใสกว่า แต่กล้วยน้ำว้าเขียวเอาไปทำข้าวต้มมัดจะออกสีแดงเข้มๆ แต่ถ้าเอาปากช่อง50 ไปทำจะออกสีชมพูอมเหลืองไม่แดง…นี่ก็เป็นลักษณะของข้าวต้มมัดใส้กล้วยค่ะ… (เปรียบเทียบลักษณะกล้วยอีกสักนิด)……>>>  (ชี้ไปที่กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 ) เวลาสุกนะคะสีเค้าจะซีด เปลือกจะซีด แต่ไส้จะออกไส้ขาวเหมือนมะลิอ่อน เวลาทำกล้วยแผ่นอบ กล้วยตาก เนื้อก็จะใสน่าทาน…

          ทีนี้เรามาพูดถึงข้อดีของกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 จะเห็นว่าลูกเค้าจะกลมอ้วนสม่ำเสมอ ทรงจะทรงกระบอกนิดนึง อันนี้อาจจะเห็นไม่ชัดเพราะกล้วยเจอวิกฤตแล้ง ที่แพงเพราะแล้ง ถ้าในลักษณะกล้วยที่ได้น้ำดี อากาศดี ทรงจะเป็นทรงกระบอกขึ้นมานิดนึงและมีผลผลผลิตดีกว่านี้แต่ที่สำคัญคือลูกจะสม่ำเสมอและผลผลิตสูง วันนี้เลยไม่มีกล้วยสุกให้คุณเปรม (พิธีกร) ได้ชิม

พิธีกร : จุดเด่นอย่างหนึ่งคือกล้วยมีทรงกระบอก และใหญ่สม่ำเสมอ เพราะฉะนั้นลักษณะเด่นที่อาจารย์บอกไปเบื้องต้นคือต้นสูงใหญ่ โดยที่เราไม่ต้องเอาไม้ค้ำ….  คราวนี้มาในเรื่องของการขยายพันธุ์ ทางสถานีวิจัยปากช่องใช้วิธีใดบ้างครับ…

อาจารย์ กัลยาณี สุวิทวัส : เกษตรกรทั่วไปก็จะใช้หน่อ หน่อที่ใช้มาดูส่วนใบนะคะลักษณะเรียกว่าใบดาบคือใบจะเรียวๆ มาดูที่เหง้าคือถ้าใบดาบเหง้าจะใหญ่ จริงๆแล้วต้นกล้วยที่แท้จริงคือเหง้า ส่วนตรงนี้คือลำต้นเทียม (ชี้ไปที่ต้นกล้วย)  ถ้ายิ่งเหง้าใหญ่การสะสมอาหารจะเยอะเวลาเอาไปปลูกก็จะรอดสูง และได้ผลผลิตดี หน่อควรจะมีขนาด 1 เมตร หรือขนาดนี้ (ต้นกล้วยอีกต้น) พอใบไม่ใช่ใบดาบ ใบจะเริ่มกว้างจะเห็นเหง้าว่าเหง้าขนาดเล็กกว่า  เรามักจะบอกว่าใบใหญ่สิดีใบกว้างสิดี สังเคราะห์อาหารได้ดี แต่ปรากฏว่าพอมาดูเหง้าต้นจะมีขนาดเล็ก และพอเราเอาไปปลูกลงดินเราก็จะต้องตัดใบเพราะถ้าเราไม่ตัดใบใบจะคลายน้ำไม่ได้สังเคราะห์อาหารแล้ว…ส่วนรากกล้วยเวลาขุดไม่ต้องถนอมรากเพราะเป็นรากแขนงไม่ใช่รากแก้วเพื่อกระตุ้นให้รากใหม่งอกขึ้นมาแล้วมันจะหาอาหารได้เร็วขึ้น และเราจะตัดใบตรงนี้ทิ้งเพื่อที่จะลดการคลายน้ำและไม่ไปดึงอาหารจากเหง้าไปใช้

พิธีกร : ใบเราต้องตัดทิ้งหมดเลยไหมครับ ?

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : ตัดทิ้งเลยค่ะ…. ไม่เอาใบดาบไว้ พอเราปลูกลงไป เราจะให้ต้นสูงจากดิน 50 ซม.แล้วตัดส่วนที่เกินทิ้งเพื่อที่จะกระตุ้นการงอกของใบใหม่กับรากใหม่ ถ้าเราคงรากไว้ไม่ตัดออกก็ทำได้แต่การเกิดรากใหม่จะช้าเพราะเหมือนกับต้นไม้คิดว่ายังมีรากอยู่ แต่ถ้าเราช่วยโดยการเการากออกเค้าจะออกรากใหม่เร็วขึ้น กล้วยก็จะฟื้นเร็วขึ้น อันนี้ก็คือปลูกทั่วๆไปปลูกไม่เยอะ…. แต่ถ้าเราปลูกการค้า เค้าจะใช้ต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (อาจารย์ชูถุงต้นกล้าที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อขึ้น)  นี่คือต้นกล้าอ่อนที่เพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อของตัวกล้วย อันนี้ยังต้นเล็ก…ตอนที่ขนส่งจริงๆจะเป็นการแพ็คขนส่งกล้วยไปให้ลูกค้าแบบนี้ (ชูถุงต้นกล้าขึ้น)…. ส่วนกล้าของเราเราจะชำในถุงชำเลยให้ได้15ซม.เราถึงจะส่งให้ลูกค้าก็คือมีออเดอร์มาจากเกษตรกรด้วยก็ติดต่อที่สถานีวิจัยปากช่องโดยตรง อันนี้อาจารย์กำลังจะส่งเข้าไปชำใน nursery (ชูต้นกล้ากล้วยขึ้น) พอเราได้ขนาดนี้ปุ๊บเราก็จะไปชำในถุง ประมาณ 2เดือน ต้นกล้วยก็จะโตมา 15 ซม.แล้วเราถึงจะไปปลูกลงแปลง… หลายคนมีคำถามว่าแค่ 15ซม. จะปลูกรอดไหม อาจารย์บอกเลยว่ารอด ภายใน 4 เดือนต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกับหน่อ 1 เมตร โตเท่ากัน แต่ข้อดีต่างกัน…. ตอนแรกเกษตรกรไม่ยอมรับต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพราะต้นเล็กเนื่องจากเอาไปปลูกจะเหี่ยว แต่…เค้ามีรากจริง ใบจริง พอเค้าปรับสภาพเข้ากับสภาพแวดล้อมได้เค้าก็จะสร้างใบใหม่ ต้นเค้าก็จะโตเร็ว…แต่หน่อ 1 เมตร ยังงันอยู่เพราะต้องสร้างรากใหม่กับใบใหม่ขึ้นมา แต่ที่เราเห็นต้นสีเขียวเพราะเป็นต้นเทียมที่ปรากฏให้เห็น พอปลูกได้ 4 เดือนแล้วโตเท่ากันจะเห็นข้อดีของต้นกล้าว่าการเก็บเกี่ยวพร้อมกัน 70% แต่จากหน่อเก็บเกี่ยวพร้อมกันได้แค่ 50% พอเราทำการค้าต้องมีการทำสัญญากับลูกค้าหรือพ่อค้าที่สั่งมา คุณสามารถกำหนดได้ว่าต้นที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อตุลาคมนี้มารับได้กี่ตัน มารับได้กี่กิโล แต่ถ้าปลูกเป็นหน่อคุณจะกะได้แค่ 50% ส่วนที่เหลือก็ต้องไปวัดดวงว่าจะเฉลี่ยไปทางไหน ….นี่คือเป็นเหตุผลว่าทำไมทั่วโลกที่ปลูกกล้วยต้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ… อันต่อมาเป็นเรื่องของโรคและแมลง หน่ออย่างนี้(ชูหน่อกล้วยขึ้น) คุณมองไม่เห็นหรอกว่ามันมีหนอนหรือไม่ หรือมันมีโรคติดไปไหมเราไม่สามารถรู้เลย

พิธีกร : ถ้าเป็นหน่อเราจะไม่รู้เลยว่ามีโรคติดมาหรือไม่หรือมีหนอนหรือไม่ ส่วนที่ออกจากห้องทดลองเราจะปราศจากเชื้อแน่นอน

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : ใช่ค่ะ….เพราะว่าถ้ามีเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราก็จะขึ้นในอาหารวุ้นแล้ว เราก็จะคัดทิ้งไปหมดและก็ไข่หนอนก็ไม่มีเพราะตอนนี้โรคและแมลงเป็นปัญหาหนักของเกษตรกรค่ะ โรคที่สำคัญของกล้วยน้ำว้าก็คือโรคไตพาย เป็นเชื้อทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา และมันจะแสดงอาการตอนตกเครือหรือว่าแมลงเจาะลำต้นก็คือหนอนกอ เป็นด้วงเจาะลำต้น ตัวนั้นก็ไปแสดงอาการที่ตอนตกเครือเพราะว่าต้นจริงจะเพิ่มตาดอกขึ้นมา แมลงมันชอบกินตรงนั้น พอแมลงได้กลิ่นมันก็จะรู้ว่ามีอะไรข้างในและก็จะเจาะเข้าไปกินและไข่ข้างใน….

พิธีกร : ในการเขตกรรมมีอะไรบ้างที่จะแนะนำเกษตรกรในการดูแลแปลงบ้างครับ ?

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส :  ในเรื่องของกำจัดวัชพืช การตัดแต่งหน่อตัดแต่งใบเพื่อให้แสงส่องผ่านถึง  การให้ปุ๋ยบำรุงต้นเพื่อให้ต้นแข็งแรง ถ้าทำสามอย่างที่ว่ามาอย่างดีต้นก็จะแข็งแรง แปลงเราสะอาด โรคแมลงไม่ไปสะสม ต้นก็จะสามารถมีความต้านทานปัญหาเหล่านี้ได้

พิธีกร : ระยะห่างระหว่างต้นมีผลไหมครับ ?

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : มีผลค่ะ…อาจารย์เคยปลูก 3 คูณ 3 อาจารย์จะบอกว่า 2 คูณ 2 จะแน่นมากสำหรับกล้วยน้ำว้า บางคนเคยปลูกกล้วยไข่ 2 คูณ 2 ได้จำนวนต้นต่อไร่เยอะ 400 ต้น 400 เครือ บางทีเกษตรกรคิดแบบนี้จริงๆ แล้วค่อยรื้อทิ้งแล้วปลูกใหม่

พอถึงจุดหนึ่งการที่เราต้องมารื้อและทำใหม่คือเรื่องต้นทุน พอไม่รื้อปุ๊บ 2 คูณ 2 เส้นรอบวงเป็นร้อยเซนติเมตร ปรากฏว่าต้นสูงเบียดกันเครือไม่ใหญ่ พอลมพัดมาก็หัก อาจารย์เลยบอกว่า 3 คูณ 3 กำลังดีแต่ปรากฏว่าไว้หน่อตามได้ไม่เยอะเพราะว่ามันเริ่มเบียดกัน ก็จะไม่สามารถตามแผนเดิมได้ก็จะตามแผนได้นิดนึง พอกล้วยไว้กอได้ 4 ต้น เค้าก็จะเบียดกันกลายเป็นว่าแสงไม่พอกล้วยก็จะฉลูดขึ้นไปอีก อาจารย์ก็เลยสรุปไว้ที่ 4 คูณ 4 บางคนบอกว่า 4 คูณ 4 มันห่างกันไปนะอาจารย์ตอนปลูก แต่ปรากฏว่าตอนขึ้นกอครบ 4 ต้นแสงจะส่องผ่านพอดี ใช้แทรคเตอร์เล็กในการตัดหญ้าก็ได้ และกล้วยก็ได้ผลผลิตที่ดีทุกต้น ก็เลยมาสรุปที่ 4 คูณ 4 สำหรับกล้วยน้ำว้าค่ะ…

พิธีกร : เรื่องของปุ๋ยสำหรับกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 การใส่ปุ๋ยต้องใส่อย่างไรบ้างครับ ?

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : สำหรับกล้วยน้ำว้าการใส่ปุ๋ยทุกชนิดคล้ายๆกัน…จากที่อาจารย์ทำงานวิจัยอาจารย์ก็เลยเอ๊ะว่าเกษตรกรทำไมใส่ปุ๋ยบ่อยมาก มันเพิ่มต้นทุนไหม หรือตอบโจทย์กล้วยที่จะเอาไปใช้ได้คุ้มค่าไหม อาจารย์ก็เลยไปศึกษาเรื่องอัตราการเจริญเติบโตของกล้วยทั้ง 8 ชนิดที่อาจารย์คัดมา ปรากฏว่าอัตราการเจริญเติบโตจะมีอยู่ 3 ช่วง จะเห็นกราฟเลยว่ามีอัตราการเจริญเติบโตสูง สำหรับกล้วยน้ำว้าจะอยู่ช่วงเดือนที่ 4 แล้วก็ไปเดือนที่ 6 แล้วก็ไปเดือนที่ 9….. เพราะฉะนั้นเดือนก่อนหน้านั้นถ้าเราใส่ไปการดึงไปใช้ของพืชก็จะไม่เยอะเหมือนเราใส่ลงดินไปเปล่าประโยชน์ แต่ถ้าเราไปใช้ช่วงที่เค้าต้องการใช้เยอะคืออัตราเจริญเติบโตสูงแล้วเราใส่ถูกจังหวะเค้าจะใช้ปุ๋ยได้ทั้งหมด กล้วยก็เจริญเติบโตดี ต้นทุนในกระเป๋าเราก็ยังอยู่เยอะ อาจารย์ก็เลยมากำหนดวิธีการใส่ปุ๋ยใหม่…ก็เลยจะใส่ปุ๋ยในช่วงเดือนที่ 3 …ที่เราใส่เดือนที่ 3เพราะว่า การละลายของปุ๋ยการนำไปใช้จะอยู่ในช่วงเดือน 3ไปเดือน 4 กราฟก็จะขึ้นพอถึงตรงนั้นเค้าก็จะใช้ได้สูงสุด พออีกทีหนึ่งคือเดือน 5 ถึง 6 ทำไมช่วงนั้นถึงเจริญเติบโตสูงก็เพราะว่ากล้วยฟอร์มตาดอก กำลังมีตาดอกแทงขึ้นมาเค้าต้องการปุ๋ยในการสร้างตาดอกกับผลผลิต ถ้าเราให้ปุ๋ยช่วงนั้นได้พอดีถูกจังหวะกล้วยเครือเราจะใหญ่จำนวนหวีก็จะเยอะ… อีกช่วงหนึ่งคือช่วงเดือนที่ 9 เราจะเห็นแล้วว่ากล้วยแทงปลีออกมาแล้วเค้าต้องการปุ๋ยเพื่อไปขยายขนาดของผลทีนี้เป็นเรื่องคุณภาพผลเราก็ใส่ปุ๋ยไปในช่วงเดือนที่8 ไปเดือนที่ 9 พอเราใช้ตรงนี้พอเหมาะจะส่งผลดังนี้ 1) ค่าปุ๋ยลดลง 2) ค่าแรงงานลดลง 3) กล้วยเราได้ผลผลิตและคุณภาพที่ดีมาก

พิธีกร : จากที่อาจารย์ศึกษาวิจัยมา อาจารย์มองภาพการวิจัยของอาจารย์ว่ามีแผนในการต่อยอดไปอนาคตอย่างไรบ้างครับ?

 อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : สำหรับไม้ผล…ก็พูดถึงไม้ผลทุกชนิด ตอนนี้เราไม่ได้ดูแค่ผลผลิตหรือคุณภาพของผลสด แต่เราต้องดูว่ามันสามารถไปเพิ่มมูลค่าเรื่องของการแปรรูปหรือต่อยอดในด้านอื่นอย่างไรได้บ้างอันนี้สำคัญเลย กล้วยก็เหมือนกันสำหรับกล้วยน้ำว้าอาจารย์ไม่ได้แค่มองว่า ผลผลิตได้แล้ว คุณภาพได้แล้ว พันธุ์ได้แล้ว แล้วถ้าถึงวันหนึ่งกล้วยออกมาเยอะแยะมากมายเราจะไปทำอะไรได้…. เวลาหน้าฝนช่วงที่กล้วยเยอะๆ กล้วยราคาลงมา 10บาท 15 บาท แล้วเราจะไปทำอะไรได้บ้าง อาจารย์ก็มองประเด็นนี้มานานแล้วในการแปรรูป ตอนนี้ที่เราลองมาทำก็คือในระดับสถานีที่เรามีศักยภาพพอที่จะทำเรื่องการแปรรูปได้บ้าง..ก็เลยมาศึกษาเรื่องการแปรรูปแบบพื้นๆ ที่มีอยู่ อันหนึ่งที่เราทำก็คือกล้วยกวน…บางคนบอกว่ากล้วยกวนไม่ได้เป็นนวัตกรรมอะไรใหม่เลยอาจารย์ไปทำทำไม…อาจารย์ชอบเล่นเรื่องความเหมือนที่แตกต่างกล้วยกวนเหมือนกันแต่ทำไมต้องกินกล้วยกวนที่สถานีวิจัยปากช่องเพราะกล้วยกวนของเราไม่ใส่น้ำตาล ปกติของกวนๆต้องใส่น้ำตาลกินแล้วก็ติดฟันกินแล้วก็กลัวอ้วน แต่ของเราไม่ใส่น้ำตาลไม่ติดฟันค่ะ…อีกตัวหนึ่งที่ตอนนี้เป็นยอดฮิตของเราคือแป้งกล้วยน้ำว้า… แป้งของกล้วยน้ำว้าถ้าเราเคยได้ยินเรื่องแป้งสุขภาพที่เป็นแป้งพวก resistance starch ก็คือแป้งที่ต้านทานการย่อย กล้วยน้ำว้าจะมี Resistant Starch มากกว่า 50% ทำไมคนโบราณบอกว่าต้องกินกล้วยดิบ ต้องกินแป้งกล้วย ใครเป็นโรคกระเพาะกรดไหลย้อนอาหารไม่ย่อยท้องเสียต้องกินพวกนี้ แต่เค้าอธิบายไม่ได้ว่าทำไมถึงต้องกินพวกนี้ก็เพราะมันมีตัวนี้ (Resistant Starch) อยู่ในนั้น อาจารย์ไม่ได้เชียร์นะคะเพราะมีเปเปอร์ หรือเข้าไปเสริชในห้องสมุดหรือฐานข้อมูลของอาจารย์มี….

พิธีกร : ในคลังความรู้ดิจิตอลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ผมสืบค้นผลงานของอาจารย์นี่พบอยู่ 95 ผลงานด้วยกัน ค่อนข้างเยอะ ซึ่งบางผลงานก็สามารถดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ อันนี้เชิญชวนผู้สนใจสามารถสืบค้นผ่านทางคลังความรู้ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ครับ

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : ทุกงานวิจัยอาจารย์จะตีพิมพ์หมด…..(ต่อเรื่องเดิม)>>>>ปรากฏว่ากล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 มี Resistant Starch อยู่ถึง 50% สูงที่สุด ผลผลิตก็สูง แถมมีแป้งที่มีประโยชน์สูงน่าสนใจ เราก็เลยทำแป้งขึ้นมา…บางคนถามว่าอาจารย์แล้วแป้งอันนี้เราเอาไปทำอะไร…อาจารย์ก็เลยบอกว่าเป็นแป้งต้านทานการย่อย แต่เค้าจะจำได้แม่นก็คือเรื่องของกระเพาะ กรดไหลย้อนดีมาก แต่ข้อดีของมันจริงๆคือมันเป็นอาหารของจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารและเป็นจุลินทรีย์ดีที่ปรับสมดุลในร่างกาย แต่ในข้อรองลงมาของมันก็คือเมือกของมันตัวของแป้งไปช่วยในการเคลือบกระเพาะ ใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ทานแป้งของกล้วยก็จะดีมาก…

พิธีกร :  ในสถานีวิจัยไม่ได้มีเฉพาะกล้วยที่อาจารย์เกริ่นไว้ ก็จะมีพืชพรรณต่างๆ มีอะไรบ้างครับ..?

อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส : ขออนุญาตโฆษณาสถานีของเรานะคะ…. สถานีของเรามีจุดเด่นของไม้ผล ก็จะมีในเรื่องของน้อยหน่า….น้อยหน่าในเขตปากช่องก็จะมีเอกลักษณ์คือเป็นน้อยหน่าที่เป็นเอกลักษณ์ตอนนี้เรากำลังดำเนินการขึ้นเป็น GI ในระดับจังหวัดแล้วก็อำเภอ แล้วเรายังมีน้อยหน่าที่เป็นพันธุ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เรา…ก็คือเพชรปากช่อง เห็นไหมคะลูกใหญ่ๆ…. โดยนักวิจัยของสถานีวิจัยปากช่องนะคะ อาจารย์เรืองศักดิ์ กมขุนทด…และอีกพันธุ์หนึ่งก็คือฝ้ายเขียวเกษตร 2 นะคะ..ขึ้นทะเบียนพันธุ์ทั้งคู่แล้ว…แล้วเราก็มีการรวบรวมพันธุ์น้อยหน่าทั่วประเทศแล้วก็ในต่างประเทศอยู่ที่เราร้อยกว่าสายพันธุ์ สีเหลืองทองมั่ง สีครั่งมั่ง สีม่วง…เยอะแยะนะคะ ถ้ามีโอกาสก็ลองชมในเพจของเรานะคะ…แล้วก็ในเรื่องของอะโวคาโดสายสุขภาพมาแรง อะโวคาโดของเราก็เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ออะโวคาโด คือเราก็จะเริ่มจากการรวบรวมพันธุ์ก่อน อะโวคาโดเราทำมาตั้งแต่รุ่นแรกๆคู่มากับโครงการหลวงเลย แต่เราเป็นการวิจัยอะโวคาโดในพื้นที่ราบ แต่ในทางนั้นเป็นการวิจัยอะโวคาโดในพื้นที่สูง…มีอะโวคาโดแล้วก็…มีมะขามเปรี้ยว มีคนถามว่าอาจารย์ไม่ทำมะขามหวานเหรอ ลองไปดูนะคะว่ามูลค่ามะขามเปรี้ยวการส่งออกขึ้นมาอันดับ 10 เพราะเอามะขามเปรี้ยวไปแปรรูป แล้วตอนนี้กำลังหามะขามเปรี้ยวที่มีศักยภาพในเชิงอุตสาหกรรม เรากำลังทำมะขามเปรี้ยวฝักใหญ่ที่ได้ปริมาณเนื้อเยื่อเยอะคือเปรี้ยวที่สุดในโลก(55555) แล้วก็มีมะม่วงอันนี้เป็นตัวที่ทำชื่อเสียงให้กับสถานีมาสมัยแรกๆเลย ถ้ามองไปด้านหลังก็จะเป็นแปลงมะม่วงมีร้อยกว่าสายพันธุ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศมีทั้งเปรี้ยว มัน หวาน ออกนอกฤดูในฤดูมีหมดรวบรวมไว้ เพื่อที่จะศึกษาว่าพันธุ์ไหนที่มีศักยภาพในการแปรรูปหรือว่าผลิตในด้านใดได้บ้าง ที่สำคัญคือเราเอามาศึกษาในเรื่องของการทำลูกผสมพันธุ์ใหม่ๆ ในอนาคตเราอาจจะมีลูกผสมของลูกมะม่วงในสถานีวิจัยปากช่องออกไป…ก็ฝากด้วยว่าถ้าสนใจก็ติดต่อทีมงานของเราลองมาทำคลิปถ่ายทอดความรู้ตรงนี้ออกไปให้ดูค่ะ….

พิธีกร :  ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวที่ค่อนข้างมากมายเลยนะครับโดยเฉพาะในเรื่องของกล้วยเองนะครับ ซึ่งเราฟังชื่อจากกล้วยเองที่คนชอบพูดว่ากล้วย กล้วยๆ ง่ายๆอะไรอย่างนี้ แต่พอมาดูปุ๊บไม่ง่ายสมชื่อนะครับ กล้วยต้องมีการจัดเตรียมต้นพันธุ์ การศึกษาวิจัยต่างๆในเรื่องของระยะปลูกเอย…ในเรื่องของทำยังไงให้มีผลผลิตตลอดไป อย่างที่อาจารย์ได้บอกไปว่าต้องแบ่งช่วง ช่วงของหน่อต่างๆเปรียบเป็นลูกคนที่1 คนที่ 2คนที่ 3 เราก็จะสามารถเก็บเกี่ยวกล้วยได้ตลอดทั้งปีซึ่งก็จะเป็นข้อดีสำหรับเกษตรกรนะครับ แล้วก็รวมถึงระยะปลูกต่างๆ การให้น้ำ อาจารย์ก็มีการศึกษาวิจัยมาที่ค่อนข้างเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับท่านผู้ชมหรือเกษตรกรที่สนใจกล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง 50 ก็สามารถติดต่อได้ทางอาจารย์หรือทางเพจของสถานีวิจัยปากช่องก็สามารถที่จะติดตามเรื่องกล้วยหรือสอบถามเรื่องกล้วย…เพราะในวันนี้ระยะเวลาค่อนข้างจำกัดถ้าหากว่าใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่เฟสบุ๊คได้ จะมีอาจารย์และทีมงานให้ข้อมูลอยู่ หรือกระทั่งไม้ผลอื่นๆที่อาจารย์ได้กล่าวไป อะโวคาโดเอง มะม่วง มะขาม หรือน้อยหน่า ก็สามารถติดต่อผ่านทางเพจได้

          วันนี้ก็ต้องขอขอบคุณ อาจารย์ กัลยาณี สุวิทวัส ที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งให้กับท่านผู้ชมในวันนี้ครับ ต้องขอขอบคุณอาจารย์มากครับ

          สำหรับท่านผู้ชมที่จะติดตามรายการ KULIB Talk ว่าในเทปข้างหน้าจะเป็นเรื่องอะไรก็สามารถติดตามได้ทางเพจสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้นะครับ ก็จะมีเรื่องราวดีๆแบบนี้ให้กับท่านผู้ชมในรอบถัดไปนะครับ ในวันนี้เองก็ขอขอบคุณท่านผู้ชมทุกท่านครับ สวัสดีครับ….

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของอาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

กล้วย / กัลยาณี สุวิทวัส
กล้วยไข่เกษตรศาสตร์ 2 : คู่มือการปลูกและการดูแล / โดย เบญจมาศ ศิลาย้อย, ฉลองชัย แบบประเสริฐ, กัลยาณี สุวิทวัส
การเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นกล้วยไข่ที่ปลูกเปรียบเทียบระหว่างหน่อ พันธุ์กับต้นพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ / โดย กัลยาณี สุวิทวัส ... [และคนอื่น ๆ]

โครงการวิจัยพัฒนาการปลูกกล้วยและแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต / กัลยาณี สุวิทวัส, หัวหน้าโครงการ ; ผู้ร่วมวิจัย ฉลองชัย แบบประเสริฐ ...[และคนอื่น ๆ]

เทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปกล้วยเพื่อการค้า / หัวหน้าโครงการ กัลยาณี สุวิทวัส

ศึกษาวิธีการให้ปุ๋ยที่เหมาะสมในการผลิตกล้วยไข่พันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 / กัลยาณี สุวิทวัส ... [และคนอื่น ๆ]

กล้วยน้ำว้า สร้างชาติ สร้างเงิน / กองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน

"กล้วยน้ำว้าปากช่อง 50" กล้วยพันธุ์ใหม่จากสถานีวิจัยปากช่อง / กรกัญญา อักษรเนียม

รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางวิชาการและการพัฒนาการของกล้วยน้ำว้าพันธุ์ต่าง ๆ / โดย กวิศร์ วานิชกุล

สวนกล้วยน้ำว้า / พฤษภะ ณ อยุธยา ; บรรณาธิการ: มานพ ถนอมศรี

การศึกษาการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมกล้วยน้ำว้าในสภาพปลอดเชื้อ / สุจิตรา โพธิ์ปาน

Resistant starch: sources, applications and health benefits / edited by Yong-Cheng Shi, Clodualdo C. Maningat

การศึกษาสตาร์ชสุขภาพและเปรียบเทียบปริมาณจากพืชชนิดต่างๆ ที่ปลูกในประเทศไทย / โดย เนตรนภิส วัฒนสุชาติ หัวหน้าโครงการวิจัย

KULIB Talk #27 KU green2 เรือพลังงานไฟฟ้า เรือเพื่อชีวิตและอนาคต

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้งกับรายการ Kulib Talk ดิฉัน กิตติยา ขุมทอง ทำหน้าที่พิธีกรในวันนี้ สำหรับวันนี้ รายการ Kulib Talk เราก็มาเปิดรายการในบรรยากาศสบายๆ ริมคลอง เพราะว่าอยากจะพาท่านผู้ชมทุกท่านมาพบกับผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการพัฒนาและนำมาใช้จริงที่นี่ คือ คลองลัดมะยมนั่นเอง

2672019 0035

          ผลงานชิ้นนี้ก็คือ เรือ KU Green 2 ความพิเศษของเรือลำนี้ เขาว่ากันว่าเป็นเรือที่ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม

          ตอนนี้อยู่กับบุคคลที่สำคัญทั้งสองท่านซึ่งถือได้ว่าเป็นกำลังสำคัญที่พัฒนาในส่วนของเรือ KU Green 2 ลำนี้ขึ้นมา ขอแนะนำอาจารย์ทั้งสองท่าน ท่านแรก ผศ.ดร ยอดชาย เตียเปิ้น จากคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ วิทยาเขตศรีราชา อีกท่านหนึ่ง ผศ.ดร.เกวลิน มะลิ จากคณะเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เช่นเดียวกัน ต้องขอสวัสดีอาจารย์ทั้งสองท่าน

ขอสอบถามอาจารย์เกวลินก่อน อยากทราบว่าโครงการนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

          โครงการเรือไฟฟ้า เราได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สวพ. มก. หรือสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะขออนุญาตเท้าความสักนิดหนึ่ง มันเป็นงานวิจัยในลักษณะผลงานต่อยอด เมื่อประมาณปี 2559 เราได้ทำ KU Green 1 หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม เรือพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการท่องเที่ยวทางน้ำในกรุงเทพมหานคร และใช้สถานที่ที่นี่ในการทำวิจัย เพื่อที่จะสำรวจเส้นทางและเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยว ผลวิจัยตอนนั้นเราได้ทราบว่านักท่องเที่ยวมีความเต็มใจจ่ายซื้ออยู่ที่เท่าไร การเดินทางท่องเที่ยว พฤติกรรมการท่องเที่ยว จะเดินทางเป็นกลุ่ม กลุ่มหนึ่งก็ประมาณ 5-6 คน จากการสำรวจแม่น้ำลำคลองในกรุงเทพฯ เป็นคลองที่แคบและตื้น ดังนั้นเป็นที่มาของงานวิจัยชิ้นที่ 2 ของเรา ว่าเราพยายามที่จะออกแบบเรือให้มีการลดต้นทุนในการผลิตลง สามารถที่จะเหมาะสมกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวมากขึ้น ทางทีมนักวิจัยก็เลยคุยกัน ไปของบประมาณสนับสนุนจาก สวพ. มก. เราเลยได้รับอนุมัติงบประมาณ เมื่อปีงบประมาณ 2561 ตอนนี้ก็ยังไม่สิ้นสุดโครงการอยู่ระหว่างที่จะทำวิจัยกันอยู่ แต่ว่าผลค่อนข้างจะนิ่งแล้ว

จากที่ขอทุนจาก สวพ.มก. สังเกตว่าอาจารย์อยู่คณะเศรษฐศาสตร์ อาจารย์อยู่คณะพาณิชยนาวี มาร่วมงานกันได้อย่างไร

อาจารย์เกวลิน : การทำงานในเชิงพื้นที่แบบนี้เป็นการทำงานลักษณะบูรณาการระหว่างศาสตร์ ทางด้านวิศวกรรมเองเขาก็มีจุดเด่นในเรื่องของความเชี่ยวชาญในการออกแบบเครื่องกล หรือออกแบบเรือที่มีความเหมาะสมของพื้นที่ แต่ว่าในทางวิศวกรรมเองก็อาจจะตอบโจทย์ได้ไม่หมด อาศัยความรู้ศาสตร์อื่นๆ ด้วย เช่น จะมีคำถามจากทั้งผู้ต้องการลงทุน ผู้ที่สนใจทั่วไป แล้วเรือราคาเท่าไร มันจะคุ้มทุนในปีที่เท่าไร วิธีใช้จะใช้อย่างไร ราคาเราจะตั้งที่เท่าไรดีถึงจะเหมาะสม ดังนั้นเป็นที่มาว่าทำไมเดี๋ยวนี้เราจะต้องทำงานวิจัยระหว่างศาสตร์มากขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากคณะของอาจารย์ยอดชายแล้วยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่มาร่วมทำงานวิจัยชิ้นนี้

อาจารย์เกวลิน : งานชิ้นนี้มีอยู่ 3 หน่วยงานสำคัญ คือ หน่วยงานภายในเราเอง ก็จะมีคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา แล้วก็มีหน่วยงานภายนอกคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ ได้นักวิจัยมาช่วยเรื่องของการประเมินความคุ้มค่า และการทำ marketing 

ในส่วนของการทำงานทั้งสองท่านทำงานในส่วนไหนบ้าง

อาจารย์เกวลิน : ในส่วนของอาจารย์ อาจารย์ก็จะทำในเรื่องของเมื่อทางวิศวกรรมเขาทำเรือเสร็จแล้ว อาจารย์ก็จะมีหน้าที่เอาเรือไปใช้ประโยชน์ และทำการสำรวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยว พูดคุยกับชุมชน พูดคุยกับผู้ที่สนใจ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยรอบของบริเวณว่าเราจะมีแนวทางในการทำรูปแบบการท่องเที่ยวที่ใช้เรือไฟฟ้าอย่างไรบ้าง แน่นอนว่าจะต้องมีการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนว่าลงทุนในเรือไฟฟ้าแล้วจะมีความคุ้มทุนหรือไม่อย่างไร

ในส่วนของอาจารย์ยอดชาย

          ในส่วนทางวิศวกรรมก็จะรับผิดชอบในส่วนของการออกแบบทางด้านวิศวกรรมทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มต้น การออกแบบ detail การใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมมาช่วยในการออกแบบทั้งหมด จนกระทั่งนำไปสู่ในการผลิตเราก็รับผิดชอบในการกำกับดูแลตรงนี้ หลังจากนั้นแล้วเราได้ตัวเรือต้นแบบแล้วก็จะนำมายังพื้นที่ เพื่อมาทดสอบและเก็บข้อมูลของทางด้านเศรษฐศาสตร์ต่อไป

วัตถุประสงค์หรือจุดเด่นของเรือลำนี้ ที่บอกว่าเป็นเรือประหยัดพลังงานมีจุดเด่นหรือความพิเศษอย่างไรบ้าง

อาจารย์ยอดชาย : คำว่าประหยัดพลังงานเราก็สามารถที่จะตีความได้ว่าถ้าเราสามารถที่จะออกแบบตัวเรือโดยใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถที่จะช่วยในการประหยัดพลังงานได้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งหลักๆ คือการออกแบบรูปทรงตัวเรือ เป็นส่วนที่สำคัญเพราะว่าถ้ารูปทรงตัวเรือไม่ดีก็จะทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน เราก็ทำการ optimize ท้องเรือให้เกิดแรงต้านน้อย เราสามารถดูได้จากคลื่นที่วิ่งออกจากตัวเรือถ้าคลื่นออกจากตัวเรือน้อยก็หมายความว่าเรือลำนั้นจะประหยัดพลังงานเมื่อเทียบกับเรือที่วิ่งทั่วไป เป็นการประหยัดพลังงานอีกแบบหนึ่ง เพราะฉะนั้นเรือลำนี้ที่มีจุดเด่นคือพวกอุปกรณ์ทั้งหลาย ส่วนใหญ่เราจะพัฒนากันเอง ยกเว้นทางด้านแบตเตอรี่อย่างเดียว เพราะว่าแบตเตอรี่จะต้องใช้เวลาในการทำ Research  ค่อนข้างเยอะและใช้งบประมาณ อันนี้เรายังไม่ได้ไปแตะ เราจะแตะในส่วนของ ชุดขับเคลื่อน มอเตอร์ไฟฟ้า ระบบควบคุม รวมกระทั่งระบบในเรือทั้งหมด เราจะทำเอง เพราะฉะนั้นทุกอย่างเมื่อเอาไปใช้งานจริงๆ เราสามารถที่จะ Service บำรุงรักษาได้เองทั้งหมด คือเมื่อก่อนเราเจอปัญหา ซื้ออุปกรณ์ชิ้นส่วนจากต่างประเทศ ปรากฏว่ามันเสีย เราไม่สามารถที่จะซ่อมเองได้ อันนี้เป็นปัญหาหลักที่บ้านเราประสบ เราก็พยายามที่จะเอาองค์ความรู้ที่เรามี สามารถที่จะพัฒนาเอง ใช้ Know How ที่เรามี พัฒนาอุปกรณ์ขึ้นมาทั้งหมด ที่จะมาทดแทนของที่จะต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ

เรือที่ใช้พลังงานไฟฟ้า อยากทราบว่าการใช้งานมีระบบการใช้พลังงานอย่างไรบ้าง หรือแบตเตอรี่ที่ใช้ต้องขนาดไหน

อาจารย์ยอดชาย : เกิดจากการ เราต้องมาคุยกันว่า เส้นทางการท่องเที่ยวของเราประมาณไหน เราจะใช้ระยะเวลาการท่องเที่ยวระยะเวลาเท่าไหร่ สมมุติว่าจากข้อมูลทางด้านเศรษฐศาสตร์ เก็บข้อมูลมาว่า การท่องเที่ยวทางน้ำ จะไม่เกิน 1 ชั่วโมง ถ้าเกิน 1 ชั่วโมงก็เริ่มเบื่อแล้ว เราก็เอาตรงนี้เป็นโจทย์ ถ้าเรือวิ่งเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง จะกินค่าพลังงานไปเท่าไร เราก็จะเผื่อต่อการชาร์ต 1 รอบ เราจะใช้กี่ครั้งกี่รอบ สมมุติว่าเราต้องการใช้ 3 ชั่วโมง  เราก็จะคำนวณขนาดของแบตเตอรี่ เผื่อสำหรับ 3 ชั่วโมง ใช้งาน 3 รอบค่อยมาชาร์ตไฟ

(พิธีกร จะหมดก่อนไหม) ค่อนข้างน้อย ถ้าพลังงานเหลือน้อย กรณีสมมุติว่าบรรทุกเยอะ ใช้สปีดสูง ปริมาณค่าพลังงานที่ใช้อาจจะเยอะ อาจจะทำให้เหลือน้อย เราสามารถที่ชดเชยได้ด้วยการลดสปีด ถ้าลดความเร็วลง ค่าพลังงานก็จะใช้น้อยลง และเราก็ยังสามารถไปสู่ปลายทางได้

(พิธีกร เหมือนกับการใช้พลังงานขึ้นอยู่กับ น้ำหนัก และการสปีด ต้องมีการกำหนดไหมกี่คน) จริงๆ ตัวเรือก็กำหนดอยู่แล้วว่านั่งได้ 6 คน

(พิธีกร จำกัดน้ำหนักไหม ถ้า 6 คนนั้นไซต์ใหญ่) ก็ 6 ที่นั่ง น้ำหนักเราเผื่อไว้แล้ว เพราะว่าบางคนอาจจะ 80 60 เป็นค่าเฉลี่ย

ในส่วนของการออบแบบเรือไม่ว่าจะเป็นที่นั่งหรือตัวเรือมีแนวคิดในการออกแบบอย่างไร หรือตัววัสดุอาจารย์เลือกอะไรมาใช้บ้าง

อาจารย์ยอดชาย : สำหรับตัวเรือลักษณะการออบแบบเราพยายามให้ผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยวนั่งได้สบาย ขึ้นลงได้สะดวกสบาย จะเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบ นอกจากนั้นก็เรื่องความปลอดภัยด้วย อันนี้ก็ส่วนสำคัญ ส่วนลักษณะการออกแบบตัวเรือ ใช้วัสดุที่เป็นประเภทน้ำหนักเบาเป็นพวกไฟเบอร์กราส พวกนี้เป็นวัสดุสมัยใหม่ที่เอามาทดแทนการใช้ไม้ เพราะฉะนั้นตัวเรือจะน้ำหนักเบามาก

อาจารย์บอกว่าลำหนึ่งบรรจุได้ 6 คน ความปลอดภัยมีการออกแบบเรื่องความปลอดภัย หรือคำนวณเรื่องความปลอดภัยอย่างไรบ้าง

อาจารย์ยอดชาย : ในเชิงทางวิศวกรรมต่อเรือ จะมีข้อกำหนดว่าการเอียงเรือไม่เกินเท่าไร ไม่เกิดการพลิกค่ำ มันก็จะมีหลักการในการคำนวณตรงนี้อยู่ ตามข้อกำหนดของทางด้านกรมเจ้าท่าที่เขาดูแลตรงนี้อยู่

(พิธีกร เป็นไปตามระเบียบการขนส่งทางเรือ)

กลับมาถามทางอาจารย์เกวลิน ถ้ามาทางด้านการตลาดต้นทุนการผลิตต่อลำประมาณเท่าไร มีการคิดค่าใช้จ่ายในการบริการอยู่ที่เท่าไร อาจารย์มีการวางแผนการคุ้มค่าคุ้มทุนอย่างไรบ้าง

          ต้นทุนการผลิตลำแรก แน่นอนว่าเป็นเรือต้นแบบต้นทุนจะสูงกว่าผลิตในเชิงพาณิชย์ ต้นทุนของลำนี้อยู่ที่ประมาณ 8 แสนบาท เราจะต้องมาทำ Business Model เราจะมีการใช้เรืออย่างไรให้มีความคุ้มค่า แต่ก่อนที่เราจะทำ Business Mode ได้ คำนวณความคุ้มค่าได้ เราจะต้องหาให้ได้ก่อนว่าราคาที่เหมาะสมอยู่ที่เท่าไร ดังนั้นตัวเลขพวกนี้จะเกิดจากการสำรวจ เกิดจากการวิจัย เพราะว่านักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวแต่ละสถานที่กำลังจ่ายซื้อไม่เท่ากัน อย่างอาจารย์ยกตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวคลองลัดมะยมกับนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวที่ภูเก็ต หรือนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวอัมพวาจะมีความเต็มใจจ่ายอยู่ที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นการตั้งราคา ณ สถานที่ต่างๆ จำเป็นที่จะต้องทำ Business Model หมดเลยใช้ราคาตรงนั้นมาวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุน เช่นคร่าวๆ ราคาตอนนี้เราคิดราคาเช่าเหมาลำอยู่ที่ลำละ 3,000 ต่อ 1 เที่ยว 3,000 บาท นักท่องเที่ยวก็มีกำลังที่จะจ่ายได้ ความเต็มใจจ่ายนักท่องเที่ยวก็จ่ายได้ นักท่องเที่ยวก็มีความสุขเพราะว่าพฤติกรรมนักท่องเที่ยว เดี๋ยวนี้ชอบท่องเที่ยวแบบเป็น private เฉพาะกลุ่มของตนเอง ไม่อยากจะไปนั่งร่วมกับคนอื่น แล้วก็ 3,000 บาท ถ้านั่งกัน 6 คน จะตกคนละ 500 บาท ซึ่งถ้าเทียบกันว่าเราได้นั่งเรือไฟฟ้าได้นั่งของใหม่ๆ แล้วกัน อยู่ในกำลังที่นักท่องเที่ยวที่ตลาดคลองลัดมะยมจะสามารถที่จะจ่ายได้

ตอนที่อาจารย์เก็บรวบรวมข้อมูล อาจารย์ลงไปทำอย่างไรบ้างในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสำรวจทั่วไป หรือลงไปเชิงสัมภาษณ์

อาจารย์เกวลิน : ใช้ทั้งสองส่วน เวลาที่ลงสัมภาษณ์เจอนักท่องเที่ยวก็จะมีวิธีการพูดคุยด้วย เอาเรือมาให้นักท่องเที่ยวได้ลองนั่ง ได้นั่งแล้วรู้สึกเป็นอย่างไรบ้าง แตกต่างจากเรือเดิมๆ ที่เคยใช้อยู่ไหม ผลตอบรับ กระแสตอบรับออกมาค่อนข้างดีมาก ตรงนี้คือช่วยกำจัดจุดอ่อนของการท่องเที่ยวเรือที่มันเสียงดัง คลื่นแรง เสียงดังเวลาเรานั่งไปในกลุ่มจะพูดคุยกันค่อนข้างลำบากมากในการคุยกัน ตรงนี้เราก็เข้าไปคุยด้วย โดยที่เราใช้แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ประกอบด้วย ว่านั่งแล้วรู้สึกอย่างไร แล้วถ้าจะจ่ายราคาเท่านี้คิดว่าเหมาะสมไหม แพงเกินไปหรือถูกเกินไป เราไม่ได้ใช้ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวแค่ฝ่ายเดียว เราต้องคำนวณต้นทุนแบบละเอียดของเราด้วย เพราะว่าเวลาที่เราคำนวณ นักวิจัยส่วนใหญ่จะชอบลืมคำนวณรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ

เสียงตอบรับส่วนใหญ่คือดี ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มไหน

อาจารย์เกวลิน : สำหรับตลาดน้ำคลองลัดมะยมจะเป็นคนกรุงเทพฯ ที่มาเที่ยววันเดย์ทริปจะมีต่างจังหวัดบ้าง 80 เปอร์เซ็นต์เป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย เดี๋ยวต้องดูว่าทำไมต่างชาติถึงยังไม่มาที่นี่ เราก็พบว่า หนึ่งคือตลาดน้ำใหม่ สองยังไม่มีทัวร์ลง เหมือนถ้าเราเทียบกันกับตลาดน้ำดำเนินสะดวก จะมีทัวร์ลงนักท่องเที่ยวต่างชาติค่อนข้างจะเยอะ

(พิธีกร ตลาดนี้เหมือนก็ยังเพิ่งเปิดได้ไม่นาน ยังมีความสดใหม่ของการเป็นตลาดน้ำอยู่)

ขอสอบถามทั้งสองท่าน นอกจากนวัตกรรมในเรื่องเรือไฟฟ้าที่มีตั้งแต่ KU Green 1 และก็มาสู่ KU Green 2 อาจารย์ทั้งสองมีนวัตกรรมอื่นๆ ที่จะมานำเสนอ หรือที่อยู่ระหว่างทำอยากจะนำเสนอ

อาจารย์ยอดชาย : ตอนนี้เราก็ได้รับมอบหมายจากกรมเจ้าท่าซึ่งเราทำงานร่วมกับกรมเจ้าท่า ซึ่งมอบหมายให้เราออกแบบเรือไฟฟ้าสำหรับผู้โดยสารในคลองแสนแสบ อันนี้ก็จะไซต์ใหญ่ บรรทุก 100 คน ความยาวประมาณ 20 เมตร มีโจทย์ที่ท้าท้ายเยอะแยะ สปีดก็ต้องเร็ว ลำนี้ KU Green2 ความเร็วแค่ประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ชิวๆ แต่ลำนั้นเขาต้องการ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

(พิธีกร ความต่างลำนี้อาจจะนั่งชมวิว แต่อันนั้นคือเร่งด่วน ) ซึ่งมันเป็นโจทย์ที่ต้องบอกว่าโจทย์ระดับโลก เพราะว่าเรือไฟฟ้าระดับโลกเขาก็ยังวิ่งประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

(พิธีกร จริงๆ จำกัดความเร็วอยู่) จริงๆ มันจำกัดเพราะว่ามันใช้พลังงานเยอะถ้าวิ่งเร็ว ถ้าใช้พลังงานเยอะเราก็ต้องมีแบตเตอรี่เยอะ ตรงนี้มันเป็นเหมือนผลที่ตามมา เพราะฉะนั้นเวลาเราออกแบบตัวเรือ ต้องใส่นวัตกรรมเต็มที่เพื่อที่จะทำอย่างไรให้ลดพลังงานให้ได้มากที่สุดที่ความเร็วที่ต้องการ อันนี้จะเป็นนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นภายในปีนี้

(พิธีกร เราอาจจะได้ชมตัวเรือสำหรับวิ่งที่คลองแสนแสบ จะเป็น KU Green 3 หรือว่าเป็นชื่อใหม่) น่าจะเป็นชื่อใหม่เพราะว่าต้องตามผู้ให้ทุน

ถ้าผู้ชมทางบ้านสนใจสามารถขอติดต่อรับบริการได้ตรงจุดไหน

อาจารย์ยอดชาย : จริงๆ สามารถติดต่อได้โดยตรงทางมหาวิทยาลัยหรือว่าที่วิทยาเขตศรีราชาก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่คณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา หรือว่าคณะพาณิชยนาวีนานาชาติ สามารถติดต่อได้ เพิ่มเติมนิดหนึ่งตอนนี้มีเอกชนที่เห็นว่าประโยชน์ของเรือไฟฟ้า พยายามที่จะมาคุย พยายามปั้นโปรเจกต์เพื่อที่เอาไปใช้ในแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำอื่นๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นที่ดำเนินสะดวกเป็นนโยบายของผู้ว่าจังหวัดราชบุรีอยากได้เรือไฟฟ้าไปทดแทน

(พิธีกร ที่ดำเนินสะดวกเป็นเรือพายหรือไม่) ไม่ครับ เป็นเรือเครื่อง เรือเสียงดัง เขาพยายามไปช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสียงดัง เรื่องคลื่น เรื่องอะไรพวกนี้ มีพวกที่อุดรธานี หนองบัวแดง มีเอกชนเริ่มติดต่อมา

(พิธีกร ถือว่ามีหลายหน่วยงานที่เริ่มสนใจเรือลำนี้ ต้องติดตามชม)

พิธีกร วันนี้เราได้พาทุกท่านมาชมเรือพลังงานไฟฟ้า อย่างที่บอกไปการขับเคลื่อนทำให้ลดในส่วนของมลพิษไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางเสียง หรือมลพิษทางอากาศ เพราะว่ามันประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญสามารถชาร์จไฟที่บ้านได้ด้วย

พิธีกร เราได้รับชมผู้พัฒนาเรือทั้งสองท่านไปแล้ว ทั้งจากอาจารย์ยอดชายและอาจารย์เกวลิน เรามาพบกับเรือจริงหน้าตาเป็นอย่างไร ลำนี้คือ เรือ KU Green 2 ที่อาจารย์ยอดชาติและอาจารย์เกวลินได้แนะนำให้ทุกท่านรู้จักในเบื้องต้นแล้ว นอกจากเราจะเห็นตัวเรือจริงแล้ว อยากจะแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับบุคคลสำคัญอีกท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นคนที่ให้นำเรือ KU Green 2 มาวิ่งที่นี่ได้ พบกับคุณลุงชวน ชูจันทร์ คุณลุงเป็นผู้ก่อตั้งตลาดน้ำคลองลัดมะยม เป็นผู้ก่อตั้งเมื่อ 15 ปีที่แล้ว

แสดงว่าตลาดน้ำมีมานานแล้ว

          15 ปี ปีที่ 15 แล้วปีนี้

คุณลุงคิดอย่างไรถึงให้ KU Green 2 มาลงที่นี่

          คือเราเป็นตลาดที่มีการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวที่สะอาดก็เป็นเรื่องที่เราคิดอยู่ในใจมานานแล้ว เพราะว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความสงบ เกิดความสะอาด เกิดความยั่งยืน ทุกวันนี้เราเลือกน้ำมัน แน่นอนเกิดเป็นพิษ เกิดเสียงดัง ก็คิดอยู่ในใจตั้งนาน พอดีทางอาจารย์ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็มีโครงการนี้เราก็ดีใจเหมือนที่เราคิดไว้ เราคิดคนเดียวทำอะไรไม่ได้ อาจารย์คิดตรงนี้ด้วยก็ยินดี ที่มาร่วมโครงการกับอาจารย์ หลายคนก็ชอบ เรานำมาทดลองใช้นักท่องเที่ยวเห็นก็ชอบ มันเงียบดี มันก็เข้าแนวโน้มของยานยนต์ในอนาคต รถยนต์เขาก็เริ่มใช้กันมากแล้ว ไฟฟ้า ตอนนี้เราก็มาเริ่มที่นี่ น่าจะเป็นแห่งแรกก็ดีใจที่ร่วมโครงการกับอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ตั้งแต่ KU Green 1 เลยที่มาลงที่นี่

          KU Green 1 เป็นอันดับต้น อับดับแรกที่เราทดลอง มีอะไรต้องแก้ไขหลายอย่าง เรือเหมาะกับสภาพพื้นที่ เหมาะกับน้ำ ต้องแมตช์กัน ปรับปรุงมาเรื่อยๆ จนถึงลำที่ 2 ก็ดีขึ้นอันเดิมก็ดีแต่ต้องไปใช้ในอีกพื้นที่หนึ่ง ที่นี่คลองเล็ก ถ้าเรือใหญ่มาก จะไม่ค่อยเหมาะ ไม่ค่อยคล่องตัว

จริงๆ เรือ KU Green ตอบโจทย์ตลาดน้ำที่นี่เลย

          ได้ ถ้าเราใช้ระบบไฟฟ้าปรับปรุงนิดหน่อย น่าจะดีขึ้นมาก เพราะเรื่องไฟฟ้าไม่ว่ารถหรือเรือ ปัญหาคือเรื่องแบตเตอรี่ เรื่องความทนบ้าง อะไรบ้าง สิ่งที่ผมคิดว่านอกจากเราจะได้ตรงนี้ หนึ่งคือเราพยายามทำของเราเอง ตัวนี้สำคัญ มันอาจบกพร่องบ้าง แต่มันก็เป็นการเริ่มต้น มันอาจจะเป็นลำที่ 10 20 ก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้เราทำได้ก็แล้วกัน

คือต้องเริ่มต้นส่วนการที่จะพัฒนาต่อยอดไปก็คือเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

          ต้องส่งเสริมกันไป บางคนมันไม่คุ้มหรอก จริงๆ ความรู้วัดไม่ได้ถ้าเราไม่ลอง 1 2 3 4 5 ก็ไม่รู้ว่าจะทำยังไง

ปกติขับเรือลำนี้ประจำไหม

          ผมก็จะขับก่อน จนกว่าเขาจะมาเรียนรู้กัน มาช่วยกัน เพราะว่าถ้าไม่เคยบางทีมันมีอะไรของมันเหมือนกัน ว่าไม่เหมือนเครื่องยนต์น้ำมัน แรงมันจะเลี้ยวยังไง ตีโค้งแค่ไหน ถอยหน้าถอยหลังยังไง ต้องลองนิดหนึ่ง เรือไฟฟ้าไม่ใช่เปิดปุ๊บติดปั๊บต้องมีระยะห่างจะถอยหลังต้องทิ้งระยะพอสมควร เรือยนต์ก็ถอยเลย  การเลี้ยวจะปัดอย่างไร จะใช้ความเร็วอย่างไร ต้องฝึกเหมือนกัน พูดคุยเล็กน้อยกับคุณลุงชวน ถ้าใครอยากมาพบกับคุณลุงชวน หรืออยากมาขึ้นเรือ KU Green 2 ก็มาเที่ยวกันได้ที่ ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ต้องขอขอบคุณคุณลุงชวนมากนะคะ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

KULIB TALK | EP.35 | “เหนียวนิ” Ready To Eat กระติ๊บข้าวเหนียวแบบพับได้

สวัสดีค่ะ วันนี้เราก็กลับมาพบกันอีกครั้งกับรายการ KULIB TALK ของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึงในวันนี้พบกับดิฉัน นางสาว กานต์พิชชา ปรานต์พัทธนันท์ ค่ะ รับหน้าที่เป็นพิธีกรวันนี้ค่ะ ซึงในวันนี้เราอยู่กับคนเก่งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทั้งสองคนค่ะ ที่ได้ไปสร้างชื่อเสียงนะคะ โดยเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยนำเอาแนวคิด วัฒนธรรม และวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทยมาใช้ในการออกแบบครั้งนี้ ซึ่งพวกเขาได้รับรางวัลถึงสองรางวัลด้วยกันก็คือ The Best of Challenge และ รางวัล The Best of Design ค่ะ ในการแข่งขัน The Challenge 2019 Packaging Design ในประเภทของบรรจุภัณฑ์ Ready To Eat ค่ะ ในหัวข้อ Move Towards A Circular Way แล้วได้รับรางวัลรวม 120,000 บาทค่ะ ยินดีต้อนรับนะคะ
นางสาวสหัสฤดี ฤทธิสมาน และ นางสาววรัชยา ขัดจวง นิสิตจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร

พิธีกร : อยากจะทราบค่ะว่าได้รับข่าวสารในการเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้อย่างไรบ้างคะ

เราได้รับข่าวสารจากอาจารย์นะคะ ที่มาบอกว่ามีการแข่งขันของเอสซีจี อยากให้นิสิตได้ลองไปแข่งขันดู แล้วคิดว่าการแข่งขันในครั้งนี้รูปแบบการแข่งขันอย่างไรบ้างคะ แบบว่ากรรมการเขามีการตัดสินอย่างไรบ้างคะ เพราะว่าได้ยินมาว่ามีถึงสามประเภทด้วยกันเลย เพราะในหัวข้อใหญ่สุดก็คือ Circular Way ค่ะ คือทุกกลุ่มไม่ว่าจะประกวดหัวข้อไหนที่เลือกไป จะต้องโยงเข้ากับ Circular Way ให้ได้ค่ะ โดยรอบแรกเขาจะคัดจากทั้งหมดทุกคนที่ส่งเข้าไป จะคัดเหลือแค่ 24 ทีมค่ะ โดยจะแบ่งเป็นหัวข้อละ 8 ทีม แล้วหลังจากนั้นก็จะให้ไปแข่งในวันจริง ก็คือวันที่นำเสนอแล้วก็จะต้องมีผลงานตัวจริงในการนำเสนอด้วย ก็ตอนนั้นก็จะคัดเป็นชนะเลิศในแต่ละหัวข้อและชนะเลิศ Best Challenge ของทั้งหมดอีกกลุ่มนึง

พิธีกร : โครงการนี้ค่ะ เป็นธุรกิจ packaging SCG ใช่ไหมคะ เป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ระดับอุดมศึกษาค่ะ ภายใต้แนวคิด Move Towards A Circular Way นะคะ ผ่านโจทย์ทั้งสามชนิดที่ได้บอกไปค่ะ แล้วอยากถามว่าทำไมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของเราถึงเลือกโจทย์ Ready To Eat

เพราะว่า Ready To Eat ที่เราเลือกเพราะเรารู้สึกว่ามันง่ายที่สุด มันดูไม่ถูกจำกัด ดูกว้างดูได้หลายอย่า ความคิดมันไม่ถูกตีกรอบเยอะเกิน ก็เป็นการไม่อยากจะกำหนดกรอบแนวคิดด้วยใช่ไหมคะ ค่ะแล้วอยากจะถามว่าแนวคิดเริ่มต้นที่เราทำ Ready To Eat แล้วทำไมผลิตภัณฑ์ของเราออกมาถึงใช้ชื่อว่า “เหนียวนิ” จากตอนแรกความคิดแรกของพวกเราก็คือจะทำแค่ใส่อาหารแห้ง แล้วก็ยกตัวอย่างไปให้อาจารย์ว่าเป็น เช่น ข้าวเหนียว อะไรอย่างนี้ อาจารย์ก็เลยแนะนำว่าให้เราทำเป็นข้าวเหนียวไปเลยดีไหม ใส่ข้าวเหนียวอะไรอย่างนี้  เพราะว่าตอนแรกที่ทำเราเสนอไปแบบนั้น แล้วอาจารย์คิดว่าถ้าเราไม่กำหนดขอบเขตให้มันแคบลงเวลาเราออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือตัวโลโก้มันจะกว้างไปแล้วเราจะออกแบบไม่ได้ค่ะ อาจารย์ก็เลยงั้นก็เป็นข้าวเหนียวไป อาจารย์ก็เลยเสนอไอเดียว่าไหนๆทำเป็นข้าวเหนียวแล้วก็ลองออกแบบโลโก้ให้เป็นกระติบข้าวเหนียว

พิธีกร : ถือว่าน่าสนใจมากเลยนะคะ ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาก็อยู่ด้านหน้าท่านผู้ชมเลยนะคะ เมื่อกี้พูดถึงอาจารย์ใช่ไหมคะ อยากทราบว่าเป็นอาจารย์ท่านไหนคะ และอาจารย์ช่วยด้านไหนบ้างคะ

ท่านชื่อ อาจารย์เจนณัช สดไสย์ นะคะ อาจารย์ช่วยทางด้านการคิดโลโก้ ออกแบบลายบรรจุภัณฑ์ แล้วก็มีตอนที่เราทำตัวแพคเกจเนี่ยไปทำที่คณะได้ค่ะ แต่เราสองคนไม่แวะไปที่คณะเลย จนวันแข่งจริงอาจารย์ก็บอกว่าหายหน้าหายตาไปเลย เขาบอกว่าพวกหนูหายตัวเก่ง

แล้วก็ตอนวันที่แข่งเขาจะมีให้จัดเป็นบูท อาจารย์ก็ช่วยเอาของมาจัดตกแต่งให้ จากตอนแรกที่มีแค่ชิ้นงานวางกองๆกัน พออาจารย์มาช่วยจัดบูทให้ก็ดูดีมีราคาขึ้นเยอะค่ะ

พิธีกร : ถือว่าอาจารย์มีส่วนช่วยตั้งแต่เร่มต้นจนถึงจบการแข่งขันเลยก็ว่าได้นะคะ แล้วอยากจะให้น้องๆบอกว่าในการแข่งขันครั้งนี้ค่ะ มีทักษะอะไรบ้างคะ ที่ผู้เข้าแข่งขันรู้สึกว่าได้รับจากการแข่งขันนี้ แล้วก็ต้องใช้ในการแข่งขันนี้

ค่ะ ก็คิดว่าที่สำคัญที่สุดก็คือสามารถมองเห็นปัญหารอบตัวได้ค่ะ เป็นคนที่ช่างสังเกตแล้วก็ความคิดสร้างสรรค์นะคะ ความคิดของเราเนี่ย สามารถดึงดูดผู้บริโภคได้ไหม แก้ปัญหาอะไรได้บ้างหรือเปล่า เพราะว่าพอเรามองเห็นปัญหา เราก็ลองเอาความรู้ที่เราเรียนเนี่ยมาลองแก้ปัญหาตรงจุดทีเรามองเห็นอย่างนี้ดู ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

พิธีกร : ก็ถือว่าน้องๆเอาเรื่องเรียนมาประยุกต์ใช้ด้วยนะคะในการทำบรรจุภัณฑ์ครั้งนี้ แล้วก็อยากถามว่า คิดว่าคุณสมบัติที่สำคัญที่ทำให้เราชนะการแข่งขันในครั้งนี้มาได้คืออะไรคะ

          กรรมการบอกว่าของเรามันสามารถทำได้จริงค่ะ ตอนที่อยู่บนเวทีเนี่ย กรรมการพูดด้วยว่า สิ่งที้เราคิดมาเนี่ยไม่มีใครเคยคิดมาก่อน แบบเรามองเป็นอาหารของไทย ในขณะที่กลุ่มอื่นๆเขาเป็นของต่างชาติกันซะส่วนใหญ่ค่ะ

พิธีกร : ค่อนข้างตอบโจทย์ใช่ไหมคะ อาจจะเป็นชิ้นเดียวในโลกเลย เป็นแบบ Limited Edition เลยนะคะ แล้วก็อยากจะถามค่ะว่าแข่งขันครั้งนี้สองคนใช่ไหมคะ มีการแบ่งหน้าที่กันอย่างไรบ้าง มีใครทำส่วนไหนหรือว่าช่วยๆกันอย่างไรบ้างคะ

          ค่ะ ก็ฟาร์มเป็นคนรับผิดชอบโครงสร้างอ่ะค่ะ แล้วหนูด้านกราฟฟิคดีไซน์ แต่ไม่ใช่ว่าแบ่งกันเลย ช่วยกันตลอด ช่วยกันค่ะ ตอนที่เตรียมนำเสนอก็ช่วยกันค่ะ แล้วก็ตอนที่เตรียมนำเสนอก็ไปค้างที่บ้านฝ้าย แล้วก็ต้องขอบคุณแม่ฝ้าย เพราะเขาให้หนูแก้พาวเวอร์พ้อยหมดทุกอันเลย

พิธีกร : คุณแม่มีส่วนช่วยอย่างมาก แล้วตอนแข่งขันตื่นเต้นบ้างไหมคะ จะพรีเซ้นต์แล้วรู้สึกอย่างไรบ้างคะ คู่แข่งก็เยอะด้วยใช่ไหมคะ

          ตอนแรกพวกหนูกลัวมาก เพราะคู่แข่งก็จากสถาปัตย์จุฬา มันทนศิลป์ศิลปกร แต่พวกหนูเป็นคณะสายวิทย์คณะเดียวเลย ไม่ได้เรียนการออกแบบเหมือนสองมอนั้นเลยรู้สึกกังวล จริงๆ รู้สึกตั้งแต่ตอนไปเข้าค่ายแล้วค่ะ คือทุกกลุ่มที่ไม่ใช่ม.เกษตร เขาจะออกแบบมาเป็นสามมิติอ่ะค่ะ แล้วก็เราจะนั่งวาดกันเองในคอม แล้วก็ดูราคาสู้เขาไม่ค่อยได้ค่ะ

พิธีกร : สุดท้ายนี้อยากจะให้น้องๆฝากไว้ว่าในการแข่งขันครั้งนี้เราได้รับอะไรมาบ้างคะ หรือการแข่งขันในครั้งนี้ให้อะไรกับเราบ้างคะ

ก็ได้ประสบการณ์ เราสามารถรู้ว่าในสถานที่จริงผู้บริโภคต้องการอะไร ผู้ผลิตเขาต้องการแบบไหน ทำได้จริงไหม และพวกเราได้ความภาคภูมิใจด้วย เพราะว่าหนูสองคนเกรดได้ 2 กว่าๆ ตอนเรียนปี 1 ปี 2 เราก็คิดว่าเรามาเรียนถูกสายไหม พอแข่งชนะก็รู้สึกว่าที่เรียนมาก็ได้เอาไปใช้ประโยชน์แล้วนะ แล้วก็เรามาถูกที่แล้วแหละค่ะ

ก็ถือว่ารางวัลนี้การันตีว่าเราเรียนถูกทางแล้วใช่ไหมคะ ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เหมือนกันนะคะ ที่น้องๆได้รางวัลมาค่ะ ก็ในวันนี้เชื่อว่าในอนาคตจะมีผลิตภัณฑ์ดีๆแบบนี้ออกมาให้เราได้รับประทานกันอย่างแน่นอนค่ะ ก็สำหรับในครั้งหน้านะคะ KULIB TALK ของเราจะไปสัมภาษณ์ใคร ผู้มีชื่อเสียงหรือบุคลากรท่านใดนะคะ ก็อยากจะให้ทุกท่านได้มาติดตามข่าวสารกันโดยติดตามผ่านทาง Facebook ของ KULibrary นะคะ เป็น Line ของ KULibrary สำหรับในวันนี้ค่ะ พวกเราทั้งสามคนต้องลาไปก่อน สำหรับวันนี้ สวัสดีค่ะ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

Packaging design / Andrew H. Dent & Leslie Sherr

The importance of packaging design for the chemistry of food products / Giovanni Brunazzi, Salvatore Parisi, Amina Pereno
Packaging design / Chris van Uffelen

Packaging design : successful product branding from concept to shelf / Marianne Rosner Klimchuk and Sandra A. Krasovec

Eco packaging design / editor, concept and project director, Josep Maria Minguet ; co-author, Miquel Abellan

Packaging design / Bill Stewart

แนวคิดและกรณีศึกษาการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการตลาดและโลจิสติกส์ ปี 2560 / [หัวหน้าโครงการ ธัญญารัตน์ จิญกาญจน์]

แนวคิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ : รูปสำเร็จพร้อมแพตเทิร์นไดคัท / บรรณาธิการ สมบูรณ์ เล็กวงศ์ไพบูลย์

รวมเทคนิคการออกแบบบรรจุภัณฑ์ / ชัยศักดิ์ เชื้อชาวนา

ออกแบบให้โดนใจ : คู่มือการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับผู้ประกอบการและนักออกแบบ / ชัยรัตน์ อัศวางกูร

KULIB Talk: โบท็อกซ์ช้างเชือกแรกของโลก

          ทีมสัตวแพทย์ของไทยสามารถรักษาอาการกล้ามเนื้อขากรรไกรแข็งเกร็งของช้างได้สำเร็จเป็นรายแรกของโลกค่ะ ด้วยวิธีการที่เราไปฉีดโบท็อกไปที่ขากรรไกรของช้างนี่แหละค่ะ ถือว่าเป็นความสำเร็จด้วยการรักษาด้วยโบท็อกสำหรับช้างเป็นรายแรกของโลกเลยนะคะ

          สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การไลฟ์ผ่านทางเฟสบุ๊คและของสำนักหอสมุด และในรายการ KULIB TALK นะคะ ดิฉัน กิตติยา ขุมทอง ทำหน้าที่พิธีกรในวันนี้ค่ะ

          วันนี้เราจะมาพูดคุยกัน ในเรื่องของความสำเร็จอยู่เรื่องนึง ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในเรื่องของการนำโบท็อก มาใช้ในการรักษา อาการกล้ามเนื้อขากรรไกรค้างเกร็ง หรือว่าอ้าปากไม่ได้ ของช้าง ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จแรกในโลก ที่ใช้โบท็อกในการรักษากับช้าง ซึ่งตอนนี้เราก็มี ผู้ที่จะมาให้ข้อมูลเราในเรื่องนี้ ก็ขอต้อนรับ รศ.น.สพ.ดร.นิกร ทองพิพย์

 

พิธีกร: ก่อนอื่น สอบถามคุณหมอก่อนเลยว่า ช้างตัวที่ยืนข้างหลงเรา ใช่ช้างตัวเดียวกับตัวที่เราใช้โบท็อก

          คุณหมอ: อ๋อ นี่ไม่ใช่ครับ อันนี้เขาเป็นช้างพลาย ช้างพลายจะมีงานครับ ช้างที่เรารักษาโบท็อก เป็นช้างพัง ที่เป็นช้างเพศเมีย จะไม่มีขา

พิธีกร: ค่ะ ถ้าพลายเป็นตัวผู้ อันนี้มารักษาด้วยอาการอะไรคะ

คุณหมอ: ขาเจ็บครับ

พิธีกร: เป็นขาเจ็บนะคะ

คุณหมอ: ที่เล็บขาหลังซ้ายด้านใน

พิธีกร: อันนี้เป็นพลาย มารักษาอาการฝี ที่เท้าด้านหลัง ด้านซ้าย ทีนี้ ในส่วนของช้างตัวที่เอาโบท็อกมารักษา ชื่อว่าอะไรคะ

คุณหมอ: ชื่อ ช้างรุ่งนภา อายุประมาณ 50 ปี เป็นช้างที่รับนักท่องเที่ยวอยู่ที่ป่าช้างแห่งนึง ในอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี อาการของเขามาตอนแรก ก็คือว่า ไม่ยอมอ้าปากกินอาหาร เราก็สงสัยว่าทำไม เลยลองวางยาสลบ แบบซึม ให้เขายืนแล้วก็พยายามใช้รอก กับเครน ดึงปากให้ง้างออก ดูว่ามีฟันผุ มีอะไรไหม

พิธีกร: อ๋อ เผื่อฟันเจ็บ ปวดฟัน อะไรอย่างนี้

คุณหมอ: ใช่ ถึงไม่อ้าปาก ไม่กินอาหาร ก็พยายามโยกฟันดู ไม่เหมือนกับฟันจะหลุด แล้วก็มีทิ่มเหงือกบ้าง เป็นแผลเล็กน้อย ก็พยายามให้ยาลดการอักเสบ ปากติดเชื้อ ล้างปาก ให้น้ำเกลือ เพราะไม่กินอาหาร ก็ประมาณอาทิตย์นึง ก็ยังไม่ดีขึ้น แล้วช้างเริ่มแบบ เหมือนโลหิตจาง เพราะมันไม่กินอะไร เห็นว่าไม่ไหวละ จำเป็นต้องได้เลือด ต้องมีเลือดจากช้างตัวอื่นมาช่วยชีวิตเขา เพราะเลือดเขาจาง ก็เลยตัดสินใจ เอาช้างไปรักษาต่อที่ลำปาง เพราที่นู้นจะมีช้างเยอะ สามารถเลือกช้างที่เลือดเข้ากันได้ มาถ่ายเลือดให้ก่อน ก็เลยพารุ่งนภา ไปรักษาที่ลำปาง

พิธีกร: ค่ะ แล้วหลังจากนั้น ทำไมถึงมาที่นี้

คุณหมอ: ก็ไปลำปาง หลังจากถ่ายเลือดให้เลือดแล้ว เขาก็ยังอ้าปากไม่ได้ เอ๊ะ มันเป็นที่ฟันรึเปล่า ต้องทำฟันหรือว่าข้างในมีอะไรหนักมากกว่านั้นไหม ก็เลยวางยาสลบ อันนี้เอาลงนอนเลย แล้วก็แต่งฟัน ทำช่องปาก ลุกขึ้นมา ก็ยังไม่หาย อ้าปากเพิ่มได้เล็กน้อยมากเท่านั้น ก็จะกินไรไม่ได้ ทำไงดี ช้างก็ต้องกินพืชเนาะ กินหญ้า กินผลไม้ หมอที่นู่นก็เลยปั่น เอาผลไม้ เอาหญ้า เอาอาหารมาปั่นเป็นสมูทตี้เลย แล้วก็กรอกสายยาง สอดสายยางเข้าไปในหลอดอาหารแล้วก็กรอกแบบเอาสมูทตี้ผลไม้เนี่ยกรอก

 

พิธีกร: ยากไหมคะกรอก

คุณหมอ: โอโห ยากมาก เพราะช้างกิน

พิธีกร: เพราะต้องทำตอนที่เขาไม่ได้สลบใช่ไหมคะ

คุณหมอ: ใช่ครับ เพราะเขาไม่อยากตายอะครับ พอเขาฟื้นขึ้นมา เขาก็หิว แต่พอมันอ้าปาก มันใส่แล้วมันก็ไม่เข้า มันก็ร่วงออก ร่วงออก พอเราใส่สายยางปุ๊ป เขาก็อมสายยางไว้ เหมือนไม่อยากตาย

พิธีกร: ก็คือยอมกินอาหารเหลว

คุณหมอ: ยอมกินอาหารเหลวที่กรอก ให้ความร่วมมือ ช้างกินวันนึง 200 กิโลกรัม คิดดูว่าหมอจะต้องนั่งปั่นสมูทตี้วันนีงกี่ถัง

พิธีกร: แต่นี่คือเราก็ยังรักษาอยู่ที่ลำปาง

          คุณหมอ: ไม่ หายแล้ว อันนี้เล่าเรื่องราวเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว ก็ปั่นสมูทตี้อยู่หลายเดือน ประมาณ 3 เดือน ในระหว่างนั้นเราก็พยายาม ใช้เลเซอร์ยิง แสงเลเซอร์เนี่ยมันจะช่วยลดการอักเสบ เราคิดว่ามัน มีการอาการอักเสบข้างในกระดูกในโพรงฟันรึเปล่า เขาถึงไม่อ้าปากก็ยังไม่หาย ใช้ยาชาบล็อคบางจุด เพื่อให้มัน

เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เพื่อให้เขาเนี่ยขยับได้ ไม่หาย ใช้ฝังเข็ม เอาหมอแพทย์แผนจีน เพื่อนผมที่เชียงใหม่ ที่เก่าที่สุดในประเทศ ฝังเข็ม กระตุ้นไฟฟ้า ไม่หาย ไม่รู้จะเอาอะไร ประชุมทีม เพื่อนผมเสนอโบท็อก

พิธีกร: ทำไมถึงเลือกใช้โบท็อกหรอคะ

          คุณหมอ: เขามั่นใจแล้วว่า ที่มีปัญหากับการที่ขยับ อ้าปากไม่ได้เนี่ย กล้ามเนื้อตรงนี้มันตึง สาเหตุที่ตึงเนี่ย อาจจะเป็นเพราะว่า ติดเชื้อเฉพาะที่ ก็เชิญหมอยิงผิวหนังเข้ามา จากกรมการแพทย์ หมอโรคผิวหนัง หมอเฉพาะทาง หมอก็มาให้ข้อมูล การใช้โบท็อกในคน เราเข้าใจผิดมาโดยตลอดเลยนะ เราคิดว่าโบท็อกเนี่ย เพื่อตึง ไม่ใช่ครับ เขาจะฉีดตามรอยย่น เพื่อให้มันคลายไอที่ตึงอยู่

พิธีกร: ไอที่ย่น มันจะได้คลาย

          คุณหมอ: มันตึง ฉีดแล้วมันคลาย มันจะได้ไม่ย่น เข้าใจผิดกันหมดเลย ทุกคนก็คิดว่าฉีดโบท็อกแล้วมันจะตึง แต่นี่มันฉีดเพื่อจุดที่ตึง มันจะได้คลาย แล้วมันก็จะไม่ย่น ก็เลยเอามาฉีดช้างสองข้างเลย ฉีดไปครั้งเดียว ประมาณไม่ถึงอาทิตย์ กล้ามเนื้อตรงนี้ขยับได้ ช้างกลับมากินอาหารได้

 

พิธีกร: แต่มันยัง 100% ไหมคะ

คุณหมอ: ยังไม่ 100

พิธีกร: ใช้เวลาฉีดโบท็อกนานขนาดไหน

          คุณหมอ: ก็คือ เราปั่นสมูทตี้อยู่ 3 เดือนใช่ไหม เราฉีดโบท็อกไป 1 โดสเนี่ย สองข้างเนี่ย อาทิตย์เดียว ช้างกลับมาอ้าปากได้ 100 ก็เลยฉีดต่อเนื่องกันมา เดือนละหน อีก 2 ครั้ง นะครับ กลับมาเคี้ยวได้ประมาณสัก 8 9 10 % ก็เลย เอาช้างกลับมากำแพงแสน แล้วก็มาอยู่ที่นี่ มาพักฟื้นที่นี่ แล้วก็ฉีดซ้ำที่นี่อีก 1 โดส คราวนี้หายเลยครับ 100 ผม อือหือ เนาะ

พิธีกร: อันนี้ถามนะ พอดีไม่ได้เรียนด้านการแพทย์มา 1 โดส ของช้างเนี่ย มันประมาณไหนคะ

คุณหมอ: มันต้องคำนวณกับน้ำหนักตัวของคนไง กับตำแหน่งที่ใช้ เพราะมากกว่าคน อย่างน้อยก็ 5 เท่าแหละ

พิธีกร: เพราะว่ามันตัวใหญ่

คุณหมอ: ใช่เพราะว่ากล้ามเนื้อมัน โอโห คนละอย่างกันเลยครับ กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคี้ยวเนี่ย มัดนี่

พิธีกร: ตอนแรกก็เข้าใจเหมือนที่อาจารย์หมอจะบอกนะ ก็คือใช้โบท็อก ก็ยังคุยว่า โบท็อกซ์เนี่ยเราฉีดจริงๆ เราฉีดให้หน้าเราตึงไม่ใช่เหรอ แล้วใช้กับช้างเนี่ย เราใช้ยังไง

          คุณหมอ: ก็ผมก็บอกไง คือคนเข้าใจผิด นึกว่ามันตึง คือมันไปฉีดตรงจุดที่มันย่นแล้วคลาย ไอจุดที่ย่นก็คลายตัวออก มันก็จะไม่ย่น

พิธีกร: แล้วตอนนี้อาการปัจจุบันของ ช้างรุ่งนภา เป็นอย่างไรคะ

          คุณหมอ: หายเลย ตอนนี้อยู่ที่ราชบุรี เนี่ยควาญช้างให้เขามาเอาช้างตัวนี้มารักษา เขาบอกหาย ก็กลับไปรับ ไปทำงานได้ตามปกติ กินอาหารเก่ง

พิธีกร: แล้วเรายังมีการติดตามผลอาการ

          คุณหมอ: ไปทุกเดือนครับ ไปดูทุกเดือน

พิธีกร: ไปดูทุกเดือนใช่ไหมคะ

          คุณหมอ: ครับดู ครับ

พิธีกร: ก็คือตอนนี้กลับไปให้บริการนักท่องเที่ยวได้เรียบร้อยแล้ว

          คุณหมอ: ครับ เขาก็ไปทำงานตอนหน้าที่ของเขาได้แล้ว

พิธีกร: อาการของขากรรไกรข้างมันเกิดจากอะไรคะ

          คุณหมอ: ตอนนี้เราเข้าใจว่า ฟันเขาที่แบบไม่สบกัน ที่เราบอกว่ามีแผลในกระพุ้งแก้มในตอนแรก มันน่าจะเกิดการติดเชื้อเฉพาะที่ แล้วมันก็กลายเป็นตึงตรงนั้นไป มันเป็นการตึงในจุดที่มันสำคัญที่จะทำให้ มันจะเขี้ยวได้ แล้วพอฉีดให้มันคลายปั๊ปเนี่ย พอเขาเคี้ยวได้นี่เคี้ยวใหญ่เลย บริหารกรามตัวเอง ตอนนี้หายขาด

พิธีกร: มันมีโอการที่จะกลับมาเป็นแบบนี้อีกไหมคะ

          คุณหมอ: ก็ถ้าฟันยังไม่สบกันมีทิ่มเหงือกมีอะไรแบบเนี้ย อักเสบเฉพาะที่เกิดขึ้นอีกเนี่ย ก็อาจจะเกิด ถึงต้องไปดูทุกเดือน แล้วก็ฝากคนที่มีช้างอายุมากๆเนี่ย คอยดูนะครับ ว่าถ้าเกิดมีปัญหาฟันมันไม่สบกันอะไรพวกนี่มันอาจจะต้องตะไบ ต้องแบบลบคมอะไรพวกนี้ ถ้าไม่งั้นมันทิ่มเข้ามาอีก มันก็จะมีอาการตึงและอ้าปากไม่ได้อีก

พิธีกร: มันจะเกิดกับช้างที่อายุ..เยอะใช่ไหมคะ

คุณหมอ: อายุเยอะ

พิธีกร: อย่างตัวด้านหลังนี่อายุประมาณเท่าไหร่คะ

          คุณหมอ: คุณลุงนี้หรอ คุณลุงนี้ก็น่าจะ 60 แล้วหล่ะ

พิธีกร: อันนี้เป็นคุณลุง เป็นพราย

          คุณหมอ: พราย

พิธีกร: แต่ว่าคุณรุ่งนภาเป็น..เป็นตัวเพศเมีย เป็นพัง

คุณหมอ: พัง ครับเป็นพัง

พิธีกร: ทีนี้ความสำเร็จในเรื่องของการนำโบท็อกมาใช้กับช้างอ่ะค่ะ มันเกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานอะไรบ้างคะอาจารย์

          คุณหมอ: ก็จะมีที่นี่ใช่ไหมครับ ม.เกษตรเรา สัตวแพทย์แล้วก็สัตวแพทย์เชียงใหม่ สมาคมช้างที่เชียงใหม่ แล้วก็ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยที่สถาบันแห่งชาติ แล้วก็กรมการแพทย์ สถาบันโรคผิวหนัง

พิธีกร: คนที่แนะนำคุณหมอฉีดโบท็อคนี่คือหน่วยงานไหน    

คุณหมอ: คุณหมออุ๊ก ตอนนั้นแกอยู่สถาบันโรคผิวหนังกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข

 

พิธีกร: ก็เลยสงสัยว่าทำไมคิดได้ว่า ถ้าใช้โบท็อกซ์แล้วมันจะหาย

คุณหมอ: ก็คือเรา..เราทำทุกกระบวนการแล้ว จนเรามั่นใจว่า มันเกิดจากการตรึงของกล้ามเนื้อหดตัวจนแบบไม่คล้ายตัวของกล้ามเนื้อมัดที่เกี่ยวกับการเคี้ยว การอ้าปาก ก็ถึงฉีดจุดนั้น

พิธีกร: ก็แสดงว่าโบท็อกซ์ไม่จำเป็นต้องใช้กับคนอย่างเดียว

คุณหมอ: ใช่

พิธีกร: ใช้กับสัตว์ด้วย

คุณหมอ: ตอนนี้มาประยุกต์ในสัตว์ได้เยอะเลยครับ สัตว์ที่มีอาการแบบเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเฉพาะจุดเนี่ย ฉีดปุ้บก็ช่วยในการคลายตัว

พิธีกร: ใช่ เพราะว่าตอนนี้เราเริ่มเข้าใจแล้วว่าโบท็อกมันทำงานยังไง

คุณหมอ: ครับ

พิธีกร: แต่ที่ผ่านมาเราอาจจะเข้าใจกันผิดๆ

คุณหมอ: ครับ

พิธีกร: ทีนี้ขอถามเรื่องผลงานอื่นของอาจารย์บ้างนะคะ ก็ทราบมาว่าอาจารย์เนี่ยเป็นผู้บุกเบิกงานทางด้านอายุรศาสตร์นะคะ หรือ conservation medicine นะคะ ซึ่งเป็นงานใหม่ขององค์การสัตวแพทย์สัตว์ป่าในประเทศไทยนะคะ ทีนี้อยากทราบว่า เป้าหมายในการทำงานด้านนี้น่ะค่ะ อาจารย์มีเป้าหมายยังไงบ้างคะ

          คุณหมอ: คือทางเรื่องนี้มันอายุรศาสตร์การอนุรักษ์อะนะ มันก็เอาความรู้ทางด้านสัตวแพทย์อายุรศาสตร์เนี่ยไปปรับใช้กับวงกว้างละ มันต้องมีการเชื่อมโยงระหว่างสัตว์ ป่า ก็คือสิ่งแวดล้อมแล้วก็มนุษย์ มันต้องมีคนที่อยู่ตรงกลางคอยหนุน คือเชื่อมทั้งสามส่วนเข้ามาด้วยกันนะครับ ซึ่งอาจจะมองภาพอาจจะ..

พิธีกร: ซึ่งอาจารย์คือคนที่ไปอยู่ตรงกลาง

คุณหมอ: ใช่ครับ ก็คือ มองภาพอะ คือผมผ่านโครงการตัวอย่าง โครงการปล่อยวัวแดงคืนสู่ธรรมชาติที่จ.กาญจนบุรี นะครับ ก็จะเป็นการร่วมกันระหว่างสัตวแพทย์ วนศาสตร์ มหาลัยเกษตรฯ แล้วก็คณะสิ่งแวดล้อมมหาลัยมหิดล แล้วก็ชาวบ้านในพื้นที่ เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แล้วก็เจ้าหน้าที่ภาครัฐ กำนันผู้ใหญ่บ้าน คือมาร่วมมือกันหมด ปล่อยวัวแดงหนึ่งฝูงก็จริง แต่ว่า ถ้าปล่อยไปคนน้ำลายไหลตามแบบเนี่ย ตามไปยิงมันก็ไม่มีค่าอะไรใช่ไหมครับ แต่เนี่ยปล่อยวัวแดงไปปั้บเนี่ย เราก็ไปสร้างมวลชนจิตอาสาอนุรักษ์วัวแดงนะครับ มีตั้งแต่รุ่นเล็ก จนถึงคนสูงวัยเลย ในพื้นที่รอบ..รอบป่าทั้งหมดเลยเพื่อให้เขาเป็นแนวร่วมในการอนุรักษ์ ปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเขา พอวัวแดงออกมาจุดไหนของหมู่บ้าน เขาก็แจ้งเจ้าหน้าที่ให้ไปผลักดันกลับนะครับ วัวแดงพวกนี้ก็จะได้รับการปกป้อง และก็ขยายพันธุ์ได้

พิธีกร: ทีนี้ในการสร้างความเข้าใจให้กับคนในชุมชน ในการทำยังไงมันยากไหมคะ

คุณหมอ: คือต้องบอกว่าบางกรณี ในหลวงรัชกาลที่ 9 เราก็เชิญพระองค์ท่านเป็นหลักชัย วัวแดงที่เราปล่อยไปอะเราจะมีสโลแกนเลยว่า วัวแดงของพ่อหลวงนะ เราปล่อยตั้งแต่พระองค์ท่าน..จนตอนนี้พระองค์ท่านเมื่อเสียใหม่ๆ มั้ง คือสามปีที่แล้วอะ นะครับ ก็ป้ายวัวแดงของเราอะ ที่รณรงค์รอบป่าจะมีรูปในหลวงรัชกาลที่ 9 อยู่ รูปเอ่อ..ฟ้าหญิงอทิตยาทรฯอยู่ แล้วก็มีรูปวัวแดงอยู่ตรงกลาง แล้วก็เป็นอีกอันหนึ่งที่เราใช้ก็คือ การระเบิดจากข้างในของเขา ความภูมิใจของคนเมืองกาญฯ เราก็โพสต์ลงไปใต้ชื่อโครงการ ศักดิ์ศรีของคนเมืองกาญฯอย่างงี้มันก็ทำให้เขารู้สึกมีส่วนร่วม ผมว่าตรงเนี่ยสำคัญ ที่แบบพอคนเขารู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของและทำเพื่อในหลวงนะ วัวแดงเราไม่ตายแม้แต่ตัวเดียว ไม่ถูกล่าเลย มีลูกในป่าตอนนี้มากกว่า 5 ตัว สร้างฝูงขึ้นมา ถามว่าตรงนี้ดียังไง มันก็คือต้นพันธุ์ของวัวเลี้ยงในอนาคต นึกออกเปล่า รุ่นเราอาจจะไม่อยู่แล้ว แต่รุ่นลูกของเราจะเป็นแหล่งอาหาร ถ้าได้ไปด้วยกันนะ มองพื้นที่ Google Earth ก็ได้ มันเขียวตรงเฉพาะเขตป่า พอหลุดออกมาจากหลักเขตป่า มันเป็นไล่อ้อยเลย อย่างงี้และในป่าที่เขียวๆ นั่นคือ ยารักษาโรค ต้นน้ำ ต้นพันธุ์สัตว์ป่า และก็พวกเครื่องนุ่งห่ม กระดงกระดาษ อะไรมันอยู่ในนั้นหมด ถ้าเราไม่รักษาไว้แล้วใครจะรักษา อายุรศาสตร์การอนุรักษ์ก็เข้าไปช่วยตรงนี้แหละ

พิธีกร: ก็คืออาจารย์ก็เข้าไปอุดหนุน เกื้อหนุน

คุณหมอ: คือมันต้องมองทุกด้านร่วมกันเลย ไม่ใช่แค่สัตวแพทย์ แต่ทุกสาขาอาชีพต้องมาช่วยกันโดยมีเป้าหมายอย่างเดียวกันครับ  ตอนนี้เราก็ใช้วัวแดงเป็น..เป็นโมเดล โมเดลแรกของประเทศไทย ให้ผลมาก ตอนนี้คือรถในจ.กาญจนบุรีเนี่ย ใครมีสติกเกอร์โครงการวัวแดงติดเนี่ยเท่มาก ไปไหนคนก็ยกนิ้วให้ บางร้านให้กินฟรีด้วย นี่มันระเบิดจากข้างใน inside out แล้วมันสุดยอดจริงๆ

พิธีกร: นอกจากผลงานวัวแดงมีอันอื่นไหมคะที่เป็นผลงานทางด้านอายุรศาสตร์

คุณหมอ: ก็เราผสมเทียมมาบ้างได้ครั้งแรกของประเทศไทย ที่นี่ พอได้ลูกขึ้นมา ชื่อ อั่งเปา เราตั้งชื่ออั่งเปาเพราะว่าเกิดวันตรุษจีน เราเอาอั่งเปาเนี่ยไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติที่ป่าเดียวกันที่เราปล่อยวัวแดง ปรากฏว่าอั่งเปาเนี่ย อยู่ในป่าได้ไม่พอมีลูกมาแล้ว 7-8 ตัว ประสบความสำเร็จมาก

พิธีกร: มันไม่ได้มีผลกับการที่..ที่เราบอกว่า ถ้าสัตว์เราพอ..เขาเรียกว่าอะไรอะ สร้างเขาขึ้นมาเขาจะไปอยู่ในป่ายาก

คุณหมอ: อืมนี่ไง อันนี้คือเครื่องพิสูจน์ว่าเทคโนโลยีชีวภาพระบบสืบพันธุ์ขั้นสูงแบบเนี่ย สามารถเอาไปใช้ได้จริง นี่คือโมเดลแรกของโลกเหมือนกันที่สัตว์ที่เกิดจากหลอด test tube เนี่ยสามารถที่จะไปอยู่ในป่าได้และเป็นแม่พันธุ์ที่ดีด้วย และสร้างประชากรที่สวยงามขึ้นมา..ละมั่ง คือสัตว์สงวนที่ใกล้จะสูญพันธุ์อย่างมาก แต่นี่ก็คือมีประชากรนึงชัวส์ได้เลยว่า ไม่สูญพันธุ์แน่นอน

พิธีกร: และอาจารย์มีโปรเจคต่อไปไหมคะว่าจะทำกับอะไร

คุณหมอ: โปรเจคต่อไปที่ทำมาตลอดชีวิตการเป็นอาจารย์ 20 ปี ก็คือการผสมเทียมช้าง ตอนนี้สำเร็จไปสามครั้ง ได้ลูกมีชีวิตเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผสมเทียมช้างก็คือ รีบเก็บน้ำเชื้อจากเพศผู้ที่ไม่ยอมให้ตัวเมีย ไม่ยอมผสมตัวเมีย

คุณหมอ: แล้วเราก็เอามา process นะครับ ในกระบวนการที่เอาไปแช่แข็ง พอจะใช้เราก็เอามาอุ่น แช่แข็งใน ไนโตรเจนเหลวนะครับแล้วก็เอามาอุ่น พอจะใช้ก็เอามาใส่ใน tube สำหรับฉีดตัวที่จะใช้เป็นไกด์นำเข้าไป ก็จะเป็นกล้องส่องตรวจ endoscope ยาวประมาณ 3 เมตร สอดเข้าไปในอวัยวะเพศตัวเมียแล้วไปจุดที่ต้องปล่อยน้ำเชื้อและก็ฉีดน้ำเชื้อเข้าไป ในวันที่ตัวเมียตกไข่ แล้วก็ตรวจฮอร์โมนไว้ ถ้าตกไข่วันไหนก็ฉีดน้ำเชื้อวันนั้น ฟังดูเหมือนง่าย แต่ทำมา 20 ปีได้มา 3 ตัว มีชีวิต 2 เสียไป 1 เสียชีวิตตอนอายุ 17 เดือน เกิดจาก stress คือความเครียด พอรู้ว่าตัวนี้ท้องจากน้ำเชื้อช้างแช่แข็งแรกในโลกเลยนะ เขาไปหยุดไม่ให้แม่ทำงาน เปลี่ยนกิจกรรมแม่เลยแบบวันๆ ยืนอยู่แต่ในคอก นี่คือเครียดขึ้นมาแท้งเลย แล้วมันเป็นตัวแรกในโลกที่เกิดจากน้ำเชื้อแช่แข็งโดยฝีมือคนไทยล้วนๆ น่ะ ทีมเรานี่แหละ แล้วยังไม่มีใครทำซ้ำได้เลยนะ ถ้ามันทำซ้ำได้อีก มันเปิดโอกาสมากมายในช้างเพศเมีย ที่อยู่ในต่างประเทศเนี่ย ช้างไทยนี่เกือบทั้งหมดนะ มันรอน้ำเชื้ออยู่อะ ถ้ามันไม่ได้ผสมเนี่ยเขาก็จะมีปัญหา คือ เนื้องอกในโพลงมดลูกได้ อายุสั้นอีก นะครับแล้วก็รอเวลาที่จะสำเร็จแล้วเราจะได้ก้าวต่อไป เพื่อช่วยเหลือแม่พันธุ์เหล่านั้นให้มีลูก

พิธีกร: อันนี้ก็เป็นโปรเจคที่..ทำมาอยู่ 20 ปี

พิธีกร: ทีนี้อยากจะให้อาจารย์ฝากเรื่องราวดีๆ หรือว่าข้อคิดสำหรับเด็กๆ น้องๆ ยุคใหม่นะคะ ว่าในเรื่องของการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ หรือว่าการคงอยู่ของสัตว์ป่า อยากให้ฝากข้อคิดให้กับน้องๆ นิดนึงนะคะ

คุณหมอ: เมื่อกี้ที่หมอบอกไปว่า ที่พื้นป่ามันจำกัดมากและมันเป็นทุกอย่างของคนรุ่นเขาอะ มันคือทรัพยากรธรรมชาติ แล้วจะอยู่กันแบบนี้ไม่ได้ถ้าไม่มีทรัพยากรธรรมชาติแล้วเราจะอยู่ยังไง นะครับ และให้ถามไปเลยนะครับว่าไม่ใช่เราแล้วใครที่จะรักษาทรัพยากรธรรมชาติของโลกนี้ ของประเทศเราไว้ มันต้องเลือกเอาใช่ไหมครับ หลายคนคิดว่าตัวเองยังเด็ก..เด็กก็ทำในช่องทางของเด็ก บอกต่อนะครับ ชักชวน เดี๋ยวนี้มี social มันก็สามารถช่วยกันได้ อย่าลืมนะครับ สิ่งมีชีวิตที่หายไปหนึ่งสปีชีส์หรือพันธุ์ไม้อะไรก็ตาม มันมีผลกับอีกหนึ่งสปีชีส์เสมอ มนุษย์เกิดมาบนโลกแค่ 18 นาที ถ้านับอายุของ earth ถ้านับอายุของโลกตั้งแต่เย็นตัวลงมา ไม่รู้กี่ล้านปี มนุษย์มาเยือนแค่ 18 นาทีชีวิตทุกอย่างเป็นของตัวเองหมดเลย นี่ก็คือชั้น นี่ก็ของชั้น แล้วสัตว์ป่าที่อยู่มาก่อนล่ะ ถามเขาสักคำไหมครับ ว่าเขาก็อยากอยู่หรือคุณจะอยากอยู่สปีชีส์เดียว สิ่งเหล่านี้มันต้องได้รับการถ่ายทอดออกไป อย่างประเทศไทยถ้าไม่มีช้าง ลองจินตนาการดูก็แล้วกันว่าจิตใจของคนในชาติมันจะเป็นอย่างไร

 

พิธีกร: เพราะมันคือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทย

          คุณหมอ: ใช่ ขณะว่าสัตว์ประจำชาติยังเอาไว้ไม่ได้ ประเทศนี้มันแบบไม่ไหวแล้ว การมีสัตว์เหล่านี้ การรักษาสัตว์ป่าสงวนไว้ได้เนี่ยมันคือการยกระดับจิตใจของคนในชาติ ให้สูงขึ้นในระดับที่เราจะได้ไปต่อกันได้นะครับ ก็หวังว่าเด็กรุ่นใหม่ เยาวชนนะครับ จะร่วมมือ ไม่ใช่เราแล้วใครที่จะต้องเริ่ม

พิธีกร: ใช่ ก็คืออยากให้เริ่มต้นที่ตัวเราก่อนแล้วทุกอย่างมันก็จะดีขึ้นมาเองนะคะ ก็ต้องขอขอบคุณ รศ.น.สพ.ดร.นิกร ทองทิพย์ เป็นอย่างสูงนะคะอาจารย์ ที่ให้เกียรติมาให้ความรู้กับเราในวันนี้ ขอบคุณมากนะคะ วันนี้นะคะเราก็ได้ฟังในเรื่องของ การใช้โบท็อกในการรักษาช้างนะคะ รวมถึงในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ให้คงอยู่สืบไปนะคะ ทีนี้ในรายการหน้านะคะจะเป็นเรื่องอะไร ก็ติดตามช

มได้ที่ facebook.com/kulibbr หรือ facebook ของสำนักหอสมุด หรือในอีกช่องทางนึงก็คือ ผ่านไลน์แอด KU library ทุกท่านก็สามารถติดตามข่าวสารของสำนักหอสมุดหรือว่ากิจกรรมดีๆ ได้เช่นเคยนะคะ สำหรับวันนี้นะคะ ดิฉันก็ต้องขอลาทุกท่านแต่เพียงเท่านี้นะคะ สวัสดีค่ะ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของ รศ.น.สพ.ดร.นิกร ทองทิพย์ ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

การผสมเทียมช้าง / นิกร ทองทิพย์

การวางยาสลบในสัตว์ป่าและสัตว์สวนสัตว์ / เรียบเรียงโดย นิกร ทองทิพย์

รายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยน้ำเชื้อช้างแช่แข็งและการผสมเทียมในช้างเอเชีย ระหว่างปี 2546-2549 / จัดทำโดย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สถาบันคชบาลแห่งชาติ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ; นิกร ทองทิพย์ หัวหน้าโครงการ

ช้าง-ขอ-แหย่ง--การจัดการปางช้างเพื่อการท่องเที่ยว / บรรณาธิการ : ฉัตรโชติ ทิตาราม และ เฉลิมชาติ สมเกิด

Page 2 of 2
 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri